MENU
TH EN

057. ปราสาทบ้านน้อยห้วยพะใย จ.สระแก้ว

Title Thumbnail: ปราสาทบ้านน้อยห้วยพะใย & Hero Image: บารายขนาดเล็ก ด้านซ้ายของโคปุระ ถ่ายไว้เมื่อ 23 เมษายน 2565.
057. ปราสาทบ้านน้อยห้วยพะใย - จ.สระแก้ว01.
First revision: Apr.22, 2022
Last change: Apr.27, 2022

สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย อภิรักษ์ กาญจนคงคา.

       โบราณสถานปราสาทบ้านน้อย ตั้งอยู่ที่ ตำบลผักขะ อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ประกอบด้วยกลุ่มโบราณสถาน สร้างด้วยอิฐและศิลาแลง มีกำแพงล้อมรอบและมีบารายขนาดใหญ่ ตั้งอยู่นอกกำแพงด้านทิศตะวันออก กลุ่มโบราณสถานภายในกำแพงล้อมรอบ ประกอบด้วย
       1. ปราสาทประธาน เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพประจำศาสนสถาน
       2. บรรณาลัย เป็นที่เก็บรักษาเครื่องใช้ในพิธีกรรม รวมถึงคัมภีร์ต่าง ๆ 
       3. กำแพงแก้ว เป็นกำแพงล้อมรอบศาสนสถาน มีประตูทางเข้าขนาดใหญ่ซึ่งเรียกว่าโคปุระ
       4. บาราย เป็นสระสำหรับกักเก็บน้ำ
       5. กำแพงชั้นนอก เป็นคันดินล้อมรอบโบราณสถานทั้งหมด

 

ทับหลังปราสาทบ้านน้อย, ที่มา: Google Image, ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานพระนคร (ห้องลพบุรี อาคารมหาสุรสิงหนาถ) กรุงเทพฯ. 
แกะสลักด้วยหินทรายแกร่งสีเทาอ่อน ขนาดสูง 42 ซม. ยาว 175 ซม. การออกแบบลวดลายเป็นแบบซ้ายขวาเท่ากัน โดยแกะสลักเป็นลายท่อนพวงมาลัยจากกึ่งกลางทับหลังปลายแยกออกไปทั้งสองข้างและม้วยเข้าหากัน บนท่อนพวงมีวงกลมรูปเหรียญ วางอยู่ 3 วง เหนือท่อนพวงมาลัยเป็นลายใบไม้ ใต้ท่อนพวงมาลัย ทำเป็นลายพวงมาลัยห้อย ภายในพวงมาลัยและระหว่างลายพวงมาลัยเป็นพวงอุบะห้อย ถัดจากท่อนพวงมาลัยทั้งซ้ายและขวา ทำเป็นรูปหงส์นั่นแท่นหันหน้าออก คาบพวงอุบะ เหนือหงส์ทำเป็นลายดอกไม้ 8 กลีบ ครึ่งซีก นักวิชาการระบุว่า เป็นศิลปะเขมร แบบไพรกเม็ง มีอายุราว พุทธศตวรรษที่ 13 และได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า “รูปหงส์หันหน้าออกคาบพวงอุบะเป็นสิ่งที่ไม่ปรากฏในกัมพูชา
02.
 

รายละเอียดภาพสเก็ตทับหลังปราสาทบ้านน้อย02., ที่มา: wisut.net, วันที่เข้าถึง 27 เมษายน 2565.

       แผนผังของโบราณสถานปราสาทบ้านน้อยเป็นแผนผังของศาสนสถานประจำอโรคยาศาลหรือโรงพยาบาลซึ่งพระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 7 โปรดให้สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ตามเส้นทางที่ทรงแผ่พระราชอำนาจไปถึง เพื่อใช้เป็นสถานที่รักษาผู้เจ็บป่วย มักพบร่วมกับที่พักคนเดินทางหรือธรรมศาลา ในประเทศไทยส่วนใหญ่พบอโรคยาศาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนในภาคตะวันออกนั้นพบที่โบราณสถานบ้านปราสาทและกลุ่มโบราณสถานสระมรกต จังหวัดปราจีนบุรี
       ปัจจุบันกรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 115 ตอนพิเศษ 38 ง วันที่ 20 พฤษภาคม 2541 มีเนื้อที่โบราณสถาน 45 ไร่ 95 ตารางวา.



ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย:
01. จาก. ป้ายหน้าโบราณสถานปราสาทบ้านน้อย, วันที่ถ่ายไว้ 23 เมษายน 2565.
02.  ภาพจากหนังสือ ปราสาทหินและทับหลัง มรดกไทย โครงการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมไทย ศ.ดร.มรว. สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ บรรณาธิการ ที่หน้า 23 ภาพทับหลัง มีคำบรรยายว่า “ ทับหลังแบบ ไพรกเมง ปราสาทบ้านน้อย จังหวัดสระแก้ว หนังสือ ทับหลัง การศึกษาเปรียบเทียบทับหลังที่พบในประเทศไทยและประเทศกัมพูชา โดย อ.สมิทธิ ศิริภัทร์ และ ผศ. มยุรี วีระประเสริฐ พ.ศ.2533 หน้า 73 รูปที่ 27 มีคำบรรยายในหน้า 72 ว่า ทับหลังจากปราสาทบ้านน้อย อำเภอวัฒนานคร ศิลปะแบบไพรกเมง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13
info@huexonline.com