MENU
TH EN

001. บทนำ: ปราสาทศิลปะกัมโพชในดินแดนไทย

Thumbnail Image: พระปรางค์สามยอด ลพบุรี, ถ่ายไว้เมื่อ 5 มีนาคม 2566, Hero Image: วัดพระพายหลวง สุโขทัย, วันที่เข้าถึง 6 ธันวาคม 2562
001. บทนำ: ปราสาทศิลปะกัมโพชในดินแดนไทย03, 04
First revision: Dec.06, 2019
Last change: Mar.21, 2023
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย: อภิรักษ์ กาญจนคงคา

     จากการได้พลิกศึกษางานเขียนของ ผศ.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง เรื่อง "ปราสาทขอมในดินแดนไทย ความเป็นมาและข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ" แล้ว เกิดแรงบันดาลใจที่ต้องการจะศึกษาลงลึกเพิ่มเติม เพื่อจะได้เห็นภาพกระบวนการทางสังคมวิทยา ประวัติศาสตร์ ศิลปะ ผู้คน ความเชื่อ ความศรัทธา ของผู้คนในแถบสุวรรณภูมิ ที่ผสมผสานกันอย่างไร้พรหมแดน ตั้งแต่ที่ราบลุ่มรอบ ๆ โตนเลสาบ ที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปิง วัง ยม น่าน แม่กลอง แม่น้ำมูล แม่น้ำชี แม่น้ำโขง และแม่น้ำสายน้อยใหญ่ โดยปราศจากอคติ ว่านี่เป็นขอบเขตประเทศไทย กัมพูชา สปป.ลาว ซึ่งแท้จริงแล้ว ...ทั้งผองล้วนพี่น้องกัน...!!!
     ใคร่ขอเน้นศึกษาปราสาทศิลปะกัมโพชในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-18 ในดินแดนประเทศไทยเป็นหลัก
     ใคร่ขอค้นคว้า เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้าไว้อ้างอิง ยอมรับบางส่วน อาจจะไม่สมบูรณ์ นำไปถกเถียง ปฏิเสธทั้งหมด หรือไม่เห็นด้วยบางส่วน เกิดแนวคิดทฤษฎีใหม่แตกออกไปอีกทางหนึ่ง หรือต่อยอดต่อไป อันเป็นองค์ความรู้ที่กลั่นกรองแล้วมีแหล่งที่มามีการอ้างอิงไว้ให้แก่ชนรุ่นหลัง หรือผู้ใคร่รู้ต่อไป
     ทั้งนี้ เท่าที่กระผมได้ศึกษามา คำว่า "ขอม"01 เป็นคำที่ยกระดับขึ้นมาใหม่ไม่เกินกว่าร้อยปีมานี้เอง อาจจะมีที่มามาจากประเด็นทางการเมือง การชังฝรั่งเศส เลยไปพาลชังเอากัมพูชาไปด้วย เป็นต้น เพื่อให้เราสลัดหลุดออกจากเขมร เราเป็นไทย ชาตินิยม "Pure blood" (ทั้งนี้อาจเป็นเนื่องด้วยมีความจำเป็นของรัฐบาลไทยในยุคนั้น เพราะกัมพูชาเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส การที่เรามีหลักฐานประจักษ์มากมายทั้งที่เป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุ ฯ ว่าเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับเขมรอย่างใกล้ชิด จะทำให้ฝรั่งเศสอ้างยึดดินแดนเอาได้) เราไม่เกี่ยวข้องกัน จึงมีคำว่า "ขอม" ขึ้นมาขั้นกลาง
       นอกจากนี้กระผมได้ศึกษาข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ในภูมิภาคนี้ก่อนยุคกรุงศรีอยุธยาเพิ่มเติม เห็นสมควรใช้คำว่า "กัมโพช" จะเหมาะสมกว่า เพราะหมายรวมเอาทุกกลุ่มชน และทุกชาติพันธุ์ที่อาศัยร่วมกันในอาณาจักรกัมพุชเทศหรือกัมพูชาอันยิ่งใหญ่ ซึ่งมีทั้งกัมโพชตะวันตก คือขอมในเขตไทยและกัมดพชตะวันออก หรือขอมในเขตตนเลสาป ที่มีคนเขมรหรือกมีร์เป็นชาติพันธุ์หนึ่งในนั้นด้วย.


การแแบ่งยุคสมัย
     สามารถดูรายละเอียดประกอบได้ใน II. อาณาจักรพระนครโบราณ ซึ่งแสดง Timeline ศิลปะยุคต่าง ๆ ของกัมพุชเทศโบราณไว้.
     ด้วยมีนักวิชาการชาวฝรั่งเศสทำการศึกษาศิลปะกัมพุชเทศโบราณซึ่งมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-18 ไว้ โดยในช่วงเวลากว่า 700 ปีนี้แบ่งออกเป็นสมัยย่อย ๆ ไว้ดังนี้

1. ศิลปะสมัยก่อนเมืองพระนคร
   1)   ศิลปะพนมดา  ราว พ.ศ.1080-1140  
   2)  ศิลปะถาราบริวัติ  ราว พ.ศ.1150  
   3)  ศิลปะสมโบร์ไพรกุก  ราว พ.ศ.1140-1190  
   4)  ศิลปะไพรกเมง  ราว พ.ศ.1175-1240  
   5)  ศิลปะกำพงพระ  ราว พ.ศ.1246-หลัง พ.ศ.1340  

2. ศิลปะสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อ
   1)   ศิลปะกุเลน  ราว พ.ศ.1365-1514  

3. ศิลปะสมัยเมืองพระนคร
   1)   ศิลปะพระโค  ราว พ.ศ.1415-หลัง พ.ศ.1433  
   2)  ศิลปะบาแค็ง  ราวหลัง พ.ศ.1433-1465  
   3)  ศิลปะเกาะแกร์  ราว พ.ศ.1464-1485  
   4)  ศิลปะแปรรูป  ราว พ.ศ.1490-1505  
   5)  ศิลปะบันทายสรี  ราว พ.ศ.1510-ราว พ.ศ.1540  
   6)  ศิลปะคลัง (เกลียง)  ราว พ.ศ.1505-1550  
   7)  ศิลปะบาปวน  ราว พ.ศ.1550-1620  
   8)  ศิลปะนครวัด  ราว พ.ศ.1640-1715  
   9)  ศิลปะบายน  หลัง พ.ศ.1720-ราว พ.ศ.1770  


ศิลปะสมัยก่อนเมืองพระนครในดินแดนไทย
     โบราณสถานและโบราณวัตถุในช่วงก่อนเมืองพระนครนี้พบไม่มากนัก มีการก่อสร้างน้อย หรือถูกปฏิสังขรณ์ในสมัยหลัง
   1)  บริเวณเมืองศรีเทพ  
   2)  เมืองโบราณดงเมืองเตย จ.ยโสธร  
   3)   ปราสาทภูมิโพน จ.สุรินทร์  
   4)  กลุ่มประติมากรรมสำริดจาก จ.บุรีรัมย์  
   5)  ทับหลังและเสาประดับกรอบประตู จ.จันทบุรี  
   6)  ทับหลังและเสาประดับกรอบประตู จ.สระแก้ว  
   7)  ทับหลังและเสาประดับกรอบประตู จ.อุบลราชธานี  


ศิลปะสมัยเมืองพระนครในดินแดนไทย
     อาทิ
   1)  ปราสาทพนมวัน จ.นครราชสีมา - จารึกของพระเจ้ายโศวรมเทวะที่ 1  
   2)  เมืองเพนียด จ.จันทบุรี - จารึกของพระเจ้ายโศวรมเทวะที่ 1  
   3)   ??? - - จารึกของพระเจ้าหรรษวรมเทวะที่ 1  
   4)  ??? - - จารึกของพระเจ้าอิสานวรมเทวะที่ 2  
   5)  ??? - - จารึกของพระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 4  
   6)  ??? - - จารึกของพระเจ้าราเชนทรวรมเทวะ  
   7)  ??? - - จารึกของพระเจ้าชยวรมเทวะที่ 5  
   8)  จารึกศาลสูงหลักที่ 1 จ.ลพบุรี - จารึกของพระเจ้าหรรษวรมเทวะที่ 1  จารึกระบุถึงพระราชโองการของพระเจ้าสูริยวรมเทวะที่ 1 ว่าให้ดาบส ภิกษุในพุทธศาสนามหายานและเถรวาทถวายตบะแก่พระองค์
   9)  จารึกสด๊กก๊อกธม 2 ปราสาทสด๊กก๊อกธม อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว - จารึกของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมเทวะที่ 2  จารึกกล่าวเรื่อง "เทวราชา" ตระกูลพราหมณ์ที่ทำหน้าที่ประกอบพิธีฯ
รายละเอียดดูใน 09. จารึกสด็กก๊อกธม
   10)  จารึกของพระเจ้าชยวรมเทวะที่ 7 ในหลายหลักดินแดนไทย - โดยเฉพาะ "จารึกประจำอโรคยศาล"02  พบหลายหลักในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
   11)  พระชัยพุทธมหานาถ - พระเจ้าชยวรมเทวะที่ 7 ในวิหารต่าง ๆ 23 แห่ง (บ้างก็ว่า 25 แห่ง) - พระเจ้าชยวรมเทวะที่ 7  บางแห่งประจำอยู่ในภาคกลางและภาคตะวันตกของไทย ได้แก่
  • ลโว้ทยปุระ (ลพบุรี)
  • สุวรรณปุระ (สุพรรณบุรี)
  • ศัมพูกปัฏฏนะ (สระโกสินารายณ์)
  • ชัยราชบุรี (ราชบุรี)
  • ศรีชยสิงหบุรี (เมืองสิงห์)
  • ศรีชยวัชรบุรี (เพชรบุรี)
   12)  วหนิคฤหะ (บ้านพร้อมไฟตามเส้นทางจากเมืองพระนครไปสู่เมืองอื่น ๆ ) - พระเจ้าชยวรมเทวะที่ 7  รวมถึงเส้นทางที่มาสู่พิมายใน จ.นครราชสีมาด้วย
   13)  ปราสาทสระกำแพงน้อย - อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ   อโรคยศาลา (บ้างก็เรียก อโรคยศาล) สมัยพระเจ้าชยวรมเทวะที่ 7 
   14)  ปรางค์เขาปู่จ่า - อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย  ชื่อเริ่มต้นด้วย ปรางค์ แต่ไม่ใช่ปรางค์ เป็นปราสาทของอาณาจักรกัมพูชาโบราณ ที่อยู่เหนือสุดของอาณาจักรกัมพูชาโบราณ เป็นหลักฐานว่าในอดีตสุโขทัยเป็นหนึ่งในรัฐอารักขาชายขอบของจักรวรรดิกัมพูชาโบราณ ก่อนที่จะมาเปลี่ยนเป็นอาณาจักรสุโขทัย อยุธยา และรัฐไทยสยามในปัจจุบัน.
   15)  ศาลตาผาแดง - สุโขทัย  
   16)  ปราสาทวัดพระพายหลวง - สุโขทัย  
   17)  ปราสาทวัดเจ้าจันทร์ - ศรีสัชนาลัย สุโขทัย  
   18)  ปราสาทเมืองสิงห์ - กาญจนบุรี  
   19)  โบราณสถานสระโกสินารายณ์ (ศัมพูกะปัฏฏนะ) จ.ราชบุรี ศิลปะแบบบายน
   20)  วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ราชบุรี  
   21)  ปราสาทวัดกำแพงแลง จ.เพชรบุรี  
   22)  ปรางค์แขก จ.ลพบุรี  
   23)  ศาลพระกาฬ  จ.ลพบุรี  
   24)  พระปรางค์สามยอด จ.ลพบุรี   ปราสาทองค์กลางสันนิษฐานว่าประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก ปราสาทองค์ใต้ประดิษฐานพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และปราสาทองค์เหนือประดิษฐานนางปรีชญาปารมิตา
   25)  โบราณสถานที่เนินทางพระ อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี  
   26)  ปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์  ทับหลัง ตรงกลางสลักรูปบุคคลต่อสู้กับสิงห์และช้าง  น่าจะหมายถึง พระกฤษณะต่อสู้กับช้างกุวัลยปิถะและสิงห์
มีภาพสลักฤๅษีนั่งในท่าโยคาสนะประนมมือ เกล้าผมมวยมีหนวดเครา เป็นศิลปะสมัยเมืองพระนคร
   27)  ปราสาทเมืองต่ำ จ.บุรีรัมย์  ทับหลังจากปราสาทเมืองต่ำ ตรงกลางสลักรูปบุคคลต่อสู้กับนาค ซึ่งหมายถึง พระกฤษณะต่อสู้กับนาคกาลียะ เป็นศิลปะสมัยพระวิหาร
   28)  ปราสาท (หิน) สระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ  ทับหลังด้านตะวันออกของโคปุระทิศตะวันออก มีภาพหินสลักพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณอยู่เหนือหน้ากาล ไม่ไกลจากปราสาทมากนัก มีสระน้ำขนาดใหญ่ ชาวบ้านเรียกกันว่าสระกำแพง ซึ่งสระดังกล่าวคงเป็นบารายของชุมชนเขมรโบราณนั่นเอง
   29)  ปราสาทกู่กาสิงห์ จ.ร้อยเอ็ด  ในกลุ่มปราสาทประธานสามองค์นั้น ตั้งอยู่บนฐานไพที ปราสาทประธานมีขนาดใหญ่ที่สุด และมีมณฑปต่อยื่นออกมาทางด้านหน้า
 ทับหลังปราสาทกู่กาสิงห์ แสดงให้เห็นว่าปราสาทนี้สร้างในช่วงศิลปะแบบบาปวน หน้ากาลอยู่ต่ำลงมาชิดขอบล่าง คลายท่อนพวงมาลัยออก เหนือหน้ากาลมีรูปเทพเจ้า มีภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
   30)  ปราสาทหินพิมาย อ.พิมาย จ.นครราชสีมา  หน้าบันปราสาท เป็นรูปพระพรหมทรงหงส์ ซึ่งภาพพระพรหมอยู่เดี่ยว ๆ เป็นเอกเทศพบน้อยมาก ส่วนใหญ่มักอยู่รวมกับเทพองค์อื่น ๆ 
   31)  เมืองโบราณศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี  
   32)  พระธาตุนารายณ์เจงเวง (บ้างก็เรียก ปราสาทนารายณ์แจงแวง) อ.เมือง จ.สกลนคร  ช่วงปลายศิลปะบาปวน-นครวัด ปัจจุบันเหลือเฉพาะปราสาทประธานองค์เดียว สร้างด้วยหินทราย หันหน้าไปทิศตะวันออก
   33)  ปราสาทพระวิหาร จ.ศรีสะเกษ และกัมพูชา  
   34)  ปราสาทบ้านพลวง จ.สุรินทร์  หน้าบันรูปพระกฤษณะยกเขาโควรรธนะ
   35)  กุฏิฤๅษีหนองบัวราย จ.บุรีรัมย์  
   36)  ปราสาทกู่พราหมณ์จำศีล จ.นครราชสีมา  ศิลปะนครวัด ทับหลัง ตรงกลางเหนือหน้ากาลขึ้นไป สลักภาพพระนารายณ์สี่กรทรงครุฑเป็นพาหนะ
 ทับหลังด้านตะวันตกของโคปุระทิศตะวันตกของปราสาทกู่พราหมณ์จำศีล มีภาพสลักพระวรุณทรงหงส์ เทพประจำทิศตะวันตก
   37)  ปราสาทหินศีขรภูมิ (ปราสาทระแง) จ.สุรินทร์  ทับหลัง แสดงพระคเณศและพระพรหม กำลังทรงดนตรีประกอบจังหวะให้พระศิวะฟ้อนรำ เป็นทับหลังศิวะนาฏราชที่สวยที่สุดในประเทศไทย
   38)  ปรางค์สองพี่น้อง เมืองศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์  
   39)  ปราสาทกู่สวนแตง หรือ ปรางค์กู่สวนแตง จ.บุรีรัมย์  มีศิลาที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพิมาย "วามนาวตาร" มุมซ้ายปรากฎรูปท้าวพาลี กำลังหลั่งน้ำมอบผืนดินแก่พราหมณ์เตี้ย (วามน) ตรงกลางและด้านขวา ได้แก่พระวิษณุ กำลังเหยียบแผ่นดินทั้งสาม และปราบท้าวพลี
   40)  ปราสาทเมืองแขก จ.นครราชสีมา  ทับหลัง เล่าเรื่องมหิษาสุรมรรทนีอยู่กลางทับหลัง นางทุรคาถืออาวุธ ประทับยืนอยู่เหนืออสูรรูปควาย ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพิมาย
   41)  ปราสาทเปีอยน้อยหรือกู่เปือยน้อยหรือพระธาตุกู่ทอง อ.เปีอยน้อย จ.ขอนแก่น  ทับหลังแสดงคชลักษมีหรืออภิเษกศรี พระศรีหรือพระลักษมี ประทับนั่งตรงกลาง ในพระหัตถ์ถือบางสิ่งซึ่งอาจจะเป็นดอกบัว ซ้ายและขวามีช้างสองเชือกกำลังชูงวงขึ้นประพรมน้ำรดพระองค์ เป็นศิลปะแบบบาปวน
   42)  ปรางค์กู่ อ.เมือง จ.ชัยภูมิ  แท่นหินเหนือทับหลัง มีภาพสลักแสดงพุทธประวัติตอนออกมหาภิเนษกรมณ์ เจ้าชายสิทธัตถะประทับบนหลังม้า แวดล้อมด้วยเหล่าเทวดา
หน้าบัน มีภาพสลักพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสี่กร แวดล้อมด้วยบริวารหรือผู้มาสักการบูชา
   43)  ปราสาทพนมวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา  เป็นศาสนสถานที่สร้างยังไม่เสร็จสมบูรณ์
   44)  ปราสาทสด๊กก๊อกธม อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว  
   45)  ปราสาทตาเมือนโต๊ด (บ้างก็ว่า ตาเมือนโต๊จ) อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์   อยู่ไม่ไกลจากปราสาทตาเมือนธม ปราสาทนี้สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 7 เป็นศาสนสถานประจำธรรมศาลา หรือ บ้านมีไฟ หรือที่พักคนเดินทาง
   46)  ปราสาทตาเมือนธม อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์  เป็นปราสาทที่ยังสร้างไม่เสร็จ ตั้งอยู่บนแนวของเทือกเขาพนมดงรัก ลวดลายประดับค่อนข้างสมบูรณ์เฉพาะรอบ ๆ ครรภคฤหะของปราสาทประธาน ขณะที่ส่วนอื่น ๆ รวมถึงปราสาทบริวาร ยังมิได้เริ่มแกะสลัก เป็นศิลปะแบบบาปวน
   47)  กู่โพนระฆัง จ.ร้อยเอ็ด  พบศิลาจารึกประจำอโรคยศาล เนื้อหากล่าวถึง การประดิษฐานรูปเคารพในอโรคยศาล การแบ่งหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ประจำอโรคยศาล ตลอดจนสมุนไพรที่ใช้รักษา
   48)  กู่บ้านเมย ต.หนองสองห้อง อ.หนองสองห้อง จ.ขอนแก่น  ทับหลังสลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ศิลปะลพบุรี (บ้างก็ว่าเป็นศิลปะแปรรูป-บาปวน) พ.ศ.ที่ 16-17
   49).  พระธาตุภูเพ็ก จ.สกลนคร  
   50).  ปราสาทเขาโล้น อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว  
   51).  ปราสาทหนองหงส์ อ.โนนดินแดน จ.บุรีรัมย์  ได้รับทับหลังคืนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา กลับมาประเทศไทยเมื่อ 28 พ.ค.64 ปัจจุบันยังแสดงที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนครเป็นการชั่วคราว (ข้อมูล ณ 4 มิถุนายน 2564)
   52).  ปราสาทภูมิโปน ต.ดม อ.สังขะ จ.สุรินทร์  อ่านว่า พูม-โปน (ภูมิ แปลว่า ดินแดน โปน แปลว่า ซ่อนตัว ) ปราสาทกัมพูชาโบราณและยังคงความสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย
   53).  ปราสาทไบแบก อ.บ้านกรวด จ. บุรีรัมย์  เป็นปราสาทเพียงแห่งเดียวในอาณาจักรกัมพูชาโบราณ ที่ใช้อิฐสีเหลืองและสีแดง แบ่งครึ่งปราสาท และหันหน้าปราสาทไปทางทิศตะวันตก
   54).  กุฎิฤๅษีโคกเมือง อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์  หนึ่งใน 102 อโรคยาศาล ของพระเจ้าชัยวรเทวะที่ 7 ที่ห่างจากอโรคยศาล "กุฎิฤๅษีหนองบัวราย" เพียง 4 กิโลเมตร (ซึ่งปกติอโรคยศาล จะห่างกัน 20-100 กิโลเมตร) บ่งบอกถึงความสำคัญของชุมชนโบราณในแถบนี้
   55).  ปราสาทบ้านไพล อ.ปราสาท จ.สุรินทร์  เป็นศาสนสถานในชุมชน หรือ สุก (Srok) เป็นปราสาทอิฐ 3 หลัง ศิลปะแบบบาปวน และแบบนครวัด ราว พศว.ที่ 16-17
   56).  โบราณสถานสระมรกต ปราสาทอิฐ/ปราสาทอโรคยศาล จ.ปราจีนบุรี  รอยพระพุทธบาทคู่
   57).  ปราสาทบ้านน้อยห้วยพะใย จ.สระแก้ว  เป็นอโรคยศาลา ทับหลังศิลปะกัมพูชาโบราณศิลปะแบบไพรกเมง
   58).  ปราสาทเขาน้อยสีชมพู อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว  
   59). ปรางค์กู่ (ปราสาทหนองกู่) อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด  
  60).  ธาตุก่องข้าวน้อย หรือ พระธาตุถาดทอง หรือ พระธาตุตาดทอง อ.เมืองยโสธร จ.ยโสธร  
  61).  ดงเมืองเตย อ.เขื่อนคำแก้ว จ.ยโสธร  ปราสาทรุ่นแรกของลุ่มน้ำชี
  62).  ดอนขุมเงิน  เทวาลัยฮินดูที่เก่าที่สุด ในพระนามจิตรเสน
  63).  พระธาตุบ่อพันขัน  
  64).  กู่พระโกนา  
  65).  ปราสาทนางบัวตูม  ศิลปะแบบบาปวน
  66).  ปราสาทบ้านบุ  ศิลปะแบบบายน
  67).  ปราสาททะนง  ศิลปะแบบบาปวน
  68).  ปราสาทปลายบัด 1  ศิลปะแบบพระวิหาร
  69).  ปราสาทปลายบัด 2  ศิลปะแบบแปรรูป
  70).    
  71).    
  72).    
       
       
 

ที่มา: proud-siam.blogspot.com, วันที่เข้าถึง 03 มกราคม 2563.
 
  • กรณีมีปรางค์หรือปราสาทประธานองค์เดียว หากเป็นศาสนาพราหมณ์แบบไศวนิกาย รูปเคารพในปราสาทประธานนิยมทำเป็นศิวลึงค์หรือองค์พระศิวะ หากเป็นไวษณพนิกาย รูปเคารพจะเป็นพระวิษณุ และหากสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพุทธก็มักเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก
  • กรณีมีปรางค์สามองค์ โดยทั่วไปใช้สำหรับประดิษฐานเทพเจ้ามูรติในศาสนาพราหมณ์  เป็นการสร้างในแนวทิศเหนือ-ใต้ , โดยทั่วไปปรางค์ทิศใต้สร้างถวายพระพรหม, ปรางค์องค์กลางสร้างถวายพระศิวะ, ปรางค์ทิศเหนือสร้างถวายพระวิษณุ หากสร้างเนื่องในศาสนาพุทธ นิกายมหายาน เช่น พระปรางค์สามยอด ปราสาทองค์กลางสันนิษฐานว่าประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก ปราสาทองค์ใต้ประดิษฐานพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และปราสาทองค์เหนือประดิษฐานนางปรัชญาปารมิตา

ที่มา: Facebook เพจ "สยามเทศะ โดย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์," วันที่เข้าถึง 05 มกราคม 2563.
 

ที่มา: Facebook เพจ "มูลบนไลฟ์ Moolbon Life," วันที่เข้าถึง 24 พฤษภาคม 2564.

 
ชุดกลุ่มปราสาทกัมพุชเทศโบราณ ต้นแม่น้ำมูล แอ่งอารยธรรมกัมพุชเทศโบราณ "เมืองปัก"
 MP-01  ปราสาทลำสำลาย  อ.ปักธงชัย นครราชสีมา
 MP-02  ปราสาทหนองชุมแสง  
 MP-03  ปรางค์บ้านไร่  
 MP-04  กู่สระหิน  
 MP-05  กู่สระพัง  
 MP-06  กู่โคกสิลา  
 MP-07  กู่นาแค  
 MP-08  ปรางค์หนองผักไร  
 MP-09  ปรางค์บ้านปรางค์ ต.นกออก อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา
 MP-10  ปรางค์สระเพลง ต.โชคชัย อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา
 MP-11  ปรางค์พะโค บ้านพะโค ต.กระโทก อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา ศูนย์กลางอันย่อยยับ ยุคพระเจ้าชัยวีรมเทวะ ศิลปะแบบบันทายสรี
 MP-12  ปราสาทคลองขุนเทียน  
 MP-13  ปรางค์กู่เกษม ปราสาทร้างแห่งปักธงชัย.
 MP-14  ปรางค์บึงไทย  
 MP-15  ปราสาทซับบาก  
 MP-16  ปรางค์ครบุรี บ้านครบุรี ต.ครบุรีใต้ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา
 MP-17  ปราสาทจำปาทอง  
 MP-18  ปราสาทโนนงิ้ว  
 MP-19  ปราสาทหนองหอย  
 MP-20  ปรางค์กู่  อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา
 MP-21  ฐานศิวะลึงค์ (เขาจอมทอง)  อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา
 MP-22  รูปสลักอุมามเหศวร (ถ้าวัวแดง)  อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา
 
หมายเหตุ *สถานที่ตั้ง ชื่อปราสาท ปรางค์ กู่ อาจมีความคลาดเคลื่อนขอตรวจสอบในโอกาสต่อไปครับ
               ** MP เป็นรหัสที่บล็อกนี้ได้ตั้งขึ้น หมายถึงกลุ่มปราสาท/ปรางค์/กู่/สถานที่/วัตถุโบราณ ที่เมืองปักธงชัย (Maung Pak-MP)




ที่มา คำศัพท์ คำอธิบาย:
01ขอม (1) มีนักวิชาการบางท่าน (อาทิ อาจารย์ทวิช จิตรสมบูรณ์) กล่าวว่า หมายถึง คนไทยในภาคกลางนี่เอง (2) สุจิตต์ วงษเทศ ให้ความเห็นว่า หมายถึง เขมรในกัมพูชา (3) ขอมโดยทั่วไปหมายถึง 2 เรื่อง คือ หนึ่ง) คนกลุ่มที่ถูกเรียกว่าชาวขอม และ สอง) วัฒนธรรมชุดที่ถูกเรียกว่าวัฒนธรรมขอม (4) นักวิชาการชาวพม่า "มิกกี้ ฮาร์ท" อ้างถึงข้อมูลทางพม่าและล้านนาว่า ขอม หมายถึง คนไทย เป็นต้น
(5) ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร นักวิชาการเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ผู้เชี่ยวชาญด้านนิรุกติประวัติ เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้กล่าว คนล้านนาจะเรียกคนแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาว่า ขอม จากการบรรยาย "สุโขทัยคดี" ที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เมื่อเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2563.
02.  อโรคยศาล บ้างก็เรียก อโรคยศาลา {112 แห่ง บ้างก็ว่า 102 แห่งในทุก ๆ วิษัย (เมือง)} หรือ ศาสนสถานประจำโรงพยาบาล, ธรรมศาลา (121 แห่ง) หรือ วหนิคฤหะ (บ้านพร้อมไฟ) หรือศาสนสถานประจำที่พักคนเดินทาง ทั้งสองประเภท สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แต่ข้อมูลของ เดวิด แชนด์เลอร์ (David Chandler), (ประวัติศาสตร์กัมพูชา (A History of Cambodia), ISBN 974 91090 3 1, แปลโดย พรรณงาม เง่าธรรมสาร, สดใส ขันติวรพงศ์, วงเดือน นานาสัจจ์, พิมพ์ครั้งที่ 3: 2546, มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, กรุงเทพฯ.) ระบุว่า พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ก็ได้สร้างธรรมศาลาด้วย
     ธรรมศาลาจำนวน 121 หลังที่สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 7 นี้ ในจำนวนที่สร้างระหว่างทางจาก เมืองพระนครไปยังเมืองพิมายมี 17 แห่ง มีรายงานค้นพบธรรมศาลาดังนี้
  • ปราสาทตาเหมือน อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์
  • ปราสาทหนองโปร่ง หรือ หนองปล่อง
  • ปราสาทโคกปราสาท
  • ปราสาทหนองตาเปล่ง อ.นารอง จ.บุรีรัมย์
  • ปราสาทถมอ (ปราสาททะมอ) อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ และ
  • ปราสาทบ้านบุ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์
03.  ข้อมูลเสริมจาก "ปราสาทขอมในดินแดนไทย ความเป็นมาและข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ศิลป", ผศ.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง, ISBN 974-020-191-5 ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ, พิมพ์ครั้งที่ 2, กันยายน 2553.
04.  ข้อมูลเสริมจาก "ทิพยนิยายจากปราสาทหิน", อรุณศักดิ์ กิ่งมณี, ISBN 978-974-7727-67-8 สำนักพิมพ์เมืองโบราณ ฉบับพิเศษ พิมพ์ครั้งแรก, มีนาคม 2555.
05.  จาก. isan.tiewrussia.com, วันที่เข้าถึง 19 มิถุนายน 2564.


 
info@huexonline.com