MENU
TH EN

I. วัด และสถานที่สำคัญในอาณาจักรล้านนา

Title Thumbnail: ภาพที่ติดอยู่บนกุฏิใหญ่ วัดทรายมูลพม่า (รายละเอียดดูใน 04), ที่มา: Facebook เพจ "เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น," วันที่เข้าถึง 30 กรกฎาคม 2563, Hero Image: พระวิหารหอคำหลวง วัดพันเตา จังหวัดเชียงใหม่, ถ่ายไว้เมื่อ 3 เมษายน 2564.

I. วัด และสถานที่สำคัญในอาณาจักรล้านนา01, 02, 03.
First revision: Jul.04, 2020
Last change: Sep.08, 2021
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา

    ในบล็อกนี้ ถือได้ว่าเป็นสารบัญ ดัชนี การศึกษาประวัติศาสตร์และศิลปะในยุคต่าง ๆ ของวัด สถานที่สำคัญในอาณาจักรล้านนาทั้งแปดจังหวัด ประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน และพะเยา พร้อมเมืองที่อยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ เชียงแสน เชียงตุง เชียงรุ้ง ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนาแต่ครั้งอดีต
    ทั้งนี้การเรียงลำดับชื่อวัด และสถานที่สำคัญต่าง ๆ ของอาณาจักรล้านนานี้นั้น จะจัดเรียงตาม 02 หนังสือ "ประวัติศาสตร์และศิลปะล้านนา" ของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำริห์กุล และ 03 หนังสือ "คู่มือนำชมศิลปกรรมโบราณในล้านนา" ของศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ เป็นสำคัญ


 
 วัด และศิลปกรรมโบราณเมืองเชียงใหม่
 CM-001  วัดพระสิงห์  Singha Temple
 CM-002  วัดเจดีย์หลวง  Laung Pagoda Temple
 CM-003  วัดเชียงมั่น  Chiang Man Temple
 CM-004  วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์  U-Mong Mahathaenchan Temple
 CM-005  วัดบุปผาราม (วันสวนดอก)  Bupparam (Suan Dok) Temple
 CM-006  วัดมหาโพธาราม (วัดเจ็ดยอด)  Maha Bhodharam (Jed Yod) Temple
 CM-007  วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม)  U-Mong Temple (Suan Buddhadham)
 CM-008  วัดป่าแดงหลวง  Pa Daeng Laung Temple
 CM-009  วัดพระธาตุดอยสุเทพ  Doi Sudeb Buddha Relics or Phra That Doi Sudeb Temple
 CM-010  วัดโลกโมฬีอาราม  Lok Moli Aram Temple
 CM-011  วัดบวกครกหลวง  Bauk Krok Luang Temple
 CM-012  วัดพม่าในเมืองเชียงใหม่  Burmese Temples in Chiangmai
 CM-013  วัดป่าเป้า  Pa Pao Temple
 CM-031  วัดผาลาด  Pha Lad Temple
 CM-032  วัดขุนคง  Khun Kong Temple
 CM-033  วัดบุพพาราม  Buppharam Temple
 CM-034  วัดพันเตา  Phan Tao Temple
 CM-041  คุ้มหลวง หอคำ เวียงแก้ว  Khum Laung Hor Kham Wieng Kaew
 CM-098  วัดแสนขาน  Saen Khan Temple


 
 วัด และศิลปกรรมโบราณเมืองลำพูน (หริภุญชัย)
 LPN-001  วัดพระธาตุหริภุญชัย  Hariphunchai Buddha Relics Temple
 LPN-002  วัดจามเทวี (วัดกู่กุด)  Chamdevi Temple (Kuukud Temple)
 LPN-003  วัดพระยืน  Phra Yaen Temple (Standing Budhha Temple)
 LPN-004  โบราณสถานกู่ช้าง กู่ม้า  



 
 วัด และศิลปกรรมโบราณเมืองลำปาง
 LPG-001  วัดพระธาตุลำปางหลวง  Lampang Luang Buddha Relics Temple
 LPG-002  วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม  Phra Kaeo Don Tao Temple 
 LPG-003  วัดพระธาตุเสด็จ  Sadet Budhha Relics Temple
 LPG-004  วัดปงสนุก  Pong Sanook Temple
 LPG-005  วัดบุญวาทย์วิหาร  
 LPG-006  วัดเกาะวาลุการาม  
 LPG-007  วัดไหล่หินหรือวัดไหล่หินหลวง (วัดเสลารัตนปัพพตาราม)  
 LPG-008  วัดปงยางคก  
 LPG-009  วัดศรีชุม  
 LPG-010  วัดศาสนโชติการาม (วัดป่าฝาง)  
 LPG-011  วัดม่อนจำศีล  
 LPG-012  วัดม่อนปู่ยักษ์ (วัดม่อนสัณฐาน)  
 LPG-013  วัดพระเจดีย์ซาวหลัง  




ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย
01.  จาก. "ประวัติศาสตร์ล้านนา" โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สรัสวดี อ๋องสกุล, สำนักพิมพ์อมรินทร์ พิมพ์ครั้งที่ 10 พฤศจิกายน 2557.
02.  จาก. "ประวัติศาสตร์และศิลปะล้านนา", ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำริห์กุล, ISBN 978-616-7767-98-7, สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, นนทบุรี, พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2561
03.  จาก. "คู่มือนำชมศิลปกรรมโบราณในล้านนา", ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ISBN 978-616-465-036-7, สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, นนทบุรี, พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2563
04.  อธิบายเพิ่มเติมภาพเชียงใหม่ในอดีตภาพนี้ เป็นภาพที่ติดอยู่บนกุฏิใหญ่ วัดทรายมูลพม่า แต่ภาพนี้ถ่ายที่ หน้าโบสถ์วัดหนองคำ ราวปี พ.ศ.๒๔๗๗ ที่ภาพวัดหนองคำมาติดอยู่ที่นี่
เพราะ พระเณรนิกายม่าน (สงฆ์ถือประเพณีอย่างพม่า) อย่างวัดทรายมูลพม่านี้ในอดีต จะอาศัยโบสถ์วัดหนองคำเป็นสีมาอุปสมบท ซึ่งรวมทั้งเณรด้วย เมื่อก่อนนี้ วัดทรายมูลพม่า วัดหนองคำ วัดป่าเป้า เจ้าอาวาสถึงกันถือตนเป็นนิกายม่าน ถึงแม้ปัจจุบันจะแยกกัน ด้วยปัญหาชาติพันธุ์นิยมไปแล้ว ว่า ป่าเป้า วัดไทใหญ่, หนองคำ วัดปะโอ, ทรายมูล วัดพม่า, แต่เมื่อก่อน ยังไม่แยกอัตลักษณ์ชัดเจน ก็ทำร่วม ๆ กัน ที่สำคัญหลวงพ่ออูอาสภะ เจ้าอาวาสรูปก่อนท่านก็อุปสมบทจาก สีมาวัดหนองคำนี้ด้วย
     พวกลูกหลานไทยเชื้อสายพม่ารุ่นลูกสล่ามอง หรือ ยุคสล่ามองก็ทันเห็นการร่วมกันทานถึงกันของพระม่าน ไต ปะโอ ทั้งสามวัด พระอุโบสถวัดหนองคำ พระอุโบสถ กว้าง 10 เมตร ยาว 12 เมตรสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2445 เป็นอาคารคอนกรีต ก่ออิฐถือปูนรูปทรงเป็น สถาปัตยกรรมชาวปะโอ (ต่องสู้) แต่เดิมนั้นมียอดสูงขึ้นประมาณ 5 ชั้น ได้ชำรุดเสียหายและรือไปเมื่อ ประมาณ 40 ปีมาแล้ว ด้านนอกผนังทั้งสี่ด้านมีภาพจิตรกรรมศิลปะชาวปะโอสวยงามมาก
     วัดหนองคำ เป็นวัดที่มีความเก่าแก่ และสวยงามวัดหนึ่งของภาคเหนือ สร้างขึ้นโดยคณะศรัทธาสามัคคีหลายท่าน ซึ่งมีชาวปะโอ (ต่องสู้ หรือ ต่องสู) ตลอดถึงคณะศรัทธาพี่น้องชาวเชียงใหม่ ที่เป็นพ่อค้าไม้ ได้พร้อมใจกันขายช้าง 7 เชือก ได้จัดหาซื้อที่ดินเพื่อที่จะสร้างวัด ได้มีการเริ่มสร้างวัดเมื่อ พ.ศ.2380 (นับถึง พ.ศ.2560 วัดหนองคำมีอายุได้ 180 ปี) วัดหนองคำอยู่ติดกับถนนช้างม่อย ห่างจาก ตลาดวโรรส (กาดหลวง) ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 600 - 700 เมตร,
ที่มา: Facebook เพจ "เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น," วันที่เข้าถึง 30 กรกฎาคม 2563


PHOTO GALLERY
ภาพที่ 01: ภาพที่ติดอยู่บนกุฏิใหญ่ วัดทรายมูลพม่า (รายละเอียดดูใน 04), ที่มา: Facebook เพจ "เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น," วันที่เข้าถึง 30 กรกฎาคม 2563

 

PHOTO
GALLERY
info@huexonline.com