MENU
TH EN

ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 1.001 - บทนำ

Title Thumbnail: ชมพูทวีป "สิบหกมหาชนบท" สมัยพุทธกาล, ที่มา: globalsecurity.org, วันที่เข้าถึง 22 มกราคม 2564.
Hero Image: แผนที่อนุทวีปอินเดีย ยุคมหาชนบท ช่วงพุทธกาล (महाजनपद कालः - Mahājanapada Period - มหาชนบทกาล, 500 ปีก่อนคริสตกาล), ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 16 มีนาคม 2561.

ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 1.001 - บทนำ
First revision: Jan.11, 2021
Last change: Oct.7, 2024
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง แปล และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา.

ปรัชญาอินเดีย

บทที่ 1
 
บทนำ

คุณลักษณะทั่วไปของปรัชญาอินเดีย – สภาวการณ์ทางธรรมชาติของอินเดีย  – การครอบงำประโยชน์ทางภูมิปัญญา – ความเป็นปัจเจกหรือความแตกต่างของปรัชญาอินเดีย – อิทธิพลของโลกตะวันตก – คุณลักษณะทางจิตวิญญาณด้านความคิดของชนชาวอินเดีย – ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดของชีวิตและศาสนา – การมุ่งเน้นที่อัตวิสัย – พื้นฐานทางจิตวิทยาของอภิปรัชญา  – ความสำเร็จของอินเดียทางด้านวิทยาศาสตร์เชิงบวก – การสังเคราะห์เชิงคาดการณ์และการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์  – ตะวันออกครุ่นคิด – อุดมคติความเชื่อที่ว่ามีเพียงปัจจัย – ความหลากหลาย (ของปรัชญาอินเดีย) การไม่เป็นลัทธิทวินิยม การเชื่อว่ามีเพียงปัจจัยอย่างบริสุทธิ์จริงแท้นิยม ความมีเพียงปัจจัยที่ดัดแปลงนิยม และ ความเชื่อว่ามีปัจจัยโดยนัย – พระเจ้าคือทุกสรรพสิ่ง - ธรรมชาติโดยสัญชาตญาณของปรัชญา – ทรรศนะ - คุณสมบัติสำหรับผู้ประสงค์จะเข้าถึงหลักปรัชญาของศังกราจารย์ – แนวคิดอนุรักษ์นิยมที่สร้างสรรค์ของแนวคิดอินเดีย – ความเป็นเอกภาพและความต่อเนื่องของแนวคิดอินเดีย – การพิจารณาข้อกล่าวหาที่แย้งกับปรัชญาอินเดีย เช่นการมองโลกในแง่ร้ายนิยม ลัทธิถือหลักตนเอง ความไม่แยแสต่อจริยธรรมและความก้าวหน้า – คุณค่าของการศึกษาปรัชญาอินเดีย – ความสมเหตุสมผลของชื่อเรื่อง “ปรัชญาอินเดีย”  – วิธีการทางประวัติศาสตร์ – ความยากของการรักษาลำดับเวลา (เพื่อศึกษาว่าปรัชญาแนวคิดไหนมาก่อนหลัง)  – ยุคแตก ๆ ของแนวคิดอินเดีย – พระเวท มหากาพย์ ระบบ และ ปราชญ์นักวิชาการ (คุรุ) – ประวัติศาสตร์ “อินเดีย” ของปรัชญาอินเดีย.


ชมพูทวีป "สิบหกมหาชนบท" สมัยพุทธกาล (รายละเอียดดูเพิ่มเติมได้ใน หน้าที่ 2 "ภารตวรรษ ยุคชนบทและมหาชนบท" ภารตปกิณกะ) , ที่มา: globalsecurity.org, วันที่เข้าถึง 22 มกราคม 2564.

I
 
ภาวการณ์ทางรรมชาติของอิเดีย

พื่อให้จิตใจแห่งความคิดได้เบ่งบาน ส่งต่อไปยังศิลปะและวิทยาการให้เจริญรุดหน้าได้นั้น เงื่อนไขแรกที่จำเป็นก็คือชุมชนที่ตั้งรกรากได้ให้ความปลอดภัยและความผ่อนคลาย. เป็นไปไม่ได้เลยที่วัฒนธรรมอันอุดมจะอยู่กับกลุ่มชนที่เร่ร่อน ซึ่งผู้คนต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อชีวิตให้รอดและตายไปเพราะความขาดแคลน. โชคชะตาร้องเรียกให้อินเดียไปยังแหล่งธรรมชาติอันได้รับการปลดปล่อย พร้อมของกำนัลแด่เธอและทุกโอกาสที่น่าพึงพอใจ. ด้วยเทือกเขาหิมาลัยที่มีขอบแดนกว้างใหญ่ ด้านหนึ่งสูงชันส่วนอีกด้านก็เป็นท้องทะเล ช่วยให้อินเดียปลอดจากการรุกรานมาเป็นเวลานาน. ธรรมชาติอันอุดม
.
.
22
ได้ให้อาหารอันสมบูรณ์ เหล่าลูกแม่อินเดีย (भारताम्बा - ภารตะมาตา - ภารัตทัมปา) ก็พ้นจากความลำบากดิ้นรนเพื่อการดำรงชีวิต. ชาวอินเดียมิได้รู้สึกเลยว่าโลกนี้เป็นสมรภูมิที่มนุษย์ต้องต่อสู้เพื่ออำนาจ ความมั่งคั่ง และการครอบครอง. เมื่อไม่จำเป็นต้องสิ้นเปลืองพลังงานไปกับปัญหาชีวิต (พื้นฐาน) บนโลก การได้ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ ควบคุมพลังของโลกไว้ได้ ชาวอินเดียก็ครุ่นคิดถึงการใช้ชีวิตที่สูงขี้น วิถีดำเนินชีวิตทางจิตวิญญาณที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น. บางทีสภาพอากาศที่แปรปรวน  อาจทำให้ชาวอินเดียเอนเอียงไปพักผ่อนและเกษียณตัวเองด้วยการปลีกเร้นสันโดษ. ป่าไม้ขนาดใหญ่ที่มีลู่อันกว้างขวางเปิดโอกาสให้ผู้ศรัทธาได้ท่องไปในลำนำอย่างสงบสุข. เหล่าชนที่หน่ายต่อโลกได้จาริกแสวงบุญสู่สภาพธรรมชาติ ก็ได้รับความสงบภายใน สดับเสียงลมและกระแสน้ำที่รีบรุด ลำนำของวิหกและใบหญ้า หวนคืนสู่ความสมบูรณ์ของห้วงจิตและความสดชื่นแห่งดวงวิญญาณ. หลีกรี้กายอยู่ในอาศรมและตโปพนา01. หรือเรือนเล็ก ๆ ในป่าที่เหล่าชนผู้ครุ่นคิดของอินเดียใช้เป็นสื่อกลางในประมวลปัญหาการดำรงอยู่อันลึกซึ้ง ไร้ซึ่งผลประโยชน์ที่ได้จากการข่มเหงผู้อื่น กระตุ้นชีวิตให้สูงขึ้นแก่ชาวอินเดีย ด้วยผลลัพธ์ที่พบพานแต่แรกเริ่ม เราจะพบจุดเริ่มต้นแห่งประวัติศาสตร์ของความไม่อดทนของดวงวิญญาณ ความรักในภูมิปัญญาและความหลงใหลในการแสวงหาสภาวะทางจิตใจที่สงบและมีสติ.

       ได้รับการโอบอุ้มจากสภาพธรรมชาติและขอบเขตทางปัญญาในการคำนึงถึงผลกระทบของสิ่งต่าง ๆ ทำให้ชาวอินเดียรอดพ้นจากเคราะห์กรรม เพลโตได้กล่าวไว้ว่าสิ่งที่เลวร้ายที่สุด คือ ความเกลียดชังเหตุผล. "เหนือสิ่งอื่นใด ให้เราระวังให้ดี" เฟโด02. ได้กล่าวไว้ "โชคร้ายอย่างหนึ่งที่ไม่ได้เกิดกับเรา อย่าให้เรากลายเป็นพูดผิดเพราะบางคนกลายเป็นคนที่เกลียดชังเหตุผล." ความสุขในการทำความเข้าใจเป็นหนึ่งในสิ่งบริสุทธิ์ที่สุดของมนุษย์ และความหลงใหลชาวอินเดียที่มีต่อมันลุกโชนอยู่ในเปลวไฟส่องสว่างภายในจิตใจ.

       ในหลายประเทศทั่วโลก การไตร่ตรองถึงธรรมชาติของการดำรงอยู่ถือเป็นความหรูหราของชีวิต. ช่วงเวลาที่จริงจังมีไว้สำหรับการกระทำ ในขณะที่การแสวงหาปรัชญานั้นอยู่ในนขลิขิต (วงเล็บ). แต่ทว่าปรัชญาอินเดียโบราณจะใช้วงเล็บ. ตัวปรัชญาอินเดียโบราณเองไม่ได้เป็นส่วนช่วยในวิทยาศาสตร์หรือศิลปะใด ๆ แต่กลับดำรงอยู่ในจุดยืนที่โดดเด่นของอิสรภาพ. ในโลกตะวันตก แม้

หมายเหตุ คำอธิบาย
01. ตโปพนา หรือ ตโปวนา (तपोवन - Tapovana) หมายถึง สวนปลงอาบัติ (penance grove) อ้างถึง ศิวะปุราณะ, และหมายถึง ป่าแห่งนักพรต (grove of ascetics) อ้างถึง ราฆุวงศ์ ของมหากวีกาลิทาส (Kālidāsa’s Raghuvaṃśa) โองการที่ 3.18.
02. เฟโด (
Φαίδων -
Phædo) ราวพ.ศ.143 หรือก่อนคริสต์ศวรรษที่ 4, ท่านเป็นปราชญ์ชาวกรีก และเป็นชาวเอลิส {Ἦλις - Elis - เป็นบริเวณที่อยู่บนเกาะเพโลพอนนีส (Peloponnese) อยู่ทางใต้ของกรีซ} โดยกำเนิด ท่านถูกจับเป็นทาสตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ท่านได้พบกับโสกราตีส ซึ่งต้อนรับท่านอย่างอบอุ่น และปล่อยให้เป็นอิสระ ท่านอยู่ในเหตุการณ์การเสียชีวิตของโสกราตีส. ต่อมาก็ได้กลับบ้านเก่าที่เอลิสและได้ตั้งสำนักปรัชญาเอลีน (Elean School) ขึ้น.
.
.
23
ในยุครุ่งเรืองของปรัชญาเฉกเช่นวัยหนุ่มสาว เช่นเดียวกับสมัยของเพลโตและอริสโตเติล พวกเขาก็เรียนรู้ที่จะสนับสนุนวิทยาการอื่น ๆ เช่น การเมือง หรือ จริยธรรม. เป็นปรัชญาเทววิทยาสำหรับยุคกลาง เป็นวิทยาศาสตร์ธรรมชาติของเบคอน01.และนิวตัน02. ประวัติศาสตร์การเมืองและสังคมวิทยาสำหรับปราชญ์ในพุทธศตวรรษที่ 22-23 (คริสต์ศตวรรษที่สิบเก้า). ในอินเดียนั้น ปรัชญายืนทะนงได้ด้วยตนเอง และศิลปะวิทยาการเหล่าอื่น มุ่งเน้นไปที่แรงบันดาลใจและการสนับสนุน. เพราะนี่คือวิชชาชั้นครูที่ชี้แนะแก่ศาสตร์อื่น ๆ หากไร้ซึ่งวิชชาเหล่านี้ ศาสตร์ทั้งหลายก็โน้มไปสู่ความว่างเปล่าและโง่เขลา. ในมุณฑกะอุปนิษัท03. ได้กล่าวถึงพรหมา-วิทยาหรือศาสตร์แห่งความเป็นนิรันดร์ ซึ่งเป็นฐานของศาสตร์ทั้งมวล  สรรพ-วิทยา-ปรติษฏา04. "ปรัชญา" ในคำกล่าวของเกาฏิลยะ05. หมายถึง "เป็นประทีปแห่งศาสตร์ทั้งมวล เป็นวิธีแห่งการปฏิบัติงานทั้งปวง และเป็นเครื่องสนับสนุนหน้าที่ในทุกภาระงาน"1.

       เนื่องจากปรัชญาเป็นความพยายามของมนุษย์ในการทำความเข้าใจปัญหาของจักรวาล จึงขึ้นอยู่กับอิทธิพลของเชื้อชาติและวัฒนธรรม. แต่ละชาติมีแนวความคิดที่เป็นลักษณะเฉพาะของตน ซึ่งส่งผลต่อการเบี่ยงเบนทางภูมิปัญญาโดยเฉพาะในตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมาของประวัติศาสตร์ ในทุกความผันผวนที่อินเดียได้ผ่านพ้นไปนั้น มีการปรากฎอัตลักษณ์ที่โดดเด่นบางประการปรากฎให้เห็น. มีคุณลักษณะทางจิตวิทยาบางอย่างที่ประกอบขึ้นเป็นมรดกพิเศษ และเป็นเครื่องหมายแสดงคุณลักษณะเฉพาะของชาวอินเดีย ตราบเท่าที่พวกเขาได้รับอภิสิทธิ์ในการดำรงอยู่ที่แยกห่างจากกัน. ความเป็นปัจเจกนั้นหมายถึงการเติบโตอย่างอิสระ. ไม่จำเป็นที่ต้องแตกต่างกัน เนื่องด้วยมนุษย์ในโลกทั้งผองต่างก็เป็นเฉกเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่มุมที่เกี่ยวข้องทางจิตวิญญาณ. ความแตกต่างเหล่านี้สามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังความแตกต่างด้านอายุ ประวัติศาสตร์และอารมณ์ได้. สิ่งเหล่านี้ได้เพิ่มความมั่งคั่งให้กับวัฒนธรรมโลก เนื่องจากไม่มีราชมรรคานำไปสู่การพัฒนาทางปรัชญาใด ๆ เช่นเดียวกับผลลัพธ์อื่น ๆ ที่คุ้มค่า. ก่อนที่เราจะสังเกตเห็นลักษณะเฉพาะของความคิดของอินเดีย อาจมีคำกล่าวบ้างเล็กน้อยเกี่ยวกับอิทธิพลของตะวันตกที่มีต่อความคิดของอินเดีย.

      
มักมีคำถามบ่อย ๆ ว่าความคิดของอินเดียได้ยืมแนวคิดมาจากแหล่งต่างประเทศเช่น กรีซ มากน้อยเพียงใด. แง่มุมบางส่วนที่ปราชญ์ชาวอินเดียได้หยิบยกมานั้น มีลักษณะคล้ายกับหลักคำสอนบางอย่างที่พัฒนาขึ้นมาในสมัยกรีกโบราณ มากจนใครก็ตามที่สนใจจะทำลายความน่าเชื่อถือของระบบความคิดนี้
---------------
1. ดูใน บ.อ., 1918 หน้า 102, ดู ภ.ค. บรรพที่ 10 อัธยายะที่ 32.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. เบคอน (ฟรานซิส เบคอน - Francis Bacon) ชาวอังกฤษ {22 มกราคม พ.ศ.2104 (ค.ศ.1561) - 9 เมษายน พ.ศ.2169 (ค.ศ.1626)} ท่านเป็นประธานศาลสูงสุดของอังกฤษ ปราชญ์ รัฐบุรุษ นักวิทยาศาสตร์ นักกฎหมาย และนักเขียน ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและยุคแห่งเหตุผล "ความรู้คืออำนาจ" .
02. นิวตัน (เซอร์ไอแซค นิวตัน - Sir Isac Newton) ชาวอังกฤษ {4 มกราคม พ.ศ.2185 (ค.ศ.1642) - 31 มีนาคม พ.ศ.2270 (ค.ศ.1727)} ท่านเป็นผู้ตั้งกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน ความโน้มถ่วงสากลฯ ขึ้น.
03. มุณฑกะอุปนิษัท รายละเอียดดูเพิ่มเติมได้ใน
อุปนิษัท: สรุปสาระสำคัญ หน้าที่ 11.
04.
สรว หรือ สรรพ-วิทยา-ปรติษฏา (sarva-vidyā-pratiṣṭhā) มาจาก सर्व - sarva - สรรพ หมายถึง ทั้งหมด, विद्या - vidyā หมายถึง ความรอบรู้ - discernment -buddhi, प्रतिष्ठा - pratiṣṭhā หมายถึง ศักดิ์ศรี.
05. เกาฏิลยะ (कौटिल्य - Kauṭilya) บ้างก็เรียก จาณักยะ (चाणक्य - Cāṇakya) บ้างก็เรียก วิษณุคุปต์ (विष्णुगुप्त - Viṣṇugupta) ราว พ.ศ.174-261 (87 ปี) (หรือ ประมาณ 370-283 ปีก่อนคริสตกาล) ท่านกำเนิดทางใต้ของอินเดีย อสัญกรรมที่เมืองปาฏลีบุตร เป็นปราชญ์และเป็นพระอาจารย์ที่ปรึกษาของพระเจ้าจันทรคุปต์ แห่งจักรวรรดิเมารยะ ต่อมาได้เป็นที่ปรึกษาของพระเจ้าพินทุสาร โอรสของพระเจ้าจันทรคุปต์ในเวลาต่อมา และเป็นผู้สนับสนุนพระเจ้าอโศกมหาราชในการขึ้นครองราชย์ ผลงานที่สำคัญ อรรถศาสตร์ (अर्थशास्त्र - Arthaśāstra) และ จาณักยนีติ (Cāṇakyaniti).

.
.
24
หรือระบบความคิดนั้นสามารถทำได้โดยง่ายดาย.1 คำถามเกี่ยวกับความเชื่อมโยงของความคิดเป็นการเสาะแสวงที่ไร้ประโยชน์. สำหรับจิตใจที่ปราศจากอคติ ความบังเอิญดูดหล่านี้จะเป็นหลักฐานของความคล้ายคลึงกันทางประวัติศาสตร์. ประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกันก่อให้เกิดเจตคติที่คล้ายคลึงกันในจิตใจของมนุษย์. ไม่มีหลักฐานอันเป็นสาระสำคัญพอที่จะพิสูจน์ได้ว่ามีการหยิบยืมจากตะวันตก (แนวคิดทางปรัชญาจากกรีกมายังอินเดีย) กันโดยตรง.  ด้วยอัตราใด ๆ เลย. เรื่องราวเกี่ยวกับความคิดอินเดียของเรานั้น แสดงให้เห็นว่าอินเดียเป็นกิจอิสระของจิตใจมนุษย์. ปัญหาเชิงปรัชญาต่าง ๆ ได้ถูกนำมาวิพากษ์วิจารณ์โดยไร้อิทธิพลหรือความสัมพันธ์กับโลกตะวันตก. แม้จะมีการติดต่อสื่อสารกับชาวตะวันตกเป็นครั้งคราว อินเดียเองก็ยังมีอิสระในการพัฒนาชีวิตในอุดมคติ ปรัชญา และศาสนาตนเอง. ไม่ว่าจะมีความจริงเพียงใดเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดเบื้องต้นของชาวอารยัน ที่เดินทางมายังคาบสมุทร (ชมพูทวีป) ในไม่ช้าพวกเขาก็ขาดการติดต่อกับเครือญาติที่อยู่ทางตะวันตกหรือทางเหนือ และได้พัฒนารังสรรค์สายเส้นแนวคิดต่าง ๆ ของตนเองขึ้นมา. เป็นความจริงที่ว่าครั้งแล้วครั้งเล่าที่อินเดียถูกบีฑารุกรานจากทัพต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาทางช่องเขาด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ แต่ไม่มีใครเลยยกเว้นกองทัพของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ที่ได้ทำให้เกิดบางสิ่งอันส่งเสริมความสัมพันธ์ทางจิตวิญญาณระหว่างโลกทั้งสอง. ต่อมา เมื่อประตูแห่งท้องทะเลได้เปิดขึ้น ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมากจึงเกิดขึ้น ซึ่งเราก็มิอาจคาดเดาได้ เนื่องจากผลลัพธ์ดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนของการสร้างสรรค์. ดังนั้นในทางปฏิบัติทั้งหมดแล้ว เราอาจมองว่าความคิดอินเดียนั้นเป็นระบบปิดหรือการเติบโตที่เป็นอิสระ.
 

 
II
 
คุณลักษณะทั่วไปของนวคิดอินเดีย
 
       ปรัชญาในอินเดียนั้น เป็นเรื่องของจิตวิญญาณเป็นหลัก. เป็นจิตวิญญาณอินเดียที่เข้มข้น และไม่ใช่โครงสร้างทางการเมืองที่ยิ่งใหญ่

 
---------------
1 เซอร์วิลเลี่ยม โจนส์ ได้เขียนไว้ว่า: “สำหรับสำนักปรัชญาต่าง ๆ  มันเพียงพอแล้วที่จะตั้งข้อสังเกตว่า สำนักปรัชญาแห่งที่หนึ่ง นยายะ (นำไปสู่ความจริงแท้) นั้นคล้ายคลึงกับสำนักเพริพาเททิก (เป็นหนึ่งในสำนักศึกษาทางปรัชญาในสมัยกรีกโบราณ ซึ่งมีรูปแบบการสอนปรับปรุงมาจากวิธีการของผู้ก่อตั้ง คือ อริสโตเติล นักปรัชญากรีก) สำนักปรัชญาแห่งที่สองบางครั้งเรียกว่า ไวเศษิกะ (แนวคิดแบบพหุสัจนิยม เชื่อว่าส่วนที่เล็กที่สุดของสสารคือปรมาณูมีจำนวนมาก แบ่งแยกไม่ได้และเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของโลก) ซึ่งเป็นไปเพื่อไอออนิก (สำนักปรัชญาโยนก – ที่พยายามอธิบายธรรมชาติของสสาร) สองแห่ง มีมางสา ซึ่งเป็นลำดับที่สองมักจะโดดเด่นด้วยชื่อของเวทานตะไปจนถึงปรัชญาเพลโตนิก (ความคิดเท่านั้นที่ห่อหุ้มธรรมชาติที่แท้จริง ความรู้ที่มีมาแต่กำเนิดและไม่ได้ถูกค้นพบโดยผ่านประสบการณ์ เราจึงต้องเข้าถึงความจริงด้วยการนึกตรึกและการวิเคราะห์เชิงตรรกะโดยขจัดความคิดผิด ๆ ออกไป) จากปรัชญาแรกคือสางขยะ ไปสู่แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปราชญ์แห่งคาบสมุทรอิตาลี; และปรัชญาที่สองของปตัญชลิ (ปราชญ์อินเดีย ผู้แต่งโยคสูตร ซึ่งรวบรวมสาระสำคัญในการปฏิบัติโยคะ) สู่ปรัชญาสโตอิก (ก่อตั้งโดยปราชญ์กรีก มีแนวคิดว่าเราต้องควบคุมตนเองให้ปลอดจากการเกาะติดและจากอารมณ์กวนใจ คุณธรรม เหตุผลและกฎธรรมชาติ เป็นตัวชี้นำสำคัญ) เพื่อให้โคตมะ (สมเด็จพระบรมศาสดาโคตมพุทธะ) สอดคล้องกับอริสโตเติล, กณาทะกับเธลีส ฤๅษีไชยมินิกับโสกราตีส ฤๅษีวฺยาสกับเพลโต กบิลมุณีกับพีทาโกรัส และปตัญชลิกับซีโน” (ชิ้นงาน i 360-1 ดู โคลบรู๊ค เรียงความปกิณกะ บทที่ 1 (i). หน้า 436 และหน้าต่อไป) ในขณะที่ชาวกรีกมีความเห็นว่า ความคิดที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวอินเดียนั้นมักมีขึ้นบ่อยครั้ง ดังนั้นนาน ๆ ทีที่จะมีการกระตุ้นว่าความคิดของอินเดียนั้นมาจากกรีก {ดูการ์เบ (Professor Richard Garbe แห่ง Prussia) ปรัชญาอินเดียโบราณ บทที่ 2 (ii)}
.
.
25
หรือองค์กรทางสังคมที่ได้พัฒนาขึ้น ปรัชญาแนวคิดอินเดียนี้ยังคงยืนหยัดคงทนต่อการทำลายล้างของกาลเวลาและอุบัติเหตุต่าง ๆ ทางประวัติศาสตร์มาได้. การรุกรานจากภายนอกและการขัดแย้งภายในได้รุกเข้ามาบดขยี้เกือบทำลายอารยธรรมของอินเดียหลายครั้งในประวัติศาสตร์. พวกกรีกและไซเธียน (กลุ่มชนเผ่านักรบเร่ร่อนโบราณแถบยูโรเซีย ปัจจุบันอยู่ทางใต้ของประเทศซีเรีย) พวกเปอร์เซียและพวกโมกุล ชาวฝรั่งเศสและพวกอังกฤษได้พยายามข่มบำราบแนวคิดอินเดียนี้ และเราก็ยังคงเชิดศีรษะอย่างองอาจ. ในที่สุดแล้วอินเดียก็ไม่ได้ถูกพิชิต และเปลวไฟแห่งจิตวิญญาณอันเก่ากาลก็ยังคงลุกโชน. โดยตลอดแล้ว ชีวิตของอินเดียนั้นอยู่ได้ด้วยวัตถุประสงค์เดียว. อันเป็นการต่อสู้เพื่อความจริงและต่อต้านความผิดพลาด. ชีวิตของอินเดียอาจจะพลาดพลั้งไปบ้าง แต่มันก็ให้เรารู้สึกได้และเรียกร้องให้ทำ. ประวัติศาสตร์ความคิดอินเดียได้อธิบายการแสวงหาที่ไม่รู้จบรู้สิ้นของจิตใจ ทั้งที่เป็นเรื่องเดิมและเรื่องใหม่.

อาณาจักรไซเธียและเปอร์เซียโบราณ, ที่มา: www.pinterest.com, วันที่เข้าถึง 17 ก.พ.2564
 .
       แรงจูงใจทางจิตวิญญาณเข้าครอบงำชีวิตในอินเดีย. ปรัชญาอินเดียนั้นให้ความสนใจกับสิ่งที่หลอกหลอนผู้คน และไม่เกี่ยวกับลักขณาจันทรคติใด ๆ . ปรัชญาอินเดียมีรากเง้าจากชีวิต และย้อนเข้าไปยังชีวิตที่ผ่านการศึกษาเล่าเรียน. ผลงานอันยิ่งใหญ่ของปรัชญาอินเดียไม่ได้เป็นเช่นมหาวิหาร (แอ็กซ์ เคธีดรา) อันมีคุณลักษณะที่โดดเด่นหลังจากได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์และได้รับข้อคิดเห็นแล้ว. คีตาและอุปนิษัทไม่ได้อยู่ไกลจากความเชื่ออันเป็นที่นิยม. ทั้งสองมหาคัมภีร์เป็นวรรณกรรมที่ยิ่งใหญ่ของประเทศ และขณะเดียวกันก็เป็นยานพาหนะของระบบความคิดที่เยี่ยมยอด. คัมภีร์ปุราณะประกอบด้วยความจริงที่ประเทืองขึ้นมาจากปกรณัมและเรื่องเล่าขานต่าง ๆ  คลุมห่อความเข้าใจที่อ่อนด้อยของผู้คนส่วนใหญ่เอาไว้. นั่นคือภารกิจที่ยากเข็ญอันน่าสนใจยิ่งในความมหึมาของอภิปรัชญาที่ประสบความสำเร็จในอินเดีย.

      
(review again from here) ผู้รังสรรค์ปรัชญาได้มุ่งมั่นที่จะปฏิรูปสังคมและจิตวิญญาณของประเทศ. เมื่ออารยธรรมอินเดียที่เรียกว่าพราหมณ์นั้น เป็นเพียงความหมายเดียวที่มีคุณลักษณะหลักและเป็นแรงจูงใจที่โดดเด่นที่ได้รับการหล่อหลอมโดยนักคิดทางปรัชญาและความคิดทางศาสนา แม้กระนั้นก็ไม่ใช่กำเนิดทั้งหมดของพราหมณ์. แนวคิดของเพลโตที่ว่านักปรัชญาจะต้องเป็นผู้ปกครองและผู้นำทางสังคมด้วยนั้น. ความจริงแท้อันเป็นเป้าหมายสูงสุดก็คือความจริงทางจิตวิญญาณ และในลำแสงของจิตวิญญาณเหล่านี้ ชีวิตจริงจะต้องได้รับการขัดเกลาให้เหมาะสม.

       ศาสนาในอินเดียนั้น ไม่มีกฎเกณฑ์กติกาใด ๆ แต่ทว่ามันเป็นการสังเคราะห์เชิงเหตุและผลซึ่งจะประมวลตัวศาสนาเองให้เป็นแนวคิดใหม่ ๆ ในขณะที่ (องค์ความรู้ด้าน) ปรัชญาได้เจริญรุดหน้าต่อไป. นี่เป็นการทดลองและเป็นเรื่องชั่วครั้งชั่วคราวตามธรรมชาติ โดยพยายามก้าวให้ทันความก้าวหน้าของความคิด. คำวิจารณ์ทั่วไปเกี่ยวกับความคิดอินเดีย
.
.
26
โดยเน้นที่ภูมิปัญญา ผลักดันให้ปรัชญาเป็นที่ตั้งของศาสนา ทำให้เกิดคุณลักษณะเชิงเหตุผลของศาสนาในอินเดีย. ไม่มีความเคลื่อนไหวเชิงศาสนาเกิดขึ้นเลย โดยปราศจากพัฒนาการที่สนับสนุนเนื้อหาเชิงปรัชญา. ฮาเวลล์ได้ให้ข้อสังเกตว่า “ในอินเดียนั้น ศาสนาแทบจะกล่าวไม่ได้ว่าเป็นความเชื่อ ทว่าเป็นสมมติฐานที่ใช้การได้ เกี่ยวกับพฤติกรรมการของมนุษย์ ที่ได้ปรับให้เข้ากับขั้นตอนต่าง ๆ ของพัฒนาการทางจิตวิญญาณและสภาพชีวิตที่แตกต่างกัน.”1 เมื่อใดก็ตามที่มีแนวโน้มว่าจะตกผลึกหลงเชื่อในลัทธิที่ตายตัว ก็จะมีการตั้งค่าการฟื้นฟูจิตวิญญาณและปฏิกิริยาทางปรัชญา ซึ่งโยนความเชื่อลงในเบ้าหลอมของการวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อพิสูจน์ความจริงและต่อสู้กับความมดเท็จ. เราสังเกตได้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า เมื่อความเชื่ออันเป็นที่ยอมรับกันทางประเพณีนั้นเริ่มไม่เพียงพอ (แม้ว่า) จะไม่เป็นเท็จก็ตาม ด้วยกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป และอายุความอดทนของเรา (ผู้ศรัทธา) ก็มีมากขึ้น เกิดความเห็นแจ้งจากคุรุท่านใหม่ สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระมหาวีระ วยาส หรือ ศังกราจารย์ ที่มีพละเหนือกว่าได้กระตุ้นความลุ่มลึกของชีวิตด้านจิตวิญญาณขึ้น. ไม่ต้องสงสัยเลยว่านี่เป็นช่วงเวลาที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ความคิดของอินเดีย เป็นช่วงเวลาแห่งการทดสอบภายในและการหยั่งภาพไปข้างหน้า เมื่อได้รับการเชื้อเชิญจากลมปราณของจิต ซึ่งพัดไปยังที่ที่มันปรากฎและไม่มีผู้ใดทราบว่ามันมาจากไหน จิตวิญญาณแห่งมนุษย์ก็เริ่มต้นขึ้นและก้าวสู่การผจญภัยครั้งใหม่. ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างความจริงแท้ทางปรัชญาและชีวิตประจำวันของผู้คนที่ทำให้ศาสนามีชีวิตและเป็นจริงเสมอ.
มหาฤๅษีกฤษณะ ไทวปายนะ วฺยาส (Vyās),
ที่มา: www.patheos.com, วันที่สืบค้น 15 กรกฎาคม 2560.
.
       ปัญหาทางศาสนาได้กระตุ้นจิตวิญญาณของปราชญ์. ความคิดของชาวอินเดียได้รับการฝึกปรือมาแต่เดิมเกี่ยวกับธรรมชาติของพระเป็นเจ้า จุดจบของชีวิตและความสัมพันธ์ของแต่ละบุคคลกับจิตวิญญาณสากล. แม้ว่าปรัชญาในอินเดียจะไม่ได้ปลดปล่อยตัวเองจากความหลงไหลในการคาดเดาทางศาสนาอย่างสิ้นเชิง แต่การอภิปรายทางปรัชญาก็ถูกขัดขวางโดยรูปแบบของตัวศาสนาเอง. เรื่องทั้งสอง (ปรัชญาอินเดีย และการอภิปรายทางปรัชญา) ไม่ได้สับสนแต่อย่างใด. เนื่องจากความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดระหว่างทฤษฎีและการปฏิบัติ หลักคำสอนและชีวิต ปรัชญาที่ไม่สามารถยืนหยัดในการทดสอบชีวิตได้ หากไม่สามารถถือปฏิบัติได้แล้ว ก็มีความหมายมากกว่าคำว่าไม่มีโอกาสรอด (ไม่รอดโดยสิ้นเชิง). สำหรับผู้ที่ตระหนักถึงความเป็นเครือญาติอย่างแท้จริงระหว่างชีวิตและทฤษฎี ปรัชญาได้กลายเป็นวิถีชีวิตและทฤษฎี  ปรัชญากลายมาเส้นทางแห่งชีวิต อันเป็นแนวทางสู่การสำนึกทางจิตวิญญาณ. ไม่มีการเรียนการสอน แม้แต่ศังกราจารย์เอง ก็ยังเป็นเพียง
---------------

1 กฎของอารยันในอินเดีย หน้าที่ 170. ดูบทความเรื่องหัวใจของลัทธิฮินดู: วารสารฮิบเบิร์ต, ตุลาคม, พ.ศ.2465.
.
.
27
คำกล่าวจากปากต่อปาก (มุขปาฐะ) หรือหลักของสำนักความคิดเท่านั้น. ทุกหลักคำสอนได้กลายเป็นความเชื่อมั่นที่เร่งเร้า กระตุ้นหัวใจของมนุษย์และเกิดลมหายใจที่ถี่ขึ้น.

       ไม่เป็นความจริงที่จะกล่าวว่าปรัชญาอินเดียไม่เคยประหม่าหรือตื่นตระหนก. แม้ในช่วงแรกที่ได้มีการพินิจพิเคราะห์อย่างมีเหตุผล ก็มีการแก้ไขความเชื่อทางศาสนา. มีสักขีพยานที่แสดงถึงการเคลื่อนตัวทางศาสนาไปข้างหน้าอันบ่งบอกถึงความก้าวหน้า โดยเริ่มจากบทสวดของพระเวทไปจนถึงอุปนิษัท. เมื่อเราได้เข้ามาสู่บวรพุทธศาสนาแล้ว จิตวิญญาณทางปรัชญาได้กลายเป็นเจตคติที่มีความมั่นคงในจิตใจ ซึ่งในสารัตถะทางปรัชญาแล้ว จะไม่มีอิทธิพลจากภายนอกใด และตระหนักถึงการไร้ขีดจำกัดของร่างกาย เว้นแต่ที่เป็นผลมาจากตรรกะ ซึ่งตรวจสอบทุกสิ่งทดสอบทั้งหมด และติดตามอย่างไร้ความกลัวเกรงไปในทุกแห่งหนเท่าที่การโต้แย้งวิพากษ์วิจารณ์จะนำพาไป. เมื่อเราเข้าถึงทรรศนะและระบบความคิดต่าง ๆ แล้ว เราจะต้องใช้ความพยายามให้มากและไม่ลดละความพยายามต่อความคิดที่เป็นระบบ. ระบบจะปลอดจากศาสนาดั้งเดิมและอคติโดยสิ้นเชิงเพียงใดนั้น จะเห็นได้ชัดจากข้อเท็จจริงที่ว่าสางขยะจะนิ่งเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของพระเจ้า แม้ว่าจะบางอย่างที่ไม่สามารถแสดงให้ประจักษ์ได้ในทางทฤษฎี. ไวเศษิกะ (หนึ่งในทรรศนะทั้งหกของปรัชญาอินเดียหลังพุทธกาล สถาปนาโดยฤๅษีกรณาทะ เป็นแนวคิดแบบพหุสัจนิยม เชื่อว่าส่วนที่เล็กที่สุดของสสารคือ ปรมาณู มีจำนวนมาก แบ่งแยกไม่ได้และเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของโลก พระเจ้าสูงสุดคือพระมเหศวรเป็นผู้สร้างโลก โดยเจตจำนงของพระองค์ จะกระตุ้นให้ปรมาณูมารวมตัวกัน จนเกิดเป็นสิ่งต่าง ๆ และเป็นโลกในที่สุด: อ้างถึง: ฟื้น ดอกบัว. ปวงปรัชญาอินเดีย. กทม. ศยาม. 2555 หน้า 189-208) และโยคะ ในขณะที่เหล่าชนชาวอินเดียยอมรับถึงพระผู้สูงส่งซึ่งมีชีวิต ก็มิได้ถือว่าพระองค์เป็นผู้สร้างจักรวาล และไชยมิณิ (มหาฤๅษีผู้พัฒนาปรัชญามีมางสา) ได้อ้างถึงพระผู้เป็นเจ้า เพียงเพื่อปฏิเสธความรอบคอบและรัฐที่มีคุณธรรมของโลก. ระบบทางพระพุทธศาสนาในยุคแรก ๆ เป็นที่ทราบกันว่าไม่สนใจในพระเจ้า และเรายังมีความเป็นจารวากวัตถุนิยม ผู้ซึ่งปฏิเสธพระผู้เป็นเจ้า เยาะเย้ยนักบวช ด่าทอพระเวทและแสวงหาทางรอดด้วยความปรีดา.

       อำนาจสูงสุดของศาสนาและประเพณีทางสังคมในชีวิต ไม่ได้ขัดขวางการแสวงหาปรัชญาอย่างเสรี. มันเป็นความขัดแย้งที่แปลกประหลาดและไม่มีอะไรที่มากไปกว่าความจริงที่แจ่มชัดว่า ในขณะที่ชีวิตทางสังคมของแต่ละบุคคลถูกผูกมัดไว้ด้วยความเข้มงวดของวรรณะ ทว่าเขาก็มีอิสระที่จะเดินเตร่ในเรื่องของความคิดเห็น. มีการตั้งคำถามอย่างอิสระและวิพากษ์วิจารณ์หลักความเชื่อที่มนุษย์ได้ให้กำเนิดมันขึ้นมา. นั่นคือเหตุผลที่คนนอกรีต คนขี้ระแวง ผู้ที่ไม่เชื่อ ผู้ที่มีเหตุผล และนักคิดอิสระ นักวัตถุนิยม และนักสุขนิยม ต่างก็เจริญรุ่งเรืองในแผ่นดินอินเดีย. ในมหาภารตะกล่าวไว้ว่า “ไม่มี มุนี ท่านไหนที่ไม่มีความคิดเห็นเป็นของตน.”

       ทั้งหมดนี้เป็นหลักฐานแสดงถึงความหลักแหลมของจิตใจชาวอินเดีย ที่เพียรพยายามรู้ความจริงแท้ภายในและกฎกรณีย์ทุกด้านของมนุษย์. แรงกระตุ้นทางปัญญา -

 

มหาฤๅษีไชยมิณิ ผู้เสนอและพัฒนาปรัชญาภูรวะ มีมางสา
(ภูรวะ หรือ ปุรวะ Purva แปลว่า มีมาก่อน หรือทิศตะวันออก),
ที่มา: www.sanskritimagazine.com, วันที่เข้าถึง 9 มีนาคม 2564.
 .
.
28
- นี้ ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงปรัชญาและเทววิทยา แต่ครอบครอบคลุมถึงตรรกะและไวยากรณ์ วาทศาสตร์และภาษา การแพทย์และดาราศาสตร์ด้วย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วครอบคลุมศิลป์และศาสตร์ทั้งหมด ตั้งแต่สถาปัตยกรรมจนถึงสัตววิทยา. ทุกสรรพสิ่งที่มีประโยชน์ต่อชีวิตหรือเป็นสิ่งที่น่าสนใจแก่จิตใจแล้ว จะกลายเป็นเป้าหมายของการสอบถามและวิพากษ์วิจารณ์. ซึ่งจะให้ความคิดเกี่ยวกับลักษณะที่ครอบคลุมทั้งหมดของชีวิตทางปัญญา ให้รับทราบแม้แต่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นการขยายพันธุ์ม้า และการฝึกช้างซึ่งก็มีศาสตร์และบันทึกข้อเขียนเป็นของตนเอง.

       ความพยายามทางปรัชญาในการกำหนดลักษณะของความจริงแท้ อาจเริ่มต้นด้วยตัวตนของความคิดหรือตัววัตถุแห่งความคิด. ซึ่งในอินเดียนั้น ความสนใจของปรัชญาอยู่ที่ตัวตนของมนุษย์. ขณะที่การมองภาพไปเบื้องหน้าได้เปิดออก ความเร่งรีบของเหตุการณ์ได้ผูกมัดจิตใจไว้. ในอินเดียนั้น “อาตมานัม วิธี” รู้จักตน ประมวลกฎหมายและเหล่าศาสดา. ภายในตัวมนุษย์นั้น จิตวิญญาณเป็นศูนย์กลางของทุกสรรพสิ่ง. จิตวิทยาและจริยธรรมถือเป็นศาสตร์พื้นฐาน. ชีวิตของจิตใจแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของการเคลื่อนไหวไปง่าย ๆ  รวมทั้งการเล่นแสงและเงาที่บอบบาง.
 จิตวิทยาของอินเดียนั้นได้ตระหนักถึงคุณค่าของการทำสมาธิ และมองว่ามันเป็นวิธีการรับรู้ความจริงแท้. เชื่อกันว่าไม่มีช่วงชีวิตหรือจิตใจใด ที่ไม่สามารถเข้าถึงความจริงแท้ได้ด้วยการฝึกฝนเจตจำนงและองค์ความรู้. ได้รับรู้ถึงการเชื่อมต่อที่ใกล้ชิดของจิตใจและร่างกาย. ประสบการณ์ทางจิต อาทิ กระแสจิตและตาทิพย์ ถือว่าไม่ใช่เรื่องผิดปกติหรืออัศจรรย์แต่อย่างใด. มันไม่ใช่เป็นเรื่องปาฏิหาริย์. มันมิได้เป็นผลผลิตจากสภาวะจิตที่ป่วยไข้หรือได้รับแรงบันดาลใจจากเทพเจ้าแต่อย่างใด แต่ทว่าเป็นพลังที่จิตใจของมนุษย์สามารถแสดงออกได้ภายใต้เงื่อนไขของการตรวจสอบอย่างรอบคอบแล้ว. จิตใจของมนุษย์นั้นมีสามลักษณะ จิตใต้สำนึก จิตสำนึก และจิตเหนือสำนึก (ความมีสติสัมปชัญญะ) และปรากฎการณ์ทางจิตที่ “ผิดปกติ” ซึ่งมีการเรียกชื่อที่แตกต่างกันอาทิ ความปิติยินดี อัจฉริยะ แรงบันดาลใจ ความบ้าคลั่ง ซึ่งล้วนเป็นการทำงานของจิตใต้สำนึก. ปรัชญาระบบโยคะจะเกี่ยวข้องกับประสบการณ์เช่นนี้เป็นพิเศษ แม้ว่าระบบอื่น ๆ จะอ้าง (ถึงปรากฎการณ์พิเศษ) ใช้ประโยชน์เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ก็ตาม.

       แผนการทางอภิปรัชญาขึ้นอยู่กับข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ทางจิต. คำวิจารณ์ที่ว่าอภิปรัชญาตะวันตกมีแนวคิดเพียงด้านเดียว เนื่องจากความสนใจถูกกักขังในสภาวะที่ตื่นรู้โดยลำพัง มันถูกบังคับให้เป็นเช่นนั้น. มีสถานะอื่น ๆ ของสติสัมปชัญญะที่มีสิทธิได้รับการพิจารณา-
.
.
29
-มากที่สุด. ความคิดของอินเดียคำนึงถึงแบบการตื่น การฝัน และการหลับที่ไร้ความฝัน. หากเรามองไปที่จิตสำนึกที่ตื่นขึ้นโดยรวมแล้ว เราจะได้แนวคิดด้านอภิปรัชญาที่เป็นความจริงแท้ เป็นคู่ และพหุนิยม. จิตสำนึกในความฝันนั้น เมื่อได้ศึกษาอย่างเฉพาะตัวแล้ว มันจะนำเราไปสู่หลักคำสอนในแนวคิดส่วนบุคคล (ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ - อัตวิสัย). สภาวะของการนอนหลับที่ปราศจากความฝันนั้น จะรังสรรค์ให้เกิดทฤษฎีที่เป็นนามธรรมและลึกลับได้. ความจริงแท้ทั้งมวลต้องคำนึงถึงรูปแบบทั้งหมดของจิตสำนึก.

       ด้วยความโดดเด่นของความสนใจในอัตวิสัยนั้น ก็มิได้หมายความว่าศาสตร์ด้านภววิสัย (สิ่งที่มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริง เงื่อนไขที่เป็นความจริง) จะไร้ซึ่งคำกล่าวใด ๆ . หากเราอ้างถึงความสำเร็จจริง ๆ ของอินเดียในขอบเขตของศาสตร์ในเชิงบวกแล้ว เราจะเห็นว่าตรงกันข้าม. ชาวอินเดียโบราณได้วางรากฐานองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์และเครื่องกลไว้. พวกเขาวัดที่ดิน แบ่งเวลาเป็นปี ๆ ทำแผนที่สรวงสวรรค์ ติดตามเส้นทางของดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ต่าง ๆ โดยผ่านจักรราศี วิเคราะห์เทหวัตถุของสสาร และศึกษาธรรมชาติของนกและสัตว์ป่า พืชและเมล็ดพันธุ์.1 “ไม่ว่าข้อสรุปใด ๆ ที่เราอาจเข้าถึงแหล่งดั้งเดิมของแนวคิดทางดาราศาสตร์แห่งแรกในโลก ซึ่งเป็นไปได้ว่าชาวฮินดูได้คิดค้นพีชคณิตและนำมาประยุกต์ใช้กับดาราศาสตร์และเรขาคณิต ซึ่งรับมาจากชาวอาหรับ ไม่เพียงแต่รับแนวคิดแรกของการวิเคราะห์พีชคณิตเท่านั้น แต่ยังคงรวมถึงสัญลักษณ์ที่เป็นตัวเลขและสัญกรณ์ทางทศนิยมอันประเมินค่ามิได้นี้อีกด้วย ซึ่งปัจจุบันแพร่หลายในยุโรป ซึ่งได้นำมาใช้สนองความก้าวหน้าทางด้านคณิตศาสตร์”2 “การเคลื่อนไหวของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้น ถูกสังเกตอย่างรอบคอบโดยชาวฮินดู และด้วยความสำเร็จดังกล่าว ก่อให้เกิดการปฏิวัติเกี่ยวกับวงโคจรของดวงจันทร์ ซึ่งมีความแม่นยำกว่าสิ่งที่ชาวกรีกได้ทำไว้. เหล่าชนฮินดูได้แบ่งวงจรรูปไข่ (ของดวงจันทร์) ออกเป็นยี่สิบเจ็ดและยี่สิบแปดส่วน อันนำไปสู่ปรากฎการณ์การแบ่งช่วงวันต่าง ๆ ของดวงจันทร์ -

---------------
1 เราอาจจะอ้างถึงข้อความที่มีอายุไม่น้อยกว่า 2,000 ปีก่อนการกำเนิดของโคเปอร์นิคัส จากคัมภีร์ไอตเรยะ พราหมณะ (การรวบรวมบทสวดที่ศักดิ์สิทธิ์ของอินเดียโบราณ ในฤคเวท กล่าวถึง "ตัวตนและอาตมันของมนุษย์"): “ดวงอาทิตย์ไม่เคยตกหรือขึ้นเลย. เมื่อผู้คนคิดกับตนเองว่าดวงอาทิตย์กำลังตกนั้น. เขา (ดวงอาทิตย์) เพียงเปลี่ยนไปหลังจากใกล้ถึงจุดสิ้นสุดของวันเท่านั้น และทำให้ต่อไปนี้ก็เป็นกลางคืนและกลางวันก็เป็นสิ่งที่อยู่อีกด้านหนึ่ง. จากนั้นเมื่อผู้คนคิดว่าเขาขึ้นในตอนเช้า เพียงแต่เขาเลื่อนตัวเองไปหลังจากที่ถึงจุดสิ้นสุดของคืนเท่านั้น และทำให้ต่อไปนี้เป็นกลางวันและกลางคืนนั้นเป็นสิ่งที่อยู่อีกด้านหนึ่ง. แท้จริงแล้วเขาไม่เคยตกเลย.” การตีพิมพ์ของฮุง, บทที่ 3; ฉานโทคยะ อุปนิษัท, บทที่ 3 เล่มที่ 2. 1-3 แม้ว่าจะเป็นคติชน แต่ก็มีความน่าสนใจ.
2 โมเนียร์ วิลเลี่ยม: ภูมิปัญญาชาวอินเดีย, หน้า 184.

.
.
30
 - และดูเหมือนจะเป็นแนวคิดของเหล่าชนฮินดูเอง. โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่าชนฮินดูนี้คุ้นเคยกับดาวเคราะห์ใหญ่ที่สวยงามที่สุด รอบการโคจรของดาวพฤหัสบดีที่พวกเขาแนะไว้นี้ ร่วมกับ (การโคจร) ของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ นำไปสู่การวางระเบียบปฏิทินในรูปแบบของวัฏจักรหกสิบปี ซึ่งเป็นเรื่องปกติสำหรับเหล่าชนฮินดูและชาวคาลเดีย (กลุ่มชนโบราณที่อยู่แถบคาลเดีย ช่วง 800 ปีก่อนคริสตกาล และปกครองกรุงบาบิโลน ช่วง 625-539 ปีก่อนคริสตกาล).”1 ขณะนี้ก็เป็นที่ยอมรับกันว่าชาวฮินดูในช่วงแรก ๆ นั้น ได้ก่อกำเนิดและพัฒนาสองศาสตร์ด้านตรรกะและไวยกรณ์ขึ้นมา.2

ตำแหน่งที่ชนเผ่าโบราณคาลเดียน อาศัยและปกครองกรุงบาบิโลน
ที่มา: chaldeansapter.weebly.com, วันที่เข้าถึง 18 มีนาคม 2564.
 
วิลสันได้เขียนว่า : “ในทางการแพทย์นั้นก็เฉกเช่นกับดาราศาสตร์และอภิปรัชญา ครั้งหนึ่งชาวฮินดูเคยก้าวทันเป็นชนชาติที่รู้แจ้งมากที่สุดในโลก เหล่าชนฮินดูประสบความสำเร็จด้วยขีดความสามารถในด้านการแพทย์และศัลยกรรม ในขณะที่มีผู้นำไปบันทึกศึกษาต่อยอดพัฒนาทักษะ ก่อนที่กายวิภาคศาสตร์ได้เป็นที่รู้จักโดยผู้ค้นคว้ายุคใหม่.”3 เป็นความจริงที่ว่าเหล่าชนฮินดูนี้ไม่ได้ประดิษฐ์เครื่องจักรกลที่ยอดเยี่ยมใด ๆ. สำหรับสรวงสวรรค์ที่ทรงปราณี ท่านได้ประทานแหล่งน้ำที่ยิ่งใหญ่ รวมทั้งภักษาหารอันอุดมให้เหล่าชนฮินดูรับผิดชอบครอบครอง. ขอให้เราจดจำไว้ว่าสิ่งประดิษฐ์กลไกต่าง ๆ ที่เราทำและครอบครองนั้นมีขึ้นถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 หลังจากนั้นอินเดียก็เสียเอกราชและกลายเป็นผู้พึ่งพา (นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ไป). วันที่เธอ (อินเดีย) ได้สูญเสียอิสรภาพ และเริ่มหยอกเอินกับชาติอื่น ๆ คำสาปก็ตกใส่เธอและเธอก็กลายเป็นหิน (ชะงักไปในด้านการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์). จนถึงขณะนั้นเธอยังคงถือครองตนไว้ได้ แม้ในงานศิลปะ งานฝีมือและอุตสาหกรรม โดยไม่จำต้องกล่าวถึงคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ เคมี การแพทย์ ศัลยกรรม และองค์ความรู้ด้านกายภาพที่เธอได้ฝึกฝนมาแต่ครั้งโบราณ เธอยังรู้วิธีสิ่วหิน วาดภาพ ขัดทอง และได้ทอผ้าไว้มากมาย. เธอได้พัฒนางานวิจิตรศิลป์ และอุตสาหกรรมทั้งหมด อันเป็นการวางสภาพการดำรงอยู่ไว้อย่างมีอารยะ. เรือของเธอได้ข้ามสมุทรและนำพาความมั่งคั่งอันเปี่ยมล้นไปยัง ยูเดีย อียิปต์ และโรม. แนวความคิดของเธอทางด้านมนุษย์และสังคม ศีลธรรมและศาสนาในช่วงเวลานั้นนับเป็นสิ่งที่น่าทึ่ง. เราไม่สามารถกล่าวได้อย่างสมเหตุสมผลได้นักว่าชนชาวอินเดียมีความหลงไหลในบทกวีและนิยายปกรณัม และปฏิเสธวิทยาศาสตร์รวมทั้งปรัชญา แม้จะเป็นความจริงที่ว่าเหล่าชนชาวอินเดียตั้งใจที่จะแสวงหาความเป็นเอกภาพของสรรพสิ่ง มากกว่าที่จะเน้นความแหลมคมและการแบ่งแยก.

       จิตใจที่คาดเก็งเอาประโยชน์นั้นเป็นสิ่งที่สังเคราะห์ขึ้นได้ ในขณะที่ความคิดทางวิทยาศาสตร์-

---------------
1 งานแปลของโคลบรู๊ก เรื่อง ผลงานด้านพีชคณิตของภาสกราจารย์ (หรือ ภาสกรที่ 2) หน้าที่ 22.

2 ดูงาน วรรณกรรมสันสกฤต ของมัคส์ มึลเลอร์,
3 งาน, เล่มที่ 3 หน้าที่ 269,

.
.
31
 กลับมีการวิเคราะห์มากกว่า หากมีการอนุญาตให้สามารถแสดงถึงความแตกต่างดังกล่าวได้. อดีตมีแนวโน้มจะสร้างปรัชญาจักรวาลขึ้น ซึ่งรวมเอาภาพเบื้องหน้าอันครอบคลุมจุดกำเนิดของสรรพสิ่ง ประวัติศาสตร์แห่งยุคสมัยและการสลายตัว และการผุพังของโลก. อย่างหลังนี้ (ความคิดทางวิทยาศาสตร์) มีแนวโน้มที่จะยึดติดกับรายละเอียดอันน่าเบื่อของโลก และครุ่นคิดถึงความเป็นหนึ่งเดียวและความสมบูรณ์พร้อม. ความคิดของชนอินเดียพยายามพินิจการดำรงอยู่ด้วยมุมที่กว้างและไร้การมีตัวตน (อนัตตา) และทำให้มีผู้วิจารณ์นำข้อกล่าวหาของการเป็นคนมีอุดมการณ์และมีความคิดไตร่ตรองมากขึ้น ทำให้การมองไปข้างหน้านั้นดูออกจะเพ้อฝันและเป็นคนแปลกหน้าในโลก ในขณะที่ความคิดของชาวตะวันตกออกจะมีความเฉพาะเจาะจงและปฏิบัติได้จริงมากกว่า. สิ่งหลังนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราเรียกว่าประสาทสัมผัส อดีตได้กดประสาทสัมผัสทางจิตวิญญาณไปสู่ประโยชน์จากการคาดการณ์. เป็นอีกครั้งหนึ่งที่สภาพทางธรรมชาติของอินเดียอันได้บันทึกไว้ถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกที่กำลังครุ่นคิด และแสดงให้เห็นถึงความเต็มอิ่มด้านจิตวิญาณของอินเดียเองด้านบทเพลง ถ้อยทำนองทางดนตรีและการเต้นรำ พิธีกรรมทางศาสนาที่ไม่ถูกรบกวนจากโลกภายนอก. มีประโยคกล่าวว่า “ตะวันออกกำสรด” มักเป็นการเยาะเย้ย มันไปด้วยกันไม่ได้เลยและปราศจากความจริงโดยสิ้นเชิง.

 
     นี่เป็นวิสัยทัศน์ที่ได้สังเคราะห์แล้วของชนอินเดีย ที่ทำให้ปรัชญาเข้าใจศาสตร์ต่าง ๆ ที่ได้แตกแขนงออกไปในยุคปัจจุบัน. ในโลกตะวันตกช่วงร้อยปีที่ผ่านมานั้น หรือองค์ความรู้หลายสาขาได้รวมอยู่ภายใต้ปรัชญา เศรษฐศาสตร์ การเมือง ศีลธรรม จิตวิทยา การศึกษา ได้ถูกตัดทอนออกไปทีละส่วน จากแกนกลางของการเก็งเพื่อรับประโยชน์ของมนุษย์ทีละส่วน. ปรัชญาในสมัยเพลโตนั้นหมายถึง ศาสตร์ทั้งหมดล้วนผูกพันกับธรรมชาติของมนุษย์และแก่นของประโยชน์ที่มนุษย์คาดหวังไว้. ในทำนองเดียวกันซึ่งพระคัมภีร์โบราณของอินเดีย เรามีเนื้อหาทั้งหมดของวงข่ายทางปรัชญา. ต่อมาในปรัชญาตะวันตก ก็กลายเป็นความหมายเดียวกันกับอภิปรัชญา หรือ การอภิปรายถึงองค์ความรู้ การดำรงอยู่ และคุณค่าอย่างลึกซึ้ง และมีการถกเถียงกันว่าอภิปรัชญาได้กลายเป็นทฤษฎีที่สมบูรณ์ ตัดขาดออกจากจินตนาการและการปฏิบัติของธรรมชาติมนุษย์ไปเสียแล้ว. เราจะเห็นว่าอุดมคติแบบเอกนิยม (ความเชื่อที่ว่ามีเพียงปัจจัย) นั้น ได้กลายมาเป็นความจริงของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างไร. การเติบโตในประเด็นทั้งมวลของแนวคิดแบบพระเวทนั้น ได้วางอยู่บนฐานของพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ นี่-
.
.
32
-คือความจริงแท้สูงสุดที่เปิดเผยไปยังอินเดีย. แม้แต่ระบบที่ประกาศตนว่าเป็นแบบคู่หรือพหุนิยม ก็ดูเหมือนจะถูกแทรกซึมโดยคุณลักษณะอันแข็งแกร่งของเอกนิยม. หากว่าเราสามารถมองเห็นภาพนามธรรมจากความคิดที่หลากหลายและสังเกตได้ถึงจิตวิญญาณทางความคิดของชนอินเดียแล้วไซร้ เราจะพบว่ามันมีเจตคติที่จะตีความชีวิตและธรรมชาติในหนทางแบบอุดมคติเอกนิยม (เชื่อว่ามีเพียงปัจจัย) แม้ว่าแนวโน้มนี้จะเป็นการปั่นแต่งขึ้นมาได้ การมีชีวิต และการมีความหลากหลายก็ตาม ก็มีหลายรูปแบบและแสดงออกในคำสอนที่เป็นปรปักษ์กัน. เราอาจระบุได้สั้น ๆ ถึงรูปแบบหลักที่แนวคิดเชิงอุดมคติซึ่งมองว่ามีเพียงปัจจัยนั้นได้สันนิษฐานไว้ในความคิดของชนอินเดีย โดยละเว้นการพัฒนาขั้นรายละเอียดและการคาดการณ์เชิงวิพากษ์. สิ่งนี้จะช่วยให้เราเข้าใจธรรมชาติและหน้าที่ของปรัชญาตามที่เข้าใจในอินเดีย. สำหรับวัตถุประสงค์ของเราอุดมคติเอกนิยมนั้น มีสี่ประเภท: (1) ไม่เป็นคู่นิยม หรือ อทไวตะนิยม (2) เอกนิยมบริสุทธิ์ (3) เอกนิยมดัดแปลง และ (4) เอกนิยมโดยนัย.

ถ้ำโบราณทางพระพุทธศาสนาเอเลแฟนต้า (ก่อนที่จะถูกแปลงเป็นศาสนาพราหมณ์-ฮินดู) , มุมไบ, รัฐมหาราษฏระ, ภารตะ, แหล่งมรดกโลกยูเนสโก สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 3 หรือก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 2, ที่มา: Facebook เพจ Ancient History of India, วันที่เข้าถึง 17 เมษายน 2564.
.
       ปรัชญาจะดำเนินไปบนข้อเท็จจริงของประสบการณ์. การไตร่ตรองเชิงตรรกะนั้นนับเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าข้อเท็จจริงที่สังเกตเห็นโดยบุคคลใดนั้น เป็นที่ยอมรับของทุกคนหรือเป็นเพียงมุมมองตามบุคลิกลักษณะของเขาเอง. ทฤษฎีต่าง ๆ ย่อมจะได้รับการยอมรับ หากพวกเขากล่าวถึงข้อเท็จจริงที่น่าพอใจ. เราได้กล่าวไปก่อนแล้วว่าข้อเท็จจริงต่าง ๆ ทางด้านจิตใจหรือจิตสำนึกนั้น ได้รับการศึกษาโดยเหล่านักคิดชนอินเดียด้วยการเอาใจใส่พินิจตรึกตรองมากพอ ๆ กับข้อเท็จจริงต่าง ๆ ของโลกภายนอก ที่ได้รับการศึกษาโดยนักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ของเรา. ข้อสรุปทางปรัชญาของเอกนิยมแบบอทไวตะนั้น ขึ้นอยู่กับข้อมูลจากการสังเกตการณ์ทางจิตวิทยา.

       กิจกรรมของตนเองถูกกำหนดไว้ในสามสถานะ การตื่น การนอนหลับ และการนอนหลับที่ไร้ฝัน. ในความฝันนั้น โลกแห่งรูปธรรมที่แท้จริงจะถูกนำเสนอแก่เรา.
 เราไม่เรียกโลกนี้จริง เนื่องจากเมื่อตื่นขึ้นเราพบว่าโลกแห่งความฝันไม่เข้ากับโลกที่ตื่น เรายังรู้สึกค่อนข้างอยู่ในสถานะความฝัน โลกแห่งความฝันเป็นจริง. มันเป็นความคลาดเคลื่อนจากมาตรฐานชีวิตที่ตื่นขึ้นมาแบบเดิม ๆ และไม่ใช่ความรู้ที่สมบูรณ์เกี่ยวกับความจริงที่ดำรงอยู่ด้วยตัวมันเอง ที่บอกเราว่าสภาวะในฝันนั้นเป็นความจริงน้อยกว่าสภาวะที่กำลังตื่นอยู่. แม้ความจริงขณะตื่นอยู่ก็คือความสัมพันธ์. ไม่มีการดำรงอยู่ที่ถาวร เป็นเพียงสหสัมพันธ์ของสถานะที่ตื่นอยู่เท่านั้น. ซึ่งมันก็อันตรธานไปในความฝันและการนอนหลับ. สติสัมปชัญญะขณะที่ตื่นขึ้นและโลกที่ได้เผยออกมานั้น มีความสัมพันธ์ระหว่างกันอยู่ ซึ่งขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดในฝันและ-
.
.
33
-โลกแห่งความฝัน. มันไม่มีอะไรสมบูรณ์แท้ สำหรับคำกล่าวของศังกราจารย์ ในขณะที่ “โลกแห่งความฝันถูกย่อยสลายทุกวัน และโลกที่ตื่นอยู่ก็ถูกย่อยสลายภายใต้กรณีพิเศษ.” ในการนอนหลับที่ปราศจากความฝันนั้น เราได้หยุดสติสัมปชัญญะเชิงประจักษ์. ปราชญ์ชาวอินเดียบางท่านมีความเห็นว่าเรามีสภาพจิตสำนึกที่ไร้ภววิสัย (ไร้สิ่งที่มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริง หรือไร้ซึ่งเงื่อนไขที่เป็นความจริง). ไม่ว่าในกรณีใดก็ตามเป็นที่ชัดเจนว่า การหลับที่ไร้ฝันนั้นไม่ใช่การไม่ดำรงอยู่อย่างสิ้นเชิง หรือ การปฏิเสธสมมติฐานที่ขัดแย้งกับการหวนระลึกถึงการนอนหลับผ่อนคลายอย่างมีความสุขในเวลาต่อมา. เราอดไม่ได้ที่จะยอมรับว่าตัวตนนั้นยังคงมีอยู่ แม้ว่ามันจะสูญเสียประสบการณ์ทั้งหมดก็ตาม. เราไม่รู้สึกถึงวัตถุใด ๆ และจะไม่มีเลยตราบเท่าที่การหลับนั้นยังมีซุ่มเสียงอยู่. ตัวตนที่บริสุทธิ์ดูเหมือนจะไม่ได้รับผลกระทบจากแนวคิดที่ล่องลอยขึ้นและสลัดทิ้งไป ซึ่งผุดขึ้นและสลายไปพร้อมกับอารมณ์เฉพาะ (ชั่วขณะหนึ่ง ๆ ). “สิ่งที่ไม่แตกต่างกัน ไม่เปลี่ยนไปท่ามกลางสรรพสิ่งต่าง ๆ นั้น มันจะแตกต่างและแปรเปลี่ยนไปจากสรรพสิ่งเหล่านั้น.”1 ตัวตนที่คงอยู่ไม่เปลี่ยนแปลงและเป็นหนึ่งเดียวตลอดนั้น การเปลี่ยนแปลงก็ต่างจากสรรพสิ่งทั้งมวล. เงื่อนไขต่าง ๆ เปลี่ยน แต่ไม่ใช่ตัวตน. “ในช่วงหลายเดือน ปี และรอบเล็กและรอบใหญ่รอบแล้วรอบเล่า ทั้งในอดีตและที่จะมาถึง ความสำนึกที่เปล่งประกายภายในตนโดยลำพังนั้น ไม่ขึ้นหรือตกแต่อย่างใด.”2 ความจริงอันไม่มีเงื่อนไขที่ซึ่งเวลาและอวกาศ พร้อมทั้งสสารวัตถุทั้งหมดนั้นมลายไป จะรู้สึกได้ว่านี่คือความเป็นจริง. นี่เป็นตัวตนซึ่งเป็นผู้ชมที่ไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ จากแนวคิดของละครทั้งเรื่อง ที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ช่วงที่กำลังตื่น กำลังฝัน และการหลับไป. เราเชื่อมั่นว่ามีบางสิ่งในตัวเราที่นอกเหนือจากความปรีดาและความเศร้าโศก คุณธรรมและความชั่วร้าย ดีและเลว. ตัวตนที่ “ไม่มีวันตาย ไม่เคยเกิด-ไม่เกิด นิรันดร์ อมตะ สิ่งเก่ากาลนี้ไม่มีวันถูกทำลายให้วิบัติในร่างนี้เลย. หากผู้สังหารคิดว่าตัวเองสามารถฆ่าได้ หรือผู้ถูกสังหารคิดว่าตัวเองโดนฆ่าแล้วไซร้ แต่เข้าทั้งสองหารู้ความจริงไม่ เพราะตัวเองไม่ได้สังหารหรือถูกสังหาร.”3

       นอกเหนือจากตัวตนที่เหมือนกันตลอดกาลแล้ว เรายังมีวัตถุต่าง ๆ ที่มีความหลากหลายให้เห็นประจักษ์อีกด้วย. อดีตเป็นสิ่งถาวร ไม่เปลี่ยนรูป แต่พอจำเนียรกาลผ่านไป ก็กลายเป็นไม่เที่ยง และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา. อดีตเป็นสิ่งที่สมบูรณ์ เป็นอิสระจากสรรพสิ่งทั้งมวล. กาลต่อมาก็เปลี่ยนไปตามอารมณ์.

---------------
1येशु व्यावर्तमानेषु यद अनुवर्तते तत् तेभ्यो भिन्नम् - Yeṣu vyāvartamāneṣu yad anuvartate tat tebhyo bhinnam - สิ่งที่ตามมาเมื่อพระเยซูเสด็จกลับแตกต่างไปจากพวกเขา” (ภามตี).
2 ปัญจทศี, i. 7.
3 กถะ อุปนิษัท, บรรพที่ 2. อัธยายะที่ 18-19; ภ.ค., บรรพที่ 2. อัธยายะที่ 19-20.
.
.
34
       แล้วเราจะอธิบายโลกอย่างไรดี. ความหลากหลายเชิงประจักษ์นั้นปรากฏในขอบอวกาศหรือช่องว่าง เวลา และเหตุ (ปัจจัย). หากตัวตนเป็นหนึ่งเดียว สากล ไม่เปลี่ยนรูป เราก็จะพบว่าในโลกนี้มีรายละเอียดมากมายที่มีคุณลักษณะตรงกันข้าม. เราสามารถกล่าวได้ว่านี่มันไม่ใช่ตัวตน มันเป็นจุดหมายของประเด็นเรื่องราว. ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม มันเป็นเรื่องจริง. การจำแนกประเภทหลัก ๆ ในโลกแห่งประสบการณ์ เวลา ช่วงว่าง และเหตุปัจจัย ล้วนแต่มีความขัดแย้งกันอยู่ในตัว. สิ่งเหล่านั้นไม่มีอยู่จริง. ถึงกระนั้นก็ไม่ใช่ว่ามันจะไม่มีอยู่. โลกอยู่ที่นั่น และเราทำงานในนั้นแล้วก็ผ่านมันไป. เราไม่ทราบและไม่สามารถรู้สาเหตุของโลกนี้ได้. นี่คือข้อเท็จจริงของการดำรงอยู่ที่อธิบายไม่ได้ ซึ่งมีความหมายโดยเพียงคำว่า มายาการที่ถามว่าอะไรคือความสัมพันธ์ระหว่างตัวตนที่สมบูรณ์กับมูกเลือดที่ปรากฎให้เห็น การถามว่าทำไมและมันเกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น มันมีสองประการ คือ สมมติว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีเหตุมีที่มา และวิถีทางที่ดำเนินไป. การที่จะบอกว่าสิ่งที่เป็นอนันต์ได้กลายเป็นสิ่งที่มีขีดจำกัด หรือเป็นการแสดงออกมาเองนั้นมีขีดจำกัด คือมุมมองที่ไร้สาระยิ่ง. สิ่งที่มีขีดจำกัดไม่สามารถแสดงหรือประกาศตนว่าไม่มีขีดจำกัดได้. ขณะที่ผู้ที่ไม่มีขีดจำกัดประกาศตนว่าเขาไม่มีขีดจำกัดแล้วไซร้ เขาก็จะกลายเป็นผู้มีขีดจำกัดไป. การที่กล่าวว่ามีความเสื่อมโทรมอย่างแท้จริง หรือถล่ำเข้าไปสู่สิ่งที่ประจักษ์นั้น คือข้อขัดแย้งถึงความสมบูรณ์ในตัวมันเอง. ไม่มีการล่วงถล่ำเข้าไปสู่ความเป็นอยู่ที่สมบูรณ์แบบได้. ไม่มีความมืดมิดใดที่จะอาศัยอยู่ในแสงที่สมบูรณ์แบบได้. เราไม่สามารถยอมรับได้ว่าพระผู้สูงส่งนั้น ผู้ซึ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลง ได้ถูกจำกัดด้วยความเปลี่ยนแปลง. การเปลี่ยนแปลงก็คือความปรารถนาหรือรู้สึกถึงความต้องการ และมันแสดงให้เห็นว่ามันขาดความสมบูรณ์แบบ. สิ่งที่แน่นอนไม่สามารถกลายเป็นวัตถุแห่งความรู้ได้ เพราะสิ่งที่เรารู้ดีนั้นมีข้อจำกัดและสัมพันธ์กัน. จิตใจอันมีขีดจำกัดของเรานั้น ไม่สามารถก้าวข้ามขอบเขตของเวลา ช่องว่าง และเหตุปัจจัย หรือสิ่งที่เราไม่สามารถอธิบายได้ เพราะทุกครั้งที่พยายามอธิบายก็เป็นการสันนิษฐานนั่นเอง. ด้วยความคิด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโลกสัมพัทธ์ เราก็ไม่สามารถรู้จักตัวตนที่แท้จริงได้. ประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์ของเรา ก็คือการฝันในขณะที่ตื่นอยู่. วิทยาศาสตร์และตรรกะก็เป็นส่วนหนึ่งของมันและเป็นผลผลิตของมันด้วย. ความล้มเหลวของอภิปรัชญานี้จะไม่เป็นเรื่องที่ต้องร้องไห้หรือถูกหัวเราะเยาะ หรือไม่ได้รับการยกย่องหรือไม่ถูกตำหนิ แต่ก็เป็นที่เข้าใจกัน. ด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนที่เกิดจากความเข้มแข็งทางปัญญาของทั้ง เพลโต หรือ นาครชุน ค้านท์ หรือ ศังกราจารย์ ได้ประกาศก้องว่าความคิดของพวกเรานั้นเกี่ยวข้องกัน และไม่มีส่วนร่วมใด ๆ กับสิ่งสัมบูรณ์ที่แน่นอน.

       แม้จะไม่รู้ถึงสิ่งมีชีวิตสมบูรณ์ในวิถีแห่งตรรกะก็ตาม มันก็ยังตระหนักได้ว่าทุกคนที่ขมึงเครียดที่รู้ถึงความจริงแท้ ในขณะ-
.
.
35
-ที่ความจริงที่เราโป้ปด เคลื่อนไหว และมีอยู่ในเรา. เพียงผ่านมันเท่านั้นก็จะรู้อะไรอีก. นี่คือพยานอันนิรันดร์ขององค์ความรู้ทั้งหมด. เหล่าผู้ที่เชื่อว่าไม่มีปัจจัยที่เป็นคู่ (ไม่เป็นคู่นิยม) ยืนยันว่าทฤษฎีของเขาตั้งอยู่บนพื้นฐานด้านตรรกะของข้อเท็จจริง. ตัวตนนั้นเป็นความจริงที่ล้ำลึกที่สุด รู้สึกได้โดยทุกคน เนื่องจากเป็นตัวตนของสิ่งที่รู้และไม่รู้เช่นกัน และไม่มีผู้ที่รู้จะรู้ได้นอกจากตัวมันเอง. มันคือความจริงแท้และความเป็นนิรันดร์ และไม่มีสิ่งใดอยู่เคียงข้าง. สำหรับการแตกแขนงอันประจักษ์นั้นมันมีอยู่ ผู้ที่เชื่อว่าไม่มีปัจจัยที่เป็นคู่ กล่าวว่าพวกเขาอยู่ที่นั่น และนี่เป็นจุดจบของมัน. เราไม่รู้และไม่สามารถรู้ได้ว่าทำไม มันเป็นข้อขัดแย้งทั้งหมดและยังเป็นความจริง. นี่คือจุดยืนทางปรัชญาของอทไวตะหรือไม่เป็นคู่นิยม ที่ยึดมั่นโดย เคาฑปาทะและศังกราจารย์.
คุรุ เคาฑปาทะ อาจารย, ที่มา: vanamalaarts.org, วันที่เข้าถึง: 25 เมษายน 2564.
.
       มี อทไวติน (เหล่าผู้ที่เชื่อว่าไม่มีปัจจัยที่เป็นคู่) ที่ไม่พอใจกับมุมมองนี้ และรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องไม่ดีนักที่จะปกปิดความสับสนของของเราด้วยการใช้คำว่ามายาพวกเขาพยายามให้เรื่องเป็นในเชิงบวกมากขึ้น เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความสมบูรณ์แท้แน่นอนที่ปราศจากการปฏิเสธใด ๆ กับความจริงที่ไม่เปลี่ยนรูป สามารถรู้สึกได้ในส่วนลึกของประสบการณ์และโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงและการกลาย. เพื่อรักษาความสมบูรณ์ของความจริงแท้หนึ่งเดียวนี้ไว้ เราจึงจำเป็นต้องกล่าวว่าโลกแห่งการกลายนี้ ไม่ได้เกิดจากการเพิ่มองค์ประกอบใด ๆ จากภายนอก เนื่องจากภายนอกนั้นไร้สิ่งใด ๆ . มันเป็นไปได้โดยการลดลงเท่านั้น บางอย่างที่เป็นลบเหมือนประเด็นสาระของการไม่เป็นอยู่แห่งอริสโตเติลของเพลโต ถือได้ว่าเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง. ด้วยการใช้หลักการเชิงลบนี้ ดูเหมือนว่าการไม่เปลี่ยนรูปจะกระจายออกไปในหลาย ๆ การเคลื่อนไหว. ลำแสงที่เปล่งออกมาจะพระอาทิตย์ ซึ่งกระนั้นก็ไม่มีลำแสงเหล่านี้. มายาเป็นชื่อของหลักการเชิงลบที่ปล่อยให้ความเป็นสากลหลุดกลายออกไป เหตุนี้จึงเป็นการสร้างความปั่นป่วนไม่รู้จบและความไม่สงบตลอดกาล. การไหลของจักรวาลเกิดจากการย่อยสลายที่แจ่มชัดของการไม่เปลี่ยนรูป. ความจริงแสดงถึงสิ่งที่เป็นบวกทั้งหมดในการกลาย. สิ่งต่าง ๆ ของโลกเคยต่อสู้เพื่อกอบกู้ความเป็นจริง ได้เติมเต็มสิ่งที่ขาดอยู่ เพื่อสลัดความเป็นตัวของตัวเองและความแยกจากกัน แต่ก็ถูกขวางไม่ให้ทำเช่นนั้นโดยความว่างเปล่าภายใน มายาเชิงลบได้ก่อร่างสถาปนาตนขึ้นในช่วงเวลาระหว่างสิ่งที่พวกเขาเป็นและสิ่งที่พวกเขาควรจะเป็น. หากเรากำจัดมายาลงเสีย ระงับแนวโน้มที่จะเป็นคู่กัน ยกเลิกช่วงเวลา เติมเต็มส่วนที่ขาด และปล่อยให้ความวุ่นวายได้ผ่อนคลาย ช่องว่าง เวลา และการเปลี่ยน จะกลับมาเข้ายัง-
.
.
36
-ชีวิตที่บริสุทธิ์. ตราบใดที่ความไม่เพียงพอดั้งเดิมของมายายังคงมีอยู่ สิ่งต่าง ๆ ก็ถูกประณามตำหนิว่าดำรงอยู่ในโลกแห่งช่องว่าง-เวลา-เหตุปัจจัย. มายาไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น. มันอยู่มาก่อนภูมิปัญญาของเรา และเราก็เป็นอิสระจากมัน. แท้จริงแล้วมันเป็นเครื่องกำเนิดสิ่งต่าง ๆ ภูมิปัญญาต่าง ๆ ศักยภาพอันยิ่งใหญ่ของโลกทั้งใบ. บางครั้งเราเรียกมันว่าปรกฤติ. การเปลี่ยนแปลงของการสร้างและการสลายผุพังนั้น เป็นวิวัฒนาการของจักรวาลที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ  ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นพื้นฐานของการขาดดุลยภาพซึ่งโลกได้ประกอบตัวขึ้นมา. โลกแห่งการกลายคือการหยุดชะงักของการดำรงอยู่. มายาเป็นภาพสะท้อนของความจริงแท้. กระบวนการทางโลกไม่ได้แปลว่าชีวิตที่เปลี่ยนรูปไม่ได้มากนักเหมือนการผกผันของมัน. แต่โลกแห่งมายาก็ไม่สามารถดำรงอยู่ เว้นเสียแต่ชีวิตที่บริสุทธิ์. จะไม่มีการเคลื่อนไหวใด ๆ  หากไม่มีการเปลี่ยนรูป เนื่องจากความเคลื่อนไหวเป็นเพียงการย่อยสลายของสิ่งที่ไม่เปลี่ยนรูป. ความจริงแท้ของการเคลื่อนที่แบบสากลนั้น ก็คือชีวิตที่ไม่สามารถเคลื่อนตัวได้.

       ในขณะที่ชีวิตพ้นจากการมีชีวิตนั้น และแล้วอวิชาหรือความเขลาก็ตัดขาดจากวิชาหรือองค์ความรู้. หากต้องการรู้ความจริง เพื่อเข้าใจถึงความจริงแท้ เราต้องขจัดอวิชาและแม่พิมพ์แห่งภูมิปัญญาออกไปเสีย ซึ่งแม่พิมพ์ทั้งหมดนี้ได้แตกกระจายไป ในขณะที่เราพยายามบังคับให้ความเป็นจริงเข้ากับตัวแบบแม่พิมพ์ให้ได้. นี่ไม่ใช่ข้อแก้ตัวสำหรับความเบื่อหน่ายทางความคิด. ปรัชญาเป็นตรรกะในมุมมองเช่นนี้นั้น ได้ชักชวนให้เรายกเลิกกิจกรรมของแนวคิดทางภูมิปัญญา ซึ่งสัมพันธ์กับความจำเป็นต่าง ๆ ในทางปฏิบัติและโลกแห่งการกลายการแปรเปลี่ยน.
 ปรัชญาได้บอกเราว่า ตราบใดที่เราถูกผูกมัดด้วยภูมิปัญญาและติดหลงอยู่ในโลกท่ามกลางเหล่าผู้คนแล้วไซร้ กลายเป็นว่าเราก็จะพยายามกลับไปสู่ความง่าย ๆ ดาษดื่น (วนอยู่ในสังสารวัฏ) ของโลกอย่างไร้ประโยชน์. หากเราถามเหตุผลว่าทำไมจึงมีอวิชาหรือมายา ซึ่งนำมาสู่การล่มสลายจากวิชาหรือจากการเป็นอยู่ คำถามนี้ไม่สามารถตอบได้. ปรัชญาในฐานะที่เป็นตรรกะซึ่งมีหน้าที่ในเชิงลบในการเปิดเผยความไม่เพียงพอของหมวดหมู่แห่งภูมิปัญญาทั้งหมด โดยชี้ให้เห็นว่าวัตถุต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโลกนั้นมีความสัมพันธ์กับจิตใจที่คิดว่าวัตถุต่าง ๆ เหล่านี้ และได้ครอบครองถึงการไม่มีอยู่อย่างอิสระ. มันไม่สามารถบอกอะไรเราได้แน่ชัดเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่เปลี่ยนรูปที่กล่าวว่ามีอยู่จริง นอกเหนือจากสิ่งเกิดขึ้นแล้วในโลกหรือเกี่ยวกับมายา โดยเราต้องให้ความเชื่อถือว่ามันเป็นผลิตกรรมของโลก. มันไม่สามารถช่วยให้เราบรรลุถึงความเป็นจริงได้โดยตรง. หากมองในแง่อื่นแล้ว มันบอกเราว่าการจะวัดความจริงได้นั้น เราจำต้องบิดเบือนมัน. บางทีอาจตอบสนองถึงประโยชน์ที่ได้รับของความจริงเมื่อมีการยืนยันอย่างอิสระ. เราสามารถคิดออกได้
.
.
37
ปกป้องมันอย่างมีเหตุผลและช่วยเผยแพร่ออกไป. ผู้ที่สนับสนุนเอกนิยมบริสุทธิ์ (ความเชื่อที่ว่ามีเพียงปัจจัย) รับรู้ถึงพลังที่สูงส่งกว่าภูมิปัญญาอันเป็นนามธรรม ซึ่งทำให้เรารู้สึกถึงแรงผลักดันของความเป็นจริง. เราต้องจมดิ่งอยู่ในจิตสำนึกสากลและทำให้ตัวเองอยู่ร่วมกับทุกสรรพสิ่งที่เป็นอยู่. จากนั้นเราก็ไม่ได้คิดว่าเป็นความจริงมากนักในขณะที่มีชีวิตอยู่ ไม่มากนักที่จะรู้ว่ากลายเป็นมัน. เฉกเช่นชาวเอกนิยมสุดโต่ง ด้วยความแตกต่างของตรรกะและปรีชาญาณ ความจริงแท้และโลกแห่งการดำรงอยู่ ที่เราพบในอุปนิษัท นาคารชุน และศังกราจารย์ในอารมณ์เชิงปรัชญาสุดล้ำ ศรีหรษะ และเหล่าอทไวตะ เวทานติน เสียงสะท้อนนี้ได้ยินก้องไปถึงพาร์เมนิดีส และเพลโต สปิโนซา และโพลทายเนิส แบรดลีย์ และแบร์กซอน (Henri Bergson – นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม ในปี พ.ศ.2470โดยไม่จำต้องกล่าวถึงเรื่องลี้ลับทางตะวันตก.1

       ไม่ว่าสิ่งมีชีวิตนั้นจะบริสุทธิ์และเรียบง่ายเพียงใด ก็อาจจะเป็นไปตามสัญชาตญาณ ตามภูมิปัญญา ซึ่งก็ไม่มีอะไรมากหรือน้อยไปกว่าสาระสังเขปที่แน่แท้.
 ซึ่งมันควรจะดำเนินต่อไป แม้เมื่อทุกความจริงและรูปแบบแห่งการดำรงอยู่ได้เลิกร้างแล้ว. มันเป็นสิ่งตกค้างที่ทิ้งไว้เบื้องหลัง เมื่อนามธรรมสาระสังเขปได้ถูกสร้างขึ้นจากโลกทั้งใบ. ในความคิดของมนุษย์แล้ว มันเป็นแบบฝึกหัดที่ยากที่จะคิดถึงทะเล และโลก สิ่งรวบยอดทั้งหมดและหมู่ดาว อวกาศและเวลา มนุษย์ และพระเจ้า. เมื่อมีความพยายามที่จะล้มเลิกทั้งจักรวาล ทำให้การมีอยู่ทั้งหมดทอดกระจายออกไป ดูเหมือนจะไม่มีอะไรเหลืออยู่สำหรับความคิด. ความคิด ข้อจำกัดและความสัมพันธ์ จักได้พบกับความสิ้นหวังอย่างที่สุดว่า ไม่มีอะไรเลยเมื่อทุกสิ่งที่มีอยู่ถูกยกเลิกไป. สำหรับจิตใจที่มีแนวคิดจุดยืนกลางแห่งสัญชาตญาณนั้น “เพียงแค่การมีชีวิตอยู่” หมายความว่าไม่มีอะไรเลย. ตามที่เฮเกิลได้กล่าวถึงความคิดไว้ มันสามารถทำงานได้กับความจริงต่าง ๆ ที่กำหนด คือสิ่งที่เป็นรูปธรรม.ในทางกลับกัน การยืนยันทั้งหมดก็หมายถึงการปฏิเสธ. สิ่งที่เป็นรูปธรรมมั่นคงก็จะมีการกลาย ผนวกกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ทั้งบวกและลบ. ดังนั้นผู้ที่ไม่พึงใจกับชีวิตที่หยั่งรู้ และปรารถนาที่จะมีการสังเคราะห์อันบรรลุได้ด้วยความคิดซึ่งมีสัญชาตญาณตามธรรมชาติสำหรับรูปธรรมที่มั่นคง จึงถูกดึงดูดเข้าสู่ระบบอุดมคติเชิงภววิสัย (อุดมคติที่มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริง). นักอุดมคตินิยมที่เน้นความเป็นรูปธรรมพยายามรวบรวมแนวคิดทั้งสองของการดำรงอยู่อันบริสุทธิ์
---------------
1  ในปรัชญาสางขยะนั้น เรามีเรื่องราวเดียวกันกับโลกแห่งประสบการณ์ ซึ่งก็ไม่ได้ทำให้เราเป็นพยานในความบริสุทธิ์แม้แต่น้อย. มีเพียงแต่อคติแบบพหุนิยมซึ่งไม่มีพื้นฐานทางตรรกะที่จะยืนยันตน และเรามีจิตวิญญาณมากมาย. เมื่อความเป็นพหุนิยมล่มสลายเช่นเดียวกับสัมผัสแรกแห่งตรรกะ ทฤษฎีด้านสางขยะก็กลายเป็นสิ่งที่เหมือนกับเอกนิยมอันบริสุทธิ์ที่ร่างไว้ ณ ที่นี้.
.
.
38
และกลายเป็นสิ่งสังเคราะห์เดี่ยว ๆ จากพระผู้เป็นเจ้า. แม้แต่ชาวเอกนิยม (เชื่อว่ามีเพียงปัจจัยเท่านั้น) ที่คลั่งไคล้สุดขีดก็ยังยอมรับว่าการกลายนั้น ขึ้นอยู่กับชีวิต แม้ว่าจะไม่ใช่ในทางกลับกันก็ตาม. ตอนนี้เราได้รับการหักเหที่แน่นอนแบบหนึ่ง พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงมีในตัวของพระองค์เองถึงความเป็นไปได้ของโลก นำรวมธรรมชาติของพระองค์เข้าสู่แก่นแท้ของสาระสำคัญแห่งทุกชีวิต เช่นเดียวกันของการกลาย การเป็นเอกภาพและความมากมาย ความไม่มีขีดจำกัด และความจำกัด. ขณะนี้ชีวิตได้กลายเป็นอัตวิสัยหรืออัตตา เปลี่ยนตนเองสู่วัตถุแล้วเอาคืนกลับไปเป็นอัตวิสัย เปลี่ยนรูปตนเอง. ตำแหน่ง การต่อต้าน และองค์ประกอบ ที่ใช้ในสำนวนแบบพวกนิยมเฮเกิล (เฮเกเลียน) ได้ดำเนินต่อไปยังกระบวนการหมุนเวียนชั่วนิรันดร์ (วัฏสงสาร). เฮเกลเข้าใจอย่างถูกต้องว่าเงื่อนไขต่าง ๆ ของโลกนี้เป็นทั้งอัตวิสัยและภววิสัย. เป็นสิ่งตรงข้ามกันและหลอมรวมอยู่ในสรรพสิ่งที่เป็นรูปธรรมทุกชิ้น. พระผู้เป็นเจ้าอันยิ่งใหญ่ได้แสดงตนเป็นสองตัวละครที่มีบทบาทปรปักษ์กัน ไม่เพียงแสดงบทผ่านอีกตัวหนึ่ง แต่ก็เป็นอีกตัวหนึ่ง. เมื่อพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงพลวัตได้ผูกมัดพระองค์ไว้กับวงล้อที่หมุนไปชั่วนิรันดร์ซึ่งพระองค์ได้ยืนกรานเช่นนี้ ระดับการดำรงอยู่ทั้งหมด ตั้งแต่ความสมบูรณ์แบบอันศักดิ์สิทธิ์ไปจนถึงฝุ่นธุลีอันชั่วร้าย ได้ถูกรับรู้โดยอัตโนมัติ. การยืนยันของพระผู้เป็นเจ้านั้นเป็นการยืนยันทุกมุมองศาของความจริงแท้ ท่ามกลางระหว่างมัน (การยืนยัน) นั้น ไม่มีอะไรเลย. ตอนนี้เรามีจักรวาลแห่งความคิดที่สร้างขึ้นมาจากความคิด การตอบกลับยังความคิดและดำรงอยู่โดยความคิด ซึ่งภววิสัยและอัตวิสัยต่างถูกดูดกลืนในช่วงเวลานั้นเอง. ความสัมพันธ์ของช่องว่าง เวลา และเหตุปัจจัย หาใช่เป็นรูปแบบอัตวิสัยใด ๆ ไม่ แต่เป็นหลักการสากลแห่งความคิด. หากพิจารณาในมุมมองของผู้เป็นเอกนิยมบริสุทธิ์แล้ว เราไม่สามารถเข้าใจความสัมพันธ์ที่แน่นอนระหว่างอัตลักษณ์และความแตกต่างได้ เราอยู่บนพื้นฐานที่ผนึกแน่นกว่า. โลกที่มีอัตลักษณ์ได้กลายเป็นความแตกต่างเสียแล้ว. ไม่มีสิ่งใดที่จะโดดเดี่ยวจากสิ่งอื่น ๆ. พระผู้เป็นเจ้าผนึกอยู่ในพื้นฐานข้างใน ฐานแห่งอัตลักษณ์ โลกคือการประกาศก้องสู่ภายนอก การแสดงออกสู่ภายนอกนั้น แสดงให้เห็นถึงความประหม่า.

       พระผู้เป็นเจ้าตามทฤษฎีของเอกนิยมอันบริสุทธิ์นั้น เป็นเพียงการล่วงเลยจากความสมบูรณ์ โดยมีช่วงเวลาที่เป็นไปได้น้อยที่สุดที่ได้แยกเขา (ผู้ศรัทธา) ออกจากชีวิตอันบริสุทธิ์หรือความแน่นอน.
 นี่เป็นผลผลิตของอวิชาโดยขอบเขตที่เป็นไปได้น้อยที่สุด. หากจะกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า พระผู้เป็นเจ้าอันมีรูปธรรมสูงส่งนั้น เป็นผลผลิตอันสูงส่งของภูมิปัญญาเรา. เป็นที่น่าเสียดายว่าพระองค์ทรงเป็นผลผลิตและภูมิปัญญาของเรา มีความใกล้เคียงกับการเป็นวิชา แต่ก็ไม่ใช่วิชา. พระผู้เป็นเจ้านั้นมีชีวิตขั้นสูงสุดและทรงธำรงอยู่ในขั้นต่ำของความ
 
ศรีรามานุชาจารย (Sri Ramanujacharya), เป็นผู้นำปรัชญา "วิศิษฎาทไวตะ" (pioneer of Viśiṣṭādvaita Vedanta) และเป็นผู้นำที่สำคัญของลัทธิศรีไวษณพ สัมประไดย (and the foremost Jeeyar of Sri Vaishnava Sampradaya), ที่มา: en.wikipedia.org/wiki/Ramanuja, วันที่สืบค้น 06 พ.ค.2560.
.
.
39
ไม่สมบูรณ์-พระองค์ยังคงไม่สมบูรณ์. สัมผัสแรกของมายา การลดลงเล็กน้อยที่สุดของชีวิตที่สมบูรณ์นั้น เพียงพอที่จะขว้างมันไปในอวกาศและเวลา แม้ว่าอวกาศและเวลานั้นดูจะใกล้เคียงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้สำหรับการไร้ขอบเขตอย่างสมบูรณ์และความเป็นนิรันดร์. ผู้ทรงสมบูรณ์ได้ปรับเปลี่ยนไปสู่พระเจ้าผู้สร้างซึ่งมีอยู่จริงในบางพื้นที่หรือช่องว่าง ได้เคลื่อนย้ายสรรพสิ่งทั้งหลายจากภายใน โดยไม่จำต้องตื่นเต้นกับที่ที่พระองค์ประทับสถิตพระผู้เป็นเจ้าได้ทรงคัดค้านอย่างแท้จริงในฐานะที่เป็นบางสิ่งบางแห่ง ดวงวิญญาณได้ผลักดันตนเองเข้าสู่ทุกสรรพสิ่ง. พระองค์เป็นทั้งชีวิตและไม่ใช่ชีวิต พราหมณ์-มายา อัตวิสัย-ภววิสัย พลังนิรันดร์ ผู้เคลื่อนโดยไม่ได้เคลื่อนไหวใด ๆ ของอริสโตเติล ดวงวิญญาณสมบูรณ์ของเฮเกล วิศิษฎาทไวตะ เวทานตะ (สมบูรณ์-สัมพันธ์กัน) ของศรีรามานุชาจารย และปัจฉิมเหตุปัจจัยของการเพิ่มพละกำลังของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งไม่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด. เป็นธรรมชาติอันสำคัญยิ่งที่จะต้องเผชิญกับความไม่สงบ.

       ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่านี่เป็นแนวคิดขั้นสูงสุด ที่ความคิด (ของปุถุชนทั่วไป) สามารถเข้าถึงได้. หากเราติดตามไปจนจบของการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติแห่งภูมิปัญญาของเรา ในอันที่จะพยายามผนวกรวมสิ่งต่าง ๆ ของโลกและสังเคราะห์สิ่งที่ตรงข้ามแล้วไซร้ หลักการของคำอธิบายซึ่งมิได้เป็นทั้งชีวิตบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ แต่เป็นการรวมทั้งสองเข้าด้วยกัน นั่นคือสิ่งที่เราได้
แนวคิดนี้ถูกสร้างขึ้นโดยการบีบอัดทุกสรรพสิ่งเข้าสู่องค์รวม. ปรัชญาในมุมมองนี้มีลักษณะที่สร้างสรรค์ และมีธรรมชาติที่เป็นบวกและสังเคราะห์ในหน้าที่งานของมันเอง. แม้ในที่นี้ความเข้าใจเชิงตรรกะที่เล่นกับนามธรรม ก็ยังปิดกั้นเราจากสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่เป็นนามธรรมเพียงอย่างเดียวที่ยังโลดแล่นเคลื่อนไหว และมีชีวิตอยู่. ความคิดที่ว่าเป็นเหตุเป็นผลนั้นประสบความยากลำบากในการทำความเข้าใจเชิงตรรกะ. เริ่มต้นจากโลกแห่งประสบการณ์ เราได้ก้าวไปสู่หลักการสูงสุดของพระผู้เป็นเจ้า และจากแนวคิดของทั้งองค์รวม เราจึงลงลึกในรายละเอียดและทบทวนสิ่งต่าง ๆ . ความดื้อรั้นเชิงตรรกะทั้งหมด ซึ่งเชื่อมั่นในพลังแห่งความคิดนั้น สิ้นสุดลงด้วยแนวคิดของโลกนี้. ความยุ่งยากจักบังเกิดขึ้นหากเราสงสัยในความคิดที่สมบูรณ์แน่นอน บางทีความรู้ของเราอาจจะไม่สัมพันธ์กับข้อกำหนดของจิตใจที่เป็นทั้งรวมและแบ่งแยกกันหรือเปล่า. บางทีสำหรับจิตใจที่มีรูปร่างแตกต่างกัน (ความคิดไม่เหมือนกัน) ความรู้อาจแตกต่างไปจากสิ่งที่มันเป็นอยู่. องค์ความรู้ในปัจจุบันขณะของเรา ทำให้เราคิดว่าความรู้ทั้งหมดอาจเป็นประเภทนี้ดังนี้ แต่ครั้นเมื่อมีผู้วิพากษ์วิจารณ์โต้แย้งยืนยันขึ้นมาบ้าง
.
.
40
ก็เป็นการยากที่จะคงตำแหน่งจุดยืนความคิดเดิมไว้ได้. ก็ต้องยอมรับว่าแผนแนวคิดของความจริงแท้ที่เผยความคิดนั้นถูกต้อง แต่กระนั้นบางครั้งก็มีการกระตุ้นเตือน ความคิดไม่ได้เหมือนกับความจริงแท้. โดยการบีบอัดแนวคิดทั้งหมดให้รวมเป็นหนึ่งเดียว เราก็ไปได้ไม่ไกลไปกว่าแนวคิดเหล่านี้. ความสัมพันธ์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของจิตใจที่เกี่ยวข้องกัน. แม้แต่จิตใจที่เหนือกว่าอันประมาณมิได้นั้น ก็ยังเป็นเพียงจิตใจและเป็นกลุ่มกองเดียวกันกับ (จิตใจของเหล่า) มนุษย์. ทฤษฎีเอกนิยมที่ดัดแปลงแล้วนั้นได้รับเอาบางส่วนของอุปนิษัท และภควัทคีตา เหล่าสาวกของพระพุทธศาสนาบางรูป และรามานุชาจารย หากมิใช่ปราชญ์พาทรายณะ {ปราชญ์อินเดียที่มีชีวิต (ประมาณไว้กว้าง ๆ ) ระหว่าง 500-200 ปีก่อนคริสตกาล ท่านเขียนงานด้านพรหมสูตร ที่ต่อมางานของท่านเรียกว่า เวทานตะสูตร – มีนักวิชาการบางท่านกล่าวว่า แต่งานส่วนสำคัญในพรหมสูตรนั้น ได้พัฒนาไว้แล้ว ก่อนที่ปราชญ์พาทรายณะจะเขียนขึ้นต่อเติมภายหลัง อย่างไรก็ตามปราชญ์พาทรายณะ ก็ได้รับการนับถือว่าได้เขียนงานพื้นฐานของระบบเวทานตะไว้} แล้วไซร้. ในโลกตะวันตก อริสโตเติลและเฮเกลก็จะดูโดดเด่นเป็นหลักฐานประจักษ์ในแนวคิดนี้ขึ้นมาทันที.

       ด้วยมุมมองแรกนั้น ชีวิตที่สมบูรณ์นั้นมีอยู่จริง แม้ว่าการกลายสิ่งที่ไม่จริงเป็นเรื่องที่ทำขึ้นมาจริง ๆ ก็ตาม ซึ่งเราไม่รู้เหตุผล. ด้วยมุมมองที่สอง โลกกำลังจะมีการตกตะกอน (ซึ่งเห็นได้ชัด) ของชีวิตที่บริสุทธิ์ไปสู่ช่องว่างและเวลา ด้วยแรงของการพร่องหรือมายา.
 ตามด้วยมุมมองที่สาม ผลผลิตอันสูงส่งที่เรามีคือการสังเคราะห์ของชีวิตบริสุทธิ์และสิ่งที่ไม่มีชีวิตในพระผู้เป็นเจ้า. เราอยู่ภายใต้ความจำเป็นทางตรรกะในทันที เพื่อจะยืนยันถึงความจริงแท้ทั้งหมดในระดับกลาง ๆ . หากชีวิตที่บริสุทธิ์ถูกมองว่าเป็นแนวคิดที่ไร้ประโยชน์ ตราบเท่าที่โลกแห่งประสบการณ์เป็นกังวล และเราก็ยังมองข้ามความคิดที่ไร้เหตุผลของพระผู้เป็นเจ้าผู้สร้างอีกด้วย สิ่งที่มีอยู่ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าเพียงการกลายการแปรเปลี่ยน เป็นเพียงความปรารถนาที่จะเป็นอย่างอื่นกว่าที่เป็นอยู่เท่านั้น. หลักธรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนาได้ส่งผล. ในโลกแห่งการดำรงอยู่ บนสมมติฐานของเอกนิยมที่ปรับปรุงแล้ว คุณลักษณะเฉพาะของระดับความจริงแท้ขั้นกลางนั้นจะถูกวัดโดยระยะทางที่แยกพวกเขาออกจากความจริงแท้อันสำคัญ. คุณลักษณะพื้น ๆ ของพวกเขาทั้งหมดนั้นมีอยู่ในช่องว่างและเวลา. มนสิการที่น้อมนำใกล้ชิดจะเผยให้เห็นการใช้คุณลักษณะพิเศษที่มากขึ้นเรื่อย ๆ . เมื่อยอมรับความแตกต่างระหว่างความจริงแท้ที่ครุ่นคิดและวัตถุทั่วไปที่คิดไม่ได้แล้วนั้น และเราก็มีปรัชญาคู่หรือทวินิยม {ความจริงแท้ของสรรพสิ่งมี 2 อย่างเป็นของคู่กัน คือเป็นทั้งรูปธรรม (สสาร) และนามธรรม (จิต)} ของมาธวะ. แม้ว่าสิ่งนั้นโดยพื้นฐานแล้วจะเป็นเอกนิยม ตราบเท่าที่
ศรี มาธวะคยาจารย์ (ค.ศ.1238-1317), ที่มา: goloka.com, วันที่เข้าถึง 11 พฤษภาคม 2564.
.
ผู้จริงแท้ ได้ขึ้นอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า (วรตันตระ) ผู้ซึ่งทรงโดดเดี่ยวเป็นอิสระ (สวตันตระ). เน้นถึงความเป็นอิสระของชีวิตที่มีความคิด และเรามีพหุนิยมตามหลักปรัชญาสางขยะ หากเพียงเราไม่กังวลเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงไม่ปรากฏให้เห็น. เมื่อเพิ่มความเป็นส่วนใหญ่หรือความมากมายของสสารต่าง ๆ ในโลกแล้ว เราก็จะมีความเหมือนจริงแบบพหุนิยม แม้ที่ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าได้กลายเป็นหนึ่งเดียว ท่ามกลางสิ่งต่าง ๆ นั้น ไม่ว่าพระองค์จะยิ่งใหญ่หรือทรงพลังก็ตาม. ในการถกเถียงกัน
.
.
41
เกี่ยวกับระดับกลางของความจริงแท้ของหน่วยแห่งความเป็นปัจเจกนั้น ดูเหมือนจะขึ้นอยู่กับจินตนาการของปราชญ์. และแม้ว่าระบบจะกลายเป็นว่าไม่เชื่อว่ามีพระเจ้าหรือเทวนิยมก็ตามนั้น อันได้ถูกกำหนดไว้แล้วโดยการจ่ายชำระอย่างตั้งใจให้แก่สิ่งสมบูรณ์อันเป็นโล่ด้านบทบาทการละครของจักรวาล. บางครั้งมันก็สาดส่องเรืองรองออกมาด้วยแสงที่มุ่งสู่พระผู้เป็นเจ้า และบางครั้งก็อันตรธานไป. นี่คือวิธีต่าง ๆ ที่จิตใจมนุษย์สนองต่อปัญหาของโลกตามระเบียบปฏิบัติที่จัดทำเฉพาะขึ้นเอง.

       ในความคิดของชนอินเดียนั้น มีความกลมเกลียวกันสนิทใจระหว่างพระผู้เป็นเจ้ากับมนุษย์ ในขณะที่ความขัดแย้งระหว่างทั้งสอง มีความชัดเจนมากขึ้นในโลกตะวันตก. มีหลาย ๆ ปกรณัมของชนชาติต่าง ๆ ก็บ่งบอกถึงเรื่องนี้เช่นกัน
ตำนานของโพรมีธีอุส ผู้เป็นตัวแทน ผู้พยายามช่วยเหลือมนุษยชาติโดยปกป้องพวกเขาจากมหาเทพซูส ที่ปรารถนาจะทำลายล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์และแทนที่พวกเขาด้วยสายพันธุ์ใหม่ที่ดีกว่า เรื่องราวของความยากลำบากของเฮอร์คิวลิสที่พยายามจะไถ่โลก ในความคิดของพระคริสต์ในฐานะบุตรของมนุษย์ บ่งชี้ว่ามนุษย์เป็นศูนย์กลางแห่งความสนใจในโลกตะวันตก. เป็นความจริงที่พระคริสต์ได้รับการขนานนามว่าเป็นพระบุตรของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งเป็นบุตรองค์โตที่ถือกำเนิดขึ้นมาซึ่งจะต้องถูกบวงสรวงหรือสังเวยก่อนที่ความโกรธของพระผู้เป็นเจ้าจะสงบลงได้. ประเด็นที่เรา ณ จุดนี้คือแนวโน้มหลัก ของวัฒนธรรมตะวันตกคือความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับพระผู้เป็นเจ้า ที่ซึ่งมนุษย์ต่อต้านมหิทธานุภาพของพระองค์ ขโมยไฟจากพระองค์มาเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ. ในอินเดียนั้น มนุษย์เป็นผลผลิตของพระผู้เป็นเจ้า โลกทั้งใบเกิดจากการเสียสละของพระองค์.ในปุรุษสุกตะ ได้กล่าวถึงการเสียสละชั่วนิรันดร์ ซึ่งค้ำจุนมนุษย์และโลกไว้.1 ในโลกทั้งใบถูกมองว่าเป็นชีวิตเดียวที่มีความกว้างใหญ่ไพศาล และใหญ่โตอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ ซึ่งขับเคลื่อนโดยวิญญาณเพียงดวงเดียว อันได้รวมสารัตถะของชีวิตทุกรูปแบบไว้.

       คุณลักษณะเด่นของจิตใจชนอินเดีย ซึ่งทำให้วัฒนธรรมของตนมีสีสันและหล่อหลอมความคิดไว้ทั้งหมดนั่นคือความโน้มเอียงทางจิตวิญญาณ. ประสบการณ์ทางจิตวิญญาณเป็นรากฐานของความรุ่มรวยทางประวัติศาสตร์ด้านวัฒนธรรมของอินเดีย. มันเป็นเวทย์มนต์ ไม่ใช่ในแง่ของการใช้อำนาจลึกลับใด ๆ แต่เป็นเพียงการยืนยันในวินัยตามธรรมชาติของมนุษย์เท่านั้นที่นำไปสู่การตระหนักถึงจิตวิญญาณ. ในขณะที่พระคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮีบรูและชาวคริสต์นั้นเป็นมากกว่าศาสนาและจริยธรรม ทว่าชาวฮินดูนั้นเป็นมากกว่าซึ่งจิตวิญญาณและ
---------------

1 ฤคเวท บรรพที่ 10. อัธยายะที่ 90; ดู ฤคเวท, บรรพที่ 10. อัธยายะที่ 81, 3 ; เศวตอัศวทระ อุปนิษัท, บรรพที่ 3; ภ.ต., บรรพที่ 11.
.
.
42
ซึ่งใคร่ครวญ. ข้อเท็จจริงประการหนึ่งในอินเดียคือการมีชีวิตอันนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้า.
.
.
.


 
humanexcellence.thailand@gmail.com