MENU
TH EN

A04. สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า

Title Thumbnail & Hero Image: สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า, พัฒนาเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2568. 
A04. สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
First revision: Feb.26, 2025
Last change: Jun.24, 2025
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง แปล และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา
.
1.
หน้าที่ 1
 
ความสุขสงบจักมีแก่ผู้ที่เอาชนะอัตตาของตนได้
สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
(ก่อนพุทธศักราชที่ 80-0)(ราว ก่อนคริสตกาลที่ 563-483
01) (ราวก่อนคริสตกาลที่ 543-46302)
1.
 สาขาปรัชญา  ปรัชญาตะวันออก - บางครั้งการกำหนดว่าพระพุทธศาสนานั้นเป็นปรัชญาอาจจะไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องนัก กลับกันคือคำว่าปรัชญานั้นอาจอธิบายพระพุทธศาสนาได้เพียงบางส่วนเท่านั้น
 แนวคิดแนวปฏิบัติ  พระพุทธศาสนา
 ก่อนหน้า  - ราว 1,000 ปีก่อนพุทธกาลหรือราว 1,500 ปีก่อนคริสตกาล ศาสนาพระเวทได้เข้ามาถึงอนุทวีปภารตะ.
 - ราว 500 - ช่วงพุทธกาล หรือราวศตวรรษที่ 10-5 ก่อนคริสตกาล ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ได้เข้ามาแทนความเชื่อหรือเสริมความเชื่อด้านศาสนาพระเวท.
 หลังจากนั้น  - ราวพุทธศตวรรษที่ 2 หรือก่อนคริสตกาล 3 ศตวรรษ, พระพุทธศาสนาได้แพร่กระจายไปทางตะวันตกของลุ่มน้ำคงคา และกระจายไปทั่วทั้งภารตวรรษ (भारतवर्ष - Bhāratavarṣa).
 - ราว พ.ศ. 500-600 หรือก่อนคริสตกาล 1 ศตวรรษ มีการนำคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาบันทึกเป็นพระไตรปิฎกฉบับแรก.
 - ราว พุทธศตวรรษที่ 5-6 หรือ คริสต์ศตวรรษที่ 1 ศาสนาพุทธได้แพร่ไปยังประเทศจีน และเอเชียอาคเนย์. มีการแตกแนวปรัชญาออกเป็นหลายนิกาย เกี่ยวโยงในพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไป.
1.
       เจ้าชายสิทธัตถะหรือสมณะโคดม ซึ่งต่อมาได้รับการขนานนามว่าเป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้” ทรงมีพระชนม์ชีพ มีจริยวัตรกิจกรรมต่าง ๆ โลดแล่นอยู่ในภารตวรรษในช่วงที่เรื่องราวทางศาสนาและตำนานของโลกถูกตั้งคำถาม. ในกรีก นักคิดอย่างพีทาโกรัสได้ใช้เหตุผลในการวิเคราะห์จักรวาล และในจีน เล่าจื๊อและขงจื๊อได้แยกหลักจริยธรรมออกจากหลักคำสอนทางศาสนา ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูซึ่งเป็นศาสนาที่วิวัฒนาการมาจากศาสนาพระเวท ซึ่งเป็นความเชื่อโบราณที่มีพื้นฐานมาจากคัมภีร์พระเวทอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นศาสนาหลักในอนุทวีปอินเดียในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตศักราช และสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสิทธัตถะเป็นคนแรกที่ท้าทายคำสอนของศาสนาเหล่านี้ด้วยเหตุผลทางปรัชญา.
หมายเหตุ คำอธิบาย

01. จาก. The Philosophy Book, ISBN: 978-1-4053-5329-8, ผู้ร่วมเขียนประกอบด้วย Will Buckingham, John Marenbon, Douglas Burnham, Marcus Weeks, Clive Hill, Peter J. King และอีกหลายท่าน, สำนักพิมพ์ DK, จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2554, ประเทศสโลวาเกีย.
02จาก. Vincent Smith, "Journal of the Royal Asiatic Society," พ.ศ.2461, หน้าที่ 547.  

1.
2.
หน้าที่ 2
อริยสัจสี่ (The Four Noble Truths)
1.
   ความทุกข์เป็นส่วนหนึ่งของการดำรงอยู่ตั้งแต่เกิด แก่ชรา เจ็บ และตาย.   ===>    ความจริงแห่งความทุกข์ (ทุกข์ - สส. दुःख - Duḥkha, บฬ. Dukkha)
   เหตุแห่งทุกข์ คือ ความอยากในความสุขทางกาย และความยึดติดในทรัพย์สมบัติและอำนาจทางโลก  ===>  ความจริงแห่งบ่อเกิดหรือต้นตอแห่งทุกข์ (สมุทัย - समुदाय - Samudāya)
   ความทุกข์จะยุติลงได้ด้วยการปล่อยวางจากความอยากและความยึดติด.  ===>  ความจริงจากการสิ้นสุดแห่งทุกข์ (นิโรธ - निरोध - Nirodha)
   หนทางทั้ง 8 หรือ มรรคมีองค์ 8 คือหนทางในการขจัดความปรารถนาและเอาชนะความมีตัวตน (อัตตา).  ===>  ความจริงอันเป็นหนทางแห่งการดับทุกข์ (มรรค - मग्ग - Magga)
1.
       แม้ว่าชาวพุทธจะเคารพนับถือในพุทธปัญญาของพระองค์ แต่พระสมเด็จพระโคตมพุทธเจ้าก็ไม่ใช่พระเมสสิยาห์หรือศาสดา (ตามแบบตะวันตก ด้านเทวนิยม) และพระองค์ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ แนวคิดของพระองค์ได้มาจากการคิดหาเหตุผล ไม่ใช่การเปิดเผยจากพระเจ้า ทำให้ศาสนาพุทธเป็นปรัชญาในระดับเดียวกับ (บางทีอาจจะมากกว่า) ศาสนาด้วยซ้ำ การแสวงหาของพระองค์เป็นปรัชญา - เพื่อค้นหาความจริง - และพระองค์ยืนยันว่าความจริงที่พระองค์เสนอนั้นสามารถเข้าถึงได้โดยอาศัยพลังแห่งเหตุผล เช่นเดียวกับนักปรัชญาตะวันออกส่วนใหญ่ พระองค์ไม่สนใจคำถามที่หาคำตอบไม่ได้ในศาสตร์อภิปรัชญาที่ชาวกรีกหมกมุ่นอยู่ การสอบถามนี้เป็นเพียงการคาดเดาที่ไร้เหตุผล พระองค์มุ่งความสนใจไปที่เป้าหมายของชีวิต ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบแนวคิดเรื่องความสุข คุณธรรม และชีวิตที่ “ดี” พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง.

1.
2.

เจ้าชายสิทธัตถะ โคตมะ

วิหารมหามายาเทวี สถานที่ประสูติของพระบรมศาสดา ด้านหน้ามีเสาพระเจ้าอโศกตั้งตระหง่านอยู่ ถ่ายไว้เมื่อ 2 มกราคม 2568 ณ สวนลุมพินี ประเทศเนปาล.

       แทบทั้งหมดที่เราทราบเกี่ยวกับเจ้าชายสิทธัตถะ โคตมะนั้น มาจากพระพุทธประวัติที่เขียนขึ้นโดยอัครสาวกและสาวกของพระองค์หลายศตวรรษหลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ซึ่งมีรายละเอียดแตกต่างกันอย่างมาก. สิ่งที่แน่นอนก็คือเจ้าชายสิทธัตถะทรงประสูติที่ลุมพินี ประเทศเนปาลในปัจจุบัน เมื่อประมาณ 560 ปีก่อนคริสตศักราช พระบิดาของพระองค์เป็นข้าราชการ อาจเป็นหัวหน้าตระกูล และเจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงใช้ชีวิตอย่างสุขสบายและมีฐานะสูงส่ง.

       เจ้าชายสิทธัตถะไม่พึงพอใจกับเรื่องนี้ (การที่มีชีวิตสุขสบาย และได้เหตุสังสารวัฏ เกิด แก่ เจ็บ ตาย - ไม่เป็นหนทางแห่งการพ้นทุกข์) จึงละทิ้งความเป็นคฤหัสถ์ (ผู้ครองเรือน) ทิ้งพระชายา (พระนางยโสธรา) และบุตรชาย (ราหุล) ไปหาหนทางแห่งจิตวิญญาณและค้นพบ "ทางสายกลาง" การไม่ทำความเพียรที่เคร่งครัดเกินไปสุดโต่ง หรือการมุ่งแต่เสพสุขแนวทางจารวาก พระองค์ได้ตรัสรู้บรรลุสัมโพธิญาณเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ใต้ร่มไม้ของพระศรีมหาโพธิ์ ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา และพระบรมศาสดาทรงอุทิศชีวิตพระชนม์ชีพที่เหลือทั้งหมดให้กับการเดินทางไปทั่วภารตวรรษ โดยเฉพาะทางเหนือ และตะวันออก แถบลุ่มแม่น้ำคงคาเพื่อเผยแผ่พระธรรม หลังจากที่พระบรมศาสดาทรงปรินิพพานแล้วนั้น คำสอนหรือพระธรรมของพระองค์ได้รับการถ่ายทอดทางวาจา (มุขปาฐะ) เป็นเวลาร่วม 400 ปี ก่อนที่จะนำไปจารึกลงในพระไตรปิฎก01.


ทางสายกลาง
       ในช่วงพระชนม์ชีพแรก ๆ ของสมเด็จพระบรมศาสดานั้น พระองค์คือเจ้าสิทธัตถะ ซึ่งได้ทรงเสพสุขจากความหรูหราและความสุขทางกามทั้งหลาย. อย่างไรก็ตาม พระองค์ได้ทรงตระหนักว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เพียงพอที่จะนำมาซึ่งความสุขที่แท้จริง พระองค์ทรงตระหนักรู้ถึงความทุกข์ในโลกและทรงเห็นว่าส่วนใหญ่แล้ว ความทุกข์เกิดจากความเจ็บป่วย ความแก่ชรา ความตาย และการขาดแคลนสิ่งที่มนุษย์ต้องการ.
หมายเหตุ คำอธิบาย

01. ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 พระไตรปิฏก (บาลี: तिपिटक ติปิฏก; สันสกฤต: त्रिपिटक ตฺริปิฏก - Tipitaka - สามตะกร้า)  ตามที่พระสาวก พระภิกษุในกาลต่อมาได้กล่าวไว้ ประกอบด้วย พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก ในการสังคายนาคำสอนของพระพุทธเจ้าในสองครั้งแรกนั้น เรียกว่าพระธรรมวินัย จนกระทั่งการสังคายนาครั้งที่ 3 ได้แยกเนื้อหาเกี่ยวกับปรมัตถธรรมออกมาเป็นอีกหมวดหนึ่งเรียกว่าพระอภิธรรมปิฎก.
1.
2.
หน้าที่ 3
พระองค์ยังทรงตระหนักด้วยว่า ความสุขทางกายที่เราเสพเพื่อคลายทุกข์นั้นมักไม่ทำให้เกิดความพอใจ และเมื่อทำให้เกิดความพอใจ ผลที่เกิดขึ้นก็เป็นเพียงสิ่งชั่วคราวเท่านั้น.
1.
2.
3.

 
humanexcellence.thailand@gmail.com