MENU
TH EN

LPN-001. วัดพระธาตุหริภุญขัย

Title Thumbnail: วัดพระธาตุหริภุญชัย, ที่มา: www.museamthailand.com, วันที่เข้าถึง 11 กรกฎาคม 2563, Hero Image: วัดพระธาตุหริภุญชัย, ที่มา: www.thetrippacker.com, วันที่เข้าถึง 11 กรกฎาคม 2563.
LPN-001. วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร01.
First revision: Jul.11, 2020
Last change: Apr.11, 2022
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา

       วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร หรือ วัดพระธาตุหริภุญชัย หรือ วัดเจดีย์หลวง เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 28 ไร่ 3 งาน 26 ตารางวา วัดพระธาตุหริภุญชัย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อปี พ.ศ.2478.

       วัดพระธาตุหริภุญชัย สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 17 ในรัชสมัยของพญาอาทิตยราช กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ โดยที่แห่งนี้ เคยเป็นพระราชฐานของพระองค์ซึ่งพระราชทานอุทิศถวายให้เป็นวัดพระธาตุฯ เพื่อเป็นพุทธบูชาหลังจากที่พระบรมสารีริกธาตุได้ปรากฎ ให้พระองค์ได้ทอดพระเนตรในบริเวณดังกล่าว.

งานสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย จว.ลำพูน ราว พ.ศ.2435-2445 ภาพถ่ายโดย หลวงอนุสารสุนทร แต่งสีโดยและที่มาจาก Facebook เพจ "เชียงใหม่ที่คุณมองไม่เห็น," วันที่เข้าถึง 11 เมษายน 2565.


ประวัติ
       ตำนานมูลศาสนาและตำนานพระธาตุเจ้าหริภุญชัย กล่าวว่า ครั้นพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาบิณฑบาตในหมู่บ้านของเหล่าเม็งคบุตร แล้วเสด็จเลียบลำน้ำระมิงค์ (แม่น้ำปิง) พวกเม็งตามเสด็จมาถึงที่สถานที่หนึ่งทางทิศตะวันตกของแม่น้ำ พระพุทธเจ้าปรารถนาจะนั่ง ก็มีแท่นหินก้อนหนึ่งผุดขึ้นมาจากพื้นดิน พระพุทธเจ้าจึงทรงวางบาตรและประทับเหนือแท่นหินนั้น ชมพูนาคราชและพญากาเผือกออกมาอุปัฏฐากพระองค์ ลัวะผู้หนึ่งได้ถวายหมากสมอ เมื่อพระพุทธเจ้าฉันเสร็จได้ซัดเมล็ดสมอลงเหนือพื้นดิน เมล็ดสมอหมุนเวียน 3 รอบ แล้วจึงได้ฝังพระเกศาแล้วเอาผลสมอทับไว้ มีพุทธพยากรณ์ว่าในภายหน้า เมื่อพระเจ้าอาทิตยราชเสวยราชย์ สถานที่นี้จะเป็นที่ตั้งของมหานครใหญ่ชื่อ "หริภุญชัย".

       เพราะพระพุทธเจ้าได้มาฉันหมากสมอที่นี้ ที่พระพุทธเจ้านั่งจะเป็นที่ตั้งของเจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ มีพระธาตุกระดูกพระเศียร ธาตุกระดูกอก ธาตุกระดูกนิ้ว และธาตุย่อย รวม 1 บาตรเต็ม ณ มหานครแห่งนี้ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกลับไปแล้ว พญากาเผือกเมื่อได้ยินพุทธพยากรณ์ก็จำได้สิ้น เมื่อบินกลับถึงป่าหิมพานต์ จึงเรียกกาดำผู้เป็นหลานมาเล่าพุทธพยากรณ์ พร้อมให้กาดำอยู่เฝ้ารักษาสถานที่ เหล่าเทวดา อสูร ฤๅษี พากันมาบูชาแท่นหินนั้นเป็นนิตย์.

       ตำนานพระธาตุเจ้าหริภุญชัยว่าแท่นหินนั้น จมลงไปในดินตามเดิม ภายหลังพระยาศรีธรรมาโศกราชได้นำพระธาตุใส่ในกระบอกไม้รวก แล้วใส่ในโกศแล้วลูกใหญ่ 3 กำ บรรจุใต้ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งฉันหมากสมอ.



ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย
01. จาก. th.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 11 กรกฎาคม 2563.


PHOTO GALLERY
ภาพที่ 01: เขาพระสุเมรุจำลอง, ตั้งอยู่ด้านหน้าหอไตร วัดพระธาตุหริภุญชัยฯ รูปแบบสถาปัตยกรรมประกอบด้วยฐานเขียงกลมซ้อนกัน 3 ชั้น รองรับท้องไม้ประดับด้วยลูกแก้วอกไก่และกรอบช่องกระจก เหนือขึ้นไปเป็นเป็นบัวหงายขึ้นรับเขาพระสุเมรุ ซึ่งประกอบด้วยสัตตบริภัณฑ์คีรี และมหานทีสีทันดร จำลองด้วยแผ่นทองสำริดดุนนูน ศิลปะหริภุญไชย เป็นลวดลายต้นไม้ เทพยดา สัตว์ป่า และเหล่าอสูรซ้อนเหลื่อมกัน 7 ชั้น ชั้นบนสุด ประดับด้วยไพชยนต์มหาปราสาท โดยทำเป็นปราสาทหกเหลี่ยมเล็ก ๆ แต่ละด้านมีซุ้มประตูโค้ง ส่วนยอดของปราสาทมีลักษณะเหมือนยอดมณฑป ซึ่งเปรียบเสมือนที่ประทับของพระอินทร์ เขาพระสุเมรุนี้สร้างขึ้นตามคติความเชื่อเรื่องแกนกลางของโลกและจักรวาล ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดียในยุคพระเวท ต่อมาได้แพร่หลายเข้ามาในกลุ่มประเทศแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ที่นับถือพุทธศาสนาและเชื่อว่าน่าจะแผ่เข้ามายังอาณาจักรล้านนาพร้อมพุทธศาสนาลังกาวงศ์ในราวพุทธศตวรรษที่ 20-21
วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ลำพูน
15 เมษายน 2522 Cr. Chuanchom Tuang, ที่มา: Facebook เพจ "Sira Tuangchaipiti," วันที่เข้าถึง 11 กรกฎาคม 2563.
ภาพที่ 02: สุวรรณเจดีย์ (ปทุมวดีเจดีย์) ราว 120 ปีก่อน ใกล้ที่สามเณรและอุบาสก ยินอยู่นั้น เห็นกังสดาลแขวนอยู่ ภาพนี้ถ่ายเมื่อราว พ.ศ.2443-2453 ภาพจาก Siam et Laos : Album de photographies ของห้องสมุดของอดีตอาณานิคม (Paris), ที่มา: Facebook เพจ "เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น," วันที่เข้าถึง 3 กันยายน 2564.


 

PHOTO
GALLERY
info@huexonline.com