MENU
TH EN

ก. บทนำ: อาณาจักรจัมปา

Title Thumbnail & Hero Image: กลุ่มปราสาทด่งเดือง จาก: Facebook เพจ "Champa Studies-Nghiên cứu Champa," วันที่เข้าถึง 19 เมษายน 2563.
ก. บทนำ: อาณาจักรจัมปา02.
First Revision: Apr.19, 2020
Last change: Jun.14, 2021
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา

     ในบรรดาชาติต่าง ๆ ของ Southeast Asia ที่หายไปจากประวัติศาสตร์ ทั้งที่เคยมีความสำคัญมาก่อนคือ รัฐจัมปา รัฐยะไข่ (อาระกัน) และรัฐโจโล (มินดาเนา ฟิลิปปินส์) จัมปาเป็นรัฐโบราณที่สุดของพื้นแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นที่พบจารึกสันสกฤตที่เก่าแก่ที่สุดด้วย รองจากจารึกที่อินโดนิเชีย เดิมจัมปามีอำนาจในภาคกลางของเวียดนามปัจจุบันทั้งหมด มีการย้ายเมืองหลวงหลายครั้ง ดังนั้นจึงมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่าชาติอื่น ๆ มีเรื่องราวปรากฏในเอกสารจีนมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง (เพราะพวกจามทำสงครามกับแคว้นกาวจี้หรือเวียดนามสมัยอยู่ใต้การปกครองของจักรวรรดิจีน ชาวจามมีเชื้อสายร่วมกับอินโดนีเชีย เพราะอพยพทางเรือข้ามทะเลมาตั้งถิ่นฐานที่บริเวณชายฝั่ง เนื่องจากชาวจามอยู่ในพื้นที่ที่ทำเกษตรกรรมไม่ได้ดีจึงดำรงตนอยู่ได้ด้วยการปล้นสะดมเรือที่สัญจรไปมาระหว่างจีนกับรัฐอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย ในสมัยที่จีนยึดเมืองหลวงของจัมปาได้ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 กองทัพจีนได้ขนทองจากท้องพระคลังของจัมปาไปหลายเล่มเกวียน ซึ่งปล้นมาจากเรือส่งราชบรรณาการของชาติต่าง ๆ
     ในสมัยพระจักรพรรดิเลทันห์ตงแห่งอาณาจักรไดเวียด ญวนได้ยึดจัมปาได้ทั้งหมดในค.ศ. 1474 หลังจากเป็นศัตรูรบกันมานานนับศตวรรษ เรื่องราวของจัมปาน่าสนใจเพราะเป็นเจ้าของอารยธรรมพราหมณ์ต้นแบบ เพราะฉะนั้น คนที่สนใจประวัติศาสตร์จึงควรไปดูแหล่งโบราณสถานสำคัญ เช่นที่ มี่เซิน เมืองญาตราง เมืองวิชัย โปนาการ์ และที่พลาดไม่ได้เลยคือ พิพิธภัณฑ์จามที่ดานัง เมื่อผมพาคณะไปที่เวียดนามสั่งให้มัคคุเทศก์พาไปดูพิพิธภัณฑ์เขาแทบไม่รู้จัก เพราะเขามักพาคนไทยไปบานาฮิลล์ (พนาบรรพต) และไปซื้อของที่ตลาดดานัง ตอนนี้ในการจัดอันดับโลกของ Travel & Leisure เมืองโห่ยอันขึ้นไปอยู่อันดับหนึ่งของโลก ส่วนในเอเซีย เชียงใหม่อยู่อันดับสอง ไปโห่ยอันก็ดีเพื่อเรียนรู้ว่าทำไมเชียงใหม่ซึ่งมีทรัพยากรทางวัฒนธรรมมากกว่ากลับอยู่อันดับสอง ความเละเทะและไม่ได้เรื่องของผู้ปกครองไทยทั้งระดับชาติและท้องถิ่น ทำลายมนตร์เสน่ห์ของเชียงใหม่ลงไปมาก
มัคคุเทศก์เวียดนามก็คุณภาพต่ำไม่ค่อยมีความรู้ เวลาไปเขมร พม่า และเวียดนาม ผมต้องบรรยายในรถเองเพราะเป็นเรื่องประวัติศาสตร์ที่ต้องติดตามงานวิจัยสมัยใหม่ให้ทัน...,

     ต้องเข้าใจให้ถูกต้องนะครับว่า เราเรียกอาณาจักร "จัมปา" ชื่อที่ยืมมาจากแคว้นจัมปาในอินเดียโบราณ (ปัจจุบันคือ เบงกอล) ส่วนพลเมืองของจัมปาเรียกว่า "ชาวจาม" จาม แปลว่า พลเมืองแห่งจัมปา01.

แผนที่อนุทวีปอินเดีย ยุคมหาชนบท ช่วงพุทธกาล (Mahājanapada Period c.500 BCE),
ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 16 มีนาคม 2561.

     จากแผนที่ข้างต้น แคว้นขนาดใหญ่ 16 แคว้นหรือรัฐนั้น หนึ่งในนั้นคือแคว้นอังคะ (Anga) อันมีเมืองหลวงชื่อ "จัมปา" ปัจจุบันคือเบงกอลตะวันตก อันเป็นต้นกำเนิด สายธารบรรพบุรุษของชาวจามนั่นเอง. (รายละเอียดดูในหมายเหตุที่ 06 ของ จ.บทนำ: ภควัทคีตา )
 

เอเชียอาคเนย์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 8-9 มีการเดินทางติดต่อค้าขาย การเผยแพร่วัฒนธรรมและการสู้รบเกิดขึ้น ในย่านนี้ทางทะเล ทั้ง ละโว้ จาม ชวา ลิกอร์ อินทรปุระ  (กัมพูชาโบราณ) ปาเลมบัง ลังกาสุกะ ชวา

       ภาคกลางของเวียดนามเป็นบริเวณที่มีรัฐแรกเริ่มพัฒนาขึ้นจากชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล โดยรวมเรารู้จักกันในนาม วัฒนธรรมแบบซาหวิ่งห์ [Sa Hyunh Culture] ซึ่งวัตถุทางวัฒนธรรมให้อิทธิพลต่อรูปแบบซึ่งคล้ายคลึงแพร่หลายอยู่หลายแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งภายในภาคพื้นและหมู่เกาะ ทำให้เห็นว่าผู้คนในวัฒนธรรมซาหวิ่งห์นั้นเป็นกลุ่มชำนาญในการเดินเรือที่ข้ามทะเลไปยังหมู่เกาะฟิลิปปินส์ หรือเดินเรือเลียบชายฝั่งเข้ามาในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย และยังใช้เส้นทางเดินทางบกข้ามเทือกเขาเข้ามาสู่อีสานเหนือในวัฒนธรรมแบบบ้านเชียงและในบริเวณทุ่งกุลา ที่มีร่องรอยของสิ่งของเครื่องประดับ และรูปแบบวัฒนธรรมการฝังศพครั้งที่สองในยุคเหล็กลงมา

       หลังจากนั้น บริเวณเทือกเขาและที่สูงในบริเวณภาคกลางของเวียดนามก็เป็นบริเวณที่มีชุมชนบ้านเมืองที่เราเรียกว่า “จามปา” ในเวลาต่อมา “คนจาม” นั้นจัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ความเป็น “คนจาม” รวมเอากลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เช่น กลุ่ม Cham, Rhade, Jarai, Chru, R'glai, K'ho, Sdiang, Hroy, Bahnar, Sedang ฯลฯ ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งเป็นชาวเขาในเขตที่สูงและปัจจุบันก็ยังดำรงอยู่

       บ้านเมืองของจามปาในระยะแรกตั้งอยู่ในเขตหุบเขาภายใน ไกลชายฝั่งทะเลก่อนที่จะกลายมาเป็นกลุ่มพ่อค้าที่ใช้การเดินเรือทะเลออกไปไกลในภูมิภาคต่าง ๆ ทั้งสองฝั่งอารยธรรมคือจีนและอินเดียตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7-8 เป็นต้นมา พัฒนาการของบ้านเมืองชาวจามเข้าสู่การเป็นนครรัฐโดยการรับศาสนาฮินดูซึ่งมีอยู่หลายเมืองตั้งแต่ ดานัง (อินทรปุระ) จาเกี้ยว (สิงหปุระ) อมรปุระ กุยเญิน (วิชัย) ญาจาง (เกาธระ) ฟานรัง (ปันฑุรังคะ)04. ฟานเทียต

       เมืองทั้งหลายเหล่านี้ล้วนมีศาสนสถานสำคัญอยู่บนภูเขา โดยเฉพาะที่หุบเขาหมี่เซิน [My Son] ใกล้กับดานัง ซึ่งเป็นกลุ่มศาสนสถานบนภูเขาขนาดใหญ่ ส่วนปราสาทจามทางชายฝั่งซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญที่ญาจางคือปราสาทโปนาคา [PoNagar Tower] ซึ่งถือเป็นปราสาทสำคัญของคนจามอุทิศให้แก่ Yan Po Nagar เทพสตรีผู้เป็นแม่แห่งแผ่นดิน ปราสาทโปนาคานี้มีรูปเคารพสำคัญในศาสนาฮินดูที่เป็นศักติของพระศิวะในภาคของมหิศวรมธินีหรือนางทุรคาอยู่เหนือประตูปราสาทกลาง

       นอกจากนี้ ยังมีปราสาทต่าง ๆ ที่อยู่บนเนินเขาเตี้ย ๆ ใกล้กับชุมชนที่อยู่เลียบชายฝั่งทะเลอีกหลายแห่งตลอดเรื่อยจนมาถึงแถบนครโฮจิมินห์ โดยที่การสร้างปราสาทบนภูเขาและการนับถือเทพสตรีถือเป็นแนวคิดที่สืบเนื่องจากวัฒนธรรมดั้งเดิมในกลุ่มชาติพันธุ์ท้องถิ่นแถบนี้อย่างชัดเจน

       นอกจากปราสาทจามซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์เด่นของบ้านเมืองในอดีต “คนจาม” ยังเป็น กลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่ในเวียดนามตอนกลาง โดยเฉพาะในบริเวณจังหวัดบิงห์ถ่วนและนิงห์ถ่วน [Binh Thuan, Ninh Thuan] ที่มีคนจามอยู่ราว 86,000 คน จากจำนวนคนจามราว ๆ แสนสามหมื่นคนทั่วประเทศเวียดนาม

       ถือว่าคือลมหายใจที่สืบเนื่องตกทอดมาจากวัฒนธรรมจามปาอย่างน่าสนใจและอาจจะมากกว่าตัวปราสาทที่เป็นเพียงศาสนสถานด้วยซ้ำ

       คนจามที่ฟานรังในจังหวัดนิงห์ถ่วน [Ninh Thuan] แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ จามบาลามง [Cham Balamon] และจามบานี [Cham Bani] ซึ่งมีจำนวน 22 หมู่บ้าน แต่ละกลุ่มแยกกลุ่มบ้านกันอย่างเด็ดขาดไม่ยุ่งเกี่ยวกันและไม่นิยมแต่งงานข้ามกลุ่ม ทำให้ผู้คนในแต่ละกลุ่มไม่มีโอกาสเรียนรู้หรือใช้ชีวิตที่สัมพันธ์กันแต่อย่างใด

       คนจามกลุ่มใหญ่คือ คนจามบาลามง ที่นับถือพราหมณ์ 15 หมู่บ้าน และมีพิธีกรรมทางศาสนาโดยใช้พื้นที่ปราสาทโป-กลงกาไร [Po KlongGarai] และปราสาทโป โรเม [Po rome] ในท้องถิ่น นับถือกษัตริย์ที่ล่วงลับไปแล้วเป็นเทพ เช่น กษัตริย์โป กลงกาไร และกษัตริย์โปโรเม่ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของจามปาก็กลายเป็นเทพในปราสาทที่ชาวจามปัจจุบันเข้าไปทำพิธีกรรมบูชา


     จาก 03 หน้าที่ 19-20 ในปี ค.ศ.1942 เมื่อได้พิจารณาเสาหิน เสาคาน มุมวิหารและองค์ประกอบที่เป็นส่วนประดับต่าง ๆ ของปราสาทจามแล้ว, ฟิลิป สแตรน์ (Philippe Stern) นักประวัติศาสตร์ศิลปะชาวฝรั่งเศส (11 เมษายน ค.ศ.1895 - 4 เมษายน ค.ศ.1979 - ทำงานที่พิพิธภัณฑ์กีเมต์) ได้จัดแบ่งวิหารของอาณาจักรจัมปา ออกเป็นเจ็ดสไตล์ มีรายละเอียดดังนี้
 
 สไตล์  สไตล์ของวิหารหรือพระธาตุ
 หมีเซิน E-1 สไตล์ (หรือสไตล์คลาสสิก ในค.ศ.ที่ 8) (Mỹ Sơn E-1 Style)  หมีเซิน E-1 (Mỹ Sơn E-1)
 หมีเซิน F-1 (Mỹ Sơn F-1)
 หมีเซิน C-7 (Mỹ Sơn C-7)
 ภูไห่ (Phú Hải)
 โผดัม (Po
Đam)
 ห่อลาย สไตล์ (ค.ศ.ที่ 8 และ 9) (Hòa Lai Style)  ห่อลาย (Hòa Lai)
 หมีเซิน A-12 (Mỹ Sơn A-12)
 หมีเซิน A-13 (Mỹ Sơn A-13)
 ด่งเดือง สไตล์ (ค.ศ.ที่ 9) (Đông Dương Style)  กลุ่มปราสาทด่งเดือง (Đông Dương group)
 
หมีเซิน A-10 (Mỹ Sơn A-10)
 หมีเซิน B-4 (Mỹ Sơn B-4)
  หมีเซิน A-1 สไตล์ (ค.ศ.ที่ 10) (Mỹ Sơn A-1 Style)  หมีเซิน A-1 (Mỹ Sơn A-1)
 หมีเซิน B-3 (Mỹ Sơn B-3)
 หมีเซิน B-5 (Mỹ Sơn B-5)
 หมีเซิน B-7 (Mỹ Sơn B-7)
 หมีเซิน D-1 (Mỹ Sơn D-1)
 กลุ่มปราสาทคุ่งหมี (Khương Mỹ group)
 ปราสาททางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของปราสาทโพ นาคาร์ เมืองญาจาง (Northwestern Tower of Po Nagr Nha Trang)
  โพ นาคาร์ สไตล์ (ช่วงการเปลี่ยนผ่านจาก Mỹ Sơn A-1 Style และ สไตล์บินห์ดินห์ ในช่วง ค.ศ.ที่ 11 และ 12) (Po Nagar Nah Trang Style)   กาลัน โป นาคาร์ ญาจาง (Kalan Pô Nagar Nha Trang)
 Bình Lam Tower
 กลุ่มปราสาททับบัก (
Tháp Bạc group)
 ปราสาทหนาน (
Tháp Nhạn 
Tower)
 Chien Dan group

 
หมีเซิน B-1 (Mỹ Sơn B-1)
 หมีเซิน B-2 (Mỹ Sơn D-2)
 หมีเซิน B-6 (Mỹ Sơn D-6)
 หมีเซิน C-1 (Mỹ Sơn C-1)
 หมีเซิน C-2 (Mỹ Sơn C-2)

 หมีเซิน C-3 (Mỹ Sơn C-3)
 หมีเซิน C-4 (Mỹ Sơn C-4)
 หมีเซิน C-5 (Mỹ Sơn C-5)
 หมีเซิน C-6 (Mỹ Sơn C-6)​​​
 บินห์ดินห์สไตล์ (ในช่วง ค.ศ.ที่ 12 ถึง 14/15) (Bình Định Style)  กลุ่มปราสาทเดื่องลอง (Duong Long group)
 Hung Thanh group
 Canh Tien Tower
 Thoc Loc Tower
 Thu Thien Tower
 Southern Tower of Po Nager Nha Trang
 Bang An

 หมีเซิน G (Mỹ Sơn G)
 หมีเซิน C-6 (Mỹ Sơn H)​​​
 โพ ครอง การาย สไตล์ (ราว ค.ศ.ที่ 14 และ 16/17) (Pô Kloong Garai Style)  กาลัน โปคลอง การาย (Pô Kloong Garai group)
 Yang Prong Tower
 P
ô Rame Tower

       ที่ปราสาทโปคลอง การาย (Po Klong Garai ภาษาจาม แปลว่า: กษัตริย์มังกรและชนชาวยาราย - Dragon king of J'rai people) ปราสาทกลุ่มนี้ได้สร้างมาเพื่อเป็นเกียรติแก่กษัตริย์โปคลอง การาย ที่ปกครองปาณฑุรังคะ (Panduranga)04. ในช่วง ค.ศ.1151-1205 ที่มีนามว่าพระเจ้าชัยสิงหวรมเทวะที่ 3 (Jaya Sinhavarman III) 

ที่มา คำศัพท์ และ คำอธิบาย:
01. จาก.ข้อความใน LINE เพจ "สุโขทัยคดี," บรรยายโดย ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร เมธีอาวุโส สกว., เมื่อ 12 เมษายน 2563.
02.  สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน
 ด้น และค้นหาอาณาจักรจัมปา 
03. 
จาก. Vestiges of Champa Civilization, เขียนโดย จั่น ขี่ เฟื้อง (Trần Kỳ Phương), สำนักพิมพ์เต่ เก้ย (Thế Giới), ฮานอย 2014.
04. จาก. Facebook เพจ "ภาษีฮินดีและวัฒนธรรมอินเดีย," เขียนโดย มุรุเกศัน เทวี อุปาสกะ (กิตติกร อินทรักษา), วันที่เข้าถึง 12 มิถุนายน 2564. มีการกล่าวถึง ปาณฑุรังคะ ซึ่งเป็นภาคปรากฎหนึ่งของศรีกฤษณะ ดังนี้: 
ศรีวิฐฐละ แห่ง ปัณฒรปูร
       พระวิฐฐละ (विठ्ठल/Vitthala) หรือ วิโฐพา (विठोबा/Vithoba) และในอีกพระนาม ปาณฑุรังคะ (पांडुरंग/Panduranga) ทรงเป็นภาคปรากฏหนึ่ง ของ ศรีกฤษณะ (श्रीकृष्ण/Sri Krishna) ในเมือง ปัณฒรปูร (पंढरपूर/Pandharpur) ในเขต โสลาปูร (सोलापूर/Solapur)ของรัฐมหาราษฏร ( महाराष्ट्र/Maharashtra) หรือ เขตของชาว มราฐา (मराठा/Maratha) *ผู้พูดภาษามราฐี (मराठी/Marathi)

ภาพจาก Facebook เพจ "ภาษีฮินดีและวัฒนธรรมอินเดีย," เขียนโดย มุรุเกศัน เทวี อุปาสกะ (กิตติกร อินทรักษา), วันที่เข้าถึง 12 มิถุนายน 2564.
 
       พระวิฐฐละ ทรงเป็นที่เคารพศรัทธากันในหมู่ชาวอินเดีย(เฉพาะที่เป็นฮินดูนะครับ)ทางตอนใต้ ตั้งแต่ มหาราษฏร ในอินเดียตอนกลาง เตลังคณา ลงมายัง อานธรประเทศ ของชาวเตลุคุ และ กรรนาฏกะ ของชาวกันนฑิคะ และทางตอนเหนือของรัฐตมิฬนาฑุ ของชาวตมิฬ
       ตำนานท้องถิ่นกล่าวว่า พระกฤษณะ (श्रीकृष्ण/Sri Krishna) ทรงมาพบกับ สาวกรูปหนึ่งนาม ปุณฑริก (भक्त पुंडलिक/ Bhakta Pundalik) ปุณฑริก เป็นหนุ่มยากจน อาศัยอยู่ในบ้านไม้เล็ก ๆ กับ บิดา-มารดาซึ่งป่วยอยู่เนือง ๆ
       ในขณะนั้นเอง กฤษณะได้มาพบเขาที่หน้าประตูบ้าน ซึ่งขณะนั้นเขากำลังปรนิบัติดูแล บิดา-มารดาที่ป่วยอยู่ ปุณฑริก จึงนำอิฐมาให้กฤษณะประทับรอ และ กล่าวกับ กฤษณะว่า "ขอทรงรอข้าพเจ้าปรนิบัติรับใช้ บิดา-มารดาของข้าให้เรียบร้อยก่อน แล้วข้าจะจัดเตรียมดูแลสถานที่ และ รับใช้พระองค์"
       ศรีกฤษณะทรงประทับยืนรอบนก้อนอิฐ ในอิริยาบถเท้าเอว ศรีกฤษณะทรงพึงพอพระทัย กับ พฤติกรรม หรือ การปรนิบัติของ พระสาวกปุณฑริก จึงมีความประสงค์จะประทับอยู่ ณ สถานที่แห่งนี้ (ปัณฒรปูร) กับ พระมเหสี คือ พระนางรุกมิณี หรือ รขุมาอี (श्री रुक्मिणी/श्री रखुमाई - Sri Rukmini/Sri Rakhumai) เพื่อเฝ้าดู พระสาวก ทั้งสองพระองค์จึงปรากฏรูป เป็นพระปฏิมา อยู่ ณ สถานที่แห่งนั้น.
05. อ้างอิงก
ารเรียบเรียงจากหนังสือ “นึกนอกรั้วข้อคิดเห็นเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมผ่านการเดินทางห่างสยามประเทศ” โดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ, 2560, ผ่าน Facebook เพจ "สยามเทศะ โดยมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์," วันที่เข้าถึง 13 มิถุนายน 2564.


PHOTO GALLERY


 
info@huexonline.com