MENU
TH EN

IV. อาณาจักรพระนครโบราณ: ศิลปะยุคต่าง ๆ

ภาพปราสาทบากอง, ที่มา: เว็บไซต์ของสำนักฝรั่งเศสปลายบูรพาทิศ (EFEO - Ecole française d'Extrême-Orient), วันที่เข้าถึง: 30 มีนาคม 2562.
IV. อาณาจักรพระนครโบราณ: ศิลปะยุคต่าง ๆ 01,02,03,04
First revision: Sep.26, 2019
Last change: Jun.14, 2021
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา
 
แผนที่ประเทศกัมพูชาปัจจุบัน, ที่มา: commons.wikimedia.org, วันที่เข้าถึง 05 มิถุนายน 2562.
 
Timeline ศิลปะยุคต่าง ๆ ของกัมพูชาโบราณ03, 04
 ยุคศิลปะ วิหาร ปราสาท เทวรูป พระพุทธรูป
  ศิลปะแบบพนมดา (Phnom Da)
(จากเรื่องเล่าและข้อความในจารึก จดหมายเหตุต่าง ๆ จนล่วงเข้าต้นพุทธศตวรรษที่ 12 จึงปรากฎหลักฐานทางศิลปกรรมที่มีลักษณะเฉพาะของกัมพูชาโบราณอย่างแท้จริงที่บริเวณเขาพนมดา จังหวัดตาแก้ว ทางใต้ของกรุงพนมเปญ โดยพบประติมากรรมรูปเคารพทางศาสนาพราหมณ์และพุทธ แต่ไม่พบสถาปัตยกรรม อย่างไรก็ตามคาดว่าบริเวณนี้คงเป็นที่ตั้งของชุมชนขนาดใหญ่ และเรียกศิลปะนี้ตามชื่อสถานที่ที่พบว่า ศิลปะแบบพนมดา)
สมัยพระเจ้ารุทธวรมเทวะ (King Rudravarman) พ.ศ.1057-ราว 1100 A.D.514-539 
 
Pic.I-IV. Images from the site of Phnom Da, Cambodia, mid-seventh century A.D. National Museum of Cambodia, Phnom Penh. Pic I: พระวิษณุแปดกร (Visnu with Eight Arms.) Pic II: พลราม (Balarama.) Pic III: พระราม (Rama.) Pic IV: พระกฤษณะ โควรรธนะ หรือ ตรีวิกรม (Krsna Govardhana or Trivikrama.) (ที่มา: Journal: A New Date for the Phnom Da Images and its Implications for Early Cambodia, เขียนโดย Nancy H. Dowling, Asian Perspectives, 1999 สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยฮาวาย.)
 ถาลาบริวัต (พ.ศ.1120-1150)
เรียกตามชื่อสถานที่ค้นพบ ทับหลังกลุ่มหนึ่ง บริเวณเมืองธาราบริวัตร สตึงเตง กัมพูชา ริมแม่น้ำโขง ภาคใต้ของสปป.ลาว จากบริเวณที่มีแม่น้ำไหลวน. ลักษณะทับหลังลักษณะคล้ายศิลปะอินเดีย แบบคุปตะและหลังคุปตะ. ที่มา:th.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 28 มิถุนายน 2562
ทับหลังศิลปะเขมรในประเทศไทย (พบที่วัดทองทั่ว จันทบุรี) ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ที่มา: www.silpa-mag.com, วันที่เข้าถึง 28 มิถุนายน 2562
จารึกวัดทองทั่ว-ไชยชุมพล อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 ตัวอักษรปัลลวะ ภาษาเขมรสันสกฤต จารึกบนกรอบประตูกล่าวถึง พระเจ้าอีศานวรมันที่ 1 กษัตริย์กัมพูชา สมัยก่อนเมืองพระนคร ครองราชย์ (พ.ศ.1159-1180) ปัจจุบันเก็บรักษาโดยกรมศิลปากร ที่มา:www.silpa-mag.com, วันที่เข้าถึง 28 มิถุนายน 2562
 ทับหลังถาลาบริวัต วัดสีแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร อุบลราชธานี ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ วัดสุปัฏนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ที่มา: https://pantip.com/topic/37634755, วันที่เข้าถึง 30 มิถุนายน 2562
 วัดพลอยแหวน เขาพลอยแหวน อำเภอท่าใหม่ จันทบุรี ทราบถึงการอ้างอิงจากนักวิชาการ แต่ทว่ายังสืบค้นไม่พบภาพศิลปกรรมแบบถาลาบริวัต (29 มิถุนายน 2562)
 ศิลปะแบบสมโปร์ไพรกุก (Sambor Prei Kuk - พ.ศ.1150-1200)
จดหมายเหตุจีนกล่าวถึงอาณาจักรหนึ่งของเขมรโบราณ ซึ่งตั้งอยู่แถบภูเขาทางทิศเหนือ ชื่อว่า อาณาจักรเจิ้นละและหรือเจิ้นล้า นักวิชาการไทยเรียก เจนละ05 ซึ่งต่อมาแข็งแกร่งขึ้นและเข้าครอบครองอาณาจักรฟูนัน05 ได้ในราวพุทธศตวรรษที่ 11 ศิลาจารึกกล่าวว่าพระเจ้าอิศานวรมเทวะที่ 1 แห่งเจนละได้สร้างเมือง อิศานปุระขึ้นเป็นราชธานี ซึ่งสันนิษฐานกันว่าคือกลุ่มโบราณสถานที่สมโบร์ไพรกุก ใกล้เมืองกำปงธมในปัจจุบัน
 ปราสาทแห่งหนึ่งที่สมโบร์ไพรกุก ถ่ายเมื่อ 15 ตุลาคม 2560.
 ทับหลังปราสาทเขาน้อย อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ที่มา: https://pantip.com/topic/37634755, วันที่เข้าถึง 30 มิถุนายน 2562
 ปราสาทเขาน้อย อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ที่มา: https://pantip.com/topic/37634755, วันที่เข้าถึง 30 มิถุนายน 2562
 ศิลปะแบบไพรกเมง (Prei Khmeng) (พ.ศ.1185-1250) หลังสมัยสมโบร์ไพรกุก แม้ว่าจะไม่พบหลักฐานที่เป็นจารึกกล่าวถึงเหตุการณ์ของราชอาณาจักรมากนัก แต่ได้พบศิลปกรรมที่มีรูปแบบที่ชัดเจน จัดเป็นศิลปะแบบไพรกเมง ตามชื่อปราสาทหลังหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองพระนคร สำเนียงเขมรเรียก เปรย-กะเมง แปลว่าป่า (ไพร) +  เด็ก (กุมาร ) กำหนดอายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ 13 
ที่มา: thai.tourismthailand.org, วันที่เข้าถึง: 06 สิงหาคม 2562.
ปราสาทภูมิโปน ณ บ้านภูมิโปน ต.ดม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ 

ที่มา: www.wisut.net, วันที่เข้าถึง 06 สิงหาคม 2562
 
ทับหลังปราสาทบ้านน้อยห้วยพะใย อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร ห้องลพบุรี อาคารมหาสุรสิงหนาถ เป็นทับหลังที่แกะสลักด้วยหินทรายแกร่งสีเทาอ่อน ขนาดสูง 42 ซม. ยาว 175 ซม.
 ศิลปะแบบกำพงพระ หรือ กำปงพระ (Kompong Preah) (พ.ศ.1256-1350) ปลายพุทธศตวรรษที่ 14 จดหมายเหตุจีนกล่าวว่าเจนละได้แยกดินแดนออกเป็นสองส่วนคือ เจนละบกและเจนละน้ำ เป็นช่วงเวลาที่เกิดศิลปะแบบกำพงพระ เรียกตามชื่อปราสาทกำพงพระ เมืองกำปงชะนัง คำว่า "กำพงพระ" สำเนียงเขมรออกเสียงว่า "กำพงเปรี้ยะ" คำ "กำพง" แปลว่าท่าเรือ ส่วน "เปรี้ยะ" คือพระ แปลรวมแล้วคือ "ท่าพระ" ในยุคนี้ยังมีปราสาทอันเดต (อันเดต ในสำเนียงเขมร แปลว่า ลอยอยู่เหนือน้ำ) อยู่ห่างมาทางทิศตะวันตกของเมืองกำพงธมประมาณ 20 กิโลเมตร.
 
ปราสาทกำพงพระ (Prasat Kampong Preach), ห่างจากตัวเมืองกำพงชะนังราว 8 กิโลเมตร, ที่มา: tour-kh.blogspot.com, วันที่เข้าถึง 7 พฤศจิกายน 2562 
 ทับหลัง พธ.อุบล
 ศิลปะแบบกุเลน (Kulen) (พ.ศ.1370-1420) มีการค้นพบจารึกหลายหลักที่กล่าวถึงเหตุการณ์ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 14 ที่สำคัญคือจารึกที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม กล่าวถึงเจ้าชายขอมพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่าชัยวรมันที่ 2 เสด็จจากชวา มาปราบแลรวบรวมอาณาจักรจักรเจนละบกกับเจนละน้ำ จากนั้นตั้งตนเป็นกษัตริย์ ทำพิธีสถาปนาเทวราช ประกาศตัวอิสระไม่ขึ้นต่อชวาบนเขาพนมกุเลน พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ทรงสร้างเมืองหลวงหลายเมือง เมืองหนึ่งชื่อมเหนทรบรรพต เชื่อกันว่าคือกลุ่มโบราณสถานบนเขาพนมกุเลน ซึ่งประกอบไปด้วยปราสาทโอโป่ง ถมอดับ ดำไรกราบ เป็นต้น จัดเป็นศิลปะแบบกุเลนตามชื่อสถานที่ตั้ง กำหนดอายุอยู่ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 14 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 15
 ที่มา: oknation.nationtv.tv, วันที่เข้าถึง: 10 สิงหาคม 2562
 อรรถนารีศวร (มีกายเป็นครึ่งบุรุษครึ่งสตรี คือพระศิวะกับพระแม่ปารวตีหรือพระอุมา) บ้างก็เรียก อรรธนารีศวร, อรรธนารีศวรหินทราย พบในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ภาพที่ปรากฎซีกขวาเป็นบุรุษคือพระศิวะ และซีกซ้ายเป็นสตรีคือพระอุมา ประทับขัดสมาธิราบบนฐานบัวหงาย ยกพระกรทั้งสองข้างขึ้นเหนือพระเพลา (พระหัตถ์หายไป) พระพักตร์ค่อนข้างยาว พระเนตรที่สามปรากฎอยู่กึ่งกลางพระนลาฏ พระเกศาเกล้าสูง ทรงกุณฑลขนาดใหญ่และพาหุรัดลายดอกไม้ กรองสอเรียบไม่มีลวดลาย พระวรกายซีกขวาแสดงลักษณะบุรุษหรือพระศิวะ แนวเส้นนูนรูปวงกลมซึ่งหมายถึงพระจันทร์ติดอยู่บนเศียร พระเกศาขมวดกลม มีไรพระมัสสุ นุ่งผ้าสั้นเหนือพระชงฆ์ คาดเข็มขัดลายเชือกถัก มีบ่วงบาศคล้องที่ข้อพระหัตถ์
   พระวรกายซีกซ้ายแสดงลักษณะของสตรีเพศหรือพระอุมา ทรงทองพระกร และนุ่งผ้ายาวจรดข้อพระบาท มีแนวชายผ้าพาดจากใต้พระเพลาไปยังข้อพระกร เข็มขัดเป็นลายลูกประคำ
   อรรธนารีศวรนี้นับว่าเป็นองค์ที่เก่าแก่มากที่สุดในอุษาคเนย์ และมีความงดงามเป็นพิเศษ ทั้งในลักษณะของรูปทรงและเครื่องทรง
 ศิลปะแบบพะโค (Preah Ko) (พ.ศ.1420-1436) หลังรัชกาลพระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 2 แล้วมีกษัตริย์สืบราชบัลลังก์ต่อมาที่สำคัญคือ พระเจ้าอินทรวรมเทวะที่ 1 ทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่สำคัญ 3 ประการ 1) ทรงสร้างปราสาทพระโคเมื่อ พ.ศ.1420 เพื่อถวายบรรพชน 2) สร้างปราสาทบากอง (หลังเดิม) เมื่อ พ.ศ.1424 เพื่อเป็นปราสาทประจำรัชกาล และ 3) คือ การขุดสระน้ำขนาดใหญ่ไว้ให้ประชาชนได้ใช้ คือ บารายโลเลย หรือ ที่จารึกเรียกว่า "อินทรตฎากะ" กลายเป็นต้นแบบราชประเพณีของกษัตริย์ขอมที่ต้องทำสามสิ่งนี้เมื่อขึ้นครองราชย์ จึงทำให้มีปราสาทจำนวนมากในอาณาจักรกัมพูชาโบราณ 
ศิลปะแบบพระโคกำหนดอายุในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 15

ปราสาทพระโค (เปรี๊ยะโค) มีประติมากรรมรูปโคนนทิ พาหนะของพระศิวะหมอบประดิษฐานอยู่ด้านหน้าปราสาท รายละเอียดแสดงใน "ก. ปราสาทพระโค หรือ เปรี๊ยะโค"
ที่มา: 418111-history-of-art-in-thailand.blogspot.com, วันที่เข้าถึง 19 สิงหาคม 2562
 ปราสาทอิฐ พนมวัน

ที่มา: sansabaytwelve.com, วันที่เข้าถึง 19 สิงหาคม 2562.
 ปราสาทเขาน้อย
 ศิลปะแบบบาแค็ง (Bakheng) บ้างก็เรียก บาแคง (พ.ศ.1436-1470) เมื่อพระอินทรวรมเทวะที่ 1 สิ้นพระชนม์ โอรสของพระองค์คือพระเจ้ายโศวรมเทวะที่ 1 ครองราชย์ต่อมาในปี พ.ศ.1433 ทรงสร้างปราสาทโลเลยไว้กลางบารายโลเลยที่พระราชบิดา โปรดให้ขุดไว้ โดยอุทิศถวายปราสาทหลังนี้ให้พระราชบิดา ที่สำคัญคือ ทรงสร้างราชธานีแห่งใหม่ที่ชื่อว่า เมืองยโศธรปุระ หรือ เมืองพระนคร (Angkor) ได้แก่ บริเวณที่ตั้งของกลุ่มโบราณสถานซึ่งอยู่ห่างจากจังหวัดเสียมเรียบออกไปทางเหนือประมาณ 10 กิโลเมตร นอกจากนั้นยังทรงสร้างปราสาทประจำรัชกาลคือ ปราสาทบาแค็ง ไว้บนยอดเขาพนมบาแคง รวมทั้งขุดบารายทางทิศตะวันออกของเมืองพระนคร เรียกว่า บารายตะวันออก (ชื่อจารึก "ยโศตฏากะ") ศิลปะแบบบาแคงกำหนดอายุอยู่ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 15 ศ.ดร.อุไรศรี วรศะริน ได้อธิบายเมื่อคราวนำเที่ยวปราสาทเขมรในเมืองพระนครว่า บาแคงเป็นภาษาเขมรปัจจุบัน "บา" หมายถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นเพศชาย ส่วนคำว่า "แคง" แปลว่าแข็งแรง.
ปราสาทบาแค็ง ตั้งอยู่บนฐานซ้อนหลายชั้นสูงขึ้นไป แสดงความหมายว่าเป็นเขาพระสุเมรุ รายละเอียดแสดงใน "ซ. ปราสาทพนมบาเคง"

ที่มา: pantip.com/topic/32111981, วันที่เข้าถึง 19 สิงหาคม 2562.
ปราสาทอิฐ พนมวัน

ที่มา: palanla.com, วันที่เข้าถึง 10 กันยายน 2562.
 ศิลปะแบบเกาะแกร์ -"เกาะฮ์เก" (Koh Ker) (พ.ศ.1470-1490) หลังรัชกาลพระเจ้ายโศวรมเทวะที่ 1 เกิดความวุ่นวายทางการเมือง พระโอรสทั้งสองพระองค์แม้จะได้ขึ้นครองราชย์ตามลำดับต่อมา แต่มีพระญาติของพระองค์ตั้งตนเป็นกษัตริย์ขึ้นอีกพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่าพระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 4 โดยตั้งเมืองหลวงอยู่ที่โฉกครรคยาร์ (Chok Gargyar) (ชื่อตามาจึก) คือกลุ่มโบราณสถานที่เมืองเกาะแกร์ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองพระนครประมาณ 100 กิโลเมตร แต่เมื่อพิจารณาจากขนาดและร่องรอยความเจริญของโบราณสถานแล้ว เชื่อว่าพระราชอำนาจของพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 คงมีมากกว่ากษัตริย์ที่ครองราชย์อยู่ในเมืองพระนคร เพราะปราสาทธมที่เมืองเกาะแกร์มีขนาดใหญ่และสูงมาก ทั้งยังปรากฎร่องรอยของบารายขนาดใหญ่ที่เรียกว่า บารายระหาล ในขณะที่พระโอรสของพระเจ้ายโศวรมเทวะที่ 1 ไม่ปรากฎหลักฐานว่าให้ขุดบาราย มีเพียงสร้างปราสาทปักษีจำกรง เป็นปราสาทประจำรัชกาลซึ่งมีขนาดเล็กกว่า
ศิลปะแบบเกาะแกร์กำหนดอายุในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 15 คำว่า "เกาะแกร์" ชาวบ้านเขมรแปลว่า เกาะ+มรดก แต่ทางวิชาการเชื่อว่ามากจากคำว่า "โกกี" ในภาษาเขมรที่แปลว่าต้นตะเคียน

ที่มา:oknation.nationtv.tv/blog/tanthainium,วันที่เข้าถึง 2 กันยายน 2562
 ปราสาทกระวาน ศิลปะแบบเกาะแกร์ สร้างจากอิฐมี 5 หลังตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน จารึกกล่าวว่า พระเจ้ามหิธรวรมเทวะเป็นผู้สร้าง รายละเอียดแสดงใน "ฐ. ปราสาทกระวาน"

ที่มา: koratstartup.com, วันที่เข้าถึง 2 กันยายน 2562
 กู่บ้านปราสาท อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา

ที่มา: surin108.com, วันที่เข้าถึง 10 กันยายน 2562.
ปราสาทสังข์ศิลป์ชัย หรือ ปราสาทมีชัย ที่ ต.กระเทียม อ.สังขะ จ.สุรินทร์
ปราสาทเมืองแขก ต.วังโรงใหญ่ อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
ที่มา: painaidii.com, วันที่เข้าถึง 10 กันยายน 2562.
 
เกาะแกร์ - ปราสาทธม ถ่ายเมื่อ 13 ตุลาคม 2560
 ปราสาทอิฐ พนมรุ้ง
ปราสาทโนนกู่ อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
ที่มา; isan.tiewrussia.com, วันที่เข้าถึง: 11 กันยายน 2562.
 ศิลปะแบบแปรรูป (Pre Rup) (พ.ศ.1490-1510) สิ้นรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 4 แล้ว กษัตริย์ที่ได้ขึ้นครองราชย์ต่อมาคือ พระเจ้าราเชนทรวรมเทวะที่ 2 ทรงกลับมาประทับที่เมืองพระนครอีกครั้ง และทรงสร้างปราสาทอุทิศถวายบรรพบุรุษและบรรพสตรีคือ ปราสาทแม่บุญตะวันออก อยู่กลางบารายตะวันออก สร้างปราสาทประจำรัชกาลคือ ปราสาทแปรรูป แม้จะยังไม่พบหลักฐานว่าพระองค์ให้ขุดบารายหรือขุดลอกบารายเดิมหรือไม่ แต่เชื่อกันว่าพระเจ้าราเชนทรวรมเทวะที่ 2 คงได้รับการยอมรับจากผู้คนในราชอาณาจักร 
ศิลปะแบบแปรรูปกำหนดอายุในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 16 ชื่อแบบศิลปะมาจากปราสาทแปรรูปซึ่งเป็นปราสาทประจำรัชกาล ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองพระนคร คำว่า "แปรรูป" เป็นคำเรียกขั้นตอนของพิธีเผาศพช่วงที่ร่างกายถูกเผาไปหมดแล้วนำเอาโครงกระดูกที่เหลือมาเรียงให้เป็นรูปร่างใหม่ หันศีรษะไปทางทิศตะวันออก ภาษาไทยและเขมรออกเสียงเหมือนกันว่า "แปรรูป"
 ปราสาทแปรรูป, ถ่ายเมื่อ 8 มิถุนายน 2562. รายละเอียดแสดงใน "จ. ปราสาทแปรรูป"
 ปรางค์แขก
 ปราสาทอิฐ 5 หลัง เมืองต่ำ
 ศิลปะแบบบันทายสรี (Banteay Srei) (พ.ศ.1510-1545) หลังพระเจ้าราเชนทรวรมเทวะที่ 2 พระราชโอรสนาม พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 5 ขึ้นครองราชย์ต่อมาในขณะที่ทรงพระเยาว์ ปรากฎชื่อขุนนาง ราชปุโรหิตหลายคนที่เชื่อว่ามีบทบาททางการเมืองในการบริหารราชการแผ่นดิน เช่น มหิธรวรมัน (ผู้สร้างปราสาทกระวาน) ทิวากรภัฏ (ผู้สร้างปราสาทอินทรโกสีย์) ราชกุลมหามนตรี และยัชญะวราหะ ผู้มีเชื่อสายทั้งพราหมณ์และกษัตริย์และคงมีอำนาจมากกว่าคนอื่น เพราะเป็นทั้งพระญาติอาจารย์ และเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 สร้างปราสาทบันทายสรี เมื่อ พ.ศ.1510 เป็นปราสาทที่ถือว่าเป็นหนึ่งในด้านความงามและความละเอียดทางศิลปกรรม และเป็นที่มาของชื่อ ศิลปะแบบบันทายสรี กำหนดอายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ 16.
คำว่า "บันทายสรี" เขมรออกเสียงว่า "บอนเตียสะเรย" คำว่า "บอนเตีย" แปลว่า ป้อม คนเขมรเห็นปราสาทมีกำแพงหินล้อมรอบ ดูแข็งแรงเหมือนป้อมปราการ ส่วนใหญ่จะเรียกว่าบอนเตียหมด ส่วนคำว่า "สะเรย" แปลว่า สตรี.

 
ถ่ายเมื่อ 16 ตุลาคม 2560   ปราสาทบันทายสรี
รายละเอียดแสดงใน "ช. ปราสาทบันทายสรี"
 ปราสาทวัดปรางค์ทอง ต.พุดซา อ.เมือง จ.นครราชสีมา, ถูกดัดแปลงในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ด้วยมีปลายแหลม), ที่มา: bloggang.com, วันที่เข้าถึง 25 กันยายน 2562
  ปราสาทโดนดวย แปรรูป
  ศิลปะแบบคลัง หรือแบบพระวิหาร (Khleang) (พ.ศ.1550-1600) หลังจากสิ้นรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 5 มีเหตุการณ์วุ่นวายเกี่ยวกับการชิงอำนาจในราชอาณาจักร ปรากฎพระนามของพระเจ้าแผ่นดินหลายพระองค์ แต่ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าอำนาจเด็ดขาดขึ้นอยู่กับใคร จนถึง พ.ศ.1540 จารึกกล่าวถึงพระเจ้าสุริยวรมเทวะที่ 1 ว่าเป็นเจ้าชายที่มาจากนอกเมืองพระนคร ได้ปราบศัตรูของพระองค์จนราบคาบ แล้วเสด็จขึ้นครองราชย์ยาวนานเกือบ 50 ปี หลังจากสิ้นรัชกาลของพระองค์แล้ว โอรสคือ พระเจ้าอุทัยทิตยวรมเทวะที่ 2 ได้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจากพระราชบิดา ช่วงสองรัชกาลนี้ราชอาณาจักรกัมพูชามีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น ประกอบกับระยะเวลาในการครองราชย์ของทั้งสองพระองค์ยาวนานกว่า 60-70 ปี จึงทำให้เกิดงานศิลปกรรมขึ้นมากมาย ปราสาทหลายหลังถูกสร้างขึ้นนอกเมืองพระนคร ปราสาทที่สร้างในสมัยพระเจ้าสุริยวรมเทวะที่ 1 ที่สำคัญคือ ปราสาทคลังเหนือและใต้ที่อยู่ใจกลางเมืองพระนคร และได้ใช้เป็นชื่อเรียก ศิลปะแบบคลัง นอกจากนั้นทรงสร้างปราสาทพระวิหาร ทางด้านทิศเหนือของเมืองปราสาทสมโบร์แม่โขงทางด้านทิศตะวันออก ปราสาทพนมจีสอร์ด้านทิศใต้ และปราสาทเอกพนม ปราสาทบาแสตที่เมืองพระตะบองด้านทิศตะวันตก คำว่า "คลัง" เขมรออกเสียงว่า "เคลียง" หรือ "เกลียง" ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นพระคลังที่เก็บมหาสมบัติของพระเจ้าแผ่นดิน กำหนดอายุของศิลปะนี้อยู่ในราวครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 16
 พระวิหาร ถ่ายเมื่อเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2560
 ปราสาทเมืองต่ำ
 ปราสาทภูเพ็ก
 ปราสาทตาเมือน 
 ปราสาทบ้านพลวง 
 ปราสาทสระกำแพงใหญ่
 ปรางค์น้อย
 ศิลปะแบบบาปวน (Baphuon) (พ.ศ.1600 -??) กำหนดอายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ 17 บาปวนเป็นชื่อของปราสาทหลังหนึ่งตั้งอยู่กลางเมืองพระนครธม "บา" หมายถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นเพศชาย "ปวน" แปลว่า หลบหนี มีที่มาจากนิทานพื้นบ้านเรื่อง ปักษีจำกรง ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับกษัตริย์หลบหนีศัตรู ตามจารึกกล่าวว่าพระเจ้าอุทัยทิตยวรมเทวะที่ 2 โปรดให้สร้างปราสาทแห่งนี้ รวมทั้งปราสาทแม่บุญตะวันตก และบารายตะวันตก.
 ปราสาทบาปวน ถ่ายเมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน 2562 รายละเอียดแสดงใน "ฉ. ปราสาทบาปวน"
 กู่กาสิงห์
 ปราสาทสต๊กก๊อกธม
 ศิลปะแบบพิมาย (พ.ศ.1650-1693?)  ปราสาทหินพิมาย
 ปราสาทพนมวัน
 ปราสาทยายเหงา
 กู่สวนแตง
 ปราสาทนารายณ์เจงแวง
 ศิลปะแบบนครวัด (Angkor Wat) (พ.ศ.1693?-1725) เมื่อสิ้นรัชกาลของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมเทวะที่ 2 แล้ว ราชอาณาจักรเกิดความวุ่นวายเพราะมีการแย่งชิงอำนาจกัน จวบจนกระทั่งราว พ.ศ.1656 พระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่า พระเจ้าสูริยวรมเทวะที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์และทรงอยู่ในราชบัลลังก์นานเกือบ 40 ปี ได้ทำสงครามขยายอาณาเขตไปกว้างไกล โดยเฉพาะการทำสงครามและเอาชนะศัตรูทางทิศตะวันออก คือราชอาณาจักรจามหรือจามปา โปรดให้สร้างปราสาทนครวัดอันยิ่งใหญ่เป็นปราสาทประจำรัชกาล ศิลปะที่เกิดขึ้นในช่วงนี้จึงมีชื่อเรียกว่า ศิลปะแบบนครวัด กำหนดอายุราวกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 17
 นครวัด รายละเอียดดูใน "นครวัด: ยลพระบรมวิษณุโลก ก่อนสิ้นลมปราณ"
  ปราสาทพนมรุ้ง
 ปราสาทบ้านระแหง
 ปรางค์กู่
 ปราสาทเมืองศรีเทพ
 ศาลตาผาแดง
 วัดพระพายหลวง
 ศิลปะแบบบายน (Bayon) (พ.ศ.1725-1840) หลังรัชกาลของพระเจ้าสูริยวรมเทวะที่ 2 ราชอาณาจักรกัมพูชาตกอยู่ในความวุ่นวายอีกครั้ง โดยมิใช่แค่ความวุ่นวายภายในเท่านั้น แต่มีศัตรูจากภายนอกคืออาณาจักรจัมปาได้แอบยกกองทัพเรือผ่านทะเลสาบเข้ายึดและทำลายเมืองพระนครใน พ.ศ.1720 ราชอาณาจักรกัมพูชาโบราณต้องรอคอยถึง 4 ปี จนกระทั่ง พ.ศ.1724 จึงได้มีแม่ทัพผู้หนึ่งที่ต่อมาได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่า พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 7 นำกองทัพเข้าขับไล่จามออกไปจากราชอาณาจักร และบูรณะฟื้นฟูเมืองราชธานีขึ้นมาใหม่ทับซ้อนบางส่วนของเมืองพระนครเดิม รู้จักกันในนามเมืองพระนครธม พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 7 ทรงปกครองราชอาณาจักรต่อมาอีกยาวนานและทำสงครามขยายอาณาเขตไปกว้างไกลกว่ากษัตริย์พระองค์ใดในประวัติศาสตร์เขมรโบราณ โดยทิศเหนือขึ้นไปถึงลุ่มแม่น้ำโขงบริเวณเวียงจันทน์ ด้านตะวันออกเข้าครอบครองดินแดนที่เคยเป็นอาณาจักรจามทั้งหมดจรดชายทะเลลงไปถึงภาคใต้ ทางตะวันตกมีหลักฐานที่น่าเชื่อว่าพระราชอำนาจแผ่ไปถึงลุ่มน้ำแม่กลองและแม่น้ำแควน้อย (บริเวณปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี) โปรดให้สร้างปราสาทขนาดใหญ่มากมาย เช่น ปราสาทตาพรหม พระขรรค์ บายน บันทายกุฎี ตาโสม และนาคพันในเมืองพระนครธม ให้สร้างปราสาทบันทายฉมาร์และปราสาทพระขรรค์ที่กำปงสวาย นอกเมืองพระนครธม รวมถึงการตัดถนนไปยังเมืองสำคัญต่าง ๆ ภายในราชอาณาจักร เช่น เมืองวิชัยในจาม เมืองพิมายในประเทศไทย และสร้างที่พักคนเดินทาง โรงพยาบาลอีกนับร้อยแห่ง   ปราสาทบายน รายละเอียดดูใน "บายน: วิมานไพชยนต์"
  วหนิคฤหะ 9 หลัง
  อโรคยศาลา 35 หลัง
  ปรางค์แดง
  ปรางค์น้อย
  กู่บ้านแดง
 ปรางค์พรหมทัต
 ปรางค์สามยอด
พระชัยพุทธมหานาถ หรือ หลวงพ่อทวารวดี หรือ หลวงพ่อพันปี เป็นพระนาคปรก หินทรายสีขาว ประดิษฐานอยู่ในคูหาปรางค์ประธาน (กล่าวกันว่า พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 7 ทรงสร้างไว้ 23 องค์ กระจายไปทั่วแว่นแคว้น), ที่มา: mgronline.com, วันที่เข้าถึง 15 ตุลาคม 2562
 มหาธาตุราชบุรี
 วัดเจ้าจันทร์ ศรีสัชนาลัย
 ปราสาทเมืองสิงห์
 มหาธาตุลพบุรี
 ศิลปะหลังบายน (Post-Bayon) (พ.ศ.1840-??)  มหาธาตุอยุธยา
 ราชบูรณะ อยุธยา
 พระราม อยุธยา
 
ที่มา: mgronline.com, วันที่เข้าถึง 15 ตุลาคม 2562
 มหาธาตุราชบุรี
 ปรางค์วัดจุฬามณี
 ปรางค์วัดศรีสวาย
 พระธาตุจันทร์
 ธาตุบ้านธาตุ
 พระธาตุบ่อพันขัน


ที่มา แหล่งอ้างอิง หมายเหตุและคำอธิบายเพิ่มเติม
01. Michael Freeman และ Claude Jacques, ANCIENT ANGKOR Book guides, ISBN 974 8225 27 5, จัดพิมพ์ที่ บมจ.อมรินทร์ พรินติ้ง ประเทศไทย, ครั้งที่ 11 พ.ศ.2556.
02. Michel Petrotchenko, Focusing On The Angkor Temples, The Guidebook 2017 Edition, ISBN 978-616-423-531-1, จัดพิมพ์ที่ บมจ.อมรินทร์ พรินติ้ง ประเทศไทย, ครั้งที่ 4 พ.ศ.2560.
03.  ภภพพล จันทร์วัฒนกุล, 30 ปราสาทขอมในเมืองพระนคร, ISBN 978 616 7767 94 9 พิมพ์ครั้งที่ 2 ตุลาคม 2560, สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, กรุงเทพฯ.
04.  วรณัย พงศาชลากร, นักวิชาการนอกกรอบ EJeab Academies, วันที่เข้าถึง 6 มิถุนายน 2562.
05.  "คำที่เรียกว่าอาณาจักรเจินละ นั้นเป็นภาษาจีน ต่อมาก็มี เจนละบก เจนละน้ำ และมี อาณาจักรฟูนัน" ผมเห็นด้วยกับแนวคิดของนักวิชาการด้านมานุษยวิทยานอกกรอบ (อาจารย์วรณัย) ที่ตั้งประเด็นว่า ทำไมนักประวัติศาสตร์ไม่ตั้งหรือเรียกชื่อเป็นแบบไทย ๆ หรือ กัมพูชา ในแถบภูมิภาคนี้ เพราะคำว่า "เจนละ, ฟูนัน" ดูโดด ๆ เป็นภาษาจีน ไม่สอดคล้องกับที่เรียกและเขียนเป็นภาษาแบบไทยหรือเขมรหรือมอญกัน ตามยุคสมัยที่ปรากฎตาม Timeline ประวัติศาสตร์.   
   ต่อมา ศาสตราจารย์เซเดส์ สันนิษฐานว่า ฟูนัน (ที่หลักฐานจีนเรียกนั้น ว่าเมืองออกแก้วเป็นเมืองท่าของอาณาจักรใหญ่) ศจ.เซเดส์ได้พิเคราะห์หลักฐานทางภาษาศาสตร์มากกว่าหลักฐานทางโบราณคดีว่า ฟูนัน อยู่ใกล้กับเนินเขาเตี้ย ๆ ชื่อ "บาพนม" ทางตะวันออกของแม่น้ำโขง จึงสันนิษฐานว่า ฟูนัน มาจากคำว่า พนม ที่แปลว่า ภูเขา
   และใน Website www.usakanaenew.com ของคุณชัยวลัญช์ ธนาเกียรติชาคร โดยมีคุณเสนีย์อนุชิต ถาวรเศรษฐ เป็นผู้เขียนเรียกเจนละ ว่า โจฬะ และเรียกพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ว่า พระเกตุมาลา, วันที่เข้าถึง 2 กันยายน 2562.




PHOTO GALLERY
ภาพที่ 001: แม่น้ำเสียมเรียบ จังหวัดเสียมราฐ กัมพูชา ปี 2448 Siem-Reap river ,Siem Reap (province) ,Cambodia ,1905 Rivière de Siem-Reap, Credit : Pierre Dieulefils, ที่มา: Facebook ห้อง "Wisuwat Buroot", วันที่เข้าถึง 22 กรกฎาคม 2563.


 

PHOTO
GALLERY
info@huexonline.com