MENU
TH EN

CM-005. วัดบุปผาราม หรือ วัดสวนดอก

Title Thumbnail: พระอารามหลวง วัดสวนดอก เมืองเชียงใหม่, ถ่ายไว้เมื่อ 05 เมษายน 2564, Hero Image: พระเจ้าเก้าตื้อ, ถ่ายไว้เมื่อ 05 เมษายน 2564.
CM-005. วัดบุปผาราม หรือ วัดสวนดอก
First revision: Apr.04, 2020
Last Change: Sep.18, 2021
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา.

 

เจดีย์ยอดดอกบัวตูม ที่วัดสวนดอก เชียงใหม่

     เจดีย์ที่วัดสวนดอกข้างต้น มีศิลปะแบบเดียวกับเจดีย์ที่  วัดเจดีย์เจ็ดแถว ศรีสัชนาลัย

       แต่เดิมบริเวณที่ตั้งวัดสวนดอกนี้ พรญาสองแสนนา หรือ พรญากิลนา (มหาราชกิลนา ...มาพรญาโกฏินา ที่มีการยอพระเกียรติเฟ้อไปนั่นเอง) ต้องการให้เป็นอุทยานสวนดอกไม้ แต่เมื่อได้อัญเชิญพระสุมนเถระ (ชาวสุโขทัย) ได้นำพระพุทธศาสนา ลัทธิรามัญวงศ์เข้ามาปลูกฝังในอาณาจักรเชียงใหม่-หริภุญชัย (โดยขออัญเชิญผ่านทางอาณาจักรสุโขทัย) เมื่อ ค.ศ.1369/พ.ศ.1912 และพระสุมนเถระได้เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกที่วัดสวนดอก หรือวัดบุปผารามนี้02
 
       พระเจ้าเก้าตื้อ เป็นพระประธานในพระอุโบสถวันสวนดอก หรือวัดบุปผาราม ซึ่งมีอายุกว่า 516 ปี วัดสวนดอก ตั้งอยู่ที่ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พระเจ้าเก้าตื้อเป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย ที่สวยงามองค์หนึ่งของล้านนา 
       คำว่า "ตื้อ" เป็นหน่วยวัดน้ำหนักโลหะของล้านนาในสมัยโบราณ ซึ่ง 1 ตื้อ เท่ากับ 1,000 กิโลกรัม (บางตำรากล่าวว่า 1 ตื้อ เท่ากับ 1,000 กิโลกรัม) พระเจ้าเก้าตื้อ หมายถึง พระพุทธรูปที่หล่อด้วยโลหะหนัก 9,000 กิโลกรัม หรือ 9 ตัน.
       ในพงศาวดารโยนกกล่าวว่า พระเจ้าเมืองแก้ว หรือพระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิราช กษัตริย์รัชกาลที่ 14 แห่งราชวงศ์มังรายที่ครองอาณาจักรล้านนา ได้โปรดให้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้น เพื่อเป็นประธานในวิหารวัดพระสิงห์ โดยเริ่มทำการหล่อในวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 11 ค่ำ ปีชวด ฉอศก จุลศักราช 866 (พ.ศ.2047)
       เมื่อหล่อได้ทำการตกแต่ง จนถึงวันพฤหัสบดี เดือร 5 ขึ้น 5 ค่ำ ปี ฉลู สัปตศก จุลศักราช 867 (พ.ศ.2048) จึงเสร็จสมบูรณ์ องค์พระมีที่ต่อ 8 แห่ง.
       อย่างไรก็ตามด้วยองค์พระมีน้ำหนักมาก เมื่อหล่อเสร็จไม่สามารถชะลอเข้าเมืองได้ พระองค์จึงโปรดฯ ให้สร้างวิหารเป็นที่ประดิษฐาน ณ บริเวณใกล้ ๆ กับพระอารามวัดบุปผาราม ครั้นถึงวันพุธเดือน 5 ขึ้น 4 ค่ำ ปีมะเส็ง เอกศก จุลศักราช 870 (พ.ศ.2051) จึงได้มีการชักพระพุทธปฏิมาองค์นี้ เข้าประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถแห่งวัดบุปผาราม จวบจนปัจจุบัน01
 


ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย:
01. จาก. Facebook เพจ "เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น," วันที่เข้าถึง 7 พฤษภาคม 2564.
02. จาก. การบรรยายของ อาจารย์ ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร เมธีวิจัยอาวุโส สกว. หัวข้อ "ล้านนามหาปกรณัม: ความทรงจำแห่งอภินวบุรี-ศรีหริภุญชัย" เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564.




PHOTO GALLERY
ภาพที่ 01: เจดีย์วัดสวนดอก เชียงใหม่, ที่มา: Facebook เพจ "ฅนไท ฅนพุทธ," ไม่ทราบปีที่ถ่าย Cr. ผู้ถ่าย วันที่เข้าถึง 5 กันยายน 2564.


 

PHOTO
GALLERY
humanexcellence.thailand@gmail.com