ที่มา: www.thinksmarterworld.com, วันที่สืบค้น 7 กรกฎาคม 2560
ค. บทนำ: ภควัทคีตา01, 02.
First revision: Jul.06, 2017
Last change: Jan.07, 2024
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย อภิรักษ์ กาญจนคงคา.
ปริวรรตโดย www.huexonline.com เมื่อ 20 พ.ย.2566, ที่มา: vipasana-vidushika.blogspot.com, วันที่สืบค้น: 8 กรกฎาคม 2560.
13
...และการรับรู้ความจริงส่งผลกับการกำเนิดใหม่ของชีวิต. ขอบเขตแห่งจิตวิญญาณไม่อาจตัดขาดออกจากขอบเขตแห่งชีวิตได้. การแบ่งมนุษย์ออกเป็นความปรารถนาภายนอกและคุณภาพภายในนั้น คือการฝ่าฝืนความสมบูรณ์บูรณาการของชีวิตมนุษย์. กรรมทางจิตใจอันส่องสว่างนั้น เป็นหนึ่งในองค์ประกอบในอาณาจักรแห่งพระเจ้า ส่งผลกระทบต่อโลกที่เขามีผัสสะถึง และได้กลายเป็นผู้ไถ่ชีวิตให้แก่คนอื่น ๆ.1 สองโองการของความจริงแท้ สิ่งที่ยอดเยี่ยมเหนือกว่าและสิ่งที่ประจักษ์นั้น มีความสัมพันธ์กันใกล้ชิดยิ่ง. ด้วยการเปิดกว้างของ คีตา ก่อให้เกิดคำถามเกี่ยวกับปัญหาด้านกรรมหรือกระทำของมนุษย์. เราสามารถสถิตอยู่ในตัวตนที่สูงสุด (อาตมัน) และขณะเดียวกันเรายังคงทำงานมีกิจกรรมต่าง ๆ ในโลกได้อย่างไร คำตอบที่ได้รับก็เป็นแบบเดิม ๆ ของศาสนาฮินดู แม้ว่าได้ถูกระบุเน้นว่าใหม่ก็ตาม.
ด้วยการจัดวางไว้อย่างจริงจัง2 คีตา นั้นเรียกได้ว่าเป็นอุปนิษัท เนื่องด้วยได้รับแก่นแกนแรงบันดาลใจจากกลุ่มที่มีความโดดเด่นของพระคัมภีร์อุปนิษัท. แม้ว่า คีตา ได้แสดงให้เราเห็นภาพแห่งความจริงแท้ ความประทับใจ และความลึกซึ้ง และลำนำได้เผยถึงนววิถีสำหรับจิตใจของมนุษย์ ลำนำนั้นน้อมรับสมมติฐานต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีที่ผ่านมารุ่นต่อรุ่น และฝังผนึกกับภาษา (ที่เป็นสื่อ) ที่ใช้. ลำนำได้ตกผลึกและรวบรวมประจุความคิดต่าง ๆ และความรู้สึกที่กำลังพัฒนามาตามลำดับ ท่ามกลางหมู่นักคิดในช่วงเวลาที่รังสรรค์ลำนำ. การดิ้นรนต่อสู้เข่นฆ่ากันในเครือญาตินั้น กลับกลายเป็นโอกาสในการพัฒนาสารทางจิตวิญญาณ ซึ่งวางอยู่บนฐานรากของภูมิปัญญาโบราณ ปรัชญาปุราณี (prajňā purāṇī ) ซึ่งได้แสดงไว้ในอุปนิษัท.3
องค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างกันนี้ ในช่วงเวลาที่กำลังรังสรรค์กอปรแนวคิดเป็น คีตา นั้น มีการประชันแนวคิดและปรัชญากันอยู่ภายใต้ระบบพราหมณ์-ฮินดู ถูกนำมาบูรณาการไปสู่การสังเคราะห์อย่างครอบคลุม อิสระ กว้างขวาง บอบบาง และลึกซึ้ง. คุรุได้ปรับแต่งและเทียบเคียงกับกระแสความคิดที่มีความแตกต่างกัน วัฒนธรรมในคัมภีร์พระเวทด้านการเสียสละ การเรียนการสอนอุปนิษัทของพราหมณ์อันเหนือธรรมชาติ ลัทธิเทวนิยมภควัทตา และความกตัญญูกตเวที พหุสางขยะ และการทำสมาธิโยคะ...
---------------
1. อัธยายะที่ 4, สรรคที่ 34.
2. ข้อมูลทางบรรณานุกรมของ: ภควัทคีตาสุ อุปนิษัทสุ (भगवगीतासु उपनिषत्सु - bhagavagītāsu upaniṣatsu - ในภควัทคีตาและในอุปนิษัท)01.
3. บทกวียอดนิยมจาก "ไวษณพวิชา ตันตระสาร (Vaiṣṇavīya Tantrasāra )" หรือลัทธิไวษณพนิกาย (Sri Vaiṣṇavism) ได้กล่าวว่า คีตา นั้นได้จัดวางตำแหน่งการสอนตรงท่อนกลางของอุปนิษัทเสียใหม่. อุปนิษัทนั้นเปรียบเหมือนฝูงโคและบุตรของโคบาล พระกฤษณะเปรียบเหมือนโคนม อรชุนเสมือนหนึ่งเป็นลูกวัว ผู้ฉลาดทรงภูมิปัญญานั้นเป็นผู้ดื่มนม อัน คีตา นั้นมีรสหวานดุจดั่งเป็นนมที่เลิศรส.
सर्वोपनिषदो गावो दोगधा गोपालनन्दनः
पार्थो वत्सः सुधीर् भोगता दुग्धां गीतामृतं महत् ।
sarvopaniṣado gāvo dogdhā gopālanandanaḥ
pārtho vatsaḥ sudhīr bhoktā dugdhaṁ gītāmṛtaṁ mahat.
วัวของอุปนิษัททุกตัวถูกรีดนมและเป็นที่ชื่นชอบของคนเลี้ยง
อรชุนลูกวัวสงบสติอารมณ์และเพลิดเพลินกับน้ำหวานอันมหาศาลของคีตา.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. คัมภีร์อุปนิษัทนั้น ก่อร่างมาจากญาณกัณฑ์ (ज्ञानकाण्ड - Jñānakāṇḍa) จากคัมภีร์พระเวท (The Vedas). ส่วนภควัทคีตานั้นเป็นคัมภีร์สำคัญจากพระกฤษณะ ซึ่งบันทึกโดยมหาฤๅษี กฤษณะ ไทวปายนะ วฺยาส (Veda Vyāsa หรือ Krishna Dvaipayana). เป็นที่รับรู้กันว่าทั้งสองคัมภีร์นั้น มีความสำคัญเป็นองค์ประกอบของ ปรัสฐาณทรายิ (Prasthānatrayī).
14
...คุรุได้ดึงเอาองค์ประกอบทั้งหมดของชีวิตชาวฮินดูและคำนึงว่าเป็นหน่วยหนึ่งด้านอินทรีย์ธาตุ. คุรุได้ปรับใช้วิธีการ มิได้ปฏิเสธ แต่ทว่าเจาะลึกและแสดงให้เห็นว่าเส้นทางแห่งความคิดที่แตกต่างนั้น ท้ายที่สุดจะมาบรรจบในทิศทางเดียวกัน.
2. วัน (ช่วงเวลาที่ประพันธ์งาน) และ (เนื้อหาใน) คัมภีร์
ภควัทคีตา นั้นถือกำเนิดขึ้นภายหลังการเคลื่อนไหวด้านแนวความคิดที่ยิ่งใหญ่ของอุปนิษัทยุคแรก ๆ และยุคก่อนหน้านี้ซึ่งเป็นช่วงของการพัฒนาระบบปรัชญาต่าง ๆ และได้ประมวลขึ้นมาจากพระสูตร01. ต่าง ๆ. จากโบราณสถานโบราณวัตถุ และการอ้างอิงภายใน (ระบบปรัชญาและพระสูตรต่าง ๆ) เราอาจอนุมานได้ว่านี่เป็นงานของยุคก่อนคริสตกาล. อาจระบุได้ว่าเป็นช่วงที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์ชีพ (ก่อนคริสต์ศวรรษที่ห้า). แม้ความข้อความอักขระอาจมีการเปลี่ยนแปลง (ปรับปรุง ตัดทอน เสริม) กันหลายครั้งในแต่ละช่วงเวลา.1
มหาฤๅษีกฤษณะ ไทวปายนะ วฺยาส (Vyās), ที่มา: www.patheos.com, วันที่สืบค้น 15 กรกฎาคม 2560.
เราอาจยังไม่ทราบใครเป็นผู้ประพันธ์ คีตา. วรรณกรรม กาพย์ กลอน ตำรา สื่อต่าง ๆ ทั้งหมดของวรรณคดีในยุคแรก ๆ ของอินเดียนั้น ไม่ได้มีการระบุผู้ประพันธ์. การเป็นผู้ประพันธ์ คีตา นั้น ได้ให้เกียรติแก่ มหาฤๅษีกฤษณะ ไทวปายนะ วฺยาส ผู้รจนาตำนานมหากาพย์ มหาภารตะ. ด้วย 18 อัธยายะ (หรือบท) ของ คีตา ได้วางรูปแบบในสรรค02. ที่ 13 ถึง 40 ของภีษมบรรพ03. ใน มหาภารตยุทธ .
เป็นที่ถกเถียงกันว่าเป็นไปได้หรือที่มหาคุรุพระกฤษณะได้แสดงลำนำถึงเจ็ดร้อยโคลงกลอนแก่พระอรชุนในมหาสงครามครั้งนี้ได้. ทั้งนี้พระกฤษณะอาจจะกล่าวเป็นบางประเด็นบางจุด โดยผู้ที่เล่าและแปลงานสืบกันมาได้มีการขยายงานนี้ให้กว้างออกไป. ตามที่การ์เบ04. ได้กล่าวไว้, โดยแรกเริ่มนั้น ภควัทคีตา เป็นตำราด้านหลักทฤษฎี หรือ สางขยโยคะ05. (सांख्य - Sāṁkhya-yoga) ของผู้นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ลัทธิพระกฤษณะ-พระวาสุเทพ (the Kṛṣṇa-Vāsudeva) ซึ่งได้มีการผสมผสานกันในราวพุทธศตวรรษที่สอง (หรือศตวรรษที่สามก่อนคริสตกาล). ลำนำได้มีการปรับปรุงเจียรจานให้เข้าประเพณีแบบพระเวท โดยกำหนดคุณลักษณะของพระกฤษณะให้เป็นพระวิษณุเทพ. งานลำนำเริ่มแรกกำเนิดขึ้นราว ๆ พุทธศตวรรษที่ 3 (หรือ 200 ปีก่อนคริสตกาล) และลำนำนี้ได้ถูกนำมาเสนอด้วยรูปแบบของผู้ที่ศรัทธาในลัทธิเวทานตะ (The Vedānta) ในพุทธศตวรรษที่เจ็ด (หรือราวคริสต์ศตวรรษที่สอง) ซึ่งทฤษฎีของการ์เบได้ถูกปฏิเสธ. ฮอปกินส์ 06. ได้กล่าวถึงลำนำนี้ด้วยความนับถือว่า "ในปัจจุบันนั้นเป็นบทกวีของบุคคลผู้ปฏิบัติตามหรือสนับสนุนพระกฤษณะ (Kṛṣṇaite) ที่ส่งผ่านมาจากบทกวีเก่ากาลของบุคคลผู้ปฏิบัติตามหรือสนับสนุนพระวิษณุ (Viṣṇuite poem) และในตอนแรก ๆ ก็เป็นงานที่ไม่ได้สังกัดลัทธิใด ๆ และท้ายสุดก็เป็นงานด้านอุปนิษัท."2 ฮอล์ท์ซมานน์ 07...
---------------
1. ดูในปรัชญาอินเดีย (ป.อ.) เล่มที่ 1 หน้าที่ 522-5 โดย ส. ราธากฤษณัน.
2. ศาสนาในอินเดีย (พ.ศ.2451) หน้า 389. ฟาร์ควัด (J. N. Farquhar)08. ได้เขียนไว้ว่า "บทกวีเก่ากาลอุปนิษัทนั้น, ถูกเขียนขึ้นภายหลัง เศวตาศวทระ (Śvetāśvatara)09. และได้นำมาเป็นแนวคิดใน คีตา กล่าวถึงพระคุณของมหาเทพกฤษณะ โดยคุรุในยุคภายหลังคริสตกาล." เค้าโครงวรรณกรรมทางศาสนาของอินเดีย (Outline of the Religious Literature of India) (พ.ศ.2463) ส่วนที่ 95.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. พระสูตร (सूत्र -Sūtra) เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง "เชือก" หรือ "ด้าย" ในประเพณีวรรณกรรมของอินเดีย, นั้นหมายถึง คำพังเพย (aphorism) หรือบทรวบรวมคำพังเพย ในหลายรูปแบบและสื่อ พระสูตรเป็นข้อความโบราณประเภทหนึ่งพบในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พุทธ, และเชน. พระเวทของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูก็ถือว่าเป็นพระสูตร อีกด้วย, ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 15 กรกฎาคม 2560.
02. สรรค {สะ-ระ-คะ (สก.สรฺค), sarga} บทหรือภาคของหนังสือ.
03. ภีษมบรรพ (Bhīṣmaparvan) หมายถึง หนังสือเล่มที่หก (บรรพที่หก) ของมหาภารตยุทธ, รายละเอียดดูได้ใน 06. ภีษมบรรพ ซึ่งครอบคลุมจุดเริ่มต้นของมหาสงคราม ประกอบด้วย ภควัทคีตา และในช่วงที่รัฐบุรุษอาวุโสภีษมะเป็นผู้บัญชาการกองทัพของฝ่ายเการพ (Kaurava army), วันที่สืบค้น 15 กรกฎาคม 2560.
ริชาร์ด คาร์ล ฟอน การ์เบ, ที่มา: www.academia.edu, วันที่เข้าถึง: 23 ตุลาคม 2566.
04. ริชาร์ด การ์เบ (Richard Karl von Garbe) นักเขียนชาวเยอรมัน (9 มีนาคม พ.ศ.2400 - 22 กันยายน พ.ศ.2470) ผู้เขียน Die Bhagavadgita ในภาษาเยอรมันและเขียนบทความใน Journal: The Monist เรื่อง "Christian Elements in the Bhagavadgita" วันเดือนปีที่พิมพ์ 1 ตุลาคม พ.ศ.2456.
05. สางขยะ หรือสัมขยะ (Sāṁkhya; สันสกฤต: सांख्य) เป็นปรัชญาหนึ่งในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่เก่าแก่กว่าลัทธิอื่น ๆ มีมาก่อนพุทธกาล เพราะเจ้าชายสิทธัตถะได้ศึกษาลัทธินี้ในสำนักอุทกดาบสและอาฬารดาบส คำว่าสางขยะมาจากคำว่าสังขยาแปลว่าจำนวนหรือการนับ ลัทธินี้ถือว่าความจริงแท้มีสองอย่างคือปุรุษะกับประกฤติ ทำให้ลัทธินี้เป็นลัทธิที่เน้นทวินิยม ซึ่งต่างจากลัทธิเวทานตะ ปุรุษะนี้คือผู้รับรู้ ประกฤติคือมูลเหตุของโลก เป็นรากเหง้าที่มองไม่เห็นของสรรพสิ่ง วิวัฒนาการของสิ่งต่าง ๆ เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างปุรุษะกับประกฤติ โมกษะเป็นเป้าหมายของชีวิตที่พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง โดยการพิจารณาให้เห็นความแตกต่างระหว่างปุรุษะกับประกฤติ แล้วแยกทั้งสองสิ่งนี้ออกจากกันเมื่อแยกได้เด็ดขาดก็เป็นอันถึงซึ่งโมกษะ, ที่มา: ฟื้น ดอกบัว "ปวงปรัชญาอินเดีย", กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ศยาม, ปี พ.ศ.2555, หน้าที่ 213-235.
"The Hindu Religious Tradition" ที่ศาสตราจารย์ฮอบกิ้นส์ เขียนและจัดพิมพ์เมื่อ 16 มกราคม พ.ศ.2514, ที่มา: www.ouvirmusica.net, วันที่สืบค้น 19 กรกฎาคม 2560.
06. โทมัส เจ. ฮอบกิ้นส์ (Dr. Thomas J. Hopkins), ศาสตราจารย์ด้านศาสนา, วิทยาลัยแฟรงคลินและมาร์แชล, สหรัฐอเมริกา, ที่มา: asitis.com, วันที่สืบค้น 19 กรกฎาคม 2560.
07. อดอล์ฟ ฮอล์ทซมานน์ จูเนียร์ (Adolf Holtzmann Jr.), นักเขียนนักปรัชญาชาวเยอรมัน เป็นผู้สร้างกฎของฮอล์ทซมานน์ (Holtzmann's Law) เกี่ยวกับพัฒนาการด้านภาษาเยอรมันที่แตกกิ่งมาจากอินโด-ยุโรเปียน และผู้เป็นเขียนเรื่อง อรชุน ในภาษาเยอรมัน.
08. จอห์น นิโคล ฟาร์ควัด (John Nicol Farquar), ท่านเกิดที่เมืองอะเบอร์ดีน สก็อตแลนด์ จบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด ได้เริ่มเป็นนักการศึกษาและมิชชั่นนารีในอินเดียที่กัลกัตตา ท่านเขียนหนังสือไว้หลายเล่ม อาทิ The crown of Hinduism (พ.ศ.2463หรือ ค.ศ.1920), Modern religious movements in India (พ.ศ.2458 หรือ ค.ศ.1915), An outline of the religious literature of India (พ.ศ.2463 หรือ ค.ศ.1920), A Premier of Hinduism (พ.ศ.2455 หรือ ค.ศ.1912), ที่มา: www.bu.edu, วันที่สืบค้น 25 กรกฎาคม 2560.
จอห์น นิโคล ฟาร์ควัด (John Nicol Farquar) (พ.ศ.2404 - 2472), มิชชั่นนารี นักการศึกษา และนักปรัชญาตะวันออกชาวสก็อตต์
15
...ได้พินิจไปยัง คีตา ในฐานะที่เป็นการปรับปรุงตัวแบบผู้นิยมพระวิษณุ และเกี่ยวกับบทกลอนว่าด้วยลัทธิที่เชื่อว่าพระผู้เป็นเจ้ามีอยู่ทุกหนแห่ง. คีธ01. เชื่อว่าลำนำนี้เป็นต้นแบบของเศวตาศวทร อุปนิษัท ซึ่งได้ปรับระดับไว้ให้เหมาะกับลัทธิผู้นับถือพระกฤษณะ. ซึ่งบาร์เน็ตต์02. คิดว่า เกิดกระแสความคิดที่ต่างออกไปทำให้ผู้ประพันธ์สับสน. รูดอล์ฟ อ็อตโต03. ยืนยันว่า คีตา แรกเริ่มนั้นเป็น "มหากาพย์ที่งดงามหมดจด สุทธิจากวรรณกรรมอื่นใด". "ด้วยเป็นความตั้งใจของพระกฤษณะ "ไม่ใช่เพื่อประกาศถึงความเชื่อที่เหนือกว่าความเชื่ออื่นที่เกี่ยวกับทางรอดใด ๆ ทว่าพระอรชุนนั้น ยินดีที่สนองโองการเฉพาะอันเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า ผู้ทรงตัดสินชะตากรรมของมหายุทธ์ครั้งนี้"1. อ็อตโตเชื่อว่าทฤษฎีคำสอนเหล่านี้ถูกตีความ. ในเรื่องนี้เขาเห็นพ้องเหมือนยาโคบี04. ซึ่งถือได้ว่าอนุภาคเดิมได้รับการอธิบายโดยนักปราชญ์ในรูปแบบปัจจุบัน.
จากความคิดเห็นที่ต่างกันไปนี้ ดูเหมือนจะมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า คีตา เป็นกระแสความคิดทางปรัชญาและศาสนาที่รวมกันอยู่หลากหลายแนวความคิด. ความเชื่อที่ขัดแย้งกันหลายประเด็นอันประจักษ์ชัดนั้น นำไปสู่ความเป็นเอกภาพที่เรียบง่าย อันที่จะตอบสนองความจำเป็นด้านเวลา ความจริงแท้ของจิตวิญญาณฮินดู เพื่อให้ทุก ๆ ชีวิตได้รับมหากรุณาจากพระเจ้า. ด้วยคำถามที่ว่า คีตา จะสอบทานเทียบเคียงกับแนวโน้มของความคิดที่แตกต่างกันนี้ได้อย่างไร คำตอบนั้นจะมาจากการหลังที่ผู้ศึกษาแต่ละท่านได้อ่านทำความเข้าใจกับหนังสือแล้วนั่นเอง. ประเพณีของชาวอินเดียมักจะรู้สึกได้ว่า องค์ประกอบที่แตกต่างกันนั้น จะถูกผสานประทับไว้ในใจของผู้ประพันธ์ และด้วยการสังเคราะห์กลายเป็นข้อแนะนำและการส่องสว่างที่เป็นเลิศ ผู้ประพันธ์ไม่ได้โต้แย้งและพิสูจน์ในรายละเอียด ทว่าได้ส่งเสริมชีวิตแห่งจิตวิญญาณที่แท้จริงไว้.
ศรี อาทิ โกปาทจารย์ หรือ คุรุ เคาฑปาทะ อาจารย (Sri Aadi Gaudapadacharya or Guru Gauḍapāda Acharya) คุรุท่านนี้มีบทบาทสำคัญเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจของ ศังกราจารย์ ซึ่งท่านได้เรียกคุรุท่านนี้ว่า พระมหาคุรุ (Paramaguru - Highest teacher) ที่มา: commons.wikimedia.org และ en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 8 สิงหาคม 2560. รายละเอียดดูเพิ่มใน มาณฑูกยะ อุปนิษัท หน้าที่ 11 ของ อุปนิษัท: สรุปสาระสำคัญ.
ด้วยวัตถุประสงค์ของเรา เราอาจใช้ข้อลิขิตของ อาทิ ศังกราจารย์ (Adi Śaṁkara) ที่ได้แสดงความเห็นเอาไว้ เนื่องด้วยเป็นอรรถาธิบายที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ในบทกวี2.
3. ผู้วิพากษ์หลัก
คีตา นั้นเป็นที่ยอมรับมานานหลายศตวรรษ เอกอุเสมือนนิกายออร์โธดอก (อาสติกะ) (สารานุกรมปรัชญาออนไลน์ - http://www.parst.or.th/philospedia/IndianPhilosophy.html ) ของศาสนาฮินดู มีพลังอำนาจเทียบเท่าอุปนิษัทและพรหมสูตรและรูปแบบสามส่วน...
---------------
1. คีตา ฉบับดั้งเดิม อี.ที. {The Enneads - The Six Enneads เป็นการรวบรวมบทความของ พโลตินัส (Plotinus) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งลัทธิพลาโตนิยมยุคใหม่ (Neoplatonism)} (พ.ศ.2482) หน้า 12, 14.
2. ความแปรปรวนเล็กน้อยของข้อความที่เราพบในบทเชียนแคชเมียร์ที่ตรวจดูแล้ว (Kashmir Rescension) นั้น ไม่ส่งผลกระทบต่อการสอน คีตา. ดูใน เอฟ. เอ. ชเรเดอร์: บทเชียนแคชเมียร์ที่ตรวจดูแล้วของภควัทคีตา (The Kashmir Rescension of the Bhagavadgītā) (พ.ศ.2473)05.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. คีธ กอร์ดอน แฮม (Keith Gordon Ham) ต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อของ Swami Bhaktipada หรือ Kirtanananda Swami (6 กันยายน พ.ศ.2480 - 24 ตุลาคม พ.ศ.2554) เป็นชาวนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณมากว่า 26 ปี เป็นผู้ร่วมจัดตั้งนิคมชื่อ New Vrindaban, ปรับปรุงจาก en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 27 กรกฎาคม 2560.
02. ลิโอเนล ดี. บาร์เน็ตต์ (Lionel D. Barnett) ผู้แปล Bhagavad-gita : Or the Lords Song (The Temple Classics), สำนักพิมพ์ J M Dent & Co, พ.ศ.2471.
หนังสือภควัทคีตาในภาษาเยอรมัน และ รูดอล์ฟ อ็อตโต, ที่มา: traditiononline.org, วันที่เข้าถึง: 30 ตุลาคม 2566.
03. รูดอล์ฟ อ็อตโต (Rudolf Otto), (พ.ศ.2412-2480) นักเขียน นักปรัชญาชาวเยอรมัน ผู้แปล ภควัทคีตา เป็นภาษาเยอรมัน.
หนังสือ อุตตราธยยานะ สูตร และ แฮร์มัน จีอ๊อร์จ ยาโคบี, ที่มา: www.herenow4u.net และ www.createspace.com, วันที่สืบค้น: 2 สิงหาคม 2560.
04. แฮร์มันน์ จีอ๊อร์จ ยาโคบี (Hermann Georg Jacobi) นักปรัชญาและนักเขียน นักภารตวิทยาชาวเยอรมัน (German Indologist) พ.ศ.2393-2480 ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Uttarādhyayana Sūtra เป็นหนังสือเกี่ยวปรัชญาศาสนาเชน (Jain) ตีพิมพ์ล่าสุดเมื่อ 22 กรกฎาคม 2558. ที่มา: www.herenow4u.net และ www.createspace.com, วันที่สืบค้น 2 สิงหาคม 2560.
05. จากการสืบค้นจะเป็นหนังสือที่ใช้ชื่อว่า The Kashmir Recension of the Bhagavadgita จัดพิมพ์ขึ้นในปี พ.ศ.2473.
16
...ของสามปืนใหญ่ (ปราสถาน-ตรัย)01. บรรดาคุรุของลัทธิเวทานตะนั้น มีหน้าที่ในการปรับคำสอนเฉพาะ (จากการสอนในภาคสนามจริง) โดยนำไปตรวจสอบกับหลักการปราสถาน-ตรัย เมื่อได้คำตอบที่ถูกต้องแล้ว ก็จะเขียนอธิบายตอบคำถามถึงประเด็นพิเศษ (ที่มาจากการสอนศิษยานุศิษย์ในภาคสนามจริง). คัมภีร์อุปนิษัทนั้น มีข้อเสนอแนะมากมายเกี่ยวกับธรรมชาติของสิ่งสมบูรณ์และความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับโลก. พรหมสูตรน้้นสั้นกระชับและมีความคลุมเครือได้ถูกนำมาใช้เพื่อให้เกิดการตีความที่หลากหลาย. คีตา ให้มุมมองที่สอดคล้อง มีความสม่ำเสมอ เที่ยง มากกว่า ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ประสงค์ให้งานตนเองถูกตีความไปตามที่ตนต้องการ ก็จะไม่ใช่เรื่องง่าย. หลังจากที่พระพุทธศาสนาเสื่อมถอยลงในอินเดีย ศาสนาลัทธิต่าง ๆ เฟื่องฟูขึ้น ลัทธิหลัก ๆ คือ อทไวตะ (Advaita) (แต่คนส่วนใหญ่มักจำชื่อลัทธินี้ว่า ลัทธิไศวะ หรือ ลัทธิศิวะอวตาร) หรือ เอกนิยม หรือ อทวิภาวะ (ปฏิเสธของคู่ - นิยมบูชาพระเจ้าองค์เดียวเป็นสิ่งสูงสุด) (Non-dualism) วิศิษฏาทไวตะ02. หรือ อทวิภาวะที่คู่ควรยิ่ง ทไวตะ หรือ เอกนิยม หรือ อทวิภาวะ สุทธทไวตะ03. หรือ อทวิภาวะอันบริสุทธิ. มีข้อคิดเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับ คีตา ที่เขียนโดยคุรุหลายท่าน เป็นการสนับสนุนจารีตประเพณีหรือระบบศาสนาของตนเอง (สัมประไดย) และเอาไว้หักล้างความเห็นของผู้อื่น. คุรุผู้เขียนเหล่านี้สามารถค้นตัวตนในระบบความคิดทางศาสนาและอภิปรัชญาของ คีตา เนื่องด้วยผู้รจนา คีตา ได้ชี้ให้เห็นความจริงหนึ่งเดียวอันนิรันดร์ที่เรากำลังแสวงหาอยู่ จากความจริงทั้งหมดที่บังเกิดขึ้น ไม่อาจใช้ตอบคำถามได้ด้วยสูตรสำเร็จ (หรือสมการ) เดียว. อีกครั้ง เราได้รับจากการเล่าเรียนและผลสะท้อนจากพระคัมภีร์ มากเท่าที่ความจริงดำรงอยู่และอิทธิพลทางจิตวิญญาณ ที่เราสามารถจะซึมซับได้.
ด้วยความเห็นของศังกราจารย์ (พ.ศ.1331-1363 หรือ ค.ศ.788-820) อันเป็นหลักฐานเก่ากาลที่มีอยู่นั้น. (แน่นอนว่า) มีความเห็นอื่น ๆ ที่เก่ากว่า ด้วยศังกราจารย์ได้กล่าวอ้างไว้ในโศลก (บท) นำ แต่เรายังเสาะหาไม่พบ1. ศังกราจารย์ยืนยันว่าความจริงแท้ (Reality) หรือ พรหมมัน (Brahman) นั้น เป็นหนึ่งเดียวไม่มีสอง. สิ่งที่โลกทั้งมวลและความหลากหลายที่นับไม่ถ้วนสำแดงให้เราเห็นนั้น ไม่ใช่ความจริง และดูเหมือนจะเป็นความจริงสำหรับผู้ที่มีความไม่รู้ (อวิชา) เป็นเรือน. การถูกจับได้ก็คือความผูกพันที่เรามีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด. สภาพที่สูญหายนี้ไม่อาจถูกลบเลือนจากความพยายามของเรา. งาน (หรือความพยายามข้างต้น) เป็นสิ่งไร้สาระและผูกมัดเรากับกระบวนการจักรวาลที่ไม่จริง (สังสาระ - saṁsāra หรือ สังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิด), เป็นห่วงโซ่ไร้ปลายของเหตุและ...
--------------
1. อานันทคีรี (Ānandagiri หรือ อนันตญาณ - Anandajnana) ปรากฎในความเห็นของศังกราจารย์ในภควัทคีตา (ศ.ภ.ค.) บรรพที่ 2 บทที่ 10 กล่าวว่า วัตติการ (Vṛttikāra)04. คุรุผู้เขียนอรรถาธิบายเกี่ยวกับพรหมสูตร05. นั้น ยังเขียนวัตติ (Vṛtti) หรือ สร้อยหรือบทความที่ฉาบไว้เกี่ยวกับ คีตา เรียกร้องว่าไม่ว่าความรู้ (ญาณ) หรือการกระทำ (กรรม) ด้วยตัวเองก็ตาม ไม่สามารถนำไปสู่เสรีภาพทางจิตวิญญาณและการแสวงหาร่วมกับเพื่อให้เราบรรลุเป้าหมาย.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. ปราสถาน-ตรัย (Prasthana-traya หรือ Prasthānatrayī) นั้น สำหรับขนบประเพณีของลัทธิเวทานตะ (Vedanta) แล้ว, เป็นคัมภีร์ที่สำคัญสามประการ คือ หลักอุปนิษัท, พรหมสูตร และภควัทคีตา, ที่มา: www.oxfordreference.com, วันที่สืบค้น 7 สิงหาคม 2560.
02. วิศิษฏาทไวตะ (บ้างก็เรียก วิศิษทไวตะ) เวทานตะ (Viśiṣtādvaita Vedanta) เป็นสำนักปรัชญาและทฤษฎี, มีกิจกรรมหลักทางตอนใต้ของอินเดีย ช่วงประมาณ ค.ศ.900 ถึงปัจจุบัน, ได้ถือเอาความสมบูรณ์สูงสุดของพระเจ้า ผู้ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งเดียวที่ธำรงอยู่และเป็นทุกสิ่งสรรพ (จากทุกสรรพชีวิต มนุษย์ถึงสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ) อันเป็นคุณลักษณะของพระองค์, ที่มา: www.iep.utm.edu/venkatan, วันที่สืบค้น 9 สิงหาคม 2560.
03. ศุทธไทวตะ (śuddhādvaita หรือ pure non-dualism) รจนาโดยมหาคุรุวัลภาจารย์ (Vallabhacharya), ที่มา: en.wkipedia.org, วันที่สืบค้น 10 สิงหาคม 2560.
ศรีวัลภาจารย์ (Sri Vallabhacharya) (พ.ศ.2022-2074 หรือ ค.ศ.1479-1531), ที่มา: https://jigyaasaa.wordpree.com, วันที่เข้าถึง 10 พฤศจิกายน 2566.
04. วัตติการ (Vṛttikāra), เป็นคุรุที่ศรีรามานุชาจารย์ (Sri Rāmānujacharya) กล่าวอ้างไว้ ซึ่งระบุถึงความสัมพันธ์รวมเป็นหนึ่งของ "กรรมมีมังสา-Karm Mīmāṃsā" และ "พราหมณ์มีมังสา-Brahma-Mīmāṃsā" ซึ่งศรีรามานุชาจารย์ แสดงความอึดอัดถึงแนวคิดดังกล่าว, ที่มา: journal.fi/store/article/view/52378/16228, บทความเรื่อง "VRTII AND VRTTIKARA IN RAMANUJA'S SRI-BHASYA, โดย Asok Aklujkar, วันที่สืบค้น 20 สิงหาคม 2560.
05. พรหมสูตร (Brahma Sūtra) ดูข้อ 01 ปราสถาน-ตรัย (Prasthana-traya) ข้างต้น ซึ่งเป็นหนึ่งในสามคัมภีร์ที่สำคัญของลัทธิเวทานตะ ตามปรัชญาฮินดู ประกอบด้วย 555 พระวรสาร (พระสูตร) ในสี่บท ซึ่งกล่าวถึงธรรมชาติในการดำรงอยู่ของมนุษย์และจักรวาล, และแนวคิดเกี่ยวกับอภิปรัชญาของความจริงแท้ที่สมบูรณ์ ที่เรียกว่า พรหมมัน (Brahman), แปลจาก en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 17 สิงหาคม 2560.
17
...ผล. เพียงเฉพาะภูมิปัญญาอันเป็นความจริงแท้สากลและความเป็นปัจเจกที่เทียบเคียงกันได้เท่านั้น ที่ทำให้เราได้รับการไถ่ถอน (หลุดพ้นจากพันธนาการ). เมื่อภูมิปัญญาบังเกิด. อัตตาก็มลายไปทีละน้อย ๆ จนหมดสิ้น และเราก็จะมีความสุขอันสมบูรณ์.
พรหมมัน กำหนดได้แต่เพียงการเป็นอยู่เท่านั้น. มันอยู่เหนือสภาวะทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความแตกต่างทั้งมวลของสสาร วัตถุ และการกระทำที่ตระหนักไว้ก่อนแล้วนั้น ไม่สามารถถือเอาได้ว่าเป็นเรื่องของปัจเจก และไม่มีความรัก และความเคารพได้.
ศังกราจารย์ถือว่า การกระทำเป็นสิ่งสำคัญในการชำระล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ แต่เมื่อบรรลุปัญญาญาณแล้ว ปัญญากับการกระทำขัดแย้งกันเหมือนความสว่างและความมืด.1 ศังกราจารย์ปฏิเสธทัศนะของ ญาณกรรมสมาคม.2, 01. ท่านเชื่อว่าพิธีกรรมตามแนวพระเวท มีไว้สำหรับผู้สูญสิ้นไปในความไม่รู้และความปรารถนา (ที่จะเรียนรู้)3. ผู้ประสงค์ที่จะรอดควรละทิ้งการปฏิบัติพิธีกรรม. เป้าหมายของ คีตา ตามคำแนะนำของศังกราจารย์คือ การทำให้โลกนี้ราบคาบจากการเป็นโดยสมบูรณ์ ให้กลายเป็นสถานที่ที่มีการกระทำทั้งมวลบังเกิดขึ้น4. แม้ว่าชีวิตของเขาเองจะเป็นเพียงตัวอย่างของกิจกรรมที่ดำเนินไป หลังจากการบรรลุปัญญาญาณแล้ว.
ซึ่งมุมมองต่าง ๆ ของศังกราจารย์นั้น พัฒนาต่อยอดมาจากมหาคุรุอนันตคีรี (Ānandagiri)02. ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงพุทธศตวรรตที่ 18 หรือปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 มหาคุรุศรีธระ (Śrīdhara)03. (ราว พ.ศ.1943 หรือ ค.ศ.1400) และมหาคุรุมธุสูธณะ (Madhusūdana)04. (พุทธศตวรรษที่ 21 หรือคริสต์ศตวรรษที่ 16) และเหล่ามหาคุรุอีกหลายท่าน ก็ยังมีกลุ่มนักพรตมราฐะ (Marāṭha)05. ตุคาราม (Tukārām)06. และ ญาเณศวระ (Jñāneśvar)07. ต่างยอมรับในฐานแนวคิดด้านอภิปรัชญาของอาทิ ศังกราจารย์.
ศรีรามานุชาจารย์ หรือ รามานุชะ (Ramanujacharya or Rāmānuja or Ilaiya Perumal), ที่มา: www.britannica.com, วันที่สืบค้น 30 สิงหาคม 2560.
ศรีรามานุชาจารย์ หรือ รามานุชะ (พุทธศตวรรษที่ 16 หรือ คริสต์ศตวรรษที่สิบเอ็ด) ข้อแนะนำของท่านนั้น หักล้างเรื่องความไม่สมจริงของโลกและวิถีแห่งการละทิ้งการกระทำ. ท่านดำเนินการตามการตีความโดย ยามุนาคยาจารย์ (Yāmunācārya)08. ในคีตารธสังเคราะห์ (Gītārthasaṁgraha)09. พรหมมัน ความเป็นความจริงสูงสุดคือพระวิญญาณ ไม่ใช่ว่าไม่มีคุณลักษณะใด. พระองค์มีสติด้วยการตระหนักรู้และด้วยจิตสำนึกที่จะสร้างสรรค์โลกและประทานทางรอดบนสิ่งที่พระองค์...
--------------
1. อัธยายะที่ 4 สรรคที่ 37; อัธยายะที่ 4 สรรคที่ 33.
2. तस्माद् गीतासु केवलाद एव तत्त्वज्ञानान मोक्षप्राप्तिः न कर्म समुच्चितात् - tasmād gītāsu kevalād eva tativajñānān mokṣaprāptih na karma samuccitāt - ดังนั้น ในคีตา การบรรลุความหลุดพ้นจึงอาศัยความรู้ในพระตถาคตเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่ด้วยการกระทำ เพราะสรุปไว้แล้ว . ศ.ภ.ค. บรรพที่ 2 บทที่ 11. แม้ว่ากรรม อาจจะไม่ใช่สาเหตุของความหลุดพ้นในทันที แต่ก็ยังเป็นวิธีที่จำเป็นในได้มาซึ่งปัญญาแห่งความรอด. ซึ่งศังกราจารย์ยอมรับ : कर्मनिष्ठाय ज्ञाननिष्ठाप्तिहेतुवेना पुरुषार्थहेतुत्वां न स्वतन्त्रेणा । - Karmaniṣthayā jñānaniṣthāprāptihetutvena puruṣārthahetutvaṁ na svātantryeṇa. - สำหรับผู้อุทิศตนในการกระทำ ตนเป็นเหตุแห่งการบรรลุความรู้ มิใช่เป็นอิสระจากเหตุแห่งความมุ่งหมายของมนุษย์.
3. अविद्याकामवता एव सर्वाणी श्रान्तादिनी दर्शितानी - Avidyākāmavata eva sarvāṇi śrantādīni darśitāni - มันเป็นความปรารถนาในความไม่รู้ที่แสดงให้เห็นความเหนื่อยล้าทั้งหมด.
4. गीताशास्त्रस्य प्रयोजनं परं निश्रेयसं, सहेतुकस्य संसारस्य अत्यन्तोपरमलक्षणम् - Gītāśāstrasya prayojanaṁ paraṁ nihśreyasam, sahetukasya saṁsārasya atyantoparamalakṣaṇam - จุดมุ่งหมายของคีตานั้นสูงส่งอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นคุณลักษณะขั้นสูงสุดของโลกที่มีเหตุร่วม. บทนำของ ศ.ภ.ค.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. ญาณกรรมสมาคม (jñanakarmasamuccaya หรือ Jñana-karma-samuccaya-vada) หมายถึง สำนักที่ยอมรับการประสมประสานระหว่างญาณหรือองค์ความรู้และกรรมหรือการกระทำที่เกี่ยวกับลัทธิที่ยืดถือพิธีกรรม, ซึ่งทั้งสำนัก "วิศิษฏาไทวตะ-Viśiṣtādvaita Vedānta" ที่มี "ศรีรามานุชาจารย์-Sri Rāmānujacharya" เป็นผู้นำ และสำนัก "อไทวตะเวทานตะ-Advaita Vedānta" ของ "อาทิศังกราจารย์ - Ādi Śaṁkara" ต่างก็ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้, ที่มา: www.hindupedia.com, วันที่สืบค้น 23 สิงหาคม 2560.
02. มหาคุรุอนันตคีรี (Ānandagiri) ท่านเป็นคุรุในลัทธิอไทวตะ เวทาตะ ตามแนวคิดของอาทิ ศังกราจารย์ ท่านมีงานประพันธ์มากมาย ได้เขียนบทวิจารณ์ย่อยเกี่ยวกับแนวคิดของ อาทิ ศังกราจารย์ที่มีชื่อว่า อานันทะ-ญาณ (Ānanda-jñāna), ที่มา: www.hindupedia.com, วันที่สืบค้น 12 พฤศจิกายน 2566.
03. มหาคุรุศรีธระ (Śrīdhara) หรือ ศรีธารา สวามี ท่านชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างสองแนวความคิดเกาทิยะ ไวศวนิกาย (Gaudiya Vaisnavism) และ มธวะ สัมประไดย (Madhva sampradaya) คำแนะนำของท่านมีอิทธิพลต่อลัทธิไวษณพ (Vaisnava Tradition), ระบบลัทธิศาสนาที่ท่านนับถือและถือปฏิบัติอยู่นั้น ไม่ได้เคร่งครัดตามลัทธิอไทวตะ เวทานตะ, ที่มา: Hindu Theology in Early Modern South Asia: The Rise of Devotionalism and the Politics of Genealogy, Kiyokazu Okita, Oxford University Press, 2014.
ศรี มัทสุธาณะ สรัสวตี, ที่มา: harinamasankeerthanam.blogspot.com, วันที่สืบค้น 25 สิงหาคม 2560.
04. มหาคุรุมธุสูธณะ (Madhusūdana) หรือ มัทสุธาณะ สรัสวตี (Madhusūdana Sarasvatī) มีชีวิตในช่วง พ.ศ.2083-2183 หรือ ค.ศ.1540-1640 ชาตะ-มรณะที่รัฐเบงกอล, เป็นนักปรัชญาอินเดีย ลัทธิอไทวตะ เวทานตะ ท่านมีผลงานมากเกี่ยวกับลัทธินี้, ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 25 สิงหาคม 2560.
05. นักพรตมราฐะ (Marāṭha) กลุ่มนักพรตมราฐะ (The Marāṭha saints) เป็นกลุ่มนักพรตในรัฐมหาราษฏระ ที่มีบทบาทแนวคิดสำคัญต่ออาทิ ศังกราจารย์ เป็นกลุ่มที่มีความกังขา (ในเรื่องของชีวิต) เป็นของตนเอง มีบทเพลงลำนำแสดงแนวคิดนี้ไว้ เป็นกลุ่มสำคัญสู่แนวคิดลัทธิภักติ (Bhakti), ที่มา: The Power of the Sacred Name: Indian Spirituality Inspired by Mantras., โดย V. Raghavan, หน้าที่ lxi.
06. ทุคาราม (Tukārām) ท่านมีชีวิตอยู่ในช่วง พ.ศ.2141-2192 หรือ ค.ศ.1598-1649 เป็นหนึ่งในผู้เขียนบทกวีที่ยิ่งใหญ่ในรัฐมหาราษฏระ ในภาษามราฐี (Marathi - Marāṭhī) ซึ่งเป็นที่นิยมจวบจนปัจจุบัน เป็นหนึ่งในกลุ่มนักพรตมราฐะ, ที่มา: www.hindupedia.com, วันที่สืบค้น 29 สิงหาคม 2560.
07. ญาเณศวระ (Jñāneśvar) ท่านมีอายุในช่วง พ.ศ.1818-1839 หรือ ค.ศ.1275-1296 เป็นนักพรตนักกวีที่โดดเด่น สร้างคุณค่าให้แก่วัฒนธรรมของชาวมหาราษฎระ ท่านได้ให้ข้อแนะนำในภควัทคีตาในภาษามราฐีและมีงานเขียนด้านปรัชญา ท่านได้ถ่ายถอดแนวปรัชญาลงในบทกวีชื่อ abhangas ซึ่งเป็นที่นิยมในรัฐมหาราษฏระถึงปัจจุบัน กล่าวกันว่าหลังแต่งบทกวีแล้ว ท่านได้จาริก (ด้วยเท้าเปล่าและถือธงในมือ) ไปยังเมืองเล็ก ๆ ริมฝั่งแม่น้ำอินทรยานี (Indrayani) และนั่งกรรมฐานที่นั่น, ที่มา: src-h.slav.hokudai.ac.jp/rp/publications/no14/14-09_Koiso.pdf, วันที่สืบค้น 29 สิงหาคม 2560.
ยามุนาคยาจารย์-Yāmunācārya หรือ Alavandar, ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 31 สิงหาคม 2560.
08. ยามุนาคยาจารย์ (Yāmunācārya) ท่านเป็นมหาคุรุนักปราชญ์ในลัทธิวิศิษฏาทไวตะ เวทานตะ (Viśiṣtādvaita Vedānta) แห่งเมืองศรีรังคาม รัฐทมิฬนาดู อินเดีย มีศรีรามานูชาจารย์เป็นศิษยานุศิษย์ ชาตะท่านช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 15 หรือ คริสต์ศตวรรษที่ 10, ที่มา en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 31 สิงหาคม 2560.
09. คีตารธสังกริห์ หรือ คีตารธสังเคราะห์ (Gītārthasaṁgraha) แปลว่า สาระสำคัญของลำนำ (The Essence of the Gita) เป็นงานนิพนธ์ของมหาคุรุยามุนาคยาจารย์ ซึ่งมีแนวคิดด้านจิตวิทยา, ที่มา: www.lakshmanjooacademy.org, วันที่สืบค้น 31 สิงหาคม 2560, และ Psychology in the Indian Tradition โดย K. Ramakrishna Rao, Anand C. Parajpe สำนักพิมพ์ Springer, 2016.
18
...รังสรรค์ขึ้น. พระองค์คือผลแห่งอุตตมะพยากรณ์ ไร้ขอบเขตและนิรันดร์ มีก่อนและอยู่เหนือโลกทั้งมวล ปราศจากช่วงเวลา. บรรดาเทพในพระเวทเป็นข้าที่พระองค์ได้สร้างขึ้นและรับใช้พระองค์ ตลอดจนให้บรรดาทวยเทพได้สถิตย์ในที่ต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของตน. โลกซึ่งไร้การหลอกลวงหรือไร้ภาพลวงตา ทว่ามีความจริงแท้. โลกและพระผู้เป็นเจ้าเป็นหนึ่งเดียว เสมือนร่างกายและจิตวิญญาณ. โลกและพระผู้เป็นเจ้าเป็นทั้งมวล ในช่วงขณะเวลาเดียวกัน ซึ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ . ก่อนที่จะมีการสร้างโลกขึ้น โลกคือรูปแบบที่เป็นไปได้ ทว่ายังขาดการพัฒนาปะติดปะต่อให้แสดงตัวตนและมีความหลากหลาย. ในการรังสรรค์นี้ โลกได้พัฒนาจนมีชื่อและมีตัวแบบขึ้น (นามรูป - nāmarūpa). เป็นในนามของโลกด้วยฐานะที่เสมือนหนึ่งเป็นเรือนร่างของพระผู้เป็นเจ้า ใคร่ขอชี้แนะว่าโลกนี้ไม่ได้มาจากสิ่งแปลกแยก ซึ่งเป็นหลักการที่สองรองลงมา แต่ถูกสร้างสรรค์โดยธรรมชาติที่เป็นฏีกาสูงสุดของพระองค์เอง. พระผู้เป็นเจ้าเป็นอุปกรณ์กลไกและเป็นวัสดุหลักแห่งโลก. ความคล้ายคลึงกันของจิตและร่าง ได้นำมาบ่งชี้ถึงการพึ่งพากันอย่างสมบูรณ์ของโลกกับพระผู้เป็นเจ้า แม้ร่างจะอิงพึ่งพาจิตอย่างสิ้นเชิง. โลกมิได้เป็นเพียงเรือนร่างของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนที่เหลือของพระองค์ (อิศวรยเศษะ - īśvarasyaśeṣa) และจากวลีนี้เองได้ชี้ให้เห็นถึงการพึ่งพิงกันอย่างสมบูรณ์และความบังเอิญของโลก.
การศึกษาตามแนวอุปนิษัท, ที่มา: www.kagylokurt.hu, วันที่สืบค้น 9 กันยายน 2560.
เราต่างตระหนักรู้ถึงสารัตถะและสิ่งของที่จับต้องได้ ซึ่งจิตสำนึกหยั่งรู้ถึงความแตกต่าง อันเป็นสาระสำคัญที่ขึ้นตรงต่อแนวคิดของมหาคุรุศรีรามานุชาจารย์ (ธรรมภูตวยะ - dharmabhūtadravya) ได้กระจายแผ่ซ่านออกมา. ตัวตน (jīva- ชีวะ) นั้นไม่จริงแท้และในสภาวะแห่งการปลดปล่อยแล้ว มันไม่ดับสูญ. จากข้อความในอุปนิษัท, ตตฺ ตฺวมฺ อสิ (Tat tvam asi) "เจ้าคือนั่น (that art thou)"01. ทุกขณะจิต วิญญาณฉันก็คือร่างฉัน. พระผู้เป็นเจ้าทรงเอื้ออำนวย และควบคุมหลักของจิตไว้ ทั่วทุกขณะ จิตวิญญาณจะหนุนนำเรือนร่าง. พระผู้เป็นเจ้าและวิญญาณนั้นเป็นหนึ่ง ทว่าทั้งสองนั้นไม่เหมือนกัน เนื่องจากพระผู้เป็นเจ้าทรงสถิตและแทรกซึมอยู่ในจิตวิญญาณ ทรงเป็นผู้นำทาง, อันทรยามิน02. ซึ่งดำดิ่งเข้าถึงจิตวิญญาณและมีสถานะเป็นหลักการของชีวิต. การดำรงอยู่ภายในนี้ ไม่ได้ระบุความเป็นมนุษย์. ในเวลาที่เป็นอนันตกาลนี้ ชีวิตยังคงแตกต่างจากผู้สร้าง.
มหาคุรุศรีรามานุชาจารย์ได้พัฒนาความคิดเกี่ยวกับ คีตา ถึงประเภทแห่งความลี้ลับปัจเจกชน. ในสถานที่อันลี้ลับภายในดวงวิญญาณมนุษย์นั้น พระผู้เป็นเจ้าทรงสถิตอยู่ แต่มนุษย์ยังมิอาจตระหนักได้ ตราบเท่าที่วิญญาณยังไม่ได้รับองค์ความรู้ในการไถ่ถอน. เราจะได้รับความรู้นี้ ก็ด้วยการรับใช้พระผู้เป็นเจ้าด้วยหัวใจและ...
หมายเหตุ ขยายความ
01. ตตฺ ตฺวมฺ อสิ (Tat tvam asi) เป็นปรัชญาขั้นพื้นฐานของอุปนิษัท (ดูซเซน - Deussen) - เป็นคำสารภาพศรัทธาของคนอินเดียหลายล้านคน ซึ่งหมายถึงว่า จักรวาลและพรหมันนั้น คือตัวเจ้าเอง หรือคำพูดที่ว่า "โลกมีอยู่แต่ภายในจนกว่าเจ้าเองจะได้รู้จักมัน", ที่มา: ประวัติศาสตร์อินเดียโบราณ โดย ผศ.รท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ, หน้าที่ 28, สำนักพิมพ์สุขใจ พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2555.
02. อันทรยามิน (antaryāmin) หมายถึง ผู้ควบคุมจากภายใน (One who controls from within), ตามที่ได้แสดงไว้ในอุปนิษัท, พรหมมัน (Brahman) นั้นเป็นทั้งตัวเราและเป็นความจริงที่เหนือกว่า. มีการสร้างโลก, พรหมมันได้มุ่งเข้าสู่โลก. เข้าควบคุมโลกจากภายใน. และนี่คือมุมมองที่เรียกว่า "อันทรยามิน", ผู้ควบคุมจากภายใน. ที่มา: www.hindupedia.com, วันที่สืบค้น 13 กันยายน 2560.
19
...จิตวิญญาณของเราทั้งหมด ความไว้วางใจอย่างที่สุดนี้นั้น มีความเป็นไปได้เฉพาะผู้ที่ได้รับการคัดสรรตามพระกรุณาจากพระผู้เป็นเจ้า. มหาคุรุศรีรามานุชาจารย์ยอมรับว่าวิถีแห่งองค์ความรู้ ความภักดีและการกระทำทั้งหมดนั้น ได้มีการกล่าวถึงใน คีตา แต่มหาคุรุท่านนี้ ได้ให้ความสำคัญกับความภักดี. ความจงเกลียดจงชังต่อบาป ความประสงค์อันหยั่งลึกต่อความศักดิ์สิทธิ์ ความรู้สึกที่ดื่มด่ำถึงความวางใจและศรัทธาในการเอาชนะความรักของพระผู้เป็นเจ้าไว้ได้ ประสบการณ์ได้รับการตอกย้ำ ที่มาจากการรับคัดเลือกอันศักดิ์สิทธิ์จากพระองค์.
ภาพพระวิษณุทรงประทับในไวกูณฐ์ (Lord Viṣṇu in Vaikuṇṭha) ภาพเขียนศิลปะพื้นบ้าน เมืองปูริ รัฐโอริสสา อินเดีย, ที่มา: www.exoticindiaart.com, วันที่สืบค้น 14 กันยายน 2560.
สำหรับมหาคุรุศรีรามานุชาจารย์แล้ว พระวิษณุคือสิ่งสูงสุด. พระองค์เป็นพระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริง ไม่ทรงแบ่งปันพระเกียรติให้แก่ใคร ๆ. อิสระในการรับใช้พระองค์ในไวกูณฐ์ (Vaikuṇṭha) หรือสรวงสวรรค์.
มหาคุรุมาธวะ01. (พ.ศ.1742-1819 หรือ ค.ศ.1199 ถึง 1276) ได้เขียนงานสองชิ้นปรากฎใน ภัควัทคีตา เรียกว่า คีตาภาษย์ 02. และ คีตาทาตบรรพ03. ท่านได้พยายามแสดงแนวคิดปลีกออกจาก ลัทธิทไวตะ (dvaita - dualistic phylosiphy - ทวิภาวะ หรือ พหุนิยม) ของ คีตา. แต่งานเขียนนี้มีความขัดแย้งกันเอง ท่านเชื่อว่า การพิจารณาจิตวิญญาณนั้นมีความเหมือนกับความรู้สึกสูงสุด และมีความแตกต่างกันเป็นแต่ละผู้คนไปและมีความสมัครสมานระหว่างกัน บางส่วนหรือทั้งหมด อันไม่อาจต้านทานได้. ท่านตีความ "เจ้าคือนั่น (that art thou)" ในความหมายที่เราต้องเห็นถึงความแตกต่างระหว่างของฉันและของเจ้า และยึดทุกอย่างไว้ภายใต้การควบคุมของพระผู้เป็นเจ้า1. มหาคุรุมาธวะเชื่อว่าวิธีการด้านความภักดีได้ถูกเน้นไว้ใน คีตา .
นินภาค04. (พ.ศ.1705 หรือ ค.ศ.1162) ใช้ทฤษฎีตามลัทธิทไวตาทไวตะ (dvaitādvaita) (ปรัชญาแบบทวิภาวะ-อทวิภาวะ - dual-non-dual doctrine). ท่านได้เขียนไว้ในพรหมสูตร (Brahma Sūtra) และสาวกท่านนามว่า เกศวะ กาษสิริ (Keśavakāṣmīrin หรือ Kesava Kasmiri) ได้เขียนคำแนะนำใน คีตา ขึ้นอันมีชื่อว่า ตตฺ ตฺวประกาศิคา (Tattvaprakāśikā). มหาคุรุนินภาคได้ถือเอาจิตวิญญาณ (ชีวะ - jīva), โลก (ชกต - jagat) และพระผู้เป็นเจ้านั้น มีความแตกต่างจากกัน การดำรงอยู่ของจิตวิญญาณและโลกนั้น เป็นไปตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า. การภักดีต่อสิ่งสูงสุดนั้นเป็นแนวเขียนหลักของมหาคุรุท่านนี้.
มหาคุรุศรีวัลภาจารย์ (พ.ศ.2022 หรือ ค.ศ.1479) ได้รังสรรค์ลัทธิขึ้นมาที่เรียกว่า ศุทธาทไวตะ (Śuddhādvaita) หรือ ทวิภาวะอันบริสุทธิ์ (pure non-dualism). เมื่อตัวตน (ชีวะ - jiva) มีความบริสุทธิ์และไม่มีความมืดบอดจากมายาทั้งหลายแล้ว และแล้วพรหมมันอันสูงสุดก็เป็นหนึ่ง. จิตวิญญาณนั้นเป็นเพียงอนุภาคของพระผู้เป็นเจ้า เสมือนหนึ่งเป็นประกายไฟที่ไม่สามารถเหนี่ยวรั้งรับองค์ความรู้ที่พึงมีไว้ได้ เว้นเสียแต่จะได้รับพระกรุณาจากพระผู้เป็นเจ้า. การภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้านั้นเป็นวิธีการที่มีความสำคัญยิ่ง...
--------------
1. मदीयं तदीयं इति भेदं अपहाय सर्वम् ईश्वराधीनं इति स्थितिः भगवततैपर्यः - madīyaṁ tadīyam iti bhedam apahāya sarvam īśvarādhīnam iti sthitiḥ Bhāgavatatāiparya. - ตำแหน่งที่ว่าทุกสิ่งอยู่ภายใต้พระเจ้า ยกเว้นความแตกต่างระหว่างของฉันกับของพระองค์ คือการแปลของพระเจ้า.
หมายเหตุ ขยายความ
มหาคุรุมาธพ หรือ มาธวจารย์ (Madhva or Madhavacharya), ที่มา: 4sam.org, วันที่สืบค้น 14 กันยายน 2560.
01. มหาคุรุมาธพ หรือ มาธวจารย์ (Madhva or Madhvacharya) ชาตะ-มรณะ พ.ศ.1781-1860 (ค.ศ.1238-1317) มักเป็นที่รู้จักในชื่อว่า ปูรนะ ปราชญ์ - Purna Prajña และ อานันท์ ธีร์ - Ananda Teertha เป็นนักปรัชญาฮินดู และเป็นมหาคุรุในลัทธิทไวตะ เวทานตะ (Dvaita Vedānta - ทวิภาวะ - dualism) มหาคุรุท่านนี้เรียกปรัชญาของท่านว่า "มุมมองอันจริงแท้ - The realist viewpoint - ทัททวดะ - Tattvavada", ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 15 กันยายน 2560.
02. คีตาภาษย์ (Gītābhāṣya) จากการสืบค้น พบว่าเป็นงานเขียนของทั้งมหาคุรุศรีรามานุชาจารย์และมาธวจารย์ เป็นภาษาสันสกฤต (ที่มีแปลเป็นภาษาอังกฤษมีน้อยมาก) จากหนังสือของ Van Buitenen (พ.ศ.2499/ค.ศ.1956) ในหนังสือคีตาภาษย์นี้ จะมีความหมายที่หลากหลายกล่าวถึง การที่ตัวตนยอมจำนน (Self-Surrender) หรือ Prapatti {Self-Surrender (prapatti) to God in Shrivaishnavism เขียนโดย Srilata Raman เมื่อ 24 มกราคม พ.ศ.2550}, ที่มา: books.google.co.th, วันที่สืบค้น 15 กันยายน 2560.
03. คีตาทาตบรรพ (Gītātātparya) เป็นหนึ่งในหนังสือที่เก่าแก่ เขียนเป็นบท ๆ ไว้มาก มหาคุรุมาธวจารย์ไม่ได้วิจารณ์ให้ข้อเสนอแนะทุก ๆ โศลกใน คีตา แต่ได้เรียกร้องประเด็นที่เป็นจุดที่ต้องวิพากษ์ เช่น วิถีที่จริงแท้ในการตระหนักถึงการดำรงอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า, การเทิดพระเกียรติพระผู้เป็นเจ้า เป็นต้น, ในแนวลัทธิทไวตะ เวทานตะ (ทวิภาวะ - dualism), ที่มา: Vedantic Commentaries on the Bhagavadgita, โดย Niranjan Saha สำนักพิมพ์ Springer (Published online: 30 July 2016) หน้าที่ 268-269, วันที่สืบค้น 15 กันยายน 2560.
นินภาค หรือ ศรีนินภาคยาจารย์ (Nimbārka or Sri Nimbārkacarya), ที่มา: redzambala.com, วันที่สืบค้น: 18 กันยายน 2560.
04. นินภาค หรือ ศรีนินภาคยาจารย (Nimbārka or Sri Nimbārkacarya) เป็นมหาคุรุในนิกายไวษณพ หรือ ลัทธิไวศณพ (Vishnav หรือ Vaishnava) สาขาทไวตาทไวตะ (dvaitādvaita) ชาตะท่านเมื่อ พุทธศตวรรษที่ 17 หรือ คริสต์ศตวรรษที่ 12 ที่รัฐมหาราษฎระ อินเดีย. แนวคิดของท่านแย้งกับมหาคุรุศรีรามานุชาจารย์. ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 19 กันยายน 2560.
20
...ในการได้รับการปลดปล่อย. ภัคติ (Bhakti) หรือ ภักดี นั้นคือความจริงแท้ที่มีความสัมพันธ์โยงกับความรัก1.
มีมหาคุรุมากมายหลายท่านที่ได้ในคำแนะนำใน คีตา และในยุคสมัยของเราแล้ว ผู้นำคือ บี. จี. ทิลัค01. และ ศรีอรพิณโฑ. คานธี02. ซึ่งคานธีมีข้อแนะนำหลายประการ (ที่น่าสนใจ).
ความแตกต่างของการตีความโดยทั่วไปนั้น ถือเป็นความแตกต่างที่กำหนดโดยมุมมองที่จะนำมาใช้. ด้วยประเพณีของชาวฮินดูแล้ว เชื่อว่ามุมมองที่แตกต่างกันนั้น เป็นส่วนเสริมซึ่งกันและกัน. แม้แต่ระบบปรัชญาอินเดียเองก็มีหลากหลายมุมมองหรือทรรศนะ (darśanas) เสริมและไม่ขัดแย้งกันและกัน. ภควัทคีตา ได้กล่าวถึงความจริงแท้อันสำคัญยิ่งด้วยแนวทางต่าง ๆ 2. จากบทกวีที่นิยมกล่าวกัน "จากมุมมองที่เป็นเรือนร่าง ข้าพเจ้าเป็นบ่าวท่าน ด้วยมุมมองที่เป็นอัตตาของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเป็นส่วนหนึ่งของพระองค์ จากมุมมองของตัวเอง ข้าพเจ้าเป็นตัวข้าพเจ้าเอง."3. พระผู้เป็นเจ้าเป็นประสบการณ์ตามที่ท่านหรือข้าฯ มี เป็นตามระนาบที่เรามีสติอยู่.
--------------
1. प्रीमलक्षणा श्राद्धा । अमृततरङ्गिणी - premalakṣaṇā śraddhā. Amṛtataraṅgiṇī - ปรีมลักษณา ศรัทธา อมฤตตรังคินี.
2. “इति नानाप्रसंख्यानं तत्त्वनाम् कविभिः कृतम् - iti nānāprasaṁkhyānāṁ tattvānāṁ kavibhiḥ kṛtam. - ดังนั้นกวีจึงได้สร้างองค์ประกอบต่าง ๆ ขึ้นมามากมาย”
3. देहबुद्ध्या तु दासोऽहं जीवबुद्ध्य िवद् अंशकः:
आत्माबुद्ध्या त्वां एवाहं इति मे निश्चिता मतिः ।
Dehabuddhyā tu dāso’haṁ jīvabuddhyā īvad aṁśakaḥ:
ātmabuddhyā tvam evāham iti me niścitā matiḥ.
แต่ข้าพเจ้าเป็นทาสในกายและเป็นผู้รับส่วนในจิตใจของสิ่งมีชีวิต
ด้วยความประหม่าของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงมั่นใจว่าข้าพเจ้าคือท่าน.
ดูในมหาคุรุอานันทคีรี (Ānandagiri) : शङ्करदिग्विजय - Śaṁkaradigvijaya - ชื่อชิ้นงานของ อาทิ ศังกราจารย์.
หมายเหตุ ขยายความ
บาล คังคาธร ดิลก (Bal Gangadhar Tilak), ที่มา: @sarbanandsonwal โดยผ่าน www.thestatesman.com, วันที่สืบค้น 14 พฤศจิกายน 2566.
01. บี. จี. ทิลัค (B. G. Tilak) หรือ บาล คังคาธร ดิลก (Bal Gangadhar Tilak) {23 กรกฎาคม พ.ศ.2399 (ค.ศ.1856) - 1 สิงหาคม พ.ศ.2463 (ค.ศ.1920)}. ท่านเป็นนักชาตินิยมอินเดีย ครู นักปฏิรูปสังคม นักกฎหมาย และนักเคลื่อนไหวเพื่อเอกราช. ท่านเป็นผู้นำคนแรกของกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชแห่งอินเดีย (Indian Independence Movement). ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 18 กันยายน 2560.
มหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhi), ที่มา: www.pulitzer.org, วันที่สืบค้น 20 กันยายน 2560.
02. ศรีอรพิณโฑ. คานธี (Srī Aurobindo. Gandhi) หรือ มหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhi) ชื่อเต็ม โมหันทาส กะรัมจันท คานธี (Mohandas Karamchand Gandhi) บ้างก็เรียกให้เกียรติท่านเป็นนักปราชญ์ว่า ศรี อรพิณโฑ (Srī Aurobindo) {2 ตุลาคม พ.ศ.2412 (ค.ศ.1869) ณ เมืองพอร์บันดาร์ อินเดีย (ถูกลอบสังหาร) 30 มกราคม พ.ศ.2491 (ค.ศ.1948)} ที่กรุงนิวเดลลี อินเดีย ท่านเป็นผู้นำของกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชแห่งอินเดีย (Indian Independence Movement) ต่อต้านการปกครองของอังกฤษ. เป็นผู้นำด้านอารยะขัดขืนที่ปราศจากความรุนแรง (Nonviolent civil disobedience) ท่านมีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "บิดาแห่งชาติอินเดีย-Father of the Nation" เกียรติประวัติและผลงานท่านมีมากมาย, ปรับปรุงจากที่มา: en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 20 กันยายน 2560.
ที่มา ศัพท์และคำอธิบาย:
01. จาก. THE BHAGAVADGITA, S. RADHAKRISHNAN, HarperCollins Publishers India Pvt Ltd. Printed in India, 14th impression 2000, โดย ฯพณฯ สรวปัลลี ราธากฤษณัน (Servepalli Radhakrishnan) นักปราชญ์และประธานาธิบดีคนที่ 2 ของประเทศอินเดีย.
02. มีนักปรัชญาหลายท่านหลายสำนักได้วิพากษ์เกี่ยวกับเรื่อง "ภควัทคีตา" ไว้มาก ดังแสดงเป็นแผนภูมิที่ เฟร็ดดิช อ็อตโต ชเรเดอร์ ได้แสดงไว้ข้างต้น ขออ้างอิงไว้ ณ ที่นี้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าต่อไป, อ้างอิงจาก https://internationaljournaldharmastudies.springeropen.com/articles/10.1186/s40613-016-0026-8/figures/4, วันที่สืบค้น 23 ตุลาคม 2566.
เฟร็ดดิช อ็อตโต ชเรเดอร์ (Friedrich Otto Schrader) นักอินเดียวิทยา ชาวเยอรมัน (19 มีนาคม พ.ศ.2419 - 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2504), ที่มา: www.payer.de/neobuddhismus/neobuddh1304.gif, วันที่สืบค้น 3 สิงหาคม 2560.