MENU
TH EN

นามของพระศิวะ เทพ เทวีที่เกี่ยวข้อง และรายละเอียดต่าง ๆ

พระศิวะ, ที่มา: www.satyavedism.org, วันที่เข้าถึง: 12 ธันวาคม 2566.
นามของพระศิวะ เทพ เทวีที่เกี่ยวข้อง และรายละเอียดต่าง ๆ
First revision: Dec.28, 2023
Last change: Jul.21, 2024
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา.

       พระศิวะ (शिव - Śiva - ผู้เป็นมงคลยิ่ง) หรือ มหาเทพ (महादेव - Mahādevaḥ - เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่) หรือ หระ (Hara - हर ) คนไทยมักจะเรียกพระองค์ว่า พระอิศวร ( ईश्वर - Īśvara) นับเป็นพระผู้เป็นเจ้าสูงสุดในไศวนิกาย ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู.
  01.  พระศิวะ शिव Lord Śiva  ผู้เป็นมงคลยิ่ง  
  02.  พระอิศวร ईश्वर  Īśvara  
  03.  สยัมภู शम्भु  Shambhu  ผู้เป็นมงคล
  04.  ทักษิณามูรตี दक्षिणामूर्ति  Dakṣiṇāmūrti  
  05.  พระมเหศวร महेश्वर  Maheśvara  
  06.  พระรุทร หรือ  รุทฺร रुद्र  Rudra  
  07.  พระผู้มีสามเนตร    Trayambakam  
  08.  พระไภรวะ  भैरव  Lord Bhairava  แปลว่าน่าสะพึงกลัว หรือ กละ ไภรวะ (काला भैरव - Kala Bhairava) เป็นเทพในไศวนิกายและพระพุทธศาสนาในวัชรยานนิกาย. สำหรับลัทธิไศวนิกายแล้ว พระไภรวะคือการสำแดงที่ทรงพลังหรือเป็นอวตารของพระศิวะที่เกี่ยวข้องกับการทำลายล้าง. คนไทยจะรู้จักเทพองค์นี้ในนามของ พระพิราพ.
  09.  พระพิราพ   Lord Bairava (in Thai Version)  ปรากฎในวรรณกรรมต่าง ๆ ของประเทศไทย ถือเป็นครูยักษ์ เป็นเทพอสูร นามเทพแห่งคุณงามความดี เป็นผู้ทรงศีลที่มั่นคงในการบำเพ็ญ มีนิสัยห่วงใยช่วยเหลือมนุษย์ และเป็นมหาเทพ (พระศิวะ)
  10.  ปรเมศวร  परमेश्वर  Parameśvara  มหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ ผู้สูงส่ง, ในไศวนิกายหมายถึง พระศิวะ, และในไวษณพนิกายหมายถึง พระวิษณุ
  11.  หระ हर Hara  ในภาษาสันสกฤต หมายถึง การขจัดไป (removing, taking away) หรือ ผู้ทำลาย (Destroyer)
  12.  มเหศะ   Maheśa  
  13.  พระพลนาถ  भोलानाथ  Bholenath or Bholānātha  เทพเจ้าแห่งความไร้เดียงสาบริสุทธิ์ (Lord of innocence)
  14.  ศังกร    Shankara  
  15.  นีลกัณฐ์ नीलकण्ठ Nīlakaṇṭh  (คอน้ำเงิน คล้ำ หรือดำ - blue throat - ด้วยพระศิวะกลืนพิษ "หะลาหละ" ที่เกิดจากการกวนน้ำอมฤต ดูใน กูรมาวตาร ซึ่งพระแม่ปารวตีได้กดพระศอของพระศิวะไว้ เพื่อมิให้พิษลงอุทรได้ พิษจึงทำให้พระศอของพระศิวะคล้ำนั่นเอง) หนึ่งในสิบเอ็ดฉายาของพระรุทร
  16.   มหาเทพ  महादेव  Mahādev  
  17.  ภูเตศวร   Bhuteśvara  
  18.  อาทิโยคี    Adiyogi ปฐมโยคีมหาเทพศิวะ


พระศิวะ นางปารวตี โคนนทิ ฯ, กลุ่มถ้ำเอลโลร่า, รัฐมหาราษฎระ ภารตะ, ถ่ายไว้เมื่อ 19 กรกฎาคม 2566.

 
19.  สกูณะ  सगुण saguṇa  ผู้มีคุณสมบัติ เป็นตัวแทนของพระศิวะ, (กำลัง) เชิงคุณภาพ ตามที่ปรากฎในศิวะปุราณ.
20.  วามเทพ   Vāmadeva  พระศิวะ อมตะ
21.  มหากาล महाकाल Mahākāla  ในพระพุทธศาสนา มหากาลเทพ หมายถึง ธรรมบาล (Dharmapāla) เทพผู้พิทักษ์พระธรรม, มหากาล หมายถึง เทพผู้ยิ่งใหญ่ที่อยู่เหนือกาลเวลาหรือความตาย
22.  พระปศุปติ पशुपति Paśupati  ทรงเป็น "จ้าวแห่งสัตว์ทั้งปวง" เป็นชื่อรองของพระรุทรในยุคพระเวท
23.  พระอิศาน ईशान Īśāna  ผู้ปกครอง เจ้านาย องค์เทพ, ทิกบาล (दिक्पाल - dikapāla) ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นอีกฉายาหนึ่งของพระรุทร
         



พระแม่ปารวตี

พระแม่ปารวตี, 24 พฤษภาคม 2567.
ประมวลและปรับปรุงภาพด้วย Adobe Firefly & Adobe Photoshop applications.

       พระแม่ปารวตี (पार्वती - Pārvatī) หรือ พระแม่อุมา หรือ พระศรีอุมาเทวี หรือ พระแม่อุมาเทวี (उमा - Umā) - คำว่า "ปารวตี" มาจาก "ปรรวัต" (ภาษาสันสกฤต: पर्वत - Parvata) คือ บรรพต แปลว่า ภูเขา, พระนางเป็น บุตรีแห่งขุนเขา (Daughter of the Mountain) มหาเทวี (Mahādevī) เป็นเทวีในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (Devi goddess) เป็นเทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์ ความรัก การอุทิศตน ตลอดจนพลังอำนาจศักดิ์สิทธิ์. พระนางเป็นมเหสีขององค์ภควาน พระศิวะ. อ้างถึงศิวะปุราณะ-มาหาตมยะ ปกรณัมปุราณะแล้วนั้น พระแม่ปารวตีทรงเป็นบุตรีของท้าวหิมวัต เทพแห่งเทือกเขาหิมาลัย. มารดาของพระแม่ปารวตีคือนางเมนกา (Menakā) เป็นตัวแทนแห่งความรู้แจ้ง (พุทธิ - Buddhi). พระนางยังให้กำเนิดพระคเณศและพระขันธกุมาร



พระแม่กาลี

พระแม่กาลี, 24 พฤษภาคม 2567.
ประมวลและปรับปรุงภาพด้วย Adobe Firefly & Adobe Photoshop applications.

       พระแม่กาลี (काली - Kālī) หรือ กาลิกา (कालिका - Kālikā) เป็นหนึ่งในปางต่าง ๆ ของพระแม่ปารวตี. ปางดั้งเดิมของพระแม่กาลี คือ เป็นผู้ทำลายล้างพลังชั่วร้าย และถือกันว่าพระนางเป็นศักติ (Śakti) องค์ที่มีพลังอำนาจมากที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในสี่กาวลมรรค ตามธรรมเนียมตันตระของไศวนิกาย ความเชื่อพื้นฐานคือพระนางเป็นผู้ทำลายความชั่วร้ายและปกป้องผู้บริสุทธิ์ ในยุคถัด ๆ มา มีการเคารพบูชาพระแม่กาลีในสถานะต่าง ๆ ทั้งในฐานะเทวีสูงสุด, พระมารดาแห่งเอกภพ, อาทิศักติ หรือ อาทิปรศักติ  ธรรมเนียมศักตะและตันตระบางธรรมเนียมบูชาพระนางเป็นความจริงสูงสุด ("พรหม") นอกจากนี้ยังถือว่าพระนางเป็นเทวดาผู้พิทักษ์บุคคลผู้ที่เข้าสู่โมกษะ (การหลุดพ้น) รูปเคารพทั่วไปของพระแม่กาลีมักแสดงพระนางกำลังยืนหรือร่ายรำอยู่บนร่างกายของพระศิวะ คู่ครองของพระนาง ซึ่งนอนอย่างสงบเสงี่ยมอยู่เบื้องใต้ มีการบูชาพระนางในบรรดาศาสนิกชนของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูทั้งในภารตะ, เนปาล และหลายแห่งทั่วโลก.
 

ภาพพระแม่กาลีกำลังย่ำอยู่บนพระศิวะพระสวามีของพระแม่ที่กำลังนอนสงบอยู่, ที่มา: esty.com, วันที่เข้าถึง: 24 พฤษภาคม 2567.

 

พระแม่ทุรคา

ภาพพระแม่ทุรคา, 28 พฤษภาคม 2567.

 

ภาพพระแม่ทุรคา, 24 พฤษภาคม 2567.
ประมวลและปรับปรุงภาพด้วย Adobe Firefly & Adobe Photoshop applications.

       พระแม่ทุรคา (दुर्गा - Durgā) เป็นเทวีองค์สำคัญในศาสนาฮินดู บูชาในฐานะปางหลักหนึ่งของมหาเทวี ถือว่าพระทุรคาเป็นเทวมารดาหรือเทวีแห่งการปกปักรักษา, พลังอำนาจ, ความเป็นมารดา, การทำลายล้าง และการสงคราม. พระแม่ทุรคาได้รับการยกย่องว่าเป็นเทวมารดาและมักแสดงในรูปของสตรีที่งดงามขี่เสือหรือสิงโต มีมือจำนวนมากและถืออาวุธครบมือ และมักมีภาพแสดงพระนางมีชัยเหนืออสูร มีการบูชาพระนางอย่างกว้างขวางในลัทธิศักติ และยังปรากฎในไศวนิกายและไวษณพนิกายอีกด้วย.
 


พระคเณศ

ภาพพระคเณศ หรือ พระพิฆเนศ, 25 พฤษภาคม 2567.
ประมวลและปรับปรุงภาพด้วย Adobe Firefly & Adobe Photoshop applications.


       พระคเณศ หรือ พระพิฆเนศ (गणेश - Gaṇeśa) - ทรงมีพระเศียรเป็นช้าง เป็นที่เคารพโดยทั่วไปในฐานะเทพเจ้าผู้ขจัดอุปสรรค องค์อุปถัมภ์แห่งศิลปวิทยาการ วิทยาศาสตร์ และศาสตร์ทั้งปวง และทรงเป็นเทพเจ้าแห่งความฉลาดเฉลียวและปัญญา ซึ่งเทพปกรณัมฮินดูระบุว่าพระคเณศทรงเป็นบุตรขององค์ภควาน พระศิวะและพระแม่ปารวตี. พี่น้อง: พระขันธกุมาร (พระเชษฐา) และศาสฐา (พระอนุชา).


พระขันธกุมาร


พระขันธกุมาร, พระการติเกยะ หรือ พระสกันทกุมาร, 27 พฤษภาคม 2567.

 
       พระขันธกุมาร (บ้างก็เรียก พระขันทกุมาร), พระมุรุกัน (Tamil: முருகன் - Murugan), พระการติเกยะ (कार्तिकेय - Kārtikeya) หรือ พระสกันทกุมาร (स्कंदकुमार - Skanda) เป็นบุตรของพระศิวะกับพระแม่ปารวตี เป็นพระเชษฐาของพระคเณศ เป็นเทพเจ้าแห่งการสงคราม เป็นเทพเจ้าแห่งชาวทมิฬทั้งปวง.

 


โคนนทิ หรือ อุสุภราช


โคนนทิ หรือ อุสุภราช เป็นโคศักดิ์สิทธิ์ผู้เป็นยามเฝ้าเขาไกรลาส, 28 พฤษภาคม 2567


       โคนนทิ หรือ อุสุภราช (नन्दि - Nandi) คำว่า นนทิ ในภาษาสันสกฤตแปลว่า มีความสุข. เป็นชื่อโคเผือกที่เป็นพาหนะของพระศิวะ วัดวิหารพราหมณ์-ฮินดู ไศวนิกายเกือบทั้งหมด จะแสดงรูปสลักหินของโคนนทิ ซึ่งโดยทั่วไปจะหันหน้าไปทางวิหารหรือปรางค์พระประธาน. การที่มีโคนนทินั่งอยู่ ณ สถานที่แห่งใดนั้น ซึ่งหมายถึงว่า องค์ภควานพระศิวะกำลังประทับอยู่ในวัดหรือปรางค์ประธานเอง.

      โคนนทิ ถือกำเนิดมาจากเมื่อครั้งกวนเกษียณสมุทร พระกัศยปะต้องการให้นางโคสุรภีเป็นพาหนะประจำพระองค์ แต่ติดว่านางโคสุรภีเป็นโคเพศเมีย หากจะเป็นโคพาหนะจึงควรเป็นโคเพศผู้มากกว่า พระกัศยปะจึงได้เนรมิตรโคเพศผู้ขึ้นมาให้สมสู่กับนางโคสุรภี ลูกโคที่เกิดมาเป็นโคสีขาวปลอดเพศผู้ลักษณะดีคือ โคอุสุภราช พระกัศยปะจึงได้ประทานชื่อให้ว่า นนทิ และได้ถวายให้เป็นพระพาหนะแด่พระศิวะ.

       อีกตำนานหนึ่งของการกำเนิดโคอุสุภราช กล่าวว่า เดิมทีเป็นเทพบุตรองค์หนึ่งชื่อ นนทิ เป็นเทพที่ดูแลบรรดาสัตว์ 4 ขาต่าง ๆ ที่เชิงเขาไกรลาส และมักเนรมิตรตนให้เป็นโคเผือกสีขาวเพื่อเป็นพาหนะของพระศิวะเมื่อเสด็จไปยังที่ต่าง ๆ.




 

info@huexonline.com