MENU
TH EN

ชนเผ่าและชาติพันธุ์ในอุษาคเนย์ 1

Title Thumbnail: วงมโหรีลาวสะหวันนะเขต, ที่มา: Facebook เพจ "กลุ่มศึกษาลาว-อีสานเพื่อเผ่าพันธุ์ลาว," วันที่เข้าถึง 20 กรกฎาคม 2564. Hero Image: แม่ญิงลาว ສະບາຍດີ - กะโส้ (ข่าเผ่าหนึ่งในลาวใต้), ไม่ทราบปีที่ถ่าย ที่มา: Facebook เพจ "กลุ่มศึกษาลาว-อีสานเพื่อเผ่าพันธุ์ลาว,"  Cr. ฺBunchai Thongjaroenbourgarm, วันที่เข้าถึง 20 กรกฎาคม 2564. 
ชนเผ่าและชาติพันธุ์ในอุษาคเนย์ ตอนที่ 1
First revision: Jul.20, 2021
Last change: Aug.13, 2021
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา.

 
      ด้วยมีกลุ่มชน ชาติพันธุ์ในแถบประเทศจีนทางตอนใต้ ครอบคลุมมาถึงทางเหนือและตะวันออกของพม่า ทางตะวันออกของอินเดีย สปป.ลาวทั้งหมด ทางเหนือและตะวันตกของเวียดนาม ทางเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออกของประเทศไทย ทางเหนือของกัมพูชา จากการศึกษาได้พบกลุ่มชนและชาติพันธุ์มากมาย น่าสนใจใคร่ศึกษา แต่จากการอ่าน การค้นข้อมูลเบื้องต้น พบถึงการถูกเอารัดเอาเปรียบ การถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม การละเมิดสิทธิมนุษยชน. เราในฐานะคนรุ่นปัจจุบัน และคนรุ่นใหม่ที่จะก้าวนำพาอุษาคเนย์ไปข้างหน้า ให้เกิดความเจริญมีอารยะทางด้านจิตใจและวัตถุ ขอพึงศึกษาเป็นอนุสติ งดสิ่งไม่ดีงามที่คนในอดีตได้ทำมา และน้อมรับวัฒนธรรม แนวคิด ความเป็นสิริมงคล องค์ความรู้กลุ่มชาติพันธุ์ในอุษาคเนย์บางอย่างเหล่านี้ มาปรับใช้ในกาลเบื้องหน้าอันเป็นประโยชน์ และสมบูรณ์พูนสุขด้วยเทอญ. 


ตารางแสดงชนเผ่า-ชาติพันธุ์ ปรับปรุงจาก 01. (ตารางนี้ยังไม่สมบูรณ์ การจัดเรียงยังไม่เป็นหมวดหมู่ กำลังศึกษาพัฒนา รวบรวมอยู่ครับ...!!  
   ที่ ชาติพันธุ์-ชนกลุ่มน้อย กลุ่มลาว-ผู้ไท กลุ่มจีน-ทิเบต-พม่า  
กลุ่มมอญ-เขมร
กลุ่มม้ง-เย้า Y=ยูนนาน G=กวางสี T=ไทย L=ลาว V=เวียดนาม B=พม่า K = กัมพูชา
  01  ชนเผ่าอาชาง (A Chang Zu) /        Y
  02  ชนเผ่าป๋าย (Bai Zu)   /      Y
  03  ชนเผ่าปลัง (Bulang Zu)     /    Y T
  04  ชนเผ่าปู้อี้ (Buyi Zu) หรือปูเยย (Bouyei)   /     Y
  05  ชนเผ่าเต๋ออ๋าง (Deang Zu)         Y
  06  ชนเผ่าต้ง (Dong Zu) ชาวต้ง (อ้ายก๊ำ ปู้ก๊ำ ผู้คำ)         G
  07  ชนเผ่าตรุง (Dulong Zu) หรือ ตุรุง         Y T
  08  ชนเผ่าเกอลาว (Gelao Zu)         Y G
  09  ชนเผ่าฮานี (Hani Zu)         Y T
  10  ชนเผ่าหุย (Hui Zu)         Y
  11  ชนเผ่าจีนั่ว (Jinuo Zu)         Y
  12  ชนเผ่าจิง (Jing Zu)         G
  13  ชนเผ่าจิ่งโพ (Jingpo Zu)         Y
  14  ชนเผ่าลาหู่ (Lahu Zu)         Y T
  15  ชนเผ่าลี่ซู (Lisu Zu)         Y T
  16  ชนเผ่าเหมาหนาน (Maonan Zu) หรือ เมาหนาน /        G
  17  ชนเผ่ามองโกล (Menggu Zu)        
  18  ชนเผ่าเหมียว (Miao Zu)         Y G T
  19  ชนเผ่ามู่หล่าว (Mulao Zu)         G
  20  ชนเผ่าน่าซี (Naxi Zu)         Y
  21  ชนเผ่านู่ (Nu Zu)         Y
  22  ชนเผ่าผูหมี่ (Pumi Zu)         Y
  23  ชนเผ่าสุ่ย (Shui Zu) สุย         G
  24  ชนเผ่าถู่เจีย (Tujia Zu)         Y
  25  ชนเผ่าว้า (Wa Zu)         Y T L
  26  ชนเผ่าซีโป๋ (Xibo Zu)         Y
  27  ชนเผ่าเหยา (Yao Zu)       / Y G T L
  28  ชนเผ่าอี๋ (Yi Zu)         Y G
  29  ชนเผ่าทิเบต (Zang Zu)   /     Y L T B
  30  ขแมร์         L T K 
  31  ชนเผ่าจ้วง (ไทจ้วง - ໄຕ໋ຈ້ວງ - Zhuang Zu) ชาวจ้วง (กล่าวกันว่า เป็นบรรพบุรุษไทยสยาม และมี DNA ที่คล้ายเหมือนคนไทยสยามมาก และมีสัดส่วนมากที่สุด)         Y G
  32  ชนเผ่าไต (Dai Zu) - ไทใหญ่ (ໄຕ໋ໃຍ່ - ไตโหลง หรือไทหลวง ฉาน เงี้ยว) ไทเหนือ ไทขิน หรือ ไทเขิน (ໄຕ໋ເຂິນ) ไทลื้อ ไทยวน (ลาวยวน - ชาวเชียงใหม่ ล้านนาเดิม) ไทอาหม หรือไทอาห่ม (ໄຕ໋ອາຫ່ມ) อ่ายตน หรือไทอายต่อน (ໄຕ໋ອາຍຕ່ອນ) คำยัง คำตี่ พ่าเก นะรา จันหาริ ตุรุง ไทลื้อ (ໄຕ໋ລື້) ไทขึน ไทยอง ไทยสยาม ไทพวน (ໄຕ໋ພວນ - ลาวพวน) ลาวแง้ว (Lao Ngaew)02. ลาวครั่ง ไทกลา ไทหย่า หรือไทหยา (ไทเอวลอย) (ໄຕ໋ຫຍາ) ลาวตี้ (อาจเป็นกลุ่มเดียวกับลาวแง้ว) ลาวเวียง ลาวหล่ม ไทขาว (ไทด่อน - ໄຕ໋ດ່ອນ) ไทแดง (ໄຕ໋ແດງ) ไทเหนือ ชาวผู้เอิน ไทวาด (ໄຕ໋ວາດ) ไทเม้ย (ໄຕ໋ເມື້ຍ) ไทแถง (ໄຕ໋ແຖງ) ไทกะได (ໄຕ໋ກະໄດ) ไทแมน (ໄຕ໋ແມນ) /       Y B T
  T01  ผู้ไท หรือ ภูไท หรือ ญ้อ โย้ย ไทย้อ (ไทญ้อ) /       T L
  T02  ไทดำ (ໄຕ໋ດຳ - ลาวโซ่ง ) /       T L V
  T03  ไทนุง (ໄຕ໋ນຸງ) ผู้นุง (ชาติพันธุ์นี้สำคัญมาก ทยอยย้ายมาไทยสยามเป็นระลอก มีส่วนสำคัญในการก่อตั้งมณฑลรัฐสุโขทัย ในกาลต่อมา)         L V
  T04  ไทโส้ (กะโส้) - ข่าเผ่าหนึ่งในลาวใต้ (แต่ควรเรียกว่า เผ่ามังกอง - มีผู้ให้ข้อมูลว่า โส้ หมายถึง โซ่ ที่คนลาวกับคนสยามสมัยก่อนจับเผ่านี้มาเป็นทาส) /       T L
  T05  ไทกะเลิง /       T
  T06  ไทข่า /       T
  T07  ไทแสก (ไทแซก - ໄຕ໋ແຊກ) /       T
  T08  ไทกวน /       T


ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย:
01. จาก. งานวิจัย: การจัดทำฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศลุ่มน้ำโขง: กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศจีนตอนใต้ (ยูนนาน และกวางสี) ต้นสายอารยธรรมลุ่มน้ำโขง, ผศ.ดร.เมชฌ สองส่องกฤษ, คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี, โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ม.อุบลราชธานี ปีงบประมาณ 2556.
02. ลาวแง้ว (Lao Ngaew) - ปัจจุบันมีชุมชนที่ บ้านทองเอน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี - เดิมอยู่ภาคกลาง-ภาคเหนือ ชานเมืองชนบทอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ มาอยู่ไทยช่วงปี 2369-2371 ปัจจุบัน อาศัยในภาคกลางของไทย เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ตระกูลไทย-ลาว ที่ถูกกวาดต้อนมาจากอาณาจักรลาวล้านช้างเวียงจันทน์ ชาวแง้วเดิมมีถิ่นฐานอยู่ในเขตชนบทชานเมืองเวียงจันทน์ โดยถูกกวาดต้อนเข้ามาอยู่ในเมืองไทย ช่วงสงครามระหว่างสยามกับลาว ต้นรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในช่วง พ.ศ. 2369-71 (สมัยเจ้าอนุวงศ์ ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 3) ที่ได้มีการกวาดต้อนชาวลาวจากหัวเมืองพวน เมืองเชียงขวาง เมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงพระบางเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเขตหัวเมืองชั้นในของภาคกลางตั้งแต่จังหวัดลพบุรี สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี ในจังหวัดลพบุรีนั้นแล้วจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในหมู่บ้านต่าง ๆ ในเขตอำเภอบ้านหมี่โดยไม่ปะปนกับพวกพวน ได้แก่ บ้านชอนม่วง บ้านน้ำบ่า บ้านน้ำชั้น บ้านไผ่ใหญ่ บ้านหนองหิน บ้านหนองกระเบื้อง บ้านท่าตะโก บ้านวังวัดเหนือ บ้านวังวัดใต้ บ้านแคสูง บ้านหนองเมือง บ้านห้อยกรวด บ้านนาจาน บ้าน หนองเกวียนหัก บ้านโคกสุข บ้านลาด บ้านหนอง บ้านโคก บ้านสระตาแวว และบ้านหนองน้ำทิพย์ ปัจจุบันคนกลุ่มนี้จะเรียกตัวเองว่าไทยแล้ว ลาวแง้ว
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ: จังหวัดลพบุรี สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี
ภาษา: ภาษาลาวแง้ว, ภาษาไทย
ศาสนา: พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท
       ในกลุ่มลาวแง้ว มีกลุ่มที่เรียกลาวแง้วแถบบ้านโคกกระดี่ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ว่า ลาวกร๋อ และ ลาวตะโก และกลุ่มลาวแง้วแถบบ้านทองเอน ตำบลทองเอน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ว่า ลาวทองเอน คนเชื้อสายลาวแง้วมักชอบพูดทิ้งท้ายประโยคว่า ตี้ จึงมีบางคนเรียกว่า ลาวตี้. 
ที่มา: Facebook เพจ "กลุ่มศึกษาลาว-อีสานเพื่อเผ่าพันธุ์ลาว," โดยผู้ใช้นามว่า MethaPhom Anonam, วันที่เข้าถึง 20 กรกฎาคม 2564.
info@huexonline.com