MENU
TH EN

จ. บทนำ: ภควัทคีตา

ภาพจากปกหนังสือ ภควัทคีตา (The Bhagavad-Gita: Kṛṣṇa's Counsel in Time of War) แปลโดย บาร์บาร่า สโตเลอร์ มิลเล่อร์ ฉบับพิมพ์เมื่อปี พ.ศ.2446 ที่มา: www.leaner.org, วันที่สืบค้น 11 มีนาคม 2561

จ. บทนำ: ภควัทคีตา01
First revision: Mar.11, 2018
Last change: Mar.21, 2024

สืบค้น รวบรวม เรียบเรียงและปริวรรตโดย: อภิรักษ์ กาญจนคงคา
 
28 (ต่อ)
5. "พระกฤษณะ" ผู้เป็นครู
       ตราบใดที่ลำนำคำสอน ภควัทคีตา เป็นที่รับทราบโดยทั่วไปนั้น, ก็ไม่สำคัญว่า "พระกฤษณะ" (รายละเอียดดูเพิ่มเติมได้ใน หริวงศ์: บทนำเรื่องราวของพระกฤษณะ 1) ผู้เป็นครูจะเป็นบุคคลที่มีอยู่จริงในประวัตศาสตร์หรือไม่. ประเด็นสำคัญก็คือการจุติใหม่เป็นมนุษย์ชั่วนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้า, การนำชีวิตอันศักดิ์สิทธิ์และสมบูรณ์แบบในจักรวาลและจิตวิญญาณของมนุษย์ออกมาชั่วนิรินดร์.

      อย่างไรก็ตาม, มีหลักฐานมากมายที่สนับสนุนการมีอยู่จริงของพระกฤษณะในประวัติศาสตร์, ใน ฉานโทคยะ อุปนิษัท (
รายละเอียดดูใน อุปนิษัท: สรุปสาระสำคัญ) ได้อ้างถึง พระกฤษณะ เทวกีบุตร (devakīputra) บุตรแห่งนางเทวกี และกล่าวถึงพระองค์ในฐานะลูกศิษย์ของพราหมณ์ โกร อังคิรัส01.4 ผู้เป็นนักบวชแห่งพระสุริยะ. ตามที่ปรากฎใน เกาษีตกี พราหมณ หรือ อุปนิษัท (รายละเอียดดูใน อุปนิษัท: สรุปสาระสำคัญ).5  หลังจากที่ไตีถอดความหมายของคำว่าการบูชา (เสียสละและการชำระสิ่งที่ค้างคาเสียทั้งหมด) แล้วสรุปได้ว่าเป็นการชดใช้ที่แท้จริงสำหรับนักบวช ให้อยู่ในการปฏิบัติของความเข้มงวดด้านคุณธรรมแห่งความสมถะ, การบริจาค, การยืนหยัดถึงความถูกต้อง, การไร้ความรุนแรง, และความสัตย์จริง.6 อุปนิษัท ยังได้กล่าวต่อไปว่า "เมื่อ โกร อังคีรสะ ได้อธิบายแก่พระกฤษณะ, บุตรแห่งนางเทวกี, ท่านได้กล่าวในช่วงสุดท้ายว่า, เราควรหลีกลี้หลบภัยจากสามความคิดที่ว่า. "สูเจ้าเป็นสิ่งที่ทำลายไม่ได้ (อกษิตะ)02., สูเจ้าแนวแน่สถิตคงที่ (อจยุตะ)03., สูเจ้าเป็นชีวิตที่มีสาระสำคัญยิ่ง (ปราณ)04."4. มีความคล้ายคลึงกันมากระหว่างคำสอนของ โกร อังคีรสะ ในอุปนิษัท กับของพระกฤษณะใน คีตา.  
                  
ภาพจากซ้ายไปขวา: พระกฤษณะ, ที่มา: www.pinterest.com, วันที่สืบค้น 30 มกราคม 2567 และ Gouranga02.
หรือ โกร อังคีรสะ, ที่มา: www.pinterest.com วันที่สืบค้น 30 มกราคม 2567.

     พระกฤษณะมีบทบาทสำคัญในสงครามมหาภารตยุทธ, ซึ่งพระองค์ได้ถูกนำเสนอในฐานะเพื่อนของอรชุน. ปาณินิ06. ได้อ้างถึงวาสุเทพ07. และอรชุนว่าเป็นสิ่งที่ควรสักการะ.8 พระกฤษณะ...
---------------
4.  บรรพที่ 3, อัธยายะที่ 17, โศลกที่ 6.
5.  บรรพที่ 30, อัธยายะที่ 6.
6.  
तपो दानं अर्जवं अहिंसा सत्यवचनम् -
tapo dānam ārjavam ahiṁsā satyavacanam - การบำเพ็ญตบะ การกุศล ความเที่ยงตรง การไม่รุนแรง ความสัตย์จริง, ดูในภควัทคีตา, บรรพที่ 16, อัธยายะที่ 1-3.
7.  ข้อมูลทางบรรณานุกรม, ภควัทคีตา, บรรพที่ 8, อัธยายะที่ 11-13. ท่านได้ประมวลในบทสวดที่ 74 ของ มัณฑละที่ 8 ของ ฤคเวท ซึ่งท่านเรียกว่า เกาษีตกี 
พรหมัน, กฤษณะ อังคีรสะ. บรรพที่ 30, อัธยายะที่ 9.
8.  บรรพที่ 4, อัธยายะที่ 3, โศลกที่ 98.

หมายเหตุ คำอธิบาย
01. โกร อังคิรัส (अंगिरस् - Ghora Āṅgirasa - บุตรผู้กริ้วโกรธของอังคิรัส - Ghora - โกรธ) ท่านได้ใช้บทมนตร์อาถรรพ์ (ในอาถรรพเวท) ในพิธีเยียวยาหรือบำบัดโรค และพราหมณ์อังคิรัสท่านก็ได้ใช้บทมนตร์ในพิธีสาปแช่งศัตรูหรือคู่แข่ง.
02.
อกษิตะ (अक्षित - akṣita) - undecayed - ไม่เน่าเปื่อย ถาวร ไม่ล้มเหลว.
03.
อจยุตะ บ้างก็เรียก อาจยุตะ (अच्युत - acyuta or ācyuta) - steadfast, infallible, fixed, permanent - แน่วแน่, ไม่มีข้อผิดพลาด, คงที่ถาวร.
04. ปราณ (प्राणा - prāṇa) - life force or vital principle - พลังชีวิต, เกี่ยวกับลมหายใจ, สาระสำคัญในแนวปฏิบัติของมนุษย์.
05. วฤนทาวัน หรือ วรินดาวัน บ้างก็เรียก วรินดาวะนะ (
Vṛndāvana - ป่าหรือกอโหระพาอันศักดิ์สิทธิ์) เป็นเมืองในย่านมถุรา แคว้นอุตรประเทศ อินเดีย (อยู่บนเส้นทางรถระหว่างเมืองนิวเดลลี-อักรา - ในยุคมหาชนบท ช่วงพุทธกาล เมืองนี้อยู่ในแคว้นสุระเสนะ) เป็นเมืองที่พระกฤษณะใช้ชีวิตในขณะเยาว์วัย, ที่มา: www.siamganesh.com, และ en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 14 มีนาคม 2561 และ www.dhammathai.org, วันที่สืบค้น 16 มีนาคม 2561.

มหาฤๅษี ปาณินิ, ที่มา: thefederal.com โดยลิ้งค์จาก Wikimedia Commons, วันที่เข้าถึง: 30 มกราคม 2567.

06. ปาณินิ (पाणिनि - Pāṇini) เป็นนักไวยากรณ์อินเดียโบราณ มีผู้ระบุว่าท่านมีชีวิตในช่วงก่อนพุทธกาล 1 ศตวรรษถึงช่วงพุทธกาล (ราว พ.ศ.23-83) (คริสต์ศตวรรษที่ 6-5 ก่อนคริสตกาล) พำนักที่เมืองคันธาระ (กันดาฮาร์ Kandahar ซึ่งอยู่ประเทศอัฟกานิสถานในปัจจุบัน) และนับว่ามีชื่อเสียงมากที่สุดในฐานะนักไวยากรณ์ภาษาสันสกฤต โดยเฉพาะการวางสูตรถึง 3,959 สูตร (verses) หรือหลักในด้านสัณฐานวิทยา (Morphology) โดยมีชื่อเรียกว่า อัษฏาธยายี (Aṣṭādhyāyī) ซึ่งหมายถึงคัมภีร์ 8 บทนั่นเอง แต่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า "ไวยากรณ์ของปาณินิ". ไวยากรณ์ของปาณินิชิ้นนี้ นับเป็นจุดสิ้นสุดของภาษาสันสกฤตยุคพระเวท โดยการนำไปสู่ภาษาสันสกฤตแบบแผน (Classic Sanskrit). ที่มา: th.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 16 มีนาคม 2561 และที่มา: en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 30 มกราคม 2567.
            
จากซ้ายไปขวา: มหาฤๅษีปาณินิ (Mahāṛṣi Pāṇini) บนตราไปรษณีย์ ราคา 5 รูปี ภารตะ เมื่อปี พ.ศ.2547, ที่มา: smartican.com, วันที่สืบค้น 16 มีนาคม 2561, และต้นแบบกระดาษที่ทำจากไม้ต้นเบิร์ช ในพุทธศตวรรษที่ 22 หรือ คริสต์ศวรรษที่ 17 เป็นตำราไวยกรณ์ของท่าน พบในแคว้นแคชเมียร์, ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 31 มกราคม 2567. 

แผนที่อนุทวีปอินเดีย ยุคมหาชนบท ช่วงพุทธกาล (Mahājanapada Period c.500 BCE),
ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 16 มีนาคม 2561.

 
       กล่าวได้ว่า มหาฤๅษีปาณินิ เป็นบิดาด้านภาษาศาสตร์ของอินเดีย ท่านพำนักอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอนุทวีปอินเดียคือเมืองคันธาระ ในยุคมหาชนบท (Mahājanapada) อันประกอบด้วย 16 แคว้นขนาดใหญ่หรือรัฐ 16 รัฐในสมัยพุทธกาล ตามที่ปรากฎในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ดังนี้
            1) แคว้นกัมโพชะ (Kamboja) มีเมืองหลวงชื่อ ทวารกะ
            2) แคว้นกาสี (Kashi) มีเมืองหลวงชื่อ พาราณสี
            3) แคว้นกุรุ (Kuru) มีเมืองหลวงชื่อ อินทปัถะ
            4) แคว้นโกศล (Kosala) มีเมืองหลวงชื่อ สาวัตถี
            5) แคว้นคันธาระ (Gandhara) มีเมืองหลวงชื่อ ตักศิลา
            6) แคว้นเจตี (Chedi) มีเมืองหลวงชื่อ โสตถิวดี
            7) แคว้นปัญจาละ (Panchala) มีเมืองหลวงชื่อ กัมปิลละ
            8) แคว้นมคธ (Magadha) มีเมืองหลวงชื่อ ราชคฤห์
            9) แคว้นมัจฉะ (Machcha หรือ Matsya) มีเมืองหลวงชื่อ วิราฎ
           10) แคว้นมัลละ (Malla) มีเมืองหลวงชื่อ กุสาวดี (แต่ภายหลังแยกเป็นกุสินาราและปาวา)
           11) แคว้นวังสะ (Vatsa หรือ Vamsa) มีเมืองหลวงชื่อ โกสัมพี
           12) แคว้นวัชชี (Vriji) มีเมืองหลวงชื่อ เวสาลี (ไพศาลี)
           13) แคว้นสุระเสนะ (Surasena) มีเมืองหลวงชื่อ มถุรา
           14) แคว้นอวันตี (Avanti) มีเมืองหลวงชื่อ อุชเชนี
           15) แคว้นอังคะ (Anga) มีเมืองหลวงชื่อ จัมปา และ
           16) แคว้นอัสสกะ (Assaka หรือ Asmaka) มีเมืองหลวงชื่อ โปตลิ (โปตละ)
                                  ที่มา: www.dhammathai.org และ en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 16 มีนาคม 2561.
07. วาสุเทพ (वासुदेव - Vāsudeva) ในที่นี้หมายถึงพระกฤษณะผู้เป็นบุตรของวสุเทพ (वसुदेव - Vasudeva).

 
29
...นั้น (มีเชื้อสาย) อยู่ในสาขาตระกูลโบราณวฤษณิ (Vṛṣṇi) หรือสาตวตะ (Sātvata) ภายใต้ตระกูลใหญ่ราชวงศ์ยาดู.01. ซึ่งบางทีนิวาสสถานของพระองค์นั้น น่าจะอยู่ในละแวกเมืองมถุรา, ซึ่งเป็นเมืองที่พระกฤษณะทรงมีความสัมพันธ์ในเชิงประวัติศาสตร์, ประเพณี, และตำนาน. พระกฤษณะนั้นต่อต้านกับหลักศาสนาพระเวท อันมีนักบวชเกี่ยวข้องกับการไถ่บาปของมนุษย์ (Sacerdotalism) และสิ่งใด ๆ ที่พระองค์ได้เทศนานั้น ล้วนได้รับการถ่ายทอดมาจากโกร อังคิรัส. ความขัดแย้งของพระองค์ที่มีต่อศาสนาพระเวท ปะทุขึ้นจากเหตุการณ์ที่พระองค์ทรงกำราบพระอินทร์02., สิ้นฤทธิ์โดยให้น้อมตัวลง ณ เบื้องหน้าพระกฤษณะ.1 ใน คีตา ได้มีการอ้างถึงผู้ที่บ่นเกี่ยวกับคำสอนของพระกฤษณะและแสดงการหมดศรัทธาในตัวพระองค์.2 ในมหาภารตะได้บ่งชี้ว่าอำนาจสูงสุดของพระกฤษณะนั้น เป็นตัวแทนทั้งสองสิ่ง ทั้งในฐานะที่เป็นปัจเจกบุคคลในประวัติศาสตร์3ละเป็นพระวิษณุที่อวตารลงมา. พระกฤษณะทรงสอนเหล่าสมาชิกตระกูลสาตวตะให้บูชาพระสุริยะ และเหล่าตระกูลสาตวตะอาจระบุได้ว่าครูคือพระสุริยะที่เขาสอนให้เคารพบูชา.4. ราวพุทธศตวรรษที่ 1-2 (ก่อนคริสต์ศตวรรษที่สี่), ศาสนาวาสุเทพ (Cult of Vāsudeva) ได้ถือกำเนิดขึ้น.
ภาพพระกฤษณะ (ในวัยเยาว์) ยกภูเขาโควรรธนะด้วยนิ้วก้อยนิ้วเดียว (ด้านบนของภาพ: แสดงถึงพระอินทร์กำลังทรงช้างเอราวัณ บันดาลให้เกิดพายุฝนตกลงมา), ที่มา: www.pinterest.com อ้างถึง niramish.tumblr.com, วันที่สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2567.

ในบันทึกของพระพุทธศาสนา, ได้กล่าวถึงนิทเทส03. (พุทธศตวรรษที่ 1-2/ศตวรรษที่สี่ก่อนคริสตกาล) ซึ่งรวมอยู่ในพระไตรปิฏกภาษาบาลี (Pāli Canon), (ภิกษุ) ผู้เขียนได้อ้างถึงผู้บูชาวาสุเทพและพลเทพ (Baladeva) ท่ามกลางเทพองค์อื่น ๆ ด้วย. เมกาเธเนส04. (ราวพุทธศักราชที่ 223/320 ปีก่อนคริสตกาล) ระบุว่า เฮอร์อิคลิส07. ได้รับการสักการะบูชาโดยชาวเมืองในแคว้นเซาเรเซนอย (Saurasenoi หรือ แคว้นสุระเสนะ -Śūrasenas ในสมัยพุทธกาล ยุคมหาชนบท) ซึ่งแคว้นนี้มีสองเมืองใหญ่, เมโทรา (Methora - มถุรา - Mathura) และ ไกลโซโบรา (Kleisobora - กฤษณะปุระ - Kṛṣṇapura). เฮลิโอโดรัส (Heliodorus), ซึ่งเป็นภาควต (ผู้อุทิศตนต่อพระผู้เป็นเจ้า) ของกรีก (The Greek Bhāgavata) จากเมืองตักศิลานั้น ได้รับขนานนามว่า วาสุเทพ, เทวเทวะ หรือ เทพแห่งเทวดาทั้งหลายปรากฎในจารึกแห่งเบสนาคา09. (ราวพุทธศักราชที่ 363/180 ปีก่อนคริสตกาล). จารึกณานะฆาฏ10., ราวพุทธศักราชที่ 443 หรือก่อนคริสต์ศวรรษที่หนึ่ง, ได้กล่าวถึงวาสุเทพซึ่งอยู่ท่ามกลางเหล่าเทพยดาที่ถูกอ้างอิงถึงในโองการตอนต้น. บุคคลสำคัญบางท่าน อาทิ นางราธา11. นางยโสดา12. และ นันทะ13. ปรากฎในตำนานต่าง ๆ ของพระพุทธศาสนา. ปตัญชลิ14., ในมหาภาษย15., กล่าวถึง...
---------------
1.  "ฉันเป็นพระอินทร์ของบรรดาเหล่าเทพ หากแต่เจ้าได้รับอำนาจอินทร์เหนือบรรดาฝูงโค. ผู้คนที่เขาโควรรธนะ 05. จะสรรเสริญเจ้า." หริวงศ์06., 4000 และหน้าถัดมา (ff.).
2.  บรรพที่ 3, อัธยายะที่ 32; บรรพที่ 9, อัธยายะที่ 11; บรรพที่ 18, อัธยายะที่ 67.
3.  เรื่องราวในวัยเยาว์ของพระองค์อันเป็นตำนานและเหนือจินตนาการ ดังที่ปรากฎใน ภควตา และ หริวงศ์.
4.  ตามที่ปรากฎใน ภควตา, การบูชาสาตวตะให้สูงส่งเทียบเท่า ภควาน และ วาสุเทพ. บรรพที่ 9, อัธยายะที่ 9, โศลกที่ 50.  ในคัมภีร์ อัคคมปรามาณย์
08. ที่รจนาโดยมหาคุรุยามุนาคยาจารย์ (यामुनाचार्यः - Yāmunācārya) กล่าวว่าการบูชาพระผู้เป็นเจ้าด้วยวิญญาณวิสุทธิ์นั้น เรียกว่า ภควาน และ สาตวตะ: सत्वाद भगवन् भज्यते यिः परः पुमान् ते सत्वता भगवता इती उचन्ते द्विजोत्तमैः - sattvād bhagavān bhajyate yaih paraḥ pumān te sātvatā bhāgavatā ity ucyante dvijottamaiḥ. - พราหมณ์ผู้ประเสริฐที่สุดกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นที่สักการะของพระสัทวา ข้าแต่พระเจ้า องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเรียกว่าพระสัตตวะ.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. ยาดู (Yadu) เป็นหนึ่งในห้าเผ่าตระกูลอินโด-อารยัน ซึ่งมีกล่าวไว้ใน ฤคเวท. พระกฤษณะเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากตระกูลหรือราชวงศ์ยาดูนี้.
         
        ภาพจากซ้ายไปขวา: พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พระหัตถ์ขวาถือวัชระ, ที่มา: www.dek-d.com, วันที่สืบค้น 4 กุมภาพันธ์ 2567 และภาพ: พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ สี่กร พระกายจะมีพันตา (ท้าวสหัสนัยน์), ที่มา: www.pinterest.com, วันที่สืบค้น 4 กุมภาพันธ์ 2567.

02พระอินทร์ (इन्द्र - Indra - สันสกฤต: อินฺทฺร) เป็นเทวราช ตามคติในศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ และศาสนาเชน มีหน้าที่ปกครองสวรรค์ (Svarga-Heaven) และอภิบาลโลก ถือกำเนิดขึ้นในสมัยฤคเวท ต่อมาในสมัยที่ตรีมูรติอุบัติขึ้น พระอินทร์ก็ถูกลดบทบาทลงและเริ่มมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมมากขึ้น กระทั่งถูกลดบทบาทเป็นเทวดาชั้นรองจากมหาเทพตรีมูรติในปัจจุบัน, เป็นเทพด้านสงคราม, สายฟ้า (Lightning), เทพเจ้าด้านทิศตะวันออก, อาวุธคือวัชระ (Vajra - Thunderbolt) , สัตว์พาหนะคือช้างเอราวัณ (Airavata-White elephant or Airāvana), บิดาคือ พระกัศยป (Kashyapa), มารดาคือพระแม่อทิติ (Aditi), คู่ครองคือ พระแม่ศจี (Shachi หรือ Indrani) เมื่อพิจารณาเทียบเคียงตามสายเทพเจ้า Indo-European แล้ว เทียบได้กับเป็น ซูส (Zeus-Greek), จูปิเตอร์ (Jupiter-Roman), Perun-Slavic, ธอร์ (Thor-Norse หรือ Nordic), และ โอดิน (Odin-Norse หรือ Nordic), พระอินทร์มีหลายสมัญญา คือ ท้าวสหัสนัยน์ (ท้าวพันตา), ท้าวโกสีย์, ท้าวสักกะ (Shakra), เทวราช, อมรินทร์, ศักรินทร์, มัฆวาน หรือ เพชรปาณี, ที่มา: en.wikipedia.org, th.wikipedia.org, และ www.tumnandd.com, วันที่สืบค้น 25 มีนาคม 2561.
03. นิทเทส (Niddesa) หมายถึง คำแสดง, คำจำแนกอธิบาย, คำไขความ (พจนานุกรม เขียน นิเทศ), ที่มา: พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ (ชำระ-เพิ่มเติม ช่วงที่ 1/เสริม) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) พิมพ์ครั้งที่ 14 - กุมภาพันธ์ 2553, หน้าที่ 166.
04. เมกาเธเนส (Megasthenes) เป็นนักประวัติศาสตร์ นักชาติพันธุ์อินเดีย และนักการทูตชาวกรีกโบราณ ท่านได้อธิบายเรื่องชมพูทวีปในหนังสือ อินดิก้า (Indika บ้างก็เรียก Indica) ปัจจุบันได้สูญหายไป แต่ก็มีผู้แกะรอยเติมแต่งสร้างใหม่บางส่วนจากงานที่ท่านเขียน ท่านมีชีวิตในราวพุทธศักราชที่ 193-253/350-290 ปีก่อนคริสตกาล ท่านกำเนิดที่เอเชียไมเนอร์ (Asia Minor) ได้เป็นทูตในเมืองปาฏลีบุตร (Pataliputra) สมัยพระเจ้าจันทรคุปต์ (चन्द्रगुप्त) ราชวงศ์เมารยะ (Chandragupta Maurya), ที่มา: en.wikipedira.org และ mytempleapp.com, วันที่สืบค้น 2 เมษายน 2561.   
        
ภาพจากซ้ายไปขวา: เมกาเธเนส ที่มา: prepp.in, วันที่สืบค้น 4 กุมภาพันธ์ 2567, ภาพขวา: เมกาเธเนสเข้าเฝ้าพระเจ้าจันทรคุปต์ เมารยะ ที่มา: elinepa.org, วันที่สืบค้น: 4 กุมภาพันธ์ 2567.

05. เขาโควรรธนะ (Govinda หรือ Govardhan hill) มาจากตำนานพระกฤษณะยกภูเขาโควรรธนะขึ้นมาบังชาวบ้านโคกุล (Gokula) ในเมืองมถุราจากพายุฝน อันเกิดจากความพิโรธของพระอินทร์ ซึ่งไม่พอพระทัยที่พระกฤษณะแนะนำให้ชาวบ้านกลุ่มดังกล่าวบูชาภูเขาโควรรธนะแทนที่จะบูชาพระองค์อย่างที่เคยทำมา.
ภาพภูเขาโควรรธนะ ชานเมืองมถุราในปัจจุบัน, ที่มา: 50temples.blogspot.com โดยลิงค์ผ่าน pinterest.com, วันที่สืบค้น: 5 กุมภาพันธ์ 2567.

06. หริวงศ์ (Harivaṁśa) (หริ หมายถึง พระวิษณุ)  นับเป็นวรรณคดีสันสกฤต มี 16,374 โศลก, ถูกเรียกรวมกันว่าเป็นคัมภีร์สามเล่ม ซึ่งในมหาภารตยุทธที่เป็นภาษาสันสกฤตเรียกว่าขิละ (khilas) (ส่วนเสริม เติมเต็ม หรือภาคผนวก). กล่าวกันว่ารจนาโดยมหาฤๅษีวยาส (Vyāsa) ถือเป็นคัมภีร์ที่อยู่ในกลุ่มหนังสือร้อยเล่มของมหาภารตยุทธ. หริวงศ์นี้จะถูกแยกออกจากมหาภารตยุทธ และถูกจัดรวมในกลุ่มปุราณะ หลายแห่งซึ่งมีเนื้อหาในหลายส่วนที่คล้ายคลึงกัน, ปรับปรุงจาก: www.oxfordbibliographies.com, วันที่สืบค้น 27 มีนาคม 2561. และรายละเอียดดูเพิ่มเติมได้ใน หริวงศ์: บทนำเรื่องราวของพระกฤษณะ 1.
07.
เฮอร์อิคลิส (Herakles หรือ เฮอร์คิวลิส - Hercules) เป็นเทพเจ้าตามปกรณัมกรีกโบราณ เป็นบุตรแห่งซูส (Zeus) และ อัลคมินิ (Alcmene).
08.
คัมภีร์อัคคมปรามาณย์ (आगमप्रामाण्य - Āgamaprāmāṇya) เป็นงานฉบับสำคัญที่ท้วงติงและยืนยันอักษรไวยกรณ์ด้านพระเวท ตำราต่าง ๆ ของศาสนาฮินดู ไวษณพนิกาย ประเพณีต่าง ๆ  ที่มหาคุรุยามุนาคยาจารย์ (यामुनाचार्यः - Yāmunācārya) ได้แต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต มีการตีพิมพ์ครั้งล่าสุด 233 หน้า เมื่อ ค.ศ.1976 มีเก็บอยู่ที่มหาวิทยาลัยบาโรด้า ประเทศอินเดีย, ที่มา: books.google.co.th, วันที่สืบค้น 1 เมษายน 2561.
09.
จารึกแห่งเบสนาคา (Besnagar inscription) หรือ เสาหินเฮลิโอโดรัส (Heliodorus pillar) เป็นเสาหินตั้งตรง สร้างขึ้นราวพุทธศักราชที่ 430/113 ปีก่อนคริสตกาล ตั้งอยู่กลางประเทศอินเดีย ที่เมืองวิดิชา (Vidisha) มัธยประเทศ ใกล้เมืองใหม่เบสนาคา มีข้อความบันทึกโดยเฮลิโอโดรัส เกี่ยวศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไวษณพนิกาย.
                 
ภาพซ้าย: ข้อความจารึกบนแท่งหินเฮลิโอโดรัส ราวพุทธศักราชที่ 433 และ ภาพขวา: โครงสร้างของเสาหิน เดิมเป็นฐานหนุนหินสลักรูปครุฑ ซึ่งปัจจุบันได้สูญหายไปแล้ว (คาดว่าอยู่ในพิพิธภัณฑ์ Gujari Mahal ที่เมือง Gwalior), ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2567.
 
10.  จารึกณานะฆาฏ (Nānaghāt inscritpion) บ้างก็เรียก Naneghat หรือ Nana Ghat ("Ghat หรือ ฆาฎ หมายถึง ท่าน้ำ หรือ ด่าน")เป็นช่องเขาทางทิศตะวันตกของแนวชายหาดคอนคาน (Konkan) ของเมืองโบราณจุนนา (Junnar) บนที่ราบสูงเดคคาน อยู่ทางเหนือของเมืองปูเน (Pune) และอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองมุมไบ รัฐมหาราษฎระ ภารตะ มีจารึกฮินดี สันสกฤต อันเป็นต้นแบบภาษาพราหมี (Brahmi script) จารึกนี้มีขึ้นในช่วงก่อนคริสตวรรษที่สอง-หนึ่ง ในยุคราชวงศ์สาตวาหนะ (Satavahana Dynasty). ที่มาและปรับเสริมจาก: en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 4 เมษายน 2561.

จารึกบนผนังถ้ำณานะฆาฏ, ที่มา: indiansights.co.in, วันที่เข้าถึง: 6 กุมภาพันธ์ 2567.
 
11. ราธา (Rādhā) พระแม่ราธา หรือ พระแม่ราธาราณี เป็นปางหนึ่งของพระลักษมี พระมเหสีของพระนารายณ์ เมื่อพระนารายณ์อวตารลงมาเป็นพระกฤษณะ พระลักษมีก็เสด็จตามลงมาด้วย เป็นนางโคปี (ภรรยาของคนเลี้ยงโค) ตามประวัติของพระกฤษณะมีบทบรรยายถึงความรักระหว่างเทพทั้งสองไว้มากมาย.
ภาพนางยโสดา และพลราม (Balram-พี่ชาย) กำลังแกว่งชิงช้าให้กฤษณะ โดยมีนันทะยืนอยู่ขวามือ (Nanda and Yashoda pushing baby Krishna on a swing), ภาพวาดนี้เขียนขึ้นราว ๆ พ.ศ.2293-2303 หรือ ค.ศ.1750-1760, ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 13 พฤษภาคม 2561.

12. ยโสดา (Yaśodā หรือ Yashoda) เป็นมารดาอุปถัมภ์หรือแม่บุญธรรมของพระกฤษณะ.
13. นันทะ (Nanda หรือ Nand หรือ Nanda Baba หรือ Nanda Gopa) เป็นบิดาอุปถัมภ์หรือพ่อบุญธรรมของพระกฤษณะ.
14. ปตัญชลิ (Patañjali) รุ่งเรืองในราวพุทธศักราชที่ 393 หรือ 150 ปีก่อนคริสตกาลหรือศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล เป็นนักปราชญ์ชาวอินเดีย (อาจจะมีมากกว่าหนึ่งท่าน) ผู้แต่ง โยคสูตร (Yoga sūtras) อันเป็นคัมภีร์สำคัญที่รวบรวมสาระในการปฏิบัติโยคะ และยังเป็นผู้ประพันธ์มหาภาษย อรรถกถาหลักที่อธิบายคัมภีร์อัษฎาธยายีของปาณินิด้วย
15มหาภาษย (Mahābhāṣya) เป็นตำราหลักไวยกรณ์ภาษาสันสกฤตและการออกเสียง ซึ่งมีรากฐานมาจากอัษฏาธยายีของปาณินิ.  


 
30
...งานของปาณินิ01., บรรพที่ 4, อัธยายะที่ 3, โศลกที่ 98, ซึ่งเรียกว่า วาสุเทพ ภควัต02. หนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า ภควัทคีตา เพราะพระกฤษณะอันเป็นที่เป็นที่รู้จักในภาควตศาสนา03. ว่าศรีภควาน04. หลักคำสอนที่ทรงแสดงคือลัทธิภาควต. ใน คีตา. พระกฤษณะกล่าวว่า พระองค์มิได้แสดงทัศนะใหม่ใด ๆ เพียงแต่ย้ำสิ่งที่พระองค์ได้สอนสั่งแก่วิวัสวัน05. และโดยวิวัสวันได้กล่าวแก่มนู06. และโดยที่มนูได้กล่าวต่อยังอิคษวาคุ07."1. ในมหาภารตยุทธกล่าวไว้ว่า "ภาควตศาสนานั้นได้สืบทอดตามประเพณีจากวิวัสวันสู่มนู และจากมนูสู่อิคษวาคุ"2.  ซึ่งประเพณีทั้งสองที่เผยแพร่ในทำนองเดียวกันจะต้องมีความเหมือนกัน. ซึ่งก็ปรากฎสิ่งประจักษ์อื่นด้วย. จากการเผยในนารายณียะ08. หรือภาควตศาสนา, ในภควัทคีตานั้น ได้กล่าวไว้ว่าศาสนานี้ได้มีการอธิบายแสดงธรรมไว้ก่อนแล้ว.3. และอีกครั้งหนึ่งมีการประกาศว่า "ได้รับการแสดงธรรมโดยพระผู้เป็นเจ้า, ในระหว่างการต่อสู้ของฝ่ายเการพและฝ่ายปาณฑพ, ทั้งสองกองทัพต่างพร้อมที่จะเข้าสัประยุทธ์ห้ำหั่น ส่วนพระอรชุนก็รู้สึกหดหู่."4. นี่คือศาสนาแห่งเอกเทวนิยมหรือพระเจ้าองค์เดียว (เอกานติกะ)09.
 
     ใน คีตา นั้น พระกฤษณะถูกกำหนดไว้กับองค์ภควาน, ความเป็นหนึ่งเดียวที่อยู่เบื้องหลังจักรวาลอันหลากหลาย, เป็นความจริงที่มิอาจเปลี่ยนแปลงเบื้องหลังรูปลักษณ์ทั้งหมด, อยู่เหนือทุกสิ่งและมีอยู่ในทุกสรรพสิ่ง. พระองค์ทรงเป็นองค์ภควานผู้ปรากฎ,5. ทำให้ปุถุชนรู้ได้โดยง่าย, สำหรับผู้ที่แสวงหาความเป็นพราหมณ์อันนิรันดร์นั้น หลังจากใช้ความวิริยะอย่างเต็มที่แล้ว จะเข้าถึงพระองค์อย่างไร้ข้อสงสัย. พระองค์ทรงเป็นปรมาตมัน10. ซึ่งหมายถึงการมีชัย มีวิชชา; พระองค์ทรงเป็น ชีวภูต11., อันเป็นสาระสำคัญของสิ่งมีชีวิตทั้งมวล.

     เราจะระบุบุคคลในประวัติศาสตร์กับพระผู้เป็นเจ้าสูงสุดได้อย่างไร? การเป็นตัวแทนของบุคคลที่เหมือนกันกับอัตตาจักรวาลนั้น เป็นที่คุ้นเคยกับความคิดของชาวฮินดู. ใน อุปนิษัท, เราได้รับแจ้งว่าดวงวิญญาณซึ่งตื่นรู้เต็มที่, ซึ่งเข้าใจถึงความสัมพันธ์แท้จริงกับสิ่งสมบูรณ์ เห็นได้ว่าโดยพื้นฐานแล้ววิญญาณนั้นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับดวงวิญญาณที่ตามมาทีหลังและได้ประกาศตนว่าเป็นเช่นนั้น. ใน ฤคเวท, บรรพที่ 4, อัธยายะที่ 26, วามเทพ
12. กล่าวว่า: "เราเป็นมนู, เราเป็นสุริยะ, เรานั้นทรงปัญญาที่ได้เรียนรู้กับปราชญ์กกษิวาน13. ความสง่างามของเรามาจากจอมปราชญ์กัทสะ14., บุตรแห่งอรชุนิ15. เราคือ...
---------------
1.  บรรพที่ 4, อัธยายะที่ 1, โศลกที่ 3.
2ศานติบรรพ, อัธยายะที่ 348, โศลกที่ 51-2.
3kathito harigītāsu. ศานติบรรพ, อัธยายะที่ 346, โศลกที่ 10.
4.  
समुपोड्हेष्वनीकेषु कुरुपाण्डवायोर् मृधे अर्जुन विमनस्केच गीता भगवता स्वायम् । - samupoḍheṣvanīkeṣu kurupāṇḍavayor mṛḍhe arjune vimanaskeca gītā bhagavatā svayam - เมื่อกองทัพของกุรุและปาณฑะวะกำลังทำสงคราม องค์ภควานองค์สูงสุดตรัสกับอรชุนด้วยความตกใจ. ศานติบรรพ, อัธยายะที่ 348, โศลกที่ 8.
5.  บรรพที่ 8, อัธยายะที่ 1, ในหน้าถัดไป (ff.-implying and the following pages). 

หมายเหตุ คำอธิบาย
01. งานของปาณินิ คือ อัษฏาธยายี (Aṣṭādhyāyī) หมายถึงคัมภีร์ 8 บท รู้จักกันโดยทั่วไปว่า "ไวยากรณ์ของปาณินิ"
02. วาสุเทพ ภควัต (Vāsudeva Bhagavat) หมายถึง ผู้อุทิศตนหรือผู้บูชาหรือสาวกแด่พระผู้เป็นเจ้า นามวาสุเทพ.
03. ภาควตศาสนา (Bhāgavata religion) หมายถึง ศาสนาแห่งผู้อุทิศตน ผู้บูชา ผู้เป็นสาวก.
04. ศรีภควาน (Śrī Bhagavān) หรือ ภควา (บาลี) หรือ ภควานฺ (สันสกฤต) หมายถึง สมัญญาของพระเจ้าในศาสนาแบบอินเดีย ชาวฮินดูไวษณพนิกาย จะหมายถึง องค์อวตารของพระวิษณุ (เช่น พระกฤษณะ) ส่วนไศวนิกาย จะหมายถึง พระศิวะ แม้แต่ชาวฮินดูที่ไม่ได้บูชาเทพเจ้าองค์ใดโดยเฉพาะก็ใช้คำนี้ หมายถึงพระเป็นเจ้าแบบนามธรรม โดยทั่วไปจึงแปลคำนี้ว่า พระผู้เป็นเจ้า ส่วนศาสนาพุทธ นิยมแปลเป็นภาษาไทยว่า พระผู้มีพระภาค, ปรับปรุงจาก. th.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 30 พฤษภาคม 2561.
05. วิวัสวัน (Vivasvān) หมายถึง พระอาทิตย์ หรือ พระสุริยะ (Sūrya) บ้างก็เรียกอีกชื่อว่า เทพวิวัสวัต (विवस्वत् - Vivasvat) รายละเอียดดูใน
หมายเหตุ การขยายความ หน้าที่ 84 ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 1.004.
06. มนู (Manu) มีการกล่าวถึงมนูหลากหลายในวรรณกรรม คัมภีร์โบราณของอินเดีย หากในส่วนที่เกี่ยวกับพระวิษณุปุราณะนั้นตรงกับประวัติศาสตร์อินเดียในยุคแรก ๆ ที่เริ่มเดินทางทางทะเล เพื่อเข้าต่อสู้กับชาวดราวิเดียน หรือ ฑราวิท (Dravidian) ในตอนใต้ของชมพูทวีป โดย มนูและครอบครัวได้ล่องเรือฝ่าน้ำท่วมโลก ซึ่งมีมัสยาวตาร (พระวิษณุอวตารเป็นปลา) มาคอยช่วยเหลือ รายละเอียดดูเสริมได้ใน
มัตสยาวตาร และมนูหรือพระมนู คือ ผู้ทรงออกกฎหมาย หรือ ธรรมศาสตร์ เป็นกฎหมายที่แสดงความยุติธรรม ที่มีชื่อเสียงที่สุดในบรรดาประมวลกฎหมายของฮินดูที่เรียกว่า มานวธรรมศาสตร์ เป็นผู้สร้างมนุษยชาติของชาวฮินดูโบราณ.

ภาพ: มัสยากำลังลากเรือของพระมนูและครอบครัว, ที่มา: pinterest.com อ้างถึง dwarkadheeshvastu.com, วันที่เข้าถึง 09 กุมภาพันธ์ 2567.
 
 
ภาพแสดงการสวดมนต์ของเหล่าพราหมณ์ เพื่อส่งกษัตริย์อิคษวาคูสู่สรวงสวรรค์, ที่มา: www.quora.com, วันที่เข้าถึง: 9 กุมภาพันธ์ 2567.

07. อิคษวาคุ (Ikṣvāku) แปลว่าผู้ที่กล่าววาจาอ่อนหวาน (One who speaks sweetly) เป็นหนึ่งบุตรทั้งสิบของพระมนู และเป็นกษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์อิคษวาคุ ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม สุริยวงศ์ (Solar dynasty) หรือกษัตริย์องค์แรกของอโยธยา (Ayodhyā), ที่มา: www.oxfordreference.com และ en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 30 พฤษภาคม 2561.
08. นารายณียะ (Nārāyaṇīya) แปลว่า "เกี่ยวข้องกับพระนารายณ์-pertaining/relating to Nārāyaṇa", ที่มา: www.hindupedia.com, วันที่สืบค้น 1 มิถุนายน 2561
09. เอกานติกะ (ekāntika) หมายถึงสิ่งหรือวัตถุสิ่งเดียวที่มีคุณค่าประเสริฐเลิศล้ำมหาศาล (ติกะ หมายถึง รัตนะ หรือ อัญมณีมีค่า)
10. ปรมาตมัน (Paramātman) มีถึงเจ็ดนิยาม (หกนิยามตามความหมายของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, และอีกนิยามตามความหมายของศาสนาเชน)
     ศาสนาฮินดู
     หนึ่ง) ตามแนวปรัชญาสางขยะ หรือ สัมขยะ (Sāṃkhya) หมายถึง ความเป็นจุดเริ่มต้น ไม่มีอะไรก่อนหน้านี้แล้ว. เป็นตัวตนในตัวตนปราศจากการคงสติคิด. สติสัมปชัญญะสามารถเข้ามาได้จากการเชื่อมโยงด้วยความรู้สึกถึงอวัยวะและมน (มะ-นะ = ใจ-Mind). จากการไม่รู้, ความตั้งใจ, และการปฏิบัติ, นี่คือการควบรวมของปุรุษะ (puruṣa-ผู้รับรู้) และองค์ประกอบอื่นได้เข้ามาแทนที่. ความรู้, ความรู้สึก, หรือการกระทำ, ไม่สามารถที่จะรังสรรค์ขึ้นได้หากปราศจากการรวบรวม. (ที่มา: archive.org: A History of Indian Philosophy (samkhya)).
     สอง) ตามแนวปรัชญาโยคะ (Yoga) เกี่ยวพันกับความเป็นทวิ ในความคิดของทั้งมิตรและศัตรู, การเป็นผู้ชนะและผู้พ่ายแพ้, สำหรับการยกระดับพละกำลังและดวงวิญญาณที่ไหลดิ่งลงไป, มีความเกี่ยวพันกันตามธรรมชาติในความแตกต่างระหว่างตัวตนที่สูงกว่า (ปรมาตมัน-paramātman) และตัวตนที่ต่ำกว่า (อาตมัน-ātman). มันเป็นหนทางเดียวด้วยตัวตนที่สูงส่งกว่ามีชัยต่อตัวตนที่ต่ำกว่า ซึ่งตัวตนทั้งสองต่างเป็นมิตรกัน. บุรุษผู้ซึ่งพ่ายแพ้ต่อกิเลสตัณหาและติดยึดกับตัวเอง ตัวตนย่อมเป็นศัตรูของตนเอง. โดยนิยามแล้ว, อย่างไรก็ตาม, ตัวตนด้านต่ำ, แม้ว่าจะโน้มลงไปสู่ความชั่วร้าย, แต่ก็จะมีพละธรรมชาติยกระดับตัวตนขึ้นมาได้. (ที่มา: archive.org: A History of Indian Philosophy (yoga)).  
     สาม) ตามแนวปรัชญาเวทานตะ (Vedānta) "ดวงวิญญาณสูงสุด - Highest soul"  - ชอบธรรมและเหมาะสมแล้วที่พระคัมภีร์ได้สั่งสอนให้แต่ละคนแสวงหาความรู้เพื่อบรรลุการปลดปล่อย; นี่คือความปรารถนาสำหรับดวงวิญญาณสูงสุด (ปรมาตมัน) หรือ พระผู้เป็นเจ้าหรือพราหมณ์นั้นเป็นสาเหตุแห่งการปลดปล่อย, และความปรารถนาสิ่งของต่าง ๆ ในโลก ล้วนเป็นเหตุของความเป็นทาส. (ที่มา: archive.org: A History of Indian Philosophy (vedanta)).
     สี่)  ตามแนวปรัชญาไวษณพนิกาย (Vaiṣṇavism) "ดวงวิญญาณอันสูงส่ง - supreme soul" - การตระหนักถึงธรรมชาติแห่งความจริงแท้อาจมีลักษณะเป็นสองเท่า: นามธรรมคือพรหมัน, และการผนึกแน่นคือพระผู้เป็นเจ้าหรือพระวิญญาณอันสูงส่ง (ปรมาตมัน). ในกรณีหลัง ความอิ่มเอมกับความจริงแท้ที่ผนึกแน่นนั้นจะเพิ่มพูน เมื่อมีผู้ได้เรียนรู้และตระหนักถึงพระผู้เป็นเจ้าในทุกรูปแบบต่าง ๆ ทั้งหมดของพระองค์. ในชั้นนี้, แม้ว่าสาวกศิษยานุศิษย์ได้รับรู้พลังอันหลากหลายไม่มีประมาณของพระผู้เป็นเจ้าแล้วก็ตาม, เขาก็ต้องเรียนรู้ถึงการระบุคุณลักษณะของตนด้วยธรรมชาติของพระผู้เป็นเจ้า ในฐนะที่เป็นความสุขอันวิสุทธิ์. (ที่มา: archive.org: A History of Indian Philosophy (vaishnavism)).
     ห้า) ตามแนวปรัชญาไศวนิกาย (Śaivism) เป็นทั้งมุมมองเกี่ยวกับพระศิวะและมุมมองด้านศักติ (śakti) มีความเชื่อมโยงระหว่างศิวะและศักติ นั่นคืออานันท์ (ānanda) หรือความสุข. อาตมันคือ ความมีสติอันบริสุทธิ์และด้วยความมีสตินี้เองได้เก็บเกี่ยวองค์ความรู้และพลังงานทั้งปวงไว้; ไม่เกาะติดกับสิ่งใดและอิสระ, นี่คือธรรมชาติของปรมาตมัน. (ที่มา: Source: A History of Indian Philosophy Volume 5: The Śaiva Philosophy in the Śiva-mahāpurāṇa).
     หก) ตามนิยามทั่วไปของศาสนาฮินดู (General definition in Hinduism) วิญญาณอันเป็นปัจเจกธำรงอยู่ภายในปรมาตมัน ในสภาวะที่ไร้ความแตกต่าง ในความรู้สึกอันเป็นปรมาตมันนี้ เป็นปฐมเหตุของชีวา (ชีวิต); ตามคัมภีร์ที่เน้นถึงความเป็นมาตรฐานเดียว (monistic)ได้ระบุลักษณะอันนี้ของปรมาตมันในฐานะที่เป็นปฐมเหตุ นี่ไม่ได้หมายถึงว่าเป็นบ่งเหตุว่าดวงวิญญาณแต่ละดวงนั่้นคล้ายคลึงกันกับพรหมัน. (ที่มา: archive.org: A History of Indian Philosophy)
     ศาสนาเชน
     เจ็ด) ตามนิยามทั่วไปของศาสนาเชน (General definition in Jainism) หมายถึง แต่ละอาตมันหรือความเป็นปัจเจกของตน เป็นปรมาตมันหรือพระผู้เป็นเจ้าที่มีศักยภาพ. มันสามารถธำรงในฐานะที่เป็นอาตมันได้เพียงเพราะมันได้ผูกติดกับข้อจำกัดของกรรมไว้, จนกระทั่งข้อจำกัดได้ถูกปลดเปลื้องพันธนาการ. ในฐานะที่เป็นปรมาตมัน, อาตมันเป็นตัวแทนของจุดที่ดวงวิญญาณได้มีพัฒนาการถึงขั้นสูงสุด.
(แปลจากที่มา: www.wisdomlib.org, วันที่สืบค้น 11-18 มิถุนายน 2561.)
11. ชีวภูต (jīva-bhūta) หมายถึง เราอันเป็นหน่วยชีวิตอันนิรันดร์เดิม ๆ , บริสุทธิ์, แต่อย่างใดหรือเป็นอื่น ๆ ที่เราได้สัมผัสกับวัสดุธรรมชาติ, ที่มา:vaniquotes.org, วันที่สืบค้น 24 มิถุนายน 2561.
12. วามเทพ (Vāmadeva) เป็นอีกหนึ่งในพระนามของพระศิวะ อมตะ.
13. กกษิวาน (Kakṣivān) หนึ่งในนักพยากรณ์ของคัมภีร์ ฤคเวท สัมหิตา (Ṛgveda Saṃhitā) เป็นบุตรของปราชญ์ไดฆทมะ (Dīrghatamas) และสาวรับใช้.
14. กัทสะ (Kutsa) เป็นปราชญ์ที่ประพันธ์บทสวด ฤคเวท ไว้หลายบท.

15. อรชุนิ (Arjuni) เป็นกษัตริย์อินเดียโบราณ มีโอรสชื่อ กัทสะ (Kutsa) ปรากฎในคัมภีร์ ฤคเวท, ที่มา: Theory of Avatāra and Divinity of Chaitanya โดย Janmajit Roy, 2002, Delhi, ISBN 81-269-0169-1, วันที่สืบค้น 26 มิถุนายน 2561.

 
31
...อุศณา01. ผู้ปราดเปรื่อง มองฉันสิ; ใน เกาษีตกี อุปนิษัท (บรรพที่ 3), พระอินทร์ตรัสกับประทารทนะ02. "เรามีลมหายใจที่สำคัญ. เราคือตัวตนที่มีสติพร้อม. จงบูชาในฐานะที่เรามีชีวิต, และมีลมหายใจ. ผู้ที่บูชาเราเป็นชีวิต เป็นอมตะ, ย่อมได้รับชีวิตอันไร้ที่ติจากโลกนี้. เขาจะได้รับความเป็นอมตะและไม่สามารถทำลายล้างได้ในแดนสวรรค์."1. ใน คีตา, ผู้ประพันธ์กล่าวว่า: "พ้นจากตัณหา, ความกลัว, และความโกรธ, ใฝ่ใจมาที่เรา, เข้ามาพึ่งเรา, หลายคนบริสุทธิ์ได้ด้วยความเข้มงวดแห่งภูมิปัญญา การได้บรรลุถึงสถานะที่เป็นอยู่ของเรา."2. อัตตานั้นยึดสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ตัวมันเอง, ซึ่งมันควรจะปล่อยละตัวตนไป. ในการละทิ้งนี้ประกอบด้วยการแปลงเปลี่ยนรูปร่าง. จิตวิญญาณที่ได้รับการปลดปล่อยใช้สังขารเป็นยานหรือสื่อกลางในการสำแดงความเป็นนิรันดร์. ความศักดิ์สิทธิ์ที่พระกฤษณะอ้างนั้นเป็นรางวัลร่วมกันของบรรดาผู้แสวงหาทางจิตวิญญาณที่มุ่งมั่น. พระองค์มิได้เป็นวีรบุรุษที่เหยียบย่างพสุธาและจากไปแล้ว, ทรงได้กล่าวกับมิตรและศิษยานุศิษย์, ซึ่งมีทุกแห่งหนและในเราทุกคน, พร้อมที่จะสนทนากับเราด้วยบุคลิกภาพ ทว่าจิตวิญญาณนั้นยังสถิตอยู่, อันเป็นสิ่งสำหรับจิตสำนึกทางจิตวิญญาณของเรา.

     พระผู้เป็นเจ้ามิได้บังเกิดด้วยความรู้สึกพื้น ๆ, กระบวนการเกิดและจุติเป็นมนุษย์ซึ่งบ่งบอกถึงข้อจำกัดนั้นใช้ไม่ได้กับพระองค์. เมื่อพระผู้เป็นเจ้าตรัสแสดงตนให้ปรากฎ ณ ...
---------------
1. ศังกราจารย์ได้อธิบายในเรื่องนี้ว่า: "นั่นคือ, องค์อินทรา, เทพ, ผินเนตรมองพระองค์เอง ดุจดั่งพราหมณ์อันสูงส่ง ด้วยญาณทัศน์ของบรรดาปราชญ์ตามที่ปรากฎในศาสตรา03., แล้วกล่าวว่า, 'จงรู้ถึงเรา' เฉกเช่นปราชญ์วามเทพ ที่ได้เห็นความจริงเดิม, รู้สึก, 'เราเป็นมนู, เราเป็นสุริยะ.' ในศรุติ (พฤหทารัณยกะ อุปนิษัท) รายละเอียดดูในหน้าที่ 02 ของ อุปนิษัท: สรุปสาระสำคัญ. ได้กล่าวว่า, 'ผู้บูชาจะเป็นหนึ่งเดียวกับพระผู้เป็นเจ้าที่เขาเห็นอย่างแท้จริง'."
2. ในบรรพที่ 4, อัธยายะที่ 10. พระเยซูทรงใช้ชีวิตด้วยการสอดอ้อนวอน, การทำสมาธิและการรับใช้อย่างโดดเดี่ยว, ทรงถูกล่อลวงเหมือนพวกเราทุกคน, มีความทุกข์ใจทางจิตวิญญาณ, เพื่อพระองค์สูญเสียความรู้สึกถึงการปรากฎตัวของพระผู้เป็นเจ้า, และร้องว่า, "พระเจ้าของฉัน, พระเจ้าของฉัน, ใยพระองค์ถึงได้ทอดทิ้งฉันไป?" (มาร์ค บรรพที่ 15, อัธยายะที่ 34). ตลอดเวลา, เขารู้สึกถึงการได้พึ่งพาพระเจ้า. "พระบิดานั้นยิ่งใหญ่กว่าเรา": (ยอห์น บรรพที่ 14, อัธยายะที่ 28). "ทำไมการเรียกสูเจ้าถึงเป็นเรื่องดีเล่า? ไม่มีสิ่งดีที่จะช่วยอะไรได้, แม้แต่พระผู้เป็นเจ้า" (ลุค บรรพที่ 18, อัธยายะที่ 19). "ในวันและเวลาที่เรารู้นั้น, ไม่ได้เป็นเพราะทูตสวรรค์และพระบุตรหรอก แต่ด้วยพระองค์" (มาร์ค บรรพที่ 13, อัธยายะที่ 32). "พระบิดา, ทรงสถิตอยู่ในมือของสูเจ้า ฉันเทิดทูนจิตวิญญาณของฉัน" (ลุค, บรรพที่ 23 อัธยายะที่ 46). แม้ว่าการมีสติสัมปชัญญะของพระเยซูจะไม่สมบูรณ์ (เฉกเช่นปุถุชนทั่วไป), พระเยซูก็ทรงรับรู้ถึงพระคุณและความรักของพระผู้เป็นเจ้าและเต็มใจถวายตัวพระเยซูเพื่อพระองค์, พระเยซูเข้าถึงสถานะของพระผู้เป็นเจ้า. "ฉันและพระบิดานั้นเป็นหนึ่งเดียว" (ยอห์น บรรพที่ 10, อัธยายะที่ 30).
พระทัตตะเตรยะ (Dattātreya) เป็นบุตรของพระฤๅษีอัตริและนางอนุสุยา เป็นอวตารแห่งพระมูรติทั้งสาม, ที่มา: www.pinterest.com อ้างถึง hinducosmos.tumblr.com, วันที่สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2567.
 
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. อุศณา (Uśaṇā)..!!!
02. ประทารทนะ (प्रतर्दन - Pratardana) เป็นกษัตริย์แห่งแคว้นกาสี (Kāśī) ทรงเป็นหลานของกษัตริย์ยยาติ (ययाति - Yayāti) แห่งจันทรวงศ์, กษัตริย์ยยาตินี้ ถือว่าเป็นบรรพบุรุษของเชื้อสายเการพและปาณฑพ ในมหาภารตยุทธ, ที่มา:www.hindupedia.com, วันที่สืบค้น 26 มิถุนายน 2561. และ en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง: 11 กุมภาพันธ์ 2567.
03.
ศาสตรา
(Śāstras หรือ Shastra เป็นศัพท์ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ข้อบัญญัติ, กฎ, คู่มือ, เล่มย่อ, หนังสือหรือตำรา หรือ การสอน "precept, rules, manual, compendium, book or treatise" or teaching, ที่มา: en.wikipedia.org, และ veda.wikidot.com, วันที่สืบค้น 28 มิถุนายน 2561.


 
32
...เวลาใดเวลาหนึ่ง, ในบางโอกาส, นั่นหมายถึงว่าจะเกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตที่มีข้อจำกัดเท่านั้น. ในบรรพที่ 11 โลกทั้งโลกมองเห็นได้โดยพระผู้เป็นเจ้า. กระบวนการทางอัตวิสัยและภววิสัยของโลก เป็นเพียงการแสดงออกถึงธรรมชาติในเบื้องสูงและเบื้องต่ำขององค์ภควานเท่านั้น; ทว่าในสิ่งที่รุ่งโรจน์, สวยงามและเข้มแข็งนั้น, การสถิตอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าจักปรากฎชัดยิ่งขึ้น. ครั้นเมื่อปัจเจกชนใดพัฒนาคุณภาพทางจิตวิญญาณ และจะแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจและความเมตตาอย่างลึกซึ้ง, เขาจะตัดสินโลกและเริ่มการเปลี่ยนแปลงจิตวิญญาณและสังคม และเราก็กล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงบังเกิดขึ้นเพื่ออภิบาลคนดี, มีการทำลายล้างสิ่งชั่วร้ายและรังสรรค์อาณาจักรแห่งธรรม. ด้วยความเป็นปัจเจกชน, พระกฤษณะทรงเป็นหนึ่งในล้านรูปแบบที่จิตวิญญาณสากลสำแดงออกมา. ผู้ประพันธ์ คีตา นี้ ได้กล่าวอ้างถึงในประวัติศาสตร์ของพระกฤษณะว่า เป็นหนึ่งในหลายรูปลักษณ์ร่วมกับอรชุนผู้เป็นสาวกของพระองค์.1. อวตารคือการแสดงให้เห็นถึงสิ่งต่าง ๆ ทางจิตวิญญาณของมนุษย์และความศักดิ์สิทธิ์ที่แฝงอยู่. มันไม่ได้เป็นการย่อตัวของพระผู้ทรงศักดิ์สู่ภาวะของมนุษย์ที่มีขอบเขตจำกัดมากนัก เท่ากับเป็นการยกระดับธรรมชาติไปสู่ระดับของพระผู้เป็นเจ้าด้วยการควบตัวรวมเป็นหนึ่งกับพระองค์.
 
       อย่างไรก็ตาม, ลัทธิเทวนิยม, ก็ระบุว่า พระกฤษณะ ทรงเป็นอวตารณ (avataraṇa) หรือสืบเชื้อสายจากพระผู้เป็นเจ้ามายังร่างของมนุษย์. แม้พระองค์ทรงรับรู้ว่าไม่มีการเกิดหรือการเปลี่ยนแปลง, แต่พระองค์ก็ทรงจุติ (ยังโลกมนุษย์) หลายครั้ง. พระกฤษณะทรงเป็นรูปลักษณ์มนุษย์ของพระวิษณุ. พระองค์เป็นพระผู้สูงส่งได้ปรากฎยังโลกประหนึ่งด้วยการกำเนิดและการปรากฎเป็นรูปร่าง.2. การสันนิษฐานในธรรมชาติของมนุษย์ด้วยความจริงแท้ของพระองค์นั้น, ราวกับการนฤมิตโลก, มิได้พรากไปหรือเพิ่มพูนไปสู่บูรณภาพแห่งพระองค์.
พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์, ที่มา: www.pinterest.com, วันที่สืบค้น 4 สิงหาคม 2561.
---------------
1.  บรรพที่ 10, อัธยายะที่ 37.
2.  ศักราจารย์ ได้บรรยายว่า: 
स च भगवन् ज्ञानैश्वर्यशक्तीबलवीर्यतेजोभिः, सदा सम्पन्नः, त्रिगुणात्मिकां वैष्णवीं स्वं मायाँ मूलप्रकृतिं वशीकृत्यं, अजोऽव्ययो भूतानामि स्वरो नित्यशुद्धबुद्धमुक्तस्वभावोपि सं स्वमायाय देहवन इवा जात इव, लोकानुग्रहं कुर्वाणीवलक्ष्यते । अंशेन सम्बाभुव - sa ca bhagavān jñānaiśvaryaśaktibalavīryatejobhih, sadā sampannaḥ, triguṇātmikāṁ vaiṣṇavīṁ svāṁ māyāṁ mūlaprakṛtīṁ vaśīkṛtya, ajo avyayo bhūtānām īśvaro nityaśuddhabuddhamuktasvabhāvopi san svamāyayā dehavān iva jāta iva, lokānugrahaṁ kurvanivalakṣyate. aṁśena sambabhūva -  บุคลิกภาพสูงสุดของพระเจ้าสามพระองค์ ผู้ทรงเปี่ยมด้วยความรู้ ความมั่งคั่ง อำนาจ พละกำลัง พลังงาน และความรุ่งโรจน์อยู่เสมอ ได้ปราบธรรมชาติดั้งเดิมของพระองค์ นั่นคือพลังงานมายาไวชณะวะ (ไวษณพ) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของธรรมชาติวัตถุทั้งสามระดับ อมเศนะ สัมภะภูวะ - ไม่ได้หมายความว่าพระกฤษณะถือกำเนิดมาจากส่วนหนึ่งเป็นเป็นอวตารบางภาค. อานันทคีรี (Ānandagiri) 
ได้ตีความว่า อมเศนะ (अंशेन - aṁśena) หมายถึง "ในรูปแบบที่สร้างขึ้นโดยประสงค์ของพระองค์เอง" स्वेच्छानिर्मितेन मायामायेना स्वरुपेणा - svecchānirmitena māyāmayeṇa svarūpeṇa - ด้วยรูปแบบลวงตาที่สร้างขึ้นตามพระประสงค์ของพระองค์เอง. ในขณะที่พระวจนะของอัครสาวกได้ให้ความสำคัญกับธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งเป็นบุตรของพระผู้เป็นเจ้า, "ผู้ซึ่งกำเนิดจากพระวิญญาณบริสุทธิ์, ที่ประสูติจากพระแม่มารี, ทรงได้รับความทุกข์ทรมานจากปอนติอุส ปิลาต, ทรงถูกตรึงไว้บนกางเขน, สิ้นพระชนม์และได้ฝังไว้," ในหลักข้อเชื่อหรือลัทธิไนซีน01. ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าพระองค์ "เสด็จลงมาจากสวรรค์และได้กลายเป็นเนื้อหนัง." การเสด็จลงมาหรือการลงมาของพระผู้เป็นเจ้าสู่เนื้อหนังคืออวตาร.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. หลักข้อเชื่อไนซีน หรือ ลัทธิไนซีน (Nicene Creed) คือ การประกาศศรัทธาและหลักเชื่อที่ถูกใช้มากที่สุดในพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์ และเป็นบรรทัดฐานความเชื่อในคริสต์ศาสนากระแสหลักในปัจจุบัน แม้หลักข้อเชื่อฉบับนี้จะถูกเรียบเรียงขึ้นโดยสภาสังคายนาคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่หนึ่ง เมื่อปีพ.ศ.925/ค.ศ.381 แต่ก็เรียกว่า "ไนซีน" เพราะถือว่าได้ข้อสรุปความเชื่อกันมาจากสภาสังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่งในปี พ.ศ.868/ค.ศ.325. {สังคายนาหรือ adopt ที่เมืองไนเซีย (Nicaea) ปัจจุบันชื่อเมือง Ῑznik อยู่ในประเทศตุรเคีย}, ที่มา: th.wikipedia.org และ en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 22 สิงหาคม 2561. 
 
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 และเหล่ามุขนายกสมาชิกสภาสังคายนา ถือคำประกาศหลักข้อเชื่อไนซีน, (Icon depicting the Emperor Constantine, accompanied by the bishops of the First Council of Nicaea (325), holding the Niceno-Constaninoplitan Creed of 381) ที่มา: www.pinterest.com อ้างอิง catholicfaithstore.com, วันที่สืบค้น: 11 กุมภาพันธ์ 2567.

 
33
การสร้างและการจุติเป็นมนุษย์นั้น ต่างก็อยู่ในโลกแห่งการสำแดง ไม่ใช่วิญญาณที่สมบูรณ์.1 

       หากพระผู้เป็นเจ้าผู้ไม่มีสิ้นสุด ทรงปรากฎในการดำรงอยู่ตลอดกาลเวลา การปรากฎอันพิเศษของพระองค์ ณ ขณะหนึ่งและโดยการสมมติฐานถึงธรรมชาติของมนุษย์เพียงประการเดียว ก็เป็นเพียงการเติมเต็มอย่างเสรีของการเคลื่อนไหวเดียวกันนั้น โดยที่ความอิ่มเอมของพระผู้เป็นเจ้าเติมเต็มตัวเองอย่างอิสระและโน้มไปในทางที่มีข้อจำกัด. มันไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาใหม่ใด ๆ นอกเหนือจากการรังสรรค์. หากองคาพยพที่ประกอบขึ้นเป็นมนุษย์ได้สร้างขึ้นมาตามฉายาของพระผู้เป็นเจ้า, หากรูปแบบใหม่สามารถถักทอไปสู่พลังงานที่กำลังหมุนวนซ้ำ ๆ ได้, หากนิรันดร์กาลสามารถประสานรวมสู่หนทางในการสืบทอดแล้วไซร้, ดังนั้นความจริงแท้ของพระผู้เป็นเจ้าสามารถแสดงรูปแบบอันไร้ที่ติในการเข้าและผ่านไปยังอินทรีย์มนุษย์ที่สมบูรณ์ได้นั่นเอง. นักเทววิทยาผู้แก่กล้าวิชาบอกกับเราว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงสถิตในสรรพชีวิต "โดยสารัตถะ, การดำรงอยู่, และฤทธิ์เดช." สัมพันธภาพระหว่างสมบูรณ์, อนันต์, ดำรงอยู่ในตัวเอง, และไม่เปลี่ยนรูป และกับมนุษย์ที่มีขอบเขตจำกัดได้ถูกพันธนาการกับคำบัญชาทางโลกียวิสัยนั้น มีความใกล้ชิดซึ่งยากแก่การให้คำนิยามและอธิบายได้. ด้วยจิตวิญญาณอันยิ่งใหญ่ที่เราเรียกว่าการจุตินั้น, พระผู้เป็นเจ้าทรงรับผิดชอบต่อความเป็นอยู่และศักดิ์ศรีของมนุษย์ได้ทรงสร้างจิตวิญญาณขึ้นมาใหม่อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่งขึ้น. การแทรกซึมของการต่อเนื่องกันชั่วกัปชั่วกัลป์ซึ่งปรากฎอยู่ในทุก ๆ เหตุการณ์ของสากลจักรวาลนั้น แสดงออกมาในความหมายที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นในการจุติเป็นมนุษย์. ครั้นเมื่อพระองค์ทรงประทานเจตจำนงเสรีแก่เรา, พระองค์มิได้ทอดทิ้งเราให้สร้างหรือเลิกสร้างตนเอง. เมื่อใดก็ตามที่การละเมิดเสรีภาพ อธรรมเพิ่มมากขึ้นและโลกติดอยู่ในร่อง, พระองค์จะรังสรรค์ตัวพระองค์เองเพื่อยกโลกออกจากร่องและวางบนรางลู่ใหม่. จากความรักของพระองค์ ก็ทรงถือกำเนิดขึ้นอีกครั้งและอีกครั้ง เพื่อสืบสานภารกิจในการสร้างสรรค์อากาศนาวาให้ทะยานสูงขึ้นอีก. ตามเนื้อหาที่แสดงไว้ในมหาภารตยุทธนั้น, พระผู้สูงส่งทรงพร้อมที่จะปกป้องโลกทั้งมวลนั้นมีสี่รูปแบบ. รูปแบบแรกจะพำนักอาศัยบนผืนโลกพร้อมฝึกตบะสมาธิ; รูปแบบที่สองจะคอยเฝ้าติดตามการประพฤติของเหล่ามนุษย์ที่หลงผิด; รูปแบบที่สามจะมีกิจธุระปะปนอยู่กับเหล่ามนุษย์, และรูปแบบที่สี่จะโผเข้าสู่ภวังค์นิทรานับพัน...
---------------
1.  ข้อมูลทางบรรณานุกรม. ฮูเกอร์01: "การรวมกันของพระผู้เป็นเจ้ากับมนุษย์อันน่าปรีดานี้ สามารถปรับใช้บังคับกับธรรมชาติระดับที่สูงขึ้นไปได้ เพราะไม่มีพระผู้เป็นเจ้าพระองค์ใดนอกเหนือจากพระองค์นี้ ไม่มีธรรมชาติใด ๆ ที่มากไปกว่าการที่สรรพสิ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลง." "นโยบายของสงฆ์ - Ecclesiastical Policy" (ฉบับพิมพ์เมื่อ ค.ศ.1888), Vol.ii, หน้าที่ 234. 
ว่าด้วยกฎแห่งนโยบายสงฆ์ (Of the Laws of Ecclesiastical Politie) (ฉบับตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2209/ค.ศ.1666), ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น: 12 กุมภาพันธ์ 2567.

หมายเหตุ คำอธิบาย
01. ริชาร์ด ฮูเกอร์ (Richard Hooker) (25 มีนาคม พ.ศ.2097/ค.ศ.1554 - 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2143/ค.ศ.1600) เป็นนักบวชชาวอังกฤษในคริสต์ศาสนา นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ (Church of England) และเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อนักธรรม. เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นสื่อกลางระหว่างนิกายโปรเตสแตนต์และนิกายโรมันคาทอลิก.
 
ริชาร์ด ฮูเกอร์, ที่มา: www.staroftheseabooks.com, วันที่เข้าถึง: 13 กุมภาพันธ์ 2567.

 
34
...ปี.1. ความไร้เหตุผลโดยสิ้นเชิงไม่ได้เป็นเพียงคุณลักษณะเดียวของธรรมชาติอันศักดิ์สิทธิ์. ด้วยประเพณีของชาวฮินดูระบุว่าอวตารมิได้จำกัดอยู่เพียงระดับของมนุษย์เท่านั้น. การมีอยู่ของความเจ็บปวดและความไม่สมบูรณ์นั้น ไม่ได้สืบเนื่องมาจากความตั้งใจที่ขบถของมนุษย์ แต่เกิดจากการไม่ลงรอยกันระหว่างจุดประสงค์ที่สร้างสรรค์ของพระผู้เป็นเจ้ากับโลกแห่งความเป็นจริง. หากความทุกข์สืบเนื่องมาจากการ "ล่มสลาย" ของมนุษยชาติแล้วไซร้, เราก็ไม่สามารถพรรณนาถึงความไม่สมบูรณ์ถึงธรรมชาติอันบริสุทธิ์ได้, สำหรับการคดโกงที่แพร่ระบาดไปตลอดชีวิต, สำหรับการกระเหม็ดกระแหม่จากโรคภัยไข้เจ็บ. มักมีคำถามว่า, ทำไมปลาถึงมีมะเร็งได้? หลีกเลี่ยงไม่ได้ (หรือ?). ลำนำ คีตา ชี้ให้เห็นว่ามีพระผู้สร้างอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้ทรงกำหนดรูปร่างของพระองค์ไว้บนความว่างเปล่าอันลึกล้ำ. มีประกฤติ01. (ศักยภาพที่จะเคลื่อนไหวหรือกระทำ) เป็นวัตถุดิบหลัก, ความอลหม่านที่ต้องพัฒนา, เป็นค่ำคืนอันสว่างไสว. ท่ามกลางการห่ำหั่นของทั้งสอง, เมื่อการรังสรรค์หยุดชะงัก, ก็มีการแทรกแซงจากสวรรค์เพื่อคลี่คลายการชะงักนี้เสีย. นอกจาก, ความคิดเรื่องการเปิดเผยอันมีอัตลักษณ์เพียงหนึ่งเดียว แทบจะไม่สอดคล้องกับมุมมองของเราที่มีต่อจักรวาลในปัจจุบัน. พระผู้เป็นเจ้าแห่งชนเผ่าค่อย ๆ กลายเป็นพระผู้เป็นเจ้าแห่งผืนโลก และตอนนี้พระผู้เป็นเจ้าแห่งผืนโลกก็กลายมาเป็นพระผู้เป็นเจ้าแห่งจักรวาล, ซึ่งอาจเป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ จักรวาล. ไม่น่าเชื่อได้ว่าพระผู้สูงส่งนั้นเกี่ยวข้องกับส่วนเสี้ยวน้อย ๆ ของดาวเคราะห์เล็กจิ๋วที่สุดนี้.

       ด้วยทฤษฎีของอวตาร เป็นคำพรรณนาอันแจ่มชัดของกฎโลกด้านวิญญาณ. หากพระผู้เป็นเจ้าถูกมองว่าเป็นผู้ช่วยให้รอดของมนุษย์แล้วไซร้, พระองค์จะต้องสำแดงเอง, เมื่อใดก็ตามที่ขุมพลังแห่งความชั่วร้ายคุกคามที่จะทำลายคุณค่าของมนุษย์. อวตารคือการสืบเชื้อสายมาจากพระผู้เป็นเจ้าสู่มนุษย์ และมิใช่การขยับของมนุษย์สู่พระผู้เป็นเจ้า, ซึ่งเป็นกรณีของจิตวิญญาณที่ได้รับการปลดปล่อย. แม้จิตสำนึกทุกดวงจะสืบเชื้อสายสาแหรกมา, แต่มันเป็นเพียงการสำแดงที่ปกปิดเท่านั้น. มีความแตกต่างระหว่างความละอายใจของพระผู้เป็นเจ้ากับสิ่งเดิม ๆ ที่ปกคลุมด้วยความไม่รู้.

       ข้อเท็จจริงของการสืบเชื้อสายหรืออวตรณ
(หรือ จุติ) นั้น บ่งชี้ว่าพระผู้เป็นเจ้ามิได้ทรงต่อต้านกับการสำแดงทางกายภาพและสำคัญอย่างยิ่งแต่อย่างใด. เรายังคงอยู่ในร่าง และยัง...
---------------
1. चतुरुमूर्तिर अहं शवशाल लोकत्राणार्थम् उड्वतः
   आत्मानं प्रविभज्वेह लोकानान् हितं अदधे
   एकमूर्तिः तपश्चर्यं कुरुते मे भुवि स्थिता
   अपरा पशयति जगत कुर्वाणाम् साध्वसाधुनी
   अपरा कुरुते कर्म मनुषं लोकं आश्रिता
   स’ इति एते चतुर्थी त्वपारा निद्रां वर्षसहसृकीं ।
 
  Caturumūrtir ahaṁ śavśal lokatrāṇārtham uḍvataḥ
  ātmānaṁ pravibhajveha lokānāṁ hitam ādadhe
  ekāmūrtis tapascaryāṁ kurute me bhuvi sthitā
  aparā paśyati jagat kurvāṇaṁ sādhvasādhunī
  aparā kurute karma mānuṣaṁ lokam āsritā
  s’ ete caturthī tvaparā nidrāṁ varṣasahasrikīṁ.

  
ฉันคือห้องดับจิตสี่ร่างที่บินไปกอบกู้โลก
   แบ่งตัวที่นี่และทำดีต่อโลก
   รูปแบบที่หนึ่งที่ยืนอยู่บนพื้นกำลังแสดงความเข้มงวดให้ฉัน
   อีกรูปแบบหนึ่งมองโลกเป็นสตรีผู้ศักดิ์สิทธิ์
   อีกรูปแบบหนึ่งทำงานขึ้นอยู่กับโลกมนุษย์
   และรูปแบบที่สี่ได้หลับใหลมาเป็นพันปีแล้ว

                                                 โทรณบรรพ (บรรพแห่งโทรณาจารย์), บรรพที่ 29, อัธยายะที่ 32-34 
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. ปรกฤติ (prakṛti หรือ prakriti) รายละเอียดเพิ่มเติมดูในหมายเหตุ คำอธิบาย 01 หน้าที่ 25 ของ ง. บทนำ: ภควัทคีตา.


35
...มีสติสัมปชัญญะครบถ้วน. ธรรมชาติของมนุษย์ไม่ใช่เป็นเครื่องพันธนาการ แต่สามารถกลายเป็นเครื่องมือแห่งชีวิตอันศักดิ์สิทธิ์ได้. ชีวิตและร่างกายที่อยู่กับปุถุชนเฉกเช่นเรานั้น, ยังขลาดเขลา, ไม่สมบูรณ์, และไร้พลังในการแสดงออก แต่พวกเขาก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเช่นนั้นเสมอไป. จิตสำนึกอันศักดิ์สิทธิ์นี้ถูกนำมาใช้ตามเจตจำนงของมัน ในขณะที่จิตสำนึกอันไร้อิสระของมนุษย์ ก็มิอาจควบคุมพลังร่างกาย พลังชีวิตและจิตใจไว้ได้อย่างสมบูรณ์.

       แม้ว่า คีตา ยอมรับความเชื่อในการเกิดใหม่ (avatāra) อันเป็นความศักดิ์สิทธิ์ที่จำกัดตัวเองสำหรับวัตถุประสงค์บางประการบนแผ่นพื้นธรณีนี้, เข้าครอบครองรูปแบบอันจำกัดของพระองค์ อันเปี่ยมล้นไปด้วยองค์ความรู้, แต่ก็ยังเน้นย้ำถึงอวตารนิรันดร์, พระผู้เป็นเจ้าในมนุษย์, จิตสำนึกอันศักดิ์สิทธิ์ปรากฎอยู่เสมอในร่างมนุษย์. ทั้งสองมุมมองได้สะท้อนให้เห็นถึงแง่มุมที่เหนือกว่าและมีอยู่จริงของพระผู้เป็นเจ้า และมิได้ถือว่าเข้ากันไม่ได้.  ครูผู้สนใจในแสงสว่างแห่งจิตวิญญาณของมนุษยชาติ, ได้กล่าวจากส่วนของพระผู้เป็นเจ้าอันอยู่ในตัวเขา. การอวตารของพระกฤษณะนั้น เป็นตัวอย่างให้เห็นถึงการเผยของจิตวิญญาณในตัวเรา, ที่ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าทรงซ่อนอยู่ด้วยความเศร้าโศก. ตามที่ปรากฎใน ภาควตะ 1. "ยามเที่ยงคืน ท่ามกลางความมืดมิด, ผู้ทรงสถิตในดวงใจทุกดวง ทรงปรากฎพระองค์ในพระนางเทวกีอันศักดิ์สิทธิ์ (แสดงถึงความรักอย่างลึกซึ้ง) (Devak
ī - พระมารดาของพระกฤษณะ) เพราะองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงซ่อนตัวตนในดวงใจของสรรพสัตว์."2.
ความสว่างจ้าบังเกิดขึ้นในค่ำคืนอันมืดมิด. ในความลึกลับและค่ำคืนที่เผยให้เห็นถึงความอุดมนั้น. รติกาลมิได้ทำให้การมีอยู่จริงของแสงน้อยลง. แท้จริงแล้วในยามพลบค่ำนั้น มนุษย์อาจไม่รู้สึกถึงการมีอยู่ของแสง. ความหมายในการกำเนิดของพระกฤษณะคือ การไถ่บาปในราตรีอันมืดมิด. ในชั่วเวลาแห่ง...
นางเทวกีและพระกฤษณะ, ที่มา: loveshayariimages.in, วันที่สืบค้น 14 กุมภาพันธ์ 2567.
---------------
1. निशीथे तमोदभूते जयमने जनार्दने
   देवक्यां देवरूपिण्यं विष्णुः सर्वगुहाशायः....
   वस्यदेवगृहे साक्षात् भगवन् पुरुषः परः जनिष्यते । भागवत

   niśīthe tamodbhūte jāyamāne janārdane
   devakyāṁ devarūpiṇyāṁ viṣṇuḥ sarvaguhāśayaḥ….
   vasydevagṛhe sākṣāt bhagavān puruṣaḥ paraḥ janiṣyate. Bhāgavata.

  
ในเวลากลางคืน ในความมืด ในชัยชนะ โอ ชนารทนะ
   ในเทวะกี พระวิษณุในรูปของเทพเจ้าเป็นที่พำนักของถ้ำทั้งหมด
   บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระผู้เป็นเจ้าสามพระองค์
   จะประสูติโดยตรงในบ้านของเทวดาสามพระองค์ ภควัต
 
ข้อมูลทางบรรณานุกรม สิ่งที่ได้กล่าวถึงการเกิดใหม่ของพระเยซูคริสต์:  "ขณะที่มีความเงียบสงบในทุก ๆ สรรพสิ่งและในค่ำคืนที่การฝึกฝนอย่างเร่งรัดของเธอกำลังดำเนินอยู่; พระวจนะของพระองค์ได้เปล่งทะยานออกจากพระที่นั่งชั้นสรวง. โอ้ พระผู้เป็นเจ้า." หลักคำสอนเกี่ยวกับการจุติได้เร้าความสนใจแก่หมู่ชนคริสเตียน. อาริอัส
01. ยืนยันว่าพระบุตรมิได้ทัดเทียมพระบิดา แต่ทรงบังเกิดโดยพระองค์. เป็นมุมมองที่ไม่แตกต่างนัก ส่วนที่แตกต่างนั้นเป็นหนึ่งในทฤษฎีของซาเบลเลียส02. อดีตได้เน้นย้ำถึงความแตกต่างของพระบิดาและพระบุตร และความเป็นหนึ่งเดียวของทั้งสองพระองค์.  ด้วยภาพอันเด่นชัดถึงความทัดเทียมกันและสารัตถะเฉกเช่นเดียวกันของพระบิดาและพระบุตร; แม้กระนั้นทั้งสองพระองค์, ก็ยังเป็นปัจเจกที่แตกต่างกัน.
2. บรรพที่ 10, อัธยายะที่ 20; บรรพที่ 18, อัธยายะที่ 61.

หมายเหตุ คำอธิบาย
01. อาริอัส (Arius) หรือ เอเรียส (พ.ศ.793-879/ค.ศ.250-336) กำเนิดที่เมืองคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล) มรณภาพที่ลิเบีย เป็นนักบวชคริสเตียนที่เมืองอเล็กซานเดรีย, อียิปต์ คำสอนของท่านก่อให้เกิดหลักคำสอนด้านเทววิทยาที่เรียกว่า Arianism ซึ่งยืนยันให้การถูกสร้าง และความเป็นธรรมชาติอันสมบูรณ์ของพระคริสต์ เน้นความเป็นพระบิดาของพระผู้เป็นเจ้าซึ่งเหนือกว่าพระบุตร ต่อมาถูกประณามโดยคริสตจักรในช่วงต้น ถือเป็นบาปใหญ่ยิ่ง. ที่มา: www.britannica.com, วันที่สืบค้น 12 ธันวาคม 2561. แต่ใน en.wikipedia.org อ้างว่าท่านกำเนิดที่ Ptolemais, Cyrenaica, จักรวรรดิโรมัน (พ.ศ.799/ค.ศ.256) มรณภาพที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล, จักรวรรดิโรมัน (พ.ศ.879/ค.ศ.336) สิริอายุ 80 ปี.วันที่สืบค้น 12 ธันวาคม 2561.
อาริอัส (Arius), ที่มา: https://catholicherald.co.uk, วันที่สืบค้น: 16 กุมภาพันธ์ 2567.

02. ซาเบลเลียส (Sabellius) (ราว พ.ศ.758/ค.ศ.215) สันนิษฐานว่าพระองค์เป็นชาวแอฟริกันเหนือ แถบลิเบีย ท่านมีข้อเขียนที่ขัดแย้งประจาน ชาวคริสต์ที่มีความเห็นต่าง ขัดแย้งกับความคิดที่เกิดขึ้นใหม่ของตรีเอกภาพ (Trinity) ต่อมาท่านถูกคว่ำบาตรหรือถูกบัพพาชนียกรรม (Excommunication) โดยพระสันตะปาปา Callixtus I ในปี พ.ศ.763/ค.ศ.220, ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 13 ธันวาคม 2561.

 
36
...ความหายนะและการถูกกดขี่ข่มเหง พระผู้ช่วยให้รอดได้จุติขึ้น.

       กล่าวกันว่า พระกฤษณะถือกำเนิดจากวสุเทพและนางเทวกี. เมื่อธรรมชาติสัตตวะ
01. ของเราบริสุทธิ์,1. เมื่อกระจกแห่งความเข้าใจ ใสสะอาด ถูกชำระล้างด้วยฝุ่นแห่งความปรารถนา, แสงแห่งจิตสำนึกอันบริสุทธิ์ก็สะท้อนอยู่ในนั้น.
เมื่อทุกสิ่งสูญสิ้น, แสงจากแดนสรวงมลายไป, ได้เสริมเพิ่มพูนแก่ชีวิตมนุษย์ เกินกว่าคำรำพันใด ๆ . เมื่อมีแสงวาบฉับพลัน, บังเกิดรังสีเปล่งประกายภายในและชีวิตเราจะสดชื่นและดูใหม่หมดจด. เมื่อการประสูติอันศักดิ์สิทธิ์เกิดขึ้นภายในตัวเรา, เกล็ดก็ร่วงจากดวงตาของเรา, สลักประตูคุกก็เปิดออก. พระองค์สถิตอยู่ภายในใจของทุกสรรพสัตว์และเมื่อถอดถอนม่านวิสูตรแห่งสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อันลี้ลับนั้นออก, เราจะสดับสุรเสียงอันศักดิ์สิทธิ์, น้อมรับลำแสงแห่งพระองค์, กระทำการด้วยอำนาจแห่งพระองค์. จิตสำนึกของมนุษย์ที่หลอมรวมเป็นร่างนั้น ได้ถูกยกขึ้นไปสู่นิรันดร์ที่ยังมิได้กำเนิด.2. การจุติลงมาของพระกฤษณะนั้น ไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากพระผู้เป็นเจ้าสู่มนุษย์ที่มีเนื้อหนังมากเท่ากับการรับความเป็นมนุษยชาติเข้าสู่พระองค์.

       ครูได้แนะนำศิษย์อย่างช้า ๆ เพื่อให้บรรลุสถานะที่เหล่าศิษยานุศิษย์นั้นมี,
 ของฉันที่คล้ายกัน04. ศิษย์, อรชุนนั้น, เป็นดวงวิญญาณรูปแบบหนึ่งที่ต้องดิ้นรน ยังไม่เข้าถึงความจริงแท้. เขากำลังต่อสู้กับกองทัพแห่งความมืดมิด, ความลวง, ข้อจำกัด, และความตาย ซึ่งขวางหนทางไปสู่โลกที่สูงกว่า. ขณะที่กายสับสนวุ่นวายไปหมด, เมื่อไม่รู้แห่งกฎแห่งกรรมที่ถูกต้อง, ย่อม...
---------------
1 सत्त्वां विशुद्धं वासुदेव शब्दिताम्, sattvaṁ viśuddhaṁ vasudeva śabditam. พระสัตตวะผู้บริสุทธิ์ เปล่งเสียงโดยวสุเทวะ, ภาควตะ. เทวกีคือ  ไดหวี ปรกฤติ 02, ธรรมชาติอันศักดิ์สิทธิ์.
2. ในความเห็นของข้าพเจ้า, นี่ความหมายของหลักคำสอนในศาสนาคริสต์เกี่ยวกับการฟื้นคืนชีพ (ของพระเยซู). การฟื้นคืนชีพทางกายภาพของพระเยซูไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญ หากแต่เป็นการฟื้นคืนชีพของพระผู้เป็นเจ้า. การเกิดใหม่ของมนุษย์อันเป็นอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของเขา, ส่งผลให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับความจริงและความรักอันใหญ่ยิ่งกว่าสำหรับพระผู้เป็นเจ้าและมนุษย์, มันเป็นการฟื้นคืนชีพที่แท้จริงที่ยกระดับชีวิตมนุษย์ให้ซึมซับถึงแก่นสารและพระประสงค์ของพระองค์. พระผู้เป็นเจ้าได้สรรค์สร้างมาโดยตลอด, กระทำการอย่างไม่ลดละ.พระองค์เป็นบุตรของมนุษย์ ด้วยเพราะพระองค์ได้ทรงบังเกิดใหม่จากมนุษย์ (นั่นเอง). เมื่อม่านกั้นระหว่างความเป็นนิรันดร์กับชั่วขณะของโลกียวิสัยได้ถูกยกขึ้น, มนุษย์ได้ก้าวตามพระองค์ และสุดแล้วแต่พระองค์จะนำทางไป.
ข้อมูลทางบรรณานุกรม
แองเจลัส ซิเลสซัส
03.     
                                    แม้ว่าพระคริสต์ได้ทรงประสูติที่เบธเลเฮ็มนับพันครั้ง
                                    หากพระองค์มิได้ถือกำเนิดภายในตัว(สู)เจ้า วิญญาณของ(สู)เจ้าก็สิ้นหวัง
                                    กางเขนบนยอดเขาที่พระองค์ได้ถูกตรึงนั้น ก็มิอาจปกปักรักษาดวงวิญญาณของ(สู)เจ้าได้
                                    กางเขนภายในจิตใจของ(สู)เจ้าต่างหาก เพียงลำพังก็สามารถรังสรรค์(สู)เจ้าได้ทั่วถ้วน.
                                    Though Christ a thousand times       
                                    In Bethlehem be born,
                                    If He’s not born in thee
                                    Thy soul is still forlorn.
                                    The Cross on Golgotha
                                    Will never save thy soul,
                                    The Cross in thine own heart
                                    Alone can make thee whole.

หมายเหตุ คำอธิบาย
01. สัตตวะ (sattva) มายถึง ความสมดุล ความมีอยู่จริง ความสว่าง ความบริสุทธิ์ การสร้างสรรค์, "...สรรพสิ่งเกิดจาก 2 สิ่งคือ ปุรุษะ (purusha, จิตสำนึก) และปรกฤติ (prakruti, ธรรมชาติ แรงของการสร้างสรรค์ ปรกฤติเกิดจากปุรุษะ และต่อไปก่อให้เกิดมหัต (mahat) หรือพุทธิภาวะ (buddhi) ซึ่งหมายถึงการตื่น ความชาญฉลาด ความชาญฉลาดก่อให้เกิด ego หรือ อหังการ (ahamkara) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการแยกสิ่งต่าง ๆ จากความเป็นหนึ่งเดียว เกิดเป็น 3 คุณะ (guna) คือ 1) สัตตวะ (sattva) หมายถึง ความสว่าง ความบริสุทธิ์ การสร้างสรรค์ 2) รชะ (rajas) หมายถึง พลังงาน อารมณ์ การเคลื่อนไหว คุณธรรม การคุ้มครองรักษา 3) ตมัส (tamas) หมายถึง ความเฉื่อย ถดถอย ความคงสภาพ การเคลื่อนสู่สัตตวะหรือตมัส ต้องใช้รชัส สัตตวะและตมัสเป็นจุดกำเนิดขององค์ประกอบพื้นฐานของสรรพสิ่ง โดยมีความสัมพันธ์กัน ทำให้มนุษย์สามารถสัมผัสกับสิ่งที่อยู่รอบได้...", ที่มา: www.pharmacy.su.ac.th/pg/activity/2544/india/ayurveda.htm, วันที่สืบค้น 18 ธันวาคม 2561.
02. ดหวี ปรกฤติ (
दैवी प्रकृति -
Daivī prakṛti - Divine nature) หมายถึง ประกฤติหรือธรรมชาติ สองลักษณะ: ภายในและภายนอก. พลังงานภายในคือพลังทางจิตวิญญาณ, และพลังงานภายนอกคือ พลังจากสสาร., ที่มา: https://vaniquotes.org/wiki/, วันที่สืบค้น 20 ธันวาคม 2561.
03.
แองเจลัส ซิเลสซัส (Angelus Silesius) เป็นบาทหลวงในคริสต์ศาสนาแคทอลิกชาวเยอรมัน (บ้างก็ว่าเป็นคนโปแลนด์ ชาวโปล) (ราว พ.ศ.2167/ค.ศ.1624 - 9 กรกฎาคม พ.ศ.2220/ค.ศ.1677) ที่เมือง Breslau, Silesia (ปัจจุบันอยู่ในโปแลนด์) ท่านเป็นกวี บทกวีที่น่าสนใจคือ "Christ could be born a thousand times in Bethlehem - but all in vain until He is born in me" - "พระคริสต์ทรงประสูติที่เบธเลเฮ็มได้นับพันครั้ง - แต่ไร้ประโยชน์ จนกระทั้งพระองค์ทรงบังเกิดขึ้นในตัวเรา", ที่มา: en.wikiquote.org, วันที่สืบค้น 27 ธันวาคม 2561.
แองเจลัส ซิเลสซัส, ที่มา: www.britannica.com, วันที่สืบค้น: 17 กุมภาพันธ์ 2567.

04. मम साधर्म्यम् - mama sādharmyam (ความเหมือนของฉัน หรือ ของฉันที่คล้ายกัน - mine of similar)ที่มา: https://www.holy-bhagavad-gita.org/chapter/14/verse/2, วันที่สืบค้น 4 มกราคม 2562.

 
37
...ต้องพึ่งตัวตนที่สูงส่งของตน, ประทับตราเป็นพระกฤษณะ, คุรุแห่งโลก, จกัดกูรู1, 01. และวิงวอนขอความกรุณาสู่การรู้แจ้ง. "ฉันเป็นศิษย์ของท่าน โปรดให้ความสว่างแก่ฉัน. กรุณาขจัดสิ่งที่มืดมิดออกไป. มอบคืนสิ่งที่ฉันเคยสูญเสีย, วางกฎการกระทำที่ชัดเจนให้ด้วยเถิด." ผู้ขับเทียมม้าหรือราชรถคืออรชุน แต่ผู้ขับและผู้นำทาง (ที่แท้จริง) คือพระกฤษณะ. ทุกผู้ทุกนามเป็นผู้ศึกษาใคร่รู้, ใฝ่ฝันถึงความสมบูรณ์, เป็นผู้แสวงหาพระผู้เป็นเจ้าและหากเขาค้นหาอย่างจริงจังด้วยศรัทธาแล้วไซร้, องค์ภวานผู้เป็นเป้าหมายก็จะกลายเป็นองค์ภควานผู้นำทาง. เป็นเพียงชั่วครู่เท่านั้น, ตราบเท่าที่ยังมีความเที่ยงตรงของคำสอน, ไม่ว่าผู้ประพันธ์จะเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์หรือพระผู้เป็นเจ้าผู้สืบเชื้อสายมาสู่มนุษย์, เพราะความจริงแท้แห่งดวงวิญญาณก็เป็นเฉกเช่นดั่งเมื่อหลายพันปีก่อน และความแตกต่างด้านเผ่าพันธุ์และเชื้อชาติก็มิได้ส่งผลกระทบต่อพวกเขา. สิ่งอันมีสารัตถะคือความจริงหรือมีนัยสำคัญนั้น และความจริงทางประวัติศาสตร์ ก็มิได้สลักสำคัญไปกว่าภาพลักษณ์ของมัน.2.


6. สถานภาพของโลกและแนวคิดเรื่องมายา
       หากรูปพื้นฐานขององค์ภควานคือ นิรคุณ (มิอาจกำหนดคุณลักษณะใด ๆ ได้) 05. ไร้คุณลักษณะและ อจินไตย (สิ่งที่เหนือจินตนาการ) 06., นึกไม่ถึง โลกก็เป็นรูปลักษณ์ที่ไม่สามารถสัมพันธ์กับความสมบูรณ์ในเชิงตรรกะได้. ในความเป็นนิรันดร์อันไม่เปลี่ยนแปลงของพราหมณ์ ทุกสิ่งที่เคลื่อนไหวและวิวัฒนาการก็ได้รับการจัดตั้งขึ้น. สิ่งเหล่านี้ดำรงอยู่ได้ โดยปราศจากมันมิได้ แม้ว่าจะไม่ก่อให้เกิดสิ่งใด ไม่ทำอะไรเลย และกำหนดสิ่งใดไม่ได้ก็ตาม.
---------------
1 ข้อมูลทางบรรณานุกรม. अज्ञनातिमिरान्धस्य ज्ञानाञ्जनशालाकाय
        चक्षुर् उन्मिलितां येन तस्मै श्री गुरवे नमः ।

       
ajñānatimirāndhasya jñānāñjanaśalākayā
        cakṣur unmīlitaṁ yena tasmai śri gurave namaḥ.

       ไปสู่แหล่งความรู้สำหรับคนตาบอดในความมืดมิดแห่งความไม่รู้
       ข้าพเจ้าขอแสดงความเคารพต่อพระศาสดาผู้ทรงเบิกตาข้าพเจ้า

ข้าพเจ้าขอน้อมคำนับคุรุผู้ศักดิ์สิทธิ์, ผู้ทรงเปิดตาแก่ผู้ที่มืดบอดด้วยโรคแห่งความกังขาอันไม่รู้แจ้งด้วยหลักแห่งความรู้ {เพียงหลงติดอยู่กับ (อุปมาเหมือน) ผงแต่งเติมขอบตาของสตรีcollyrium - ผงสีเข้มหรืออายแชร์โดว์ของหญิงชาวเอเชีย}.
สภาพสลักนารีกำลังทาขอบตาด้วย Kajal (Collyrium) ที่วัดแห่งหนึ่งในศาสนาเชนที่เมือง Khajuraho, มัธยประเทศ ภารตะ, ที่มา: www.worldhistory.org, วันที่เข้าถึง: 17 กุมภาพันธ์ 2567.

2 ข้อมูลทางบรรณานุกรม, สปิโนซ่า02: "ไม่จำเป็นเลย จะต้องรู้จักพระคริสต์ตามเนื้อหนัง; แต่มันเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่าพระบุตรอันนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้า (de aeterno illo Dei filio), นั่นละ, เป็นภูมิปัญญาอันนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้า, ซึ่งปรากฎในทุกสรรพสิ่ง, และส่วนใหญ่ผนึกอยู่ในจิตใจของมนุษย์, และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพระเยซูคริสต์เจ้า, กรณีนี้ไกลออกไปก็เป็นอย่างอื่น. เพราะหากไม่มีสิ่งนี้แล้ว ไม่มีใครสามารถบรรลุถึงสภาวะแห่งความปิติสุขได้, ตราบใดที่ไม่มีสิ่งใดามารถสั่งสอนเขาได้ว่าอะไรคือจริงหรือเท็จ, สิ่งดีและไม่ดีได้." ดังนั้นสปืโนซ่าได้จำแนกความแตกต่างระหว่างพระเยซูเจ้าตามประวัติศาสตร์กับพระคริสต์ในอุดมคติ. ความศักดิ์สิทธิ์ของพระคริสต์นั้นเป็นความเชื่อที่เติบโตในมโนธรรมของบรรดาคริสเตียน. หลักคำสอนของคริสต์ศาสนาเป็นคำอธิบายทางเทววิทยาของข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์. ลอยซี03. ตั้งข้อสังเกตว่า: "การฟื้นคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูเจ้านั้น ไม้ได้เป็นก้าวย่างสุดท้ายของภารกิจบนผืนแผ่นดิน, แต่เป็นพันธกิจจริยวัตรท้ายสุดของพระองค์ในหมู่มนุษย์, อันเป็นปฐมบทของศรัทธาของบรรดาอัครสาวกและรากฐานทางจิตวิญญาณของคริสต์ศาสนา" (พ.ศ.2487) ม้อด ปีเตอร์04.: ลอยซี, หน้าที่ 65-66. 
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. จกัดกูรู (jagadguru -जगद्गुरु - เป็นภาษามราฐี) คุรุแห่งโลก.
02. บารุค สปิโนซ่า (Baruch Spinoza ชื่อเต็ม Benedict de Spinoza) เป็นนักปรัชญาชาวยิวที่ถือกำเนิดในเนเธอร์แลนด์ (มีชีวิตระหว่าง พ.ศ.2175-2220/ค.ศ.1632-1677) ท่านจบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยไลเดน (Leiden University เมืองไลเดน เนเธอร์แลนด์) ท่านเขียนหนังสือไว้หลายเล่ม อาทิ Opera, Ethica, และ Theologico Politicus. ท่านได้รับการยกย่องว่ามีส่วนสำคัญในการพัฒนาปรัชญาสมัยใหม่และภาพสะท้อนทางการเมือง ปรัชญาของท่านครอบคลุมเกือบทุกด้านของวาทกรรมทางปรัชญา รวมถึงอภิปรัชญา (Metaphysics), ญาณวิทยาปรัชญา (epistemology), ปรัชญาการเมือง (Political philosophy), จริยธรรม (Ethics), จริยธรรมปรัชญา (Philosophy of mind), และปรัชญาทางวิทยาศาสตร์ (Philosophy of science) ซึ่งทำให้ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะนักคิดนักเหตุผลนิยมที่สำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในศตวรรษที่ 17 ท่านได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้ริเริ่มการวิพากษ์เกี่ยวกับไบเบิล ท่านได้รับอิทธิพลความคิดจาก เรอเน เดการ์ต (Rene' Descartes) อริสโตเติล โทมัส ฮอบส์ เพลโต ท่านได้เรียนรู้ข้อคำสอนต่าง ๆ ของชาวยิว รวมไปถึงปรัชญาของชาวยิวอีกด้วย การที่ท่านได้เรียนปรัชญาของชาวยิวนี้เอง ทำให้ท่านปฏิเสธความคิดของกลุ่มชาวยิว ท่านได้เรียนและให้ความสนใจกับลัทธิเหตุผลนิยมและวิธีการทางคณิตศาสตร์มากเป็นพิเศษ ทำให้ความคิดของท่านแตกต่างไปจากนักเรียนชาวยิวคนอื่น ๆ และในที่สุดท่านก็ไม่ได้รับการยอมรับจากบรรดาชาวยิว และถูกขับไล่ในจากศาลาธรรมของชาวยิวในปี ค.ศ.1665 โดยข้อหาสอนคำสอนที่ผิดไปจากศาสนายิว หลังจากที่ถูกขับไล่ ท่านได้ย้ายไปอยู่ทางตอนใต้ของฮอลแลนด์ ที่นั่นเองที่ท่านได้ตั้งระบบความคิดของท่าน และในที่สุดท่านก็ถึงแก่อนิจกรรมที่เมืองแห่งนี้เอง (กรุงเฮก) ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2220/ค.ศ.1677 อย่างสงบและเรียบง่าย (ที่มา: th.wikipeid.org, en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 5 เมษายน 2562).
ภาพของ บารุค สปิโนซ่า โดยจิตรกรชื่อ Barend Graat เมื่อปี พ.ศ.2209, ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง: 18 กุมภาพันธ์ 2567.

03. อัลเฟรด ลอยซี (Alfred Loisy), ท่านเป็นนักบวชคริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก ชาวฝรั่งเศส (28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2400 - 1 มิถุนายน พ.ศ.2483) ท่านวิจารณ์ถึงมุมมองเดิมของการสร้างพระคัมภีร์ คิดว่าพระเยซูทรงตั้งใจที่จะสร้างสังคมหรือชุมชน เป็นยอดแห่งรัฐของพลเรือนมากกว่า งานเขียนของท่านก่อให้เกิดข้อขัดแย้งกับพวกอนุรักษ์นิยม และรวมถึงพระสันตปาปาลีโอที่ 13 และพระสันตปาปาปิอุสที่ 12 หนังสือของท่านถูกสาปแช่งโดยวาติกัน ท้ายที่สุดท่านถูกคว่ำบาตรหรือถูกบัพพาชนียกรรม (excommunication). ข้อสังเกตอันโด่งดังของท่านคือ "พระเยซูได้ประกาศถึงอาณาจักรของพระเจ้า, และสิ่งที่มาถึงก็คือโบสถ์" ("Jésus annonçait le Royaume et c'est l'Église qui est venue" "Jesus proclaimed the Kingdom of God and what came was the Church.") พ.ศ.2445/ค.ศ.1902.
04. ม้อด ปีเตอร์ (Maude Petre) ท่านเป็นชีของคริสต์ศาสนาในอังกฤษ นิกายโรมัน คาทอลิก (4 สิงหาคม พ.ศ.2406 - 16 ธันวาคม พ.ศ.2485) งานเขียนที่มีชื่อเสียงของท่านคือ "Modernist controversy".
05. นิรคุณ (
निर्गुण - Nirguṇa or attributeless) ไม่มีลักษณะดี ไม่อาจกำหนดคุณลักษณะใด ๆ ได้.
06. อจินไตย (
अचिन्त्य - acintya - inconceivable, incomprehensible, unthinkable; surpassing thought, beyond thought) สิ่งที่เหนือจินตนาการ สิ่งที่นึกไม่ถึง.

 
38
ในขณะที่โลกขึ้นอยู่กับพรหมัน01., แต่พรหมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับโลก. การพึ่งพิงฝ่ายเดียวและความไม่เข้าใจเชิงตรรกะของความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นจริงขึ้นสูงสุดกับโลกนี้ถูกดึงออกมาด้วยคำว่า "มายา (māyā)." โลกไม่จำเป็นว่าเป็นเหมือนพรหมัน; และมิใช่เพียงความไม่มีอยู่เท่านั้น. มันไม่สามารถกำหนดได้ชัดว่าเป็นอยู่หรือไม่เป็นอยู่.1. การค้นพบอย่างกะทันหันผ่านประสบการณ์ทางศาสนาเกี่ยวกับความเป็นจริงอันสมบูรณ์ของจิตวิญญาณ ทำให้บางครั้งโน้มน้าวเราให้มองโลกเป็นภาพลวงตา แทนที่จะเป็นความเข้าใจที่ผิดหรือการสร้างจรรโลงที่ผิด. มายาไม่ได้หมายความว่าโลกเป็นเพียงภาพลวงตาหรือไม่มีอยู่จริง. มันไม่มีขอบเขตจากการไม่ได้วัดและการไม่สามารถที่จะวัดได้. แต่ทำไมถึงไม่มีการกำหนดถึงเรื่องนี้กันเล่า? คำถามนี้ไม่สามารถตอบได้, ตราบใดที่เราอยู่ในระดับเชิงประจักษ์ (อายตนะที่เรามีอยู่ไม่เพียงพอที่จะหยั่งรู้ความเป็นมายา หรือไม่เป็นมายาได้).

       ในทุกศาสนา, ความจริงสูงสุดนั้นเหนือลำดับเวลาของเราอย่างไม่มีสิ้นสุด, โดยมีจุดเริ่มและจุดสิ้นสุด, มีการเคลื่อนไหวและความผันผวน. พระเจ้าของคริสต์ศาสนานั้น, ถูกมองว่าไร้ความแปรปรวนหรือมีเงาแห่งการพลิกผัน. พระองค์ทรงสถิตอยู่ในนิรันดร์ บัดนี้ทรงเห็นจุดสิ้นสุดตั้งแต่ปฐมกาลแล้ว. หากเป็นทั้งหมดแล้วไซร้, จะมีการแบ่งกันอย่างสิ้นเชิงระหว่างชีวิตอันศักดิ์สิทธิ์กับโลกพหุนิยมนี้, อันจะทำให้การสื่อสารระหว่างทั้งสองสิ่งเป็นไปไม่ได้เลย. หากความจริงอันสูงสุดนั้นมีลักษณะเฉพาะ, เพิกเฉยและไม่เคลื่อนตัว, ก็จะไม่มีที่ว่างสำหรับกาลเวลา, สำหรับการเคลื่อนไหว, สำหรับประวัติศาสตร์. เวลา, ซึ่งมีกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงและการสืบทอดของมัน, ก็จะกลายเป็นเพียงลักษณะที่ปรากฎภายนอกเท่านั้น. ทว่าพระผู้เป็นเจ้าคือหลักธรรมที่มีชีวิต เป็นเพลิงเผาผลาญ. มิได้เป็นคำถามของสิ่งสมบูรณ์ที่มีความหลากหลายอันปรากฎให้เห็นได้ชัด หรือพระผู้เป็นเจ้าอันทรงพระชนม์ชีพกำลังปฏิบัติงานในจักรวาลพหุนิยมนี้. พระองค์ผู้สูงส่งเป็นทั้งสิ่งนี่และสิ่งนั้น. ความเป็นนิรันดร์ไม่ได้หมายถึงการปฏิเสธห้วงเวลาหรือประวัติศาสตร์. แต่มันคือการเปลี่ยนแปลงของเวลา. เวลามาจากนิรันดร์และประสบสมประสงค์ในห่วงเวลานั้น. ในลำนำ ภควัทคีตา นั้น, ไม่สิ่งตรงกันข้ามระหว่างนิรันดร์กับกาลเวลา. ผ่านร่างของพระกฤษณะด้วยการเคลื่อนไหวในทางโลกสัมพันธ์กับความลึกล้ำที่สุดแห่งนิรันดร์.

      ดวงวิญญาณที่เหนือความเป็นพหุนิยมทั้งหลายนั้น, เมื่อได้เพ่งพิศจากปลายสุดของจักรวาลแล้ว ก็จะเห็นการแยกออกจากสิ่งที่เหนือธรรมชาติเผชิญกับสิ่งที่เหนือธรรมชาติด้วยกัน. ความเป็นอัตตะและ
---------------
1 सदासद्भ्यां अनिर्वचनीयम् - sadasadbhyām anirvacanīyam - เป็นสิ่งที่ไม่อาจพรรณนาได้จนถึงปัจจุบัน. เป็นสิ่งซึ่งไม่สามารถจำแนก กำหนดว่าดำรงอยู่หรือไม่ดำรงอยู่ได้อย่างสิ้นเชิง. มันอยู่ท่ามกลาง. (which is not available for being categorically defined as existent or totally non-existent. It is something in between.) จาก. Ancient Morning Prayers of India: A COLLECTION OF VARIOUS TRADITIONAL INDIAN..ที่มา: books.google.co.th, วันที่เข้าถึง 7 เมษายน 2562. 
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. พรหมัน (Brahman): ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู พรหมัน (อ่านว่า พฺรม-มัน; สันสกฤต: ब्रह्मन्) คือ ความเป็นจริงสูงสุด เป็นสิ่งสัมบูรณ์ ไม่มีรูปร่าง ไร้ขีดจำกัด เป็นพระวิญญาณบริสุทธิ์ เป็นที่มาและจุดหมายปลายทางของสรรพสิ่งในสกลจักรวาล.
     คัมภีร์อุปนิษัทระบุว่าสรรพสัตว์รับรู้พรหมันได้ใน 2 ลักษณะ คือ
  • นิรคุณพรหมัน เป็นพรหมันที่ไม่อาจกำหนดคุณลักษณะใด ๆ ได้ เป็นสิ่งสูงสุด เป็นสัจจิทานันทะ (ความจริง-ความรู้-ความสุข) เรียกอีกอย่างว่าปรพรหมัน และ
  • สคุณพรหมัน เป็นพรหมันที่กำหนดคุณลักษณะต่าง ๆ ได้ เรียกอีกอย่างว่า อปรพรหม อีศวร หรือพระเป็นเจ้า
     (ที่มา: ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 13)
     ปรัชญาฮินดูแต่ละสำนักอธิบายลักษณะของพรหมันแตกต่างกันไป
     ฝ่ายอไทฺวตะ เวทานตะ (Advaita Vedanta) ตีความว่า นิรคุณพรหมันเท่านั้นเป็นพรหมันแท้ ส่วนสคุณพรหมันเป็นพรหมันเทียม เพราะเป็นพลังที่ออกมาจากนิรคุณพรหมันเพื่อมาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับโลกเท่านั้น โดยพลังในทางสร้างเรียกว่าพระพรหม พลังทางธำรงรักษาเรียกว่าพระวิษณุ พลังในทางทำลายล้างเรียกว่าพระศิวะ พลังทั้งสามนี้เรียกโดยรวมว่าตรีมูรติ.
    ฝ่ายวิศิษฏาไทฺวตะ เวทานตะ (Visishtadvaita Vedanta) อธิบายว่า นิรคุณพรหมันและสคุณพรหมันเป็นพรหมันแท้อันเดียว เพียงแต่มี 2 ลักษณะ
     (ที่มา: ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 114-5)

 
39
ความเป็นภวะ01. เป็นสองขั้วของความจริงแท้. ทั้งสองอย่างไม่เกี่ยวข้องกัน. หลักการของสิ่งที่มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริง02.,  มูลปรกฤติ03. ความไม่ชัดแจ้งหรือไร้รูปแบบ (อวยักธ)04. ของการดำรงอยู่ทั้งหมด ดำรงเป็นธรรมชาติของวาทกรรมที่ได้รังสรรค์ขึ้นมา, พระอิศวร. "ฉัน" อันเป็นนิรันดร์เผชิญหน้ากับ "ไม่ใช่ฉัน" ที่แฝงว่าเป็นอนันต์หรืออนันต์เสมือน, พระนารายณ์ทรงครุ่นคิดอยู่เหนือผืนน้ำ. เนื่องจาก"ไม่ใช่ฉัน," ประกฤตินั้น, สะท้อนถึงตัวตน, มันสยบอยู่ใต้บังคับบัญชาจากตัวตน. ครั้นองค์ประกอบแห่งการปฏิเสธได้ถูกชักพาเข้าสู่ความสัมบูรณ์, ความตระหนักรู้ภายในจะถูกคลี่ออกภายในกระบวนการเปลี่ยนผ่าน. ความเป็นหนึ่งเดียวพื้นฐานก็จะตั้งครรภ์ (อันเป็นจุดกำเนิด) ไปพร้อม ๆ กับวิถีของโลกทั้งใบ.

       กระบวนการของจักรวาล คือ การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสองหลักการของการเป็นอยู่และการไม่เป็นอยู่. พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นขีดจำกัดในระดับบนที่ได้รับความรักน้อยที่สุดและควบคุมของการไม่เป็นอยู่และสสารได้อย่างสมบูรณ์ หรือประกฤติเป็นขีดจำกัดในระดับล่างที่มีความเสน่หาน้อยที่สุด. กระบวนการของจักรวาลทั้งมวลคือการทำงานของพระผู้สูงส่งเกี่ยวกับประกฤติที่เข้าใจว่าสิ่งที่เป็นเชิงบวกนั้นคือสิ่งชั่วร้าย. มีเพียงพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้นที่จะทะลุทะลวงและเอาชนะได้อย่างสมบูรณ์. ในส่วนที่เหลือของโลกที่รังสรรค์ขึ้นมา, มันมีระดับหนึ่งหรืออย่างอื่นบดบังแสงเอาไว้.

       ใน คีตา มิได้สนับสนุนลัทธิทวินิยมทางอภิปรัชญา; เพราะหลักการของการไม่เป็นอยู่นั้นขึ้นอยู่กับการเป็นอยู่. การไม่เป็นอยู่นั้นเป็นชั่วขณะที่จำเป็นในความจริงแท้สำหรับการเผยถึงพระผู้สูงส่ง. หากโลกเป็นสิ่งที่มันเป็นอยู่, ก็ด้วยเพราะความเขม็งตึง. โลกแห่งกาลเวลาและการเปลี่ยนแปลงได้มุ่งมั่นสู่ความสมบูรณ์แบบ. การไม่เป็นอยู่ซึ่งจะรับผิดชอบต่อความไม่สมบูรณ์นั้น เป็นองคาพยพที่จำเป็นในโลก, ด้วยเพราะเป็นสารัตถะที่ทำให้แนวคิดของพระผู้เป็นเจ้าเกิดขึ้นจริง.1.
จิตวิญญาณทั้งมวล. เมื่อโลกทั้งใบได้รับการปลดปล่อยจากพันธนาการ, ได้ถูกยกขึ้นเหนือความเปื่อยเน่า, โลกก็สุกสกาวขึ้นอย่างไร้ที่ติ, ความประสงค์ขององค์ภควานนั้นเป็นที่รับรู้และโลกก็ได้รับการฟื้นฟูสู่แหล่งกำเนิดที่บริสุทธิ์, เหนือความแตกต่างอื่นใด.

       ทำไมถึงมันไม่เป็นอยู่เล่า? เหตุใดถึงมีการตกหรือตกตะกอนจากความเป็นสภาวะที่สมบูรณ์เล่า? นี่เป็นคำถามว่าทำไมโลกถึงมีการขัดแย้งกันตลอดระหว่างการเป็นอยู่กับการไม่เป็นอยู่หนอ? สิ่งที่เป็นอยู่สมบูรณ์นั้น, พระผู้เป็นเจ้าทั้งสาม (พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม) นั้น อยู่เบื้องหลัง...

---------------
1 ข้อมูลทางบรรณานุกรม. โปรคลัส05. ผู้ที่สำคัญตนว่าเป็น "บุตรแห่งพระผู้เป็นเจ้า" ซึ่งถูกผูกมัดให้กลายเป็นวิญญาณ.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. อัตตะ (Subject) และ ภวะ (Object
อัตวิสัย (Subjectivity) หมายถึง มุมมองหรือความคิดเห็นของบุคคล โดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก ความเชื่อ หรือความต้องการ อาจหมายถึงแนวความคิดส่วนบุคคลที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ซึ่งตรงข้ามกับความรู้และความเชื่อที่มีพื้นฐานอยู่บยข้อเท็จจริง ในทางปรัชญา คำนี้มักมีความหมายตรงข้ามกับ ปรวิสัย หรือ ภววิสัย, ที่มา: th.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 02 มิถุนายน 2562.

02. หลักการของสิ่งที่มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริง (ภววิสัย หรือ ปรวิสัย - Objectivity) หมายถึง สิ่งที่มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริง เงื่อนไขของความเป็นจริง โดยไม่ขึ้นอยู่กับจิตใจ นั่นคือผลของการตัดสินใด ๆ จะไม่ขึ้นอยู่กับความคิดเห็นและความรู้สึก ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นตามปรวิสัย มักจะถูกค้นพบมากกว่าที่จะถูกสร้างขึ้นมา ในทางปรัชญา สิ่งที่เป็นปรวิสัยจะเป็นจริงเสมอไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ในเวลาใด หรือกับบุคคลใด มีความหมายตรงข้ามกับอัตวิสัย ข้อเท็จจริงที่เป็นอัตวิสัยจะเป็นปรวิสัยก็ต่อเมื่อ สิ่งนั้นเป็นข้อเท็จจริงบนเงื่อนไขเฉพาะอย่าง ในเวลาเฉพาะ หรือกับบุคคลเฉพาะ, ที่มา: th.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 02 มิถุนายน 2562.
03. มูลปรกฤติ (mūlaprakṛti - เป็นภาษาเทวนาครี - देवनागरी - Devanagari - รากฐานแห่งธรรมชาติ) - แปลว่า "root of nature" หรือ "root of prakṛti.
04.
ความไม่ชัดแจ้งหรือไร้รูปแบบ {avyakta หรือ avyaktha - อวยักธ (ภาษามราฐี - मराठी) - not manisfest or devoid of form}.
05. โปรคลัส (Proclus) หรือ โปรคลัสแห่งเอเธนส์ (มีชีวิตอยู่ราว พ.ศ.412-485/ค.ศ.412-485) เป็นนักปราชญ์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในยุคโบราณตอนปลาย และมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดแนวปรัชญาของเพลโต (Platonic philosophy) ท่านเป็นผู้สืบทอดการดำเนินการของสถาบัน Platonic Academy ในกรุงเอเธนส์, ที่มา: plato.standford.edu, วันที่เข้าถึง 12 มิถุนายน 2562.

โปรคลัส, ที่มา: dougballiett.nyc, วันที่เข้าถึง: 19 กุมภาพันธ์ 2567.

 
40
...และเหนือโลกและในโลก; พระองค์ทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้าสูงสุดผู้ทรงพระชนม์อยู่, ทรงรักและทรงไถ่โลกด้วยพระกรุณาธิคุณของพระองค์. ทำไมโลกถึงมีลำดับขั้นของความเป็นบัณฑิตเล่า? เราก็สามารถเพียงกล่าวได้ว่า, มันเป็นธรรมชาติขององค์ภควานที่จะมีจริยวัตรในวิถีเช่นนี้. เราไม่สามารถอธิบายข้อเท็จจริงของโลก เพียงแต่สามารถตีความธรรมชาติของโลกได้, ซึ่งเป็นข้อขัดแย้งระหว่างการเป็นอยู่กับการไม่เป็นอยู่ในกระบวนการของการบังเกิด. ความเป็นอยู่อันบริสุทธิ์อยู่เหนือโลก และสิ่งที่ไม่เป็นอยู่อย่างบริสุทธิ์นั้นอยู่ใต้สิ่งที่อยู่เบื้องล่างสุด. หากเราดำดิ่งลงก็ไม่มีอะไร, มันไม่มีตัวตนอันสมบูรณ์. ในโลกแห่งการบังเกิดขึ้นที่แท้จริง, สังสารวัฎ (saṁsāra), เรามีข้อขัดแย้งระหว่างหลักหารสองประการของเป็นอยู่และการไม่เป็นอยู่.

       ผลิตผลชิ้นแรกของปฏิสัมพันธ์คือไข่แห่งจักรวาล (พรหมัณฑะ - brahmāṇḍa) ซึ่งรวมถึงความสมบูรณ์ของการปรากฎภายในตัวมันเอง. การวิวัตน์ทั้งมวลในภายหลังนั้นจักอยู่ในแบบแห่งโรคร้าย. ล้วนผนึกด้วยอดีต, ปัจจุบันและอนาคตไว้ในระดับสูงสุด. พระอรชุนได้เห็นวิศวรูป (Viśvarūpa), ซึ่งเป็นรูปโลกทั้งหมด. พระองค์ทรงเห็นรูปร่างของฟากฟ้าและจักรวาล, โลกต่าง ๆ ที่เคลื่อนผ่านเหมือนน้ำป่าที่ไหลหลาก.

       ผู้ใดที่พินิจว่าพระผู้สูงส่งไม่มีตัวตนและไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ ตามแนวคิดแห่งพระอิศวร (Īśvara) ด้วยพลังแห่งการสำแดงตนของพระองค์แล้วไซร้ นั่นมาจากผลมาจากความไม่รู้ (อวิทยา หรือ อวิชา - avidyā).1. พลังแห่งความคิดที่ทำให้เกิดรูปอันไม่เที่ยงแท้จึงไม่จริง, นี่เป็นพลังแห่งการสร้างรูปลักษณ์นี้เรียกว่าอวิชา. แต่อวิชาไม่ใช่สิ่งที่ดูแปลกสำหรับผู้นี้หรือผู้นั้น. กล่าวกันว่านี่เป็นพลังแห่งการสำแดงตนที่ครอบครองโดยพระผู้สูงส่ง. พระองค์ตรัสว่า แม้ในความจริงแล้วพระองค์จะทรงไม่กำเนิด แต่พระองค์จะทรงกำเนิดด้วยฤทธิ์อำนาจของพระองค์เอง อัตมะมายะยา2,01. มายา
(Māyā) นั้นมาจากรากศัพท์, มา (), ก่อแบบ, สร้าง, และ ...
---------------
1 ศังกราจารย์ได้กล่าวว่า: “ชื่อและรูปแบบที่ได้จินตนาการขึ้นเพื่อให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของพระอิศวรผู้สูงส่ง (the Supreme Iśvara) นั้น เป็นผลมาจากการไม่รู้ถึงธรรมชาติของอาตมัน (Ātman), ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่กล่าวว่ามันแตกต่างกันหรือไม่. หรือไม่แตกต่างจากองค์ภควานที่อยู่ในศรุติ (สิ่งที่ได้ยินมา - that which is heared - श्रुति - Śṛuti) และศมฤทิ (สมริติ) (สิ่งที่ได้จำมา - that which is remember - स्मृति - Śmṛti) ที่เรียกว่า มายา (māyā), ศักติ (śakti), ปรกฤติ (prakṛti) ของปรเมศวร์ (Parameśvara) ผู้รอบรู้ทัังหมด” ความเห็นของศังกราจารย์ในพรหมสูตร, บรรพที่ 2, อัธยายะที่ 1, โศลกที่ 14.
อาทิ ศังกราจารย์และศิษยานุศิษย์ (Adi Shankara with Disciples), งานของราชา รวิ วรรมา (Raja Ravi Varma), พ.ศ.2447/ค.ศ.1904, ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 9 กรกฎาคม 2562

2. บรรพที่ 4 อัธยายะที่ 6. "พระผู้สูงส่งทรงเลือกกรีฑากีฬาในการออกกำลังกายด้วยพลังของโยคะ".
 
भगवन् अपि रन्तुं मनस्करे योगमायम् उपशृतः -
Bhagavān api rantuṁ manascakre yogamāyām upaśṛtaḥ. - องค์ภวานทรงเข้าหาโยคะมายาในใจเพื่อเพลิดเพลิน. ภาควตะ (ปุราณะ), บรรพที่ 10, อัธยายะที่ 29 โศลกที่ 1. วัตรปฏิบัติอันศักดิ์สิทธิ์ ไม่ได้กระทำเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ใด ๆ ของพระองค์เอง, ด้วยเพราะพระผู้เป็นเจ้าทรงนิตยทฤปตะ02. ด้วยคุณลักษณะของการไม่ใส่ใจใยดีนี้เกิดจากการใช้กีฬาโลก. लोकवत् तु लीलाकैवल्यम् - Lokavat tu līlākaivalyam - เช่นเดียวกับโลก มันเป็นความสันโดษที่ขี้เล่น. พรหมสูตร, บรรพที่ 2, อัธยายะที่ 1, โศลกที่ 33. ในราธาอุปนิษัทได้กล่าวว่า พระเจ้าหนึ่งเดียวทรงมีบทบาทชั่วนิรันดร์ในวัตรอันหลากหลายต่าง ๆ ของโลก. नित्यालीलानुरक्तस्य समर्पणस्य समयः अस्ति - eko devo nityalīlānuraktaḥ - ถึงเวลาที่จะยอมจำนนต่องานอดิเรกประจำวัน, บรรพที่ 4, อัธยายะที่ 3.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. อัตมะมายะยา (आत्ममायया - my own Self - ātmamāyayā).
02.
นิตยทฤปตะ - (नित्यतृप्त - Nityatṛpta) บ้างก็เขียน Nityatripa, Nityatrpta - ever satisfied, เคยพอใจ.

 
41
...เดิมหมายถึงความสามารถในการสร้างตัวแบบ. พลานุภาพในการรังสรรค์ของพระผู้เป็นเจ้าที่ทรงสร้างจักรวาล เรียกว่า โยคะมายา01. ไม่มีข้อแนะนำใด ๆ ว่าตัวแบบ, เหตุการณ์และวัตถุต่าง ๆ สร้างขึ้นจากมายา หรือ พลานุภาพในการสร้างสรรค์ตัวแบบต่าง ๆ ของพระองค์, มายิน02., เป็นเพียงเรื่องภาพลวงตาเท่านั้น.

      
บางครั้ง มายาก็อาจกล่าวว่าเป็นต้นตอแห่งความหลง (โมหะ - moha). "โลกทั้งใบนี้ถูกล่วงลวงด้วยวิถีธรรมชาติสามแกน (คุณะ)03. นี้, โลกทั้งใบนี้มิได้ตระหนักรู้ว่าฉันเป็นใคร ซึ่งผู้ที่อยู่เหนือสิ่งเหล่านี้และไม่มีวันเสื่อมสลาย."1. ด้วยพลังของมายา เราจึงมีจิตสำนึกบางส่วนที่น่าสับสน ซึ่งละสายตาจากความเป็นจริงและอาศัยอยู่ในโลกแห่งปรากฎการณ์. ความจริงแท้ของพระองค์ถูกบดบังด้วยการบรรเลงของประกฤติและแบบต่าง ๆ ของมัน. กล่าวกันว่าโลกนี้เป็นสิ่งหลอกลวง ด้วยเพราะพระองค์ซ่อนอยู่เบื้องหลังสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างขึ้น. แต่เปล่าเลย...!!, โลกไม่ได้เป็นสิ่งที่หลอกลวง แต่นั่นเป็นโอกาสของโลก. เราต้องทลายทุกรูปแบบ แล้วหลบหลีกอยู่หลังม่านเพื่อค้นหาความจริงแท้นั้นให้จงได้. โลกและการเปลี่ยนแปลงของโลก ประกอบขึ้นเป็นปกปิดตัวตนของพระองค์ (ติโรธานะ) 05. หรือปิดบังการพระผู้สร้างจากการรังสรรค์ของพระองค์เอง. มนุษย์นั้นมีแนวโน้มหันไปหาวัตถุในทางโลก (วัตถุนิยม) แทนที่จะมุ่งความสนใจไปที่พระผู้สร้าง.  ดูประหนึ่งว่าพระผู้เป็นเจ้านั้นเป็นนักหลอกล่อต้มตุ๋นที่ยิ่งใหญ่ ขณะที่พระองค์เนรมิตโลกและวัตถุที่สัมผัสได้นั้น ก็ได้ทรงผลักไสให้เรารู้สึกสัมผัสกับสิ่งที่อยู่ด้านนอก2. มีแนวโน้มว่าจะหลอกลวงตนเองกับความปรารถนาในสิ่งเย้ายวนใจในโลกมนุษย์ ร่ายเวทย์มนตร์สะกดให้เราเป็นทาสมันเป็นรางวัลของมัน. โลกหรือธรรมชาติอันไร้รูปลักษณ์หรือสังสารวัฏ (saṁsāra) นั้นดำดิ่งลง, (เรา) ตกเป็นทาส, ดูแปลกแยก, และเต็มไปด้วยความทนทุกข์. เพราะความแปลกแยกจากภายในคือความทุกข์ระทม. เมื่อมีการกล่าวว่า "มายาอันศักดิ์สิทธิของฉันนี้ เป็นเรื่องยากเกินกว่า...
---------------
1. บรรพที่ 7 อัธยายะที่ 13. ข้อมูลทางบรรณานุกรม นารทะ ปัญจราตระ04. “พระเจ้าคือหนึ่งเดียวเสมอ, ทั้งมวล และในแต่ละอย่าง, สัตว์ทั้งปวงล้วนกำเนิดขึ้นจากกรรมกิริยาของพระองค์ แต่พวกเขาก็ถูกหลอกลวงด้วยมายาของพระองค์.” บรรพที่ 2, อัธยายะที่ 1 โศลกที่ 22. ในมหาภารตะนั้น ได้กล่าวไว้ว่า: “โอ นารท (ฤๅษีนารถมุนี) สิ่งที่เจ้าเห็น คือมายาที่ข้าได้สร้างขึ้น อย่าคิดว่าข้าครอบครองคุณลักษณะเช่นนี้ไว้ที่จะพบในโลกที่สร้างขึ้น.”
                                      माया ह्येषा माया सृष्टा यण माँ पाश्यासि नारदः
                                      सर्वभूतगुणैर् युक्तां नैव त्वां ज्ञानतुम् अर्हसि ।

                                      Māyā hy eṣa mayā sṛṣtā yan māṁ paśyasi Nārada
                                      sarvabhūtaguṇair yuktaṁ naiva tvaṁ jñātum arhasi.
                                      มายาเป็นภาพลวงตาที่สร้างขึ้นโดย ยน โอ นารท เจ้าเห็นเราไหม
                                      เจ้าไม่สมควรที่จะรู้ว่าเจ้าได้รับคุณสมบัติของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด.
                             ศานติบรรพ, อัธยายะที่ 339, โศลกที่ 44.
2. กถะอุปนิษัท (Kaṭha Upaniṣad)., บรรพที่ 4, อัธยายะที่ 1.
หมายเหตุ และการขยายความ
01. โยคะมายา (
योगमाया - yoga māyā หรือ Yogamāyā) มีหลายความหมาย 1) พลังมหัศจรรย์ของโยคะ 2)  อำนาจของพระผู้เป็นเจ้าในการสร้างโลก 3) อีกชื่อของพระแม่ทุรคา.
02.
มายิน (मायिन् - māyin) หมายถึง 1) ผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์เวทมนตร์ 2) ผู้ครอบครองพลังเวทย์มนตร์ 3) คนคดโกง 4) คนทรยศ.
03. คุณะ (guṇa หรือ คุณธรรม) ในปรัชญาเวทานตะ หมายถึง สามแบบหรือสามคุณลักษณะที่พึ่งพากันของประกฤติ นั่นคือ สัตตวะ รชะ และ ตมัส หรือ คุณธรรม ความดี ความเป็นเลิศ {(in Vedanta) any of the three interdependent modes or qualities of prakriti: sattva, rajas, or tamas.}. รายละเอียดดูเพิ่มเติมใน
ปุราณะ หน้าที่ 02.
04. นารทะ ปัญจราตระ (
नारदपञ्चरात्र - Nāradapañcarātra หรือ Nārada Pañcarātra) หมายถึง เรื่องเล่ามีห้าส่วน คือ ความรู้ที่ให้ ความจริงสูงสุด ความรู้ที่ให้รางวัลมุกติ (mukti) ความรู้ที่ให้รางวัลภักติ (bhakti) ความรู้ที่ให้รางวัลเชิงลึกลับ และความรู้ในระดับอวิชชา สลับกับมนตร์ มีบันทึกเป็นหมวดหมู่มากมาย, มีผู้แปลและประพันธ์เสริมโดย รามกุมาร รายะ (Rāmakumāra Rāya) ตีพิมพ์ที่เมืองพาราณสี ปี พ.ศ.2528/ค.ศ.1985.
ส่วน ปัญจราตระ (Pancharatra หรือ Pāñcarātra) นั้น เป็นภาษาสันสกฤต, เป็นนิทานโบราณของอินเดีย คาดว่ามีต้นกำเนิดที่แคชเมียร์ เมื่อ พ.ศ.343 เขียนด้วยภาษาสันสกฤต ได้รับอิทธิพลจากนิทานชาดกของพุทธศาสนา., ที่มา: th.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 26 พฤศจิกายน 2562.
05. ติโรธานะ (
तिरोधान - tirodhāna) หมายถึง การหายตัวไป เครื่องปกปิด ผ้าคลุม.

 
42
...จะเอาชนะได้," นั่นหมายถึงมนุษย์เราไม่สามารถหลุดพ้นจักรวาลและกิจกรรมต่าง ๆ (อันเป็นวัฎสังสาร) ได้ง่าย ๆ .1 

       ในที่นี้ เรานี้อาจจำแนกประสาทสัมผัสต่าง ๆ ที่ใช้คำว่า "มายา" และระบุตำแหน่งใน คีตา ได้. (1) หากความจริงสูงสุดมิได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ในโลกมนุษย์แล้วไซร้, การเกิดขึ้นของเหตุการณ์เหล่านี้ก็กลายเป็นปริศนาอันมิอาจอธิบายได้. 
ผู้ประพันธ์ คีตา ไม่ได้ใช้คำว่า "มายา" ในความหมายนี้, ไม่ว่าจะมีความหมายเป็นนัยมากเพียงใดในความเห็นของเขาก็ตาม. แนวความคิดเรื่องสิ่งที่ไม่มีจุดเริ่มต้น และในขณะเดียวกันอวิทยา01. ที่ไม่จริงแท้, ก็ก่อให้เกิดโลกซึ่งก็ไม่เข้ามาในจิตใจของผู้ประพันธ์. (2) กล่าวกันว่า พระอิศวร โดยส่วนพระองค์นั้น ได้ผสมผสานกันภายในพระองค์เอง, เป็นทั้งสัต และ อสัต02., ความไม่เปลี่ยนรูปของพรหมัน ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของการเป็น.2 มายาเป็นพลังที่ทำให้พระองค์สามารถก่อให้เกิดธรรมชาติที่ไม่แน่นอนได้. นั่นคือศักติ03. หรือพลังของพระอิศวร, หรือ อาทมวิภูติ04., พลังแห่งการเป็นตัวของตัวเอง. ทั้งพระอิศวรและมายาต่างพึ่งพากันและกันและไม่มีจุดเริ่มต้น.3 อำนาจขององค์ภควานเรียกว่ามายาในคีตา.4 (3) เนื่องด้วยพระองค์สามารถสร้างจักรวาลได้โดยอาศัยองค์ประกอบทั้งสองของพระองค์ คือ ปรกฤติ05. และปุรุษะ05. สสาร และจิตสำนึก จึงกล่าวกันว่าเป็นมายา (ทั้งสูงและต่ำ) ของพระผู้เป็นเจ้า.5. (4) มายาก็ค่อย ๆ หมายถึง ประกฤติล่าง เนื่องจากว่าปุรุษะเป็นเมล็ดพันธุ์ที่องค์พระผู้เป็นเจ้า ทรงโยนเข้าไปในครรภ์ของประกฤติ เพื่อสร้างจักรวาล. (4) ในขณะที่โลกอันประจักษ์ซ่อนความจริงไว้จากนิมิตของมนุษย์ กล่าวกันว่าเป็นคุณลักษณะที่ลวงตา.6. โลกไม่ใช่ภาพลวงตา แม้ว่าเราจะถือว่าโลกเป็นเพียงการกำหนดกลไกของธรรมชาติที่ไม่เกี่ยวข้องกับพระผู้เป็นเจ้า แต่เราก็ไม่สามารถรับรู้แก่นแท้อันศักดิ์สิทธิ์ของมันได้. แล้วมันจะกลายเป็นบ่อเกิดของความหลง. มายาอันศักดิ์สิทธิ์จะกลายเป็น อวิทยามายา. อย่างไรก็ตาม สิ่งทั้งหมดและควบคุมมันได้ มันคือ วิทยามายา. ดูเหมือนองค์ภควานจะถูกห่อหุ้มด้วยเสื้อคลุมขนาดมหึมาของมายา.7. (6) เพราะโลกนี้เป็นเพียง...
---------------
1. บรรพที่ 7, อัธยายะที่ 14; ดูในอีษา อุปนิษัท., บรรพที่ 16.
2. บรรพที่ 9, อัธยายะที่ 19.
3. ดู ศาณฑิลยสูตร (
Śāṇḍilya Śūtra), บรรพที่ 2, อัธยายะที่ 13 และ 15;  เศวตาศวตระอุปนิษัท (Śvetāśvatara Up.), บรรพที่ 4, อัธยายะที่ 10.
4. บรรพที่ 18, อัธยายะที่ 61; บรรพที่ 4, อัธยายะที่ 6.
5. บรรพที่ 4, อัธยายะที่ 16.
6. บรรพที่ 7, อัธยายะที่ 25 และ 14.
7. มายาไม่ได้ผลิตอวิทยา ที่เรียกกันว่า สัตตวิคี
06. มายา. เมื่อมันปนเปื้อนก็ก่อให้เกิดความไม่รู้หรืออวิทยา. พราหมณ์ที่สะท้อนให้เห็นอดีตคือพระอิศวร ในขณะที่สิ่งสะท้อนให้เห็นต่อมาคือ ชีวะ, หรือตัวตนของปัจเจกบุคคล. นี่คือ (พัฒนาการเป็น) เวทานตะในภายหลัง. ดู ปัญจทศิ07. บรรพที่ 1, อัธยายะที่ 15-17. ซึ่ง คีตา ไม่ได้ตระหนักถึงแนวคิดนี้. 
หมายเหตุ และการขยายความ
01. อวิทยา (अविद्या - avidyā สันสกฤต, อวิชชา, อวิชา - avijjā บาฬี ) ในทางพระพุทธศาสนาแปลว่า ความไม่รู้ (ignorance) ส่วนในปุราณะและอิติหาส หมายถึงสิ่งลวงตาห้าประการ ตามที่ปรากฎใน ศิวะปุราณะ ประกอบด้วย 1) ทามิสรา (तामिस्र - tāmisra - ความมืด นรก ‘darkness’, เกี่ยวข้องกับ: ทเวศ - dveśa หรือ ‘ความเกลียดชัง - hatred’),, 2)  อันธทามิสรา (अन्धामिश्र - andhatāmisra -‘binding darkness’,สัมพันธ์กับ: abhiniveśa and mithyājñāna), 3) ทมะ tama (‘darkness’, สัมพันธ์กับ: avidyā), 4) โมหะ moha (‘delusion’, สัมพันธ์กับ: asmitā) , and 5) มหาโมหะ mahātama หรือ mahāmoha (‘great delusion’, สัมพันธ์กับ: ราคะ (rāga) or ‘lust’).
02. สัต และ อสัต (सत् - sat - truth และ असत् - asat - untruth) คำสองคำนี้ สัต และ อสัต ถูกตีความเพื่อให้ความหมายที่แตกต่างกันโดยสำนักคิดที่ต่างกัน เกี่ยวข้องกับคู่ของสิ่งที่ตรงกันข้าม เช่น จริงและไม่จริง นิรันดร์และไม่นิรันดร์ ถาวรและไม่ถาวร มีชีวิตและไม่มีชีวิต.
03. ศักติ (
शक्ति - śakti) หมายถึงพลังแห่งพระศิวะที่เป็นพลวัต พลังที่สัมพันธ์กับมหาเทวี เช่น พระแม่ทุรคา พระแม่กาลี พระแม่ปารวตี เป็นต้น.
04. อาทมวิภูติ (आत्मविभूति - ātmavibhūti - the power of self-pecoming) หมายถึง พลังแห่งการเป็นตัวของตัวเอง.

05. ดูรายละเอียดปรกฤติและปุรุษะ ได้ที่ หมายเหตุ คำอธิบาย หน้าที่ 25 ใน ง. บทนำ: ภควัทคีตา .
06. สัตตวิคี (सात्विकी - sāttvikī - born of goodness) การถือกำเนิดของความดีงาม.
07. ปัญจทศิ (पञ्चदशी - Pañcadaśi) แปลว่า "ที่สิบสี่" เป็นงานประพันธ์สำคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่มีสิบสี่บรรพ มีความเรียบง่ายแต่ครอบคลุมปรัชญาด้านอไวตะ เวทานตะ งานประพันธ์นี้เขียนขึ้นในราว พ.ศ.1929-1934 หรือ ราว ค.ศ.1386-1391 ประพันธ์โดยวิทยารัญยะ (Vidyāraṇya) ซึ่งก่อนหน้านี้มีนามว่า มาธวาจารย์ (Mādhavācārya) ศิษยานุศิษย์ของ อาทิ ศังกราจารย์.
 
43
...ผลกระทบจากพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น, ผู้เป็นสาเหตุ และเนื่องจากทุกที่ที่เหตุมีจริงมากกว่าผล, จึงกล่าวกันว่าโลกที่เป็นผลนั้น มีจริงน้อยกว่าพระผู้เป็นเจ้าที่เป็นเหตุ. ความไม่เป็นจริงเชิงสัมพัทธ์ของโลกนี้ได้รับการยืนยันโดยธรรมชาติของกระบวนการเกิดที่ขัดแย้งในตัวเอง. มีการต่อสู้ที่ตรงกันข้ามในโลกแห่งประสบการณ์ และความจริงอยู่เหนือสิ่งที่ตรงกันข้ามทั้งหมด01.
---------------

01. บรรพที่ 2, อัธยายะที่ 45; บรรพที่ 7, อัธยายะที่ 28; บรรพที่ 9, อัธยายะที่ 33.
 
หมายเหตุ คำศัพท์ และคำอธิบาย:
01THE BHAGAVADGITA, S. RADHAKRISHNAN, HarperCollins Publishers India Pvt Ltd. Printed in India, 14th impression 2000, โดย ฯพณฯ สรวปัลลี ราธากฤษณัน (Servepalli Radhakrishnan) นักปราชญ์และประธานาธิบดีคนที่ 2 ของประเทศอินเดีย.

 
info@huexonline.com