MENU
TH EN

A02. บทนำ: การจำแนกเนื้อหาโดยละเอียดในมหาภารตยุทธ (บรรพ - อัธยายะ - โศลก)

Title Thumbnail & Hero Image: เทพฮินดู, พัฒนาขึ้นเมื่อ: 16 มิถุนายน 2567.
A02. บทนำ: การจำแนกเนื้อหาโดยละเอียดในมหาภารตยุทธ (บรรพ - อัธยายะ - โศลก)
First revision: Jun.8, 2024
Last change: Nov.24, 2024
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง แปล และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา.
1.
หน้าที่ 1
       มหาภารตยุทธมีการจำแนกเนื้อหาออกเป็นโศลก01. ซึ่งโศลกดังกล่าวหลายโศลกประกอบกันเป็นบท (Chapter) หรืออัธยายะ02. หลาย ๆ อัธยายะประกอบกันเป็นบรรพ03. ผู้คนโดยทั่วไปเข้าใจว่ามหาภารตยุทธนั้นมี 18 บรรพ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ถูกต้อง. แต่ก็มีการจัดหมวดหมู่โดยละเอียดอีก 100 บรรพ ที่ระบุไว้ในตารางที่จะแสดงในหน้าต่อ  ๆ ไป. โดยตารางฯ ได้อ้างอิงตามฉบับที่ได้พิเคราะห์พิจารณ์แล้ว04. ในปัจจุบันมี 98 บรรพ (หรือ อุปบรรพ - upa-Parva) (ในตารางจะระบุว่าสดมภ์หรือคอลัมน์ว่า 100-parva classification ซึ่งนั่นคือชื่อสดมภ์เท่านั้น).
---------------

01. โศลก (श्लोक - śloka) แปลว่า คำประพันธ์ในวรรณคดีสันสกฤต 4 บาท เป็น 1 บท ตามปรกติมีบาทละ 8 พยางค์ เรียกว่า โศลกหนึ่ง.
บาท กลอนสุภาพ บท หนึ่งมี 4 วรรค กลอน 2 เรียกว่า 1 บาท หรือ 1 คำกลอน ฉะนั้นกลอนสุภาพบทหนึ่ง จึงมี 2 บาท หรือ 2 คำกลอน บทแรกเรียกว่า บาทเอก บาทที่สองเรียกว่า บาทโท สำหรับวรรคทั้งสี่ของกลอนยังมีชื่อเรียกวรรค ตามลักษณะการบังคับสัมผัส และนิยมใช้เสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรคต่างกัน.
โศลก (श्लोक śloka โศฺลก สันสกฤตออกเสียง shloka คือ ศ ออกเสียงคล้าย sh ในภาษาอังกฤษ และควบกับ ล ด้วย) หมายถึง ฉันทลักษณ์ “ชนิดหนึ่ง” ในภาษาสันสกฤต (ฉันทลักษณ์ก็คือรูปแบบคำประพันธ์ หรือแบบแผนของร้อยกรองนั่นเอง) แต่อาจหมายถึงร้อยกรองทั่ว ๆ ไปก็ได้ ดังนั้นเมื่อเอ่ยถึงโศลก จึงมีความหมายสองอย่าง.
ฉันท์ที่ชื่อโศลกนั้น อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนุษฺฏุภฺ (अनुष्टुभ् - anuṣṭúbh) อะ-นุษ-ฏุภ.
เล่ากันว่าที่มาของคำ โศลก คือ ความเศร้าเมื่อฤษีวาลมีกิได้เห็นนกตัวหนึ่งถูกนายพรานสังหารขณะมันพลอดรักกับคู่ ฤษีเห็นแล้วเกิดความเศร้า จึงเปล่งโศลกขึ้นมา เนื้อหาตำหนินายพรานนั้นเป็นร้อยกรอง แล้วตั้งชื่อร้อยกรองชนิดนี้ว่า โศลก เพราะเป็นร้อยกรองที่เกิดขึ้นจากความเศร้า ซึ่งเล่าไว้ในกาณฑ์ (กัณฑ์) ที่หนึ่งแห่งรามายณะ เรียกว่าพาลกาณฑ์.
จำนวนพยางค์ในโศลกนั้นคล้ายกับกลอนแปดของไทยเรา คือบทหนึ่งมี 4 วรรค, วรรคละ 8 คำ แต่มีการกำหนดเสียงหนักเบาด้วย เช่น
ปาทพทฺโธ’กฺษรสมะ.......... ตนฺตฺรีลยสมนวิตะ
โศการฺตสฺย ปฺรวฺฤตฺโต เม... ศฺโลโก ภวตุ นานฺยถา ฯ (1.2.18 รามายณ)
(มักจะเขียนบรรทัดละ 2 วรรคติดกัน)
โศลกนี้ ความว่า สิ่งที่พรั่งพรูจากความเศร้าของข้า ซึ่งผูกไว้สี่บาท มีอักษร (พยางค์) เท่ากัน มีจังหวะเข้ากับเครื่องสาย ขอจงเรียกว่า โศลก อย่าได้เป็นอย่างอื่น.
อนึ่ง นิทานเรื่องโศลกคงจะเป็นการเล่านิทานเพื่ออธิบายที่มาของเรื่อง ตามปกติของมนุษย์ จริง ๆ แล้ว คำว่า โศลก น่าจะมีที่มาจากคำอื่น และมีใช้มาช้านานตั้งแต่สมัยพระเวท เรื่อยมา แม้แต่ในมหาภารตะ หรือรามายณะ ก็ใช้ฉันทลักษณ์ที่เรียกโศลกนี้. ที่มา: www.exoticindiaart.com/…/birth-of-poet-valmiki-is-inspired…/ (จำวันที่สืบค้นไม่ได้ นานมากแล้ว ราว พ.ศ.2559).
02. อัธยายะ (अध्याय - adhyāya) หมายถึง บทเรียน เนื้อหาการบรรยาย สิ่งที่ใช้อ่านใช้ศึกษา (a lesson, lecture, chapter; reading. Learning, study, remembrance).
03. บรรพ (पर्व - Parva) แปลว่า เล่ม หมวด ภาค ตอน กัณฑ์, episode.
04. ฉบับที่ได้พิเคราะห์พิจารณ์แล้ว หมายถึง ฉบับที่ได้ชำระแล้วจากสถาบันบูรพวิจัยบานดาร์การ์ (The Bhandarkar Oriental Research Institute - BORI) ในระหว่าง พ.ศ 2462 ถึง 2509 ที่เมืองปุเน (Pune) หรือ ปูนา รัฐมหาราษฎระ ภารตะ.

1.
2.
หน้าที่ 2
       ด้วยมหาภารตยุทธนั้น มีเนื้อเรื่องยาวมาก มีการกล่าวถึงโครงสร้างของมหาภารตยุทธว่าเป็นเหมือนส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ ดังนี้:

       "งานประพันธ์นี้คือต้นไม้ซึ่งมีเนื้อหาคือเมล็ดพันธุ์ ตอนต่าง ๆ ซึ่งมีชื่อว่าเปาโลมบรรพและอาสติกบรรพเป็นราก ส่วนสัมภวบรรพคือลำต้น สภาบรรพและอารัณยบรรพคือคบไม้ อรนีบรรพคือตาไม้วิราฏบรรพและอุทโยคบรรพคือแก่น ภีษมบรรพคือกิ่งก้าน โทรณบรรพคือใบ กรรณบรรพคือดอกไม้ที่สวยงาม ศัลยบรรพคือกลิ่นหอมของดอกไม้ สตรีบรรพและไอสิกบรรพคือร่มเงาของต้นไม้ ศานติบรรพคือผลไม้ อัศวนเมธิกบรรพคือน้ำหวาน และอาศมวาสิกบรรพคือต้นไม้เติบโตเต็มที่..."01.

---------------
01. "ขนบประพันธ์และทรรศนะเรื่องความสร้างสรรค์ในวรรณคดีสันสกฤต: ศึกษาเปรียบเทียบจากวรรณคดีมหากาพย์กับวรรณคดีกาวยะ," กุลนิจ คณะฤกษ์, ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552 หน้าที่ 41.

อรชุนและนางเทฺราปที - อรชุนกำลังยกศรยิงไปยังตาปลาในการแข่งเอาชนะเพื่อให้ได้สยุมพรกับนางเทฺราปที, ภาพสีน้ำบนกระดาษ วาดราว พ.ศ.2438, ไม่ทราบชื่อจิตรกร, พบที่เมืองกัลกัตตา ภารตะ, ที่มา: collection.vam.ac.uk, วันที่เข้าถึง 28 สิงหาคม 2565.
1.
2.
หน้าที่ 3
   การจำแนกสิบแปดบรรพ  การจำแนก (ที่ละเอียดขึ้น) 100 บรรพ หรือ อุปบรรพ  จำนวน
อัธยายะ
 จำนวน
โศลก
  (1)  อาทิ
(आदि - Ādi)
 1)  อนุกรมณิกา01. หรืออนุกรมณี (अनुक्रमणिका - Anukramaṇikā) 1 210
     2)  บรรพสังเคราะห์02. หรือ บรรพสังครหะ (पर्वसंग्रह - Parvasaṃgraha) 1 243
       3)  เปาษยะ03. (पौष्य - Pauṣya) 1 195
      4)  เปาโลมา หรือ ปูโลมา04. หรือ เปาโลมะ (पुलोमा - Pulomā) 9 153
      5)  อาสติก05. หรือ อาสติกะ (आस्तिक - Āstīka) 41 1,025
      6)  อาทิ-วงศวทรนะ06. หรือ อาทิวังศวตรณะ
 (आदि-वंशावतारणम् - Adi-vamśvatarana)
5 257
      7)  สัมภวะ07. (सम्भवा - Sambhavā) 65 2,394
      8)  ชตุคฤหทาหะ08. (जतुगृह-दहा - Jatugriha-daha) 15 373
      9)  หิฑิมพวธะ (हिडिम्बवध - Hiḍimba-vadha)-การสังหารรากษสหิฑิมพะ  6 169
      10)  พกวธะ (बकवध - Baka-vadha) - การสังหารพกาสูร หรือ พกะรากษส 8 206
      11)  ไกตฺรรถะ (วนะ)09. (चैत्ररथ - Caitraratha) หรือ จิตฺรรถะ (चित्ररथ - Citraratha) 21 557
      12)  เทฺราปที-สวยัมวระ (द्रौपदी-स्वयंवर - Draupadī-svayaṃvara)10. 12 263
      13)  วิวาหิกะ (वैवाहिक - Vaivāhika) - วิวาห์ - พิธีแต่งงาน 6 155
      14)  วิทุราคมนะ (विदूरगमन - Vidūragamana) 7 174
      15)  ราชฺยลมฺภะ (राज्य-लाभ - Rājya-lābha) 1 50
      16)  อรชุนวนวาสะ (अर्जुन - वनवास - Arjuna-vanavāsa)11. 11 298
      17)  สุภัทราหรณะ (सुभद्राहरण - Subhadrāharaṇa)12. 2 57
      18)  หรณหาริกะ (हरणहारिक - Haraṇaharika) 1 82
      19)  ขาณฑวทาหะ (खाण्डवदाह - Khāṇḍavadāha)13. 12 344
        รวม 225 7,205
1.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. อนุกรมณิกา (अनुक्रमणिका - Anukramaṇikā) หมายถึง ดัชนี, A list of content, an index.
02. บรรพสังเคราะห์ (पर्वसंग्रह - Parvasaṃgraha) หมายถึง บทนำแห่งมหาภารตยุทธ.
03. เปาษยะ (पौष्य - Pauṣya) หมายถึง ชื่อเจ้าชาย.
04. ปูโลมา (पुलोमा - Pulomā) เป็นภริยาของฤๅษีภฤคุ (भृगु, - Bhṛgu) อันเป็นหนึ่งในเจ็ดปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ (सप्तर्षि - the Saptarshis).
05. อาสติก (आस्तिक - Āstīka) เป็นฤๅษีในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ท่านเป็นบุตรของฤๅษีชรการุ (जरत्कारु - Jaratkāru) ที่เกิดจากเทพีแห่งงู นางมนสา (Manasā).
06. อาทิ-วงศวทรนะ (आदि-वंशावतारणम् - Adi-vamśvatarana) หมายถึง การถือกำเนิดของเชื้อสายดั้งเดิม.
07. อุปบรรพ สัมภวะ (सम्भवा - Sambhavā) มีอุปาขยานะ (उपखायनः
เรื่องแทรก, คำชี้แจงประกอบ) 5 เรื่อง ประกอบด้วย 1) ศกุนตลา 2) ยยาติ 3) มหาภีษะ 4) อณิมาณฑวยะ และ 5) วยุษิตาษวะ.
08. ชตุคฤหทาหะ (जतुगृह-दहा - Jatugriha-daha) เป็นอุปบรรพที่ว่าด้วยการลอบวางเพลิงเผาบ้านไม้ที่ทาน้ำมันชักเงา (Lacquer) ของเหล่าภราดรปาณฑพ.
09. ไกตฺรรถะ (วนะ) (चैत्ररथ - Caitraratha) หรือ จิตฺรรถะ (चित्ररथ - Citraratha) เป็นป่าละเมาะที่สร้างโดยคนธรรพ์ที่ชื่อ จิตฺรรถะ สำหรับท้าวกุเวร, อุปบรรพนี้ มีอุปาขยานะ 3 เรื่องคือ 1) ตปตี (Tapatī) 2) วสิษฐะ (Vasiṣṭha) 3) เอารวะ (Aurva).
10. เทฺราปที-สวยัมวระ (द्रौपदी-स्वयंवर - Draupadī-svayaṃvara) พิธีสยุมพร (แต่งงาน) ระหว่างอรชุนกับนางเทฺราปที มีอุปาขยานะ คือ ปัญเจนทระ.
11.
อรชุนวนวาสะ (अर्जुन - वनवास - Arjuna-vanavāsa) มีอุปาขยานะ คือ สุนทอุปสุนทะ, เป็นอุปบรรพที่เน้นเรื่องราวของอรชุน ที่เนรเทศตนเองด้วยผิดข้อตกลงกับเหล่าภราดาทั้งสี่และนางเทฺราปที อรชุนพเนจรท่องเที่ยวอยู่ในป่าถึง 12 ปี ไปพบรักกับนางอุลูปิ (ธิดาพญานาค) และนางจิตรางคทา (ธิดาของเจ้านครมณีปุระทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย) อรชุนกับพระกฤษณะกลายเป็นเพื่อนสนิทกัน.
12. สุภัทราหรณะ (
सुभद्राहरण - Subhadrāharaṇa) - การลักพาตัวนางสุภัทรา.
13. ขาณฑวทาหะ (खाण्डवदाह - Khāṇḍavadāha) - มีอุปาขยานะคือ ศารังคกะ.

1.
2.
หน้าที่ 4

ทุหศาสันกระชากดึงนางเทฺราปทีเข้ามาในสภา, จิตรกร:Mackenzie, Donald Alexander ภาพชื่อ: The ordeal of Queen Draupadi, วาดไว้เมื่อ 1 มกราคม 2458, ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 25 กันยายน 2565.
1.
   การจำแนกสิบแปดบรรพ  การจำแนก (ที่ละเอียดขึ้น) 100 บรรพ หรือ อุปบรรพ  จำนวน
อัธยายะ
 จำนวน
โศลก
  (2)  ภา
(सभा - Sabha)
 20)  สภา (सभा - Sabha) 11 429
     21)  มันตระ (मन्त्र - Mantra) 6 222
       22)  ชราสังธวธะ (जरासन्ध-वधा - Jarāsandha-vadha) 5 195
      23)  ทิควิชยะ (दिग्विजय - Digvijaya) 7 191
      24)  ราชาสูยะ บ้างก็เรียก ราชสูยกะ (राजसूय - Rājasūya) 3 97
      25)  อรรฆาภิหรณะ บ้างก็เรียก อัคฆยวิหรณะ (अर्घाभिहरण - Arghābhiharaṇa) 4 99
      26)  ศิศุปาลวธะ (शिशुपालवध -  Śiśupālavadha)  6 191
      27)  ทยูตะ (द्यूत - Dyūta)   23 734
      28)  อนุทยูตะ (अनुद्यूत - Anudyūta) 7 232
        รวม 72 2,387
1.
2.
หน้าที่ 5
   การจำแนกสิบแปดบรรพ  การจำแนก (ที่ละเอียดขึ้น) 100 บรรพ หรือ อุปบรรพ  จำนวน
อัธยายะ
 จำนวน
โศลก
  (3)  อารัณยกะ
(आरण्यक - Āraṇyaka)
 29)  อารัณยกะ (आरण्यक - Āraṇyaka) 11 327
     30)  กิรมีรวธะ (किर्मीरवधाम् - Kirmiravadha หรือ Kirmeeravadham) - การสังหารกิรมีระ 1 75
       31)  ไกราตะ (कैरात - Kairāta)01 30 1,158
      32)  อินทรโลกาวิคมนะ (इन्द्रलोकाभिगमनपर्व - Indralokābhigamana)02 37 1,175
      33)  ตีรถยาตรา (तीर्थयात्रा - Tīrthayātrā) 74 2,293
      34)  ชฏาสุรวธะ (जटासुरवध - Jaṭāsuravadhaḥ) - การสังหารชฏาสุระ 1 61
      35)  ยักษยุทธะ (यक्षयुद्ध - Yakṣayuddha) 18 727
      36)  อาชคระ (आजगर - Ājagara) 6 201
      37)  มารกัณเฑยสมาสยา (मार्कण्डेय-समस्या - Mārkaṇḍeya-samasyā) 43 1,694
      38)  เทฺราปทีสัตยภามาสังวาทะ (द्रौपदी-सत्यभामा-संवाद - Draupadī-Satyabhāmā-Saṃvāda) 3 88
      39)  โฆษยาตรา (घोषयात्रा - Ghoṣayātrā) 19 519
      40)  มฤคสวัปนะภายะ (मृगस्वप्नभय - Mṛga-svapna-bhaya) 1 16
      41)  วฤหิ-เดราณิคา (व्रीहि-द्रोणिका - Vrīhi-droṇikā - ยุ้งข้าว) บ้างก็เรียก ชยัทรถะ 3 117
      42)  เทฺราปทีหรณะ (द्रौपदीहरण - Draupadīharaṇa) - การฉุดนางเทฺราปที03 36 1,247
      43)  กุณฑลาหรณะ (कुण्डलहारणम् - Kuṇḍalahāraṇa) - การขโมยต่างหู 11 294
      44)  อารเณยะ (आरणेय - Āraṇeya)04 5 191
        รวม 299 10,239
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. มีอุปาขยานะ ชื่อ เสาภวธะ.
02. มีอุปาขยานะ ชื่อ นละ.
03. มีอุปขยานะ ชื่อ รามะ และสาวิตรี.
04. ทำด้วยหรือเกี่ยวข้องกับอาราณี (अरणि - the Araṇis) หรือไม้สองท่อนซึ่งใช้เผาไฟศักดิ์สิทธิ์

1.
2.
หน้าที่ 6
   การจำแนกสิบแปดบรรพ  การจำแนก (ที่ละเอียดขึ้น) 100 บรรพ หรือ อุปบรรพ  จำนวน
อัธยายะ
 จำนวน
โศลก
  (4)  วิราฏ
(विराट - virāṭa)
45)  ไวราฏ (वैराट - Vairāṭa) บ้างก็เรียก ปาณพประเวศ 12 282
    46)  กีจกวธะ (कीचकवध - Kīcakavadha) - การสังหารกีจกะ 11 353
    47)  โคครหรณะ (गो-ग्रहण - Go-Grahaṇa) 39 1,009
      48)  ไววาหิกะ (वैवाहिक - Vaivāhika) 5 179
        รวม 67 1,736
1.
2.
   การจำแนกสิบแปดบรรพ  การจำแนก (ที่ละเอียดขึ้น) 100 บรรพ หรือ อุปบรรพ  จำนวน
อัธยายะ
 จำนวน
โศลก
  (5)  อุทโยค (उद्योग - udyōga) 49)  อุทโยค (उद्योग - udyōga)01 บ้างก็เรียก (Sainyodyoga). 21 575
    50)  สัญชยยานะ (संजय-यना - Sanjaya-yāna) - The arrival of Sanjaya 11 311
    51)  ปรชาคระ (प्रजागर - Prajāgara) 9 541
      52)  สนัสสุชาตะ (सनत्सुजात - Sanatsujāta) - อีกชื่อหนึ่งของพระสนาทกุมาร02. 4 121
      53)  ยานสังธิ (यण संधि - Yan-sandhi) 24 726
      54)  ภควัทยานะ (भागवत-यना - Bhagavat-yāna) 65 2,055
      55)  กรรณะ อุปนิวาทะ (कर्ण-उप निवाद - Karṇa-up nivada) 14 351
      56)  อภินิรญานะ (अभिनिर्याण - Abhiniryāna) - การรุกคืบเข้าโจมตีศัตรู 4 169
      57)  ภีษมะ-อภิเษจนะ (भीष्म-अभिषेचन - Bhīṣma-abhiṣecana) 4 122
      58)  อุลูกะ-ยานะ (उलूक-यना - Ulūka-yāna) 4 101
      59)  รถา-อติรถา-สางขยะ (रथ-अतिरथ-संख्य - Ratha-atiratha-Saṃkhyā) 9 231
      60)  อัมพา-อุปขยานะ หรือ อัมโพปาขยานะ (अम्बा-उपख्यानम् - Ambā-upakhyana หรือ अम्बोपाख्यान - Ambopakhyana) 28 755
        รวม 197 6,001
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. มีอุปาขยานะ 2 เรื่อง คือ อินทรวิชยะ และทัมโภทธวะ.
02. พระสนาทกุมาร ดูรายละเอียดได้ใน หมายเหตุ คำอธิบาย 02
วิษณุปุราณะ ตอนที่ 1.

1.
2.
หน้าที่ 7
   การจำแนกสิบแปดบรรพ  การจำแนก (ที่ละเอียดขึ้น) 100 บรรพ หรือ อุปบรรพ  จำนวน
อัธยายะ
 จำนวน
โศลก
  (6)  ภีษมะ
(भीष्म - Bhīṣma)
61)  ชัมพูขัณฑวินิรมาณะ (जम्बूखण्डविनिर्माण - Jambūkhaṇḍavinirmāṇa) 11 378
    62)  ภูมิ (भूमि - Bhūmi) 2 87
    63)  ภควัท คีตา (भगवद् गीता - Bhagavad Gītā) 27 994
      64)  ภีษมวธะ (भीष्म-वधा - Bhīṣma-vadha) 77 3,947
        รวม 117 5,381
1.
2.



แหล่งอ้างอิง:
01. จาก. THE MAHABHARATA 1, แปลโดย Bibek Debroy, สำนักพิมพ์เพนกวิน แรนดอม เฮ้าส์, ISBN 9780143425144, ตีพิมพ์ที่เมืองหารยนะ ภารตะ พ.ศ.2558.
02. จาก. "การศึกษาวิเคราะห์จริยศาสตร์ ที่ปรากฎในมหาภารตะ," โดย พระมหาอภิชัย สัมฤทธิ์, วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2563.
03. จาก. "The Mahābhārata," An abridged translation by JOHN D. SMITH, ISBN: 978-0-140-44681-4, สำนักพิมพ์เพนกวิน บุ๊คส์, พ.ศ.2552. สหรัฐอเมริกา. www.penguin.com.
1.
2.
3.


 
humanexcellence.thailand@gmail.com