MENU
TH EN

02. กลุ่มปราสาทด่งเดือง หรือ ดวงเดือน

Title Thumbnail & Hero Image: กลุ่มปราสาทด่งเดือง จาก: Facebook ห้อง "Champa Studies-Nghiên cứu Champa", วันที่เข้าถึง 19 เมษายน 2563.
02. กลุ่มปราสาทด่งเดือง หรือ ดวงเดือน01.
First revision: Apr.19, 2020
Last change: Jun.21, 2020

     ด่งเดือง (Đông Dương) เป็นกลุ่มปราสาททางพุทธศาสนา ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านบินห์ดินห์ (Bình Định) เขตทังบินห์ (Thăng Bình) จังหวัดกว่างนัม (Quảng Nam) ห่างจากเมืองดานัง (Đà Nẵng - ด่าหนัง) ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 65 กิโลเมตร ซึ่งย้อนเวลากลับไปในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในรัชสมัยของพระเจ้าอินทรวรมเทวะที่ 2 (Indravarman II). ได้พบจารึกใกล้ ๆ กับวิหารประธาน ที่ตั้งเป็นเกียรติแก่ ศรีลักษม์อินทรา-โลกิเตศวร (Laksmindra-Lokesvara). เป็นราชองครักษ์ของกษัตริย์ ในรูปลักษณ์ที่เป็นพระโพธิสัตว์ นามของพระองค์ประกอบด้วยสองส่วนสำคัญคือ  ฮินดู (Laksmi-Indra) และพุทธศาสนาแบบมหายาน (Lokesvara) สะท้อนถึงการผสมผสานสองศาสนาในอาณาจักรจัมปา ในช่วงเวลาดังกล่าว. 

     จารึกได้เผยให้เห็นว่ากลุ่มปราสาทด่งเดืองเป็นพุทธศาสนสถานสำหรับกษัตริย์ชาวจาม ใช้สวดมนต์รับศีล ประกอบศาสนกิจถวายแต่บรรพชน บูรพมหากษัตริย์จามในอดีต

    ในช่วงเวลานั้น พุทธศาสนา มหายานนิกาย (ยานใหญ่) ได้เผยแพร่ไปอย่างรวดเร็วในภูมิภาคอุษาคเนย์ วัชรยานก็เป็นพุทธศาสนาอีกลัทธิหนึ่งที่ได้เข้ามาเผยแพร่ในอาณาจักรจัมปา. ได้มาผสมผสานความศรัทธากับพุทธศาสนาแบบตันตระ (Tantric Buddhism), ไศวนิยม (Shivaite) ผู้ที่นับถือพระศิวะหรือพระอิศวรเป็นใหญ่, และการนับถือบรรพบุรุษ.
รูปหล่อสัมฤทธิ์ ศรีลักษม์อินทรา-โลกิเตศวร (Laksmindra-Lokesvara) ปัจจุบันเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์จาม เมืองดานัง,
สันนิษฐานว่าหล่อเมื่อ ค.ศ.875, ที่มา: english.vietnamnet.vn, วันที่เข้าถึง 20 เมษายน 2563
.

     กลุ่มปราสาทด่งเดืองเป็นที่สะสมโบราณวัตถุและโบราณสถานไว้มากมาย ตลอดแนวด้านตะวันออกเป็นระยะทางกว่า 1,300 เมตร อองรี ปามองต์ธีร์ (Henry Parmentier) นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส {(3 มกราคม ค.ศ.1870 (ที่ปารีส) - 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1949 (ที่พนมเปญ)} ได้แบ่งกลุ่มปราสาทด่งเดืองเป็นสามกลุ่มใหญ่ โดยกลุ่มที่หนึ่ง, และสอง ประกอบด้วยวิหารหอคอยต่าง ๆ สำหรับการเฉลิมฉลองในราชสำนักจาม, ในขณะที่กลุ่มที่สามเป็นอุโบสถหรือวิหารสำหรับภิกษุในการประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา.
 

อองรี ปามองต์ธีร์ (Henry Parmentier) คนซ้ายมือสุด ขณะกำลังขุดค้นทางโบราณคดีที่กลุ่มปราสาทด่งเดือง,
ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 22 เมษายน 2563.

 

แผนผังปราสาทด่งเดือง, ที่มา: 01, หน้าที่ 50-51

     กลุ่มที่หนึ่ง: (ด้านขวามือของแผนผังข้างต้น) เป็นกลุ่มปราสาทสี่เหลี่ยมมุมฉาก ขนาด 326 ม.* 155 ม.ประกอบด้วยกลุ่มวิหารที่สำคัญที่สุดของกลุ่มปราสาท ปราสาทประธาน (Main Kalan) ที่มีขนาดใหญ่ รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า สร้างจัดวางไว้ตรงกลาง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก สร้างขึ้นราว ค.ศ.875 ภายในวิหารดูเหมือนถ้ำ มีแท่นบูชาขนาดใหญ่ พิงชิดกับกำแพงทางทิศตะวันตก, ซึ่งได้ประดิษฐานรูปหล่อทองเหลืองพระแม่ศรีลักษม์อินทรา-โลกิเตศวร (Laksmindra-Lokesvara) ไว้ มีปราสาท (Kalan) ขนาดย่อมสองหลัง สร้างไว้ทางทิศเหนือและใต้ ข้างปราสาทประธาน และทางทิศตะวันตกก็มีสองวิหาร ซึ่งหันหน้าประตูไปทางทิศตะวันออก มีศาล (shrine) แสดงรูปสลักของกษัตริย์องค์ก่อน.                           

     กลุ่มที่สอง: (ตรงกลางของแผนผังข้างต้น) มีมณฑปสี่ประตู (Mandapa) วางตามแแนวทิศตะวันออก-ตก มณฑปมีหลายหน้าต่าง โดยทางทิศเหนือและใต้ของมณฑป ประดิษฐานหอคอยขนาดเล็ก (ประกอบด้วยเสาแท่งกลม) ไว้สองแถว แถวละเจ็ดหอคอย ซึ่งหอคอยขนาดเล็กที่เป็นแนวนี้ เราสามารถเดินตามแนว ทะลุผ่านหอประตูไปยัง กลุ่มที่สามได้

     กลุ่มที่สาม: (ด้านซ้ายของแผนผังข้างต้น) เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะพิเศษ มีวิหารทางพระพุทธศาสนา จัดวางพื้นที่เป็นสี่เหลี่ยมมุมฉาก ไม่มีกำแพงแก้ว




ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย:

01. จาก. Vestiges of Champa Civilization, เขียนโดย จั่น ขี่ เฟื้อง (Trần Kỳ Phương), สำนักพิมพ์เต่ เก้ย (Thế Giới), ฮานอย 2014.



PHOTO GALLERY

 
info@huexonline.com