MENU
TH EN

010. วัดพระพายหลวง - สุโขทัย

010. วัดพระพายหลวง - สุโขทัย
First revision: Nov.10, 2019
Last change: Apr.05, 2020
 
ภาพวัดพระพายหลวง เมื่อครั้ง ร.6 ดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร
เสด็จไปเยือนนั้น จะเห็นได้ว่ามีกองหินของปราสาทประธาน พังเฉียงลงมาด้านหน้าของตัวปรางค์ที่เหลืออยู่,
ที่มา: EJeab Academy, วันที่เข้าถึง 19 พฤศจิกายน 2562.

     ปรางค์วัดพระพายหลวง เป็นร่องรอยกลุ่มกัมโภช-ละโว้ อันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ก่อนการสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานี พื้นที่บริเวณนี้เคยอยู่ภายใต้วัฒนธรรมกัมพูชาโบราณมาก่อน ซึ่งเห็นจากโบราณสถานและโบราณวัตถุจำนวนมากในวัดพระพายหลวง
     วัดพระพายหลวงตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเมืองเก่าสุโขทัย พื้นที่ของวัดล้อมรอบด้วยคูน้ำขนาดใหญ่ (เหมือนนครวัด) กึ่งกลางบริเวณมีปราสาทในวัมนธรรมกัมพูชาโบราณ ตั้งเป็นประธานทั้งสิ้นสามองค์ ก่อจากศิลาแลง เรียงตัวกันในแนวเหนือ-ใต้ หันหน้าไปยังทิศตะวันออก ปัจจุบันเหลือสมบุรณ์เฉพาะองค์ทิศเหนือ ส่วนองค์กลางและองค์ทิศใต้ทลายลงแล้ว
     ปราสาททั้งสามองค์นี้ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตามแบบอย่างของศิลปะกัมพูชาโบราณแบบบายน และเมื่อแรกเริ่มคงสร้างขึ้นเนื่องในพุทธศาสนามหายาน ต่อมาในสมัยสุโขทัย คาดว่ามีการปฏิสังขรณ์ปราสาททั้งสามองค์ โดยเฉพาะปราสาทองค์กลาง มีการก่อผนังปิดทางเข้าเดิมทางทิศตะวันออก สร้างพระพุทธรุปอิงอยู่บนผนังนั้น.
     นอกจากปราสาททั้งสามองค์ข้างต้น ส่วนอื่น ๆ ของวัดล้วนมีอายุอยู่ในสมัยสุโขทัย แสดงให้เห็นว่าเป็นศาสนสถานที่มีการใช้งานอย่างต่อเนื่องยาวนาน

 

จากการค้นหามาสู่การค้นพบ รูปประติมากรรมเหมือนพระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 7, ที่มา: gotoknow.org, วันที่เข้าถึง 05 เมษายน 2563

 

ภาพนี้ถ่ายไว้เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2562 ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง สุโขทัย มีป้ายด้านข้างระบุว่า เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หินทราย ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 18 จากวัดพระพายหลวง นอกเมืองโบราณสุโขทัยทางทิศเหนือ แต่จะการศึกษาของข้าพเจ้า ๆ มีความเห็นว่า เป็นหินสลักประติมากรรมรูปเหมือนของพระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 7 ในสภาพที่ถูกทำลายอย่างรุนแรง ประทับนั่งในท่าธยานะมุทรา (นั่งขัดสมาธิราบ) บนฐานเขียง นุ่งภูษาสมพดขาสั้น พระวรกายเอียงมาทางด้านหน้า หน้าแข้งคม ที่หัวเข่าสลักเป็นลูกสะบ้ามีกล้ามเนื้อล้อมรอบคล้ายดอกไม้ ตามแบบรูปเหมือนของพระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 7 ที่พบในเมืองพระนครหลวง จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา.01. 




ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย
01. เสริมและนำแนวคิดจาก. บทความ "เจดีย์ทรงปราสาทยอดพุ่มข้าวบิณฑ์-พัฒนาการสุดท้ายของเจติยะตามคติวัชรยานในกลุ่มรัฐสุโขทัยหลังยุคบายน"ของ วรณัย พงศาชลากร, ใน oknationtv.tv, โพสต์ไว้เมื่อ 8 พฤศจิกายน 2560.



Gallery
ภาพที่ 4: 
พระธิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 ทรงเป็นพระมเหสีของพ่อขุนผาเมือง (พระบาทกมรเตงอัญศรีผาเมือง) เทวรูปพระนางปรัชญาปารมิตาเมืองสุโขทัย (ผ้านุ่งเป็นแบบสุโขทัย) เทวรูปถูกพบ...จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถาน MET Museum of Art, New York, USA ตำแหน่งประดิษฐานเดิมอาจจะอยู่ในปรางค์วัดพระพายหลวง จ.สุโขทัย ก่อนสูญหาย คุณ Chansak Jindasri สันนิษฐานว่าเป็นรูปหน้าของพระนางสุขรเทวี พระธิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 พระนางแต่งงานกับพ่อขุนผาเมือง, ที่มา: Facebook ห้อง "Yong Boonjitpitak", วันที่เข้าถึง 22 มกราคม 2563.


 

PHOTO
GALLERY
info@huexonline.com