MENU
TH EN

I. อาณาจักรพระนครโบราณ: ก่อนเมืองพระนคร - สมัยเมืองพระนคร ตอนที่ 1

ภาพนครวัด, ที่มา: เว็บไซต์ของสำนักฝรั่งเศสปลายบูรพาทิศ (EFEO - Ecole française d'Extrême-Orient), วันที่เข้าถึง: 30 มีนาคม 2562.

I. อาณาจักรพระนครโบราณ:
ก่อนเมืองพระนคร - สมัยเมืองพระนคร ตอนที่ 1 05,11.

First revision: Jun.02, 2019
Last change: Sep.27, 2021
สืบค้น รวบรวม เรียงเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา

     ด้วยประวัติศาสตร์ของกัมพูชาโบราณนั้นมีผู้เขียนและมีผู้รวบรวมไว้ไม่น้อย กอปรกับประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของกัมพูชา (จากการพิสูจน์โดยคาร์บอน 14 ที่ถ้ำลางสเปียนทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา พิสูจน์ได้ว่ามีมนุษย์อาศัยในแผ่นดินกัมพูชานี้ไม่ต่ำกว่า 4200 ปีก่อนคริสตกาล) นั้นทำให้มีเรื่องมีข้อสันนิษฐานใหม่ ๆ ที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมสามารถขยายองค์ความรู้ต่อไปได้อีก
     สำหรับเนื้อหาในบล็อกนี้ กระผมผู้เขียน รวบรวม เรียบเรียงและปรับปรุง ใคร่ขอเน้นศึกษาช่วงการก่อร่างสร้างตัวของเมืองพระนคร (พ.ศ 1333 - 1896 หรือ ค.ศ.790 -1353) หรือพุทธศตวรรษที่ 14-20 (นักวิชาการบางท่านกล่าวว่ายุคเมืองพระนครอยู่ระหว่าง ค.ศ.802-1431) เป็นสำคัญ ด้วยเพราะในยุคเมืองพระนครโบราณนี้ อาณาจักรกัมพูชามีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม ศาสนา วัฒนธรรมประเพณี ระบบสังคมการปกครอง การสงคราม ระบบการกักเก็บและการจัดสรรน้ำ ความหลากหลายของชนชาติที่เกี่ยวข้องในภูมิภาค ฯลฯ  มีนักวิชาการบางท่านได้กล่าวว่าความเจริญและความหนาแน่นของประชากรในยุคอาณาจักรพระนครนี้ เทียบได้กับเมืองนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ในปัจจุบันเลยทีเดียว
     ซึ่งมีแหล่งข้อมูลกระจายอยู่ทั่วไปทั้งเป็นหนังสือ บทความทางวิชาการ เป็นรูปเล่ม รวมทั้งข้อมูล บทความ ข้อสันนิษฐานและทฤษฎีใหม่ ๆ ที่ปรากฎในเว็บไซต์ต่าง ๆ กระผมปวารณาตัว ขอพยายามรวบรวมประมวล วิเคราะห์ ให้ความเห็นพร้อมแหล่งอ้างอิงให้มากที่สุดเกี่ยวกับอาณาจักรพระนครโบราณนี้ให้มากและสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 

 

ที่มา: usakanaenew.com,01 วันที่สืบค้น 18 กันยายน 2562.
อาณาจักรเทียน ราว พ.ศ.304

[page 69]
     ใกล้ ๆ กับเมืองออกแก้ว (OcEo)02 ของเวียดนาม (ปัจจุบัน) พบเหรียญโรมัน ยุคคริสต์ศตวรรษที่ 2 หรือที่ 3 ภาชนะเครื่องใช้ของอินเดีย เครื่องประดับและตราลัญจกร เมืองออกแก้ว นับเป็นเมืองท่าสำคัญเชื่อมโยงเข้าไปในตอนกลางอาณาจักรกัมพูชาโบราณ (มีพ่อค้าและนักแสวงบุญใช้เมืองท่านี้เป็นที่ไปกลับระหว่างจีนกับอินเดียในยุคต้นคริสตกาล) คณะนักโบราณคดีนำโดย หลุยส์ มาลเลอเร (Malleret) เชื่อว่าเมืองท่าออกแก้วนี้ หมดความสำคัญไปในคริสต์ศตวรรษที่ 4 

 

ภาพบริเวณอุษาคเนย์ด้านตะวันออก ราว พุทธศตวรรษที่ 8,
ที่มา: usakanaenew.com, วันที่สืบค้น 22 กันยายน 2562.

 

 
ผู้ปกครองเขมร (KHMER RULERS)03
ลำดับกษัตริย์ก่อนเมืองพระนคร (Chronology of Pre-Angkor Kings)04
กษัตริย์ ช่วงครองราชย์ ศาสนสถานที่สร้าง, การบูรณะ หรือการต่อเติม รูปแบบศิลปะ
 ยุคฟูนัน (พนม หรือ นครพนม หรือ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ)06,07 - อินเดีย (คริสต์ศตวรรษที่ 6 ประมาณ พ.ศ.1100)
 พระเจ้าโกณฑินยะวรมเทวะ  ? - พ.ศ.1057  ปราสาทพนมดา (Phom Da) เขตอังกอร์ บอเร จังหวัดตาแก้ว กัมพูชา คติไวษณพ-ปาญจรตะ (บ้างก็เขียนว่า ปัญจตันตระ - Pancharatra หรือ Pāñcarātra) เป็นที่นิยม
 พระเจ้ารุทธวรมเทวะ  พ.ศ.1057-ราว พ.ศ.1100 (ค.ศ.560)  
 ยุคฟูนัน (พนม หรือ นครพนม) และการขยายอิทธิพลของอินเดียใหม่ (เจนละ หรือ โจฬะ) (ราว พ.ศ.1100-1170)
 พระเจ้าภววรมเทวะที่ 1  พ.ศ.1141  จารึกศรีเทพ กล่าวถึงพระนามเจ้าชายจิตรเสน จารึกดอนขุมเงิน พนมดา พ.ศ.1100-1150 ค.ศ.550-600
สมโบร์ไพรกุก พ.ศ.1150-1200
ถาลาบริวัต พ.ศ.1143-1193 (ค.ศ.600-650) - จารึกขลุง วัดทองทุ่ง วัดสระบาป ทับหลังวัดทองทุ่ง
 พระเจ้ามเหนทรวรมเทวะ (จิตรเสน)  พ.ศ.1150-1159   จารึกดอนขุมเงิน-ร้อยเอ็ด, คูเมือง, ถ้ำเป็ดทอง-บุรีรัมย์, ปากมูล, วัดสุปัฏนาราม, ปากโดมน้อย, ภูหมาไน-อุบลฯ, ช่องสระแจง-สระแก้ว, ปราสาทวัดพู นครจำปาสัก ลาวใต้ 
 พระเจ้าอีศานวรมเทวะ (Isanavarman I)  พ.ศ.1159-1180  เมืองอีศานปุระ (สมโปร์ไพรกุก)
 ยุคเจนละ หรือ โจฬะ หรือ เศรษฐปุระ (พ.ศ.1170 - ราว 1250)08
 พระเจ้าภววรมเทวะที่ 2 (Bhavavarman II)  พ.ศ.1182 (ค.ศ.650-680)  ปราสาทภูมิโปน ไพรกเมง พ.ศ.1180-1250 (ค.ศ.630-700) บ้านน้อยห้วยพะใย ยุคแรก, กู่แก้วสี่ทิศ
 
 พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 1 (Jayavarman I) พ.ศ.1200-1224  ปราสาทเขาน้อย ยุคแรก
 ยุคเจนละบกและเจนละน้ำ (พ.ศ.1250 - ราว 1350) ค.ศ.700-800
 ความวุ่นวายระหว่างเจนละ (อินเดีย) ทั้งสองกลุ่ม ไม่ปรากฎศูนย์กลางในยุคนี้   แต่เอกสารบางแหล่งมีปรากฎนามกษัตริย์และกษัตรีย์อีก 4 พระองค์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ดังนี้ กำพงพระ พ.ศ.1250-1350 (ค.ศ.700-800), ปราสาทตำหนักไทร
 พระนางชัยเทวี
 พระเจ้าพุชการักษ์ชา
 พระเจ้าสามภูรวรมเทวะ
 พระเจ้าราเชนทรวรมเทวะที่ 1



ภาพถ่ายที่พนมกุเลน หรือ มเหนทรบรรพต (Mahendraparvata) ด้วยเทคนิค LiDAR
พบแนวสิ่งก่อสร้างเมืองหลวงของอาณาจักรเขมรโบราณ ในคริสต์ศวรรษที่ 9,
ที่มา: Antiquity Journal เมื่อ 18 ตุลาคม 2562, วันที่เข้าถึง 18 ธันวาคม 2562.



ลำดับกษัตริย์แห่งเมืองพระนคร (Chronology of Kings at Angkor)
กษัตริย์ ช่วงครองราชย์ ศาสนาสถานที่สร้าง, การบูรณะ หรือ การต่อเติม
(Temples begun, rebuilt, or added to)
รูปแบบศิลปะ
 1. พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 2 (Jayavarman II) หรือพระเกตุมาลา08,09  นักวิชาการบางท่านเรียก พระบาทปรเมศวร12 พ.ศ.1345-1392 (ค.ศ.790-835)  พระอารามหรือปราสาทรุ่งแจ้ง?? ดูใน 25. พระอารามรุ่งแจ้ง บนเขาพนมกุเลน (มเหนทรบรรพต) ก่อนการจัดตั้งปราสาทที่กุฏิสวาระ ดูใน 26. ปราสาทกุฏิสวาระ (Rong Chen on Phnom Kulen, earlier shrine on the site of Kutisvara)10 บาพนม, อนินทิตาปุระ, เมืองหริหราลัย (ร่อลั่ว บ้างก็เรียก โรลั้วะ หรือ ร่อสวย หมายถึง ต้นทองหลางพันธุ์หนึ่งซึ่งไม่ใช่พันธุ์ที่คนไทยรู้จัก) ในสมัยเมืองพระนครนี้ อิทธิพลศิลปะแบบจามปาแพร่หลาย

กุเลน พ.ศ.1370-1420 (ค.ศ.800-870)
 2. พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 3 (Jayavarman III) (วิษณุโลก) (พ.ศ.1393-1420) (ค.ศ.835-877)  ปราสาทไพรมนตรี (ดูใน 27. ปราสาทไพรมนตรี), ปราสาทตระพังพง (ดูใน 28. ปราสาทตระพังพง), ปราสาทบากอง (ดูใน 16. ปราสาทบากอง) (Prei Monti, Trapeang Phong, Bakong), เมืองหริหราลัย (โลเลย หรือ ร่อลั่ว)???
3. พระเจ้าอินทรวรมเทวะที่ 1 (Indravarman I) (อิศวรโลก)  พ.ศ.1420-1432
(ค.ศ.877-c.886)
 ปราสาทพระโค (ดูใน 01. ปราสาทพระโค) สร้างหินทรายหุ้มปราสาทบากองไว้, บารายอินทรฏะฎะกะ หรือ บารายยโสตฏากะ หรือ อินทรตฎากะ (บารายตะวันออก) (Preah Kô, sandstone cladding of Bakong, Indratataka baray), เมืองหริหราลัย (ร่อลั่ว) พระโค พ.ศ.1420-1440 (ค.ศ.880-900, จารึกบ่ออีกา, จารึกบ้านโนนสังข์-ยโสธร
4. พระเจ้ายโศวรมเทวะที่ 1 (Yasovarman I) (บรมศิวโลก) บ้างก็เขียน ยโสวรมเทวะที่ 1  พ.ศ.1432-1458 (ค.ศ.889-c.915)  ปราสาทโลเลย (ดูใน 20. ปราสาทโลเลย), ปราสาทบาแคง (ดูใน 08. ปราสาทพนมบาแคง), ปราสาทเบย (ดูใน 29. ปราสาทเบย), ปราสาทธมบายไง (ดูใน 30. ปราสาทธมบายไง), จัดตั้งปราสาทพิมานอากาศในระยะแรก, ปราสาทพนมกรอม, ปราสาทพนมบก, บารายยโสตฏากะ (บารายตะวันออก) (Lolei, Bakheng, Prasat Bei, Thma Bay Kaek, earlier shrine on the site of Phimeanakas, Phnom Krom, Phnom Bok, East Baray) เมืองยโสธรปุระ (เมืองพระนคร), พนมกังดาล (หรือ พนมกันดาล) บาแค็ง พ.ศ.1440-1470 (ค.ศ.900-930), จารุกพนมวัน, ปักษีจำกรง, อาณาเขตถึงสะเทิม-ไชยา, ปราสาทวัดศรีสวาย
 5. พระเจ้าหรรษวรมเทวะที่ 1 (Harshavarman I) (รุทรโลก)  พ.ศ.1458-Late 1466 (ราว ค.ศ.915-923)  ปราสาทปักษีจำกรง, ปราสาทกระวาน (Baksei Chamkrong, Prasat Kravan) เมืองยโสธรปุระ (เมืองพระนคร) พนมกังดาล - บาแค็ง, (ขึ้นครองราชย์แต่เล็ก) 
 6. พระเจ้าอิศานวรมเทวะที่ 2  (Isanavarman II) (บรมรุทรโลก) พ.ศ.1468 (ค.ศ.923-c.928)  เมืองยโสธรปุระ (เมืองพระนคร) (ขึ้นครองราชย์ระยะสั้น ไม่มีบทบาทในการปกครองอาณาจักร)
7. พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 4 (Jayavarman IV) (บรมศิวบท) พ.ศ.1470-1485 (ค.ศ.c.928-c.941)  เมืองโฉกครรกยาร์ - อาณาจักรเกาะแกร์ (ดงตะเคียน) (Koh Ker Site) (ยึดอำนาจจากหรรษวรมเทวะที่ 2 แล้วย้ายศูนย์ไปเกาะแกร์) เกาะแกร์ พ.ศ.1465-1490 (ค.ศ.900-950), ปราสาทภูฝ้าย, กู่บ้านปราสาท, จารึกลพบุรี, ศรีจนาศะ, ปราสาทอิฐ 8 มูรติที่พนมรุ้ง โนนกู่ เมืองแขก สังข์ศิลปชัย, ปราสาทปลายบัด 1 2
8. พระเจ้าหรรษวรมเทวะที่ 2 (Harshavarman II) (พรหมโลก) พ.ศ.1485 - 1487 (ค.ศ.c.941-944)  เมืองโฉกครรกยาร์ - อาณาจักรเกาะแกร์ (ดงตะเคียน) (Koh Ker Site)  
 9. พระเจ้าราเชนทรวรมเทวะ (Rajendravarman) (ศิวโลก) พ.ศ.1478-1511 (ค.ศ.944-968) ปราสาทแปรรูป, ปราสาทแม่บุญตะวันออก, Bat Chum, Kutisvara, บันทายสรี, ระยะแรกของปราสาทบันทายกุฎี, สระสรง, ปักษีจำกรง (Pre Rup, East Mebon, Bat Chum, Kutisvara, Banteay Srei, an eralier temple on the site of Banteay Kdei, Sra Srang, Baksei Chamkrong) เมืองยโสธรปุระ (เมืองพระนคร 2) (ย้ายศูนย์กลางกลับยโสธรปุระ - พระนคร, สงครามชนะจาม)  แปรรูป พ.ศ.1490-1510 (ค.ศ.950-970) จารึกพังงวย, วัดมะกอก-สระแก้ว สุรินทร์, ปราสาทตำหนักไทรสมัย 2, ปราสาทประธานเมืองต่ำ, ปรางค์แขก, โดนตวล
 10. พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 5 (Jayavarman V) (บรมวีรโลก) พ.ศ.1511-1544 (ค.ศ.968-c.1000) ปราสาทตาแก้ว (Takeo) เมืองยโสธรปุระ (เมืองพระนคร) (พระโอรสสืบทอดบัลลังก์ ช่วงเวลาสันติอันยาวนาน)  บันทายสรี (พ.ศ.1510-1560) (ค.ศ.970-1202) จารึกเสมา อุบมุง-อุบลฯ, ภูมิโปน เมืองแขก พนมรุ้ง, ปราสาทวัดปรางค์, พระโค, บ้านใหม่
 11. พระเจ้าอุทัยทิตยวรมเทวะที่ 1 (Udayadityavarman I) พ.ศ.1545 (ค.ศ.1001-1002)  เมืองยโสธรปุระ (เมืองพระนคร) (ช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลง)
 12. พระเจ้าชัยวีรวรมเทวะ (Jayaviravarman)  พ.ศ.1545-1553 (ค.ศ.1002-1010)  ปราสาทคลังเหนือ, บูรณะปราสาทตาแก้วต่อ (North Khleang, a continuation of Takao) เมืองยโสธรปุระ (เมืองพระนคร)
 13. พระเจ้าสูริยวรมเทวะที่ 1 (Suryavarman I) (บรมนิรวาณบท)
มีชัยชนะเหนือราชวงศ์เก่าที่ละโว้
(ผู้นำนอกเชื้อสายที่รวมจักรวรรดิเจนละบกและเจนละน้ำเป็นหนึ่งเดียว อุปถัมภกทั้งพุทธและฮินดู)
พ.ศ.1553-1593 (ค.ศ.1002-1049)  ปราสาทคลังใต้, ปราสาทพระวิหารในเทือกเขาดงรัก, ปราสาทพิมานอากาศและพระราชวังหลวง สูริยพรต (นักบวช)?พนมชีศูร ปราสาทพระขรรค์ ที่กำปง สวาย, บารายตะวันตก, ปราสาทวัดพู (South Khleang, Preah Vihear in the Dangrek Mountains, Pimeanakas and the Royal Palace, Suryaparvata at Phnom Chisor, Preah Khan at Kompong Svay, West Baray, Wat Phu) พระวิหาร พ.ศ.1560-1593 (ค.ศ.1002-1050)
จารึกศาลสูง, วังสวนผักกาด, พิมาย, พนมวัน, ปราสาทเมืองต่ำ 2, เกลียง, คลัง
ปราสาทพระวิหาร สระกำแพงใหญ่ ตาเมือนธท ภูเพ้ก บ้านหลวง จารึกพิมาย 2 หลัก กล่าวถึงพระนามศรีเศารายวรมัน/มุนีราทัศมะ และการถวายความเคารพ
 14. พระเจ้าอุทัยทิตยวรมเทวะที่ 2 (Udayadityavarman II) พ.ศ.1593-1609 (ค.ศ.1050-1066)  ปราสาทบาปวน, ปราสาทแม่บุญ - บารายตะวันตก (Bapuon, West Maebon) บาปวน
พ.ศ.1593-1620 (ค.ศ.1050-1090), จารึกพนมวัน, พิมาย, จารึกสด๊กก๊อกธม, ปราสาทสด๊กก๊อกธม, เขาปู่จ่า, นารายณ์เจงเวง
  15. พระเจ้าหรรษวรมเทวะที่ 3 (Harshavarman III) (สหศิวบท) พ.ศ.1609-1623 (ค.ศ.1066/7-1080) เมืองพระนคร (พระเชษฐา ยุคสมัยที่ขัดแย้ง สงครามกับจามไม่มีการสร้างปราสาทใหม่) ปราสาทพนมวัน 2
  16. พระเจ้านฤปตินทรทิตยวรมเทวะ พ.ศ.1623  เมืองพระนคร (สิ้นสุดราชวงศ์ ศารวะ)
  17. พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 6 (Jayavarman VI) (บรมไกวัลยบท) พ.ศ.1623-1650 (ค.ศ.1080-c.1107)  ปราสาทพิมายในประเทศไทย (Phimai) เมืองวิมายะปุระ เมืองพระนคร (อำนาจจากเขมรสูงเข้าครองพระนคร ต้นราชวงศ์มหิธระปุระ) พิมาย พ.ศ.1623-1650 (ค.ศ.1080-1112) จารึกพิมาย กมรเตงอัญศรีพิเรนทราธิบดีล โฉกวะกุลี (ดงดอกพิกุล) จารึกพนมวัน ปราสาทพนมวันช่วง 3
กมรเตงอัญศรีวิเรนทรธิปติ ปราสาทหินพิมาย, ศรีวิเรนทราศรม พ.ศ.1655 - สังควัชรปุณณมี
  18. พระเจ้าธรณินทรวรมเทวะที่ 1 (Dharanindravarman I) (บรมนิษกลบท) พ.ศ.1650-1656 (ค.ศ.1107-1112)  เมืองพระนคร (ถูกชิงอำนาจจากพระญาติสายเมืองพระนครเดิม) 
 19. พระเจ้าสูริยวรมเทวะที่ 2 (Suryavarman II) (บรมวิษณุโลก)
แคว้นเจ้าพระยาแยกตัว
พ.ศ.1656-ประมาณ 1693 (ค.ศ.1113-c.1150)  นครวัด, ปราสาทธมมานนท์ปราสาทเจ้าสายเทวดา, บันทาย สำเหร่, ปราสาทพนมรุ้ง พ.ศ.1693 (ในประเทศไทย) ปราสาทเบงมาเลีย ปราสาทพระพิธูร ทรงสร้างสืบต่อปราสาทพนมชีศูร (พนมชีสอร์) ปราสาทพนมสัณฏาก (Angkor Wat, Thommanon, Chao Say Tevoda, Banteay Samré, Phnom Rung, Beng Mealea) (ชิงบัลลังก์ รวบรวมจักรวรรดิเป็นปึกแผ่น สงครามกับไดเวียด จัมปาและมอญ สร้างมหาปราสาทนครวัด) นครวัด พ.ศ.1650-1720 (ค.ศ.1110-1180), ศรีขรภูมิ, ศรีเทพ
 20. พระเจ้าธรณินทรวรมเทวะที่ 2 (Dharanindravarman II) พ.ศ.1693-1703 (ค.ศ.1150-1160)  เมืองวิมายะปุระ - พระนคร (สงครามกับจัมปา อุปถัมภกพุทธมหายาน)  ศาลตาผาแดง (ดู 08. ศาลตาผาแดง-สุโขทัย), ปราสาทเบ็งเมเลีย ปราสาทบันทายสำเหร่
 21. พระเจ้ายโศวรมเทวะที่ 2 (Yasovarman II) สงครามจามปา สวรรคตจากการแย่งชิงอำนาจ พ.ศ.1703-17xx??(ค.ศ c.1150-1165)  ปราสาทเบงมาเลีย, ปราสาทเจ้าสายเทวดา, บันทาย สำเหร่ ปราสาทบากอง (Beng Mealea, Chao Say Tevoda, Banteay Samré, Bakong) เบ็งเมเลีย พ.ศ.1700-1710 (ค.ศ.1157-1167) วัดพระพายหลวง, มหาธาตุลพบุรี, มหาธาตุอโยธยา
 22. พระเจ้าตรีภูวนาทิตยวรมเทวะ (Tribhuvanadityavarman)  พ.ศ.17xx?-1720) (ค.ศ.c.1165-1177)  พ่ายสงครามอาณาจักรจัมปา
 จามยึดครองเมืองยโสธรปุระ (เมืองพระนคร) - สงครามปลดแอก 4 ปี พ.ศ.1720-1724 (ค.ศ.1177-1181)
 23. พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 7 (Jayavarman VII) (มหาบรมสุคตบท)
ชนะพระราชาตะวันตก
พ.ศ.1724 - 1763 (ค.ศ.1181-c.1220)  ปราสาทตาพรหม, ปราสาทพระขรรค์, ชยตฏากะ บาราย, ปราสาทนาคพัน, ปราสาทตาสม, ปราสาทตาไน, ปราสาทบันทายฉมาร์ อังกอร์ธม, ปราสาทจรุง, ปราสาทบายน (สถานบรรยงค์), ลานช้าง, ปราสาทตาพรหมเกล, อโรคศาลา, ปราสาทกรอลโก, สระสรง, พระราชวังหลวง (Ta Prohm, Preah Khan, Jayatataka Baray, Neak Pean, Ta Som, Ta Nei, Banteay Chhmar in NW Cambodia, Angkor Thom, Prasats Chrung, Bayon, Elephant Terrace, Ta Prohm Kel, Hospital Chapel, Krol Kȏ, Srah Srang, Royal Palace) บายน พ.ศ.1724-1783 (ค.ศ.1180-1240), จารึกอโรคยศาลา, พระขรรค์, ตาพรหม, ปราสาทตอว์, ปราสาทแบบโลเกศวร ปราสาทอานุภาพ วหนิคฤหะ อโรคยศาลา (102 แห่ง), กู่บ้านแดง, ที่พักคนเดินทางหรือธรรมศาลา (121 แห่ง)
 24. พระเจ้าอินทรวรมเทวะที่ 2 (Indravarman II)
แว่นแคว้นตะวันตก (เจ้าพระยา) เริ่มแยกตัว จักรวรรดิจัมปาเป็นเอกราช
พ.ศ.1763-1786 (ค.ศ.c.1220-1243)  ปราสาทซัวปรัต (นักวิชาการบางท่านเรียกว่า ปราสาทเสาเปรต) ปราสาทตาพรหม ปราสาทบันทายกุฎี ปราสาทตาสม ปราสาทตาไน (Prasat Suor Prat, Ta Prohm, Banteay Kdei, Ta Som, Ta Nei) 
 25. พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 8 (Jayavarman VIII) (ปรเมศวรบท)
 (จักรวรรดิแตกสลาย ลวปุระ/อโยธยา สุโขทันแยกตัวเป็นอิสระ ปรากฎอิทธพลของมองโกลในยุคของกุบไลข่าน บ้านเมืองนอกกัมพุชเทศะถูกตัดขาดจากเมืองพระนครหลวง)
พ.ศ.1786-1838 (ค.ศ.c.1243-1295) ปราสาทด้านตะวันออก (មង្គលាថ៌) ปราสาทพระป่าเลไลยก์? ปราสาทบายน ปราสาทตาพรหม ปราสาทพระขรรค์ ปราสาทจรุง นครวัด ปราสาทบาปวน ปราสาทเจ้าสายเทวดา ปราสาทบันทายสำเหร่ ปราสาทเบงมาเลีย ลานพระเจ้าขี้เรื้อน ลานช้าง ปราสาทพระพิธู พระราชวังหลวง (Mangalartha, Preah Palilay?, Bayon, Ta Prohm, Preah Khan, Prasats Chrung, Angkor Wat, Baphuon, Chao Say Tevoda, Banteay Samré, Beng Mealea, Terrace of the Leper King, Elephant Terrace, Preah Pithu, Royal Palace) หลังบายน พ.ศ.1783-1973 (ค.ศ.1240-1430)
 26. พระเจ้าอินทรวรมเทวะที่ 3 (Srei Indravarman III) บ้างก็เรียก ศรีนทรวรมเทวะ (Sridravarman) พ.ศ.1838-1850 (1295-1307)  ปราสาทตาพรหม ปราสาทพระพิธู ปราสาทพระป่าเลไลยก์ (Ta Prohm, Preah Pithu, Preah Palilay)
โจวต้ากว้าน ทูตมองโกล พ.ศ.183913
 27. พระเจ้าอินทรชัยวรมเทวะ (Srindrajayavarman) บ้างก็เรียก ศรีนทรชัยวรมเทวะ พ.ศ.1850-1870 (ค.ศ.1307-1327)  ผู้คนเริ่มอพยพออกจากเมืองพระนครหลวง ไปตั้งชุมชนบริเวณจุดตัดของแม่น้ำโขงกับโตนเลสาบที่จัตุรมุข เมืองละแวก และเมืองพนมเปญ
 28. พระเจ้าแตงหวาน หรือ พระเจ้าตระซ็อกประแอม (Trasak Paem) หรือ พระองค์ชัย (Ponhea Chey) พ.ศ.1879-1883
(ค.ศ.1336-1340 ???)
 เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ในราชสกุลนโรดม
 29. พระเจ้าชัยวรมเทวะปรเมศวร (พระบรมลำพงษ์ราชา) (Jayavarman IX or Jayavarman Paramesvara) พ.ศ.1870-? (ค.ศ.1327-1353?)  พระนามกษัตริย์องค์สุดท้ายที่ปรากฎในจารึกยุคเมืองพระนคร
 พระนามที่ลงท้ายวรมเทวะ สันนิษฐานว่ามาแต่งเสริมทีหลัง ด้วยเพราะพระเจ้าแตงหวาน หรือ พระเจ้าตระซ็อกประแอม หรือ พระองค์ชัย ได้โคนล้มราชวงศ์วรมเทวะ จนหมด
 ปี พ.ศ.1974 นครแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยเจ้าสามพระยา? (อโยธยา) ยกทัพเขมรอโยธยา (ละโว้ปุระเดิม) บุกทำลายเมืองพระนครหลวง หมดยุคเทวราชาโดยสมบูรณ์ (ค.ศ.1430)


นักวิชาการหลายท่านมักกำหนดยุคเมืองพระนครในประวัติศาสตร์กัมพูชาว่าอยู่ระหว่าง คศ.802-1431 หรือ พ.ศ.1345-1974 [89]

1.  พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 2 (Jayavarman II) หรือพระเกตุมาลา พ.ศ.1345-1392 (ค.ศ.790-835 บ้างก็ว่า ค.ศ.770-835)
     จากจารึก สด๊อก ก๊อก ธม (Sdok Kok Thom) (ซึ่งเป็นที่ตั้งปราสาทขอมโบราณในประเทศไทย อ.โคกสูง จ.สระแก้ว) รายละเอียดดูใน 09. จารึกสด๊กก๊อกธม อันเป็นหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศาสนาและบันทึกเหตุการณ์ของกัมพูชา จารึกใน ค.ศ.1050 ทำให้เรารู้ว่าในปี ค.ศ.802 พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 2 ประทับอยู่ที่ภูเขากูเลน (Phnom Kulen หรือกุเลน - แปลว่า ลิ้นจี่ป่า) พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 2 เสด็จกลับมาจากแผ่นดินที่เรียกว่า "ชวา"14 ขณะนั้นพระองค์มีอายุราว ๆ 20 ชันษา จากจารึกคริสต์ศตวรรษที่ 10 พบที่บริเวณบาพนม ทรงประกอบพิธีพิเศษ "ทำให้ชวา14 ไม่อาจควบคุมกัมพูชาอันศักดิ์สิทธิ์ได้อีก" พระองค์ทรงขยายอำนาจด้วยการทำศึกหลายครั้ง
     อาณาเขตของพระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 2 มีจารึกระบุว่า "จดจีน จามปา และแผ่นดินที่อุดมด้วยมะม่วงและอบเชย" ซึ่งน่าจะหมายถึงแผ่นดินทางตะวันตก. ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนนักว่าพระองค์ทรงรวบรวมแว่นแคว้นต่าง ๆ ไว้ให้เป็นปึกแผ่น แต่สิ่งที่พระองค์ทรงทำสำเร็จอย่างยิ่งก็คือ การเปลี่ยนความเชื่อของชาวกัมพูชา ที่เดิมนั้นเน้นการบูชา อฺนกตา หรือผีบรรพบุรุษ โดยการสถาปนาลัทธิเทวราชา (มุ่งสร้างกษัตริย์ให้เป็นเทวะ คือเป็นเทพกษัตริย์ หรือ God King)18. ประมาณปี พ.ศ.1348 บนภูเขาพนมกุเลน
       พระองค์ตั้งและย้ายเมืองหลวง 4 ครั้งดังนี้
       1) อินทปุระ (บ้างก็เรียก 
อนินทิตาปุระ) - เป็นเมืองที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์
       2) หริหราลัย - หริหราลัย (Hariharalaya) (ปันจุบันคือเมืองโรลูซ - Roluos ร่อลั่ว บ้างก็เรียก โรลั้วะ หมายถึง ต้นทองหลางพันธุ์หนึ่งซึ่งไม่ใช่พันธุ์ที่คนไทยรู้จัก)
       3) อมเรนทรปุระ - อยู่ใกล้ภูเขาพนมกุเลน และ
       4) มเหนทรบรรพต - (พนมกุเลนในปัจจุบัน) แล้วย้ายมา...
       5) หริหราลัย เป็นครั้งสุดท้าย 



2. พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 3 (Jayavarman III) หรือ วิษณุโลก พ.ศ.1393-1420 (ค.ศ.835-877) ทรงเป็นนักล่าช้าง (นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า เป็นการยกยอพระเกียรติเพื่อกลบเกลื่อนความเฉื่อยเนือยของพระองค์)
     ทรงสร้างปราสาทไพรมนตรี, ปราสาทตระพังพง???, ปราสาทบากอง (Bakong)???, และพัฒนาต่อเติมเมืองหริหราลัย (โลเลย หรือ ร่อลั่ว)??? พระองค์อาจไม่ได้ทำอะไรเลย หรือน้อยมาก จนเป็นเหตุให้พระบัลลังก์สั่นคลอน และถูกยึดอำนาจโดย พระเจ้าอินทรวรมเทวะที่ 1 ในที่สุด


3. พระเจ้าอินทรวรมเทวะที่ 1 (Indravarman I) หรือ อิศวรโลก (ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ.877-889 บ้างก็ว่า พ.ศ.1420-1432 หรือ ค.ศ.877-c.886)
กษัตริย์ที่ถัดจากพระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 3 ขึ้นเป็นกษัตริย์ด้วยการยึดอำนาจ ได้เริ่มจัดการเกี่ยวกับเทวาลัยและจารึก ณ หริหราลัย
     พระราชกรณียกิจประการแรกคือ สร้างสระน้ำขนาดใหญ่ (บาราย) ครอบคลุมเนื้อที่ 1,644.50 ไร่ (650 เอเคอร์) กว้าง*ยาว = 0.750 กิโมตร * 3.7 กิโลเมตร (ซึ่งอยู่ทางทิศใต้และตะวันตกของเมืองพระนคร) ไว้เก็บน้ำฝน ณ หริหราลัย ซึ่งรู้จักกันในนาม อินทรฏะฏะกะ (Indratataka baray) หรือ บารายยโสตฏากะ หรือ อินทรตฏากะ (บารายตะวันออก) นอกจากจะเป็นแหล่งน้ำสำคัญสำหรับหล่อเลี้ยงประชาชนแล้ว จุดมุ่งหมายอีกประการหนึ่งก็คือเพื่อแสดงพระราชอำนาจ แสดงถึงความเกี่ยวพันระหว่างกษัตริย์กับเทพเจ้า นั่นคือการสร้างสระน้ำตามคติความเชื่อของผู้คน ที่ว่าเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นที่สถิตของทวยเทพมีห้วงน้ำล้อมรอบ
     พระราชกรณียกิจประการที่สอง คือการยกย่องพระราชบิดาและพระราชมารดาและเหล่าบรรพบุรุษ โดยการสร้างเทวรูปประจำตัวแต่ละพระองค์ (รวมทั้งพระอัยกา พระอัยกี พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 2 และพระชายา ซึ่งล้วนสลักเป็นรูปพระศิวะกับพระชายา) ไว้ในเทวาลัยที่รู้จักกันในนามปราสาทพระโค (เปรี๊ยะโค) (รายละเอียดดูใน "01. ปราสาทพระโค หรือ เปรี๊ยะโค")
     พระราชกรณียกิจประการสุดท้าย ทรงสร้างปราสาทบากอง (ดูรายละเอียดได้ใน "16. ปราสาทบากอง" ) เป็นการก่อสร้างเทวาลัยบนภูเขา มีรูปทรงเหมือนปิรามิดขั้นบันได ทรงตั้งพระทัยจะให้เป็นที่เก็บพระศพของพระองค์ [96] appendix [428] เซเดส์ประมาณว่า กษัตริย์ยุคเมืองพระนคร 13 พระองค์ - เริ่มจากชัยวรมเทวะที่ 2 ทรงสร้างเทวาลัยบนภูเขาทำนองนี้



4. พระเจ้ายโศวรมเทวะที่ 1 (Yasovarman I) หรือ บรมศิวโลก15  (Khmer: ព្រះបាទយសោវរ្ម័នទី១ และ "บรมศิวโลก": បរមឝិវលោក  ) (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.1432-1453 บ้างก็ว่า พ.ศ.1458, ค.ศ.889 - 910 หรือบ้างก็ว่า c.915) พระองค์เป็นพระโอรสของพระเจ้าอินทรวรมเทวะที่ 1 กับพระนางอินทราเทวี อาจารย์ของพระองค์เป็นพราหมณ์ วามศิวา (Vamasiva) นักบวชลัทธิเทวราชา ซึ่งเชื่อมโยงกับมหาปราชญ์ฮินดูนามอุโฆษ อาทิ ศังกราจารย์ (Adi Shankara आदि शङ्करः Ādi Śaṅkaraḥ) (รายละเอียดดูใน ที่มาและคำอธิบาย 02. ของ ข. บทนำ: ภควัทคีตา) พระนาม "ยโศวรมเทวะ" แปลว่า ผู้มียศเป็นเกราะ มาจากคำสันสกฤต ยศ แปลว่า ยศ + วรฺมัน ??? แปลว่า ผู้มีเกราะ.
     พระองค์มีสมัญญาว่า พระเจ้าขี้เรื้อน หรือ เสด็จขี้เรื้อน (ស្តេចគម្លង់ สฺเตจคมฺลง̍; Leper King) เพราะเชื่อกันว่าพระองค์ทรงพระประชวรด้วยโรคนี้.

พระเจ้าขี้เรื้อน (Leper King), ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 01 ธันวาคม 2562.

    การขึ้นครองราชย์ของพระองค์ได้มาจากการสู้รบกับพระเชษฐาหรือพระอนุชา รบกันทั้งทางบกและทางน้ำในทะเลสาบเขมร (โตนเลสาบ - Tonlé Sap) 
    พระองค์ประสงค์จะบำเพ็ญพระราชกรณียกิจให้มากกว่าพระบิดา ทรงประกาศให้ ยโศธรปุระ (យសោធរបុរៈ ยโสธรบุระ̤) เป็นนครหลวงที่เมืองพระนคร ซึ่งตั้งชื่อตามพระนามของพระองค์มาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ซึ่งเป็นศูนย์กลางของราชอาณาจักรกัมพูชา
    เมื่อเสวยราชย์แล้ว ทรงยกทัพไปตีอาณาจักรจัมปา ตามความในจารึกที่บันทายฉมาร์ (បន្ទាយឆ្មារ บนฺทายฉฺมาร) รายละเอียดดูใน 19. ปราสาทบันทายฉมาร์  นอกจากนี้ในช่วงแรก ๆ ของรัชกาล พระองค์ยังทรงสร้างธรรมศาลา ซึ่งเป็นที่พักนักเดินทางหรือผู้แสวงบุญ กระจายอยู่ร้อยกว่าแห่ง (121 แห่ง) ในอาณาจักรกัมพูชาโบราณ ทุก ๆ ธรรมศาลา มีที่ประทับของกษัตริย์ และมีการตราระเบียบของธรรมศาลาแต่ละแห่งไว้ด้วย
     ต่อมาใน ค.ศ.893 พระองค์ทรงดำริให้สร้างสระสำรองน้ำ "อินทรตฎาก" (ឥន្ទ្រតដាក อินฺทฺรตฎาก) บ้างก็เรียก อินทรฏะฏะกะ (Indratataka baray) ตามดำริเริ่มแรกของพระบิดา ที่กลางสระนั้น (ปัจจุบันน้ำเหือดแห้งแล้ว) ทรงให้สร้างปราสาทขึ้น ชื่อปราสาทลอเลย (ប្រាសាទលលៃ) รายละเอียดดูใน 20. ปราสาทโลเลย.
     ต่อมา พระองค์ทรงให้ย้ายพระนครจากหริหราลัย (ហរិហរាល័យ
) ไปยังยโศธรปุระ (យសោធរបុរៈ ยโสธรบุระ̤) ซึ่งนักวิชาการได้สันนิษฐานว่า เหตุที่ทรงให้ย้ายพระนครนั้น เป็นเพราะพระนครเดิมแออัด เต็มไปด้วยศาสนาสถานที่กษัตริย์พระองค์ก่อน ๆ ทรงสร้างไว้ และอีกประการหนึ่งอาจเป็นเพราะพระนครแห่งใหม่อยู่ใกล้แม่น้ำเสียมเรียบ ทั้งอยู่กลางทางไปพนมกุเลน (ភ្នំគូលេន ภฺนํคูเลน; "ภูเขาลิ้นจี่") และทะเลสาบเขมร เพื่อจะได้มีแหล่งน้ำถึงสองแห่ง.
     ยโศธรปุระมีศูนย์กลางอยู่ที่พนมบาแคง (ភ្នំបាខែង ภฺนํบาแขง
) รายละเอียดดูใน 08. ปราสาทพนมบาเคง และมีเส้นทางเชื่อมไปยังพระนครเดิม เมื่อทรงตั้งพระนครใหม่แล้ว ทรงให้ขุดสระสำรองน้ำขนาดใหญ่ชื่อ "ยโศธรตฎาก" หรือบ้างก็เรียก "ยโศธรฎะฎะกะ" (យឝោធរតដាក) หรือชื่อปัจจุบัน คือ "บารายตะวันออก" (បារាយណ៍ខាងកើត บารายณ์ขางเกีต) และสร้างปราสาทไว้ (เฉพาะข้อมูลจาก 05.) (บางแหล่งข้อมูลกล่าวว่า สร้างในสมัยพระเจ้าราเชนทรวรมเทวะ คริสต์ศตวรรษที่ 10) ทางด้านใต้ของสระสำรองน้ำ ชื่อ ปราสาทแม่บุญตะวันออก รายละเอียดดูใน 23. ปราสาทแม่บุญตะวันออก
     ดังนั้น ปราสาทลอเลย (บ้างก็เรียกโลเลย) พนมบาแคง (บ้างก็เรียกพนมบาเคง) และบารายตะวันออก จึงเป็นอนุสรณ์สถานของพระองค์
     นอกจากนี้ในรัชสมัยของพระองค์ ยังมีการสร้างปราสาทที่สำคัญอีกสองแห่งที่ ยโศธรปุระ คือ พนมโกรม (บ้างก็เรียก พนมกรอม) (ភ្នំក្រោម ภฺนํโกฺรม
) กับ พนมบูก (บ้างก็เรียก พนมบก) (ភ្នំបូក ภฺนํบูก) รายละเอียดดูใน 21. ปราสาทพนมกรอม และ 22. ปราสาทพนมบก
     กรณียกิจต่าง ๆ ของพระองค์นั้น แสดงให้เห็นว่าพระองค์ สามารถเกณฑ์กำลังคนได้มากกว่าที่กษัตริย์พระองค์ก่อน ๆ เคยทำ (อาจจะเป็นทั้งการเกณฑ์คน และโน้มน้าวด้วยพลังศรัทธาความเชื่อในศาสนาพราหณ์-ฮินดู ในบรรดาอาณาประชาราษฎร์ ก็เป็นไปได้ด้วย) การเกณฑ์คน โดยเจ้าตัวไม่เต็มใจ บ้างก็เป็นเชลยสงคราม บ้างก็ถูกเทครัวมาจากเขตแดนแว้นแคว้นอื่น ๆ ทรงเห็นคุณค่าอันล้ำค่าของวัฒนธรรมอินเดียใต้ และทรงเมตตาหรือมีขันติธรรมต่อศาสนาและลัทธิความเชื่ออื่น ๆ.
    พระกรณียกิจด้านการเมืองมีไม่มากนัก ไม่ค่อยมีจารึกกล่าวถึงพันธมิตรของพระองค์ ทรงปฏิรูปการบริหารแผ่นดิน ผ่อนปรนการปรับไหม ภาษีจังกอบแก่ผู้ที่พอมีกำลังจะจ่ายได้ การเก็บภาษีจังกอบเป็นสิ่งของ
     พระองค์สิ้นพระชนม์ราวปี พ.ศ. 1453-8 หรือ ค.ศ.910-915



5. พระเจ้าหรรษวรมเทวะที่ 1 (Harshavarman I ) หรือ รุทรโลก
      (พ.ศ.1458 - ปลาย 1466 หรือราว ค.ศ.915-923 บ้างก็ว่า BE.910-923) (ภาษาเขมร: ហស៌វរ្ម័នទី១; or Rudraloka) เป็นพระโอรสของพระเจ้ายโศวรมเทวะที่ 1 เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์นั้นได้สร้างเทวบรรพต (ดูรายละเอียดใน 24. ปราสาทปักษีจำกรง) อุทิศถวายพระราชบิดาและพระราชมารดา ปราสาทปักษีจำกรงนี้เป็นปราสาทขนาดเล็ก ก่ออิฐหลังเดียวตั้งอยู่บนฐานศิลาแลง สร้างเป็นไพทีซ้อนเป็นชั้นถึง 5 ชั้น16. พระมารดาของพระองค์เป็นน้องสาวของพระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 4 ปู่ (พระอัยกา) ของพระองค์คือ พระเจ้าอินทรวรมเทวะที่ 1 (Indravarman I) ย่า (พระพันวสาอัยยิกา) คือ พระนางอินทรเทวี (Indradevi)
     พระอนุชา (จากนางสนมองค์หนึ่งของพระเจ้ายโศวรมเทวะที่ 1) ของพระองค์คือ พระเจ้าอิสานทรวรมเทวะที่ 2 (Ishannavarman I) พระมเหสีของพระองค์คือ พระนางกัมพูชาราชลักษมี (Kambujarajalakshmi) 
     ทั้งนี้พระมเหสีของพระองค์ ทรงเป็นย่า หรือ อัยยิกา ของ พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 7 ผู้ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงในกาลต่อมา
     หลานของพระเจ้าหรรษวรมเทวะที่ 1 ชื่อ ยัชณวราหะ (Yajnavaraha) ซึ่งเป็นมหาปราชญ์
     ในรัชกาลของพระองค์ ต่อมาจนถึงรัชกาลของพระเจ้าอิศานทรวรมเทวะที่ 2 นั้น เป็นช่วงที่อาณาจักรกัมพูชาโบราณขาดเสถียรภาพ (A period of instability for the Khmer Empire) ด้วยเพราะเกี่ยวเนื่องกับการต่อสู้ทางกำลังอำนาจกับมาตุลาหรือลุงฝ่ายมารดา คือ พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 4 ความขัดแย้งนี้เกิดขึ้นตลอดในรัชสมัยของพระองค์.



6.  พระเจ้าอิศานวรมเทวะที่ 2 (Isanavarman II) (บรมรุทรโลก)
      เชื่อกันว่า พระองค์ทรงครองราชย์ราว พ.ศ.1468 (ค.ศ.923-c.928) ไม่มีข้อมูลประจักษ์นักในเรื่องความสามารถด้านการปกครองของพระองค์ ทรงประทับที่เมืองยโสธรปุระ (เมืองพระนคร) จนสิ้นรัชกาล


7.  พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 4 (Jayavarman IV) (บรมศิวบท)
     พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 4 (ជ័យវរ្ម័នទី៤) ทรงครองราชย์ราว พ.ศ.1470-1485 (ค.ศ.ราว 928-941) ที่เมืองโฉกครรกยาร์ (Chok Gargyar) หรืออาณาจักรเกาะแกร์ (Koh ker - แปลว่า ดงตะเคียน) (รายละเอียดดูใน 31. อาณาจักรเกาะแกร์, เมืองโฉกครรกยาร์) ทรงสร้างปราสาทธม อุทิศแด่พระศิวะ นักวิชาการหลายท่านเชื่อว่าพระองค์ทรงชิงอำนาจมาจากพระเจ้าอิศานวรมเทวะที่ 2 ด้วยการอ้างกรรมสิทธิ์ในราชบัลลังก์

ภาพกราฟิกปราสาทธม, ที่มา: sciencesetavenir.fr, วันที่เข้าถึง 26 ธันวาคม 2562.

 

รูปหินสลัก จากการศึกษาของสำนักฝรั่งเศสปลายบูรพาทิศ (EFEO) เป็นรูปหินสลักของพระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 4 ซึ่งจัดวางอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กีเมต์ ในกรุงปารีส (Muse'e Guimet, Paris) ซึ่งกำลังหันหน้าเข้าหารูปสลักพระยม (Yama) ซึ่งทรงกระบือเป็นพาหนะ, การจัดแจงรูปสลักเช่นนี้ในวิหารตอนกลางของปราสาทธม เชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์ที่พระยมทรงวินิจฉัยและอนุญาตให้พระองค์เสด็จผ่านขึ้นสู่สวรรค์ได้ ปรับปรุงจาก 04. หน้าที่ 32

     พระองค์เป็นบุตรของพระธิดา (มเหนทราเทวี - Mahendradevi) ในพระเจ้าอินทรวรมเทวะที่ 1 และพระองค์ได้อภิเษกกับพระมาตุจฉา (น้าสาว) ซึ่งมีฐานะเป็นบุตรีของพระเจ้ายโสวรมเทวะที่ 1, ด้วยไม่มีกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ที่ชัดเจน พระองค์ได้อ้างสิทธิ์ครองราชย์ด้วยเป็นการสายพระโลหิตฝั่งพระมารดา หลังจากที่พระเจ้ายโศวรมเทวะที่ 1 สิ้นพระชนม์ พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 4 ทรงยื้อแย่งราชบัลลังก์กับเหล่าพระโอรสของพระเจ้ายโศวรมเทวะที่ 1 แห่งเมืองพระนคร พระองค์ทรงสร้างเมืองหลวงของพระองค์เองที่เกาะแกร์ ในจารึกเมื่อปี ค.ศ.921 ระบุว่า: "ชัยวรมเทวะที่ 4 เสด็จจากเมืองยโสธรปุระ มาครองบัลลังก์ที่โฉกครรกยาร์ ทรงนำการเป็นเทวราชาไว้ที่พระองค์"17 (หน้าที่ 114) หลังจากที่พระเจ้าอิศานวรมเทวะที่ 2 สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ.928 การช่วงชิงบัลลังก์ตั้งแต่ปี ค.ศ.921 ก็สิ้นสุดลง พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 4 จึงทรงครองราชย์อาณาจักรกัมพูชาโบราณได้อย่างสมบูรณ์.
     พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 4 ได้ทรงสร้างมหาปราสาทธม (Prasat Thom) หรือ ปิรามิดทุม อุทิศแด่พระศิวะผู้เป็นใหญ่ในสามโลก คือ พระศิวะไตรภูวเนศวร (Shiva Tribhuvaneshvara) เรียกว่า กัมรเตงชคตะราชยะ และโปรดให้สถาปนาศิวลึงค์บนฐานสุง 35 เมตร


8.  พระเจ้าหรรษวรมเทวะที่ 2 (Harshavarman II) (พรหมโลก)
     พระเจ้าหรรษวรมเทวะที่ 2 (ហស៌វរ្ម័នទី២) ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 4 ทรงครองราชย์เพียงสามปี (พ.ศ. 1485-1487/ค.ศ.c941-944) เริ่มปรากฎต่อเนื่องจากสมัยพระบิดา เริ่มปรากฎหลักฐานอาณาจักรศรีจนาศะ (อันประกอบด้วยเมืองสำคัญคือ ละโว้ ศรีเทพ และเสมา รายละเอียดดูใน เมืองศรีเทพ ละโว้ สุพรรณบุรี อู่ทอง พิมาย เสมา) พระองค์ทรงประทับที่อาณาจักรเกาะแกร์ บูรณะรังสรรค์ศาสนสถานต่าง ๆ ต่อเนื่องจากพระบิดา ช่วงที่พระองค์ปกครองนั้นเต็มไปด้วยความขัดแย้ง ท้ายที่สุดหลานของพระองค์ "พระเจ้าราเชนทรวรมเทวะที่ 2" (เป็นทั้งหลานคนแรก และลุงของพระเจ้าหรรษวรมเทวะที่ 2) ได้ยึดครองบัลลังก์ และย้ายเมืองหลวงจากเกาะแกร์ กลับสู่ยโศธรปุระ พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ1487/ค.ศ.944.

9. พระเจ้าราเชนทรวรมเทวะที่ 2 (Rajendravarman II) (ศิวโลก)
    พระเจ้าราเชนทรวรมเทวะที่ 2 (
រាជេន្ទ្រវរ្ម័នទី២) ทรงครองราชย์ราว พ.ศ.1478-1511/ค.ศ.c.944-968 พระองค์ได้ปรับปรุงบารายตะวันออกหรือยโสธรตฎากะ (Yashodharatataka - បារាយណ៍ខាងកើត) ขนาดใหญ่  และทรงสร้างปราสาทแม่บุญตะวันออกไว้ตรงกลางของบาราย พร้อมทั้งปราสาทแปรรูป อันเป็นสองอนุสรณ์สถานหลักของพระองค์ พระองค์อ้างถึงการสืบสันตติวงศ์ของเจนละ (Zhēnlà) หรือ โจฬะ (ចេនឡា) ซึ่งมีเมืองหลวงที่ภวปุระ (Bhavapura)??? ซึ่งนักวิชาการยังถกเถียงว่าอยู่ที่ใด แต่มีความเป็นไปได้ว่าอยู่แถบบริเวณสมโปร์ ไพรกุก (Sambor Prei Kuk - ប្រាសាទសំបូរព្រៃគុក - บฺราสาทสํบูรไพฺรคุก ) การครองราชย์ของพระองค์นี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของอาณาจักรกัมพูชาโบราณ ใน พ.ศ.1345/ค.ศ.802 มีจารึกระบุว่าอาณาเขตของพระองค์แผ่ขยายไปถึงเวียดนามตอนใต้, สปป.ลาว และอาณาเขตอันมหาศาลในพื้นที่ประเทศไทยปัจจุบัน ไกลออกไปทางเหนือจรดตอนใต้ของจีน.
     ในจารึกที่แสดงไว้ ณ ปราสาทแปรรูป ระบุเกี่ยวโยงไว้ว่า พระเจ้าราเชนทรวรมเทวะที่ 2 ทรงเป็นนักรบที่ยิ่งใหญ่ พระแสงดาบเกรอะกรังไปด้วยเลือด, พระวรกายของพระองค์แกร่งดุจเพชร

 
 

ที่มา แหล่งอ้างอิง หมายเหตุและคำอธิบายเพิ่มเติม
01.  ข้อมูลจากเว็ปไซต์ usakanaenew.com, น่าสนใจมาก เป็นการพิเคราะห์ดินแดนสุวรรณภูมิย้อนไปในช่วงไม่กี่ร้อยปีหลังพระบรมศาสดาปรินิพพาน สามารถนำมาประกอบการศึกษาอาณาจักรกัมพูชาโบราณได้ไม่มากก็น้อย เห็นถึงภูมิศาสตร์โบราณที่แตกต่างจากปัจจุบันมาก นับเป็นทางเลือกการศึกษาประวัติศาสตร์อีกแหล่งหนึ่งที่น่าสนใจ ในความเห็นของผู้ศึกษา เราควรเปิดอยาตนะทั้งหก แล้วพิเคราะห์ใช้ปัญญา จักเป็นประโยชน์กับผู้ที่ศึกษารุ่นต่อ ๆ ไปได้ตามสมควร (แต่ก็มีข้อน่าสังเกตที่ข้อมูลในเว็ปไซต์นี้ ไม่ได้อ้างอิงเอกสารที่มามากนัก).
02.  เมืองออกแก้ว (OcEo) ออกเสียงแบบเวียดนามจะเรียกออกแก้วว่า "อ๊อกแอว" ซึ่งแปลว่าคลองแก้ว ปัจจุบันตั้งอยู่บริเวณแหลมอินโดจีนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง จังหวัดอานยาง ทางตอนใต้ของเวียดนาม,ที่มา: pr.prd.go.th, วันที่เข้าถึง 17 กันยายน 2562.
        และ เมืองอ๊อคแอวในเวียดนามภาคใต้อยู่ไม่ไกลโฮจิมินห์ซิตี้เป็นแหล่งโบราณคดีร่วมสมัยกับจิ้นหลิน (อู่ทอง) เข้าใจว่าเป็นเมืองท่าของอาณาจักรฝูหนาน Malleret นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสได้ทำการขุดค้นครั้งใหญที่นี่เมือราวปี 1954 ได้พบโบราณวัตถุมากมาย ขณะนี้เก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ที่โฮจิมินห์ซิตี้ มีลูกปัดและเหรียญเงินซึ่งอยู่ในรูปแบบเดียวกับทวารวดีแต่มีรูปแบบน้อยกว่า มีการค้นพบพระพุทธรูปนาคปรกซึ่งกษัตริย์ของฝู้หนานส่งไปถวายเป็นเครื่องราชบรรณาการแก่พระเจ้ากรุงจีนสมัยราชวงศ์เหลียง เนื่องจากฝูหนานไม่เคยทำพระพุทธรูปนาคปรก แต่ทำมากที่อู่ทอง เพราะฉะนั้นจึงสันนิษฐานกันว่า กษัตริย์ฝูหนานอาจทรงนำเข้าพระพุทธรูปปางนี้จากภาคกลางของประเทศไทยแล้วส่งต่อไปจีน, ที่มา: การสนทนาใน LINE ห้อง "สุโขทัยคดี", โดย ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร เมื่อ 12 เมษายน 2563.

03. Michael Freeman และ Claude Jacques, ANCIENT ANGKOR Book guides, ISBN 974 8225 27 5, จัดพิมพ์ที่ บมจ.อมรินทร์ พรินติ้ง ประเทศไทย, ครั้งที่ 11 พ.ศ.2556.
04. Michel Petrotchenko, Focusing On The Angkor Temples, The Guidebook 2017 Edition, ISBN 978-616-423-531-1, จัดพิมพ์ที่ บมจ.อมรินทร์ พรินติ้ง ประเทศไทย, ครั้งที่ 4 พ.ศ.2560.
05.  เดวิด แชนด์เลอร์ (David Chandler), ประวัติศาสตร์กัมพูชา (A History of Cambodia), ISBN 974 91090 3 1, แปลโดย พรรณงาม เง่าธรรมสาร, สดใส ขันติวรพงศ์, วงเดือน นานาสัจจ์, พิมพ์ครั้งที่ 3: 2546, มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, กรุงเทพฯ.
06.  ศาสตราจารย์เซเดส์ สันนิษฐานว่า ฟูนัน (ที่หลักฐานจีนเรียกนั้น ว่าเมืองออกแก้วเป็นเมืองท่าของอาณาจักรใหญ่) ศจ.เซเดส์ได้พิเคราะห์หลักฐานทางภาษาศาสตร์มากกว่าหลักฐานทางโบราณคดีว่า ฟูนัน อยู่ใกล้กับเนินเขาเตี้ย ๆ ชื่อ "บาพนม" ทางตะวันออกของแม่น้ำโขง จึงสันนิษฐานว่า ฟูนัน มาจากคำว่า พนม ที่แปลว่า ภูเขา (ที่มา: 05. หน้าที่ 23) แต่ก็มีนักวิชาการท่านอื่น (พอล วีทลีย์) กล่าวว่าไม่ใช่บาพนม แต่เป็นเนินเขาอีกลูกหนึ่งซึ่งไม่ไกลกันนัก ปัจจุบันอยู่ในเวียดนาม. (ที่มา: 05. หน้าที่ 24)
07.  นักวิชาการทางประวัติศาสตร์บางท่าน (อ.เสนีย์อนุชิต ถาวรเศรษฐ) เรียกอาณาจักรฟูนันว่า "สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ", usakanaenew.com, วันที่เข้าถึง 19 กันยายน 2562.
08.  ใน Website www.usakanaenew.com ของคุณชัยวลัญช์ ธนาเกียรติชาคร โดยมีคุณเสนีย์อนุชิต ถาวรเศรษฐ เป็นผู้เขียนเรียกเจนละ ว่า โจฬะ และเรียกพระเจ้าชัยวรรมเทวะที่ 2 ว่า พระเกตุมาลา, วันที่เข้าถึง 2 กันยายน 2562.

09.  พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 2 ทรงประทับอยู่ที่ภูเขากุเลน มีหลักฐานในความเรียงน่าคล้อยตามของ โคลด ชาคส์ ได้เสนอว่า ราว ๆ ค.ศ.770 พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 2 เสด็จกลับมาจากแผ่นดินที่เรียกว่า "ชวา"14 ขณะนั้นพระองค์มีอายุราว ๆ 20 ชันษา จากจารึกคริสต์ศตวรรษที่ 10 พบที่บริเวณบาพนม ทรงประกอบพิธีพิเศษ "ทำให้ชวา14ไม่อาจควบคุมกัมพูชาอันศักดิ์สิทธิ์ได้อีก" พระองค์ทรงขยายอำนาจด้วยการทำศึกหลายครั้ง
10. หลังจากที่พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 2 เสด็จกลับจากชวา ทรงได้รวบรวมจัดตั้งอาณาจักรขึ้น, เริ่มด้วยระบบกษัตริย์แบบเทวะราชา (The God-King Cult of Devarājā) จัดตั้งเมืองหลวงขึ้นที่ยอดเขาพนมกุเลน (Mahendraparvata) เสมือนหนึ่งเป็นเขาไกรลาส (Mount Kailaśa) อันเป็นที่ประทับของพระศิวะ. ที่มา: www.sac.or.th/databases/seaarts/en/architectures/item/654-preah-aram-rong-chen.html, วันที่เข้าถึง 2 มิถุนายน 2562.
11.  วรณัย พงศาชลากร, นักวิชาการนอกกรอบ EJeab Academies, วันที่เข้าถึง 6 มิถุนายน 2562.
13. โจวต้ากว้าน บ้างก็เรียก จิวต้ากวน (Zhou Daguan) ทูตมองโกล พ.ศ.1839 หรือ ค.ศ.1296, หลังจากที่รอนแรมเดินทางมาร่วมห้าเดือน จิวต้ากวน ก็เดินทางมาถึงเมืองพระนครในเดือนสิงหาคม พ.ศ.1839 ท่านเป็นสมาชิกในคณะทูตที่ส่งมาโดยราชวงศ์หยวน (Yuans Dynasty) ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่สถาปนาโดยกษัตริย์มองโกลกุบไลข่าน (Qubilai Khan) ได้รับการต้อนรับจากกษัตริย์เขมร พระเจ้าอินทรวรมเทวะที่ 3 ซึ่งได้ขึ้นครองราชย์ใหม่ ๆ ท่านได้เขียนรายงานในนาม กงสุลแห่งอาณาจักรเจนละ (โจฬะ) (The customs of Zhenla, หรือ Chenla) นับเป็นหลักฐานชิ้นเดียวที่นักวิชาการสามารถเข้าถึงได้ ได้แสดงถึงวิถีชีวิตอันน่ามหัศจรรย์ของชาวเมืองพระนคร ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 รายงานได้ให้รายละเอียดข้อมูลที่แม่นยำของกำแพงเมือง "อังกอร์ธม-Angkor Thom". มีรายการสินค้าต่าง ๆ ที่จีนอาจจะสนใจจัดซื้อ (อาทิ ความต้องการในการจัดหาอย่างมาก... ขนนกสีฟ้าสดของนกกระเต็น เพื่อใช้ประดับมงกุฎหรือพระมาลาของจักรพรรดิจีน) แต่ก็มิได้จำกัดความต้องการในการจัดซื้อเพียงแค่นี้ นักวิชาการพบว่ามีการจัดลำดับคะแนนข้อสังเกตที่น่าสนใจ (บ้างก็ชวนหัว น่าอัศจรรย์) เกี่ยวกับกิจการของกษัตริย์และศาลพิจารณาคดี, แต่ก็มีเรื่องราวของผู้คนต่าง ๆ ด้วย. (รายละเอียดศึกษาได้ใน 04 หน้าที่ 42)
14.  จาก. ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ, คอลัมน์ On History, มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 1-7 มีนาคม 2562. ชวา ในที่นี้น่าจะหมายถึง พวก"จาม" ด้วยชาวเขมรทุกวันนี้เรียกชาวจามว่า "ชเวีย"  ในภาษาเขมร เสียง "-า" จะออกเสียงเป็น "เ-ีย" ในจารึกสด๊กก็อกธมนั้นเป็นจารึกที่เขียนด้วยสองภาษาคือ เขมรและสันสกฤต การที่จะบิดคำให้ออกเป็นเสียงคนอินเดีย เพื่อความศักดิ์สิทธิ์จากเชียเป็นชวา.
{"แต่ในความเห็นของผม พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 2 ได้เสด็จไปชวาจริง ด้วยข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่งใน ค.ศ.ที่ 8-9 มีการเดินทางติดต่อค้าขาย การเผยแพร่วัฒนธรรมและการสู้รบเกิดขึ้น ในย่านนี้ทางทะเล ทั้ง ละโว้ จาม ชวา ลิกอร์ อินทรปุระ  (กัมพูชาโบราณ) ปาเลมบัง ลังกาสุกะ ชวา} รายละเอียดตามแผนที่ข้างล่าง:
15.  แก่นข้อมูลหลักมาจาก. th.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 01-03 ธันวาคม 2562.
16.  ปรับปรุงจาก. dooasia.com, วันที่เข้าถึง 13 ธันวาคม 2562.
17.
  George Cœdès (1968). Walter F. Vella (ed.). The Indianized States of Southeast Asia. Trans. Susan Brown Cowing. University of Hawai`i Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
18.  จาก. ปราสาท (เขา) พระวิหาร, ดร.ธิดา สาระยา, สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, พิมพ์ครั้งที่ 4 มีนาคม 2552, หน้า 30.

 
info@huexonline.com