MENU
TH EN

ข. บทนำ: ภควัทคีตา


ข. บทนำ: ภควัทคีตา01.
First revision: May 04, 2017
Last change: Jan.19, 2024

สืบค้น แปล เรียบเรียง และปริวรรตโดย อภิรักษ์ กาญจนคงคา
 
สำหรับลำนำภควัทคีตานี้ ผมได้ใช้หนังสือที่ประพันธ์และเรียบเรียงโดย ฯพณฯ สรวปัลลี ราธากฤษณัน (Servepalli Radhakrishnan) นักปราชญ์และประธานาธิบดีคนที่ 2 ของประเทศอินเดีย (14 พฤษภาคม พ.ศ.2505 - 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2510) เป็นแกนหลักในการแปล อธิบาย เรียบเรียง และปริวรรต. (THE BHAGAVADGITA, S. RADHAKRISHNAN, HarperCollins Publishers India Pvt Ltd. Printed in India, 14th impression 2000). หนังสือเล่มนี้ผมได้มาเมื่อวันสงกรานต์ ปี พ.ศ.2544 คราวไปสัมมนาด้าน SMEs Development ในนามผู้แทนจากสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่กรุงนิวเดลลี ประเทศอินเดีย และได้เล่มฉบับตีพิมพ์ครั้งที่สอง (พ.ศ.2492) เมื่อปี พ.ศ.2560 จากการสั่งซื้อทางออนไลน์ ใคร่ขอแปลเป็นภาษาไทย และขออัญชลีต่อผู้ประพันธ์ มหาปราชญ์ที่ได้รจนา ต่อยอด ลำนำภควัทคีตาแต่เก่ากาล และ ฯพณฯ ราธากฤษณัน รวมทั้งผู้ประพันธ์ปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับลำนำนี้ อันจะได้กล่าวต่อไปในเบื้องหน้า ด้วยความเคารพยิ่ง.
 
 
รายการคำย่อ
 
    ภควัทคีตา   คีตา หรือ ภ.ค.
    ปรัชญาอินเดีย โดย ราธากฤษณัน01   ป.อ.
    มหาภารตะ   ม.ภ.
    ศังกราจารย์02    ศ.
    ความเห็นของศังกราจารย์ในพรหมสูตร   ศ.พ.
    ความเห็นของศังกราจารย์ในภควัทคีตา   ศ.ภ.ค.
    รามานุชาจารย03   ร.
    อุปนิษัท04   อป.
 
 
เนื้อหา
    หน้า
    บทนำ  5
    รายการคำย่อ  8
     ภควัทคีตา  10
    บทความเบื้องต้น  11
บทที่    
I.   อรชุนวิษาทโยคะ (ความท้อถอยของอรชุน)  79
II.   สางขโยคะ หรือสางขยะ (หลักทฤษฎี) 98
III.   กรรมโยคะ (หลักปฏิบัติ)  131
IV.   วิถีแห่งองค์ความรู้  151
V.   การสละอันจริงแท้  174
VI.   โยคะที่แท้จริง 187
VII.   พระเจ้าและโลก 212
VIII.   วิวัฒนาการของจักรวาล  226
IX.   พระเจ้านั้นเป็นยิ่งกว่าสิ่งที่พระองค์ทรงรังสรรค์  237
X.   พระเจ้าเป็นแหล่งกำเนิดของทุกสรรพสิ่ง การรู้ซึ่งถึงพระองค์ นั่นก็คือรู้เข้าใจทุกสรรพสิ่ง  256
XI.   การแปรเปลี่ยนรูปลักษณะของพระเจ้า 269
XII.   การน้อมนมัสการพระผู้เป็นเจ้าโดยลำพัง ย่อมเหนือกว่าการทำสมาธิ 291
XIII.   ร่างกายมีขอบเขต จิตวิญญาณนั้นตระหนักถึงขอบเขต และการจำแนกระหว่างสองสิ่ง 300
XIV.   พระบิดาที่ซ่อนเร้นของทุกสรรพสัตว์  314
XV.   พืชพันธุ์แห่งชีวิต 326
XVI.   ธรรมชาติของพระผู้เป็นเจ้าและจิตวิญญาณอันเลวร้าย 334
XVII.   ไตรวิถี ที่ปรับใช้กับปรากฎการณ์ทางศาสนา 342
XVIII.   บทสรุป 351
    บรรณานุกรรม 384
    ดัชนี  385
 หมายถึง อ้างการเรียงหน้าตามต้นฉบับ ปีที่พิมพ์ พ.ศ.2543 สำนักพิมพ์ ฮาร์เปอร์คอลลินส์ อินเดีย.
 
                      
จากซ้ายไปขวา: พระคเณศร์กำลังเขียนมหาภารตะตามที่ฤๅษีวยาสได้รจนา (Ganesa writing the Mahābhārat) และฤๅษีวยาสกำลังให้อรรถาธิบายเรื่องมหาภารตะแก่พระคเณศร์ (Vyāsa narrating the Mahābhārata to Ganesha, his scribe), ภาพจากนครวัด (เฉพาะภาพด้านขวา) เสียมราฐ กัมพูชา, ที่มา: en.wikipedia.org , วันที่สืบค้น 16 พฤษภาคม 2560.
 
 
ภควัทคีตา

        เป็นการสั่งสอนโดยตรงของพระนารายณ์อันสูงศักดิ์ต่ออรชุน ซึ่งรจนาโดยฤๅษีวฺยาส (Vyāsa)01. ซึ่งเป็นนักพยากรณ์ในยุคโบราณ ช่วงกลาง ๆ ของอภิสงคราม "มหาภารตยุทธ" ข้าพเจ้าทำสมาธิเชื่อมโยงกับท่าน โอ พระมารดา โอ ภควัทคีตา ขออวยพรให้ 18 อัธยายะ02. (หรือ 18 บท) อันเป็นน้ำทิพย์ที่ประโลมสู่ภูมิปัญญาหนึ่งเดียว ผู้ทำให้การกำเนิดใหม่สูญสิ้น.1

        "ด้วยคีตาศาสตร์ (Gītāṡāstra) อันเกริกก้องนี้ เป็นการสรุปสาระสำคัญของพระเวททั้งหมด ด้วยองค์ความรู้ที่ได้จากคีตานี้ นำไปสู่การตระหนักถึงแรงบันดาลใจของมวลมนุษย์."2

        "ลำนำได้ปลอบประโลมข้าพเจ้า ที่ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าเคยพลาดโอกาสสดับเมื่อครั้งอยู่บนเทือกเขา. ความผิดหวังได้จดจ้องลงบนใบหน้าของข้าพเจ้า และโดยลำพังแล้วข้าพเจ้าไม่เห็นลำแสง (แห่งความหวัง) ใด ๆ เลย ข้าพเจ้าย้อนกลับไปศึกษาคีตา. ด้วยโศลก (วลีหรือประโยค) ต่าง ๆ ที่ได้ศึกษา และฉับพลันนั้น ก็มีรอยยิ้มที่ริมปากข้าพเจ้า ท่ามกลางโศกนาฏกรรมที่ครอบงำ - รอบ ๆ ชีวิตข้าพเจ้า ล้วนแล้วแต่เต็มไปด้วยเรื่องโศกเศร้า - และหากคนอื่น ๆ มองข้ามผ่าน ๆ ไป ก็จะไม่สังเกตเห็นแผลเป็นที่ข้าพเจ้ามี ทั้งหมดทั้งสิ้น ข้าพเจ้าเป็นหนี้บุญคุณต่อการสอนสั่งที่ปรากฎในภควัทคีตา." ม.ค.คานธี, ยุวอินเดีย (พ.ศ.2468)03 หน้าที่ 1078-1079. 
หมายเหตุ คำอธิบาย
01.
ฤๅษีวยาส (Vyasa) หรือ ฤๅษีกฤษณะ ไทวปายนะ วยาส (Krishna Dvaipayana Vyasa), ที่มา: en.wikipedia.org และ th.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 16 พฤษภาคม 2560
02. อัธยายะ แปลว่า ตอน และในแต่ละอัธยายะ (Chapter) ประกอบด้วย โศลก (Verse) ซึ่งพรรณนาเนื้อหามากน้อยแตกต่างกันไป, ที่มา: oknation.nationtv.tv, วันที่สืบค้น 17 พฤษภาคม 2560.

ที่มา: peopleint.wordpress.com, วันที่สืบค้น 19 พฤษภาคม 2560.
03. มหาตะมะคานธี, M. K. Gandhi, Young India (1925), pp. 1078-1079.
---------------
        1
.
औं पार्थाय प्रतिबोधितां भगवता नारायणेन स्वायम्
              व्यासेन ग्राथितां पुराणमुनिना मध्यमे महाभारतम्
              अद्वैतामृतवर्षिणी भगवती अष्टादध्यायिन्स्
              अम्ब त्वम् अनुसन्दधामि भगवद्गीते भवद्वेषिणीम् ।

              auṁ pārthāya pratibodhitāṁ bhagavatā nārāyaṇena svayam
              vyāsena grathitāṁ purāṇamuninā madhye mahābhāratām
              advaitāmṛtavarṣiṇīm bhagavatīm aṣtādaṡādhyāyinīm
              amba tvām anusandadhāmi bhagavadgīte bhavadveṣiṇīm.

             อัม รู้แจ้งกับพระปารถะโดยพระนารายณ์พระองค์เอง
  
           มหาภารตะอยู่ตรงกลาง ประพันธ์โดยพระปุราณะ วยาสะ
             พระผู้สูงสุดได้ประทานน้ำทิพย์แห่ง (ลัทธิ) อไทวตะ คือบทที่แปด
             โอ พระมารดา ข้าพเจ้ากำลังติดตามนางในศรีมัด ภควตัม ซึ่งชิงชังเธอ.

           2. समस्तवेदार्थसारसंग्रहभूतं...समस्तपुरुषार्थसिद्धिम्।
             
samastavedārthasārasaṁgrahabhūtam…samastapuruṣārthasiddhim.
              
มันคือการรวบรวมแก่นแท้ของความหมายพระเวททั้งหมด...ความสมบูรณ์แบบของจุดประสงค์ของมนุษย์ทั้งหมด.
บทนำของ ศ.ภ.ค.
         
 
บทความเบื้องต้น

1.  ความสำคัญของงานเขียนนี้.
        ภควัทคีตา นี้เป็นยิ่งกว่างานทางศาสนาชั้นเอกและเป็นยิ่งกว่าปรัชญา. ลำนำนี้มิใช่งานประพันธ์อันลี้ลับ หากแต่ได้รับการวางโครงเรื่อง ด้วยความเข้าใจตระหนักชัดโดยมหาปราชญ์ผู้ริเริ่ม เป็นลำนำที่นิยมไปทั่ว โอบอุ้มผู้นิราศไปยังท้องถิ่นต่าง ๆ. เป็นการเผยให้เห็นถึงแรงบันดาลใจของผู้แสวงหาความจริงแท้ หรือนักพรตในศาสนาอื่น ๆ และนิกายต่าง ๆ ทั้งหลาย ในอันที่จะเข้าถึงแก่นแท้ของความจริง (สู่นคราของพระเจ้า). เราจะดำดิ่งสัมผัสถึงความจริงแท้อย่างลึกซึ้ง ในขณะที่มนุษย์กำลังดิ้นรน พ่ายแพ้และประสบชัยชนะ. ชาวฮินดูนับล้าน1 หลายศตวรรษแล้ว ได้ค้นพบความสุนทรีจากหนังสือแห่งลำนำอันยิ่งใหญ่นี้ ซึ่งกำหนดให้เห็นถึงความคมชัดและโศลกที่มุ่งตรงถึงหลักการอันเป็นสาระสำคัญของจิตวิญญาณแห่งลำนำนี้ อันอิสระจากข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้อง (การตีความผิด) หลักการที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์หรือความดึงดันตามความเพ้อฝัน. จำเนียรกาลผ่านมา...
--------------
1. ในช่วงแรก ๆ นั้น คีตา มีอิทธิพลขยายออกไปยังจีนและญี่ปุ่น และค่อย ๆ ขยายไปยังดินแดนต่าง ๆ ในอัสดงคตประเทศ. มีสองผลงานที่สำคัญของพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน คือ มหายานศรัทโธตปาทศาสตร์ (การตื่นรู้แห่งศรัทธาในพุทธศาสนานิกายมหายาน) (ดูเพิ่มเติมใน หน้าที่ 01 พระพุทธศาสนา มหายานนิกาย บทที่ 01) และ สัทธรรมปุณฑรีกสูตร (พระสูตรว่าด้วยบัวขาวแห่งธรรมอันล้ำเลิศ(ดูเพิ่มเติมใน หน้าที่ 03 พระพุทธศาสนา มหายานนิกาย บทที่ 01) นั้นเป็นหนี้แนวคิดที่ลึกซึ่ง อันมาจากคำสอนของคีตา. เป็นที่น่าสนใจยิ่งถึงการเปิดเผยอย่างเป็นทางการถึง "พลังศรัทธาแห่งเยอรมัน" ซึ่งเป็นงานของนักวิชาการด้านภาษาสันสกฤตที่ชื่อ เจ. ดับบลิว. เฮาวเออร์ 01. ซึ่งได้เผยแผ่ศาสนาในอินเดียมาหลายปี ได้ยกให้คีตา นั้นเป็นศูนย์กลางของพลังศรัทธาแห่งเยอรมัน. ซึ่งเขาเรียกลำนำนี้ว่า "งานสำคัญอันเป็นอมตะ" เขากล่าวว่าลำนำนี้ "ไม่เพียงแต่จะทำให้เราเข้าใจอย่างลึกซึ้งและถูกต้องในทุกช่วงเวลาและสำหรับทุกผู้คนที่ศรัทธาในศาสนาทั้งหมดเท่านั้น แต่ลำนำนี้ได้มีการนำเสนอในรูปแบบดั้งเดิม อันเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่สำคัญของประวัติศาสตร์ทางศาสนาของอินโด-เยอรมานิก...อันทำให้เราเล็งเห็นถึงความสำคัญและคุณลักษณะพื้นฐานของศาสนาอินโด-เยอรมานิก. วิญญาณของเรานั้นดำรงอยู่." ท่านได้กล่าวถึงข้อความสำคัญของคีตา ด้วยคำพูดที่ว่า "เราไม่ได้ร้องขอให้เฉลยปัญหาที่เกี่ยวกับความหมายของชีวิต แต่เราประสงค์ที่จะพบกับความจริงแท้ (หรือรากเหง้าของปัญหา) การดำเนินไปของมันและกรรม (การกระทำ) ทั้งนี้เพื่อกำกับปริศนาแห่งชีวิต" (ข้อความจาก "วารสารฮิบเบิร์ต" เม.ย. พ.ศ.2483 หน้าที่ 341) ด้วยคีตานั้น ตั้งอยู่บนฐานวรสารแห่งกรรม (การกระทำ) ที่วางอยู่บนปรัชญาชีวิต. ซึ่งเราต้องทำความเข้าใจกับความหมายของชีวิตให้ถ่องแท้ ก่อนที่จะผูกสัมพันธ์ด้วยกรรม (การกระทำ). ลำนำไม่ได้สนับสนุนการกระทำที่คลั่งไคล้ ซึ่งกลายเป็นว่าได้หมิ่นต่อศักดิ์ศรีของความคิดนั่นเอง. ลำนำเป็นปรัชญาของการกระทำ เป็นสิ่งที่ได้รับมาจากปรัชญาด้านจิตวิญญาณ พรหมวิทญาณทารกตกรรมโยคะศาสตร์. กิจกรรมทางจริยธรรมนั้น ได้รับมาจากการตระหนักในอภิปรัชญา. ซึ่งมหาคุรุศังกราจารย์02. ได้กล่าวเตือนว่าวัตถุประสงค์อันสำคัญยิ่งของคีตา นี้ ก็คือสั่งสอนพวกเราวิถีที่จะปลดเปลื้องจากพันธนาการ และไม่เพลิดเพลินหลงอยู่ในกรรม (การกระทำโศกโมหาทิสัมสารกรรมนิวฤตยารธัม คีตาศาทรัม นะ ปรวรทกัม
หมายเหตุ คำอธิบาย
01.
เจ. ดับบลิว. เฮาวเออร์ (Jakob Wilhelm Hauer) เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มเคลื่อนไหวพลังศรัทธาแห่งเยอรมัน (German Faith Movement)

 เจ. ดับบลิว. เฮาวเออร์ (Jakob Wilhelm Hauer), เยอรมัน: 4 เม.ย. พ.ศ.2424 - 18 ก.พ. พ.ศ.2505, ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 22 ตุลาคม 2566.
 
02. ศังกราจารย์ (Śaṁkara หรือ Sankara หรือ Sankaracarya (ราว ค.ศ.788 - 820 หรือ พ.ศ. 1331 - 1363 หรือก่อนหน้านี้)
อาทิ ศังกราจารย์ (Adi Shankara) และสานุศิษย์ ผลงานโดยราชา รวิ วรรมา (Raja Ravi Varma) ราวกลาง พุทธศตวรรษที่ 25 หรือต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 (พ.ศ.2447/ค.ศ.1904) ที่มา: th.wikipedia.org/wiki/ศังกราจารย์ และ en.wikipedia.org/wiki/Adi_Shankara, วันที่สืบค้น 22 ตุลาคม 2566.

ท่านเป็นนักปราชญ์ที่โดดเด่นของศาสนาฮินดู นับถือกันว่าเป็นองค์อวตารของพระศิวะ (Siva หรือ Shiva) ท่านเป็นผู้ประพันธ์คัมภีร์ปุราณะ และคัมภีร์เวทานตะ (Vedanta) อรรถาธิบายลัทธิเวทานตะ และเป็นผู้กำเนิด ลัทธิอทไวตะเวทานตะ (Advaita Vedanta) ท่านได้รับเกียรติ เป็นผู้รวบรวมและจัดตั้งแนวความคิดหลักของศาสนาฮินดู ด้วยงานเขียนเป็นภาษาสันสกฤต ถกถึงความเป็นหนึ่งเดียวของอาตมัน (Atman) และ พรหมันที่ไม่จำต้องประจักษ์ (Nirguna Brahman) เป็นพรหมันที่ไร้รูปแบบและคุณลักษณะใด ๆ (Brahman without form or qualities หรือ Brahman without attributes), ที่มา: http://www.encyclopedia.com/religion/dictionaries-thesauruses-pictures-and-press-releases/sakara และ th.wikipedia.org/wiki/ศังกราจารย์, วันที่สืบค้น 4-8 พฤษภาคม 2560.


12
...ของพลังด้านจิตวิญญาณ ในวันนี้ ลำนำได้ทำหน้าที่ด้วยการเป็นลำแสงให้แก่ทุกคน ผู้ซึ่งจะได้รับการส่องสว่างจากภูมิปัญญาอันลึกซึ้ง เป็นเครื่องยืนยันให้เราทราบว่า โลกนั้นกว้างไพศาลและลึกสุดหยั่งคาดเดากว่าสงครามและการปฏิวัติใด ๆ ที่เราประสบมา. ลำนำเป็นปัจจัยที่ได้ก่อร่างขึ้นมาอย่างทรงพลัง ในอันที่จะยืดอายุจิตวิญญาณ และเป็นที่ธำรงสร้างความมั่นใจท่ามกลางมหาคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก. สิ่งที่คีตาสั่งสอน หาได้ถูกนำเสนอในรูปของแนวคิดระบบอภิปรัชญา (แนวคิดที่ว่าด้วยความแท้จริงในสารัตถะนั้น มีจริงหรือไม่) ที่มาจากปัจเจกคุรุหรือสำนักของคุรุต่าง ๆ แต่อย่างใดไม่. ทว่าเป็นประเพณีจารีตซึ่งผลิเผยมาจากชีวิตทางศาสนาของมนุษยชาติ. ลำนำได้เชื่อมต่อคุรุพยากรณ์ที่มีความลึกซึ้งในการเห็นแจ้งถึงความจริงแท้ในหลายแง่มุม และเชื่อได้แน่ว่าเป็นการสงวนพละกำลังของผู้ศรัทธา. ลำนำไม่เพียงแต่เป็นตัวแทนในส่วนเสี้ยวของบางนิกายของศาสนาฮินดู แต่เป็นศาสนาฮินดูทั้งหมดเลยทีเดียว ด้วยความเป็นสากลจักรวาลของลำนำ ไร้ขีดจำกัดของเวลาหรือเนื้อที่1 โอบกอดด้วยการประมวลขอบเขตทั้งหมดของจิตวิญญาณมนุษย์ จากอารมณ์หยาบโลนราคะจริตของคนโฉดสู่การปฏิญาณตนอย่างสร้างสรรค์ของนักบุญ. คำแนะนำต่าง ๆ ที่ได้กำหนดไว้แล้วใน คีตา เกี่ยวกับความหมายและคุณค่าของสิ่งที่ดำรงอยู่ ความรู้สึกของคุณค่าอันนิรันดร์และวิถีที่เร้นลับนั้น ถูกเปล่งประกายด้วยแสงแห่งเหตุผลและสัญชาตญาณทางศีลธรรม อันเป็นพื้นฐานที่ได้ตกลงกันไว้แล้วในใจและจิตวิญญาณ ซึ่งมีความจำเป็นยิ่งในการจรรโลงโลกไว้ ได้กลายเป็นสาระสำคัญที่ถูกยอมรับในระดับสากลของอารยธรรมที่อยู่รอบนอก. ตามที่ Colophon (ข้อมูลทางบรรณานุกรม ชื่อและที่อยู่ของสำนักพิมพ์บนปกหนังสือ) ได้ระบุไว้นั้น, ภควัทคีตา เป็นทั้งอภิปรัชญาและจริยธรรม, พรหมวิทยา (brahmavidyā) และ โยคะศาสตร์ (yogaśāstra), ศาสตร์แห่งความจริงแท้และศิลปะในการผนึกรวมกับความจริงแท้. เฉพาะผู้ที่เตรียมตนเคร่งครัดมีวินัยเท่านั้น ที่สามารถโอบอุ้มสัจจะของจิตวิญญาณไว้ได้. เราทั้งหลายต้องทำจิตใจให้ใสสะอาด ชำระล้างสิ่งที่ทำให้เราไขว้เขว ล้างใจจากความชั่วทั้งมวล เพื่อเสาะแสวงภูมิปัญญาทางจิตวิญญาณ2.
---------------
1 ข้อมูลทางบรรณานุกรมของ อัลดัส ฮักซลีย์01.: "คีตา เป็นหนึ่งในบทสรุปที่ชัดเจนและครอบคลุมมากที่สุดของปรัชญาแกนหลักที่เคยได้รังสรรค์ขึ้นมา. ด้วยคุณค่าที่ยืนยงของลำนำ ไม่เพียงแต่มีไว้สำหรับบุตรของแม่อินเดียเท่านั้น หากมีไว้สำหรับมวลมนุษยชาติทั้งผอง....ภควัทคีตา นั้น บางทีอาจเป็นถ้อยแถลงทางจิตวิญญาณที่เป็นระบบมากที่สุดของปรัชญาแกนหลักเลยทีเดียว." บทนำในหนังสือภควัทคีตา โดย สวามี พระภูอนันท์02. และ คริสโตเฟอร์ อิ๊สเชอร์วูด03. (พ.ศ.2488)
2  ข้อมูลทางบรรณานุกรมของ Jyotir ātmani nānyatra samaṁ tat sarvajantuṣu sayaṁ ca śakyate draṣṭuṁ susamāhitacetasā. 
"ลำแสงของพระเจ้านั้น เปล่งภายในตัวเรา ไม่มีที่อื่นใด. ทุกชีวิตทุกผู้คนล้วนแล้วแต่มีลำแสงนี้เหมือน ๆ กัน และต่างก็สามารถมองเห็นได้ด้วยใจที่มั่นคง."

หมายเหตุ คำอธิบาย
01.
อัลดัส ฮักซลีย์ (Aldous Huxley).
อัลดัส เลโอนาร์ด ฮักซลีย์ (Aldous Leonard Huxley)  (26 ก.ค.2437 - 22 พ.ย.2506) นักเขียนชาวอังกฤษ อพยพไปสหรัฐฯ เขากำเนิดในตระกูลดังด้านนักคิด นักวิทยาศาสตร์ ช่วงปลายชีวิต เขาสนใจงานด้านมนุษยนิยม ปรัชญาที่วางบนรากฐานด้านความเชื่อทางจิตวิญญาณ, ที่มา: ภาพ: www.returnofkings.com, ข้อความ: en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 3 ก.ค.2560.
 
02. สวามี พระภูอนันท์ (Svāmi หรือ Swami Prabhavānada)
สวามี พระภูอนันท์ (Svāmi หรือ Swami Prabhavānnada), นักปรัชญาอินเดีย นักบวชใน "องค์การรามากฤษณะ" (26 ธ.ค.2436 - 4 ก.ค.2519), ที่มา: ภาพ: vedanta.org, วันที่สืบค้น 22 ตุลาคม 2566.
 
03. คริสโตเฟอร์ วิลเลี่ยม แบรดชอว์ อิ๊สเชอร์วูด (Christopher William Bradshaw Isherwood)
คริสโตเฟอร์ วิลเลี่ยม แบรดชอว์ อิ๊สเชอร์วูด (Christopher William Bradshaw Isherwood) (26 ส.ค.2447 - 4 ม.ค.2529), ที่มา: ภาพ: www.azquotes.com, ข้อความ: en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 2 ก.ค.2560.

 
ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย:
01.  จาก. THE BHAGAVADGITA, S. RADHAKRISHNAN, HarperCollins Publishers India Pvt Ltd. Printed in India, 14th impression 2000.
info@huexonline.com