MENU
TH EN

CM-003. วัดเชียงมั่น

 Title Thumbnail: เจดีย์วัดเชียงมั่นในอดีต เจดีย์ช้างล้อม, ที่มา: Facebook "เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น", วันที่เข้าถึง 21ธันวาคม 2562, Hero Image: วัดเชียงมั่น ถ่ายภายในวัดจากด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ, ถ่ายไว้เมื่อ 4 เมษายน 2564.
CM-003. วัดเชียงมั่น
First revision: Dec.21, 2019
Last change: Jul.30, 2021
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา.

       เจดีย์วัดเชียงมั่นในอดีต เจดีย์ช้างล้อม เป็นเจดีย์รูปทรงสถาปัตยกรรมล้านนาฐานช้างล้อม องค์เจดีย์ผสมสี่เหลี่ยม และทรงกลมเปิดทองจังโก สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1840
 
       กล่าวกันว่า หากต้องการเห็นภาพพระเจดีย์ที่วัดเจดีย์หลวง หรือวัดโชติการามว่าเป็นลักษณะใด ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์แผ่นไหว เมื่อปี พ.ศ.2088 ในรัชสมัยพระนางเจ้ามหาเทวีจิระประภา ทำให้เรือนยอดของพระเจดีย์หลวงหักลงมา นั้น ให้มาดูเจดีย์ที่วัดเชียงมั่น เพราะการก่อสร้างร่วมสมัยกัน.

       ครั้งพญามังรายสถาปนาวัดเชียงมั่น และได้รับการบูรณะซ่อมแซมจากผู้ครองนครเชียงใหม่สืบมา กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้วเมื่อ พ.ศ. 2478

       วัดเชียงมั่น ปรากฏในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ และ พงศาวดารโยนก หลังจากที่ พญางำเมือง พญาร่วง และพญามังราย ทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 1839 ซึ่งถือว่าเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในเชียงใหม่ ทั้ง 3 พระองค์โปรดให้สร้างเจดีย์ และพญามังรายทรงประทับชั่วคราวในระหว่างควบคุมการสร้างเมือง ตรงหอนอนบ้านเชียงมั่น เรียกว่า "เวียงแก้ว" ทรงอุทิศตำหนักคุ้มหลวงเวียงเหล็ก ตั้งเป็นพระอารามหลวงแห่งแรก และพระราชทานนามว่า "วัดเชียงมั่น" จากนั้นคาดว่าเจดีย์พังลงมา ในสมัยพระเจ้าติโลกราช (ครองราชย์ พ.ศ. 1985 - 2031) พระองค์จึงโปรดให้สร้างเจดีย์ใหม่ ทำด้วยศิลาแลง

       เมื่อปี พ.ศ. 2014 เมื่อเชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ในปี พ.ศ. 2094 วัดเชียงมั่นจึงถูกปล่อยร้าง จนปี พ.ศ. 2101 เจ้าฟ้ามังทรา (สมเด็จพระมหาธัมมิกะราชาธิราช) แห่งพม่า บูรณปฏิสังขรณ์วัดเชียงมั่นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยโปรดให้สร้างเจดีย์ วิหารอุโบสถ หอไตร ธัมมเสนาสนะกำแพง และประตูโขง มีพระมหาหินทาทิจจวังสะเป็นเจ้าอาวาส เมื่อถึงสมัยพระยากาวิละครองเมือง เชียงใหม่ (พ.ศ. 2324 - 2358)

       ต่อมาพระพุทธศาสนาแบบธรรมยุติกนิกาย เผยแผ่เข้ามาในอาณาจักรล้านนา เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์จึงนิมนต์พระคณะธรรมยุต มาจำพรรษาอยู่ แต่ได้ย้ายไปอยู่วัดหอธรรม และ วัดเจดีย์หลวงตามลำดับ ในภายหลัง01


ปูชนียสถานและปูชนียวัตถุที่สำคัญ
01.  วิหารหลวง - ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวัดถัดจากหอไตร รูปทรงสถาปัตยกรรมแบบล้านนาด้านหน้าอุโบสถประดิษฐานศิลาจารึกหลักที่ 76 จารึกเมื่อปี พ.ศ.2124 อุโบสถหลังนี้สร้างขึ้นพร้อมกับวิหารและหอไตร กรมศิลปากรประกาศขึ้น ทะเบียนพร้อมกันกับเจดีย์ วิหาร และหอไตร.
02.  เจดีย์ช้างล้อม - เป็นเจดีย์รูปทรงสถาปัตยกรรมล้านนาบานช้างล้อม องค์เจดีย์ผสมสี่เหลี่ยมและทรงกลมปิดทองจังโก สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.1840 ครั้งพญามังรายสถาปนาวัดเชียงมั่น และได้รับการบูรณะซ่อมแซมจากผู้ครองนครเชียงใหม่สืบมา กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้วเมื่อ พ.ศ.2478.
03.  พระแก้วขาว - หรือ พระเสตังคมณี เป็นพระพุทธรูปที่นับถือกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ สามารถคุ้มครองป้องกัน อันตรายและอำนวยความสุขสวัสดิ์มงคลแก่ผู้ที่เคารพสักการะ.
04.  ศิลาจารึกวัดเชียงมั่น - ตั้งอยู่ที่โถงด้านหน้าของอุโบสถวัดเชียงมั่น จารึกถึง พระนามกษัตริย์สามพระองค์ คือ พญามังราย พญางำเมือง และพระร่วง ว่าทั้งสามพระองค์ทรงร่วมกันสร้างเมืองเชียงใหม่
05.  หอครูบาเจ้าศรีวิชัย - สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2505 ศิลปะสถาปัตยกรรมแบบล้านนา เป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา.




ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย
01. จาก. Facebook เพจ "เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น", วันที่เข้าถึง 21 ธันวาคม 2562.



PHOTO GALLERY
ภาพที่ 01: หน้าวัดเชียงมั่น ไม่ทราบปีที่ถ่าย ที่มา: Facebook เพจ "เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น", วันที่เข้าถึง 26 มิถุนายน 2563.
ภาพที่ 02: เจดีย์วัดเชียงมั่นในอดีต, ที่มา: Facebook โดยผู้ใช้นามว่า "คนไท ฅนพุทธ", วันที่เข้าถึง 30 กรกฏาคม 2564.


 

PHOTO
GALLERY
info@huexonline.com