MENU
TH EN

A03. บทนำ - มหาภารตยุทธ

การชุมนุมของเหล่านักรบ, การประกอบพิธีอัศวเมธในมหากาพย์มหาภารตะ, ที่มา: พิพิธภัณฑ์ศิลปะฮาร์วาด, www.theindiaforum.in, วันที่เข้าถึง: 31 มกราคม 2566
A03. บทนำ01, 02, 03.
First revision: Jan.31, 2023
Last change: Sep.11, 2023
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรต โดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา.

หน้าที่ 1
ธรรม หรือ ธรรมะ
       ด้วยมหาภารตยุทธนั้น เกี่ยวกับความขัดแย้งกันเองในระหว่างญาติพี่น้องสองฝ่าย นำไปสู่มหาสงคราม 18 วัน และผลที่ติดตามอันยาวนาน หากพิจารณาในระดับลึกลงไป ผู้คนจำนวนมากสามารถตอบได้ว่ามันเกี่ยวกับ "ธรรมะ".

       ธรรมะไม่ใช่แนวคิดที่ตอบโดยตรงหรือแม้แต่โดยประมาณกับคำศัพท์ในภาษาอังกฤษใด ๆ คำว่า "กฎหมาย" "หน้าที่" "คุณธรรม" "ศีลธรรม" และแม้แต่ "สิ่งต่าง ๆ ในชีวิต" ล้วนเข้าใกล้นิยามว่าธรรมะได้พอประมาณ แต่ก็ไม่มีศัพท์ใดที่เข้าใกล้พอ ธรรมะของแต่ละบุคคลย่อมแตกต่างไปจากธรรมะของบุคคลอื่น การมีเพศสัมพันธ์อาจจะผิดสำหรับท่าน แต่ถูกต้องสำหรับฉัน การบำเพ็ญตบะในป่าอาจจะถูกสำหรับท่าน แต่ผิดกับฉัน. มีปัจจัยหลายอย่างรวมกันเพื่อกำหนดว่าอะไรคือธรรมะสำหรับบุคคล.

       เริ่มต้นด้วยการมีชั้นศึกษาเล่าเรียนที่แต่ละบุคคลสังกัดอยู่ นี่เป็นสิ่งสำคัญ เหนือสิ่งอื่นใด ธรรมะถูกกำหนดในแง่มุมทางสังคม.

       พราหมณ์ควรศึกษาพระเวทอันศักดิ์สิทธิ์ แต่จะผิดอย่างมหันต์ หากบรรดาชนชั้นวรรณะศูทร (Sūdra) ได้ศึกษาพระเวทไซร้ ก็จะกลายเป็น "อธรรม หรือ อธรรมะ" ไปทันที. กษัตริยะ ธรรมะ (Kṣatriya dharma) หรือธรรมะของพวกวรรณะกษัตริย์นั้น ประกอบด้วยการต่อสู้ การปกครอง และการลงโทษแก่ผู้ประพฤติอธรรม. ส่วนธรรมะของบรรดาวรรณะแพทย์ (ไวศยะ - the Vaiśya dharma) ไม่รวมสิ่งที่กล่าวข้างต้น มีเพียงแต่การปฏิบัติธรรมที่สามารถหวังได้ว่าจะปรับปรุงสถานะของตนในการเกิดใหม่ครั้งต่อไป. ในมหาภารตะ (บรรพที่ 3 - อรัณยกะบรรพ สรรคที่ 198-206) พราหมณ์เกาศิกะได้รับการสั่งสอนธรรมะจากนายพรานผู้มีปัญญา ผู้มีฐานะต้อยต่ำกว่า โดยปัจจุบันนั้นพรานได้จัดการแล่สัตว์เชือดเพราะบาปในชาติก่อน พราหมณ์เกาศิกะได้ตำหนิว่างานที่นายพรานทำเป็น 'งานที่น่าสยดสยอง' แต่นายพรานก็ตอบกลับไปว่า นั่นคือธรรมะของเขา และด้วยการปฏิบัติอย่างถูกต้องเท่านั้น เขาจึงหวังที่จะปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้นในชาติหน้า01. (ด้วยการปฏิบัติที่ถูกต้องตามวรรณะของนายพรานในชาตินี้ จะส่งผลให้เข้าเกิดในภพภูมิหรือในวรรณะที่สูงขึ้นในชาติต่อไป).

       นอกจากที่ได้ศึกษาชั้นเรียนแล้ว ธรรมะของบุคคลยังได้รับผลกระทบจากบทบาทในชีวิตของเขาเอง ในปัจจุบันซึ่งจะเปลี่ยนไปเมื่อเวลาผ่านไป สิ่งที่อาจเริ่มต้นจากชุดบทบาทที่ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ (ทางสังคม) ที่ได้รับการยอมรับ ได้ถูกประมวลผลเป็นลำดับขั้นของชีวิตที่กำหนดไว้ ซึ่งกล่าวไว้ (ดังเช่น บรรพที่ 12 สรรคที่ 62) ว่าเป็นการศึกษาภาคบังคับสำหรับเหล่าพราหมณ์ แต่ยังเปิดให้อีกสามวรรณะหลักได้เรียนด้วย. ในระดับมาตรฐานของกลุ่มชนฮินดูที่นับถือหลักการด้านพระเวทนั้น จะมีสี่ด่านที่ต้องศึกษาในผ่านไปตามลำดับ ขั้นแรก มาณพหนุ่มควรเป็นนักเรียน พึงต้องศึกษาคัมภีร์พระเวท – เขาสามารถทำเช่นนั้นได้หากเขามีชาติตระกูลในวรรณะที่เหมาะสม – และทักษะที่เขาจะต้องมีในการทำงานตลอดชีวิต (เช่น วรรณะกษัตริย์ในวัยเยาว์มีแนวโน้มที่จะศึกษาอาวุธและศิลปะการต่อสู้ ดังที่เหล่าพี่น้องเการพและปาณฑพ ที่ได้กระทำไว้ ดังแสดงในบรรพที่ 1 สรรคที่ 122) ขั้นต่อไป ขั้นที่สอง เขาควรจะแต่งงานและใช้ชีวิตเป็นคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน. เมื่อบุตรโตและเป็นอิสระแล้ว เขาและภรรยาควรออกจากป่าไปใช้ชีวิตอันศักดิ์สิทธิ์ (สันยาสี) นี่คือระยะที่สาม และในขั้นที่สี่ซึ่งเป็นขั้นสุดท้าย พึงละทิ้งสิ่งทั้งหลายทางโลก ให้เวลากับการบำเพ็ญเพียร ดำเนินชีวิตด้วยรับบริจาคโดยสมบูรณ์ โดยธรรมชาติแล้ว ธรรมะของคน ๆ เดียวกันย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงของชีวิต ในฐานะผู้ศึกษา ส่วนหนึ่งของธรรมะคือพรหมจรรย์ ในฐานะผู้ครองเรือนก็ควรให้กำเนิดบุตร การใช้เวลากับการอยู่ในพงไพรคือขั้นที่สาม ถือว่าเป็นธรรมะ แต่เมื่อผู้ใดที่อยู่ในขั้นที่สองยังต้องเป็นคฤหัสถ์เลี้ยงดูครอบครัวนั้น จะยังคงถือว่าเป็นอธรรม (adharma).
---------------
หมายเหตุ คำอธิบาย

01. คณะผู้เขียนใน 02. ได้เคยสัมภาษณ์พูดคุยกับชาวฮินดูท่านหนึ่งจากรัฐราชสถาน อินเดีย เมื่อบทการสนทนาเปลี่ยนไปเป็นการค้าประเวณี จึงได้ถามถึงธรรมะของโสเภณีคืออะไร ชาวฮินดูท่านนั้นตอบว่า "การที่ทำให้คนหนุ่มเสื่อมทรามและถูกทำลายให้ผุกร่อน".

 
หน้าที่ 2
       ท้ายที่สุดแล้ว ธรรมะนั้นไม่ตายตัว เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ ในบรรพที่ 12: ศานติบรรพ สรรคที่ 129-67 กล่าวถึง 'ธรรมะในคราวยากลำบาก' และหัวข้ออื่น ๆ ก็ได้กล่าวไว้. แม้ในบรรพที่ 12 สรรคที่ 283 เมื่อทราบว่าพราหมณ์ต้องการความช่วยเหลือ ก็อาจปฏิบัติธรรมะของวรรณะกษัตริย์หรือแพทย์ได้ แม้ว่าเส้นแบ่งจะอยู่เหนือตำแหน่งพวกทาสหรือวรรณะศูทรก็ตาม ในบรรพที่ 12 สรรคที่ 139 เราก็รู้ว่าพราหมณ์วิศวามิตรผู้พยากรณ์ (the Brahmin seer Viśvāmitra) กำลังหิวโหย ถือว่าไม่ผิดศีลที่จะขโมยชิ้นเนื้อสุนัขจากคนในวรรณะต่ำกว่า คือวรรณะจัณฑาล (Caṇḍāla) ได้.

       ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่า ธรรมะจึงไม่ใช่เรื่อง (ที่เข้าใจได้) ง่าย ๆ . แท้จริงแล้วในมหาภารตยุทธก็ได้ยืนกรานซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า (เป็นเรื่องที่) 'บอบบาง ละเอียด' (sūkṣma – สูกษม) ด้วยความละเอียดอ่อนนี้ได้มอบโอกาสอันดีแก่นักเล่าเรื่องในการพัฒนาเรื่องที่จะสาธกโดยเน้นไปประเด็นส่วนบุคคลหรืออัตถิภาวนิยม01. เนื่องจากสถานการณ์สามารถเกิดขึ้นหรือจินตนาการได้ ซึ่งข้อเรียกร้องสำหรับธรรมะของแต่ละบุคคลดูเหมือนจะขัดแย้งกัน. อย่างกรณีง่าย ๆ ของนักล่าที่ฉลาดซึ่งได้กล่าวไว้เบื้องต้นนั้น ในแง่ทั่วไป การฆ่าและการเชือดสัตว์ถูกประณามว่าเป็นการละเมิดธรรมะ (ดูในบรรพที่ 13: อนุศาสนบรรพ สรรคที่ 115-117) แต่ถึงกระนั้นก็อาจเป็นธรรมะของชนชั้นเฉพาะในการฆ่า (วรรณะกษัตริย์) และคนขายเนื้อ. เห็นได้ชัดว่านักล่าเบิกบานใจกับตัวเอง โดยแน่ใจว่าข้อกำหนดเฉพาะเหล่านี้เหนือกว่าข้อกำหนดทั่วไปสำหรับกรณีของเขา. ถึงกระนั้น สิ่งต่าง ๆ ก็มิใช่เรื่องง่ายสำหรับเหล่าวีรบุรุษของมหาภารตยุทธ ที่พบว่าตัวเองจำเป็นต้องฆ่านั้น ไม่ใช่สัตว์แต่เป็นมนุษย์และก็มิใช่แค่มนุษย์คนใดคนหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นญาติมิตรที่สนิทและผู้อาวุโสที่เคารพนับถือของพวกเขาเอง. อรชุนนักรบผู้กล้าแห่งภราดาปาณฑพ เกิดอาการหดหู่ได้วางอาวุธอันโด่งดังของเขาลง ในขณะที่มหาสงครามแห่งทุ่งกุรุเกษตรกำลังจะเริ่มขึ้น และวิงวอนให้ผู้ขับเทียมมาของเขานั่นก็คือพระกฤษณะ เทพแห่งการรังสรรค์ทั้งมวล ช่วยให้คำแนะนำแก่เขาด้วยซึ่งการทำสงครามนี้ นับว่าเป็นไปไม่ได้เลยในสถานการณ์ความขัดแย้งนี้ที่เขาจะค้นพบตัวเอง การอ้อนวอนนี้นำไปสู่การส่งอนุศาส์นอันโด่งดังคือ ภควัทคีตา ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น.

รัฐบุรุษอาวุโสภีษมะ นอนบริกรรมถึงพระผู้เป็นเจ้ามีสภาพร่างไม่ติดพื้น เพราะมีลูกศรค้ำไว้ ภาพจากผนังระเบียงคดด้านทิศใต้ปีกตะวันตก นครวัด เสียมราฐ กัมพูชา, ถ่ายไว้เมื่อ 20 ตุลาคม 2561.

       ถึงกระนั้น โดยหลักแล้วไม่ใช่ว่ามีเพียงอรชุนคนเดียวที่มีความขัดแย้งภายในจิตใจที่ได้เน้นไว้มหาภารตยุทธเท่านั้น แต่จะมีพระเชษฐาองค์โตคือ ยุธิษฐิระ อีกด้วย ในขณะที่อรชุนอาจจะเป็นเจ้าชายและนักรบในวรรณะกษัตริย์. ส่วนยุธิษฐิระนั้นเป็นกษัตริย์ และธรรมะของกษัตริย์ในเนื้อแท้ จนเกือบจะเป็นหนึ่งในสี่ของบทสนทนาสำคัญอีกบทหนึ่งของมหาภารตยุทธ ซึ่งรัฐบุรุษอาวุโสภีษมะ ก็ได้เล่าขึ้นบนเตียง (ที่มีลูกธนูค้ำร่างอยู่) ได้ให้อนุศาส์นแก่บรรดาลูกหลานแล้วจึงสิ้นใจ (บรรพที่ 12 สรรคที่ 1-128). ซึ่งตรงนี้เราผู้ศึกษาก็เรียนรู้อย่างหลากหลายได้ว่า ธรรมะสูงสุดของกษัตริย์คือการลงโทษผู้กระทำความผิด (บรรพที่ 12 สรรคที่ 70) การปกป้องราษฎร (บรรพที่ 12 สรรคที่ 72) หรือความอดทนทั้งที่มีชัยชนะหรือพ่ายแพ้ (บรรพที่ 12 สรรคที่ 107) ธรรมะขั้นสูงสุดในแง่ทั่วไปถึงเรื่อง ความยับยั้งชั่งใจ (บรรพที่ 12 สรรคที่ 242) ความเมตตา (บรรพที่ 13 สรรคที่ 59) การปราศจากความโลภ (บรรพที่ 13 สรรคที่ 95) หรือ การไม่ใช้ความรุนแรง (บรรพที่ 13 สรรคที่ 115 และ บรรพที่ 14 สรรคที่ 48-9).

---------------
หมายเหตุ คำอธิบาย

01. เรื่องอัตถิภาวนิยม (ทฤษฎีที่ว่าทุกคนนั้นอิสระและรับผิดชอบในการกระทำของตน) หรือ Existentialism นี้ เป็นปรัชญาสำคัญในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และยุคสงครามเย็น มีปราชญ์หลายท่านปฏิเสธถึงการดำรงอยู่ของพระเจ้า อาทิ ฟรีดริช นีทเชอ (Friedrich Neitzsche)  ฌ็อง-ปอล ซาทร์ (Jean-Paul Sartre) และ อัลแบร์ กามู (Albert Camus) สำหรับผู้สนใจใคร่รู้ทั้งหลาย ซึ่งผมแนะนำให้ศึกษาเพิ่มเติม.   


ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย:
01. จาก. "The Illustrated Mahabharata: A Definitive Guide to India's Greatest Epic," ISBN: 978-0-2412-6434-8, สำนักพิมพ์เพนกวิน แรนดัม เฮ้าส์, พ.ศ.2560, พิมพ์และเข้าเล่มในประเทศจีน, www.dk.com.
02. จาก. "The Mahābhārata," An abridged translation by JOHN D. SMITH, ISBN: 978-0-140-44681-4, สำนักพิมพ์เพนกวิน บุ๊คส์, พ.ศ.2552. สหรัฐอเมริกา. www.penguin.com.
03. จาก. "The Mahabharata: Complete 18 volume," Veda Vyasa, Kisari Mohan Ganguli, แปล (เป็นภาษาอังกฤษ) [พ.ศ.2426-2439], ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2564 โดยสำนักพิมพ์ ซานซานิ.
info@huexonline.com