Title Thumbnail & Hero Image: จาก: www.carloscardosoaveline.com, วันที่เข้าถึง: Sep.24, 2020.
ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 1
First revision: Sep.30, 2020
Last change: Jun.28, 2024
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย อภิรักษ์ กาญจนคงคา.
ในมหาบรรพ มหาองค์ความรู้ทั้งสองเล่มนี้ ผมได้นำผลงานชิ้นสำคัญอันเอกอุ ของมหาปราชญ์นามอุโฆษ ฯพณฯ สรวปัลลี ราธากฤษณัน (Servepalli Radhakrishnan) มาแปล เพิ่มคำอธิบาย เสริมองค์ความรู้จากแหล่งอ้างอิงต่าง ๆ และแสดงภาพประกอบ ปริวรรตด้วยความเคารพ จากหนังสือ "INDIAN PHILOSOPHY Volume 1 & 2" ใคร่ขออัญชลี ใคร่ขออนุญาตนำผลงานของท่านมหาบัณฑิต มหาคุรุ ซึ่งสถิตในสรวงสวรรค์ หรือภพภูมิที่สูงส่งมีลำคลื่นความถี่อันละเอียดประณีต มาเผยแพร่แก่ผู้สนใจใคร่ศึกษาครับ.
ผมใคร่ขออุทิศคุณความดีทั้งมวลที่ผมอาจจักได้รับแก่คุณพ่อเลื่อน และคุณแม่อนงค์ กาญจนคงคา ที่ได้เอ็นดูรักใคร่ผมอย่างสุดซึ้ง ผู้เป็นครูสองท่านแรกของผม.
อภิรักษ์ กาญจนคงคา
30 กันยายน 2563
ปรัชญาอินเดีย
ส. ราธากฤษณัน
สำนักพิมพ์อ๊อกซ์ฟอร์ด อินเดีย
สำนักพิมพ์หนังสือปกอ่อน อ๊อกฟอร์ด อินเดีย
ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 1
INDIAN PHILOSOPHY
ส. ราธากฤษณัน
[ปกหลัง]
สำนักพิมพ์ปกอ่อน อ๊อกซ์ฟอร์ด อินเดีย
ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 1
———————————————————————————
ส. ราธากฤษณัน
เป็นสิ่งที่เรารับทราบกันมานาน ในฐานะที่ปรัชญาอินเดียนั้นเป็นงานชั้นเอก ด้วยการสำรวจบุกเบิกแนวความคิดต่าง ๆ ของอินเดีย ที่ได้รับการยอมรับมายาวนานผ่านประวัติศาสตร์อันซับซ้อน. จากฤคเวทไปถึงศรีรามานุชาจารย์นั้น ราธากฤษณันได้เฝ้าติดตามพัฒนาการของปรัชญาอินเดีย ในขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นถึงการเติบโตในฐานะที่เป็นวัฒนธรรมหนึ่งเดียวของความคิดที่ผ่านมาตลอดยุคสมัย. ปราชญ์แต่ละท่าน และรวมทั้งมุมมองของเหล่าปราชญ์ได้รับการตีความตามข้อโต้แย้งกว้าง ๆ นี้. ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สิ่งที่ผู้ประพันธ์กังวลได้แสดงเป็นตัวอักษรตำราทางปรัชญาโบราณ ด้วยสิ่งที่ดีเลิศอย่างที่สุดของเหล่าปราชญ์ อันสัมพันธ์โยงไปสู่ประเด็นร่วมสมัยทางด้านปรัชญาและศาสนา. มีการเน้นองค์ประกอบที่สำคัญต่าง ๆ ของบรรดาอักษรข้อความและปราชญ์แต่ละท่านได้รังสรรค์นั้น เพื่อพิทักษ์ไม่ให้ความหมายและนัยสำคัญถูกบดบังด้วยรายละเอียด. มันช่างเป็นสิ่งที่คล้ายคลึงหรือเป็นสิ่งที่คู่ขนานกันระหว่างวัฒนธรรมปรัชญาอินเดียและวัฒนธรรมปรัชญาทางตะวันตกที่มักมีการขีดวาดขึ้นเสมอ.
งานเขียนชิ้นนี้ มีความชัดเจนอย่างยิ่ง และกระนั้นก็ยังเปิดให้นักอ่านทั่วไปเข้าถึงได้. เนื้อหาในหนังสือปรัชญาอินเดียเล่มนี้บรรจุ บทนำทั่วไปของปรัชญาอินเดียและครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ฤคเวท ถึงพุทธศาสนา ซึ่งรวมถึงอุปนิษัทและเทวนิยมของภควัทคีตา.
ส. ราธากฤษณัน เป็นนักปรัชญาที่โดดเด่น รัฐบุรุษ และนักประพันธ์. ท่านเป็นผู้แปล พระธรรมบท (สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด) และเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ดมาหลายปี ก่อนที่ท่านจะรับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีของอินเดีย.
ปรัชญาอินเดีย
ปรัชญาอินเดีย
โดย
ส. ราธากฤษณัน
เล่มที่ 1
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด
อาคารห้องสมุดวายเอ็มซีเอ ถนนชัยสิงห์ กรุงนิวเดลลี 110001
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ดเป็นแผนกหนึ่งของมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด. เพื่อเป็นการสานต่อวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยด้านความเป็นเลิศในการวิจัย ทุนการศึกษา และการศึกษาด้วยการเผยแพร่ไปทั่วโลก ใน
อ๊อกซ์ฟอร์ด นิวยอร์ค
เอเธนส์ โอ๊คแลนด์ กรุงเทพฯ โบโกต้า บัวโนสเอเรส กัลกัตตา
เคปทาวน์ เชนไน ดาร์ เอส ซาลาม เดลี ฟลอเรนซ์ ฮ่องกง อิสตันบูล
การาจี กัวลาลัมเปอร์ มาดริด เมลเบอร์น เม็กซิโกซิตี้ มุมไบ
ไนโรบี ปารีส เซาเปาโล สิงคโปร์ ไทเป โตเกียว โตรอนโต วอร์ซอร์
พร้อมบริษัทที่เข้าร่วม ใน
เบอร์ลิน ไอบาดาน
© สำนักพิมพ์อ๊อกซ์ฟอร์ด 1999
พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2466
ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2472 พิมพ์ในอินเดีย พ.ศ.2483
พิมพ์โดยห้าง จอร์จ อัลเลน และอัลวิน จำกัด
การพิมพ์ฉบับปรับปรุงนี้ พิมพ์ในอินเดีย ปี พ.ศ.2532
โดยการเรียบเรียงให้เหมือนฉบับดั้งเดิม
การพิมพ์ครั้งที่เจ็ด ในปี พ.ศ.2537
สำนักพิมพ์ปกอ่อน อ๊อกซ์ฟอร์ด อินเดีย ปี พ.ศ.2539
การพิมพ์ครั้งที่ห้า พ.ศ.2542
ISBN 019 563819 0
พิมพ์ในอินเดียที่ บริษัท รีคา ปริ้นเตอร์ส์ จำกัด กรุงนิวเดลี 110 020
และพิมพ์จัดจำหน่ายโดย แมนซาร์ คาน สำนักพิมพ์อ๊อกซ์ฟอร์ด
อาคารห้องสมุดวายเอ็มซีเอ ถนนชัยสิงห์ กรุงนิวเดลี 110001
บทนำสำหรับการตีพิมพ์ครั้งที่สอง
เป็นเรื่องน่ายินดีที่ทราบว่า ด้วยมีการเรียกร้องให้มีการตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้ขึ้นใหม่. มันแสดงให้เห็นว่า แม้จะมีข้อบกพร่องทั้งหมด แต่ก็ได้ช่วยปลุกเร้าให้เกิดความสนใจในปรัชญาอินเดีย. ในการตีพิมพ์ครั้งใหม่นี้ ข้าพเจ้าไม่ได้ปรับเปลี่ยนอะไรมากนัก แต่ก็ได้เพิ่มหมายเหตุคำอธิบาย โดยตั้งใจว่าจะช่วยคลายข้อสงสัยต่าง ๆ และในภาคผนวก เกี่ยวกับประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงหลายอย่างในกรอบขอบแนวคิดอินเดีย อันได้แสดงไว้ในเล่มแรก. ข้าพเจ้าขอขอบคุณบรรณาธิการของหนังสือชื่อ ใจ สำหรับความเอื้อเฟื้อของท่านอนุญาตให้ข้าพเจ้าได้ใช้เนื้อหาของบทความซึ่งเดิมปรากฎในหน้าบทความของท่านในภาคผนวก (เมษายน พ.ศ.2469).
ในการเตรียมพิมพ์ครั้งนี้นั้น ข้าพเจ้าได้รับความช่วยเหลืออย่างมากจากคำแนะนำของสหายข้าพเจ้า ศาสตราจารย์ เอ็ม หิริยันนะ แห่งเมืองมัยซอร์.
พฤษภาคม พ.ศ.2472.
7
บทนำ
แม้ว่าโลกได้เปลี่ยนไปอย่างมากแล้วในด้านวัตถุภายนอก ทั้งวิธีการสื่อสาร สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ ฯลฯ แต่ในด้านจิตใจวิญญาณภายในแล้วก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ . พลังดั้งเดิมของความหิวโหยและความรัก และความปรีดาน้อย ๆ และความกลัวที่เรียบง่ายของหัวใจ ยังคงเป็นสิ่งถาวรในธรรมชาติมนุษย์. ผลประโยชน์ที่แท้จริงของมนุษยชาติ ความหลงไหลที่หยั่งลึกทางด้านศาสนา และปัญหาอันใหญ่หลวงของปรัชญา ไม่ได้ถูกทดแทนเหมือนวัตถุภายนอก. ด้วยแนวคิดของอินเดียนับเป็นบทหนึ่งของประวัติศาสตร์แห่งจิตใจมนุษย์ ซึ่งเต็มไปด้วยความหมายที่จำเป็นยิ่งสำหรับเรา. แนวคิดต่าง ๆ ของบรรดานักคิดที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ล้าสมัย. การรุดก้าวเคลื่อนตัวของเหล่านักคิด ดูเหมือนจะเป็นการสังหารพวกเหล่านักคิดเอง. โดยมากแล้วสีสันของสิ่งคร่ำครึหรือจินตนาการที่เก่าแก่ที่สุด บางครั้งก็ทำให้เราตกอกตกใจ ทั้งนี้ด้วยคุณลักษณะทันสมัยอันโดดเด่น สำหรับสิ่งที่ผนึกในแนวคิดนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความทันสมัยแต่อย่างใด.
ความไม่รู้ถึงสารัตถะแห่งแนวคิดอินเดียซึ่งเป็นสิ่งที่ลึกซึ้งยิ่งนักนั้น. การที่จะให้ใจทันสมัยทางด้านปรัชญาอินเดียได้นั้น มีความคิดสองหรือสามประการอัน “ไร้สาระ” เกี่ยวกับมายา01. หรือความหลงผิดของโลก กรรม หรือความเชื่อในโชคชะตา และทยาคะ02. หรือสิ่งที่นักพรตปรารถนาในอันที่ขจัดเนื้อหนังออกไป. แม้แต่ประจุความคิดง่าย ๆ ที่กล่าวกัน อันได้พันห่อไว้เฉพาะและเมฆหมอกอันอลหม่านมีไอพวยพุ่งและถ้อยคำอันฟุ่มเฟือย ถูกเฝ้ามองตามด้วย "ชาวพื้นเมือง” มองว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์แห่งสติปัญญา. หลังจากการท่องเที่ยวราวหกเดือนจากเมืองกัลกัตตาไปยังแหลมโคโมริน สุนทรีย์สมัยใหม่ของเรา เราได้มองข้ามวัฒนธรรมและปรัชญาของอินเดียทั้งมวล ด้วยเป็น “ลัทธิที่เชื่อว่ามีพระเจ้าอยู่ทุกแห่ง - pantheism” “ลัทธินักวิชาการที่ไร้ค่า” เป็นเพียงแค่การเล่นกับคำพูดเท่านั้น “ในทุกเหตุการณ์ไม่มีอะไรที่คล้ายกับเพลโต หรือ อริสโตเติล หรือแม้แต่พโลตินัส03. หรือเบคอน.”
---------------
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. มายา (माया - māyā) รายละเอียดดูใน หน้าที่ 40-42 ของ จ. บทนำ: ภควัทคีตา.
02. ทยาคะ (त्याग - tyāga) เป็นคำสันสกฤต หมายถึง การสละกิจกรรมที่กระทำด้วยจิตสำนึกทางวัตถุ ทยาคะนี้ มีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ 1) จาคะ (याग - yāga - sacrifice) หมายถึง การสละสิ่งของและความสุขส่วนตัวเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น และหมายรวมถึงการสละละทิ้งกิเลส ละความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความตระหนี่ ความใจแคบ และการเลิกละนิสัย ตลอดถึงความประพฤติที่ไม่ดี ที่ทำให้เกิดความเสียหาย ก่อความบาดหมางทะเลาะเบาะแว้ง, 2) ทาน (दान - dāna - giving) การให้ และ 3) โหม (होम - homa - offering) การเสนอ.
03. พโลตินัส (Plotinus) ดูรายละเอียดใน หมายเหตุ คำอธิบาย 07 หน้าที่ 22 ของ ง. บทนำ: ภควัทคีตา
8
อย่างไรก็ตาม นักศึกษาที่ปราดเปรื่องที่สนใจในเจตจำนงทางปรัชญา จะพบว่าในแนวคิดของอินเดียมีเนื้อหาและรายละเอียดจำนวนมหาศาลที่ไม่ธรรมดา และความหลากหลายนั้นแทบจะไม่เท่าเทียมกันในส่วนอื่น ๆ ของโลก. แทบจะไม่มีวิจารณญาณทางจิตวิญญาณหรือปรัชญาเชิงเหตุผลใด ๆ ในโลกนี้ ที่ไม่มีคู่ขนานในขอบเขตอันกว้างใหญ่ที่อยู่ระหว่างผู้หยั่งรู้พระเวทยุคแรกและไนยายิกะ01.สมัยใหม่. อินเดียโบราณ เพื่อดัดแปลงคำกล่าวของศาสตราจารย์กิลเบิร์ต เมอร์เรย์ ในบริบทอื่นว่า “มีชัยชนะ แม้จะเป็นเรื่องน่าเศร้า แต่ก็มีการแบ่งแยกจากจุดเริ่มต้น ณ จุดที่อยู่ต่ำสุดและดิ้นรนไปอยู่ยอดเขาสูงสุด แม้ว่าจะไม่ปลอดภัยก็ตาม.”1 คำกล่าวที่ไร้เดียงสาของเหล่ากวีพระเวท คำชี้แนะอันน่าพิศวงของอุปนิษัท การวิเคราะห์ทางจิตวิทยาอันน่ามหัศจรรย์ของบรรดาชาวพุทธ และระบบอันน่าทึ่งของศังกราจารย์ ช่างน่าสนใจและเป็นคำแนะนำจากมุมมองด้านวัฒนธรรมพอ ๆ กับระบบของเพลโต02. และอริสโตเติล03. หรือค้านท์04. และเฮเกล05. หากเพียงเราศึกษาแนวคิดของปราชญ์เหล่านี้ด้วยกรอบภายในใจที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง ปราศจากการไม่เคารพนบนอบในเรื่องอดีตหรือดูถูกว่าเป็นคนนอก. ศัพท์เฉพาะของปรัชญาอินเดียนั้น ไม่สามารถแสดงให้เห็นอย่างง่าย ๆ ด้วยภาษาอังกฤษ อธิบายถึงความแปลกใหม่ที่เห็นได้ชัดของภูมิทัศน์ทางเชาว์ปัญญา. หากเอาชนะความยากลำบากภายนอกได้ เราจะรู้สึกถึงการเต้นรัวของหัวใจมนุษย์ เพราะความเป็นมนุษย์หาได้เป็นเพียงอินเดียหรือยุโรปแต่อย่างใด. แม้ว่าแนวคิดอินเดียอาจจะดูไม่มีคุณค่าในมุมแห่งวัฒนธรรม แต่ก็มีสิทธิที่จะนำมาทบทวนกันใหม่ (หากไม่มีเหตุผลอื่น) อย่างน้อยด้วยเหตุผลที่แนวคิดอินเดียที่ตรงกันข้ามกับระบบแนวคิดอื่น ๆ และมันก็มีอิทธิพลอย่างมากต่อชีวิตทางจิตวิญญาณของเอเชีย.
ด้วยการขาดความแม่นยำในการลำดับเหตุการณ์ การเรียกอะไรก็ตามว่าเป็นประวัติศาสตร์ถือเป็นการเรียกที่ผิด. ไม่มีแห่งหนใดที่ยากในการได้รับหลักฐานทางประวัติศาสตร์อันน่าเชื่อถือได้มากเท่ากรณีของแนวคิดอินเดีย. ปัญหาในการกำหนดวันที่ที่แน่นอนของระบบอินเดียในยุคแรกนั้น น่าสนใจพอ ๆ กับการที่-
---------------------
1 บันไดสี่ขั้นของศาสนากรีก, หน้าที่ 15.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. ไนยายิกะ (नैयायिक - Naiyāyika) หมายถึง นักตรรกวิทยา สาวกผู้ติดตามระบบปรัชญานยายะ.
02. เพลโต (Plato) รายละเอียดดูใน บรรดาปราชญ์ผู้ประเสริฐ: เพลโต.
03. อริสโตเติล (Aristotle) รายละเอียดดูใน บรรดาปราชญ์ผู้ประเสริฐ: อริสโตเติล.
04. อิมมานูเอล ค้านท์ (Immanuel Kant) รายละเอียดดูใน บรรดาปราชญ์ผู้ประเสริฐ: อิมมานูเอล ค้านท์.
05. เกออร์ก เฮเกล (George Hegel) รายละเอียดดูใน บรรดาปราชญ์ผู้ประเสริฐ: เกออร์ก เฮเกล.
9
-แก้ไม่ตก, และได้ปรับแต่งพื้นที่ไว้สำหรับสมมติฐานแปลกประหลาดที่สุด การสร้างใหม่ที่แสนมหัศจรรย์และจินตนาการอันกล้าทระนง. สภาพที่แตกเป็นชิ้น ๆ ของวัสดุที่ต้องสร้างประวัติศาสตร์ขึ้นมา ได้ถูกนำมาประกอบสร้างกันใหม่ ซึ่งนี่ก็เป็นอีกหนึ่งอุปสรรค. ในสภาวการณ์เช่นนี้ ข้าพเจ้าต้องลังเลที่จะเรียกงานนี้ว่าประวัติศาสตร์ของปรัชญาอินเดีย.
ในการตีความหลักคำสอนของระบบใดระบบหนึ่งนั้น ข้าพเจ้าได้พยายามที่จะใกล้ชิดสาละวนกับเหล่าเอกสารหนังสือต่าง ๆ ไม่ว่าที่ไหนที่เป็นไปได้ ข้าพเจ้าจะสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับเงื่อนไขทุกครั้งเท่าที่ทำได้ ที่นำมาสู่การมีอยู่ของเหล่าเอกสารนี้ และประเมินบุญคุณของหลักคำสอนในอดีตต่าง ๆ ตลอดจนการที่หลักคำสอนต่าง ๆ นี้ได้มีส่วนร่วมต่อความก้าวหน้าของแนวคิด. ข้าพเจ้าได้มุ่งเน้นถึงความจำเป็นในอันที่จะธำรงความหมายของหลักคำสอนต่าง ๆ ทั้งมวลที่ถูกบดบังด้วยรายละเอียด และพยายามหลีกเลี่ยงที่เริ่มต้นจากทฤษฎีใด ๆ . แต่ข้าพเจ้าก็กลัวว่าจะเข้าใจผิด. งานของนักประวัติศาสตร์นั้นยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านปรัชญา. ไม่ว่าเขาจะพยายามตั้งสมมติเจตคติ (ต่อหลักฐาน) เพียงเล็กน้อยและปล่อยให้ประวัติศาสตร์ได้เปิดเผยเรื่องบางส่วนที่คนนิยม (อยากอ่านอยากได้ยิน) เผยความหมายภายในของมันและดำเนินไป ตกแต่งประเด็นที่กำลังวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับความผิดพลาดของข้อมูลเชิงลึกบางส่วน แต่ก็มิอาจซ่อนคำตัดสิน (ว่าข้อมูลนั้นถูกต้อง) และความเห็นอกเห็นใจของผู้เขียนได้นานนัก. นอกจากนี้แล้ว ปรัชญาอินเดียก็เสนอความยากลำบากอีกประการหนึ่ง. เรามีข้อคิดเห็น ซึ่งเก่ากาล เข้ามาใกล้และเหมาะเหม็งกับเวลาที่งานปรัชญาอินเดียนี้ได้แสดงแนวคิดออกไป. ข้อสันนิษฐานจากแนวคิดอันเก่าครึนี้ จะให้ความกระจ่างเกี่ยวกับความหมายของบรรดาคัมภีร์มากขึ้น. ครั้นเมื่อมีผู้แสดงความคิดเห็นที่แตกต่างเกี่ยวกับการตีความของพวกเขา เราก็ไม่สามารถทนยืนเงียบ ๆ โดยปราศจากการเสนอแนวตัดสินใจเกี่ยวกับมุมมองของข้อโต้แย้งนี้ได้. การแสดงความคิดเห็นส่วนตัวเช่นนี้ แม้ว่าจะอันตรายก็ตามแต่ก็ยากที่จะหลีกเลี่ยงได้. การแสดงออกที่มีประสิทธิผลหมายถึงการวิจารณ์และการประเมิน และข้าพเจ้าไม่คิดว่ามันเป็นเรื่องจำเป็นที่จะละเว้นการวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อที่ข้าพเจ้าจะแถลงอย่างยุติธรรมและเป็นกลาง. ข้าพเจ้าได้แต่หวังว่าเรื่องนี้จะได้รับการปฏิบัติอย่างราบรื่นและข้ามผ่านไป, ข้อบกพร่องใดก็ตามที่ปรากฎขึ้นในหนังสือเล่มนี้ ไม่มี
10
ความพยายามใดที่จะยื้อแย่งข้อเท็จจริง เพื่อให้เหมาะกับความเห็นที่ทึกทักเอาเอง. จุดมุ่งหมายของข้าพเจ้านั้นไม่ได้อยู่ที่การบรรยายถึงมุมมองแนวคิดอินเดียมากนัก เพื่อให้แนวคิดอินเดียเป็นจุดสนใจตามจารีตแนวคิดแบบตะวันตก. การเปรียบเทียบและข้อเสนอแนะระหว่างระบบแนวคิดที่ขนานกันนี้นั้น ไม่ควรได้รับแรงกดดันมากจนเกินไป ด้วยข้อเท็จจริงที่ชัดเจนว่าการคาดการณ์เชิงปรัชญาของอินเดียที่ได้กำหนดจัดวางไว้หลายศตวรรษก่อนนั้น และก็ไม่ได้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จอันยอดเยี่ยมของวิทยาการสมัยใหม่.
ปรัชญาอินเดียบางส่วนได้รับการศึกษาอย่างรอบคอบและถี่ถ้วนโดยเหล่าปราชญ์ที่เฉียบแหลมทั้งในอินเดีย ยุโรป และอเมริกา. วรรณกรรมเชิงปรัชญาบางตอนก็ได้รับการตรวจสอบเชิงวิพากษ์อย่างมีวิจารณญาณเช่นกัน แต่ก็ไม่มีความพยายามที่จะจัดการกับประวัติศาสตร์แนวคิดของอินเดียในลักษณะที่ไม่มีการแบ่งแยกหรือนำมาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยที่นักคิดและมุมมองที่ต่างกันเท่านั้นที่สามารถเข้าใจได้อย่างถ่องแท้. ในการแสดงให้เห็นถึงการเติบกล้าของปรัชญาอินเดีย ตั้งแต่อรุณรุ่งแห่งประวัติศาสตร์ด้วยมุมมองที่แท้จริงนั้น ช่างเป็นภารกิจที่น่าเกรงขามยิ่ง และแน่นอนว่ามันจะเกินกว่าความเข้าใจของบัณฑิตเพียงผู้เดียวที่ขยันหมั่นเพียรและเฝ้าเรียนรู้เป็นที่สุด. อย่างเช่นสารานุกรมปรัชญาอินเดียมาตรฐานนั้น ไม่เพียงแต่ต้องการความถนัดพิเศษเฉพาะและการอุทิศตนอย่างแท้จริงเท่านั้น แต่ยังต้องมีวัฒนธรรมที่เปิดกว้างและการร่วมประสานอันชาญฉลาดอีกด้วย. หนังสือเล่มนี้หาได้เป็นการสำรวจความคิดของชาวอินเดียทั่วไป ๆ ไปไม่ เป็นเพียงโครงร่างสั้น ๆ ของหัวเรื่องที่เปิดกว้างต่างหาก. นี่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย. การควบรวมแนวคิดปรัชญาที่จำเป็นนั้นทำให้ผู้ประพันธ์มีภาระความรับผิดชอบ ซึ่งเพิ่มภาระอีกไม่น้อยจากข้อเท็จจริงที่ว่าไม่มีใครพยายามจะมีอำนาจสิทธิขาดในสาขาการศึกษาความรู้ที่หลากหลายนี้ได้ และผู้ประพันธ์เองก็ถูกบังคับให้ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับหลักฐาน ซึ่งตัวเขาเองก็ไม่สามารถชั่งน้ำหนักได้อย่างรอบคอบได้ ในเรื่องการลำดับเหตุการณ์ ข้าพเจ้าพึ่งพาผลการวิจัยของเหล่าปราชญ์ที่มีความสามารถแทบทั้งหมด. ข้าพเจ้าตระหนักดีว่าการออกสำรวจทุ่งกว้างนี้ ส่วนมาก-
11
ความสนใจถูกปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีใครแตะต้อง และยังมีภาพที่ร่างไว้คร่าว ๆ เท่านั้น. ไม่มีข้ออ้างในแง่ใด ๆ เลยว่างานเขียนชิ้นนี้มีความสมบูรณ์พร้อม. มีความพยายามที่จะให้คำแถลงทั่วไปเกี่ยวกับผลลัพธ์หลักนี้ทำหน้าที่แนะนำเรื่องให้กับผู้ที่อาจจะไม่เป็นที่รู้จัก หากเป็นไปได้แล้วก็จะปลุกเร้ากะเก็งให้เกิดความสนใจกับสิ่งที่ตนมีสิทธิรับรู้. แม้ว่าจะพิสูจน์ได้ว่าล้มเหลว อย่างน้อยก็จะกระตุ้นให้เกิดความพยายามอื่น ๆ ตามมา.
แผนเดิมของข้าพเจ้าคือตีพิมพ์ (ปรัชญาอินเดีย) ทั้งสองเล่มพร้อมกัน. บรรดาสหายที่มีจิตใจงดงามอย่าง ศาสตราจารย์ เจ. เอส. แม็คเคนซี่ แนะนำข้าพเจ้าเห็นว่าควรตีพิมพ์เล่มแรกออกมาทันที. เนื่องจากการเตรียมเล่มที่สองนั้น จะใช้เวลาอีกไม่น้อยทีเดียว และเล่มแรกก็เสร็จสมบูรณ์แล้ว ข้าพเจ้ากล้าที่จะลงทัณฑ์หนังสือเล่มนี้ด้วยการให้มันมีอิสระ. (ปลดปล่อยให้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างอิสระในโลกปรัชญาและวรรณกรรม) ด้วยคุณลักษณะเฉพาะอันมีหลายแง่มุมที่ได้แสดงไว้ในหนังสือเล่มนี้คือ มันมีแรงจูงใจ, แต่ก็ไม่มากพอจากแรงกระตุ้นเชิงตรรกะในอันที่จะอธิบายปริศนาที่ดำรงอยู่ เฉกเช่นความจำเป็นในทางปฏิบัติสำหรับเกื้อหนุนชีวิตไว้. เป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงการอภิปรายถึง สิ่งที่อาจปรากฏต่อผู้อ่าน มีประเด็นทางศาสนามากกว่าปรัชญา เนื่องด้วยความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างศาสนาและปรัชญา จากการคาดเดาของชนชาวอินเดียในยุคแรก ๆ . อย่างไรก็ตาม เล่มที่สองจะมีคุณลักษณะที่เป็นเชิงปรัชญาล้วน ๆ มากกว่า เนื่องจากความสนใจเชิงทฤษฎีส่วนใหญ่นั้น ได้รับความนิยมสูงยิ่งในทรรศนะหรือระบบปรัชญา แม้ว่ามีการเชื่อมโยงที่ใกล้ชิดระหว่างความรู้และชีวิต ซึ่งก็จะไม่ละไปจากสายตาเรา.
เป็นเรื่องน่ายินดีที่ทราบว่าภารกิจของข้าพเจ้านั้นมีต่อนักตะวันออกศึกษาที่มีชื่อเสียงหลายท่าน ซึ่งมีผลงานอันเป็นประโยชน์ซึ่งช่วยเหลือข้าพเจ้ามากในการศึกษาของข้าพเจ้านี้. เป็นไปไม่ได้เลยที่จะเอ่ยนามของพวกเขาเหล่าปราชญ์ทั้งหมดที่จะพบได้ในหนังสือเล่มนี้. อย่างไรก็ตาม ใคร่ขอกล่าวอ้างถึง มัคส์ มึลเล่อร์, เดสเซ่น คีธท์, จาโคบี การ์บ, ภันดาร์คาร์, นายและนาง ไรส์ เดวิดส์, โอลเด้นเบิร์จ โพล์ซิน, ซูซุกิ และ โซเก้น.
12
ผลงานอันทรงคุณค่าหลายชิ้นที่ได้มีการตีพิมพ์เมื่อเร็ว ๆ นี้ เช่น ประวัติปรัชญาอินเดีย ของศาสตราจารย์ดาส กุปตะ และ ศาสนาฮินดูและพุทธศาสนา ของเซอร์ชาร์ล อิลเลียต, ซึ่งออกมาช้าเกินไปสำหรับนำมาใช้งาน (อ้างอิง) หลังจากที่ เอ็มเอส01. เสร็จสมบูรณ์และส่งไปยังสำนักพิมพ์ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2464 แล้ว. บรรณานุกรมที่เตรียมไว้ในตอนท้ายของแต่ละบทนั้นไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นัก. ทั้งนี้มีความมุ่งหมายไว้เป็นข้อแนะนำของผู้อ่านภาษาอังกฤษเป็นหลัก.
ข้าพเจ้าขอขอบคุณศาสตราจารย์ เจ.เอส. แม็กคินซี่ และมร.วี. สุบราห์มันยา ไอย่าร์ ผู้ซึ่งดีพอที่จะอ่านเอ็มเอส. ส่วนใหญ่และบทพิสูจน์ต่าง ๆ ได้. หนังสือนี้ได้รับประโยชน์มากมายด้วยไมตรีจิตและคำแนะนำจากเหล่ามิตรสหาย. ข้าพเจ้าเป็นหนี้บุญคุณศาสตราจารย์ เอ. เบอร์รีเดล คีธ มาก จากการอ่านบทพิสูจน์และการแสดงความคิดเห็นที่ทรงคุณค่า. อย่างไรก็ตามความรู้สึกเป็นบุญคุณอันยิ่งใหญ่ที่สุดของข้าพเจ้า คือด้วยบรรณาธิการของห้องสมุดปรัชญา ศาสตราจารย์ เจ.เอช. มิวเออร์เฮด สำหรับความช่วยเหลืออันล้ำค่าและความใจกว้างอย่างที่สุดของท่าน ในการจัดทำหนังสือสำหรับสื่อมวลชนและก่อนหน้านี้. ท่านทุ่มเทอย่างหนักในการอ่านหนังสือเอ็มเอส. และข้อเสนอแนะและคำวิจารณ์ของท่านนั้นเป็นสิ่งที่ช่วยข้าพเจ้าได้มากที่สุด. ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นหนี้บุญคุณ เซอร์อสูโทสช์ มุคเคอร์ จี เคที, ซี. เอส. ไอ. สำหรับการให้กำลังใจอย่างสม่ำเสมอของท่าน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการทำงานที่ยกระดับขึ้นในแผนกบัณฑิตศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยกัลกัตตา.
พฤศจิกายน 2465
---------------
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. เอ็มเอส MS. หมายถึง มีมางสา สูตร (मीमांसा सूत्र - Mīmāṁsā Sūtra) ซึ่งประพันธ์โดย ฤษีไชยมินิ ราวพุทธศักราชที่ 243-343 (หรือก่อนคริสต์ศักราชที่ 300-200) ท่านเป็นหนึ่งในปราชญ์คนสำคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูโบราณ ท่านเป็นหนึ่งในศิษยานุศิษย์ของมหาฤๅษีวยาส ผู้ประพันธ์ มหาภารตยุทธ.
13
เนื้อหา
|
หน้า |
คำนำของการจัดพิมพ์ครั้งที่สอง |
. . . . . |
5 |
คำนำ |
. . . . . . . . |
7 |
บทที่ 1
|
บทนำ |
. . . . . . . |
21 |
|
คุณลักษณะทั่วไปของปรัชญาอินเดีย – สภาวการณ์ทางธรรมชาติของอินเดีย – การครอบงำประโยชน์ทางภูมิปัญญา – ความเป็นปัจเจกหรือความแตกต่างของปรัชญาอินเดีย – อิทธิพลโลกตะวันตก – คุณลักษณะทางจิตวิญญาณด้านความคิดของชนชาวอินเดีย – ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดของชีวิตและศาสนา – การมุ่งเน้นที่อัตวิสัย – พื้นฐานทางจิตวิทยาของอภิปรัชญา – ความสำเร็จของอินเดียทางด้านวิทยาศาสตร์เชิงบวก – การสังเคราะห์เชิงคาดการณ์และการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ – ตะวันออกครุ่นคิด – อุดมคติความเชื่อว่ามีเพียงปัจจัย (เอกนิยม - Monism) – ความหลากหลาย (ของปรัชญาอินเดีย) การไม่เป็นคู่นิยม (์Non-Dualism, Dualism - แนวคิดทวินิยม) การเชื่อว่ามีเพียงปัจจัยอย่างบริสุทธิ์จริงแท้นิยม (pure monism - เอกนิยมบริสุทธิ์) ความมีเพียงปัจจัยที่ปรับแต่งแล้วนิยม (Modified monism - เอกนิยมที่ปรับแต่งแล้ว) และ ความเชื่อว่ามีปัจจัยโดยปริยาย (Implicit monism - เอกนิยมโดยปริยาย) – พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นทุกสรรพสิ่ง - ธรรมชาติของปรัชญาตามสัญชาตญาณ – ทรรศนะ (दर्शन - Darśana - ภาพอันเป็นมงคล) - คุณสมบัติสำหรับผู้ประสงค์จะเข้าถึงหลักปรัชญาแบบศังกราจารย์ – แนวคิดอนุรักษ์นิยมที่สร้างสรรค์ของแนวคิดแบบอินเดีย – ความเป็นเอกภาพและความต่อเนื่องของแนวคิดอินเดีย – การพิจารณาข้อกล่าวหาบางประการที่แย้งกับปรัชญาอินเดีย เช่นการมองโลกในแง่ร้ายนิยม ลัทธิถือหลักตนเอง (ถือความเชื่อตามคัมภีร์เป็นหลัก) ความไม่แยแสต่อจริยธรรม และคุณลักษณะที่ขาดความก้าวหน้า – คุณค่าของการศึกษาปรัชญาอินเดีย – เหตุผลของชื่อ “ปรัชญาอินเดีย” – วิธีการทางประวัติศาสตร์ – ความยากลำบากของการรักษาตามลำดับเวลา (เพื่อศึกษาว่าปรัชญาแนวคิดไหนมาก่อนหลัง) – ช่วงเวลาต่าง ๆ ของแนวคิดอินเดีย – พระเวท มหากาพย์ ความเป็นระบบ และ เชิงวิชาการ – ประวัติศาสตร์ “อินเดีย” ของปรัชญาอินเดีย. |
|
|
ส่วนที่ 1 |
ยุคพระเวท
|
บทที่ 2
|
บทสวดของฤคเวท . . . . |
63 |
|
พระเวททั้งสี่ – ส่วนต่าง ๆ ของพระเวท มนตรา พราหมณ์ อุปนิษัท – ความสำคัญของการศึกษาบทสวด – วันที่ (ระบุเรื่องราว) และการประพันธ์ – มุมมองที่แตกต่างในการสั่งสอนด้วยบทสวด – แนวโน้มทางด้านปรัชญา – ศาสนา – “เทวา” – ธรรมชาตินิยมและมานุษยวิทยา – สวรรค์และโลกมนุษย์ - พระพิรุณ - ฤทธา – สุริยะ – อุษา – โสม – พระยม – พระอินทร์ - |
|
อาทิ ศังกราจารย์ (Adi Shankara) และสานุศิษย์ ผลงานโดยราชา รวิ วรรมา (Raja Ravi Varma)
ราว พ.ศ.2447 ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ.1904) ที่มา: th.wikipedia.org/wiki/ศังกราจารย์ และ
en.wikipedia.org/wiki/Adi_Shankara, วันที่สืบค้น 6 พฤษภาคม 2560.
14 |
|
หน้า |
|
เทพและเทพีชั้นรองต่าง ๆ – การจำแนกประเภทเทพยดาต่าง ๆ ของพระเวท – แนวโน้มที่นับถือพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว (เอกเทวนิยม) – เอกภาพแห่งธรรมชาติ – แรงกระตุ้นที่หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับภาวะจิตที่เป็นตรรกะ – ผลกระทบของจิตสำนึกทางศาสนา – อติเทวนิยม (Henothesim) – พระวิศวกรรม พระพฤหัสบดี พระประชาบดี และพระหิรัณยกภา – (review again from here) รุ่งอรุณแห่งการวิพากษ์วิจารณ์ – ความไม่เพียงพอทางปรัชญาเอกเทวนิยม-ที่เชื่อว่ามีพระเป็นเจ้าเป็นเทวดาองค์เดียว – เอกนิยม - ความเชื่อที่ว่ามีเพียงปัจจัย – ปรัชญาและศาสนา– การคาดเดาเกี่ยวกับจักรวาลวิทยาของบทสวดพระเวท – นาสาทียะสูกตะ – ความสัมพันธ์ของโลกกับสิ่งที่แน่นอน – ปุรุษะสูกตะ – ศาสนาในทางปฏิบัติ – ผู้สวดมนต์ – เครื่องบูชา หรือ เมธ – กฎทางจริยธรรม – กรรม – การบำเพ็ญทุกรกิริยา – วรรณะ – ชาติหน้า – สองวิถีของบรรดาเทพเจ้าและเหล่าพระบิดา – นรกอเวจี – การเกิดใหม่ – บทสรุป. |
|
บทที่ 3
|
การเปลี่ยนผ่านไปสู่อุปนิษัท . . . . . |
117 |
|
คุณลักษณะทั่วไปของอรรถรเวท – ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม – ศาสนาดั้งเดิมของอรรถรเวท – เวทย์มนต์และอาคมขลัง – ยชุรเวท – พราหมณ์ – ศาสนาแห่งการเสียสละและอธิษฐาน – การมีอำนาจเหนือของนักบวช – อำนาจของพระเวท – จักรวาลวิทยา – จริยธรรม – วรรณะ – ชาติหน้า. |
|
บทที่ 4
|
ปรัชญาของอุปนิษัท . . . . |
137 |
|
บทนำ – ลักษณะที่ลื่นไหลและไม่แน่นอน (เป็นพลวัต) ของการสอนของอุปนิษัท – ผู้ศึกษาจากอัสดงคตประเทศของอุปนิษัท – วัน (ที่ระบุเรื่องราว) – อุปนิษัทเมื่อแรกเริ่ม – เหล่านักคิดผู้ยิ่งยงแห่งยุคสมัย – เปรียบเทียบบทสวดของฤคเวทกับหลักคำสอนของอุปนิษัท – การเน้นเอกนิยม (ด้านเดียวปัจจัยเดียว) ของบทสวด – การขยับศูนย์กลางจากวัตถุไปยังตัวเรื่อง – มุมมองในแง่ร้ายของอุปนิษัท – ผลกระทบในแง่ร้ายของแนวคิดแบบสังสารวัฏ – การต่อต้านลัทธิจากภายนอกของศาสนาพระเวท – สาขาองค์ความรู้ของพระเวท – ปัญหาสำคัญของอุปนิษัท – ความจริงแท้อันสูงส่ง – ธรรมชาติของอาตมันที่แปลกแยกจากร่างกาย จิตสำนึกในความฝันและตัวตนที่ได้ประจักษ์ – แบบนิยมต่าง ๆ ของการมีสติรู้ การตื่น หลับฝัน การหลับไร้ความฝัน และความปิติยินดี – อิทธิพลของการวิเคราะห์ตนเองเชิงอุปนิษัทต่อความคิดที่ตามมา – แนวทางสู่ความจริงแท้จากมุมมองด้านวัตถุ – สาระ ชีวิต สติรู้พร้อม ปัญญา และอานันท์ – ศังกราจารย์และรามานุชาจารย์บนสถานะของอานันท์ – พรหมันและอาตมัน – ทัต ตวัง อสิ – คุณลักษณะเชิงบวกของพรหมัน – สติปัญญาและการหยั่งรู้ – พรหมันและโลก – การรังสรรค์ – หลักคำสอนของมายา – ตรวจสอบมุมมองของเดสเซ่น – ระดับของความจริงแท้ – อุปนิษัทเป็นสรรพเทวนิยมหรือไม่ – ตนเองอันมีข้อจำกัด – จริยธรรมของอุปนิษัท – ธรรมชาติของอุดมคติ – หลักฐานอันเลื่อนลอยสำหรับทฤษฎีทางจริยธรรม – ชีวิตคุณธรรม - คุณสมบัติทั่วไป – การบำเพ็ญทุกรกิริยา – ปัญญานิยม – ญาณ กรรม และ อุปาสนะ – ศีลธรรมและศาสนา – ข้ามพ้นความดีและความชั่วร้าย – ศาสนาแห่งอุปนิษัท – รูปแบบที่แตกต่าง – สภาวะสูงสุดของอิสรภาพ – สิ่งที่คลุมเครือในอุปนิษัท – ความชั่วร้าย – ความทุกข์ – กรรม – คุณค่า – ปัญหาของอิสรภาพ |
|
|
15 |
|
|
หน้า |
|
- ชีวิตในโลกหน้าและความเป็นอมตะ – จิตวิทยาของอุปนิษัท – แนวโน้มที่ไม่เกี่ยวกับเวทานตะในอุปนิษัท – สางขยะหรือสัมขยะ – โยคะ – นยายะ – การประมาณการโดยทั่วไปเกี่ยวกับแนวคิดของอุปนิษัท – การเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคมหากาพย์. |
|
พระมหาวีระ ทรงเป็นสัพพัญญูในศาสนาเชน เกิดความเข้าใจที่สมบูรณ์หรือเกิดภูมิปัญญาอันสูงส่ง, อาสนะที่พระมหาวีระได้ประทับแล้วบรรลุสัพพัญญู (The āsana in which Mahavira attained omniscience), File: Kevalajnana.jpg, created: 2 August 2008, ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 12 พฤษภาคม 2563.
ส่วนที่ 2 |
ยุคมหากาพย์
|
บทที่ 5
|
วัตถุนิยม . . . . . . . |
271 |
|
ยุคมหากาพย์ 600 ปีก่อนคริสตกาล ถึงคริสตกาลที่ 200 – ความปั่นป่วนทางภูมิปัญญา – เสรีภาพแห่งความคิด – อิทธิพลของอุปนิษัท – เงื่อนไขทางการเมืองในยุคมหากาพย์ – กิจกรรมทางปรัชญาอันหลากหลายแง่มุมในยุคมหากาพย์ – แนวโน้มหลักสามประการของการปลดแอกทางจริยธรรม การฟื้นฟูศาสนา และปรัชญาเชิงระบบ – แนวคิดสามัญต่าง ๆ แห่งยุคสมัย – วัตถุนิยม – เรื่องราวก่อนหน้า – คัมภีร์โลกายตะ – ทฤษฎีขององค์ความรู้ – สาระสิ่งของเท่านั้นที่เป็นความจริง – กายและใจ – ไม่มีโลกหน้า – ไม่มีพระเจ้า – จริยธรรมเชิงสุขารมณ์ – การปฏิเสธอำนาจของพระเวท – ผลกระทบของทฤษฎี – การวิพากษ์วิจารณ์ที่ตามมาของวัตถุนิยม. |
|
บทที่ 6
|
พหุสัจนิยมของศาสนาเชน . . . |
286 |
|
ศาสนาเชน – ชีวิตของพระมหาวรรธมานะ – เศวตัมพร (หรือ เศวตามพร) และ ทิคัมพร – วรรณกรรม – ความสัมพันธ์กับพุทธศาสนา – ปรัชญาสางขยะ หรือ สัมขยะและอุปนิษัท – ตรรกะของศาสนาเชน – ความรู้ห้าประเภท – นยาสและส่วนประกอบ – สัปตภังคี – คำวิพากษ์เกี่ยวกับทฤษฎีด้านความรู้ของศาสนาเชน – ผลกระทบของการมีมาตรฐานเดียว – มุมมองทางด้านจิตวิทยาของศาสนาเชน – วิญญาณ – ร่างกายและจิตใจ – อภิธรรมหรืออภิปรัชญาของศาสนาเชน – สสารและคุณลักษณะ – ชีวะ และอชีวะ – อากาศ ธรรม และอธรรม – เวลา – สาระ – ทฤษฎีอะตอม – กรรม – เลศยาส – ชีวะและชีวะประเภทต่าง ๆ – จริยธรรมของศาสนาเชน – เสรีภาพแห่งมนุษย์ – จริยธรรมเปรียบเทียบของศาสนาเชนและพุทธศาสนา – วรรณะ - พระสงฆ์ – เจตคติต่อพระผู้เป็นเจ้า - ศาสนา - นิพพาน – การประเมินแนวคิดปรัชญาสำคัญของศาสนาเชน. |
|
บทที่ 7
|
แนวคิดทางจริยธรรมในยุคแรกของพุทธศาสนา . . |
341 |
|
บทนำ – พัฒนาการของความคิดทางพุทธศาสนา – วรรณกรรมทางพุทธศาสนาในยุคแรก – พระไตรปิฎก – มิลินทปัญหา – วิสุทธิมรรค - ชีวิตและบุคลิกลักษณะของพระพุทธเจ้า – เงื่อนไขของเวลา – โลกแห่งความคิด – ความไร้ประโยชน์ของอภิปรัชญา |
|
16
|
หน้า |
|
– สถานะของศาสนา – ชีวิตคุณธรรม – จริยธรรมอันไม่ขึ้นกับอภิปรัชญาและเทววิทยา – วิธีการเชิงบวกของพระพุทธเจ้า – เหตุผลนิยมของพระองค์ – ศาสนาที่อยู่ในกรอบของเหตุผล – พระพุทธศาสนาและอุปนิษัท – อริยสัจ 4 – ความจริงข้อแรกเกี่ยวกับความทุกข์ – ศาสนาพุทธมองโลกในแง่ร้ายหรือไม่ – ความจริงข้อที่สองเกี่ยวกับเหตุแห่งทุกข์ – ความไม่เที่ยงของสรรพสิ่ง – ความไม่รู้หรืออวิชชา – แนวคิดที่เป็นพลวัตของความจริง – แบร์กซอน – อัตลักษณ์ของวัตถุและการหนุนเนื่องของกระบวนการ – สาเหตุ – ความไม่เที่ยงและชั่วขณะหนึ่ง ๆ – ระเบียบโลก – การเป็นอยู่และการเข้ามายังอุปนิษัทและพุทธศาสนาในยุคแรก – อริสโตเติล ค้านท์ และแบร์กซอน - ศังกราจารย์บนแนวคิดแบบขณิกวาท – ธรรมชาติของการดำรงอยู่ – เป็นภววิสัยหรือเป็นเพียงอัตวิสัยเท่านั้น – ความจริงแท้ภายนอก – ร่างกายและจิตใจ – ปัจเจกชนเชิงประจักษ์ – นัยราทมยวาท ??? – ธรรมชาติของอาตมัน – ทฤษฎีทางด้านจิตวิญาณของนาคเสน – ความคล้ายกับแนวคิดของโฮม – ธรรมชาติของอัตวิสัย - ศังกราจารย์และค้านท์ – จิตวิทยาแนวพุทธศาสนา – ความสัมพันธ์กับจิตวิทยาสมัยใหม่ – การรับรู้ความรู้สึก – ความรักใคร่ เจตน์จำนง และองค์ความรู้ – สมาคม – กรอบขณะของสภาวะจิต – จิตใต้สำนึก – การเกิดใหม่ – ปฏิจจสมุปบาท – นิทาน – อวิชชาและการเชื่อมโยงอื่น ๆ ในห่วงโซ่ – แหล่งของอวิชชาในอภิปรัชญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า – พุทธจริยธรรม – พื้นฐานทางจิตวิทยา – การวิเคราะห์พิจารณาการกระทำหรือกรรม – ความดีและความชั่ว - ทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา – มรรคมีองค์แปด – พุทธญานและปรัชญาโยคะ – สังโยชน์ (กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ 10 อย่าง) – พระอรหันต์ – คุณธรรมและความชั่วร้าย – แรงจูงใจของชีวิตอันทรงศีล – ความล้ำลึกของศีลธรรมในแนวพุทธศาสนา – ต้นทุนของปัญญานิยม – ข้อร้องเรียนเรื่องการบำเพ็ญทุกรกิริยา – ลำดับของการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา - พระสงฆ์ – เจตคติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อการปฏิรูปเรื่องวรรณะและสังคม – อำนาจของพระเวท – ความสำคัญทางจริยธรรมของกรรม – กรรมและอิสรภาพ – การเกิดใหม่ – กลไกของกรรม - นิพพาน – ลักษณะและความหลากหลาย – นิพพานในพระพุทธศาสนาและโมกษะในอุปนิษัท – พระเจ้าในพระพุทธศาสนาระยะแรก – คำวิจารณ์ของการพิสูจน์แบบเดิม ๆ สำหรับการดำรงอยู่ของพระเจ้า – นัยอันสมบูรณ์ของอภิปรัชญาในพุทธศาสนา – การเคารพบูชาพระพุทธเจ้าเหมือนดั่งเป็นพระผู้เป็นเจ้า – การประนีประนอมกันระหว่างศาสนาอื่นที่นิยมกับทฤษฎีองค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนา – การไม่เชื่อเรื่องพระเจ้าในวัตรปฏิบัติของพระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า – ความนิ่งระงับของพระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับปัญหาทางอภิปรัชญา – ค้านท์และพระพุทธเจ้า – การหลีกเลี่ยงไม่ได้ของอภิปรัชญา – ความเป็นหนึ่งเดียวของความคิดระหว่างพระพุทธศาสนากับอุปนิษัท – พุทธศาสนากับทฤษฎีสางขยะ – ความสำเร็จของพระพุทธศาสนา. |
|
บทที่ 8
|
ปรัชญายุคมหากาพย์ . . . . |
477 |
|
การปรับตัวของพราหมณ์นิยม – มหากาพย์ – มหาภารตยุทธ – วัน (ที่ระบุถึงเรื่องราว) – ความสำคัญ – รามายณะ – การหมักบ่มทางศาสนา – แนวคิดทางปรัชญาทั่วไป – การบูชาพระแม่ทุรคา – ระบบ (ลัทธิ) ปศุปตะ – ลัทธิวาสุเทพ-พระกฤษณะ – ไวษณพนิกาย – ศาสนาปัญจตันตระ – อิทธิพลอันน่าสงสัยของคริสต์ศาสนา – จักรวาลวิทยาของมหาภารตยุทธ – แนวคิดด้านสางขยะในมหาภารตยุทธ – แนวคิดด้านกุณะ – จิตวิทยา – จริยธรรม – ภักติ – กรรม – ชีวิตในอนาคต – อุปนิษัทในระยะต่อมา – เศวตอัศวธาราอุปนิษัท – มนูธรรมศาสตร์ – วัน (ที่ระบุถึงเรื่องราว) – จักรวาลวิทยาและจริยธรรม. |
|
|
|
|
17
บทที่ 9
|
|
หน้า |
แนวคิดของภควัทคีตา . . . . |
519 |
|
ความสำคัญของคีตา (ลำนำแห่งพระผู้เป็นเจ้า) ในแนวคิดของอินเดีย – ความสำคัญอันเป็นสากล – วัน (ที่ระบุถึงเรื่องราว) – ความเกี่ยวข้องกับมหาภารตะยุทธ – พระเวท – อุปนิษัท – พระพุทธศาสนา – นิกายภาควตะ – สางขยะและโยคะ – ความคิดของอินเดียเกี่ยวกับคีตา – จริยธรรมของคีตาบนพื้นฐานของอภิปรัชญา – ปัญหาของความจริงแท้ – ความจริงแท้ในโลกเชิงภววิสัยและอัตวิสัย – พรหมันและโลก - ปุรุโษตตมะ – สัญชาตญาณและความคิด – พรา (วรา) ประกฤติและอพรา (อวรา) ประกฤติ – อวตาร – ธรรมชาติของจักรวาล – มายา – การรังสรรค์ – ปัจเจกวิญญาณ – พหุวิญญาณ – การเกิดใหม่ – จริยธรรมของคีตา – เหตุผล เจตน์จำนง และอารมณ์ – ญาณมารค – วิทยาศาสตร์และปรัชญา – ปรัชญาโยคะของปตัญชลิ – ญานิผู้มีความรู้ – ภักติมารค – บุคลิกภาพของพระผู้เป็นเจ้า – จิตสำนึกทางศาสนา – กรรมมารค – ปัญหาของศีลธรรม – มาตรฐานทางศีลธรรม – การกระทำที่ไม่นำพา – กุณะ – ทฤษฎีพระเวทของการบำเพ็ญทุกรกิริยา – วรรณะ – จะสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องโมกษะหรือไม่ – ปัญหาเกี่ยวกับอิสรภาพของมนุษย์ – ชีวิตอันสมบูรณ์พร้อมด้วยจิตวิญญาณ – เสรีภาพขั้นสูงสุดและลักษณะของเสรีภาพ. |
|
บทที่ 10
|
พุทธในฐานะที่เป็นศาสนา . . . |
581 |
|
ประวัติของพระพุทธศาสนาภายหลังการเสด็จปรินิพพานของพระพุทธเจ้า – พระเจ้าอโศก – มหายานนิกายและหินยานนิกาย – พระพุทธศาสนาทางเหนือและทางใต้ – วรรณกรรม – หลักคำสอนของหินยานนิกาย – อภิปรัชญา จริยธรรม และศาสนา – รุ่งอรุณแห่งมหายานนิกาย – อภิปรัชญาของการเชื่อที่ว่ามีเพียงปัจจัย – ศาสนาสำหรับมหายานนิกาย – ความคล้ายคลึงกับภควัทคีตา – จริยธรรมของมหายานนิกาย – ทศปารมิตา – จริยธรรมเปรียบเทียบระหว่างหินยานนิกายและมหายานนิกาย – นิพพาน – ความเสื่อมของพระพุทธศาสนา – อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อความคิดของอินเดีย. |
|
บทที่ 11
|
สำนักต่าง ๆ ของพระพุทธศาสนา . . . . . |
611 |
|
บทนำ – สี่สำนักของความจริงแท้นิยมและอุดมคตินิยม – สำนักไวภาษิกะ หรือ สรวาสติวาท – ธรรมชาติของความจริงแท้ – องค์ความรู้ – จิตวิทยา – สำนักเสาตรานติกะ หรือ สุตตวาท – องค์ความรู้แห่งโลกภายนอก – พระเจ้าและนิพพาน – โยคาจารนิกาย – ทฤษฎีขององค์ความรู้ – ธรรมชาติของอาลยวิญญาณ – อัตวิสัยนิยม – การวิพากษ์วิจารณ์โดยศังกราจารย์และกุมาริละ – ตนเอง – รูปแบบขององค์ความรู้ – ทฤษฎีโยคาจารของโลก – อวิชชาและอาลยะ – นิพพาน – ความคลุมเครือของอาลยวิญญาณ – สำนักมาธยมิกะ – วรรณกรรม – การวิจารณ์แนวมาธยมิกะของโยคาจารนิกาย – ปรากฎการณ์นิยม – ทฤษฎีความสัมพันธ์ – องค์ความรู้สองประเภท – สัมบูรณ์นิยม – สุญญวาท - นิพพาน – จริยธรรม – บทสรุป. |
|
18
|
หน้า |
ภาคผนวก . . . . . . |
671 |
|
วิธีของวิธีการ – จุดยืนในการเปรียบเทียบ – อุปนิษัท – พระพุทธศาสนาในระยะแรก – มุมมองเชิงลบ ผู้ไม่เชื่อเรื่องพระเจ้า และมุมมองในแง่บวก – พระพุทธศาสนาในระยะแรกกับอุปนิษัท – สำนักหรือนิกายต่าง ๆ ของพระพุทธศาสนา – ทฤษฎีแห่งความจริงแท้ของนาครชุน – สุญญวาทและอไทฺวตะ เวทานตะ. |
|
หมายเหตุ . . . . . . . |
705 |
ดรรชนี . . . . . . . |
725 |
19
|
รายการชื่อย่อ
|
|
อ.ว. |
. . |
คัมภีร์อรรพรเวท. |
|
ภ.ค. |
. . |
ภควัทคีตา. |
|
ส.ศ.จ. |
. . |
สารานุกรมด้านศาสนาและจริยธรรม. |
|
บ.อ. |
. . |
โบราณวัตถุของอินเดีย. |
|
ว.ต.อ. |
. . |
วารสารสมาคมอเมริกันตะวันออกศึกษา. |
|
ว.ร.อ. |
. . |
วารสารราชสมาคมตะวันออกศึกษา. |
|
มิลินท์ |
. . |
มิลินทปัญหา. |
|
น.ส. |
. . |
นยายะสูตร. |
|
อ.ส.ด. |
. . |
อักษรสันสกฤตเดิม. |
|
ป. |
. . |
ปัญคาสติกายสมยสาร??? |
|
ป.ม. |
. . |
ปูรวะ-มีมางสาสูตร. |
|
ภ.ร. |
. . |
ภาษยะของศรีรามานุชาจารย์ในเวทานตะสูตร. |
|
ภ.ร.ภ. |
. . |
ภาษยะของศรีรามานุชาจารย์ในภควัทคีตา. |
|
ศ.ภ. |
. . |
ภาษยะของศังกราจารย์ในเวทานตะสูตร. |
|
ศ.ภ.ภ. |
. . |
ภาษยะของศังกราจารย์ในภควัทคีตา. |
|
ค.ส.บ. |
. . |
คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์แห่งบูรพาทิศ. |
|
ค.ส.ฮ. |
. . |
คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดู. |
|
ส.ท.ส. |
. . |
สรรพทรรศนะสังเคราะห์. |
|
ส.ก. |
. . |
สางขยะ การิกา. |
|
สสก. |
. . |
สันสกฤต. |
|
ร.ห.อ. |
. . |
ระบบทั้งหกของปรัชญาอินเดียโดยมัคส์ มึลเล่อร์. |
|
ส.สูตร |
. . |
สางขยะสูตร. |
|
ส.ส.ส.ส. |
. . |
สรวสิทธานตสารสังเคราะห์???. |
|
อป. |
. . |
อุปนิษัท. |
|
ท.ส.อ. |
. . |
ทัตตวารถะสูตรหรือโมกษะศาสตราของอุมาสวาติ???. |
|
ว.ส. |
. . |
เวทานตะสูตร. |
|
ป.พ.ว. |
. . |
คำแปลพระพุทธศาสนาโดยวอร์เรน. |
|
ย.ส. |
. . |
โยคะสูตร. |