MENU
TH EN

TH - บทนำ: จารึกที่สำคัญในประเทศไทย

Title Thumbnail: ศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 1 มีการวางรูปสระและพยัญชนะอยู่ในบรรทัดเดียวกันทั้งหมด, ที่มา: silpa-mag.com, วันที่เข้าถึง 25 เมษายน 2563., Hero Image: ศิลาจารึกหลักที่ 1: จารึกพ่อขุนรามคำแหง, ที่มา: en.wikipeida.org, วันที่เข้าถึง 25 เมษายน 2563.

TH - บทนำ: จารึกที่สำคัญในประเทศไทย
First revision: Apr.25, 2020
Last change: Aug.08, 2021

สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย อภิรักษ์ กาญจนคงคา
 
"การศึกษาประวัติศาสตร์ต้องยึดมั่นกับหลักฐานชั้นต้นเสมอ"
 
คำกล่าวของ ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร เมื่อครั้งบรรยาย "สุโขทัยคดี" ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ผ่านทาง Facebook Live เมื่อบ่ายของวันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม 2563.


     จากการได้เข้าร่วมสัมมนา "สุโขทัยคดี" ทั้งการรับฟังโดยตรงและทางออนไลน์ โดยการบรรยายของ ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร เมธีอาวุโส สกว. ของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร (องค์การมหาชน) ช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ - สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา ผมประทับใจมากกับการศึกษาประวัติศาสตร์ จารึกศึกษา และนิรุกติประวัติ เห็นความสำคัญยิ่งยวดของการทำความเข้าใจอย่างละเอียดลึกซึ้ง รอบคอบ รอบด้าน ลดอัตตา ลดทิฏฐิมานะ รับฟังแนวคิดหลักการทฤษฎีที่หลากหลาย และการสรุปที่ชาญฉลาด อันประมวลมาจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ที่ตกผลึกแล้ว ตลอดจนเล็งเห็นถึงความสำคัญ ประโยชน์ และความก้าวหน้าในการค้นหาข้อเท็จจริงจากหลักฐานชั้นต้น (Primary Information) ทางประวัติศาสตร์เป็นสำคัญ
    ผมจึงได้รวบรวม จัดระเบียนจารึกต่าง ๆ ในประเทศไทย เท่าที่กำลังกาย สติปัญญา และทรัพยากรที่ผมพึงมีไว้ ณ บล็อกนี้ครับ
 
 ที่  ชื่อจารึก (สามารถ Click และ Hyperlink ไปดูรายละเอียดได้)  ที่มา รายละเอียดโดยสังเขป  ภาพประกอบ
 001  จารึกหลักที่ 1: จารึกพ่อขุนรามคำแหง  พบที่เนินปราสาทเมืองเก่าสุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย
ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 25 เมษายน 2563.
 002  จารึกหลักที่ 2: จารึกวัดศรีชุม   เป็นจารึกหลักที่ 2 ในประมวญจารึกไทย ซึ่งทำให้เห็นสภาพสังคม กิจกรรม ประเพณี ความเชื่อของคนยุคสุโขทัยได้เป็นอย่างดี
 
จารึกวัดศรีชุม, ที่มา: de.sac.or.th, วันที่เข้าถึง 01 มีนาคม 2563.
 005  จารึกหลักที่ 5: จารึกวัดป่ามะม่วง  เป็นจารึกภาษาไทยระยะแรก ๆ ที่ปรากฎเป็นหลักฐาน  
 045  จารึกหลักที่ 45: จารึกปู่ขุนจิดขุนจอด  จารึกหลักที่ 45 พบจากการขุดแต่งวัดมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เมื่อปีพุทธศักราช 2499 โดยหน่วยขุดแต่งและบูรณะเมืองสุโขทัย กองโบราณคดี กรมศิลปากร และได้เก็บรักษาไว้ที่คลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี เมื่อพ.ศ. 2557 ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ภายในห้องจัดแสดงประวัติศาสตร์สุโขทัย อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร
 046  จารึกหลักที่ 46: จารึกวัดตาเถรขึงหนัง  เป็นจารึกที่ใช้ภาษากัมพูชาโบราณ บาลี และไทย ที่วัดศรีพิจิตรกีรติกัลยาราม ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย ซึ่งกล่าวถึงพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดา และพระมหาธรรมราชาธิบดี ฯ
 049  จารึกหลักที่ 49: จารึกวัดสรศักดิ์  ศิลาจารึกวัดสรศักดิ์ ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20 (พ.ศ. 1960) พบที่ริมตระพังสอ ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ รามคำแหง ด้านที่ 2 ของจารึกเป็นภาพลายเส้นรูปพระพุทธรูปลีลา (พระเจ้าหย่อนตีน) ซึ่งอาจเป็นเหตุการณ์เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีพระสาวก และเทวดาประนมมือขนาบข้าง
 057  จารึกสด๊กก๊อกธม (Sdok Kok Thom Inscription)   โดยเฉพาะจารึก หลักที่ 2 (classified K.235) ได้บันทึกเรื่องราวประวัติศาสตร์ชนชาติกัมพูชาเป็นช่วงระยะเวลานานถึง 200 ปี นับตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 2 (พ.ศ.1345-1393) เป็นกษัตริย์ลำดับแรกในยุคเมืองพระนคร ที่ทรงประทับที่พนมกุเลน แล้วสร้างนครหลวงที่ หริหราลัย จนถึงสมัยพระเจ้าอุทัยทิตยวรมเทวะที่ 2 (พ.ศ.1593-1609)
 064  จารึกหลักที่ 64: จารึกคำปู่สบถ  (จารึกหลักที่ 64) ลักษณะเป็นจารึกหินทรายทรงสี่เหลี่ยม อักษรไทยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 20) ภาษาไทย จารึกหลักนี้มี 2 ด้าน จำนวน 36 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 26 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 10 บรรทัด สันนิษฐานว่าจารึก พ.ศ.1935 พร้อมกับจารึกหลักที่ 45 (จารึกปู่ขุนจิดขุนจอด) ที่วัดมหาธาตุ สุโขทัย มีขนาด กว้าง 56.5 เซนติเมตร ยาว 39 เซนติเมตร จารึกอยู่ในสภาพชำรุดแตกหักไม่สมบูรณ์ สันนิษฐานว่า เดิมคงเป็นแผ่นหินรูปใบเสมา พระโสภณธรรมวาที รองเจ้าคณะจังหวัดน่าน ให้ยืมจัดแสดง ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน
106  จารึกหลักที่ 106: จารึกวัดช้างล้อม    
 107  จารึกหลักที่ 107: จารึกวัดบางสนุก  บ้างก็เรียกจารึกวัดปงสนุก, ตัวอักษรคล้ายกันกับศิลาจารึกหลักที่ 1 พ่อขุนรามคำแหงมหาราช. แต่สระจะคล้ายกับภาษาไทยปัจจุบัน  
   จารึกอยุธยา ไม่ทราบปี  แสดงในพิพิธภัณฑ์พระราชวังจันทรเกษม หัวรอ อยุธยา ที่มา: Facebook ห้อง "นครประวัติศาสตร์ กรุงศรีอยุธยา", วันที่เข้าถึง 26 มิ.ย.2563 แสดงให้เห็นภาษาไทยในช่วงปลายกรุงศรีฯ ซึ่งสามารถอ่านได้ง่าย


 
info@huexonline.com