MENU
TH EN

01. บทนำ: บรรดาปราชญ์ผู้ประเสริฐ

Title Thumbnail & Hero Image: ประมวลภาพจากโปรแกรม "Adobe Firefly" เมื่อ 3 พฤษภาคม 2567. 
01. บทนำ: บรรดาปราชญ์ผู้ประเสริฐ01.
First revision: Mar.28, 2024
Last change: May 15, 2024
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา.

 
หน้าที่ 01
       มีผู้ให้ความเห็น ความหมายที่ครอบคลุมหลายคำ มีนิยามเกี่ยวกับคำว่า ปรัชญา (อังกฤษ: Philosophy, กรีก: φιλοσοφία) ไว้มาก อย่างเช่น
  • "ปัญญา" (ภาษาสันสกฤตหมายถึง "ความรู้แจ้ง" "ความรอบรู้" "ความสุขุม" "ความฉลาด") "หลักแห่งความรู้", "วิชชา", "ความจริง", "สัจจธรรม", "สภาวะที่แท้", และ "สุทธิ" ้เป็นต้น โดยต่างสังคมมีพัฒนาการในเรื่องปรัชญาที่เกี่ยวกับความกระจ่างแจ้งในเรื่องของความรู้และความจริง.02.
  • พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานของไทยให้นิยาม "ปรัชญา" ว่า "วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง" ตามการแปลจากภาษาอังกฤษ คือ philosophy ที่ยืมภาษาฝรั่งเศสและมีรากฐานจากภาษากรีกและลาติน ทั้งคำว่า "ปรัชญา" ยังเกี่ยวโยงกับคำว่า "Wisdom" ที่หมายความว่า การวินิจฉัยอย่างถูกต้อง ปัญญา และความฉลาด.02.
  • สำหรับสังคมไทยคำว่า "ปรัชญา" สามารถพิจารณาเชื่อมโยงกับคำในพุทธศาสนา เช่น "โพธิ" (สันสกฤต) หมายถึง แสงสว่าง, กระจ่างแจ้ง, ความรู้แจ้ง, ความเข้าใจ และสอดรับกับการจำแนกของพลาโต (บ้างก็อ่านเพลโต) นักปรัชญากรีกที่ให้นิยามคำว่า "พีลสโซเพืย" ว่า "การแสวงที่จะรู้แจ้งเห็นจริงว่าอะไรเป็นยอดแห่งสภาวะทั้งหลาย" หรือ "อภิจิต" ซึ่งเป็นยอดสูงสุดที่อยู่เหนือสิ่งสามัญ.02.
  • ระหว่าง เทววิทยา กับ วิทยาศาสตร์ นั่นคือ ปรัชญา.03.
  • เป็นคำมาจากคำในภาษาสันสกฤต 2 คำคือ “ปร”กับ “ชะญา” ปร แปลว่า ประเสริฐ เลิศ วิเศษ ส่วน ชญา แปลว่า ความรู้ ดังนั้น เมื่อรวมปร กับ ชญา เข้าด้วยกันจึงเป็น ปรัชญา แปลว่า “ความรู้อันประเสริฐ” ซึ่งหมายถึง “ความรอบรู้, ความรู้ทั่ว, ความฉลาดอันเกิดแต่การเรียนและคิด”04.

       หากเรานิ่งสงบ และมีเวลาไตร่ตรอง เราก็อาจจะอดสงสัยไม่ได้เกี่ยวกับตัวเรา โลกรอบ ๆ ตัวเรา และตำแหน่งที่เราอยู่ในโลก ด้วยความสามารถทางปัญญาของเราก็ช่วยให้เราหาเหตุผลและข้อสงสัยได้ ไม่ว่าเราอาจจะรู้สึกตระหนักรู้หรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อใดที่เราใช้เหตุผล เราก็กำลังคิดตามหลักปรัชญา. ปรัชญาเป็นเรื่องของกระบวนการหาคำตอบโดยใช้เหตุผล นักปรัชญาจะไม่พอใจกับคำอธิบายเดิม ๆ ที่กำหนดไว้ตามศาสนาและประเพณีหรือกลุ่มอำนาจเดิม ๆ ในสมัยกรีกและจีนโบราณ. มีการจัดตั้ง "สำนักแนวคิด - School" ซึ่งมิได้มีแค่หาข้อสรุปเท่านั้น แต่มีการสนับสนุนการวิพากษ์วิจารณ์แนวคิดต่าง ๆ แนวคิดใหม่เกิดขึ้นจากการอภิปราย การตรวจสอบ การวิเคราะห์ และการวิจารณ์แนวคิดของผู้อื่น.

การอภิปรายและการสนทนา (Debate and dialogue)
       นักปรัชญาที่เป็นแบบฉบับในเรื่องนี้ คือ โสกราตีส ท่านจะวางเฉย ท่านไม่ทิ้งงานเขียนใด ๆ หรือแม้แต่แนวคิดสำคัญใด ๆ มาเป็นข้อสรุปถึงแนวความคิดของท่าน แท้จริงแล้ว ท่านภูมิใจและตระหนักอยู่แล้วว่าตนนั้นฉลาด เพราะท่านทราบดีว่าตนไม่รู้อะไรเลย (ในบริบทที่กำลังจะอภิปราย). ท่านได้สร้างมรดกด้วยการเป็นประเพณีกำหนดไว้ในการถกเถียงอภิปราย โดยตั้งคำถามถึงสมมติฐานของผู้อื่นเพื่อให้ได้รับความเข้าใจอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นและดึงความจริงพื้นฐานออกมา. งานเขียนของเพลโตซึ่งเป็นศิษย์คนสำคัญของท่าน มักจะอยู่ในรูปแบบของบทสนทนาเสมอ โดยมีท่าน (โสกราตีส) เป็นตัวละครหลัก. ซึ่งปราชญ์รุ่นหลัง ๆ ได้นำแนวการเสวนาเช่นนี้มาใช้เพื่อนำเสนอแนวคิดของตน โดยมีการโต้แย้งระหว่างกันไปมา มากกว่าการใช้เหตุผลและข้อสรุปง่าย ๆ .

       นักปรัชญาที่นำเสนอแนวคิดของตนต่อโลกจะต้องพบกับความคิดเห็นที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "ใช่ แต่ ..." หรือ "จะเป็นอย่างไร ถ้า ..." แทนที่จะยอมรับอย่างสุดจิตสุดใจ. แต่ในความเป็นจริงแล้ว นักปรัชญามีความเห็นที่ขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในเกือบทุกแง่มุมของปรัชญา. ตัวอย่างเช่น เพลโต กับ อริสโตเติล ซึ่งเป็นลูกศิษย์คนสำคัญของท่าน มีมุมมองที่ขัดแย้งกันแบบตรงข้าม คนละมุม (Diametrically) เลยทีเดียว เกี่ยวกับคำถามเชิงปรัชญาพื้นฐาน และแนวคิดที่แตกต่างกับของทั้งสองได้แบ่งความคิดเห็นในหมู่นักปรัชญานับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา. ซึ่งสิ่งนี้ได้กระตุ้นให้เกิดการอภิปรายและแนวคิดใหม่ ๆ มากขึ้น.

       แต่เป็นไปได้อย่างไรที่คำถามเชิงปรัชญาเหล่านี้ยังคงถูกเถียงและอภิปราบกันอยู่เล่า? เหตุใดนักคิดจึงไม่มีคำตอบที่ชัดเจน? "คำถามพื้นฐาน" เหล่านี้ที่ปราชญ์ทุกยุคทุกสมัยต้องต่อสู้ดิ้นรนคืออะไร?


 
หน้าที่ 02
การดำรงอยู่และองค์ความรู้ (Existence and knowledge)
        เมื่อปราชญ์ที่แท้จริงกลุ่มแรกปรากฎตัวขึ้นในสมัยกรีกโบราณ (ซึ่งแท้จริงแล้วยังมีมหาคุรุจากหลากหลายสำนักบังเกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นเทวนิยมยุคเริ่มแรก ก่อนหน้านี้หรือระยะเวลาใกล้เคียงกันในภารตะชมพูทวีป ทั้งที่เป็นนักพรตพระเวท และนักพรตในลัทธิบูชาไฟ - Zoroaster ซึ่งเคลื่อนย้ายจากพื้นที่ในอาณาจักรเปอร์เซียข้ามเทือกเขาฮินดูกูชมายังภารตะ) เมื่อประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว โลกรอบตัวเหล่าปราชญ์เองแหละที่กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกประหลาดใจ พวกเขาเห็นโลกและสิ่งมีชีวิตรูปแบบต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ และดวงดาวต่าง ๆ ; และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น สภาพอากาศ แผ่นดินไหว และสุริยุปราคา เหล่าปราชญ์แสวงหาคำอธิบายสำหรับสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด ไม่ใช่ตำนานและตำนานดั้งเดิมเกี่ยวกับเทพเจ้า แต่เป็นสิ่งที่จะสนองความอยากรู้อยากเห็นและสติปัญญาของพวกเขา คำถามแรกที่ครอบงำนักปรัชญายุคแรกเหล่านี้คือ "จักรวาลประกอบด้วยอะไร" ซึ่งในไม่ช้าก็ขยายออกไปจนกลายเป็นคำถามที่กว้างกว่าที่ว่า "สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาตินี้เป็นอย่างไร?".

       นี่คือสาขาหนึ่งของปรัชญาที่เราเรียกว่าอภิปรัชญา (Metaphysics) แม้ว่าตั้งแต่นั้นมาคำถามดั้งเดิมส่วนใหญ่ได้รับการอธิบายโดยวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ แต่คำถามที่เกี่ยวข้องกับอภิปรัชญาเช่น "ทำไมถึงมีบางสิ่งมากกว่าไม่มีอะไรเลย" นั้น กลับไม่ได้รับคำตอบง่าย ๆ .

       เนื่องจากเราเองก็เป็นส่วนหนึ่งของจักรวาลเช่นกัน อภิปรัชญาจึงพิจารณาธรรมชาติของการดำรงอยู่ของมนุษย์และความหมายของการมีสติ เรารับรู้โลกรอบตัวเราอย่างไร และสิ่งต่าง ๆ มีอยู่โดยไม่ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของเราอย่างไร? ความสัมพันธ์ระหว่างจิตใจและร่างกายของเราคืออะไร และมีสิ่งที่เรียกว่าจิตวิญญาณอมตะหรือไม่? สาขาวิชาอภิปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับคำถามเกี่ยวกับการดำรงอยู่ ภววิทยา (Ontology) เป็นหัวข้อใหญ่และเป็นพื้นฐานสำหรับปรัชญาตะวันตกส่วนใหญ่.

       เมื่อนักปรัชญาเริ่มนำความรู้ที่ได้รับมาทดสอบการตรวจสอบอย่างมีเหตุผล คำถามพื้นฐานอีกข้อหนึ่งก็ชัดเจน: “เราจะรู้ได้อย่างไร” การศึกษาธรรมชาติและข้อจำกัดของความรู้เป็นสาขาหลักที่สองของปรัชญา ญาณวิทยา (epistemology).

       หัวใจของคำถามอยู่ที่ว่าเราได้มาซึ่งความรู้ได้อย่างไร เราจะรู้สิ่งที่เรารู้ได้อย่างไร ความรู้บางส่วน (หรือทั้งหมด) มีมาแต่กำเนิด หรือเราเรียนรู้ทุกอย่างจากประสบการณ์? เราจะรู้บางสิ่งบางอย่างจากการให้เหตุผลเพียงอย่างเดียวได้หรือไม่? คำถามเหล่านี้มีความสำคัญต่อการคิดเชิงปรัชญา เนื่องจากเราต้องสามารถตอบความรู้ของเราเพื่อที่จะให้เหตุผลได้อย่างถูกต้อง เรายังจำเป็นต้องกำหนดขอบเขตและขีดจำกัดของความรู้ของเราด้วย มิฉะนั้น เราไม่สามารถแน่ใจได้ว่าเรารู้จริง ๆ ในสิ่งที่เราคิดว่าเรารู้ และไม่ถูก "หลอก" ให้เชื่อด้วยประสาทสัมผัสของเรา.


 
หน้าที่ 03
ตรรกะและภาษา (Logic and language)
       การใช้เหตุผลขึ้นอยู่กับการสร้างความจริงของข้อความ ซึ่งสามารถนำมาใช้สร้างขบวนความคิดที่นำไปสู่ข้อสรุปได้. สิ่งนี้อาจดูเหมือนชัดเจนสำหรับเราในตอนนี้ แต่แนวคิดในการสร้างข้อโต้แย้งที่มีเหตุผลได้แยกปรัชญาออกจากคำอธิบายที่เชื่อโชคลางและทางศาสนาที่มีอยู่ก่อนนักปรัชญายุคแรก. นักคิดเหล่านี้ต้องคิดค้นวิธีที่จะทำให้ความคิดของตนมีความถูกต้อง.

       สิ่งที่เกิดขึ้นจากการคิดของเหล่าปราชญ์คือ ตรรกะ ซึ่งเป็นเทคนิคในการให้เหตุผลซึ่งค่อย ๆ ได้รับการขัดเกลาเมื่อวันเวลาผ่านไป. ซึ่งตอนแรกนั้น ตรรกะเป็นเพียงเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการวิเคราะห์ว่าข้อโต้แย้งเป็นชิ้นเป็นอันหรือไม่ ตรรกะได้พัฒนากฎเกณฑ์และแบบแผน และในไม่ใช้ก็กลายเป็นสาขาวิชาอีกแขนงหนึ่งของวิชาปรัชญาที่ขยายตัวออกไป.

       เช่นเดียวกับวิชาปรัชญาอื่น ๆ ตรรกะมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับวิทยาศาสตร์ และโดยเฉพาะคณิตศาสตร์ โครงสร้างพื้นฐานของการโต้แย้งเชิงตรรกะ เริ่มต้นจากหลักฐานและดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ จนถึงข้อสรุป ซึ่งจะเหมือนกับการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ จึงไม่น่าแปลกใจที่นักปรัชญามักจะหันมาใช้คณิตศาสตร์เพื่อเป็นตัวอย่างของความจริงที่ชัดเจนและไม่อาจโต้แย้งได้ หรือนักคิดที่ยิ่งใหญ่หลายท่าน ตั้งแต่พีทาโกรัส จนไปถึง เรอเน เดส์คาร์ต์ส์ ตลอดจน กอทท์ฟรีด ไลป์นิซ ต่างก็เป็นนักคณิตศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จเช่นกัน.

       แม้ว่าตรรกะอาจจะดูเหมือนเป็นสาขาปรัชญาที่ "เป็นวิทยาศาสตร์" แม่นยำที่สุด แต่เป็นสาขาที่มักจะกำหนดว่าสิ่งนั้นถูกสิ่งนั้นผิด ทว่าเมื่อพิจารณาในรายละเอียดลงลึกก็แสดงให้เห็นว่ามันไม่ได้ง่ายเช่นนั้น. ความก้าวหน้าทางคณิตศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก่อให้เกิดคำถามต่อกฎเกณฑ์ตรรกะที่ อริสโตเติล กำหนดไว้ แม้แต่ในสมัยโบราณ ความขัดแย้งอันโด่งดังของ ซีโนแห่งเอเลีย (Zeno of Elea) ก็บรรลุข้อสรุปที่ไร้สาระจากการโต้แย้งที่ดูเหมือนจะไม่มีข้อบกพร่อง.

       ปัญหาส่วนใหญ่คือตรรกะทางปัญญานั้น ไม่เหมือนคณิตศาสตร์ คือแสดงออกมาเป็นคำมากกว่าตัวเลขหรือสัญลักษณ์ และอยู่ภายใต้ความคลุมเครือและรายละเอียดปลีกย่อยทั้งหมดที่มีอยู่ในภาษา. การสร้างข้อโต้แย้งที่มีเหตุผลเกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาอย่างรอบคอบและถูกต้อง ตรวจสอบข้อความและข้อโต้แย้งของเราเพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งเหล่านั้น หมายถึงสิ่งที่เราคิดว่าหมายถึง และเมื่อเราศึกษาข้อโต้แย้งของผู้อื่น เราก็ต้องวิเคราะห์ไม่เพียงแต่ขั้นตอนเชิงตรรกะที่พวกเขาทำ แต่ยังรวมถึงภาษาที่พวกเขาใช้ด้วย เพื่อดูว่าข้อสรุปของพวกเขาเป็นชิ้นเป็นอันหรือไม่. จากกระบวนการนี้ยังมีปรัชญาอีกสาขาหนึ่งที่รุ่งเรืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งก็คือ ปรัชญาของภาษา (The Philosophy of language) ซึ่งตรวจสอบคำศัพท์และความหมาย.


 
หน้าที่ 04
คุณธรรม ศิลปะ และการเมือง (Morality, art, and politics)
       เนื่องจากภาษาของเราไม่ชัดเจน นักปรัชญาจึงพยายามอธิบายความหมายให้กระจ่างในการค้นหาคำตอบสำหรับคำถามเชิงปรัชญา คำถามประเภทที่โสกราตีสถามชาวเอเธนส์ ซึ่งท่านพยายามจะเข้าใจถึงสิ่งที่พวกเขาเชื่อจริง ๆ ว่าเป็นแนวคิดบางอย่าง ท่านจะถามคำถามที่ดูเรียบง่าย เช่น "ความยุติธรรมคืออะไร" หรือ "ความงามคืออะไร" ไม่เพียงแต่เพื่อล้วงเอาความหมายเท่านั้น แต่ยังเพื่อสำรวจแนวคิดด้วย. ในการอภิปรายประเภทนี้ โสกราตีสท้าทายสมมติฐานเกี่ยวกับวิธีการใช้ชีวิตของเรา และสิ่งที่เราถือว่ามีความสำคัญ.

       การตรวจสอบความหมายของการมีชีวิตที่ "ดี" แนวคิดเช่น ความยุติธรรมและความสุขหมายถึงอะไรจริง ๆ และวิธีที่เราจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว และวิธีที่เราควรปฏิบัติตน ก่อให้เกิดพื้นฐานสำหรับสาขาปรัชญาที่เรียกว่าจริยธรรม (ethics) (หรือปรัชญาทางศีลธรรม - moral philosophy); และสาขาที่เกี่ยวข้องอันเนื่องมาจากคำถามว่าอะไรคือความงามและศิลปะ ที่เรียกว่า สุนทรียศาสตร์ (aesthetics).

       จากการพิจารณาคำถามด้านจริยธรรมเกี่ยวกับชีวิตของแต่ละบุคคล ถือเป็นขั้นตอนปกติที่จะเริ่มคิดถึงสังคมที่เราอยากอยู่ - ควรปกครองอย่างไร สิทธิและความรับผิดชอบของพลเมือง และอื่น ๆ . ปรัชญาการเมือง (Political philosophy) ซึ่งเป็นสาขาหลักสุดท้ายของปรัชญา เกี่ยวข้องกับแนวคิดเหล่านี้ และนักปรัชญาได้เสนอแบบจำลองว่าพวกเขาเชื่อว่าสังคมควรได้รับการจัดระเบียบอย่างไร ตั้งแต่หนังสือ "สาธารณรัฐ - Republic" ของ เพลโต ไปจนถึง แถลงการณ์คอมมิวนิสต์ ของ คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx's Communist Manifesto).
 
 
หน้าที่ 05
ศาสนา: ตะวันออกและตะวันตก (Religion: East and West)
       สาขาวิชาปรัชญาต่าง ๆ ไม่เพียงแต่เชื่อมโยงถึงกันเท่านั้น แต่ยังทับซ้อนกันอย่างมาก และบางครั้งก็ยากที่จะกล่าวว่าแนวคิดใดเข้าข่ายสำนักใด ปรัชญายังรุกล้ำสาขาวิชาที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง รวมถึงวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และศิลปะด้วย. จุดเริ่มต้นในการตั้งคำถามต่อหลักคำสอนของศาสนาและความเชื่อทางไสยศาสตร์ ปรัชญายังคงตรวจสอบศาสนาด้วย โดยเฉพาะการถามคำถามเช่น "พระเจ้ามีจริงหรือไม่" และ "เรามีจิตวิญญาณอมตะหรือไม่?" คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่มีรากฐานมาจากอภิปรัชญา แต่มีนัยยะในด้านจริยธรรมด้วย ตัวอย่างเช่น ปราชญ์บางท่านถามว่าศีลธรรมของเรามาจากพระผู้เป็นเจ้าหรือไม่ หรือ เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นจากมนุษย์ล้วน ๆ และสิ่งนี้ทำให้เกิดข้อถกเถียงกันทั้งหมดว่ามนุษยชาติมีเจตจำนงเสรีมากน้อยเพียงใด.

       ในส่วนของปรัชญาตะวันออกที่พัฒนารังสรรค์ในจีนและภารตะ (โดยเฉพาะลัทธิเต๋าและพระพุทธศาสนา) นั้น มีเส้นแบ่งระหว่างปรัชญากับศาสนาไม่ค่อยชัดเจนนัก อย่างน้อยก็เป็นวิธีคิดแบบตะวันตกอยู่บ้าง. นี่ถือเป็นความแตกต่างที่สำคัญประการหนึ่งระหว่างปรัชญาตะวันตกกับตะวันออก. แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วปรัชญาตะวันออกไม่ได้เป็นผลมาจากการเปิดเผยของพระผู้เป็นเจ้าหรือหลักคำสอนทางศาสนา (อเทวนิยม) แต่ก็มักจะเชื่อมโยงอย่างซับซ้อนกับสิ่งที่เราจะถือว่าเป็นเรื่องของศรัทธา แม้ว่าการใช้เหตุผลเชิงปรัชญามักใช้เพื่อพิสูจน์ความศรัทธาในโลกของยิว-คริสเตียนและลัทธิทะเลทราย แต่ความศรัทธาและความเชื่อถือเป็นส่วนสำคัญของปรัชญาตะวันออกที่ไม่คล้ายคลึงกันกับโลกตะวันตกเลย. ปรัชญาตะวันออกและตะวันตกก็มีจุดเริ่มต้นที่แตกต่างกัน. ในขณะที่ชาวกรีกโบราณตั้งคำถามเชิงอภิปรัชญา ปราชญ์จีนกลุ่มแรกถือว่าสิ่งเหล่านี้ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมโดยศาสนา และหันมาสนใจปรัชญาทางศีลธรรมและการเมืองแทน.

เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์, ที่มา: commons.wikimedia.org, วันที่เข้าถึง: 24 เมษายน 2567.
 
หน้าที่ 06
การติดตามการให้เหตุผล (Following the reasoning)
       ปรัชญาได้ให้แนวคิดที่สำคัญและมีอิทธิพลมากที่สุดในประวัติศาสตร์แก่เรา ข้อมูลในบล็อกนี้จะพยายามเสนอชุดแนวคิดจากนักปรัชญาที่มีชื่อเสียงที่สุด ซึ่งห่อหุ้มด้วยคำพูดที่รู้จักกันดีหรือบทสรุปที่ลึกซึ้งถึงแนวคิดของบรรดาท่านเหล่านี้. บางทีคำกล่าวที่รู้จักกันดีที่สุดในปรัชญา (ตะวันตก) ก็คือ "cogito, ergo sum" ของ เดการ์ต์ส์ (มักแปลมาจากภาษาละตินว่า "ฉันคิด ดังนั้น ฉันเป็น - I think, therefore I am") ถือเป็นแนวคิดที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งในประวัติศาสตร์ปรัชญา (ตะวันตก) และถือเป็นจุดเปลี่ยนในการคิดอย่างกว้างขวาง ซึ่งนำเราเข้าสู่ยุคสมัยใหม่. อย่างไรก็ตาม คำกล่าวนี้ไม่ได้มีความหมายอะไรมากนัก. มันเป็นบทสรุปของการโต้แย้งเกี่ยวกับธรรมชาติของความแน่นอน และเมื่อเราตรวจสอบเหตุผลที่นำไปสู่สิ่งนั้นเท่านั้น ความคิดจึงจะเริ่มสมเหตุสมผล. และเมื่อเราเห็นว่า เดการ์ต์ส์ เอาแนวคิดนี้ไปทำอะไร - ผลที่ตามมาจากข้อสรุปนั้นเท่านั้นจึงจะมองเห็นความสำคัญของมัน.

       แนวคิดหลายประการในบล็อกนี้อาจดูน่าฉงนเมื่อพิจารณาแวบแรก บางอย่างอาจดูชัดเจนในตัวเอง บ้างก็ขัดแย้งหรือมองข้ามสามัญสำนึก เหล่าปราชญ์อาจดูเหมือนพิสูจน์คำพูดทะเล้น ของ เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ ที่ว่า “ประเด็นของปรัชญาคือการเริ่มต้นด้วยบางสิ่งที่เรียบง่ายจนดูเหมือนไม่คุ้มค่าที่จะกล่าวถึง และจบลงด้วยบางสิ่งที่ขัดแย้งจนไม่มีใครเชื่อ” แล้วเหตุใดแนวคิดเหล่านี้จึงสำคัญเล่า?



ระบบความคิด (Systems of thought)
       บางครั้ง ทฤษฎีที่ปรากฎในบล็อกนี้ เป็นทฤษฎีประเภทแรกที่ปรากฏในประวัติศาสตร์แห่งความคิด. แม้ว่าข้อสรุปของเหล่าปราชญ์อาจดูเหมือนชัดเจนสำหรับเราในตอนนี้ แต่หากเมื่อมองย้อนกลับไป บรรดานักปรัชญาก็ยังเป็นคนใหม่ที่น่าตกใจในยุคนั้น และถึงแม้จะดูเรียบง่าย แต่ก็อาจทำให้เราทบทวนสิ่งที่เรามองข้ามไปอีกครั้ง. ทฤษฎีที่นำเสนอในที่นี้ซึ่งดูเหมือนจะขัดแย้งกันและข้อความที่ขัดกับสัญชาตญาณคือ แนวคิดที่ทำให้เกิดคำถามต่อสมมติฐานของเราเกี่ยวกับตัวเราและโลก - และยังทำให้เราคิดในรูปแบบใหม่เกี่ยวกับวิธีที่เรามองสิ่งต่าง ๆ มีแนวคิดมากมายที่นี่ซึ่งก่อให้เกิดประเด็นที่นักปรัชญายังคงไขปริศนาอยู่ แนวคิดบางอย่างอาจเกี่ยวข้องกับความคิดและทฤษฎีอื่นในสาขาต่าง ๆ ของความคิดของนักปรัชญาคนเดียวกัน หรือมาจากการวิเคราะห์หรือวิจารณ์งานของปราชญ์ท่านอื่น. แนวคิดหลังนี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวการให้เหตุผลที่อาจขยายออกไปหลายชั่วอายุคนหรือกระทั่งหลายศตวรรษ หรือเป็นแนวคิดหลักของ "สำนัก" ของปรัชญาโดยเฉพาะ.

       นักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่หลายท่านได้ก่อตั้ง "ระบบ" ของปรัชญาที่บูรณาการเข้ากับแนวคิดที่เชื่อมโยงถึงกัน ตัวอย่างเช่น ความคิดเห็นของเหล่าปราชญ์เกี่ยวกับวิธีที่เราได้รับความรู้นำไปสู่มุมมองเชิงอภิปรัชญาโดยเฉพาะเกี่ยวกับจักรวาลและจิตวิญญาณของมนุษย์ ในทางกลับกัน สิ่งนี้มีผลกระทบต่อชีวิตแบบที่นักปรัชญาเชื่อว่าเราควรที่จะนำ และสังคมประเภทใดที่จะเป็นอุดมคติ ระบบความคิดทั้งหมดนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับนักปรัชญารุ่นต่อ ๆ ไป.

       เราต้องจำไว้ด้วยว่าแนวคิดเหล่านี้ไม่เคยล้าสมัยเลย บรรดานักปรัชญายังมีอีกมากที่จะบอกเรา แม้ว่านักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อ ๆ ไปจะพิสูจน์ว่าข้อสรุปของพวกเขาผิดก็ตาม. แนวคิดมากมายที่ถูกละเลยมานานหลายศตวรรษได้รับการพิสูจน์ในเวลาต่อมาว่าเป็นสิ่งที่น่าตกใจ เช่น ทฤษฎีของนักอะตอมมิกชาวกรีกโบราณ เป็นต้น ที่สำคัญนักคิดเหล่านี้ได้กำหนดกระบวนการทางปรัชญา วิธีคิด และการจัดระเบียบความคิดของเรา. เราต้องจำไว้ว่าแนวคิดเหล่านี้เป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของความคิดของนักปรัชญา ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นบทสรุปของการให้เหตุผลที่ยาวกว่า.


 
หน้าที่ 07
วิทยาศาสตร์และสังคม (Science and Society)
       แนวคิดเหล่านี้แพร่กระจายมีอิทธิพลไปไกลกว่าวิชาด้านปรัชญา. บางส่วนได้ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวทางวิทยาศาสตร์ การเมือง หรือศิลปะกระแสหลัก. ความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์และปรัชญามักเป็นเรื่องไปมา โดยความคิดจากคนหนึ่งจะแจ้งอีกฝ่ายหนึ่ง. แท้จริงแล้ว ปรัชญาสาขาทั้งหมดศึกษาแนวคิดเบื้องหลังวิธีการและแนวปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์. พัฒนาการของการคิดเชิงตรรกะส่งผลต่อวิวัฒนาการของคณิตศาสตร์และกลายเป็นพื้นฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งต้องอาศัยการสังเกตอย่างเป็นระบบเพื่ออธิบายโลก. ความคิดเกี่ยวกับธรรมชาติของตนเองและจิตสำนึกได้พัฒนาเป็นศาสตร์แห่ง จิตวิทยา (psychology) ขึ้น.

       เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ของปรัชญากับสังคม. จริยธรรมทุกแบบที่พบประสบได้จากผู้นำทางการเมืองตลอดระยะเวลาทางประวัติศาสตร์ที่ผ่าน ได้กำหนดรูปแบบทางสังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และแม้กระตุ้นให้เกิดการปฏิวัติ. การตัดสินใจทางจริยธรรมในวิชาชีพทุกประเภทมีมิติทางศีลธรรมที่ได้รับแนวคิดจากปราชญ์นักคิดผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย.


เบื้องหลังแนวความคิด (Behind the ideas)
       แนวคิดต่าง ๆ ที่แสดงในบล็อกนี้นำมาจากผู้คนที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่หล่อหลอมแนวคิดเหล่านี้. และเมื่อเราตรวจสอบ เราจะเห็นภาพของความเป็นคุณลักษณะเฉพาะในระดับประเทศชาติ ระดับภูมิภาค ตลอดจนรสนิยมในยุคสมัยที่เหล่าปราชญ์ได้ใช้ชีวิตอยู่.

       เหล่าปราชญ์ที่นำเสนอในที่นี้มีบุคลิกลักษณะที่แตกต่างกันออกไป – นักคิดบางท่านมองโลกในแง่ดี ท่านอื่น ๆ ก็อาจจะมองโลกในแง่ร้าย บ้างก็พิถีพิถันในรายละเอียดและวิริยะอุตสาหะ บ้างก็คิดล้างบางอย่างขนานใหญ่ บ้างก็แสดงออกด้วยภาษาที่ชัดเจนและแม่นยำ บ้างก็แสดงออกมาเป็นบทกวี และยังมีภาษาเชิงนามธรรมที่ผนึกแน่นซึ่งต้องใช้เวลาในการแยกแยะมากขึ้น. หากเราได้อ่านแนวคิดเหล่านี้ในข้อความต้นฉบับ เราจะไม่เพียงแต่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เหล่าปราชญ์กล่าวและติดตามเหตุผลที่พวกท่านเหล่านี้ได้ข้อสรุปเท่านั้น แต่ยังจะรู้สึกได้ว่าบุคคลประเภทใดที่อยู่เบื้องหลังแนวคิดนี้ ตัวอย่างเช่น เราอาจจะรู้สึกอบอุ่นกับ ฮูม (David Hume) ผู้มีไหวพริบและมีเสน่ห์ ชื่นชมร้อยแก้วที่ชัดเจนสวยงามของท่าน แต่ก็ไม่ได้รู้สึกเหมือนอยู่ในบ้านดังสิ่งที่ท่านกล่าว หรือพบว่า โชเปนเฮาเออร์ (Schopenhauer) มีทั้งสิ่งที่น่าโน้มน้าวใจและสิ่งที่น่าอ่าน ขณะเดียวกันก็มีความรู้สึกชัดเจนว่าท่านไม่ใช่คนที่ควรน่าชื่นชอบเป็นพิเศษ.

       เหนือสิ่งอื่นใดนักคิดเหล่านี้ (และยังคง) น่าสนใจและกระตุ้นเตือนเรา. ผู้ที่เก่งที่สุดก็คือนักเขียนที่เก่งเช่นกัน และการอ่านงานเขียนต้นฉบับของเหล่าปราชญ์ก็ให้รางวัลพอ ๆ กับการอ่านวรรณกรรม เราไม่เพียงแต่ชื่นชมสไตล์วรรณกรรมของพวกท่านเหล่านี้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงสไตล์เชิงปรัชญาของบรรดาปราชญ์เหล่านี้ด้วย วิธีที่นักคิดนำเสนอข้อโต้แย้งของพวกเขา. นอกจากจะกระตุ้นความคิดแล้ว ยังอาจยกระดับจิตใจได้เท่ากับงานศิลปะที่ยอดเยี่ยม สง่างามราวกับข้อพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ และมีไหวพริบเหมือนวิทยากรหลังอาหารค่ำ.

       ปรัชญาไม่ได้เป็นเพียงเกี่ยวกับความคิดเท่านั้น - แต่ยังเป็นวิธีคิดอีกด้วย. บ่อยครั้งไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิด และนักปรัชญาต่าง ๆ มักจะได้ข้อสรุปที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในการตั้งคำถามที่วิทยาศาสตร์ไม่สามารถอธิบายได้ และศาสนาก็อธิบายไม่ได้เช่นกัน.


ขอให้เพลิดเพลินไปกับปรัชญา (Enjoying philosophy)
       หากความสงสัยและความอยากรู้อยากเห็นเป็นคุณลักษณะของมนุษย์ ความตื่นเต้นในการสำรวจและความสุขในการค้นพบก็เป็นเช่นเดียวกัน. เราสามารถได้รับ “กระแส” จากปรัชญาแบบเดียวกับที่เราอาจได้รับจากการออกกำลังกาย และได้รับความสุขแบบเดียวกับที่เราได้รับจากการชื่นชมศิลปะ. เหนือสิ่งอื่นใด เราได้รับความพึงพอใจจากการได้มาถึงความเชื่อและแนวความคิดที่ไม่ได้สืบทอดหรือบังคับเราโดยสังคม ครู ศาสนา หรือแม้แต่เหล่านักปรัชญา แต่ทว่าได้ผ่านการใช้เหตุผลส่วนบุคคลของเราเอง.
 
หน้าที่ 08
โลกโบราณ: ก่อน พ.ศ.157 ถึง พ.ศ.793 The Ancient World: 700 BCE-250 CE
 A01   ทุกสรรพสิ่งรังสรรค์มาจากน้ำ
 เธลีสแห่งมีเลทัส
 Everything is made of water
 Thales of Miletus
A02  เต๋าที่เล่าแจ้งนั้น หาใช่เต๋า (อันนิรันดร์) ไม่
 
เล่าจื้อ
 The Dao that can be told is not the eternal Dao
 
Laozi
A03  ตัวเลขเป็นนายของรูปแบบและความคิด
 พีทาโกรัส
 Number is the ruler of forms and ideas
 Pythagoras
A04  ความสุขสงบจักมีแก่ผู้ที่เอาชนะอัตตาของตนได้
 สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
 Happy is he who has overcome his ego
 Siddhartha Gautama
A05  พึงยึดถือความซื่อสัตย์และความจริงใจเป็นหลักการแรก
 ขงจื้อ
 Hold faithfulness and sincerity as first principles
 Confucius
A06  ทุกสรรพสิ่งนั้นเลื่อนไหล
 เฮราไคลตัส
 Everything is flux
 Heraclitus
A07  ทุกสรรพสิ่งเป็นหนึ่งเดียว
 พาร์มีดิเนส
 All is one
 Parmenides
A08  มนุษย์เป็นเครื่องวัดสรรพสิ่ง
 โปรทากอรัส
 Man is the measure of all things
 Protagoras
A09  เมื่อใครโยนลูกพีชให้ฉัน ฉันจะคืนให้ด้วยลูกพลัม
 ม่อจื้อ
 When one throws to me a peach, I return to him a plum.
 Mozi
A10  ไม่มีสิ่งใดเลย นอกจากอะตอมและพื้นที่ว่าง
 ดีโมคลิตุส และ ลูซิฟปุส
 Nothing exists except atoms and empty space.
 Democritus and Leucippus
A11  ชีวิตที่ไร้การตรวจสอบ ย่อมไม่คู่ควรที่จะมีชีวิตอยู่
 โสกราตีส
 The life which is unexamined is not worth living.
 Socrates
A12  ความรู้ทางโลกเป็นเพียงแค่เงา
 
เพลโต
 Earthly knowledge is but shadow.
 Plato
A13  ความจริงอยู่ในโลกรอบ ๆ ตัวเรา
 อริสโตเติล
 Truth resides in the world around us.
 Aristotle
A14  สำหรับเราแล้ว ความตายไม่มีสาระอะไรเลย
 เอพิคิวรัส
 Death is nothing to us.
 Epicurus
A15  พระผู้เป็นเจ้าทรงมีทั้งผู้พอใจมากที่สุดและน้อยที่สุด
 ไดออจะนีส แห่ง ซีนอป
 He has the most who is most content with the least.
 Diogenes of Sinope
A16  เป้าหมายของชีวิตคือการอยู่ร่วมสอดคล้องกับธรรมชาติ
 
ซีโนแห่งซิเตียม
 The goal of life is living in agreement with nature.
 Zeno of Citium
 
 
หน้าที่ 09
ภาพนี้มาจากชิ้นส่วนของเรือ พ.ศ.1926 เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์โบโลญญ่า (Bolonha หรือ Bologna) ประเทศอิตาลี, ที่มา: medievalimago.org, วันที่เข้าถึง: 2 เมษายน 2567.
 
โลกยุคกลาง: พ.ศ.793-2043 The Medieval World: 250-1500 CE
 B01   พระผู้เป็นเจ้ามิได้เป็นบุพพการีของความชั่วร้าย
 นักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป
 God is not the parent of evils
 St.Augustine of Hippo
B02  พระผู้เป็นเจ้าทรงมองเห็นความคิดอันอิสระและการกระทำของเรา
 โบเอธีอุส
 God foresees our free thoughts and actions
 Boethius
B03  วิญญาณนั้น อิสระจากร่างกาย
 เอวิเซ่นน่า
 The soul is distinct from the body
 Avicenna
B04  เพียงแค่ระลึกถึงพระผู้เป็นเจ้า เราตระหนักได้เลยว่าพระองค์ทรงดำรงอยู่
 นักบุญแอนเซิล์ม
 Just by thinking about God we can know he exists
 St.Anselm
B05  ปรัชญาและศาสนานั้น เข้ากันไม่ได้
 อแวร์รูอิส
 Philosophy and religion are not incompatible
 Averroes
B06  พระผู้เป็นเจ้าทรงไม่มีคุณลักษณะ
 โมเสส ไมโมนิเดส
 God has no attributes
 Moses maimonides
B07  อย่าเสียใจกับสิ่งที่คุณสูญเสียไป มันจะกลับมาในรูปแบบอื่น
 ญะลาลุดดีน มุฮัมมัด รูมี
 Don't grieve. Anything you lose comes round in another form
 
Jalal ad-Din Muhammad Rumi
B08  จักรวาลไม่ได้มีอยู่จริงเสมอไป
 
นักบุญโทมัส อไควนัส
 The universe has not always existed
 
St.Thomas Aquinas
B09  พระผู้เป็นเจ้ามิใช่สิ่งอื่นใด
 นิโคลัสแห่งคูซา
 God is the not-other
 Nikolaus von Kues
B10  การไม่รู้อะไรเลยคือชีวิตที่มีความสุขที่สุด
 เดซีเดริอุส เอรัสมุส
 To know nothing is the happiest life
 Desiderius Erasmus

 
หน้าที่ 10
การกำเนิดของเทพีวีนัส, จิตรกรอิตาเลี่ยน: ซานโดร บ็อตติเซลลิ, ราว พ.ศ.2023, ผลงานชิ้นสำคัญในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา, เมืองฟลอเรนซ์ อิตาลี, ที่มา: theculturetrip.com, วันที่เข้าถึง: 5 เมษายน 2567.
 
ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและยุคแห่งเหตุผล: พ.ศ.2043-2293 Renaissance and The Age of Reason: 1500-1750 CE
 C01   เมื่อการแสดงสิ้นสุดลง ก็จะเห็นวิธีการ
 
นิคโคโล มาเคียเวลลี
 The end justifies the means
 Niccolò Machiavelli
C02  ชื่อเสียงและความสุขไม่สามารถเป็นเพื่อนคู่ชีวิตได้
 มิเชล เดอ มงแต็ง
 Fame and tranquillity can never be bedfellows
 Michel de Montaigne
C03  ความรู้คืออำนาจ
 ฟรานซิส เบคอน
 Knowledge is power
 Francis Bacon
C04  มนุษย์คือเครื่องจักร
 โทมัส ฮอบส์
 Man is a machine
 Thomas Hobbes
C05  เพราะว่าฉันคิด ฉันจึงเป็นอยู่
 เรอเน เดส์คาร์ต์ส์
 I think therefore I am
 René Descartes
C06  จินตนาการจะตัดสินทุกสิ่ง
 แบลส ปาสกาล
 Imagination decides everything
 Blaise Pascal
C07  พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นต้นเหตุของทุกสรรพสิ่ง ซึ่งอยู่ในพระองค์
 เบเนดิกตุส สปิโนซา
 God is the cause of all things, which are in him
 Benedictus Spinoza
C08  ไม่มีความรู้ของมนุษย์คนใดสามารถไปไกลกว่าประสบการณ์ของเขาได้
 จอห์น ล็อก
 No man's knowledge here can go beyond his experience
 John Locke
C09  ความจริงมีอยู่สองประเภท: ความจริงของการให้เหตุผลและความจริงของข้อเท็จจริง
 กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ฟอน ไลบ์นิซ
 There are two kinds of truths: truths of reasoning and truths of fact
 Gottfried Leibniz
C10  การเป็นการดำรงอยู่คือการถูกรับรู้
 จอร์จ เบิร์คเลย์
 To be is to be perceived
 George Berkeley
 

หน้าที่ 11
คำปฏิญาณที่สนามเทนนิส (ภาพการสาบานร่วมกันของสมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศส ที่ใช้สนามเทนนิสในพระราชวังแวร์ซายส์ เป็นที่ประชุม เมื่อ 20 มิถุนายน พ.ศ.2332/ค.ศ.1789) เมื่อ 20 มิถุนายน พ.ศ.2332, ฝรั่งเศส - ฌาค หลุยส์ เดวิด, ที่มา: art-prints-on-demand.com, วันที่เข้าถึง: 6 เมษายน 2567.
 
ยุคแห่งการปฏิวัติ: พ.ศ.2293-2443 The Age of Revolution: 1750-1900 CE
 D01   ความสงสัยอาจอยู่สภาพที่ไม่น่าพึงพอใจนัก แต่ความแน่นอนนั้นไร้สาระ
 
วอลแตร์
 Doubt is not a pleasant condition, but certainty is absurd
 Voltaire
D02  ประเพณีเป็นแนวทางอันยิ่งใหญ่ของชีวิตมนุษย์
 เดวิด ฮูม
 Custom is the great guide of human life
 David Hume
D03  มนุษย์ถือกำเนิดโดยเสรี แต่ทุกแห่งหนกลับถูกตรวน
 ฌอง-ฌากส์ รุสโซ
 Man was born free yet everywhere he is in Chains
 Jean-Jacques Rousseau
D04  มนุษย์เป็นสัตว์ที่สามารถต่อรองได้
 อดัม สมิธ
 Man is an animal that makes bargains
 Adam Smith
D05  มันมีสองโลก: ร่างกายเราและโลกภายนอก
 
อิมมานูเอล ค้านท์
 There are two worlds: our bodies and the external world
 Immanuel Kant
D06  สังคมนั้นคือสัญญาโดยแท้
 เอ็ดมันด์ เบิร์ก
 Society is indeed a contract
 Edmund Burke
D07  ความสุขที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนั้นมันมีสำหรับจำนวน (หรือปริมาณ) ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
 เจเรมี เบนธัม
 The greatest happiness for the greatest number
 Jeremy Bentham
D08  จิตใจนั้น ไม่มีเพศ
 แมรี่ โวลสโตนคราฟต์
 Mind has no gender
 Mary Wollstonecraft
D09  ปรัชญาประเภทใดที่เราเลือก (ยึดถือ) ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราเป็นคนประเภทใด
 โยฮันน์ กอทท์เลียบ ฟิชเท
 What sort of philosophy one chooses depends on what sort of person one is
 Johann Gottlieb Fitchte
D10  ไม่มีวิชาใดที่มีเรื่องเกี่ยวกับปรัชญาน้อยไปกว่าวิชาปรัชญา
 ฟรีดริช ชเลเกิล
 About no subject is there less philosophizing than about philosophy
 Friedrich Schlegel
D11  ความจริงเป็นกระบวนการทางประวัติศาสตร์
 
เกออร์ก เฮเกล
 Reality is a historical process
 
Georg Hegel
D12  มนุษย์ทุกคนมีขอบเขตการมองเห็นของตนเพียงแค่ระดับขอบเขตของโลกเท่านั้น
 อาร์เธอร์ โชเปนฮาวเออร์
 Every man takes the limits of his own field of vision for the limits of the world
 Arthur Schopenhauer
D13  เทววิทยาก็คือมานุษยวิทยา
 ลุดวิก แอนเดรียส เฟเยอร์บาค
 Theology is anthropology
 Ludwig Andreas Feuerbach
D14  มนุษย์นั้น มีอำนาจเหนือร่างกายและจิตใจของตน
 จอห์น สจ๊วต มิลล์
 Over his own body and mind, the individual is sovereign
 John Stuart Mill
D15  ความวิตกกังวลคืออาการวิงเวียนศีรษะของอิสรภาพ
 ซอเรน เคียร์เคอการ์ด
 Anxiety is the dizziness of freedom
 S
øren Kierkegaard
D16  ประวัติศาสตร์ของสังคมที่มีอยู่จวบจนบัดนี้คือประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ทางชนชั้น
 คาร์ล มาร์กซ์
 The history of all hitherto existing society is the history of class struggles
 Karl Marx
D17  พลเมืองจะต้องลาออกจากจิตสำนึกของเขาต่อสมาชิกสภานิติบัญญัติหรือไม่?
 เฮนรี่ เดวิด ธอโร
 Must the citizen ever resign his conscience to the legislator?
 Henry David Thoreau
D18  พึงพิจารณาว่าสิ่งต่าง ๆ ได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง
 ชาร์ลส์ แซนเดอร์ เพียร์ซ
 Consider what effects things have
 Charles Sanders Peirce
D19  พึงกระทำราวกับว่าสิ่งที่คุณทำได้สร้างความแตกต่าง
 วิลเลียม เจมส์
 Act as if what you do makes a difference
 William James

 
หน้าที่ 12
โลกสมัยใหม่ (จัดทำด้วย AI, Adobe Illustrator), วันที่จัดทำ: 9 เมษายน 2567
 
โลกสมัยใหม่: พ.ศ.2443-2493 The Modern World: 1900-1950 CE
 E01   มนุษย์เป็นสิ่งที่ต้องเหนือกว่า
 ฟรีดริช นีตซ์เช
 Man is something to be surpassed
 Friedrich Nietzsche
E02  ผู้ที่มีความมั่นใจ เข้ามาใกล้ เพ็งพินิจ และพิชิตชัย
 อฮัด ฮาอัม
 Man with self-confidence come and see and conquer
 Ahad Ha'am
E03  ทุกข้อความประดิษฐ์โดยสัญญาณ
 เฟอร์ดินองด์ เดอ โซซูร์
 Every message is made of signs
 Ferdinand de Saussure
E04  ประสบการณ์โดยตัวมันเองนั้น ไม่ใช่วิทยาศาสตร์
 เอ็ดมันด์ ฮุสเซิร์ล
 Experience by itself is not science
 Edmund Husserl
E05  สัญชาตญาณจะดำเนินไปในทิศทางแห่งชีวิต
 อองรี แบร์กซอน
 Intuition goes in the very direction of life
 Henri Bergson
E06  เราคิดเฉพาะเมื่อเราเผชิญกับปัญหาเท่านั้น
 จอห์น ดูอี
 We only think when we are confronted with problems
 John Dewey
E07  ผู้ที่ไม่สามารถจดจำอดีตได้ จะถูกสาปให้ทำซ้ำ
 จอร์จ ซานตายานา
 Those who cannot remember the past are condemned to repeat it
 George Santayana
E08  ความทุกข์ระทม จะหล่อหลอมให้เราเป็นคน
 มิเกล เดอ อูนามูโน
 It is only suffering that makes us persons
 Miguel de Unamuno
E09  จงเชื่อในชีวิต
 วิลเลี่ยม ดู บอยส์
 Believe in life
 William du Bois
E10  เส้นทางแห่งความสุขอยู่ที่การลดจำนวนภาระอย่างเป็นระบบ
 
เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์
 The road to happiness lies in an organized diminution of work
 
Bertrand Russell
E11  ความรักเป็นสะพานเชื่อมจากผู้มีองค์ความรู้น้อยไปสู่ผู้มีองค์ความรู้มาก
 มัคส์ ชีเลอร์
 Love is a bridge from poorer to richer knowledge
 Max Scheler
E12  แม้เป็นเพียงปุถุชนก็สามารถเป็นปราชญ์ได้
 คาร์ล แจสเปอร์
 Only as an individual can man become a philosopher
 Karl Jaspers
E13  ชีวิตเป็นลำดับ (หรือเป็นชุด) ในการปะทะกับอนาคต
 
โฮเซ่ ออร์เตกา อี กาเซต
 Life is a series of collisions with the future
 Jos
é Ortega y Gasset
E14  เพื่อจะเข้าถึงปรัชญา อย่างแรกที่ต้องทำก็คือการชำระใจ
 ฮาจิเมะ ทานาเบะ
 To philosophize, first one must confess
 Hajime Tanabe
E15  ขีดจำกัดด้านภาษา (ของฉัน) ก็คือขีดจำกัดในการเข้าถึงโลก (ของฉัน)
 ลุดวิด วิตเกนสไตน์
 The limits of my language are the limits of my world
 Ludwig Wittgenstein
E16  แม้ตัวเราเองก็เป็นหน่วยที่ต้องถูกวิเคราะห์
 มาร์ติน ไฮเดกเกอร์
 We are ourselves the entities to be analysed
 Martin Heidegger
E17  ทางเลือกแห่งศีลธรรมที่แท้จริงของแต่ละบุคคลมีเพียงประการเดียว ก็คือการเสียสละเพื่อชุมชน
 เทตสึโระ วัตซึจิ
 The individual's only true moral choice is through self-sacrifice for the community
 Tetsuro Watsuji
E18  ตรรกะเป็นองค์ประกอบทางวิทยาศาสตร์ชิ้นสุดท้ายของปรัชญา
 รูดอล์ฟ คาร์นาป
 Logic is the last scientific ingredient of Philosophy
 Rudolf Carnap
E19  วิธีเดียวที่จะรู้จักใครสักคน ก็คือลองรักเขาโดยไม่คาดหวังใด ๆ
 วอลเตอร์ เบนยามิน
 The only way of knowing a person is to love them without hope
 Walter Benjamin
E20  สิ่งนั้นไม่อาจเป็นจริงได้
 เฮอร์เบิร์ต มาร์คัส
 That which is cannot be true
 Herbert Marcuse
E21  ประวัติศาสตร์ไม่ได้เป็นของเรา แต่เราเป็นของมัน
 ฮันส์-เกออร์ก กาดาเมอร์
 History does not belong to us but we belong to it
 Hans-Georg Gadamer
E22  ตราบใดที่ข้อความทางวิทยาศาสตร์กล่าวถึงความเป็นจริง ซึ่งนั่นก็ต้องเป็นเท็จได้
 คาร์ล ปอปเปอร์
 In so far as a scientific statement speaks about reality, it must be falsifiable
 Karl Popper
E23  เชาวน์สติปัญญานั้นอยู่ในหมวดแห่งศีลธรรม
 ธีโอดอร์ อะดอร์โน
 Intelligence is a moral category
 Theodor Adorno
E24  การดำรงอยู่นั้น มาก่อนแก่นแท้
 ฌ็อง-ปอล ซาร์ตร์
 Existence precedes essence
 Jean-Paul Sartre
E25  ความซ้ำซากดาษดื่นของความชั่วร้าย
 ฮันนาห์ อาเรนต์
 The banality of evil
 Hannah Arendt
E26  ความเป็นเหตุเป็นผลนั้นดำรงอยู่ในภาษา
 เอ็มมานูเอล เลวินาส
 Reason lives in language
 Emmanuel Levinas
E27  เพื่อที่จะมองเห็นโลก เราต้องขจัดการยอมรับสิ่งที่เราคุ้นเคยเสียก่อน
 มัวรีส์ แมร์โล-ปงตี
 In order to see the world we must break with our familiar acceptance of it
 Maurice Merleau-Ponty
E28  ผู้ชายถูกกำหนดให้เป็นมนุษย์และผู้หญิงก็ถูกกำหนดให้เป็นสตรีเพศ
  ซีโมน เดอ โบวัวร์
 Man is defined as a human being and woman as a female
 Simone de Beauvoir
E29  ภาษาเป็นศิลปะทางสังคม
 วิลลาร์ด ฟาน ออร์มัน ไควน์
 Language is a social art
 Willard Van Orman Quine
E30  ความรู้สึกพื้นฐานของอิสรภาพคือการเป็นอิสระจากโซ่ตรวน
 ไอเซยาห์ เบอร์ลิน
 The fundamental sense of freedom is freedom from chains
 Isaiah Berlin
E31  จงคิดให้เหมือนดั่งขุนเขา
 อาร์เน แนสส์
 Think like a mountain
 Arne Naess
E32  ชีวิตจะดีขึ้นกว่านี้ หากมันไม่มีความหมาย
 อัลแบรต์ กามูส์
 Life will be lived all the better if it has no meaning
 Albert Camus

 
หน้าที่ 13
ยุคปรัชญาร่วมสมัย, สร้างโดย Bing Copilot AI เมื่อ: 13 เมษายน 2567.
 
ยุคปรัชญาร่วมสมัย: พ.ศ.2493-ปัจจุบัน Contemporary Philosophy: 1950-Present
 F01   ภาษาคือผิวหนัง
 โรล็องด์ บาร์ตส์
 Language is a skin
 Roland Barthes
F02  เราจะจัดการกันอย่างไร หากไร้ซึ่งวัฒนธรรม?
 แมรี่ มิดจ์ลีย์
 How would we manage without a culture?
 Mary Midgley
F03  โดยปกติทั่วไปแล้ว วิทยาศาสตร์ไม่ได้มุ่งเป้าไปที่ความแปลกใหม่ของข้อเท็จจริงหรือทฤษฎี
 โทมัส คูห์น
 Normal science does not aim at novelties of fact or theory
 Thomas Kuhn
F04  หลักการแห่งความยุติธรรมถูกเลือกไว้แล้วเบื้องหลังม่านแห่งความไม่รู้
 จอห์น รอลส์
 The principles of justice are chosen behind a veil of ignorance
 John Rawls
F05  ศิลปะคือรูปแบบหนึ่งของชีวิต
 ริชาร์ด โวลไฮม์
 Art is a form of life
 Richard Wollheim
F06  อะไรก็ได้
 พอล ฟายเออราเบนด์
 Anything goes
 Paul Feyerabend
F07  ความรู้ผลิตขึ้นมาเพื่อออกจำหน่าย
 ฌอง-ฟรองซัวส์ ลีโยตาร์ด
 Knowledge is produced to be sold
 Jean-François Lyotard
F08  สำหรับคนผิวดำ มีเพียงโชคชะตาเดียวเท่านั้นคือ การเป็นคนขาว
 ฟรานทซ์ ฟานง
 For the black man, there is only one destiny and it is white
 Frantz Fanon
F09  มนุษย์เป็นสิ่งประดิษฐ์ล่าสุดเมื่อเร็ว ๆ นี้เอง
 มิเชล ฟูโกต์
 Man is an invention of recent date
 Michel Foucault
F10  หากเราเลือก เราก็สามารถอยู่ในโลกแห่งมายาที่สามารถปลอบประโลมใจได้
 โนม ชอมสกี
 If we choose, we can live in a world of comforting illusion
 Noam Chomsky
F11  สังคมขึ้นอยู่กับการวิพากษ์วิจารณ์ประเพณีของตนเอง
 เยอร์เก้น ฮาเบอร์มาส
 Society is dependent upon a criticism of its own traditions
 J
ürgen Habermas
F12  ไม่มีอะไรอยู่นอกเหนือตำราเลย
 ฌากส์ แดร์ริดา
 There is nothing outside of the text
 Jacques Derrida
F13  ไม่มีอะไรยั่งลึกเข้าไปในตัวเราได้ ยกเว้นสิ่งที่เราได้ใส่ไว้เอง
 ริชาร์ด รอร์ตี
 There is nothing deep down inside us except what we have put there ourselves
 Richard Rorty
F14  ความปรารถนาทุกอย่าง ล้วนสัมพันธ์กับความบ้าคลั่ง
 ลูซ
อิริกาเรย์
 Every desire has a relation to madness
 Luce Irigaray
F15  ทุกอาณาจักรต่างบอกตัวเองและโลกว่าอาณาจักรตนไม่เหมือนกับอาณาจักรอื่น ๆ
 เอ็ดเวิร์ด ซาอิด
 Every empire tells itself and the world that it is unlike all other empires
 Edward Said
F16  ความคิดได้ผลเสมอโดยฝ่ายที่คัดค้าน
 เอแลง ซิกซู
 Thought has always worked by opposition
 Hélène Cixous
F17  ใครเล่นเป็นพระเจ้าในสตรีนิยมยุคปัจจุบัน?
 จูเลีย คริสเตวา
 Who plays God in present-day feminism?
 Julia Kristeva
F18  ปรัชญาไม่ได้เป็นเพียงการประกอบการทื่เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น
 เฮนรี่ ออเดรา ออรูกา
 Philosophy is not only a written enterprise
 Henry Odera Oruka
F19  ในความทุกข์ระทม เหล่าสัตว์ก็เท่าเทียมกับเรา
 ปีเตอร์ ซิงเกอร์
 In suffering, the animals are our equals
 Peter Singer
F20  การวิเคราะห์แบบมาร์กซิสต์ที่ดีที่สุดทั้งหมด มักจะเป็นการวิเคราะห์ที่ล้มเหลวเสมอ
 สลาวอย ชิเชค
 All the best Marxist analyses are always analyses of a failure
 Slavoj Žižek
 

คำศัพท์ คำอธิบาย และที่มา:
01. ใช้โครงสร้างสารบัญหลักมาจาก. The Philosophy Book, ISBN: 978-1-4053-5329-8, ผู้ร่วมเขียนประกอบด้วย Will Buckingham, John Marenbon, Douglas Burnham, Marcus Weeks, Clive Hill, Peter J. King และอีกหลายท่าน, สำนักพิมพ์ DK, จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2554, ประเทศสโลวาเกีย.
02. จาก. เว็บไซต์สถาบันปรีดี พนมยงค์ (Pridi Banomyong Institute), วันที่เข้าถึง: 15 เมษายน 2567.
03. จาก. A History of Western Philosophy, เขียนโดย เบอร์ทรันด์ รัสเซสล์ (Bertrand Russell), แสดงในบทนำหน้าแรก, ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2489, ISBN 0-415-32505-6 (Print Edition) โดยสำนักพิมพ์ George Allen & Unwin Ltd, ลอนดอน, และตีพิมพ์เป็นหนังสือคลาสิกโดย Routledge, ลอนดอน เมื่อ พ.ศ.2547.
04. จาก. www.gotoknow.org/posts/618125, วันที่เข้าถึง: 15 เมษายน 2567.


 
info@huexonline.com