MENU
TH EN
ภาพ: ข้าพเจ้าถ่ายไว้ด้านบนของถ้ำหมายเลข 16 "ถ้ำไกรลาส" เมื่อ 20 กรกฎาคม 2566.
IND-002: (หมู่) ถ้ำเอลโลร่า01, 02, 03, 04, 05.
First revision: Aug.03, 2023
Last change: Mar.26, 2024
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย:
อภิรักษ์ กาญจนคงคา.

       หมู่ถ้ำเอลโลร่า (Ellora Caves ชื่อภาษามราฐี: वेरूळ - เวรูละ - Vērūḷ) เป็นแหล่งมรดกโลก (World Heritage) ขึ้นทะเบียนโดยองค์การยูเนสโก (UNESCO) แห่งสหประชาติเมื่อปี พ.ศ.2526. หมู่ถ้ำเอลโลร่า ตั้งอยู่ที่อำเภอออรังกาบาด บ้างก็เรียก ออรังคบัด รัฐมหาราษฎระ ประเทศอินเดีย เป็นหมู่ศาสนสถานและวิหารเจาะหิน (Rock-cut) ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประกอบด้วยงานศิลปะและโบราณสถานของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พระพุทธศาสนา และศาสนาเชนมีอายุราว พ.ศ. 1143 ถึง 1543 (หรือ ค.ศ. 600 ถึง 1,000) โดยมีถ้ำหมายเลข 16 มีความโดดเด่นที่สุด ถือเป็นสถาปัตยกรรมเจาะหินก้อนเดี่ยว (Single Monolithic Rock Excavation) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก.

       ปัจจุบันมีการค้นพบถ้ำมากกว่า 100 ถ้ำในหมู่ถ้ำเอลโลร่า ทั้งหมดสร้างขึ้นโดยการเจาะเข้าไปในหน้าผาหินบะซอลต์ (Basalt: ซึ่งเป็นหินอัคนีที่พบได้โดยทั่วไป มักมีสีเทาถึงสีดำ มีเนื้อละเอียดเนื่องจากเกิดจากการเย็นตัวของลาวาอย่างรวดเร็วบนพื้นโลก อาจพบมีเนื้อสองขนาดที่มีผลึกขนาดโตกว่าอยู่ในพื้นเนื้อละเอียด หรือมีเนื้อเป็นโพรงข่าย หรือมีเนื้อเป็นตะกรันภูเขาไฟ ส่วนมากมีรูพรุน หรือมีฟองอากาศด้านใน) ในหมู่เทือกเขาจารนันทรี (Charanandri Hills) ปัจจุบันมีเพียง 34 ถ้ำที่เปิดให้เข้าชมสำหรับประชาชนทั่วไป โดย:
  • ถ้ำหมายเลข 1-12 รวม 12 แห่ง เป็นหมู่ถ้ำในศาสนาพุทธ
  • ถ้ำหมายเลข 13-29 รวม 17 แห่ง เป็นหมู่ถ้ำในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และ
  • ถ้ำหมายเลข 30-34 รวม 5 แห่ง เป็นหมู่ถ้ำในศาสนาเชน
       ภายในแต่ละวิหารเจาะหินนั้ัน เป็นการแสดงให้เห็นถึงศิลปกรรมและความเชื่อที่แพร่หลายในสหัสวรรษที่หนึ่ง (คริสต์กาล) และสร้างตามความเชื่อของแต่ละศาสนา การก่อสร้างให้อยู่ใกล้ชิดกันเช่นนี้นั้น แสดงให้เห็นถึงความกลมเกลียวกันระหว่างศาสนา.
แผนที่หมู่ถ้ำเอลโลร่า, ที่มา: re-thinkingthefuture.com, วันที่เข้าถึง 3 สิงหาคม 2566.

       หมู่วิหารทั้งหมดล้วนสร้างขึ้นใน ยุคราชวงศ์สาตวาหนะ (Sātavāhana Dynasty - ราวพุทธศตวรรษที่ 3-9 หรือ ราวปลายศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ถึง ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 3) สืบเนื่องมาถึง ราชวงศ์ราษฎรกูฏ (Rāṣṭrakūṭa Dynasty - ราว พ.ศ. 1296-1525 หรือ ค.ศ.753-982) (สำหรับวิหารพุทธและฮินดู) และ จักรวรรดิยาทวะ หรือ ยาดพ (Yadava or Seuna Dynasty - ราว พ.ศ.1730 - 1860 หรือ ค.ศ.1187-1317) (สำหรับวิหารศาสนาเชน) สนับสนุนการก่อสร้างโดยกษัตริย์ ขุนนาง และผู้ค้าขายในแต่ละยุคสมัย. การสร้างหมู่ถ้ำนี้เพื่อเป็นศาสนสถานและที่พักสำหรับผู้แสวงบุญ ตำแหน่งของหมู่ถ้ำเอลโลร่านี้ ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าเอเชียใต้ยุคโบราณ เป็นศูนย์กลางพาณิชย์ที่สำคัญแถบภูมิภาคแนวเขาเดคคาน (the Deccan region).

       หมู่ถ้ำเอลโลร่าอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองออรังคบัดและห่างจากเมืองออรังคบัดราว 29 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากเมืองมุมไบราว 300 กิโลเมตร (อยู่ทางตะวันออก-ตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองมุมไบ). เขตเทือกเขาฆาฏตะวันตก (Western Ghats range)


ถ้ำหมายเลข 1-12 (หมู่ถ้ำในพระพุทธศาสนา)
       หมู่ถ้ำนี้ ตั้งอยู่ทางทิศใต้และสร้างขึ้นระหว่างพุทธศักราชที่ 1173 ถึง 1243 หรือคริสตศักราชที่ 600-730 ในระยะแรกก็เข้าใจว่าถ้ำพุทธศาสนานี้เป็นถ้ำเจาะที่เก่าแก่ที่สุดที่สร้างขึ้นระหว่างพุทธศตวรรษที่ 10-153 หรือคริสต์ศวรรษที่ 5-8 โดยมีถ้ำที่ 1-5 ได้เจาะขุดในระยะแรก (พ.ศ.943-1143 หรือ ค.ศ.400-600) และถ้ำที่ 6-12 ได้เจาะขุดในระยะที่สอง (พ.ศ.1193-1293 หรือ ค.ศ.650-750) แต่มีนักวิชาการสมัยใหม่ในปัจจุบันถือว่าการเจาะขุดถ้ำพราหมณ์-ฮินดูมีมาก่อนการเจาะขุดถ้ำพุทธศาสนา หมู่ถ้ำพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดคือถ้ำที่ 6 จากนั้น 5, 2, 3, 5 (ปีกขวา), 4, 7, 8, 10 และ 9 [60] พร้อมถ้ำที่ 11 และ 12 หรือที่เรียกว่าโดธาล (Do Thal) และตินธาล (Tin Thal) ตามลำดับ ตินทาลเป็นถ้ำที่ขุดเจาะทีหลังสุด.

ถ้ำหมายเลข 1

ถ่ายไว้เมื่อ 19 กรกฎาคม 2566

       ถ้ำหมายเลข 1 เป็นวิหารที่เรียบง่าย ไม่มีเสาหรืองานแกะสลัก พระภิกษุใช้ห้อง 4 ห้องในกำแพงด้านทิศใต้และทิศตะวันออกรอบ ๆ , มีห้องโถงขนาด 13 ตารางเมตร เพื่อเป็นที่จำพรรษา เนื่องด้วยไม่พบพระพุทธรูปใด ๆ ภายในถ้ำนี้.

ถ้ำหมายเลข 2

ทวารบาล, ถ่ายไว้เมื่อ 19 กรกฎาคม 2566

 
       ถ้ำหมายเลข 2 นี้ เคยเป็นห้องสักการะและเข้าถึงได้โดยใช้บันได ที่ประตูถ้ำมีทวารบาล (द्वारपाल - เทพเฝ้าประตู) ขนาบข้างด้วยหน้าต่าง ภายใน (14.5 ตร.ม.) มีห้องโถง เสา 12 ต้นรองรับห้องโถงนี้ เสาบางส่วนตกแต่งด้วยลวดลายกระถางและใบไม้ มีระเบียงทอดยาวลงมาแต่ละด้าน ตรงกลางผนังด้านหลังมีพระพุทธปางประทับนั่งสูง 3 เมตร และประทับยืน 2 องค์ ขณะที่ตามผนังแต่ละด้านมีพระพุทธรูป 5 องค์ พร้อมด้วยพระโพธิสัตว์ (बोधिसत्त्व) และนางอัปสร (अप्सरा - นางไม้สวรรค์).

ถ้ำหมายเลข 306.
       ถ้ำ 3 นี้ อยู่ต่ำกว่าถ้ำ 2 แต่ก็อยู่ในยุคเดียวกัน ยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์นัก ครึ่งขวาของผนังถ้ำด้านหน้าหายไปหมดแล้ว เช่นเดียวกับระเบียงที่อยู่ด้านหน้าด้วย ตัวถ้ำเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่สมบูรณ์แบบ วัดได้ด้านละประมาณ 45 ฟุต ถ้ำสูง 11 ฟุต รองรับด้วยเสา 12 ต้น โดยมีการแกะสลักหูห้อยลงมาพาดคอเป็นวงกลม. ทั้งสามในแต่ละด้านถูกปิดกั้นด้วยเสาหินสลักคอแปดเหลี่ยม มีห้องโถงตรงกลางเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านซ้ายสุดของระเบียงมีช่องแสดงพระพุทธรูปประทับนั่งบนดอกบัวซึ่งมีพญานาคสองตนใช้เศียร (ห้าเศียรรองรับ) หรือที่เรียกกันว่า ปัทมาสนะ (Paddhamasana - หรือท่าดอกบัว หรือ ชาวพุทธศาสนิกในไทยเรียกว่า ท่าขัดสมาธิเพชร) มีอัครสาวกทั้งด้านซ้ายและขวา สาวกด้านซ้ายใช้พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัว มีวิหารอยู่ที่ปลายระเบียง รอบกำแพงมีกุฏิถ้ำเล็ก ๆ สำหรับนั่งสมาธิจำนวน 12 กุฏิ.

รูปแกะสลักพระพุทธเจ้าในท่าขัดสมาธิเพชร หรือ ปัทมาสนะ (Paddhamasana), ที่มา: www.indiathatwas.com, วันที่เข้าถึง: 26 มีนาคม 2567.
 

ภายในถ้ำหมายเลข 3, ที่มา: smarthistory.org, วันที่เข้าถึง: 26 มีนาคม 2567.

       มีกุฏิสำหรับภิกษุ 12 ห้อง ข้างละ 5 ห้อง และด้านหลัง 2 ห้อง อย่างไรก็ตาม ช่องถ้ำเจาะหนึ่งทางด้านขวาถูกทำลายไปหมดแล้ว ระหว่างสองถ้ำเจาะด้านหลังคือที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ซึ่งเล็กกว่าในถ้ำสุดท้าย ผนังด้านซ้ายของถ้ำมีรูปแกะสลักพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกเล็ก ๆ สองรูป.
รูปแกะสลักพระอวโลกิเตศวรหรือพระโพธิสัตว์ปัทมะปานี, ถ่ายไว้เมื่อ 19 กรกฎาคม 2566.

       ทางด้านขวามือเป็นรูปแกะสลักแต่ไม่มีใครสังเกตเห็นแต่เป็นสิ่งที่น่าสนใจ อาจเรียกว่าการสวดมนตร์พุทธะ หรือ บัทธะ (Bauddha Litany) และเกิดขึ้นที่อื่นในถ้ำของนิกายในบริเวณต่าง ๆ เช่น อชันตะ (Ajanta) และกัณเหรี (Kanheri) ซึ่งกล่าวถึงภัยอันตรายทั้งแปดประการ (1. น้ำ, 2. สิงโต, 3. ไฟ 4. งู 5. ช้าง 6. โจรขโมย 7. นักโทษ และ 8. ผีสาง) มีพระอวโลกิเตศวรหรือพระโพธิสัตว์ปัทมะปานี (Padmapani) ปรากฏอยู่ตรงกลาง โดยมีฉากเล็ก ๆ สี่ฉากในแต่ละด้าน ส่วนบนสุดทางขวามือแสดงถึงไฟอันยิ่งใหญ่ โดยมีร่างสวดมนต์ต่อปัทมาปานี ประการที่สอง ร่างที่มีดาบ และเหยื่อของเขาที่มีท่าทีวิงวอนคล้าย ๆ กัน ส่วนที่สามและสี่แตกหัก แต่โดยทั่วไปแล้วจะเป็นบุคคลที่ถูกคุมขังและบุคคลในเรือที่ถูกพายุคุกคามตามลำดับ ด้านซ้ายของปัทมาปานี รูปสวดมนต์พร้อมสิงโต คนที่มีงูสองตัว ที่สามมีช้างโกรธและสุดท้ายคือกาลีเทพีแห่งความตายไล่ตามเหยื่อที่กำลังสวดภาวนาต่อพระผู้เป็นเจ้า.


ถ้ำหมายเลข 14
ภาพสลักศิวนาฎราช ถ้ำหมายเลข 14 หมู่ถ้ำเอลโลร่า, รัฐมหาราษฎระ, ภารตะ, ถ่ายไว้เมื่อ 20 กรกฎาคม 2566.
 
ถ้ำหมายเลข 16
       ไกรลาศนาถมนเทียร หรือ เทวาลัยไกรลาศนาถ (Kailāsanātha Temple) - เป็นเทวาลัยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาถ้ำเจาะ (Rock-cut)

แผนภูมิของถ้ำหมาย 16: ไกรลาศนาถมนเทียร, ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 17 สิงหาคม 2566.

       ไกรลาศนาถมนเทียรนี้ เกิดขึ้นจากการออกแบบทางสถาปัตยกรรมผนวกกับการสำรวจเนื้อหินภูเขาไฟ ด้านความแข็งแรง สามารถรองรับน้ำหนักหินได้เพียงใด หากเจาะเป็นโพรงทำเป็นชั้นต่าง ๆ ภายใน โดยไม่ให้เกิดการยุบตัว ด้านหน้าทางเข้าถ้ำหันหน้าไปทางทิศตะวันตก สามารถตีความหมายได้สองแนวทาง หนึ่ง) เป็นที่ประทับของพระอิศวรหรือพระศิวะ และเป็นสถานที่สถิตของวิญญาณหลังความตายของเหล่ากษัตริย์ หลอมรวมกับพระอิศวรที่เป็นเจ้าแห่งภูตผีปีศาจ (นายผี - นายของผี ตามนามแฝงของ คุณอัศนี พลจันทร์ - นักเขียน นักประพันธ์นามอุโฆษ) สอง) ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ สโลบความชันผาของทิวเขาด้านตะวันตก เหมาะแก่การเจาะหินทำเป็นวิหารมากกว่าด้านตะวันออก ซึ่งเป็นที่ราบสูงทอดยาวไป (plateau) (ขอขอบคุณข้อมูลนี้จากล่ามท้องถิ่นที่ชื่อ สัญชัย-Sanjay).

ด้านหน้าถ้ำหมายเลข 16: ไกรลาศนาถมนเทียร, ถ่ายไว้เมื่อ 20 กรกฎาคม 2566.

       ซุ้มประตูศาลา มณฑปโคปุระ ข้างมุขหน้าฐานอาคารสภามณฑป (Sabhā-Mandapa)
 
      
ด้านหน้าของถ้ำหมายเลข 16: สภามณฑปซึ่งอยู่ด้านหน้าของวิมานประธาน มีภาพแกะสลักทวยเทพ เทพนพเคราะห์ (Navagrahás) เทพเจ้าประจำทิศ (ทิศปาลกะ-Dikpālakas-หรือพระโลกบาล-Lokapāla) (รายละเอียดดูใน A02.-บทนำ - เหล่าเทพเจ้า) อวตารต่าง ๆ ของพระวิษณุ พระคเณศร์ มหาฤาษี เป็นต้น, ถ่ายไว้เมื่อ 20 กรกฎาคม 2566.
 
มีภาพสลักขนาดใหญ่ ตรงผนังเทวาลัยด้านหน้าตรงกึ่งกลาง สลักเป็นภาพ "โยคะทักษิณามูรติ" บรมครูแห่งปัญญาความรู้ขนาดใหญ่ (อ้างจาก 02), ถ่ายไว้เมื่อ 20 กรกฎาคม 2566.

ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย
01. จาก. en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 4 สิงหาคม 2566.
02. จาก. Facebook เพจ "Voranai Pongsachalakorn," "วิจิตรศิล์ปแห่ง "องค์พระศิวะมหาเทพ" เทวาลัยไกรลาสนาถ เอลโลร่าที่ 16", วันที่เข้าถึง 17 สิงหาคม 2566.
03. จาก. Our Colourful World in Ajanta & Ellora, 2011, Mittal Publications, New Delhi, India.
04. จาก. A Colourful Guide Book of Ajanta Ellora Aurangabad Daulatabad Khultabad, World Famous Heritage, Mittal Publications, Year: NA., Publishing Place: NA.
05. จาก. Colourful World Heritage Ellora Ajanta, Latest Edition, Mittal Publications, Year: NA., Publishing Place: NA.
06.
แปลและปริวรรตจาก. https://www.indiathatwas.com/2012/12/ellora-cave-3/, วันที่เข้าถึง 22 มีนาคม 2567.


 
info@huexonline.com