4. ในอีษา อุปนิษัท., บรรพที่ 8. สิ่งสูงสุด, ตัด อีคาม (Tad ekam หมายถึง That One), ไร้ซึ่งอปริมาณและคุณลักษณะใด ๆ, "ไม่เป็นทั้งดำรงอยู่ หรือไม่ดำรงอยู่." ฤคเวท,04. บรรพที่ 10, อัธยายะที่ 129. พุทธศาสนิกชนนิกายมัธยมกะ05. จะปฏิเสธความจริงแท้อันสูงสุดนี้ หรือเรียกว่ามันเป็นเพียงสัญญา, ด้วยเกรงว่าการเรียกชื่อเป็นอย่างอื่น จะทำให้พุทธศาสนิกชนเหล่านี้ไขว้เขว้และถูกจำกัดกรอบความคิด. ซึ่งพวกเขานี้จะยอมรับก็ต่อเมื่อได้ปรับแก้ไขนิยามของคำว่าอัตลักษณ์อันสูงส่งนี้เสียก่อน. ข้อมูลทางบรรณานุกรมของเซนต์จอห์นแห่งดามัสกัส:06.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. พฤหทารัณยกะ อุปนิษัท (ศูกล ยชุรเวท) (बृहदारण्यक उपनिषद् - The Bṛhadāraṇyaka Up.) รายละเอียดดูในหน้าที่ 02 อุปนิษัท: สรุปสาระสำคัญ.
02. ญวาหาร (व्यवहार - vyavahāra) แปลว่า ขั้นตอนตามกฎหมาย (ของฮินดู) เป็นไปตามกฎหมาย กระบวนการทางกฎหมาย, โดย วิ (Vi) หมายถึง ต่าง ๆ นานา (various), อวา (ava) หมายถึง ข้อสงสัย (doubt), และ หารา หรือ หาร (hara) หมายถึง ขจัดออกไป การถอด (removal). ปรับปรุงจากที่มา: sanskritdictionary.com และ en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 3 ตุลาคม 2560.
03. ปอนติอุส ปิลาต บ้างก็อ่านว่า ป็อนติอุส ปีลาตุส (Pontius Pilate: ละติน PONTIVS PILATVS) เป็นข้าหลวงชาวโรมันผู้ว่าการมณฑลจูดีอา (Judaea) (ปัจจุบันคือประเทศอิสราเอลถึงเลบานอน) ในสมัยจักรพรรดิติแบริอุส (Tiberius) และเป็นผู้สั่งประหารพระเยซูเพราะถูกเสียงกดดันจากฝูงชนชาวยิว ที่ไม่เชื่อว่าพระเยซูเป็นบุตรของพระเจ้าที่มาเรียกร้องในที่ว่าการอำเภอให้ออกหมายสั่งประหารพระเยซู คริสต์ศาสนานิกายเอธิโอเปียและนิกายโบสถ์ตะวันออกนับถือปีลาตุสเป็นนักบุญ. ที่มา: en.wikipedia.org และ th.wikipedia.org, วันที่สืบค้น: 30 กันยายน 2560.
ภาพ: พระคริสต์ต่อหน้าปิลาตุส (Christ before Pilate), วาดโดยจิตรกร Mihaly Munkacsy (พ.ศ.2424/ค.ศ.1881)
ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น: 21 พฤศจิกายน 2566.
04. ฤคเวท (Rig Veda หรือ Ṛg. Veda) (ฤค แปลว่า สวดสรรเสริญ แสงสว่าง, เวท แปลว่า องค์ความรู้) เป็นคัมภีร์เล่มแรกของมหาคัมภีร์พระเวท แต่งขึ้นเมื่อราว 3,000 ปีก่อนคริสตกาล เป็นตำราทางศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยบทสวดที่วางท่วงทำนองในการสวดไว้อย่างตายตัว กล่าวถึงบทสรรเสริญคุณ อำนาจแห่งเทวะ และประวัติการสร้างโลก รวมถึงหน้าที่ของพระพรหมผู้สร้างมนุษย์และสรรพสิ่ง ซึ่งจะใช้ในพิธีการบวงสรวงเทพเจ้าต่าง ๆ ของชาวอารยัน ซึ่งมีถึง 1,028 บทสวด (hymn) หรือ 10,600 โศลก (verses) จัดแบ่งออกเป็นสิบเล่มหรือมณฑละ (Mandalas) , ปรับปรุงจากที่มา: th.wikipedia.org และ en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 9 ตุลาคม 2560.
05. นิกายมัธยมกะ (Madhayamaka) เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายมหายานยุคแรกที่ก่อตั้งโดยท่านนาคารชุนะ คำว่ามัธยมกะมาจากคำว่ามัชฌิมาปฏิปทา บางครั้งก็เรียกนิกายนี้ว่าสุญญตา ทั้งนี้ด้วยคำสอนของนิกายนี้เน้นที่ความว่างเปล่าของสรรพสิ่ง และเรียกพุทธศาสนิกชนผู้ที่นับถือนิกายนี้ว่า มาธยมิกะ (Mādhyamika), ดูเพิ่มเติมใน พระพุทธศาสนา มหายานนิกาย บทที่ 1 หน้าที่ 6.
เซนต์จอห์นแห่งดามัสกัส (St. John of Damascus), ที่มา: oca.org, วันที่สืบค้น 9 ตุลาคม 2560.
06. เซนต์จอห์นแห่งดามัสกัส (St. John of Damascus) ท่านมีชาตะเมื่อ พ.ศ.1223 ที่เมืองดามัสกัส ประเทศซีเรีย (ในปัจจุบัน) มรณภาพเมื่อ 4 ธันวาคม พ.ศ.1292 ที่เมืองมาร์ ซาบา ใกล้ ๆ กรุงเยรูซาเล็ม ท่านกำเนิดในครอบครัวของคริสตศาสนิกชน ท่านได้ยืนหยัดปกป้องการศรัทธาดั้งเดิมและเขียนบทสวดเพื่อสรรเสริญพระแม่มารีพระผู้บริสุทธิ์ แม้ว่าจะได้รับการกดดันจากจักรพรรดิโรมัน {จักรพรรดิลีโอที่สาม (พ.ศ.1260-1284)} ที่เมืองคอนสแตนติโนเบิลในเวลานั้น, ที่มา: oca.org และ en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 9 -10 ตุลาคม 2560.
(start to review here)
22
...ภายในหรือภายนอก."1. ภควัทคีตา สนับสนุนทัศนะของอุปนิษัทในหลาย ๆ ตอน. องค์ภควานได้รับการกล่าวขานว่า "ไม่ปรากฎ, คาดคิดไม่ถึง และไม่เปลี่ยนแปลง,"2. "ไม่มีอยู่ หรือ ไม่มีอยู่จริงเลย."3. คำกล่าวที่ขัดแย้งกันขององค์ภควาน เพื่อบ่งชี้ถึงความไม่เหมาะสมของการพิจารณาเชิงประจักษ์. "มันมิได้ขยับ และยังเคลื่อนไหว. มันอยู่ไกลโพ้นและก็อยู่ใกล้."4. ภาคแสดงเยี่ยงนี้ ดึงเอาซึ่งคุณลักษณะสองเท่าขององค์ภควันให้เป็นอยู่และที่กำลังเป็นอยู่. พระองค์ทรงเป็นปรา02. หรือสิ่งที่เหนือธรรมชาติหรือ อปรา02. หรือมีอยู่ทุกแห่งหน, ทั้งในและนอกโลก5.
ความไร้ตัวตนของสิ่งสมบูรณ์นั้น ไม่ได้มีความสำคัญทั้งหมด. คัมภีร์ อุปนิษัท สนับสนุนกิจกรรมอันศักดิ์สิทธิ์และการเข้ามามีส่วนร่วมในธรรมชาติ และประทานองค์ภควานผู้เหนือขอบเขตอันไร้ขอบเขตอันจำกัดแก่เรา. ความสนใจนี้ได้ส่งแรงบันดาลใจปรากฎให้เห็นในแนวปฏิบัติของเพลโต09. ที่มีแก่ศิษยานุศิษย์ผู้สนใจด้านดาราศาสตร์ในสถาบันการศึกษาโบราณของท่านไว้ว่า "เพื่อรักษาสิ่งที่ปรากฏ," ทำให้ผู้ทำนาย อุปนิษัท มองโลกอย่างมีความหมาย. ในดำรัสที่แสดงใน ไตตติรียะ อุปนิษัท, สิ่งสูงสุดก็คือ "ที่ซึ่งสัตว์เหล่านี้เกิดมา, ที่เขาอาศัยอยู่, และที่ซึ่งเมื่อจากไปก็จะเข้าไป." คัมภีร์พระเวทกล่าวไว้ "พระองค์คือพระผู้เป็นเจ้าที่อยู่ในเปลวอัคคี, ในนที, ทรงแผ่ซ่านไปทั่วทั้งจักรวาล; พระองค์อยู่ในพืชพันธุ์, ในต้นไม้, เรานอบน้อมต่อพระองค์...
--------------
"เป็นไปไม่ได้ที่จะกล่าวว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงสถิตภายในตัวพระองค์ได้อย่างไร และจะแม่นยำมากยิ่งขึ้นที่จะเอ่ยถึงพระองค์โดยแยกทุกสิ่งออกไป. โดยแท้จริงแล้วพระองค์มิได้เป็นสิ่งใดเลย...(พระองค์) อยู่เหนือความเป็นตัวของพระองค์เอง."
1. พฤหทารัณยกะ อุปนิษัท., บรรพที่ 3, อัธยายะที่ 8, โศลกที่ 8. ในมหาภารตะนั้น, พระผู้เป็นเจ้าอันเป็นบรมครูได้กล่าวแก่ฤๅษีนารทมุนี (Nārada)01. ว่ารูปกายที่แท้จริงของพระองค์นั้น "มองไม่เห็น, ไร้กลิ่น, ไม่อาจสัมผัสได้, ไร้คุณลักษณะ, ไม่มีชิ้นส่วนหรือบางส่วน, ไม่เกิด, เป็นนิรันดร์, ถาวร และไร้การกระทำ." ดูใน ศานติบรรพ (Śāntiparva), อัธยายะที่ 339, โศลกที่ 21-38. เป็น "เมฆาที่ลอยล่อง (ไม่รับรู้)" หรือเป็นสิ่งที่แอเรียลพาชี04.
เรียกว่า "ความมืดที่ส่องสว่างอย่างยิ่ง," "ทะเลทรายอันเงียบสงบที่ศักดิ์สิทธิ์...ผู้ไม่มีตัวตนอย่างเหมาะสม." จากคำกล่าวของแอคาร์ท05. ข้อมูลทางบรรณานุกรมของแองเจลัส ซิเลสัส06. "พระผู้เป็นเจ้ามิได้เป็นสิ่งใดเลย...ไม่ใช่ทั้งตอนนี้และที่นี่ที่เป็นของพระองค์." ด้วยข้อมูลทางบรรณานุกรมของพโลตินัส (Plotinus)07. แสดงว่า "การกำเนิดแห่งสรรพสิ่ง, การรวมเป็นหนึ่งเดียวไม่ใช่ทุกสิ่ง, ไม่เใช่สิ่งของหรือคุณลักษณะใด ๆ, ไม่เป็นทั้งภูมิปัญญา ไม่เป็นจิตวิญญาณ, ไม่มีเคลื่อนไหว, ไม่นิ่ง, ไม่อยู่กับที่, ไม่ทันเวลา; กำหนดรูปกายขึ้นเอง, มีเอกลักษณ์, ดีขึ้น, ไร้รูปกาย, มีอยู่ก่อนเป็นรูปกาย หรือ เคลื่อนไหว หรือ พัก, ซึ่งล้วนเป็นสิ่งยึดติดแห่งความเป็นอยู่และทำให้หลากหลาย." (เอ็นนีดส์, อี.ที., โดย แมคเคนน่า, เล่มที่ 6, บทที่ 9.)08.
2. บรรพที่ 2, อัธยายะที่ 25.
3. บรรพที่ 8, อัธยายะที่ 12; บรรพที่ 8, อัธยายะที่ 15-17.
4. อีษา อุปนิษัท, อัธยายะที่ 5: และ มุณฑกะ อุปนิษัท, บรรพที่ 2, อัธยายะที่ 1, โศลกที่ 6-8; กถะ อุปนิษัท, บรรพที่ 2, อัธยายะที่ 14; พฤหทารัณยกะ อุปนิษัท., บรรพที่ 2, อัธยายะที่ 37; เศวตาศวทร อุปนิษัท, บรรพที่ 3, อัธยายะที่ 17. รายละเอียดอุปนิษัทโดยสรุปดูได้ใน อุปนิษัท: สรุปสาระสำคัญ.
5. Bahir antaś ca bhūtānām ,03. บรรพที่ 8, อัธยายะที่ 15.
หมายเหตุ คำอธิบาย
ฤๅษีนารทมุนีกำลังสนทนาธรรมกับวยาส, ที่มา: srimadbhagwatam.wordpress.com, วันที่สืบค้น 8 พฤศจิกายน 2560.
01. ฤๅษีนารทมุนี (Nārada) บ้างก็เรียก พระฤๅษีนารท หรือ พระนารอด (ต่อมาในเมืองไทย มีผู้สร้างพระพิมพ์ เรียกเขียนเพี้ยนไปเป็น "พระรอท" และกลายเป็น "พระรอด" อีกทั้งเหมาะกับภาษาไทยที่แปลว่า รอดพ้น จึงนิยมเรียกพระพิมพ์เครื่องรางชนิดนี้ว่า พระรอด เรื่อยมา) หรือ พระนาระทะ เป็นนักดนตรีพเนจร (เป็นผู้ประดิษฐ์ "วีณา" - พิณน้ำเต้า) และเป็นผู้เล่าเรื่องราว ผู้ส่งข่าวสารและแนวคิดที่ก่อให้เกิดแสงสว่างทางปัญญา เป็นบุตรของพระพรหม เป็นสาวกคนแรกของพระนารายณ์ และเป็นผู้ที่นำเรื่องราวบนโลกมนุษย์มารายงานแด่พระศิวะ ฤๅษีนารทมุนีเป็นทูตเอกของสวรรค์ และมีบทบาทในมหาภารตะและรามายณะเป็นอย่างมาก ตลอดจนในปกรณัมปุราณะ. ในรามายณะ ฤๅษีเป็นผู้แนะนำให้หนุมานใช้น้ำในบ่อน้อยของตนเอง ก็คือ น้ำลายในปากของหนุมานดับไฟ เมื่อตอนที่หนุมานไปเผากรุงลงกา ในมหาภารตะ ฤๅษีนารทมุนีมีหน้าที่คอยส่งข่าวสารให้พระกฤษณะ พระพลราม ยุธิษฐิระ และอรชุน คือในมหาสงครามทุ่งกุรุเกษตร ฤๅษีนารทมุนีได้ส่งข่าวบอกแก่พระพลรามว่า "ภีมะกำลังดวลตะบองกับทุรโยธน์" และเมื่อตอนที่พระอนิรุทธิ์หายตัวไป ฤๅษีนารทมุนีก็แจ้งแก่พระกฤษณะว่า "พระอนิรุทธิ์ถูกท้าวกรุงภาณจับตัวไปขังคุก" และเมื่อตอนที่ท้าวธฤตราษฎร์ พระนางคานธารี พระนางกุนตี ท้าววิทูร เสียชีวิตแล้ว และฤๅษีนารทมุนีก็เป็นผู้บอกถึงจุดอ่อนของทุรโยธน์ให้แก่อรชุน" นอกจากนี้ฤๅษีนารทมุนีก็ยังเป็นผู้เล่าเรื่องของพระรามให้แก่ฤๅษีวาลมีกิจนเกิดเป็นมหากาพย์รามายณะ
ในบอลลีวู้ด โดยเฉพาะภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับเทพเจ้า บทพูดของฤๅษีนารทมุนีที่ทุกคนจำได้ก็คือคำว่า "นาร้ายณ์ นารายณ์"., ที่มา: th.wikipedia.org และ en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 8 พฤศจิกายน 2560. และ oknation.nationtv.tv, วันที่สืบค้น 9 พฤศจิกายน 2560.
02. ปรา (परा - parā - จิตวิญญาณที่ขับเคลื่อนโลก, ดี, เลิศ, ประเสริฐ, สูงสุด) หรือสิ่งที่เหนือพ้นขึ้นไป หรือ อปรา (अपरा - aparā - ไม่ใช่สิ่งทิพย์ เฉี่อย เป็นวัตถุ).
03. Bahir antaś ca bhūtānām - बहिर अन्तश च भूतानम् - สิ่งมีชีวิตทั้งภายนอกและภายใน - แปลว่า ความจริงแท้สูงสุดนั้นดำรงอยู่ทั้งภายนอกและภายในของเหล่าสิ่งมีชีวิต, บรรพที่ 13, อัธยายะที่ 8-16, ที่มา: www.bhagavad-gita.us/bhagavad-gita-13-16/, วันที่สืบค้น 14 พฤศจิกายน 2560.
04. แอเรียลพาชี (Areopagite) หมายถึง สมาชิกของศาลอะริโอพากัส ซึ่งเป็นคณะตุลาการของเอเธนส์โบราณ ที่มีศาลตั้งบนเขาอะริโอพากัส (Areopagus) ที่อยู่ใกล้กรุงเอเธนส์ กรีก ช่วงพุทธศตวรรษที่ 6-11 หรือคริสต์ศตวรรษที่ 1-6, ปรับปรุงจากที่มา: www.collinsdictionary.com, วันที่สืบค้น 11 พฤศจิกายน 2560.
05. มาสเตอร์ แอคาร์ท (Meister Eckhart หรือ Eckhart von Hochheim) ท่านมีชีวิตอยู่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 9 หรือต้นคริสต์ศวรรษที่ 14 (พ.ศ.1803-1871/ค.ศ.1260-1328) ท่านเป็นนักเทวนิยมชาวเยอรมันนักปรัชญานักปรัชญาและผู้มีความศรัทธา ในยุคจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เกิดใกล้ Gotha ใน Landgraviate of Thuringia (ตอนกลางในเยอรมนี). ท่านเป็นนักเทศน์ และนักปรัชญา (ที่ไม่เป็นระบบนัก) ที่มีความกระตือรือร้น งานเทศน์ของท่านเป็นแหล่งค้นคว้าที่สำคัญของผู้ศึกษายุคปัจจุบัน, ปรับปรุงจากที่มา: www.iep.utm และ en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 11 พฤศจิกายน 2560.
06. แองเจลัส ซิเลสัส (Angelus Silesius) นักบวชแคธอลิกเยอรมัน ช่วงพุทธศตวรรษที่ 23 หรือคริสต์ศวรรษที่ 17 (พ.ศ.2167 - 9 กรกฎาคม พ.ศ.2220/ค.ศ.1624 - 9 กรกฎาคม ค.ศ.1677) ท่านถือกำเนิดที่เมือง Johann Scheffler เยอรมนี ท่านมีบทบาทสำคัญในการโน้มน้าวเยอรมันคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ที่แคว้นซิลีเซีย (Silesius) ให้กลับนับถือคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ท่านได้จัดทำผ้าผืน ต่อมาได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือสองเล่ม มีการเผยแพร่เป็นบทสวด บทกวีในสมัยต่อมา, ปรับปรุงจาก en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 11 พฤศจิกายน 2560.
ภาพจากซ้ายไปขวา: พโลตินัส (Plotinus), ที่มา: probaway.wordpress.com, วันที่สืบค้น 11 พฤศจิกายน 2560,
หนังสือ Plotinus the Enneads แปลโดย สตีเฟ่น แมคเคนน่า, ที่มา: www.abebooks.co.uk, วันที่สืบค้น 13 พฤศจิกายน 2560.
07. พโลตินัส (Plotinus) (พ.ศ.747-813/ค.ศ.204-270) ท่านถือกำเนิดทางตอนเหนือของอียิปต์ จักรวรรดิโรมัน ท่านมีผลงานปรากฎมากมาย ปรัชญา ศาสนาและจริยธรรม ท่านได้ร่วมบรรยายกับนักปราชญ์ที่สำคัญในเมืองอะเล็กซานเดรีย บั้นปลายชีวิตท่านได้มาอยู่และสอนที่กรุงโรม ท่านมีศิษยานุศิษย์มากมาย ท่านถือเป็นหนึ่งในผู้ก่อร่างแนวความคิดของคริสต์ศาสนา, ปรับปรุงจาก: www.plotinus.com, วันที่สืบค้น 11 พฤศจิกายน 2560.
08. เอ็นนีดส์, อี.ที - Enneads, E.T. (ethical treatises), by Stephen Mackenna {Ennead หมายถึง เทพผู้ยิ่งใหญ่เก้าองค์ของชาวโอสิเรียน (Osirian) ซึ่งเป็นชาวอียิปต์โบราณ ประกอบด้วย Atum, Shu, Tefnut, Geb, Nut, Osiris, Isis, Set, และ Nephthys} เป็นหนังสือเล่มสำคัญของ สตีเฟ่น แมคเคนน่า ที่เขียนปรัชญาจริยธรรมของนักปราชญ์ตะวันตกต่าง ๆ โดยเฉพาะ พโลตินัส.
เพลโต (Plato) ที่มา: www.lightwear.co.uk/platos-theory-of-the-forms/, วันที่สืบค้น 22 พฤศจิกายน 2560.
09. เพลโต (Plato) (พ.ศ.116-196/427-347 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักปราชญ์ชาวกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตก. ท่านกำเนิดในตระกูลขุนนางและได้รับการศึกษาเป็นอย่างดีจากโสกราตีส (Socrates) ท่านได้ออกจาริกเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ รอบนอกกรุงเอเธนส์ร่วม 12 ปี และได้รับศึกษาจากปรมาจารย์อีกหลายท่าน และตกผลึกแนวคิดออกมาเป็นบทความต่าง ๆ ต่อมาท่านได้กลับไปยังกรุงเอเธนส์ จัดตั้งสถาบันการศึกษาขึ้น ในไม่ช้าก็ก็กลายเป็นศูนย์กลางแห่งความเป็นเลิศแห่งแรกของอารยธรรมตะวันตก ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งคือ อริสโตเติล (Aristotle) ได้มีส่วนร่วมในการขจรเกียรติให้แก่สถาบันการศึกษาแห่งนี้ งานเขียนของเพลโตที่สำคัญคือ The Republic และ Theory of Forms, ปรับปรุงจากที่มา: www.thefamouspeople.com, วันที่สืบค้น 22 พฤศจิกายน 2560.
23
...ครั้งแล้วครั้งเล่า"1. "ใครเล่าจะลงแรง, ใครจะอยู่, หากความสุขอันเปี่ยมล้น ไม่มีอยู่ในสวรรค์?"2. แนวคิดด้านเทวนิยม01. นั้นมีความโดดเด่นใน เศวตาศวทร อุปนิษัท02. "พระองค์เป็นหนึ่งเดียวที่ไร้สีสันใด ๆ (ตามรูปกายที่เห็น), ด้วยนานามหิทธานุภาพ, ทรงกำหนดสีสันไว้หลากหลายด้วยจุดประสงค์อันซ่อนเร้น และจักรวาลก็สลายไปในปฐมกาลและอวสาน, พระองค์คือภควาน ขอพระองค์ทรงโปรดประทานความกระจ่างแจ้งแก่เราซึ่งนำไปสู่การประพฤติที่ดีงามด้วยเถิด."3 และอีกประการหนึ่ง "เจ้าเป็นสตรี, เจ้าเป็นบุรุษ; เจ้าเป็นดรุณแรกรุ่น เจ้าเป็นหญิงสาว; เจ้าก็เหมือนคนชราที่ป่วยหนักมาตั้งแต่เกิด. พระองค์ทรงผินพักตร์ไปทุกทิศทาง."4 อีกประการหนึ่ง "รูปกายของพระองค์ไม่สามารถมองเห็นได้; ไม่มีใครมองเห็นพระองค์ด้วยตา. บรรดาผู้ที่รู้ถึงพระองค์เช่นนี้ด้วยใจ, ด้วยจิตใจ, สถิตอยู่ในหัวใจ, จะกลายเป็นอมตะ."5 พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าแห่งจักรวาล โดยพระองค์เองทรงเป็นจักรวาลซึ่งได้รวมไว้ในตัวของพระองค์เอง. พระองค์ทรงเป็นแสงสว่างในตัวเรา, แสงสว่างภายในใจ (हृद्यन्तर ज्योतिः - hṛdyantar jyotiḥ - the inner light within the heart). องค์ภควานเป็นพระผู้สูงสุดซึ่งมีเงาคือชีวิตและความตาย.6
ในคัมภีร์อุปนิษัท, มีบันทึกแสดงถึงพระผู้สูงสุดว่า พระองค์ไม่เปลี่ยนรูปและเป็นสิ่งที่คิดไม่ถึง เช่นเดียวกับมุมมองที่ว่าพระองค์เป็นเจ้าแห่งจักรวาล. แม้ว่าพระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของทุกสรรพสิ่ง, ก็ไม่มีสิ่งใดที่จะทำให้พระองค์สะทกสะท้านชั่วนิรันดร์.7 ความจริงแท้อันอนันตกาลไม่เพียงแต่เกื้อหนุนการดำรงอยู่ของสรรพสิ่งเท่านั้น แต่ก็ยังเป็นขุมพลังในการขับเคลื่อนโลกอีกด้วย. พระองค์ทรงเป็นผู้อยู่เหนือธรรมชาติ สถิตในแสงสว่างที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ และในวลีของออกัสติน05. ที่ว่า "(พระองค์) ทรงสถิตใกล้ชิดกับจิตวิญญาณ ยิ่งเสียกว่าตัวเราใกล้ชิดจิตวิญญาณของเราเอง." ในคัมภีร์ อุปนิษัท กล่าวถึงนกสองตัวที่เกาะกิ่งไม้ ตัวหนึ่งกินผลไม้ และอีกตัวไม่กินได้แต่ดู, ผู้พบเห็นก็เงียบงันไร้ความเพลิดเพลิน.8 การไม่มีบุคลิกภาพ และ...
---------------
1. यो देवोऽग्नौ यो’प्सु यो विश्वं भुवनं आविवेशः
यो ओषधीषु यो वनस्पतिषु तस्मै देवाय नमोनमः ।
yo devo’gnau yo’psu yo viśvam bhuvanam āviveśa
yo oṣadhiṣu yo vanaspatiṣu tasmai devāya namonamaḥ.
ผู้ทรงเป็นพระเจ้าในไฟ ผู้ทรงอยู่ในน้ำ ผู้ทรงเข้าสู่จักรวาลเข้าสู่โลก
ข้าพเจ้าขอแสดงความเคารพต่อบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระผู้เป็นเจ้าสามพระองค์ ผู้ทรงเป็นแหล่งที่มาของสมุนไพรและพืชทั้งปวง.
2. को ह्येन्यात कः प्राण्यात यद एष आकाश आनन्दो न स्यात्?
Ko hyevānyāt kaḥ prāṇyāt yad eṣa ākāśa ānando na syāt?
จะมีใครอีกเล่า นอกจากใคร จะมีชีวิตอยู่หากท้องฟ้านี้ไม่มีความสุข?
3. บรรพที่ 4, อัธยายะที่ 1.
4. บรรพที่ 4, อัธยายะที่ 3.
5. บรรพที่ 4, อัธยายะที่ 20.
6. ในฤคเวท, บรรพที่ 10, อัธยายะที่ 121, โศลกที่ 2: โปรดดูใน กถะ อุปนิษัท, บรรพที่ 3, อัธยายะที่ 1, ข้อมูลทางบรรณานุกรม "เฉลยธรรมบัญญัติ - Deuteronomy": "ฉันสังหารและชุบชีวิต," บรรพที่ 32. อัธยายะที่ 39.
7. ข้อมูลทางบรรณานุกรม. รูมี03: "แสงสว่างของพระองค์ได้ควบรวมกับสิ่งทั้งปวงและแยกจากทุกสิ่งในทันที." แชมส ทะ ทาบริส (Shams-i-Tabriz) (รวบรวมบทความโดย นิโคสัน), โอเด04. บรรพที่ 9.
Jalāl ad-Dīn Muhammad Rūmī, ที่มา: medium.com, วันที่สืบค้น 7 ธันวาคม 2560.
8. มุณฑกะ อุปนิษัท, บรรพที่ 3, อัธยายะที่ 1, โศลกที่ 1-3. ข้อมูลทางบรรณานุกรม เบม์ (Boehme): "และการด่ำดิ่งลงไปในความมืดนั้นยิ่งใหญ่พอ ๆ ที่ตั้งอยู่ของลำแสง; ต่างไม่ได้จัดวางอยู่ห่างจากกัน แต่อยู่ด้วยกันและต่างก็ไม่มีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุด." สามหลักการ (Three Principles), บรรพที่ 14, อัธยายะที่ 76.
ยาคอป เบม์ (Jokob Bőhme) (พ.ศ.2118-2167/ค.ศ.1575-1624) นักธรรม และนักการศาสนาคริสเตียนชาวเยอรมันที่ลึกลับ, ที่มา: en.wikiquote, วันที่สืบค้น 10 ธันวาคม 2560.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. เทวนิยม หรือ เทววิทยา (Theistic หรือ Theism) เป็นลัทธิที่เชื่อว่ามีพระเจ้าผู้ทรงอำนาจยิ่งใหญ่พระองค์เดียว พระเจ้านั้นทรงมีอำนาจครอบครองโลกและสามารถบันดาลความเป็นไปในโลก, ที่มา: dict.longdo.com, วันที่สืบค้น 23 พฤศจิกายน 2560.
02. เศวตาศวทร อุปนิษัท (श्वेताश्वतरोपनिषद् - Śvetāśvatara Upaniṣad) รายละเอียดดูใน หน้าที่ 03 อุปนิษัท: สรุปสาระสำคัญ.
03. รูมี (Rūmi): Jalāl ad-Dīn Muhammad Rūmī เป็นมุสลิมนิกายสุหนี่ ชาวเปอร์เซียในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 หรือคริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นทั้งนักกวี ลูกขุน นักวิชาการอิสลาม นักธรรม และลัทธิซูฟี (Sufi) อันลึกลับ (แปลงคำสอนมาจากนิกายสุหนี่ เน้นความเชื่อทางจิตวิญญาณ), ชาตะเมื่อ พ.ศ.1750/ค.ศ.1207 ที่อัฟกานิสถาน (บ้างก็ว่าทาจิกิสสถาน) มรณะเมื่อ พ.ศ.1816/ค.ศ.1273 ที่ตุรกี ตัวอย่างประโยคที่รูมิ เขียนไว้ "คำพูดที่เปล่งออกจากปากของเราแล้ว ไม่ได้หายไหน แต่ถูกนำไปจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบในห้วงอวกาศ, แต่คำพูดนี้จะย้อนกลับมาหาเราในเวลาที่เหมาะสม - The words that come out of our mouths do not vanish but are perpetually stored in infinite space, and they will come back to us in due time." ที่มา: medium.com, วันที่สืบค้น 7 ธันวาคม 2560. รายละเอียดดูเพิ่มเติมได้ใน บรรดาปราชญ์ผู้ประเสริฐ B07. รูมี
04. โอเด (Ode) เป็นบทกวี (จากยุคกรีกโบราณ) เป็นประเภทโคลงสั้น ๆ เป็นบทกวีที่มีโครงสร้างประณีตไว้สรรเสริญหรืออธิบาย บุคคลหรือเหตุการณ์ รวมทั้งธรรมชาติ ภูมิปัญญาและอารมณ์ต่าง ๆ เป็นบทกวีดั้งเดิมที่มีโครงสร้างสามส่วนสำคัญ ประกอบด้วย Strophe, antistrophe, และ epode. ปรับปรุงจากที่มา: en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 7 ธันวาคม 2560.
นักบุญออกัสติน (Saint Augustine), ที่มา: www.laphamsquarterly.org, วันที่สืบค้น 8 ธันวาคม 2560.
05. ออกัสติน (Augustine) หรือ นักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป (Augustine of Hippo) (พ.ศ.897-973/ค.ศ.354-430 ชาตะและมรณะที่แอลจีเรีย แอฟริกาเหนือ) ซึ่งขณะนั้นได้ถูกผนวกรวมเป็นหนึ่งในจักรวรรดิโรมัน งานเขียนของท่านมีอิทธิพลอย่างมากต่อคริสต์ศาสนาในโลกตะวันตก และปรัชญาตะวันตก, ผลงานของท่าน อาทิ คำสารภาพ (Confessions) นครของพระเจ้า (The City of God) ว่าด้วยพระตรีเอกภาพ (On the Trinity) หลักคำสอนเกี่ยวคริสตศาสนาและคริสตธรรม (On Christian Doctrine) บทเทศน์สอนประมาณ 800 บท ฯ, ปรับปรุงจากที่มา: en.wikipedia.org และ th.wikipediaorg, วันที่สืบค้น 8 ธันวาคม 2560.
24
...การมีบุคลิกภาพนั้น มิใช่สิ่งที่รังสรรค์หรือจินตภาพของจิตใจ. หากแต่เป็นสองวิถีในเฝ้ามองไปยังนิรันดร์. ผู้สูงสุดในการดำรงโดยสมบูรณ์นั่นคือพรหมมัน,ผู้สมบูรณ์แบบ และในฐานะของพระผู้เป็นเจ้าและเป็นพระผู้สร้างทรงผนึกและทรงควบคุมทุกสรรพสิ่ง, นั่นคือพระอิศวร พระผู้เป็นเจ้า. "ไม่ว่าองค์ภควานจะถือว่าไม่ได้กำหนดหรือถูกกำหนดไว้, พระศิวะควรได้รับการขนานนามว่าทรงเป็นนิรันดร์; พระองค์ไม่ได้ถูกกำหนด, เมื่อพิจารณามองว่าแตกต่างจากการสร้างและถูกกำหนดแล้ว, พระองค์ทรงเป็นทุกสิ่ง."1 หากโลกเป็นจักรวาลและไม่ใช่ว่าจะขาดความแน่นอนอันไม่มีรูปทรง, แต่ด้วยเพราะการกำกับของพระองค์. ภาควตะ แสดงไว้ว่าความจริงแท้อันเป็นธรรมชาติของจิตสำนึกไม่แบ่งแยกนั้นเรียกว่า พรหมัน, ตัวตนสูงสุด, หรือพระผู้เป็นเจ้า.2 พระองค์คือหลักธรรมขั้นสูงสุด, ตัวตนอันจริงแท้ในตัวเราและทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้าแห่งการสักการะบูชา. เป็นสิ่งสูงสุดเหนือธรรมชาติโดยพลัน, เป็นตัวตนที่บริสุทธิ์ ไม่ได้รับผลกระทบจากการกระทำหรือประสบการณ์ใด ๆ แยกออก ไม่ยี่หระ. ในแง่จักรวาลที่มีความเป็นพลวัต, พระองค์ไม่เพียงสนับสนุนเท่านั้น ทว่าทรงควบคุมการขับเคลื่อนของจักรวาลไว้ทั้งหมด ด้วยพระองค์เองโดยแท้นี้เป็นหนึ่งในทั้งมวล และเหนือสิ่งอื่นใดที่ปรากฎอยู่ในปัจเจกบุคคล.3
ภาพสลักศิวนาฎราช ถ้ำหมายเลข 14 หมู่ถ้ำเอลโลร่า, รัฐมหาราษฎระ, ภารตะ, ถ่ายไว้เมื่อ 20 กรกฎาคม 2566.
พระอิศวร ทรงไม่มีภาระกับสิ่งชั่วร้าย เว้นแต่โดยอ้อม. หากจักรวาลประกอบด้วยเหล่าบุคคลที่เลือกสรรอย่างแข็งขันซึ่งสามารถได้รับอิทธิพล แต่ไม่ถูกควบคุม, เนื่องจากพระผู้เป็นเจ้า ทรงมิได้เป็นเผด็จการ, ความขัดแย้งจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้. การที่ถือได้ว่าโลกเราประกอบด้วยวิญญาณเสรี ก็หมายความว่าความชั่วร้ายนั้นมีความเป็นไปได้และน่าจะเป็นไปได้. ทางเลือกอื่นนอกเหนือจากโลกจักรกลคือโลกแห่งความเสี่ยงและการผจญภัย. หากละทิ้งแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดข้อผิดพลาด, ความอัปลักษณ์และความชั่วร้ายจะถูกแยกออกไป, จะไม่มีการแสวงหาความจริงแท้ได้, ความงดงามและความดีเหล่า เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับข้อผิดพลาด, ความอัปลักษณ์และความชั่วร้าย ไม่ใช่เป็นไปได้ที่เป็นแค่นามธรรมเท่านั้น แต่ทว่า...
---------------
1. निर्गुणाः सगुणाश सेति शिवो ज्ञेयः सनातनः
निर्गुणः प्रकृतेर् अन्यः, सगुणाः सकल स्मृतः ।
nirguṇas saguṇaś ceti śivo jñeyaḥ sanātanaḥ
nirguṇaḥ prakṛter anyaḥ, saguṇas sakala smṛtaḥ.
จะต้องเข้าใจว่าพระอิศวรเป็นนิรันดร์ พระองค์ปราศจากแบบ และจะทำลายแบบต่าง ๆ
นิพพานเป็นอีกธรรมชาติหนึ่ง และสกูณะ01.ถือเป็นองค์รวม.
2. वदन्ति तत् तत्त्वविदः तत्त्वं यज ज्ञानं अद्वायम् ब्रह्मेति परमात्मेति भगवन् इति शब्द्यते ।
vadanti tat tattvavidḥ tattvaṁ yaj jñānam advayam
brahmeti paramātmeti bhagavān iti śabdyate.
นั่นคือสิ่งที่ผู้รู้ ตถาคตกล่าว: ตถาพ ความเสียสละ ความรู้ อัทวายัม
พระองค์ถูกเรียกว่าพระพรหม ดวงวิญญาณสูงสุดแห่งพระเจ้าสามองค์.
และข้อมูลทางบรรณานุกรม:
उत्पत्तिं च विनाशं च भूतानं आगतिं गतिं
वेत्ति विद्यां अविद्यां च स वाच्यो भगवन् इति ।
utpattiṁ ca vināśaṁ ca bhūtānām āgatiṁ gatim
vetti vidyām avidyāṁ ca sa vācyo bhagavān iti.
ความเกิดและความดับแห่งสรรพสัตว์ การเกิดและการดับไป
ผู้ที่รู้ถึงความรู้และความไม่รู้ จะได้รับการกล่าวขานว่าเป็นองค์ภควาน.
3. ข้อมูลทางบรรณานุกรมของศังกราจารย์ใน พฤหทารัณยกะ อุปนิษัท, บรรพที่ 3, อัธยายะที่ 8, โศลกที่ 12. เราอาจกล่าวได้ว่าตัวตนหรืออัตถิภาวนิยมในแง่มุมที่ยอดเยี่ยม, จักรวาลและปัจเจกชนนั้น เป็นคำตอบแก่ตรีเอกภาพ (ศัพท์โรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์) หรือตรีเอกานุภาพ (Trinity - ศัพท์โปรเตสแตนต์) ของคริสตศาสนา (ภาวะที่พระเป็นเจ้าพระองค์เดียวกันเป็นเอกภาพ แต่ปรากฎเป็นสามพระบุคคล คือ...) พระบิดา พระบุตร และพระจิตได้.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. สกูณะ (सगुण - saguṇa) หมายถึง ผู้มีคุณสมบัติ เป็นตัวแทนของพระศิวะ, (กำลัง) เชิงคุณภาพ ตามที่ปรากฎในศิวะปุราณ.
25
...มันมีแนวโน้มในเชิงบวกที่เราต้องต้านทาน. สำหรับ คีตา แล้ว, โลกคือฉากแห่งการต่อสู้อย่างแข็งขันระหว่างความดีกับความเลวร้ายที่พระผู้เป็นเจ้าทรงสนพระทัยอย่างลึกซึ้ง. พระองค์ทรงรินความรักอันเปี่ยมล้นที่พระองค์มี เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ให้ต่อต้านสิ่งสรรพที่ทำให้เกิดข้อผิดพลาด, ความน่าชิงชังและสิ่งชั่วร้าย. ด้วยพระผู้เป็นเจ้าทรงแสนดีและความรักของพระองค์นั้นไร้ขอบเขต, พระองค์ทรงวิตกกังวลกับความทุกข์ยากของโลก. พระผู้เป็นเจ้านั้นมีฤทธานุภาพอันไร้ขีดจำกัดและขอบเขต. ไม่มีสิ่งใด ๆ ภายนอกมีอิทธิพลต่ออำนาจของพระผู้เป็นเจ้า, ธรรมชาติทางสังคมของโลกไม่ได้ถูกกำหนดโดยพระผู้เป็นเจ้า แต่ทรงประสงค์โดยพระองค์. จากคำถามที่ว่า, ความเป็นสัพพัญญูของพระผู้เป็นเจ้า รวมถึงการหยั่งรู้ล่วงหน้าถึงวิถีที่มนุษย์จะประพฤติและใช้หรือละเมิดความเป็นอิสระตามทางเลือกของตนนั้น, เราสามารถกล่าวได้ว่าพระองค์ไม่รู้อะไรเลยนั้น ไม่ใช่ข้อเท็จจริง. พระองค์ทรงรู้ถึงแนวโน้มต่าง ๆ ที่ไม่ได้กำหนด และเมื่อมันกลายเป็นความจริง, พระองค์ได้ตระหนักถึงแนวโน้มเหล่านั้น. กฎแห่งกรรมนั้นไม่ได้จำกัดอำนาจของพระผู้เป็นเจ้า. เหล่าคุรุฮินดูซึ่งอยู่ในยุคที่กำลังรังสรรค์ ฤคเวท อยู่นั้น, ล้วนรู้ซึ้งถึงความสมเหตุสมผลและความถูกต้องของกฎธรรมชาติ. ฤทธิ์ หรือประกาศิตได้โอบรับทุกสรรพสิ่ง. ด้วยกฎเกณฑ์ที่มาจากความคิดและพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้านั้น มิอาจถือเอาได้ว่านี่เป็นข้อคือจำกัดในมหิทธานุภาพของพระองค์. พระผู้เป็นเจ้าแห่งจักรวาลนั้นมีห้วงเวลาเป็นของพระองค์, ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้.
คีตา ได้เน้นย้ำที่องค์ภควานในฐานะพระผู้เป็นเจ้าอันสูงส่งทรงเป็นปัจเจก ผู้สร้างโลกให้ประจักษ์ ด้วยความเป็นธรรมชาติหรือความจริงแท้อันมีสารัตถะของพระองค์เอง (ปรกฤติ)01. พระองค์สถิตย์ในดวงใจทุกสรรพชีวิต;1. พระองค์ทรงปลื้มปิติยินดีและเป็นเจ้าแห่งการเสียสละทั้งมวล.2 พระองค์ทรงปลุกใจให้เราอุทิศและทรงสดับคำอธิษฐานของเรา.3 พระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดและธำรงไว้ซึ่งคุณค่า. พระองค์เข้าสู่ห้วงคำนึง จากการที่เราบูชาและอธิษฐาน.
พระอิศวร (Īśvara) พระผู้เป็นปัจเจกมีภารกิจในการรังสรรค์, ธำรงรักษา และทำให้สรรพสิ่งในจักรวาลมลายสูญสิ้นไป.4 พระผู้สูงสุดมีสองสภาวะธรรมชาติ, สิ่งที่สูงส่ง (วรา) และสิ่งที่อยู่ต่ำลง (อวรา).5 ดวงวิญญาณที่แทนถึงสิ่งที่สูงส่ง และสสารวัตถุสื่อกลางที่ต่ำลงมา. พระผู้เป็นเจ้ามีภาระสองประการ ทั้งแผนการในอุดมคติและการสร้างสรรค์สรรพสิ่งโดยผ่านแนวคิดให้กลายเป็น...
---------------
1. บรรพที่ 18, อัธยายะที่ 61.
2. บรรพที่ 9, อัธยายะที่ 24.
3. บรรพที่ 7, อัธยายะที่ 22.
4. ข้อมูลทางบรรณานุกรมของยาคอป เบม์ (Jokob Bőhme หรือ Boehme): "การสร้างสรรค์เป็นการกระทำของพระบิดา; ชาติ (การเวียนว่ายตายเกิด) เป็น (การกระทำ) ของพระบุตร; ในขณะที่การดับสูญของโลกจะเกิดจากการดำเนินการของพระจิต."
5. บรรพที่ 7, อัธยายะที่ 4-5.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. ปรกฤติ (prakṛti หรือ prakriti) มีแสดงไว้ในปรัชญาสางขยะ (Samkhya School) หมายถึง ธรรมชาติ (Nature) บ้างก็เรียกว่า matter ที่หมายถึง "สสาร" ถือเป็นแนวคิดหลักของศาสนาพราหมร์-ฮินดู ประกฤติ นี้เป็นคำที่ตรงข้ามกับ ปุรุษะ (Purusha) ปุรุษะ หมายถึง การตระหนักรู้อย่างบริสุทธิ์ (Pure awareness) และ การรับรู้อย่างมีสติด้านอภิปรัชญา (Metaphysical consciousness), ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 17 มกราคม 2561.
และ "ปรัชญาสางขยะได้อ้างถึงสิ่งแรกเริ่มและเป็นนิรันดร์อยู่สองสิ่ง สิ่งนั้นคือ ปุรุษะ และ ปรกฤติ คำในภาษาอังกฤษมักจะใช้แทนคำ "ปรกฤติ" คือคำว่า "matter" ที่หมายถึง "สสาร" แต่ดูเหมือนว่าการแปลปรกฤติว่าเป็นเพียงสสารนั้นจะไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะสสารนั้นโดยตัวมันเองแล้วไม่มีชีวิตและดังนั้นจึงเคลื่อนไหวไม่ได้ ในขณะที่ปรกฤติตามศัพท์แล้วบ่งชี้ว่า (ประ คือ ประกรเษณะ หรือ อย่างเข้มข้น อย่างแรงกล้า ส่วน กฤติ คือ การเคลื่อนไหว แสดงออก) ปรกฤติก็คือศักยภาพที่จะเคลื่อนไหวหรือกระทำ ในความเป็นจริงแล้วกิจกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นได้เพราะปรกฤติ อย่างไรก็ตามปรกฤติจะแสดงศักยภาพออกมาได้ก็โดยอาศัยปุรุษะ คำว่า "ปุรุษะ" มีความหมายโดยทั่วไปว่า บุรุษ ผู้ชาย หรือปัจเจก แต่ปุรุษตามความหมายของสางขยะไม่ได้หมายถึงคน แต่เป็นสิ่งแรกเริ่มดั้งเดิมซึ่งกล่าวกันว่าไม่สามารถเปลี่ยนรูปได้ภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ ดังนั้นจึงเป็นไปโดยปริยายว่า ปุรุษะ ไม่สามารถที่จะเคลื่อนไหวหรือกระทำสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง มีคำอธิบายปุรุษะว่าเป็น "อกรตา" หรือ ไม่ใช่ผู้กระทำ ไม่มีความปรารถนาหรือความเต็มใจที่จะกระทำสิ่งต่าง ๆ ดังนั้นการกระทำและการเปลี่ยนแปลง จึงเป็นผลมาจากปรกฤติเท่านั้น แต่ปรกฤติ คือ ชฑา หรือ ความเฉี่อย เป็นสิ่งที่ไร้สติปัญญาและความรู้สึก มันจะสามารถเคลื่อนไหวได้ก็โดยอาศัยการแสดงออกของปุรุษะเท่านั้น
แต่ถึงกระนั้นปุรุษะ ก็ยังคงไม่ถูกกระทบหรือได้รับอิทธิพลใด ๆ จากวิวัฒนาการของปรกฤติ ตัวอย่างที่มักยกมาอธิบายให้เข้าใจในเรื่องนี้คือ นิทานคนง่อยตาดีขี่หลังคนตาบอดเดินทางออกจากป่า มีชายสองคนต้องการเดินทางออกจากป่าไปสู่จุดหมายปลายทางเดียวกัน คนหนึ่งแม้จะสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้เพราะเป็นคนตาดีแต่เป็นง่อยเดินไม่ได้ โดยลำพังตัวคนเดียวจะไม่สามารถเดินทางออกจากป่าไปสู่จุดหมายปลายทางที่ต้องการได้ ส่วนอีกคนหนึ่งแม้จะเดินไปไหนมาไหนได้ แต่ก็ตาบอดมองอะไรไม่เห็น ถ้าลำพังเขาคนเดียวก็ไม่อาจเดินทางออกจากป่าไปสู่จุดหมายได้เช่นกัน
เมื่อคนตาบอดมาพบกันคนง่อยตาดีก็ไต่ถามกัน ครั้นทราบว่าต่างมีจุดประสงค์ที่จะเดินไปสู่จุดหมายปลายทางเดียวกัน คนตาบอดจึงยินดีให้คนง่อยขี่หลังคอยบอกหนทางให้เดินไป ในที่สุดทั้งสองคนจึงได้เดินทางไปถึงจุดหมายปลายทางเดียวกัน คนตาบอดจึงยินดีให้คนง่อยขี่หลังคอยบอกหนทางให้เดินไป ในที่สุดทั้งสองคนจึงได้เดินทางไปถึงจุดหมายปลายทางได้ตามความมุ่งหวัง
สางขยะเปรียบคนง่อยตาดีกับปุรุษะ เพราะแม้จะมีสติปัญญาส่องนำทางแต่ก็ไร้ซึ่งการกระทำ ส่วนตาบอดเปรียบกับปรกฤติ เพราะแม้จะสามารถกระทำสิ่งต่าง ๆ ได้แต่ก็ปราศจากสติปัญญา ทั้งปุรุษะและปรกฤติจึงต้องอาศัยซึ่งกันและกัน.
..และ www.gotoknow.org/posts/260095 เขียนโดย "แตงไทย" ใน โยคะ วิถีชีวิตเพื่อสุขภาวะ (ซึ่งผู้เขียน "แตงไทย" ได้เอกสารอ้างอิงจาก : สุนทร ณ รังษี (2530). ปรัชญาอินเดีย: ประวัติและลัทธิ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , Karambelkar, P. V., (1986). PATANJALA YOGA SUTRAS Sanskrta Sutras with Transliteration, Translation & Commentary. Lonavla : Kaivalyadhama.), วันที่สืบค้น 18 มกราคม 2561.
26
...ของจริง, แนวคิดได้กลายกลับสู่จักรวาล. การเพ่งพิเคราะห์แผนความคิดให้เป็นรูปธรรมได้นั้น ต้องอาศัยความสมบูรณ์ของการดำรงอยู่, อันเป็นสาระสำคัญขั้นกลาง. ในขณะที่แนวคิดต่าง ๆ ของพระผู้เป็นเจ้ากำลังดั้นด้นเสาะหาการดำรงอยู่นั้น, โลกสรรพสิ่งก็ดิ้นรนปรับตนเพื่อให้สมบูรณ์แบบ. ด้วยรูปแบบอันศักดิ์สิทธิ์และสิ่งที่จะบังเกิดขึ้น, ทั้งสองประการล้วนมาจากพระผู้เป็นเจ้า ผู้เป็นทั้งปฐม ท่ามกลาง และเบื้องปลาย นั่นคือ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ. พระพรหม (Brahmā) คือพระผู้มีความคิดสร้างสรรค์. พระผู้หลั่งรินความรักและวิริยะอุตสาหะทำงานให้เข้าคู่กับสิ่งที่พระองค์รัก นั่นคือพระวิษณุ (Viṣṇu) ผู้เป็นพระซึ่งทรงงานวันแล้ววันเล่าเพื่อจรรโลงโลกไว้. ครั้นแล้วหลักคิดนี้ได้แปลงเป็นจักรวาล, จนสวรรค์ได้ถูกรังสรรค์บนโลก, เราชาวโลกก็ได้รับการเติมเต็มให้สมหวังด้วยพระกรุณาของพระศิวะ (Śiva). พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงภูมิปัญญา, ให้ความรัก, และความสมบูรณ์ในเวลาเดียวกัน. ทั้งสามภาระงานนี้ไม่สามารถแยกออกจากกันได้. ทั้งพระพรหม พระศิวะ และพระวิษณุต่างผนึกฐานก่อรวมสามพลังเป็นหนึ่ง. คีตา ให้ความสนใจกับกระบวนการไถ่โลก. ดังนั้นมุมมองที่เกี่ยวกับพระวิษณุ จึงถูกเน้นย้ำ. พระกฤษณะจึงเป็นตัวแทนของพระวิษณุ ซึ่งเป็นมุมมอง (ของผู้คน) ที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้าอันสูงส่ง.
พระพรหม, พระวิษณุ, และพระศิวะ "พระตรีมูรติ", ที่มา: www.pinterest.com, วันที่เข้าถึง: 26 มกราคม 2566.
พระวิษณุนั้น ถือเป็นเทพ (ที่ผู้คนต่าง ๆ ) คุ้นเคย มีปรากฎในฤคเวท. พระองค์มีชื่อเสียงขจร, ตั้งแต่จุดที่ต่ำไปถึงเบื้องสูง1. พระองค์ทรงเป็นผู้ควบคุมภายในที่แผ่ซ่านไปทั่วจักรวาล. พระองค์ทรงผนวกรวมตำแหน่งและเกียรติศักดิ์ขององภควานพระผู้ทรงพลานุภาพค่อย ๆ มากขึ้น. ใน ไตติรียะ อารัณยกะ (บ้างก็เรียก อรัณยกะ) ได้กล่าวว่า: "เรานำการสักการะแด่พระนารายณ์; แด่ท้าววาสุเทพด้วยการทำสมาธิ และขอให้พระวิษณุช่วยเหลือเราด้วย"2.
พระกฤษณะ,3. ครูของ คีตา, พระผู้ทรงจำลองร่างมาจากพระวิษณุ, เจ้าแห่งพระอาทิตย์อันเก่ากาล, และพระนารายณ์, พระ...
---------------
1. อมรา01. ได้กล่าวว่า, व्यापके परमेश्वरे (vyāpake parameśvare - ข้าแต่พระเจ้าแห่งจักรวาล). ได้ตรวจสอบจากสิ่งที่ต่ำ, เพื่อเข้าไปภายใน. ในไตติรียะ อุปนิษัท กล่าวว่า: “หลังจากที่พระองค์ทรงสร้างโลกแล้ว, พระองค์ทรงดำเนินเข้าไปในนั้น” ดูในคัมภีร์ ปัดมา ปุราณะ (पद्म पुराण - Padma Purāṇa). พระวิษณุทรงเข้าไปในประกฤติ. स एव भगवन् विष्णुः प्राकृत्यम् आविवेशः - sa eva bhagavān viṣṇuḥ prakṛtyām āviveśaḥ - พระวิษณุองค์เดียวกันนั้นได้เข้าสู่ธรรมชาติ.
2. บรรพที่ 10, อัธยายะที่ 1, โศลกที่ 6. नारायणाय विद्महे वासुदेवाय धीमहि तन् नो विष्णुः प्रकोदयात् । (nārāyaṇāya vidmahe vāsudevāya dhīmahi tan no viṣṇuḥ pracodayāt - เราขอแสดงความเคารพต่อพระนารายณ์และพระวาสุเทพ ขอพระวิษณุโปรดให้กำลังใจเรา). พระนารายณ์ตรัสว่า: “เราเป็นเหมือนพระอาทิตย์, ข้าครอบคลุมทั้งโลกด้วยประภัสสร, และยังเป็นผู้ค้ำจุนล้วนทุกสรรพชีวิต ด้วยเหตุฉะนี้ข้าจึงได้รับการขนานนามว่าวาสุเทพ.” มหาภารตะ, บรรพที่ 12 - ศานติบรรพ, อัธยายะที่ 341, โศลกที่ 41.
3. karṣati sarvaṁ kṛṣṇaḥ. (कर्षति सर्वां कृष्णः । - พระกฤษณะดึงพวกเขาทั้งหมดไว้ด้วยกัน) พระผู้ทรงดึงดูดความสนใจทั้งมวลหรือกระตุ้นให้เสียสละทุก ๆ สิ่ง นั่นคือ พระกฤษณะ. เวทานตะ รัตนะ มาญชุษะ02. (หน้าที่ 52) กล่าวว่าพระกฤษณะทรงได้รับการขนานนามเช่นนี้ เพราะพระองค์ได้ขจัดบาปจากผู้ที่อุทิศตน, pāpaṁ karṣayati, nirmūlayati. (पापं कर्षयति, निर्मूलयति - มันดึงบาปลงมา ขจัดมันออกไป) คำว่ากฤษณะ (kṛṣṇa) นั้นมาจากกฤษะ (kṛṣ), ได้ขูดลอก, ด้วยพระองค์ได้ขูดลอกบาปทั้งมวลและความชั่วร้ายต่าง ๆ จากบรรดาผู้ที่อุทิศตน. kṛṣater vilekhanārthasya rūpaṁ bhaktajanapāpādidoṣakarṣaṇāt kṛṣṇaḥ. (कृष्णेर् विलेखनार्थस्य रूपं भक्तजनपादीदोषकर्षणात् कृष्णः । - รูปแบบของกฤษณะ จุดประสงค์ในการเขียนก็เพื่อพระกฤษณะ เพราะพระองค์ทรงดึงดูดข้อบกพร่องของผู้ศรัทธา ผู้คน และผู้อื่น) ความเห็นของศังกราจารย์ในภควัทคีตา, บรรพที่ 6, อัธยายะที่ 34.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. อมรา เป็นชื่อของนักเขียนเกี่ยวกับ คัมภีร์อุปนิษัท ท่านหนึ่ง ปรากฎในหนังสือหลาย ๆ เล่ม เป็นภาษาทมิฬ มีแสดงในห้องสมุดพิพิธภัณฑ์บริติช
02. เวทานตะ รัตนะ มาญชุษะ (वेदान्तरत्नमञ्जूषा - Vedāntaratnamañjūṣā) เป็นวรรณกรรมที่เขียนโดย อนันตรามะ ปุรุโษตตมะ (Puruṣottama, Anantarāma) ในพุทธศตวรรษที่ 18 หรือ คริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นภาษาสันสกฤต จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2450-51/ค.ศ.1907-8 จำนวน 180 หน้า, ที่มา: books.google.co.th, วันที่สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2561.
27
...เป็นเจ้าที่เก่ากาลแห่งรูปลักษณ์จักรวาลและเป็นจุดหมายหรือที่พำนักของเหล่าเทพและมวลมนุษย์.
สิ่งจริงแท้คือพรหมันผู้เหนือจักรวาล นิรันดร์ ไร้ช่องว่าง ไร้กาลเวลา พระองค์สนับสนุนการปรากฎของสากลจักรวาลนี้ทั้งในห้วงอวกาศและเวลา. พระองค์เป็นวิญญาณบริสุทธิ์ ปรมาตมัน01. ผู้ทรงจารึกรูปแบบของสากลและการเคลื่อนไหวของจักรวาล. พระองค์คือปรเมศวร์02. พระผู้ชี้นำในแต่ละดวงวิญญาณและการเคลื่อนไหวของธรรมชาติ แล้วควบคุมการกลายเป็นจักรวาล. พระองค์คือปุรุโษตตมะ03. พระผู้สูงสุด, ผู้แสดงธรรมชาติสองขั้วในการวิวัฒนาการของจักรวาล. พระองค์ทรงเติมเต็มความเป็นเรา. ส่องสว่างถึงความเข้าใจในเรา และเริ่มต้นวสันตฤดูที่ซ่อนอยู่.1.
ทุกสรรพสิ่งล้วนมีความเป็นคู่ของการเป็นและการไม่เป็นตั้งแต่ปุรุโษตตมะลงมา. แม้ว่าพระเป็นเจ้าจะมีองค์ประกอบของด้านลบหรือมายา04. แม้ว่าพระองค์ก็ยังทรงควบคุมมันไว้ก็ตาม. พระองค์ได้แสดงธรรมชาติที่มีชีวิตชีวากระตือรือร้น สวา ปรกฤติ05. และทรงควบคุมดวงวิญญาณให้ดำเนินไปตามชะตากรรมแห่งตน ตามแนวทางที่กำหนดโดยธรรมชาติ (หรือจริต) ของพวกเขาเอง. ขณะที่สรรพสิ่งทั้งหมดกระทำโดยพระผู้สูงส่งผ่านด้วยมหิทธานุภาพดั้งเดิมแห่งพระองค์ที่ใช้ในโลกที่เปลี่ยนแปลงนี้, พระองค์มีอีกแง่มุมหนึ่งที่มิอาจสัมผัสแตะต้องได้โดยทั้งหมด. ด้วยเดชานุภาพที่ไร้รูปลักษณ์และสิ่งที่พระองค์ประสงค์; พระองค์มีสาเหตุที่ไม่อาจสืบเสาะได้, เป็นผู้เคลื่อนไหวที่ไม่สะทกสะท้าน. ขณะที่ทรงสถิตในมนุษย์และ...
---------------
1. พระองค์ทรงจัดการความไม่รู้ด้วยลำแสงแห่งองค์ความรู้, ทรงจัดการกับความอ่อนแอด้วยพลังแห่งความเข้มแข็ง, ทรงจัดการกับคนบาปด้วยการให้อภัย, ทรงจัดการกับความลำเข็ญด้วยความเมตตา, ทรงจัดการกับความทุกข์ยากด้วยความสะดวกสบาย… jñānam ajñānām, śaktir aśaktānām, kṣamā sāparādhānām, kṛpā duḥkhinām, vātsālyaṁ sadoṣānām, śīlaṁ mandānām, ārjavaṁ kuṭilānām, sauhārdyaṁ duṣtahṛdayānām, mārdavaṁ viśleṣabhīrūṇām. (ज्ञानं आज्ञां, शक्तिर अशक्तानं, क्षमा सपरधानम्, कृष्णं, वात्साल्यां, सदोषणं, शीलं मन्दनं, आर्जवं कुटिलानं, सौहार्द्याम् दुष्टाहम् दुष्त्रिदयनं, मर्दवं विश्लेषभिरूणाम् । - ความรู้คือคำสั่ง อำนาจคือผู้อ่อนแอ การให้อภัยเป็นหัวหน้า ความมืดคือความรักใคร่ ข้อบกพร่องคือความผิด อุปนิสัยคือความช้า ความตรงไปตรงมาคือความคดเคี้ยว มิตรภาพคือความชั่วร้าย ความเมตตาคือความชั่วร้าย ความอ่อนโยนคือการวิเคราะห์)
ข้อมูลทางบรรณานุกรม “พระองค์เป็นที่ชื่นชมยินดี, พระองค์เป็นที่พักพิงของความสงบสุข: พระองค์ท่านทรงมลายความเศร้าโศกของสรรพชีวิตและประทานความสุขให้.”
"आनन्दामृतरूपस् त्वां च शान्तिनिकेतनम् हरसि प्राणिनां
दुक्खं विदाहासि सदा सुखम्"
“ānandāmṛtarūpas tvaṁ ca śāntiniketanam
harasi prāṇināṁ duhkhaṁ vidadhāsi sadā sukham.”
“พระองค์เป็นแหล่งลี้ภัยของผู้อ่อนแอ, ทรงไถ่บาปให้”
"दीनानां शरणं त्वां हि, पापिनाँ मुक्तिसाधानम् ।"
“dīnānāṁ śaraṇaṁ tvaṁ hi, pāpināṁ muktisādhanam.”
และเพิ่มเติม: “พระองค์ทรงพิโรธ, เติมเต็มข้าฯ ด้วยแสงรัศมี, พระองค์ทรงแกร่งกล้า, เติมเต็มข้าฯ ให้ฮึกเหิม: พระองค์ทรงฤทธิ์เดช, ให้ข้าฯ แข็งแกร่ง: พระองค์ผู้ทรงแจ่มใส, ได้มอบความมีชีวิตชีวาแก่ข้าฯ: พระองค์ทรงพิโรธ (เพื่อต้านทานความผิดบาปทั้งมวล), ทรงโหมความโกรธกริ้วนี้ไว้ในข้าฯ: พระองค์ทรงอดทน, เติมเต็มความอดทนนี้ไว้แก้ข้าฯ. ” तेजो’सि तेजो मयि देहि, वीर्यम् असि वीर्यं मयि देहि, बलं असि बलं मयि देहि, ओजो’सि ओजो मयि देहि, मनुर् असि मन्युं मयि देहि, सहोऽसि सहोमायि देहि । - tejo’si tejo mayi dehi, vīryam asi vīryaṁ mayi dehi, balam asi balaṁ mayi dehi, ojo’si ojo mayi dehi, manyur asi manyuṁ mayi dehi, saho’si sahomayi dehi. ศุกล ยชุรเวท (ยชุรเวทขาว-หนึ่งในยชุรเวทสัมหิตา) (Śukla Yajur Veda), บรรพที่ 19, อัธยายะที่ 9.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. ปรมาตมัน (Paramātman) บ้างก็เรียก พรหมัน เป็นดวงวิญญาณที่ยิ่งใหญ่ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเอง เป็นต้นเหตุของสรรพสิ่ง หรือสรรพสิ่งเกิดจากปรมาตมัน ปรมาตมันเป็นอมตะ ไม่มีเบื้องต้น และไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีเพศ เป็นสันติสุขในตัวเอง เป็นปฐมวิญญาณของสิ่งทั้งปวง และเป็นบ่อเกิดของอาตมัน (บ้างก็เรียก ชีวาตมัน) อาตมันเป็นดวงวิญญาณของปรมาตมัน (เป็นตัวตนย่อยของปรมาตมัน) คือเกิด (หรือสิงสถิตอยู่ในรูปแบบ) เป็นสัตว์ต่าง ๆ เช่น มนุษย์ เทพเจ้า เดรัจฉาน ฯลฯ เป็นต้น สิ่งมีชีวิตนับชาติไม่ถ้วนและต้องมีลักษณะสภาวะที่ไม่เหมือนกัน จนกว่าจะเข้าถึงความหลุดพ้น กระบวนการนี้เรียกว่า การเวียนว่ายตายเกิดหรือสังสารวัฏ ดังนั้นการที่อาตมัน หรือชีวาตมันย่อยนี้ เข้าไปรวมกับปรมาตมันหรือพรหมัน จึงจะเรียกว่า การพ้นจากทุกข์ ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป, ที่มา: bruckline.wordpress.com และ 2g.pantip.com, วันที่สืบค้น 17 กุมภาพันธ์ 2561.
02. ปรเมศวร์ (Parameśvara) ปรเมศวร์ (Parameśvara) หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง คือ พระอิศวร ในภาษาอังกฤษบ้างก็เขียนว่า Parameshwara หรือ Paramashiva อันเป็นพระผู้สูงสุดตามลัทธิไศวนิกาย (Saivism) ของศาสนาฮินดู, ที่มา: พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร และ en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 22 กุมภาพันธ์ 2561.
03. ปุรุโษตตมะ (Puruṣottama) บ้างก็เรียก Purushottama คำว่า ปุรุษะ (purasha) หมายถึง "พระวิญญาณ" หรือ "ผู้ชาย" และ อุตตมะ (Uttama) หมายถึง "สูงสุด" แปลรวมคือ พระวิญญาณอันสูงสุด, พระเป็นเจ้าอันสูงส่ง ซึ่งหมายถึง พระวิษณุ (มีปรากฎในมหาภารตะ ว่าชื่อนี้เป็นชื่อลำดับที่ 24 ของพระวิษณุ), แปลและสืบค้นจาก: en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 22 กุมภาพันธ์ 2561.
04. มายา (māyā) หมายถึง สิ่งลวงตา หรือ เวทมนต์ ในวรรณกรรมยุคพระเวทนั้น มายามีนัยว่า กำลังที่พิเศษไม่ธรรมดา หรือความเฉลียวฉลาด.
05. สวา ปรกฤติ (स्वां प्राकृतम् - svāṁ prakṛtīm) หมายถึง (พระเป็นเจ้า) ได้วางธรรมชาติที่กำลังขับเคลื่อน, นั่นคือ ปรกฤติ (ดู 21.), อ้างถึง books.google.co.th, Essays on the Gita โดย Sri Aurobindo, Aurobindo Ghose, วันที่สืบค้น 6 มีนาคม 2561. และหมายถึง own nature, อ้างถึง www.bhagavadgita.eu/en/?p=4053, วันที่สืบค้น 7 มีนาคม 2561.
28
...ธรรมชาติ. พระผู้สูงส่งทรงยิ่งใหญ่กว่าทั้งสอง (มนุษย์และธรรมชาติ). จักรวาลอันไร้ขอบเขตในห้วงอวกาศและกาลเวลาอันไร้จุดสิ้นสุดได้ตั้งอยู่ในพระองค์ ทว่าพระองค์ไม่ได้อยู่ในนั้น1. พระผู้เป็นเจ้าแห่ง คีตา นั้น ไม่สามารถระบุได้ด้วยกระบวนการจักรวาล ทั้งนี้เพราะพระองค์ได้ขยายตนออกไปไกลกว่านั้น2. ในแง่มุมเช่นนี้พระองค์ได้ปรากฎให้เราเห็นมากกว่าผู้ใด. แม้มีคำกล่าวหาของลัทธิอื่นที่ต่ำช้า ก็มิอาจระคายเคืองต่อแนวคิดของ คีตา นี้ได้3. ขณะที่ความจริงแท้หนึ่งเดียวนั้นมีความสมบูรณ์อย่างไร้ที่ติ, ทุกสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นจริง แม้ว่าได้ผนึกแน่นรวมกันก็มิอาจมีความสมบูรณ์เท่า.
......................
1. บรรพที่ 9, อัธยายะที่ 6, โศลกที่ 10.
2. บรรพที่ 10, อัธยายะที่ 41-2.
3. บรรพที่ 10, อัธยายะที่ 21-37.
ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย:
01. THE BHAGAVADGITA, S. RADHAKRISHNAN, HarperCollins Publishers India Pvt Ltd. Printed in India, 14th impression 2000, โดย ฯพณฯ สรวปัลลี ราธากฤษณัน (Servepalli Radhakrishnan) นักปราชญ์และประธานาธิบดีคนที่ 2 ของประเทศอินเดีย.