ยุคศิลปะ |
วิหาร ปราสาท เทวรูป พระพุทธรูป |
ศิลปะแบบพนมดา (Phnom Da)
(จากเรื่องเล่าและข้อความในจารึก จดหมายเหตุต่าง ๆ จนล่วงเข้าต้นพุทธศตวรรษที่ 12 จึงปรากฎหลักฐานทางศิลปกรรมที่มีลักษณะเฉพาะของกัมพูชาโบราณอย่างแท้จริงที่บริเวณเขาพนมดา จังหวัดตาแก้ว ทางใต้ของกรุงพนมเปญ โดยพบประติมากรรมรูปเคารพทางศาสนาพราหมณ์และพุทธ แต่ไม่พบสถาปัตยกรรม อย่างไรก็ตามคาดว่าบริเวณนี้คงเป็นที่ตั้งของชุมชนขนาดใหญ่ และเรียกศิลปะนี้ตามชื่อสถานที่ที่พบว่า ศิลปะแบบพนมดา)
สมัยพระเจ้ารุทธวรมเทวะ (King Rudravarman) พ.ศ.1057-ราว 1100 A.D.514-539 |
Pic.I-IV. Images from the site of Phnom Da, Cambodia, mid-seventh century A.D. National Museum of Cambodia, Phnom Penh. Pic I: พระวิษณุแปดกร (Visnu with Eight Arms.) Pic II: พลราม (Balarama.) Pic III: พระราม (Rama.) Pic IV: พระกฤษณะ โควรรธนะ หรือ ตรีวิกรม (Krsna Govardhana or Trivikrama.) (ที่มา: Journal: A New Date for the Phnom Da Images and its Implications for Early Cambodia, เขียนโดย Nancy H. Dowling, Asian Perspectives, 1999 สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยฮาวาย.)
|
ถาลาบริวัต (พ.ศ.1120-1150)
เรียกตามชื่อสถานที่ค้นพบ ทับหลังกลุ่มหนึ่ง บริเวณเมืองธาราบริวัตร สตึงเตง กัมพูชา ริมแม่น้ำโขง ภาคใต้ของสปป.ลาว จากบริเวณที่มีแม่น้ำไหลวน. ลักษณะทับหลังลักษณะคล้ายศิลปะอินเดีย แบบคุปตะและหลังคุปตะ. ที่มา:th.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 28 มิถุนายน 2562 |
ทับหลังศิลปะเขมรในประเทศไทย (พบที่วัดทองทั่ว จันทบุรี) ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ที่มา: www.silpa-mag.com, วันที่เข้าถึง 28 มิถุนายน 2562
จารึกวัดทองทั่ว-ไชยชุมพล อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 ตัวอักษรปัลลวะ ภาษาเขมรสันสกฤต จารึกบนกรอบประตูกล่าวถึง พระเจ้าอีศานวรมันที่ 1 กษัตริย์กัมพูชา สมัยก่อนเมืองพระนคร ครองราชย์ (พ.ศ.1159-1180) ปัจจุบันเก็บรักษาโดยกรมศิลปากร ที่มา:www.silpa-mag.com, วันที่เข้าถึง 28 มิถุนายน 2562
|
ทับหลังถาลาบริวัต วัดสีแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร อุบลราชธานี ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ วัดสุปัฏนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ที่มา: https://pantip.com/topic/37634755, วันที่เข้าถึง 30 มิถุนายน 2562
|
วัดพลอยแหวน เขาพลอยแหวน อำเภอท่าใหม่ จันทบุรี ทราบถึงการอ้างอิงจากนักวิชาการ แต่ทว่ายังสืบค้นไม่พบภาพศิลปกรรมแบบถาลาบริวัต (29 มิถุนายน 2562) |
ศิลปะแบบสมโปร์ไพรกุก (Sambor Prei Kuk - พ.ศ.1150-1200)
จดหมายเหตุจีนกล่าวถึงอาณาจักรหนึ่งของเขมรโบราณ ซึ่งตั้งอยู่แถบภูเขาทางทิศเหนือ ชื่อว่า อาณาจักรเจิ้นละและหรือเจิ้นล้า นักวิชาการไทยเรียก เจนละ05 ซึ่งต่อมาแข็งแกร่งขึ้นและเข้าครอบครองอาณาจักรฟูนัน05 ได้ในราวพุทธศตวรรษที่ 11 ศิลาจารึกกล่าวว่าพระเจ้าอิศานวรมเทวะที่ 1 แห่งเจนละได้สร้างเมือง อิศานปุระขึ้นเป็นราชธานี ซึ่งสันนิษฐานกันว่าคือกลุ่มโบราณสถานที่สมโบร์ไพรกุก ใกล้เมืองกำปงธมในปัจจุบัน |
ปราสาทแห่งหนึ่งที่สมโบร์ไพรกุก ถ่ายเมื่อ 15 ตุลาคม 2560.
|
ทับหลังปราสาทเขาน้อย อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ที่มา: https://pantip.com/topic/37634755, วันที่เข้าถึง 30 มิถุนายน 2562
ปราสาทเขาน้อย อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ที่มา: https://pantip.com/topic/37634755, วันที่เข้าถึง 30 มิถุนายน 2562
|
ศิลปะแบบไพรกเมง (Prei Khmeng) (พ.ศ.1185-1250) หลังสมัยสมโบร์ไพรกุก แม้ว่าจะไม่พบหลักฐานที่เป็นจารึกกล่าวถึงเหตุการณ์ของราชอาณาจักรมากนัก แต่ได้พบศิลปกรรมที่มีรูปแบบที่ชัดเจน จัดเป็นศิลปะแบบไพรกเมง ตามชื่อปราสาทหลังหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองพระนคร สำเนียงเขมรเรียก เปรย-กะเมง แปลว่าป่า (ไพร) + เด็ก (กุมาร ) กำหนดอายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ 13 |
ที่มา: thai.tourismthailand.org, วันที่เข้าถึง: 06 สิงหาคม 2562.
ปราสาทภูมิโปน ณ บ้านภูมิโปน ต.ดม อ.สังขะ จ.สุรินทร์
|
ที่มา: www.wisut.net, วันที่เข้าถึง 06 สิงหาคม 2562
ทับหลังปราสาทบ้านน้อยห้วยพะใย อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร ห้องลพบุรี อาคารมหาสุรสิงหนาถ เป็นทับหลังที่แกะสลักด้วยหินทรายแกร่งสีเทาอ่อน ขนาดสูง 42 ซม. ยาว 175 ซม.
|
ศิลปะแบบกำพงพระ หรือ กำปงพระ (Kompong Preah) (พ.ศ.1256-1350) ปลายพุทธศตวรรษที่ 14 จดหมายเหตุจีนกล่าวว่าเจนละได้แยกดินแดนออกเป็นสองส่วนคือ เจนละบกและเจนละน้ำ เป็นช่วงเวลาที่เกิดศิลปะแบบกำพงพระ เรียกตามชื่อปราสาทกำพงพระ เมืองกำปงชะนัง คำว่า "กำพงพระ" สำเนียงเขมรออกเสียงว่า "กำพงเปรี้ยะ" คำ "กำพง" แปลว่าท่าเรือ ส่วน "เปรี้ยะ" คือพระ แปลรวมแล้วคือ "ท่าพระ" ในยุคนี้ยังมีปราสาทอันเดต (อันเดต ในสำเนียงเขมร แปลว่า ลอยอยู่เหนือน้ำ) อยู่ห่างมาทางทิศตะวันตกของเมืองกำพงธมประมาณ 20 กิโลเมตร. |
ปราสาทกำพงพระ (Prasat Kampong Preach), ห่างจากตัวเมืองกำพงชะนังราว 8 กิโลเมตร, ที่มา: tour-kh.blogspot.com, วันที่เข้าถึง 7 พฤศจิกายน 2562 |
ทับหลัง พธ.อุบล |
ศิลปะแบบกุเลน (Kulen) (พ.ศ.1370-1420) มีการค้นพบจารึกหลายหลักที่กล่าวถึงเหตุการณ์ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 14 ที่สำคัญคือจารึกที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม กล่าวถึงเจ้าชายขอมพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่าชัยวรมันที่ 2 เสด็จจากชวา มาปราบแลรวบรวมอาณาจักรจักรเจนละบกกับเจนละน้ำ จากนั้นตั้งตนเป็นกษัตริย์ ทำพิธีสถาปนาเทวราช ประกาศตัวอิสระไม่ขึ้นต่อชวาบนเขาพนมกุเลน พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ทรงสร้างเมืองหลวงหลายเมือง เมืองหนึ่งชื่อมเหนทรบรรพต เชื่อกันว่าคือกลุ่มโบราณสถานบนเขาพนมกุเลน ซึ่งประกอบไปด้วยปราสาทโอโป่ง ถมอดับ ดำไรกราบ เป็นต้น จัดเป็นศิลปะแบบกุเลนตามชื่อสถานที่ตั้ง กำหนดอายุอยู่ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 14 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 15 |
ที่มา: oknation.nationtv.tv, วันที่เข้าถึง: 10 สิงหาคม 2562
อรรถนารีศวร (มีกายเป็นครึ่งบุรุษครึ่งสตรี คือพระศิวะกับพระแม่ปารวตีหรือพระอุมา) บ้างก็เรียก อรรธนารีศวร, อรรธนารีศวรหินทราย พบในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ภาพที่ปรากฎซีกขวาเป็นบุรุษคือพระศิวะ และซีกซ้ายเป็นสตรีคือพระอุมา ประทับขัดสมาธิราบบนฐานบัวหงาย ยกพระกรทั้งสองข้างขึ้นเหนือพระเพลา (พระหัตถ์หายไป) พระพักตร์ค่อนข้างยาว พระเนตรที่สามปรากฎอยู่กึ่งกลางพระนลาฏ พระเกศาเกล้าสูง ทรงกุณฑลขนาดใหญ่และพาหุรัดลายดอกไม้ กรองสอเรียบไม่มีลวดลาย พระวรกายซีกขวาแสดงลักษณะบุรุษหรือพระศิวะ แนวเส้นนูนรูปวงกลมซึ่งหมายถึงพระจันทร์ติดอยู่บนเศียร พระเกศาขมวดกลม มีไรพระมัสสุ นุ่งผ้าสั้นเหนือพระชงฆ์ คาดเข็มขัดลายเชือกถัก มีบ่วงบาศคล้องที่ข้อพระหัตถ์
พระวรกายซีกซ้ายแสดงลักษณะของสตรีเพศหรือพระอุมา ทรงทองพระกร และนุ่งผ้ายาวจรดข้อพระบาท มีแนวชายผ้าพาดจากใต้พระเพลาไปยังข้อพระกร เข็มขัดเป็นลายลูกประคำ
อรรธนารีศวรนี้นับว่าเป็นองค์ที่เก่าแก่มากที่สุดในอุษาคเนย์ และมีความงดงามเป็นพิเศษ ทั้งในลักษณะของรูปทรงและเครื่องทรง |
ศิลปะแบบพะโค (Preah Ko) (พ.ศ.1420-1436) หลังรัชกาลพระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 2 แล้วมีกษัตริย์สืบราชบัลลังก์ต่อมาที่สำคัญคือ พระเจ้าอินทรวรมเทวะที่ 1 ทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่สำคัญ 3 ประการ 1) ทรงสร้างปราสาทพระโคเมื่อ พ.ศ.1420 เพื่อถวายบรรพชน 2) สร้างปราสาทบากอง (หลังเดิม) เมื่อ พ.ศ.1424 เพื่อเป็นปราสาทประจำรัชกาล และ 3) คือ การขุดสระน้ำขนาดใหญ่ไว้ให้ประชาชนได้ใช้ คือ บารายโลเลย หรือ ที่จารึกเรียกว่า "อินทรตฎากะ" กลายเป็นต้นแบบราชประเพณีของกษัตริย์ขอมที่ต้องทำสามสิ่งนี้เมื่อขึ้นครองราชย์ จึงทำให้มีปราสาทจำนวนมากในอาณาจักรกัมพูชาโบราณ
ศิลปะแบบพระโคกำหนดอายุในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 15 |
ปราสาทพระโค (เปรี๊ยะโค) มีประติมากรรมรูปโคนนทิ พาหนะของพระศิวะหมอบประดิษฐานอยู่ด้านหน้าปราสาท รายละเอียดแสดงใน "ก. ปราสาทพระโค หรือ เปรี๊ยะโค" |
ที่มา: 418111-history-of-art-in-thailand.blogspot.com, วันที่เข้าถึง 19 สิงหาคม 2562
ปราสาทอิฐ พนมวัน |
ที่มา: sansabaytwelve.com, วันที่เข้าถึง 19 สิงหาคม 2562.
ปราสาทเขาน้อย
|
ศิลปะแบบบาแค็ง (Bakheng) บ้างก็เรียก บาแคง (พ.ศ.1436-1470) เมื่อพระอินทรวรมเทวะที่ 1 สิ้นพระชนม์ โอรสของพระองค์คือพระเจ้ายโศวรมเทวะที่ 1 ครองราชย์ต่อมาในปี พ.ศ.1433 ทรงสร้างปราสาทโลเลยไว้กลางบารายโลเลยที่พระราชบิดา โปรดให้ขุดไว้ โดยอุทิศถวายปราสาทหลังนี้ให้พระราชบิดา ที่สำคัญคือ ทรงสร้างราชธานีแห่งใหม่ที่ชื่อว่า เมืองยโศธรปุระ หรือ เมืองพระนคร (Angkor) ได้แก่ บริเวณที่ตั้งของกลุ่มโบราณสถานซึ่งอยู่ห่างจากจังหวัดเสียมเรียบออกไปทางเหนือประมาณ 10 กิโลเมตร นอกจากนั้นยังทรงสร้างปราสาทประจำรัชกาลคือ ปราสาทบาแค็ง ไว้บนยอดเขาพนมบาแคง รวมทั้งขุดบารายทางทิศตะวันออกของเมืองพระนคร เรียกว่า บารายตะวันออก (ชื่อจารึก "ยโศตฏากะ") ศิลปะแบบบาแคงกำหนดอายุอยู่ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 15 ศ.ดร.อุไรศรี วรศะริน ได้อธิบายเมื่อคราวนำเที่ยวปราสาทเขมรในเมืองพระนครว่า บาแคงเป็นภาษาเขมรปัจจุบัน "บา" หมายถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นเพศชาย ส่วนคำว่า "แคง" แปลว่าแข็งแรง. |
ปราสาทบาแค็ง ตั้งอยู่บนฐานซ้อนหลายชั้นสูงขึ้นไป แสดงความหมายว่าเป็นเขาพระสุเมรุ รายละเอียดแสดงใน "ซ. ปราสาทพนมบาเคง"
|
ที่มา: pantip.com/topic/32111981, วันที่เข้าถึง 19 สิงหาคม 2562.
ปราสาทอิฐ พนมวัน
|
ที่มา: palanla.com, วันที่เข้าถึง 10 กันยายน 2562.
|
ศิลปะแบบเกาะแกร์ -"เกาะฮ์เก" (Koh Ker) (พ.ศ.1470-1490) หลังรัชกาลพระเจ้ายโศวรมเทวะที่ 1 เกิดความวุ่นวายทางการเมือง พระโอรสทั้งสองพระองค์แม้จะได้ขึ้นครองราชย์ตามลำดับต่อมา แต่มีพระญาติของพระองค์ตั้งตนเป็นกษัตริย์ขึ้นอีกพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่าพระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 4 โดยตั้งเมืองหลวงอยู่ที่โฉกครรคยาร์ (Chok Gargyar) (ชื่อตามาจึก) คือกลุ่มโบราณสถานที่เมืองเกาะแกร์ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองพระนครประมาณ 100 กิโลเมตร แต่เมื่อพิจารณาจากขนาดและร่องรอยความเจริญของโบราณสถานแล้ว เชื่อว่าพระราชอำนาจของพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 คงมีมากกว่ากษัตริย์ที่ครองราชย์อยู่ในเมืองพระนคร เพราะปราสาทธมที่เมืองเกาะแกร์มีขนาดใหญ่และสูงมาก ทั้งยังปรากฎร่องรอยของบารายขนาดใหญ่ที่เรียกว่า บารายระหาล ในขณะที่พระโอรสของพระเจ้ายโศวรมเทวะที่ 1 ไม่ปรากฎหลักฐานว่าให้ขุดบาราย มีเพียงสร้างปราสาทปักษีจำกรง เป็นปราสาทประจำรัชกาลซึ่งมีขนาดเล็กกว่า
ศิลปะแบบเกาะแกร์กำหนดอายุในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 15 คำว่า "เกาะแกร์" ชาวบ้านเขมรแปลว่า เกาะ+มรดก แต่ทางวิชาการเชื่อว่ามากจากคำว่า "โกกี" ในภาษาเขมรที่แปลว่าต้นตะเคียน |
ที่มา:oknation.nationtv.tv/blog/tanthainium,วันที่เข้าถึง 2 กันยายน 2562
ปราสาทกระวาน ศิลปะแบบเกาะแกร์ สร้างจากอิฐมี 5 หลังตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน จารึกกล่าวว่า พระเจ้ามหิธรวรมเทวะเป็นผู้สร้าง รายละเอียดแสดงใน "ฐ. ปราสาทกระวาน"
|
ที่มา: koratstartup.com, วันที่เข้าถึง 2 กันยายน 2562
กู่บ้านปราสาท อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา
|
ที่มา: surin108.com, วันที่เข้าถึง 10 กันยายน 2562.
ปราสาทสังข์ศิลป์ชัย หรือ ปราสาทมีชัย ที่ ต.กระเทียม อ.สังขะ จ.สุรินทร์
|
ปราสาทเมืองแขก ต.วังโรงใหญ่ อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
ที่มา: painaidii.com, วันที่เข้าถึง 10 กันยายน 2562. |
เกาะแกร์ - ปราสาทธม ถ่ายเมื่อ 13 ตุลาคม 2560 |
ปราสาทอิฐ พนมรุ้ง |
ปราสาทโนนกู่ อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
ที่มา; isan.tiewrussia.com, วันที่เข้าถึง: 11 กันยายน 2562.
|
ศิลปะแบบแปรรูป (Pre Rup) (พ.ศ.1490-1510) สิ้นรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 4 แล้ว กษัตริย์ที่ได้ขึ้นครองราชย์ต่อมาคือ พระเจ้าราเชนทรวรมเทวะที่ 2 ทรงกลับมาประทับที่เมืองพระนครอีกครั้ง และทรงสร้างปราสาทอุทิศถวายบรรพบุรุษและบรรพสตรีคือ ปราสาทแม่บุญตะวันออก อยู่กลางบารายตะวันออก สร้างปราสาทประจำรัชกาลคือ ปราสาทแปรรูป แม้จะยังไม่พบหลักฐานว่าพระองค์ให้ขุดบารายหรือขุดลอกบารายเดิมหรือไม่ แต่เชื่อกันว่าพระเจ้าราเชนทรวรมเทวะที่ 2 คงได้รับการยอมรับจากผู้คนในราชอาณาจักร
ศิลปะแบบแปรรูปกำหนดอายุในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 16 ชื่อแบบศิลปะมาจากปราสาทแปรรูปซึ่งเป็นปราสาทประจำรัชกาล ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองพระนคร คำว่า "แปรรูป" เป็นคำเรียกขั้นตอนของพิธีเผาศพช่วงที่ร่างกายถูกเผาไปหมดแล้วนำเอาโครงกระดูกที่เหลือมาเรียงให้เป็นรูปร่างใหม่ หันศีรษะไปทางทิศตะวันออก ภาษาไทยและเขมรออกเสียงเหมือนกันว่า "แปรรูป" |
ปราสาทแปรรูป, ถ่ายเมื่อ 8 มิถุนายน 2562. รายละเอียดแสดงใน "จ. ปราสาทแปรรูป" |
ปรางค์แขก |
ปราสาทอิฐ 5 หลัง เมืองต่ำ |
ศิลปะแบบบันทายสรี (Banteay Srei) (พ.ศ.1510-1545) หลังพระเจ้าราเชนทรวรมเทวะที่ 2 พระราชโอรสนาม พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 5 ขึ้นครองราชย์ต่อมาในขณะที่ทรงพระเยาว์ ปรากฎชื่อขุนนาง ราชปุโรหิตหลายคนที่เชื่อว่ามีบทบาททางการเมืองในการบริหารราชการแผ่นดิน เช่น มหิธรวรมัน (ผู้สร้างปราสาทกระวาน) ทิวากรภัฏ (ผู้สร้างปราสาทอินทรโกสีย์) ราชกุลมหามนตรี และยัชญะวราหะ ผู้มีเชื่อสายทั้งพราหมณ์และกษัตริย์และคงมีอำนาจมากกว่าคนอื่น เพราะเป็นทั้งพระญาติอาจารย์ และเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 สร้างปราสาทบันทายสรี เมื่อ พ.ศ.1510 เป็นปราสาทที่ถือว่าเป็นหนึ่งในด้านความงามและความละเอียดทางศิลปกรรม และเป็นที่มาของชื่อ ศิลปะแบบบันทายสรี กำหนดอายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ 16.
คำว่า "บันทายสรี" เขมรออกเสียงว่า "บอนเตียสะเรย" คำว่า "บอนเตีย" แปลว่า ป้อม คนเขมรเห็นปราสาทมีกำแพงหินล้อมรอบ ดูแข็งแรงเหมือนป้อมปราการ ส่วนใหญ่จะเรียกว่าบอนเตียหมด ส่วนคำว่า "สะเรย" แปลว่า สตรี.
|
|
ปราสาทวัดปรางค์ทอง ต.พุดซา อ.เมือง จ.นครราชสีมา, ถูกดัดแปลงในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ด้วยมีปลายแหลม), ที่มา: bloggang.com, วันที่เข้าถึง 25 กันยายน 2562 |
ปราสาทโดนดวย แปรรูป |
ศิลปะแบบคลัง หรือแบบพระวิหาร (Khleang) (พ.ศ.1550-1600) หลังจากสิ้นรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 5 มีเหตุการณ์วุ่นวายเกี่ยวกับการชิงอำนาจในราชอาณาจักร ปรากฎพระนามของพระเจ้าแผ่นดินหลายพระองค์ แต่ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าอำนาจเด็ดขาดขึ้นอยู่กับใคร จนถึง พ.ศ.1540 จารึกกล่าวถึงพระเจ้าสุริยวรมเทวะที่ 1 ว่าเป็นเจ้าชายที่มาจากนอกเมืองพระนคร ได้ปราบศัตรูของพระองค์จนราบคาบ แล้วเสด็จขึ้นครองราชย์ยาวนานเกือบ 50 ปี หลังจากสิ้นรัชกาลของพระองค์แล้ว โอรสคือ พระเจ้าอุทัยทิตยวรมเทวะที่ 2 ได้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจากพระราชบิดา ช่วงสองรัชกาลนี้ราชอาณาจักรกัมพูชามีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น ประกอบกับระยะเวลาในการครองราชย์ของทั้งสองพระองค์ยาวนานกว่า 60-70 ปี จึงทำให้เกิดงานศิลปกรรมขึ้นมากมาย ปราสาทหลายหลังถูกสร้างขึ้นนอกเมืองพระนคร ปราสาทที่สร้างในสมัยพระเจ้าสุริยวรมเทวะที่ 1 ที่สำคัญคือ ปราสาทคลังเหนือและใต้ที่อยู่ใจกลางเมืองพระนคร และได้ใช้เป็นชื่อเรียก ศิลปะแบบคลัง นอกจากนั้นทรงสร้างปราสาทพระวิหาร ทางด้านทิศเหนือของเมืองปราสาทสมโบร์แม่โขงทางด้านทิศตะวันออก ปราสาทพนมจีสอร์ด้านทิศใต้ และปราสาทเอกพนม ปราสาทบาแสตที่เมืองพระตะบองด้านทิศตะวันตก คำว่า "คลัง" เขมรออกเสียงว่า "เคลียง" หรือ "เกลียง" ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นพระคลังที่เก็บมหาสมบัติของพระเจ้าแผ่นดิน กำหนดอายุของศิลปะนี้อยู่ในราวครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 16 |
พระวิหาร ถ่ายเมื่อเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2560 |
ปราสาทเมืองต่ำ |
ปราสาทภูเพ็ก |
ปราสาทตาเมือน |
ปราสาทบ้านพลวง |
ปราสาทสระกำแพงใหญ่ |
ปรางค์น้อย |
ศิลปะแบบบาปวน (Baphuon) (พ.ศ.1600 -??) กำหนดอายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ 17 บาปวนเป็นชื่อของปราสาทหลังหนึ่งตั้งอยู่กลางเมืองพระนครธม "บา" หมายถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นเพศชาย "ปวน" แปลว่า หลบหนี มีที่มาจากนิทานพื้นบ้านเรื่อง ปักษีจำกรง ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับกษัตริย์หลบหนีศัตรู ตามจารึกกล่าวว่าพระเจ้าอุทัยทิตยวรมเทวะที่ 2 โปรดให้สร้างปราสาทแห่งนี้ รวมทั้งปราสาทแม่บุญตะวันตก และบารายตะวันตก. |
ปราสาทบาปวน ถ่ายเมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน 2562 รายละเอียดแสดงใน "ฉ. ปราสาทบาปวน" |
กู่กาสิงห์ |
ปราสาทสต๊กก๊อกธม |
ศิลปะแบบพิมาย (พ.ศ.1650-1693?) |
ปราสาทหินพิมาย |
ปราสาทพนมวัน |
ปราสาทยายเหงา |
กู่สวนแตง |
ปราสาทนารายณ์เจงแวง |
ศิลปะแบบนครวัด (Angkor Wat) (พ.ศ.1693?-1725) เมื่อสิ้นรัชกาลของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมเทวะที่ 2 แล้ว ราชอาณาจักรเกิดความวุ่นวายเพราะมีการแย่งชิงอำนาจกัน จวบจนกระทั่งราว พ.ศ.1656 พระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่า พระเจ้าสูริยวรมเทวะที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์และทรงอยู่ในราชบัลลังก์นานเกือบ 40 ปี ได้ทำสงครามขยายอาณาเขตไปกว้างไกล โดยเฉพาะการทำสงครามและเอาชนะศัตรูทางทิศตะวันออก คือราชอาณาจักรจามหรือจามปา โปรดให้สร้างปราสาทนครวัดอันยิ่งใหญ่เป็นปราสาทประจำรัชกาล ศิลปะที่เกิดขึ้นในช่วงนี้จึงมีชื่อเรียกว่า ศิลปะแบบนครวัด กำหนดอายุราวกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 |
นครวัด รายละเอียดดูใน "นครวัด: ยลพระบรมวิษณุโลก ก่อนสิ้นลมปราณ" |
ปราสาทพนมรุ้ง |
ปราสาทบ้านระแหง |
ปรางค์กู่ |
ปราสาทเมืองศรีเทพ |
ศาลตาผาแดง |
วัดพระพายหลวง |
ศิลปะแบบบายน (Bayon) (พ.ศ.1725-1840) หลังรัชกาลของพระเจ้าสูริยวรมเทวะที่ 2 ราชอาณาจักรกัมพูชาตกอยู่ในความวุ่นวายอีกครั้ง โดยมิใช่แค่ความวุ่นวายภายในเท่านั้น แต่มีศัตรูจากภายนอกคืออาณาจักรจัมปาได้แอบยกกองทัพเรือผ่านทะเลสาบเข้ายึดและทำลายเมืองพระนครใน พ.ศ.1720 ราชอาณาจักรกัมพูชาโบราณต้องรอคอยถึง 4 ปี จนกระทั่ง พ.ศ.1724 จึงได้มีแม่ทัพผู้หนึ่งที่ต่อมาได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่า พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 7 นำกองทัพเข้าขับไล่จามออกไปจากราชอาณาจักร และบูรณะฟื้นฟูเมืองราชธานีขึ้นมาใหม่ทับซ้อนบางส่วนของเมืองพระนครเดิม รู้จักกันในนามเมืองพระนครธม พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 7 ทรงปกครองราชอาณาจักรต่อมาอีกยาวนานและทำสงครามขยายอาณาเขตไปกว้างไกลกว่ากษัตริย์พระองค์ใดในประวัติศาสตร์เขมรโบราณ โดยทิศเหนือขึ้นไปถึงลุ่มแม่น้ำโขงบริเวณเวียงจันทน์ ด้านตะวันออกเข้าครอบครองดินแดนที่เคยเป็นอาณาจักรจามทั้งหมดจรดชายทะเลลงไปถึงภาคใต้ ทางตะวันตกมีหลักฐานที่น่าเชื่อว่าพระราชอำนาจแผ่ไปถึงลุ่มน้ำแม่กลองและแม่น้ำแควน้อย (บริเวณปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี) โปรดให้สร้างปราสาทขนาดใหญ่มากมาย เช่น ปราสาทตาพรหม พระขรรค์ บายน บันทายกุฎี ตาโสม และนาคพันในเมืองพระนครธม ให้สร้างปราสาทบันทายฉมาร์และปราสาทพระขรรค์ที่กำปงสวาย นอกเมืองพระนครธม รวมถึงการตัดถนนไปยังเมืองสำคัญต่าง ๆ ภายในราชอาณาจักร เช่น เมืองวิชัยในจาม เมืองพิมายในประเทศไทย และสร้างที่พักคนเดินทาง โรงพยาบาลอีกนับร้อยแห่ง |
ปราสาทบายน รายละเอียดดูใน "บายน: วิมานไพชยนต์" |
วหนิคฤหะ 9 หลัง |
อโรคยศาลา 35 หลัง |
ปรางค์แดง |
ปรางค์น้อย |
กู่บ้านแดง |
ปรางค์พรหมทัต |
ปรางค์สามยอด |
พระชัยพุทธมหานาถ หรือ หลวงพ่อทวารวดี หรือ หลวงพ่อพันปี เป็นพระนาคปรก หินทรายสีขาว ประดิษฐานอยู่ในคูหาปรางค์ประธาน (กล่าวกันว่า พระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 7 ทรงสร้างไว้ 23 องค์ กระจายไปทั่วแว่นแคว้น), ที่มา: mgronline.com, วันที่เข้าถึง 15 ตุลาคม 2562
มหาธาตุราชบุรี |
วัดเจ้าจันทร์ ศรีสัชนาลัย |
ปราสาทเมืองสิงห์ |
มหาธาตุลพบุรี |
ศิลปะหลังบายน (Post-Bayon) (พ.ศ.1840-??) |
มหาธาตุอยุธยา |
ราชบูรณะ อยุธยา |
พระราม อยุธยา |
ที่มา: mgronline.com, วันที่เข้าถึง 15 ตุลาคม 2562
มหาธาตุราชบุรี |
ปรางค์วัดจุฬามณี |
ปรางค์วัดศรีสวาย |
พระธาตุจันทร์ |
ธาตุบ้านธาตุ |
พระธาตุบ่อพันขัน |