ภาพพระฤๅษีพราหมณ์-ฮินดูในไนมิษารัณย์, พัฒนาไว้เมื่อ 13 กรกฎาคม 2567.
01.101 อนุกรมณิกา บรรพ
First revision: Jul.12, 2024
Last change: Nov.24, 2024
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง แปล และปริวรรตโดย อภิรักษ์ กาญจนคงคา.
1.
หน้าที่ 1
อนุกรมณิกา หรืออนุกรมณี (अनुक्रमणिका - Anukramaṇikā) หมายถึง ดัชนี บริเฉทสาระสำคัญต่าง ๆ ของมหาภารตยุทธ, A list of content, an index, มี 1 อัธยายะ (अध्याय - adhyāya - บท) มี 210 โศลก เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นการเพิ่มเติมในภายหลัง โดยจะกำหนดความเป็นมาของการบรรยายเรื่องและสรุปเหตุการณ์หลัก ๆ .
อัธยายะที่ 1
โอม! ขอวันทาต่อพระนารายณ์และพระนร01. ซึ่งเป็นเทพบุตรผู้สูงศักดิ์และวันทาต่อพระแม่สรัสวตี02 แล้ว จึงต้องเอ่ยคำว่า ชยะ03ออกมา.
อุกรศรวะ04. บุตรโลมหรรษณะ05.และเป็นบุตรแห่งสูตะ06. ผู้ชำนาญคัมภีร์ปุราณะ07. มักเป็นที่รู้จักในนามซัลติ08. ก้มกราบด้วยความนอบน้อม, วันหนึ่ง อุกรศรวะได้เข้าไปหาปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งมีนามว่า กุลปติ09. ผู้ถือศีลอย่างเคร่งครัดนั่งอย่างสบาย ๆ ซึ่งได้เข้าร่วมพิธีบูชายัญสิบสองปีของเซานกะ10. บำเพ็ญพรตในป่าไนมิษา11. ซึ่งเหล่านักพรตซึ่งศิษยานุศิษย์ที่รายล้อมต่างประสงค์ที่จะสดับเรื่องราวอันอัศจรรย์จากอุกรศรวะ, เมื่อได้รับการต้อนรับจากเหล่านักพรตเหล่านั้นแล้ว ท่านยกมือรับไหว้ และได้สอบถามถึงความก้าวหน้าแห่งการเจริญบำเพ็ญเพียรของบรรดานักพรตเหล่านั้น.
ครั้นแล้วเหล่านักพรตกลับมานั่งลงอีกครั้ง บุตรของโลมหษณะก็นั่ง ณ ที่ที่เขาได้จัดไว้ให้แล้วด้วยความเคารพอย่างถ่อมตนถ่อมใจ เมื่อเห็นว่าอุกรศรวะได้นั่งสบายคลายจากความเหนื่อยล้าแล้ว, ฤๅษีตนหนึ่งจึงเริ่มสนทนาถามท่านว่า "โอ้ เจ้าซัลตินัยน์ตาดอกบัวเอ๋ย เจ้ามาจากไหนฤๅ บอกฉัน ใคร่ขอถามเจ้าโดยละเอียด และท่านใช้เวลาไปอยู่ที่ไหนมา."
เมื่อพูดจบแล้ว ซัลติก็ตอบคำถามนี้อย่างครบถ้วนและถูกต้องท่ามกลางมุนีผู้ครุ่นคิดจำนวนมาก โดยใช้คำพูดที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของพวกเขา.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. พระนารายณ์และพระนร (नारायण และ नर - Nārāyaṇa และ Nara) - เป็นคู่เทพในศาสนาฮินดู นร-นารายณ์เป็นอวตารพี่น้องชายฝาแฝดของพระวิษณุเทพผู้พิทักษ์บนโลก ซึ่งทำงานเพื่อรักษาธรรมะหรือความชอบธรรม ในแนวคิดเรื่องนร-นารายณ์ วิญญาณมนุษย์ นรคือสหายชั่วนิรันดร์ของพระนารายณ์อันศักดิ์สิทธิ์ บางคัมภีร์กล่าวว่าพระนารายณ์หรือพระวิษณุอวตารมาเป็นพระกฤษณะ พระนรอวตารมาเป็นพระอรชุน.
02. พระแม่สรัสวตี (सरस्वती - Sarasvatī) - ทรงเป็นเทพีแห่งความรู้ ดนตรี น้ำไหล ความอุดมสมบูรณ์และความมั่งคั่ง ศิลปะ คำพูด ภูมิปัญญา และการเรียนรู้ของชาวฮินดู พระนางเป็นหนึ่งในตรีเทวี พร้อมด้วยเทพธิดาลักษมีและปารวตี พระนางเป็นเทพองค์หนึ่งของภารตะ (भरत - Bhārata) ซึ่งได้รับความเคารพนับถือในศาสนาเชนและศาสนาพุทธด้วย การกล่าวถึงพระแม่สรัสวดีที่เก่าแก่ที่สุดที่ทราบกันคือเทพธิดาอยู่ในฤคเวท พระนางยังคงมีความสำคัญในฐานะเทพธิดาตั้งแต่สมัยพระเวทจนถึงยุคปัจจุบัน โดยทั่วไปแล้วพระนางจะมีสี่กร (ซึ่งมีสัญลักษณ์สี่อย่าง ได้แก่ หนังสือ ลูกประคำ หม้อน้ำ และเครื่องดนตรีที่เรียกว่าวีนา (vīṇā - वीणा)).
03. ชยะ หรือ ชัย (जया - Jaya) หมายถึงชัยชนะ และเป็นชื่อของมหาภารตยุทธฉบับดั้งเดิมที่สั้นกว่า. คำเอ่ยอธิษฐานนี้ สามารถตีความได้สองแบบ หนึ่ง) เป็นชัยชนะตามตัวอักษร หรือ สอง) บทบรรยายมหาภารตยุทธ.
04. อุกรศรวะ (उग्रश्रव - Ugraśrava) - บุตรชายของโลมหรรษณะ
05. โลมหรรษณะ (लोमहर्षण - Lomaharṣaṇa) - บ้างก็เรียก โรมหรรษณะ (Romaharṣaṇa) (रोमहर्षण - โลมหรรษณะ Loma = hair, Haryana = thrill = ผมหรือขนตั้ง ผมหรือขนชี้) ท่านเป็นหนึ่งในห้าศิษย์เอกของมหาฤๅษีวฺยาส ท่านเป็นบิดาของอุกรศรวะ. [ห้าศิษย์เอก ประกอบด้วย โลมหรรษณะ {บ้างก็เป็นฤๅษีศุกะ (शुक - Śuka)}, ไพละ (पैल -Paila), ไวศัมปายนะ (वैशंपायन - Vaiśampāyana), ไชยมินิ (जैमिनि - Jaimini), และ สุมันตุ (सुमन्तु- Sumantu)].
06. สูตะ (सूत - Sūta) เป็นบุตรชายที่กำเนิดจากบิดาวรรณะกษัตริย์กับมารดาวรรณะพราหมณ์ ซึ่งกำหนดอาชีพไว้ให้เป็นคนขับรถม้า เทียมม้า มักจะเป็นกวีและมักจะพูดจาหยาบกระด้าง.
07. ปุราณะ (पुराण - Purāṇa) เป็นคัมภีร์โบราณอันศักดิ์สิทธิ์ เรียบเรียงโดย มหาฤๅษีวยฺาส มีจำนวน 18 ปุราณะหลัก ๆ รายละเอียดดูใน คัมภีร์ปุราณะ 1.
08. ซัลติ (सौति - Sauti or Souti) - นักเล่าเรื่องมืออาชีพที่ท่องไปในภารตวรรษ (भारतवर्ष - Bhāratavarṣa) ไปชุมนุมกับปราชญ์ในป่าไนมิษา ซัลติในที่นี้หมายถึงบุตรชายของโลมหรรษณะ ก็คืออุกรศรวะ.
09. กุลปติ (कुलपति - Kulapati) - หัวหน้า, ซึ่งที่นี้หมายถึง นักพรตผู้ซึ่งเลี้ยงดูและสั่งสอนศิษย์ 10,000 คน.
10. เซานกะ (शौनक - Śaunaka) - หัวหน้าของเหล่าบรรดาฤๅษีผู้ยิ่งใหญ่ในป่าไนมิษา.
11. ป่าไนมิษา หรือ ไนมิษารัณย์ (नैमिषारण्य - Naimiṣa or Naimiṣāraṇya) - เป็นป่าโบราณ อยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโกมาติ (Gomati River) ซึ่งเป็นสาขาย่อยของแม่น้ำคงคา รัฐอุตตรประเทศ ภารตะ ในปัจจุบัน.
.
.
หน้าที่ 2
ซัลติกล่าวว่า: 'ราชปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่และเจ้าแผ่นดิน จานาเมจยะ01, โอรสแห่งท้าวปรีกษิต02 ได้จัดให้มีพิธีบวงสรวงงูขึ้น. ณ ที่นั่น ฤๅษีไวศัมปายนะ03 กล่าวท่องเรื่องราวอันมหัศจรรย์และศักดิ์สิทธิ์ที่เรียบเรียงโดยมหาฤๅษีกฤษณะ ไทวปายนะ04. หลังจากได้สดับเรื่องราวอันหลากหลายเกี่ยวกับมหาภารตยุทธแล้ว ข้าฯ ก็เดินทางไปยังสถานที่แสวงบุญและลำน้ำศักดิ์สิทธิ์หลายต่อหลายแห่ง. ในที่สุดข้าฯ ก็มาถึงสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่า สมันตปัญจกะ,05 อันเป็นที่สักการะของผู้ถือกำเนิดสองครั้ง (ทวิชา - द्विजा - Dvijā - หมายถึงสามวรรณะแรก พราหมณ์ กษัตริย์ และไวศยะ). นี่คือดินแดนที่เมื่อนานมาแล้วมีสงครามเกิดขึ้นระหว่างเหล่าพี่น้องวรรณะกษัตริย์พวกกุรุ06 และพวกปาณฑพ07 และเหล่ากษัตริย์รัฐน้อยใหญ่ทั้งปวงในผืนโลก. หลังจากนั้นข้าฯ ก็อยากพบพวกท่าน จึงได้มาอยู่ตรงหน้านี้. โอ ข้าแต่เหล่าปราชญ์ผู้เป็นที่เคารพ! พวกท่านได้ส่องแสงเหมือนไฟของพระอาทิตย์ยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้. ในความเห็นของข้าฯ นั้น พวกท่านเป็นเหมือนพระพรหมของข้าฯ พวกท่านบริสุทธิ์จากการได้ประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์และการทำสมาธิ และพวกท่านได้รักษาไฟแห่งการบูชายัญไว้.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. จานาเมจยะ หรือ ชนเมชยะ (जनमेजय - Janamejaya), ชื่อนี้แปลว่า "ชนะตั้งแต่เกิด". พระองค์เป็นโอรสของท้าวปรีกษิต, ได้ขึ้นครองบัลลังก์ตั้งแต่พระชนม์ยังเยาว์ เนื่องจากพระบิดาได้เสด็จสิ้นพระชนม์ก่อนเวลาอันควร. เมื่อพระองค์เจริญวัยขึ้นและทรงทราบว่าพระบิดาถูกราชาแห่งอสรพิษ ทักษกะ (तक्षक - Takṣka) สังหาร. พระองค์จึงตัดสินพระทัยถวายเครื่องบูชาเพื่อฆ่างูทั้งหมดในโลก. การสังเวยประสบความสำเร็จเพียงบางส่วน ด้วยเพราะงูส่วนใหญ่ถูกกำจัดเสียสิ้นแล้ว. เนื่องจากการแทรกห้ามไว้ของมหาฤๅษีวฺยาส การสังเวยจึงไม่สมบูรณ์ และจอมอสรพิษ ทักษกะก็รอดพ้นจากชะตากรรมนี้ไปได้.
พิธีบวงสรวงงู โดยกษัตริย์ชนเมชยะ, พัฒนาเมื่อ 22 กรกฎาคม 2567.
02. ท้าวปรีกษิต (परीक्षित् - Parīkṣit), เป็นหลานชายของอรชุน และเป็นบุตรของอภิมันยุ (अभिमन्यु - Abhimanyu).
03. ฤๅษีไวศัมปายนะ (वैशंपायन - Vaiśampāyana) เป็นหนึ่งในศิษย์ที่เฉลียวฉลาดของมหาฤๅษีวฺยาส.
04. ฤๅษีกฤษณะ ไทวปายนะ เวทวฺยาส หรือ วฺยาสเทวะ (कृष्णद्वैपायन वेदव्यास - Kṛṣṇa Dvaipāyana Vedavyāsa or yāsadev) ที่ได้ชื่อนี้เพราะจำแนกพระเวทไว้ เวทวฺยาส หรือ วฺยาสเทวะ เป็นชื่อฉายา และมีปราชญ์มากกว่าหนึ่งตนที่ใช้ฉายานี้ด้วย.ชื่อฉายาของเวทวฺยาสนี้คือ กฤษณะ ไทวปายนะ: ชื่อกฤษณะ เพราะมีผิวคล้ำ และไทวปายนะ เพราะเกิดบนเกาะ (द्वीप - ทวีป - Dvīpa) แห่งแม่น้ำยมุนา (यमुना नदी) นั่นเอง และ อายน (อา+ยานะ - आयन - āyana) แปลว่า การมาถึงหรือการเกิด การเข้าไปสู่ (ราศี).
05. สมันตปัญจกะ (समन्तपञ्चक - Samantapañcaka) เป็นสถานที่อาบชำระล้างอันศักดิ์สิทธิ์ที่ปรศุราม (ดูใน ปรศุรามาวตาร หรือ นารายณ์อวตารที่ 6) สร้างขึ้น และมีแม่น้ำห้าสายอันมีโลหิตไหลผ่าน และในปลายยุคและต้นยุคของทวาปรยุคและกลียุค (ดูในคัมภีร์ปุราณะ 1 หน้าที่ 5) เหล่าวรรณะกษัตริย์เการพ (कौरव - the Kauravas) และปาณฑพ (पाण्डव - the Pāṇḍavas) ได้ทำสงครามใหญ่ ณ ที่แห่งนี้ ตามคำแนะนำของพลภทราม หรือพลราม (बलभद्रराम - Balabhadrarāma or Balarāma) เชษฐาของพระกฤษณะได้เลือกสมันตปัญจกะเป็นสนามรบ และทุรโยธน์ (दुर्योधन - Duryodhana) ก็ถูกสังหาร ณ ที่แห่งนี้ (ดูใน 09. ศัลยบรรพ)
06. พวกกุรุ (कुरु - The Kurus) เป็นชื่อของชนเผ่าอินโดอารยันและอาณาจักรของพวกกุระในอารยธรรมพระเวทแห่งภารตวรรษ (भारतवर्ष - Bhāratavarṣa) อาณาจักรนี้ปัจจุบันตั้งอยู่ในรัฐหรยาณา (हरियाणा - Haryana - Hariyāṇā) ภีษมะ (भीष्म - Bhīṣma) คือผู้พิทักษ์ของบรรดาพวกกุรุ และเหล่าพี่น้องเการพ (The Kauravas, कौरव - Kaurava - เการพ) มีจำนวน 101 คน ดูใน 01.001 รายละเอียดบรรพที่ 1 อาทิบรรพ: เหล่าบุตรและบุตรีแห่งฝ่ายเการพ ซึ่งเป็นลูกหลานของเผ่ากุุรุ .
07. พวกปาณฑพ (पाण्डव - The Pāṇḍavas) เป็นโอรสทั้งห้าของท้าวปาณฑุ (पाण्डु - Pāṇḍu) โดยมเหสีสองคนของพระองค์คือ นางกุนตี (कुन्ती - Kuntī) และมาทรี (माद्री - Mādrī) ชื่อของพวกเขาเหล่าภราดาเจ้าชายคือ ยุธิษฐิระ (युधिष्ठिर - Yudhiṣṭhira) ภีมะ (भीम - Bhīma) อรชุน (अर्जुन - Arjuna) นกุล (नकुल - Nakula) และสหเทพ (सहदेव - Sahadeva) เหล่าภราดาทั้งห้าแต่งงานกับหญิงคนเดียวกันชื่อนางเทฺราปที (द्रौपदी - Draupadī) เหล่าพี่น้องได้ร่วมกันต่อสู้และได้รับชัยชนะในสงครามครั้งใหญ่กับพวกกุรุที่เรียกว่าเหล่าพี่น้องเการพอันเป็นลูกพี่ลูกน้องของพวกเขา ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในนามสงครามที่ทุ่งคุรุเกษตร (कुरुक्षेत्र - Kurukṣetra) กรรณะ (कर्ण - Karṇa) อนุชาต่างมารดาที่แปลกแยกของพวกปาณฑพได้ต่อสู้กับพวกปาณฑพ และในที่สุดก็ถูกอรชุนสังหาร.
.
.
หน้าที่ 3
โอ้ พวกท่านถือกำเนิดขึ้นสองครั้ง01 พวกท่านอยู่เหนือสิ่งที่กังวลสิ่งที่พึงใส่ใจทั้งหมด. เอ ข้าฯ กล่าวอะไรนี่? ข้าฯ ควรกล่าวถึงประวัติศาสตร์ของเหล่ากษัตริย์ในหมู่มนุษย์ เหล่าปราชญ์ และจิตวิญญาณอันยิ่งใหญ่ดีหรือไม่?
เหล่าฤๅษีก็กล่าวตอบว่า 'จงเล่าเรื่องโบราณที่จอมปราชญ์ไทวปายนะได้เล่าให้เจ้าฟัง เรื่องที่เหล่าทวยเทพและเหล่าพราหมฤๅษี02 ที่ได้สดับแล้วบูชา และเรื่องราวที่เต็มไปด้วยถ้อยคำและการจำแนกอันน่าอัศจรรย์และเป็นเรื่องราวชั้นยอดที่มีความหมายละเอียดอ่อน เป็นตรรกะที่ประดับไว้กับแก่นแท้ของพระเวท.03 ประวัติศาสตร์อันศักดิ์สิทธิ์ของภารตะนั้นงดงามทั้งในภาษาและความหมาย และรวมถึงงานที่ได้รังสรรค์ทั้งหมดอื่น ๆ ด้วย. ศาสตร์04 ทั้งหมดที่ได้เพิ่มเติมเข้าไป และองค์ประกอบอันศักดิ์สิทธิ์ของฤๅษีวฺยาสผู้ยิ่งใหญ่ก็ได้นำมาเพิ่มเสริมเข้าไปในพระเวททั้งสี่นี้ด้วย. เราต่างปรารถนาที่จะได้สดับการสะสม (บุญ) อันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งขจัดความกลัวต่อบาป เฉกเช่นกับที่ฤๅษีไวศัมปายนะท่องถวายเครื่องบูชาต่อกษัตริย์ชนเมชยะ.'
ซัลติกล่าวว่า: "ข้าฯ ขอนอบน้อมบูชาพระอีศาน05 องค์เดิม ทรงเป็นที่เคารพบูชาของทุกคนและผู้ถวายเครื่องบูชาทั้งหมด. พระองค์ทรงเป็นความจริงไม่เสื่อมสลาย เป็นพราหมณ์ผู้ไม่ปรากฎและเป็นพราหมณ์ผู้ปรากฎอันนิรันดร์. พระองค์ทรงดำรงอยู่และไม่ดำรงอยู่. ข้าฯ ขอสักการะพระหริ06 ผู้เป็นเจ้าแห่งสรรพสัตว์ทั้งที่เคลื่อนไหวและไม่เคลื่อนไหว เป็นเจ้าแห่งประสาทสัมผัส. ข้าฯ ขอสักการะพระวิษณุผู้บริสุทธิ์และปราศจากบาป ผู้คู่ควรแก่การบูชา และผู้ทรงคุณธรรมและคุณงามความดี.
"ข้าฯ จะสาธกถึงความคิดตรึกตรองอันศักดิ์สิทธิ์ของปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือกันทั่วโลก มหาฤๅษีวฺยาสผู้มีวัตรปฏิบัติอันดีเลิศ. กวีบางท่านได้ขับขานเรื่องราวนี้มาก่อน. และขณะนี้ก็มีกวีท่านอื่น ๆ กำลังสอนถึงประวัติศาสตร์นี้กันอยู่.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. หมายถึงสามวรรณะแรก (वर्ण - varṇa): พราหมณ์ (ब्राह्मण - Brāhmaṇas), กษัตริย์ (क्षत्रिय - Kṣatriyas) และไวศยะหรือแพศย์ (वैश्य - Vaiśyas). การเกิดสองครั้ง (ทวิชา - द्विजा - Dvijā - หากจะสื่อเป็นภาษาไทยแล้ว น่าจะตรงกับคำว่าทวิชาติ) ยังใช้สำหรับพวกวรรณะพราหมณ์เป็นการเฉพาะ. การเกิดครั้งที่สองหมายถึงการถวายด้ายศักดิ์สิทธิ์ {สายธุรำ หรือ สายยัชโญปวีต (ยัชญะ = พิธีบูชายัญต่าง ๆ , อุปวีต = สายที่คล้องด้านบน) รวมแปลว่าสายที่คล้องแล้วทำให้ผู้คล้องมีสิทธิ์ในยัชญพิธีกรรม - พรหมสูตร}. สามวรรณะแรกล้วนมีสิทธิที่จะได้รับสิทธินี้.
02. พราหมฤๅษี (ब्राह्मर्षि - Brāhmaṛṣi) หมายถึงปราชญ์ผู้มีความรู้เกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าสูงสุด (พระพรหม - ब्रह्मन् - Brahman).
03. พระเวท (वेद - The Vedas) ประกอบสี่คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์: ฤคเวท (ऋग्वेद - Ṛg-Veda), สามเวท (सामवेद - Sāma-Veda), ยชุรเวท (यजुर्वेद - Yajur Veda) และ อรรถรเวท (अथर्ववेद - Atharva Veda).
04. ศาสตร์ หรือ ศาสตรา (शास्त्र - Śāstra) หมายถึง อาวุธ ส่วนในบริบทนี้หมายถึง คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์.
05. พระอีศาน (ईशान - Īśāna) หมายถึง ผู้ปกครอง เจ้านาย ขุน เจ้า. อีศานเป็นชื่อหนึ่งของพระศิวะ (शिव - Śiva) {ทิกบาล หรือ ทิศปาลกะ (दिक्पाल - dikapāla) พระผู้ปกปักษ์รักษาทิศตะวันออกเฉียงเหนือ}, พระวิษณุ (विष्णु - Viṣṇu), แม้แต่พระอาทิตย์ (सूर्य - Sūrya - สูรย์), ซึ่งในที่นี้นั้นมีความหมายทั่วไป รายละเอียดดูใน A03. บทนำ - เหล่าเทพเจ้า.
06. พระหริ (हरि - Hari) เป็นชื่อรองหรือฉายา (epithets) ของพระวิษณุ แปลว่า ผู้พราก (บาป) ไป.
.
.
หน้าที่ 4
ถึงกระนั้น ก็มีคนอื่น ๆ ก็จะขับขานประวัติศาสตร์ดังกล่าวบนโลกใบนี้อย่างแน่นอนในอนาคต. ตลอดทั้งสามโลกนี้เป็นคลังองค์ความรู้ที่ยิ่งใหญ่. เหล่าผู้ที่เกิดสองครั้งนั้น จะมีรายละเอียดและรูปแบบประกอบ. ประดับประดาด้วยถ้อยคำและการใช้สำนวนอันงดงาม มีความเป็นมนุษย์และศักดิ์สิทธิ์. จัดเรียงด้วยของสูงนับไม่ถ้วนและเป็นที่รักของผู้รอบรู้.
พระพรหม, พัฒนาเมื่อ 24 มิ.ย.2567
'เมื่อจักรวาลไร้ความสว่างและแสงส่อง ตลอดจนทุกสิ่งก็ถูกปกคลุมไปด้วยความมืดมิดโดยรอบ ไข่ (Garbhā) อันน่าทึ่งก็ถือกำเนิดขึ้น. นี่คือเมล็ดพันธุ์อันไม่สิ้นสุดของทุกฝ่ายทุกแง่มุม ไข่ใบใหญ่นี้ถูกสร้างขึ้นในทุกต้นยุคสมัย. กล่าวกันว่าในเหตุการณ์อันศักดิ์สิทธิ์นี้จะปรากฎพรหมัน01 ผู้เป็นนิรันดร์ขึ้น. ซึ่งจะยืนยันและก่อความรุ่งโรจน์ - ยอดเยี่ยมเหนือจินตนาการและสมดุลอย่างสมบูรณ์แบบในทุกแห่งหน. นี่เป็นสาเหตุที่ละเอียดอ่อนและไม่ปรากฎชัด. มันเป็นสิ่งที่มีอยู่และไม่มีอยู่จริง. จากที่นี้ก็เป็นการถือกำเนิดของพระผู้เป็นเจ้าและเพียงพระประชาปติ02 ผู้เดียวเท่านั้น ที่ทรงนามว่าพระพรหม พระผู้ดูแลทวยเทพ. พระประชาปติยังเป็นที่รู้จักกันดีในนามพระสธาณุ03 พระมนู04 พระกะ (Ka) และพระปรเมษฏิน05. พระทักษะ06 ถือกำเนิดจากพระองค์, (ยังมี) บุตรชายแห่งพระประเชตัส07. (ยังมี) บุตรชายทั้งเจ็ดของพระทักษะ และ (ยังมี) จากพระประชาปติอีก 21 คน. พระองค์ผู้ซึ่งเหล่าปราชญ์ทราบดีว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ไม่สามารถหยั่งรู้ได้ ก็ถือกำเนิดขึ้นเช่นเดียวกับเหล่าพระวิศวเทพ08 เหล่าพระอาทิตยา09 เหล่าพระวสุ10 และเทพฝาแฝดพระอัศวิน11. บรรดายักษ์12 เหล่าสาธยเทพ,13 เหล่าปีศาจ,14 เหล่าอสูรกูหักค์15 และเหล่าปิตฤ16 ถือกำเนิดขึ้น หลังจากนั้นก็มีบรรดาพรหมฤๅษี17 ผู้ศักดิ์สิทธิ์อันสูงส่งตามมา. จากนั้นก็มีราชฤๅษี18 จำนวนมากถือกำเนิดขึ้น พร้อมด้วยคุณสมบัติอันประเสริฐ. ท้องน้ำ สรวงสวรรค์ ผืนโลก กระแสลม ท้องฟ้า ทิศต่าง ๆ ปี ฤดูกาล เดือน ปักษ์ กลางวันและกลางคืน ดำเนินไปตามลำดับ. โลกได้เห็นทุกสรรพสิ่งที่เกิดขึ้น. เมื่อโลกจมดิ่งอยู่ในความเสื่อมของยุคสมัย ทุกสิ่งที่มองเห็น ทั้งที่เคลื่อนไหวได้และคงที่ ก็จะถูกนำมารวมกันอีกครั้ง. เมื่อฤดูกาลเปลี่ยนไป สัญญาณของฤดูกาล (ใหม่) ก็ปรากฏขึ้น. เช่นเดียวกับจุดเริ่มต้นของยุคสมัยใหม่ ทุกสิ่งทุกอย่างก็ถูกสร้างขึ้นใหม่อีกครั้ง. โดยไม่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด วงล้อแห่งการดำรงอยู่ก็หมุนไปอย่างนิรันดร์ในโลกนี้ ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์และการทำลายล้าง.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. พรหมัน (ब्रह्मन् - Brahman) หรือ ปรมาตมัน (परमात्मन् - Paramātman) หมายถึงวิญญาณสูงสุด อย่าสับสนกับคำว่าพราหมณ์ (ब्राह्मण - Brāhmaṇa) แม้ว่าจะมีรากศัพท์เหมือนกัน.
02. พระประชาปติ (प्रजापति - Prajāpati) หมายถึงพระผู้สร้างโลก ซึ่งมีเทพหลายองค์ โดยพระพรหมมุ่งหวังจะให้การสร้างโลกเป็นเรื่องง่าย จึงสร้างพระประชาปติจำนวน 20 องค์ (บ้างก็ว่า 21 องค์) ประกอบด้วย พระพรหม (ब्रह्मा - Brahmā), พระรุทร (रुद्र - Rudra), พระมนู (मनु - Manu), พระทักษะ (दक्ष - Dakṣa), พระภฤคุ (भृगु - Bhṛgu), พระธรรม (धर्म - Dharma), พระทปะ (तप - Tapa), พระยมะ มรีจิ (यम मरीचि - Yama Marīci), พระอังกิรสะ (अङ्गिरस - Aṅgiras), พระอตริ (अत्रि - Atri), พระปุลาสตยะ (पुलस्त्य - Pulastya), พระปุลหะ (पुल - Pulaha), พระกรตุ (क्रतु - Kratu), พระวสิษฏะ (वसि - Vasiṣṭha), พระปรเมษฏี (परमेष्ठी - Parameṣṭhī), พระสูรย์ (सूर्य - Sūrya), พระกันดระ (चन्द्र - Candra), พระคารทมะ (कर्दमा - Kardama), พระคโรธะ (क्रोध - Krodha) และ พระวิกรีตะ (Vikrīta). (อ้างถึงอัธยายะที่ 384???, ศานติ บรรพ).
03. พระสธาณุ (स्थाणु - Sthāṇu) หมายถึงพระศิวะ, บุตรแห่งพระพรหม. หนึ่งในสิบเอ็ดของพระรุทร (ด้วยมหาภารตะและปุราณะต่าง ๆ มีการเรียบเรียงด้วยฤๅษีหลายตนหลายยุค จึงมีคำอธิบายที่แตกต่างกันไป แต่ก็ประมวลรวมเป็นมหาภารตะหนึ่งเดียว).
04. พระมนู (मनु - Manu) รายละเอียดดูใน หมายเหตุ คำอธิบาย 02 หน้าที่ 5 ของคัมภีร์ปุราณะ 1.
05. พระปรเมษฏี หรือ พระปรเมษฏิน (परमेष्ठी - Parameṣṭhī หรือ परमेष्ठिन् - Parameṣṭhin) เป็นชื่อรองของเทพหลายองค์ อาทิ พระพรหม พระศิวะ พระวิษณุ พญาครุฑ พระอัคนี เป็นต้น.
06. พระทักษะ (दक्ष - Dakṣa) แปลว่าผู้มีความสามารถ คล่องแคล่ว หรือซื่อสัตย์ เป็นหนึ่งในพระประชาปติ ผู้ทำหน้าที่รังสรรค์ และยังเป็นฤษีผู้ศักดิ์สิทธิ์อีกด้วย ท่านเป็นชายที่มีร่างกายกำยำ ใบหน้าหล่อเหลา หรือบ้างก็ศีรษะเป็นแพะ.
07. พระประเชตัส (प्रचेतस् - Pracetas) แปลว่าผู้รู้แจ้ง เป็นคำในตำนานฮินดูที่มีคำจำกัดความหลายประการ อาทิ, เป็นฉายาหรืออีกชื่อหนึ่งของพระวรุณ, เป็นหนึ่งในสิบของเหล่าประชาปติ, บุตรแห่งสุวรรณะ ผู้ให้ธรรมบัญญัติ เป็นชื่อเรียกของกลุ่มบุคคลในพระเวท เป็นต้น.
08. เหล่าพระวิศวเทพ (विश्वदेवस् - Viśvadevas) เป็นบุตรของพระวิศวะ (विश्व -Viśva) ซึ่งแต่งงานกับหนึ่งในธิดาของพระทักษะ. กล่าวกันว่าเหล่าพระวิศวเทพได้จุติมายังโลกมนุษย์เนื่องจากต้องคำสาปของพระฤๅษีวิศวามิตร (विश्वामित्र - Sage Viśvāmitra) โดยเป็นบุตรชายทั้งห้าของนางเทฺราปที กับเหล่าภราดาปาณฑพ, บุตรทั้งห้านี้ เรียกว่า อุปปาณฑพ หรือ ปาณฑวบุตร (उपपाण्डव - the Upapāṇḍavas - Junior Paāṇḍavas หรือ पाण्डवपुत्र - Pāṇḍavaputra). และได้กลับยังสวรรค์หลังจากถูกอัศวัตถามา (अश्वत्थामा - Aśvatthāmā) สังหารในตอนกลางคืนขณะกำลังหลับไหล.
เทวีอทิติ (นมัสการพระพรหมที่กำลังให้พร) ภาพเขียนราวคริสต์ศตวรรษที่ 19 จาก Saraswati Mahal Library Collection เมืองตันจอร์ อินเดีย, ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 30 มีนาคม 2566.
09. เหล่าพระอาทิตยา (आदित्य - Āditya) หมายถึง ลูกหลานของเทวี "อทิติ" (अदिति - Aditi) ซึ่งเป็นตัวแทนของความไม่สิ้นสุด ไร้ขอบเขต, ชื่ออาทิตยา หากเป็นเอกพจน์จะหมายถึง เทพแห่งดวงอาทิตย์ พระสูรย์. โดยทั่วไปแล้วเหล่าพระอาทิตยาจะมีสิบสององค์ประกอบด้วย พระวิสวัน (विवस्वन् - Vivasvan - सूर्य - Sūrya), พระอารยมัน (अर्यमन् - Aryaman), พระตวัษฏะ (त्वष्ट - Tvaṣṭa)
, พระสวิตฤ (सवितृ - Savitṛ) ดูหน้าที่ 81 ของ ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 1.004 - ยุคพระเวท: บทสวดแห่งฤคเวท (ต่อ 1), พระภคะ (भग - Bhaga), พระธาตา (धाता - Dhātā), พระมิตระ (मित्र - Mitra) ดูหน้าที่ 71 ของ ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 1.003 - ยุคพระเวท: บทสวดแห่งฤคเวท, พระวรุณ (वरुण - Varuṇa), พระอัมศะ (अंश - Aṃśa), พระปูษัน (पूषन् - Pūṣan) ดูหน้าที่ 81 ของ ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 1.004 - ยุคพระเวท: บทสวดแห่งฤคเวท (ต่อ 1), พระอินทร์ (इन्द्र - Indra) และพระวิษณุ (विष्णु - Viṣṇu ในรูปแบบของพราหมณ์วามน - वामन - Vamana).
10. เหล่าพระวสุ (वसु - Vasu) เป็นกลุ่มเทพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูที่เกี่ยวข้องกับไฟและแสงสว่าง เป็นเทพบริวารของพระอินทร์และต่อมาก็เป็นของพระวิษณุ ในมหาภารตยุทธกล่าวว่า เป็นบุตรของพระมนูหรือพระธรรม กับธิดาของพระทักษะ กลุ่มเทพวสุนี้มีแปดองค์. ประกอบด้วย ธรา (धरा - Dharā - Earth), อาปะ (आपा - Āpa - Water), อัคนี (अग्नि - Agni), อนล (अनाला - Anala), ปะเวียช (पाव - Pavaja - Fire), อนิล (अनिल - Anila - Wind), ปรัตยุษ (प्रत्यु - Pratyūsha - Sun), ประภาส (प्रभास - Prabhāsa - Sky/Ether), โสม (सोम - Soma - Moon), ทรุวะ (ध्रुव - Dhruva - Motionless/Polaris).
เทพฝาแฝดพระอัศวินมีพระพักตร์เป็นม้ากำลังนั่งบนรถ ตามคติโบราณไทยที่ได้รับจากภารตวรรษ, เก็บเป็นแฟ้มรวบรวมไว้เมื่อ 1 มกราคม พ.ศ.2503 ไม่ทราบชื่อจิตรกร, ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 30 มีนาคม 2566
1.
11. เทพฝาแฝดพระอัศวิน (अश्विन् - Aśvin - The Aśvins) แปลว่า ผู้ครอบครองม้า เป็นเทพเจ้าตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นโอรสของพระสูรย์ (Sūrya) และนางสัญญา (सञ्जना - Sanjna) พระอัศวินเป็นเทพเจ้าฝาแฝดที่มีศีรษะเป็นม้า และมีร่างกายเป็นมนุษย์ องค์หนึ่งมีพระนามว่า นาสัตยอัศวิน (Nasatyas - ความกรุณา) อีกองค์หนึ่งมีพระนามว่า ทัศรอัศวิน (Darsras - ความรู้แจ้ง) เทียบได้กับเทพเจ้าตามเทพปกรณัมกรีก เช่น โฟบอส (Phobos) และ ดีมอส (Deimos), ฮิปนอส (Hypnos) และ ทานาทอส (Thanatos) เป็นต้น ในมหาภารตยุทธ นางมาทรี ชายาของท้าวปาณฑุได้ขอโอรสจากเทพเจ้าทั้งหลาย โดยที่พระนางมีบุตรกับพระอัศวินสองคน คือ นกุล (เกิดจากพระนาสัตยอัศวิน) และ สหเทพ (เกิดจากพระทัศรอัศวิน).
12. ยักษ์ (यक्ष - Yakṣa) บรรดายักษ์ (Yakṣas) ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูแบบพระเวท ถือว่า ยักษ์ (ยักษา - ยักษ์เพศชาย, ยักษี หรือ ยักขินี - นางยักษ์) เป็นตัวแทนของกลุ่มสิ่งมีชีวิตลึกลับ โดยมีท้าวกุเวร (कुबेर - Kubera) เป็นจ้าวผู้เป็นใหญ่เหนือรากษส และกินนร, บ้างครั้งก็จัดให้ยักษ์อยู่ในชั้นเดียวกับเทพที่เป็นคนธรรพ์ (the Gandharvas , गन्धर्व - Gandharva - นักดนตรี), เป็นภูติผีปีศาจประเภทหรือ หรือผู้มีร่างกายใหญ่โต.
13. สาธยะ (साध्य - Sādhya) เหล่าสาธยเทพ (Sādhyas) หมายถึงกลุ่มเทพเจ้ารองในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ตามคัมภีร์ปุราณะ เหล่าสาธยเทพเป็นบุตรของธรรมะ (धर्म - Dharma) และนางสัธยะ (व्यवहार्यम् - Sadhya) ซึ่งนางเป็นธิดาของพระทักษะ ตามคัมภีร์ต่าง ๆ เหล่าสาธยเทพมีจำนวนสิบสองหรือสิบเจ็ดองค์ โดยอธิบายว่าเป็นศูนย์รวมของพิธีกรรมและบทสวดในพระเวท กล่าวกันว่าเหล่าสาธยเทพนี้สถิตประทับอยู่กับเหล่าเทพ หรือสถิตอยู่ในบริเวณระหว่างสวรรค์และโลก. ในอัคนี ปุราณะได้แสดงรายชื่อเหล่าสาธยเทพสิบสององค์ไว้ดังนี้ มนัส (मानस - Manas), มันตา (मन्ता - Mantā), ปราณ (प्राण - Prāṇa), นร (नैरा - Nara), อปานะ (अपना - Apāna), วีรยาน (जीवाण्डा - Vīrayān), วิภู (विभु - Vibhu), หยะ (नमस्कार - Haya), นยะ (नूतनम् - Naya), หงสะ (हंस - Haṁsa), นารายณะ (नारायण - Nārāyaṇa), และ ประภู (विधाता - Prabhu).
14. ปีศาจ (पिशाच -Piśāca) เหล่าปีศาจ (The Piśācas) เป็นปีศาจที่กินเนื้อสดเป็นอาหาร ในมหาภารตยุทธได้กล่าวถึง โดยอาศัยอยู่ในวังของท้าวกุเวร หรือพระพรหม, ปีศาจนี้ได้ต่อสู้เคียงข้างฆโฏตกัจ (घटोत्कच - Ghaṭotkacha) และบ้างปีศาจนี้ก็รับใช้ฝ่ายเการพ โดยทำหน้าที่เป็นม้าศึกของปีศาจอลัมบุษา (अलम्बुषा - Alambuṣā).
15. กูหักค์ (गुह्यक - Guhyaka) เหล่าอสูรกูหักค์ (Guhyaka) เป็นยักษ์ หรืออสูรที่ติดตามท้าวกุเวร.
16. ปิตฤ (पितृ - Pitṛ) เหล่าปิตฤ (Pitṛs) หมายถึง บิดา บรรพชน เทพบรรพชน.
17. พรหมฤๅษี (ब्रह्मर्षि - Brahmarṣi) หมายถึง ฤๅษีหรือนักพรตที่อยู่ท่ามกลางเหล่าพราหมณ์ ส่วนบรรดาพรหมฤๅษี (Brahmarṣis) นั้น หมายถึงเจ็ดนักพรต (सप्तर्षि - สัปตฤษี - Saptarṣi) ซึ่งสัปตฤษีนี้ แปรเปลี่ยนไปตามแต่ละยุคแต่ละมนูหรือมันวันทระ มนูปัจจุบันคือ พระมนูไววัสวัต (वैवस्वत मनु - Vaivasvata Manu - รายละเอียดดูในหมายเหตุ คำอธิบายหน้าที่ 5 ของ ปุราณะ 1 ) มีสัปตฤษีอันประกอบด้วย วสิษฐ์ (वसिष्ठ - Vashiṣṭa แปลว่า ฉลาดหลักแหลมเป็นเลิศ - most excellent), กัศยปะ (कश्यप - Kaśyapa หมายถึง เต่า - turtle ในภาษาสันสกฤต), อัตริ (अत्रि - Atri), ชมทัคนี (ชัม-ทัก-นี - जमदग्नि - Jamadagni - เปลวไฟใหญ่ - great fire), โคตมะ (गौतम - Gautama), วิศวามิตร (विश्वामित्र - Viśvāmitra), และ ภรัทวาช (भरद्वाज - Bharadvāja) หรือมีมหาฤๅษีที่เป็นหัวหน้า นำโดยฤๅษีภฤคุ (भृगु - Bhṛgu - ซึ่งเป็นปฐมฤๅษี - आदि-र्षि -
Adi-rṣi) ซึ่งได้สดับฟังพระเวทจากพระพรหม. โดยทั่วไปแล้วในพระเวท ในวรรณกรรมพราหมณ์-ฮินดู และสังหิตา ไม่ค่อยระบุชื่อของฤๅษีเหล่านี้นัก พระเวทถือว่าฤๅษีทั้งเจ็ดเป็นบรรพชนที่สำคัญของศาสนาพระเวท.
18. ราชฤๅษี (राजर्षि - Rājarṣi) หมายถึง ฤๅษีที่มีเชื้อพระวงศ์ เป็นวรรณะกษัตริย์ ส่วนพรหมฤๅษีก็ถือกำเนิดมาจากวรรณะพราหมณ์ ราชฤๅษีนี้ได้รับสถานะจากการพร่ำศึกษาเหล่าเรียนพระเวท สังหิตา อิติหาส ฯ ต่าง ๆ .
.
.
หน้าที่ 5
'ขอยกตัวอย่างโดยสังเขปของการสร้างหรือรังสรรค์โลกขึ้นดังนี้, มีทวยเทพถือกำเนิดขึ้น 33,333 องค์. เหล่าบุตรของพระวิวัสวัต01 อันศักดิ์สิทธิ์ คือ พระพฤหัทภานุ02, พระจักษุ04, พระอัตมะ05, พระวิภาวสุ06, พระสวิตฤ07, พระฤๅษีฤจิกะ08, พระอรกะ09, พระภานุ10, พระอาศาวหะ11, และพระรวี12. ในบรรดาบุตรทั้งหมด พระมหา13 เป็นน้องสุดท้อง และบุตรชายของเขาชื่อพระเทวภรตะ14 ซึ่งรู้จักกันว่าพระสุภราช14. พระสุภราชมีบุตรที่มีชื่อเสียงสามคน คือ พระทัศโยติ15 พระศัตชโยติ16 และพระสหัสรัชโยติ17 ซึ่งบุตรแต่ละคนก็ให้กำเนิดบุตรอีกมากมาย. พระทัศโยติผู้ยิ่งใหญ่มีบุตรหมื่นคน. พระศัตชโยติผู้ครองตนนั้นมีบุตรมากกว่าพระทัศโยติถึงสิบเท่า และพระสหัสรัชโยติมีก็มีบุตรมากกว่าพระศัตชโยติถึงสิบเท่า. บรรพชนของพวกกุรุ พวกยาดู18 และพวกภรต19 เชื้อสายต้นวงศ์ของยยาติ20 อิกษวากุ21 และราชฤษีทั้งมวลล้วนสืบเชื้อสายมาจากพวกเขา. สรรพชีวิตต่าง ๆ มากมายก็ได้รับการประดิษฐ์รังสรรค์ขึ้น รวมทั้งสถานที่พำนักอาศัยแก่พวกสรรพชีวินเหล่านี้ด้วย.
'มีการสร้างความลึกลับแห่งองค์ความรู้ทั้งสาม ประกอบด้วย พระเวท โยคะ22 และวิญญาณ23 ขึ้น เช่นเดียวกับ ธรรมะ อรรถะ และกามะ24. ฤๅษีได้เห็นศาสตร์ต่าง ๆ แทรกด้วยธรรมะ อรรถะ และกามะ และกฎแห่งการประพฤติปฏิบัติในโลก. ท่านเห็นประวัติศาสตร์โบราณและอธิบายทั้งหมด และศรุติ25 คัมภีร์อีกด้วย. ศรุติคัมภีร์นี้มีสัญลักษณ์ของสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด ทุกสิ่งอยู่ที่นี่. เมื่อได้กลั่นกรององค์ความรู้อันยิ่งใหญ่นี้แล้ว ฤๅษีก็สรุปองค์ความรู้ทั้งหมดทั้งที่เป็นแบบย่อและแบบรายละเอียด เพื่อเป็นคลังองค์ความรู้สำหรับเก็บรักษาภูมิปัญญาของโลกนี้ไว้. บางท่านอ่านภารตะจากเรื่องของพระมนู26 บางท่านก็อ่านจากเรื่องของอาสติกะ27 และบางท่านก็อ่านจากเรื่องของอุปริจระ28. พราหมณ์บางท่านก็อ่านคัมภีร์ทั้งเล่ม. ผู้ที่ได้ศึกษามาดีได้แสดงความรู้เกี่ยวกับสังหิตา29 โดยแสดงความคิดเห็นกับประมวลคัมภีร์นี้. บางท่านก็ชำนาญในการอธิบาย บางท่านก็จดจำเรื่องราวได้ดี.
หลังจากทำความเพียรบำเพ็ญตบะแล้ว หลังจากจำแนกพระเวทอันเป็นนิรันดร์ไว้เป็นหมวดหมู่แล้ว บุตรชายของนางสัตยวตี30 ก็ได้เรียบเรียงประวัติศาสตร์อันศักดิ์สิทธิ์นี้ขึ้น. พระพรหมฤๅษีผู้รอบรู้ ผู้เป็นบุตรของฤๅษีปราศรมุนี31 ก็ได้ปฏิบัติตามคำปฏิญาณอันบริสุทธิ์.
หมายเหตุ คำอธิบาย
พระวิวัสวัตหรือพระสูรย์ (สุริยะ), วิหารพราหมณ์ในกรุงนิวเดลี ภารตะ, ที่มา: fr.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 1 สิงหาคม 2567.
01. พระวิวัสวัต หรือ พระวิวัสวัน หรือพระสูรย์ (विवस्वत् - Vivasvat or Vivasvan or सूर्य - Sūrya god) หมายถึงพระอาทิตย์ หรือเป็นชื่อของพระมนูองค์ปัจจุบัน (พระมนูไววัสวัต).
02. พระพฤหัทภานุ (बृहद्भानु - Bṛhadbhānu) แปลว่า ไฟ. หรือ ฤๅษีผู้มีความรู้กว้างขวางในพระเวทและเวทางคะ03 อ้างถึง วนบรรพ มหาภารตยุทธ.
03. เวทางคะ {वेदाङ्ग - คัมภีร์ - Vedāṅga - หกส่วนของพระเวท อันเป็นศาสตร์เสริม ประกอบด้วย ศึกษา (शीक्ष - śīkṣa - สัทศาสตร์ - phonetics or articulation and pronunciation), กัล์ป (कल्प - kalpa - ความคิดทางสังคม หรือ พิธีกรรม - social thought or rituals), ไวยากรณ์ (व्याकरण - vyākaraṇa - grammar), นิรุกตะ (निरुक्त - nirukta - นิรุกติศาสตร์, exposition of words, etymology), ฉันท์ (छन्द - สัมผัส - chandas or Chhanda - metrics or prosody), โยธิษะ บ้างก็เรียก ชฺโยติษะ (ज्योतिष - jyotiṣa - ดาราศาสตร์ตามแบบพระเวท - Vedic astronomy), อลังการศาสตร์ (अलंकारशास्त्र - alaṃkāraśāstra -
วาทศาสตร์ - study of figures of speech).
04. พระจักษุ (चाक्षुष - Chakṣus) มีปรากฎในครุฑะ ปุราณะ (गरुड पुराण - Garuḍa Purāṇa) รายละเอียดดูในหน้าที่ 1 ของ คัมภีร์ปุราณะ 1.
05. พระอัตมะ (आत्मा - Atma)
06. พระวิภาวสุ (विभावसु - Vibhāvasu) เป็นฤๅษีที่ยุธิษฐิระภราดาคนโตของเหล่าพี่น้องปาณฑพได้ให้ความเคารพมาก, อ้างถึงวนบรรพ มหาภารตยุทธ. และหมายถึง สิ่งส่องสว่างจ้า พระอาทิตย์ ไฟ พระจันทร์ เทพแห่งไฟ.
07. พระสวิตฤ (सवितृ - Savitṛ) ทรงเป็นบิดาของสาวิตรี (सावित्री - Sāvitrī - สาวิตรีผู้เป็นภรรยาของกษัตริย์และสตรีผู้ชอบธรรม กล่าวถึงในมหาภารตยุทธ ศานติบรรพ อัธยายะที่ 234 โศลกที่ 24 สาวิตรีผู้นี้ถวายต่างหูสองข้างเป็นทาน และบรรลุสวรรค์) ในคัมภีร์พระเวททรงเป็นพระอาทิตย์ ลูกหลานของเทวีอทิติ ชื่อสวิตฤนั้น สื่อถึง "ผู้ผลักดัน ผู้ปลุกเร้า ผู้ทำให้มีชีวิต".
08. พระฤๅษีฤจิกะ (ऋचीक - Ṛchīka) ท่านเป็นบุตรของอาทิฤๅษีภฤคุ (भृगु - Bhṛgu) อ้างตามมหาภารตยุทธ. แต่ในปุราณะอื่น ๆ และแม้แต่ในมหาภารตยุทธบ้างบรรพ (อาทิบรรพ - กล่าวว่าท่านเป็นบุตรของผู้นำเผ่าภฤคุ) ก็มีข้อมูลแตกต่างกันไป.
09. พระอรกะ (अर्का - Arka) สัญชัยที่เล่าเรื่องมหาภารตยุทธให้ท้าวธฤษราษฎร์ฟังนั้น ได้มีการกล่าวถึงกษัตริย์โบราณที่ชื่อพระอรกะ ซึ่งครั้งหนึ่งมั่งคั่งและมีอำนาจ แต่ท้ายสุดก็พบกับความตาย.
10. พระภานุ (भानु - Bhanu) บ้างก็ว่าเป็นอีกฉายาหนึ่งของพระสูรย์.
11. พระอาศาวหะ (आशावह - Āśāvaha) มาจากสองคำ อาศา แปลว่าความหวังที่สร้างแรงบันดาลใจ, (ว)หะ แปลว่า บุตรแห่งสวรรค์.
12. พระรวี (रवि - Ravi) แปลว่าพระอาทิตย์.
13. พระมหา (मह्य - Mahya) คำว่ามหาในภาษาสันสกฤตหมายถึงการให้เกียรติอย่างสูง.
14. พระเทวภรตะ (देवभ्रत - Devabhrata) แปลว่าน้องชายแห่งทวยเทพ หรือ พระสุภราช (सुभ्राज - Subhrāja) ซึ่งแปลว่าสองแสงสว่างสดใส บ้างก็เรียกพระสุภราฏ (Subhrāṭ).
15. พระทัศโยติ (दशज्योति - Daśajyoti)
16. พระศัตชโยติ (शतज्योति - Śatajyoti)
17. พระสหัสรัชโยติ (सहस्रज्योति - Sahasrajyoti)
18. ยาดู (यदु - Yādu) ผู้ก่อตั้งยาดูวงศ์ (Yadu Vaṃśa) หรือ ยาทวะวงศ์ (Yādava Vaṃśa) อันเป็นหนึ่งในห้าตระกูลอารยันที่กล่าวถึงในฤค-เวท, ยาดู เป็นเจ้าชายในจันทรวงศ์และเป็นบุตรชายคนโตของยยาติ20 และนางเทวยานี (देवयानी - Devayānī).
19. ภรต (भरत - Bharata) พวกภรต (พะ-ระ-ตะ) มีท้าวภรตเป็นปฐมวงศ์ อันเป็นโอรสของท้าวทุษยันต์ (दुष्यन्त - Duṣyanta) กับนางศกุนตลา (शकुन्तला - Śakuntalā) ท้าวภรตเป็นรัชทายาทแห่งจันทรวงศ์ พระองค์เป็นบรรพชนของวงศ์กษัตริย์โบราณใหญ่ ๆ ที่สำคัญคือ เหล่าวงศ์ปาณฑพหรือปาณฑวะ (The Pāṇḍavas, पाण्डव - Pāṇḍava) วงศ์เการพ (The Kauravas, कौरव - Kaurava) พฤหัทรทะ (बृहद्रथ - Bṛhadratha) ชราสันธะ (जरासन्ध - Jarāsandha) และวงศ์ภารตะ (The Bhāratas, भारत - Bhārata) เรื่องราวของท้าวภรต ปรากฎในวรรณกรรมสำคัญที่ประพันธ์โดยมหากวีกาลิทาส (कालिदास - Kālidāsa) ดูเพิ่มเติมในหน้าที่ 5 A01. บทนำ - รามายณะ ชื่อว่า อภิชญานศากุนตลา (अभिज्ञान शाकुन्तलम् - Abhijñānashākuntala).
20. ยยาติ (ययाति - Yayāti) เป็นกษัตริย์จันทรวงศ์ เป็นต้นตระกูลของเผ่ายาดวะ (สืบเชื้อสายมาจากยาดู) และปาณฑวะ.
21. อิกษวากุ (इक्ष्वाकु - Ikṣvāku) เป็นกษัตริย์องค์แรกของแคว้นโกศล เป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์อิกษวากุ หรือที่รู้จักกันในนามสุริยวงศ์ (सूर्यवंश - Sūryavaṃśa) อันเป็นต้นตระกูลสำคัญและเรื่องราวในรามายณะ.
22. โยคะ (योग - Yoga) การรวมกันระหว่างจิตใจมนุษย์กับพระผู้สูงสุด.
23. วิญญาณ (विज्ञान - Vijñāna) องค์ความรู้ที่ได้มาจากตระหนักรู้ด้วยตนเอง.
24. ธรรมะ อรรถะ และกามะ (धर्म, अर्थ, काम - Dharma, Artha and Kāma - หน้าที่/จริยธรรม, การเจริญเติบโต/หน้าที่การงาน, ประสงค์/แรงจูงใจ) หรือที่เรียกรวมว่า ตรีวรค (त्रिवर्ग - Trivarga) เป็นเป้าหมายของการดำรงอยู่ของมนุษย์ หรือจุดหมายสามประการแห่งความพยายามของมนุษย์.
25. ศรุติ (श्रुति - Śruti) แปลว่า "สิ่งที่ได้ยินมา - that which is heard," เป็นการเปิดเผยจากสวรรค์. ดังนั้นจึงเป็นข้อความที่เชื่อถือได้มากที่สุด. สิ่งเหล่านี้ถูกส่งต่อด้วยปากต่อปากจากรุ่นสู่รุ่น โดยไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใด ๆ .
26. พระมนู (मनु - Manu) ดูในหมายเหตุ คำอธิบาย หน้าที่ 5 ของ คัมภีร์ปุราณะ 1.
27. อาสติกะ (आस्तिक - Āstika) เป็นฤๅษีที่ฉลาดและอุทิศตน สำเร็จการศึกษาจากฤๅษีไชยาวณะ (च्यवन - Cyavana) ซึ่งเป็นบุตรชายของอาทิฤๅษีภฤคุ โดยมีบิดาคือ ฤๅษีชรัตการุ (जरत्कारु - Jaratkāru) และ มารดาคือนางมนสา หรือพระมนสาเทวี (मनसा - Manasā) เทวีแห่งงูและนาค.
28. อุปริจระ หรือ อุปริชา (उपरिचर - Uparicara - ผู้เคลื่อนไปในอากาศ) เป็น วสุหรือพระอุปเทวดา (เทพย่อยหรือกึ่งเทพหรือนรเทพ) อ้างตามมหาภารตยุทธ ได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งเจดีตามพระบัญชาของพระอินทร์ พระองค์มีบุตรห้าคนจากพระชายา และมีบุตรชายหนึ่งคนจากนางอัปสรชื่ออาทริกาซึ่งถูกสาปให้มาเกิดเป็นปลาบนโลก พระองค์มีบุตรชายหนึ่งคนชื่อมัสยา (ปลา) และลูกสาวหนึ่งคนชื่อสัตยวตี30. ซึ่งเป็นมารดาของพระฤๅษีวฺยาส.
29. สังหิตา (संहिता - Saṃhitā) เป็น "บทสวดพระเวท” เป็นประเพณีกล่าวปากเปล่าของพระเวท ประกอบด้วยปาฐะหรือ “บทสวด” หรือวิธีการสวดมนต์พระเวทหลายแบบ บทสวดเหล่านี้จะร้องในช่วงเวลาบูชาและยัญพิธี (yajña) ซึ่งเป็นที่มาของพิธีกรรมในยุคพระเวทตอนต้น.
30. นางสัตยวตี (सत्यवती - Satyavatī) บุตรีของ อุปริจระ หรือ อุปริจรวสุ เกิดจากครรภ์ของชาวประมงที่รู้จักในนามมัตสยาครภา (मत्स्यगर्भा - Matsyagarbhā) นางเป็นมารดาของ ฤๅษีวฺยาส (ชื่อเดิม बादरायण - บาดรายาณะ - Bādarāyaṇa) ก่อนที่นางจะแต่งงานกับท้าวศานตนุ (Śāntanu).
31. ปราศรมุนี (पराशर - Parāśara) เป็นบิดาของฤๅษีวฺยาส เป็นมุนีที่เคยเข้าร่วมพิธีบูชายัญอันยิ่งใหญ่ของพระทักษะ.
.
.
หน้าที่ 6
ตามคำขอร้องของมารดา และตามคำขอร้องของบุตรผู้ชาญฉลาดของพระแม่คงคา (गङ्गा - Gaṅgā)01 ฤๅษีกฤษณะ ไทวปายนะจึง (ทำภาระหน้าที่ "นิโยค02") เป็นบิดาของโอรสสามคน03 โดยชอบธรรมกับพระชายา04 ของราชาวิจิตรวีรยะ05 (ดูในหน้าที่ 47-49 ของ 01.1 อาทิบรรพ - บรรพแห่งการเริ่มต้น). โอรสทั้งสามแห่งตระกูลเการพนี้เปรียบเสมือนไฟสามดวง. หลังจากที่ได้ให้กำเนิดธฤตราษฎร์ ปาณฑุ และวิทูรแล้ว, ฤๅษีกฤษณะ ไทวปายนะก็กลับไปยังอาศรมเพื่อบำเพ็ญเพียรตามหนทางอันชาญฉลาดอย่างเคร่งครัดต่อไป. จวบจนบุตรเหล่านี้ถือกำเนิด เติบโต และผ่านไปสู่วิถีอันสูงสุด06 มหาฤๅษีมิได้เปิดเผยภารตะ07 แก่โลกมนุษย์. เมื่อพระเจ้าจานาเมจยะพร้อมเหล่าพราหมณ์นับพันได้ขอร้องมหาฤๅษีกฤษณะ ไทวปายนะ วฺยาสให้สอนและเปิดเผยเรื่องราวด้วยเถิด. มหาฤๅษีจึงสั่งสอนภารตะนี้แก่ฤๅษีไวศัมปายนะผู้เป็นศิษย์ของท่าน โดยให้นั่งตรงต่อหน้าท่าน. โดยนั่งท่ามกลางเหล่าพราหมณ์ผู้สนใจทั้งหลาย ฤๅษีไวศัมปายนะเป็นผู้สวดสาธยายภารตะเป็นระยะ ๆ ในระหว่างการบูชายัญ เมื่อฤๅษีหยุดชะงักก็ถูกขอร้องให้สวดสาธยายต่อ. มหาฤๅษีวฺยาสได้บรรยายถึงสายราชวงศ์อันยิ่งใหญ่แห่งกุรุ คุณธรรมของนางคานธารี ปัญญาของมหามติวิทูร และความสม่ำเสมอของนางกุนตี. มหาฤๅษีผู้ได้รับพรยังสาธกถึงความยิ่งใหญ่ของวาสุเทพ08 ความสัตย์แท้ของเหล่าภราดาปาณฑพ และความประพฤติชั่วของบรรดาบุตรของท้าวธฤตราษฎร์. โดยไม่ได้บรรยายถึงเรื่องแทรก (उपखायनः - อุปาขยานะ) มหาฤๅษีวฺยาสได้สาธยายแบบดั้งเดิมภารตะเป็น 24,000 โศลก (โศลกหนึ่ง ๆ เฉลี่ยมี 20 คำกลอนหรือบท). ผูัมีปัญญาจะรู้ว่านี่คือภารตะที่แท้จริง. ต่อมาท่านได้เรียบเรียงสรุปเป็นคำกลอน 150 บท พร้อมดัชนีในแต่ละอัธยายะ เนื้อหา และเหตุการณ์. ฤๅษีไทวปายนะได้สอนดัชนีนี้ให้แก่ศุกะ09 ผู้เป็นบุตรของท่านก่อน, จากนั้นจึงสอนให้แก่ศิษยานุศิษย์คนอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติเพรียบพร้อมเช่นเดียวกัน. พระฤๅษีนารทมุนี10 ได้สวดสาธกภารตะนี้แก่เหล่าทวยเทพ อสิต-เทวละ11 ได้สวดสาธกภารตะนี้แก่บรรดาบรรพชน ศุกะก็ได้บรรยายเรื่องนี้แก่พวกคนธรรพ์ และพวกยักษ์ และพวกรากษส.
ทุรโยธน์เป็นไม้ใหญ่ที่ยอดเยี่ยมที่สร้างขึ้นจากความหลงใหล กรรณะเปรียบเป็นดั่งลำต้น ศกุนีเป็นเหมือนกิ่งก้าน ทุหศาสันเป็นดั่งผลและดอกไม้ที่อุดมสมบูรณ์ และท้าวธฤตราษฎร์ผู้ไร้สติเป็นเหมือนรากของมัน ยุธิษฐิระเป็นต้นไม้อันเลิศที่สร้างขึ้นจากความชอบธรรม อรชุนเป็นดั่งลำต้น ภีมะเสมือนเป็นกิ่งก้านสาขาของมัน บุตรชายทั้งสองของนางมาทรี12 เป็นผลและดอกไม้ที่อุดมสมบูรณ์ และพระกฤษณะ พระพรหม และเหล่าพราหมณ์ก็เป็นดั่งรากของมัน.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. หมายถึง ภีษมะ (भीष्म - Bhīṣma) หรือ คงคาบุตร (गङ्गापुत्र - Gaṅgāputra)
02. นิโยค (नियोग - Niyoga) ในอินเดียสมัยโบราณมีประเพณีอยู่อย่างหนึ่งคือ หากสตรีคนใดสามีตายโดยไม่มีบุตร พี่ชายหรือญาติที่ใกล้ชิดของสามีที่ตายไปนั้นอาจจะรับเป็นสามีของสตรีคนนั้นได้ ทั้งนี้เพื่อจะได้มีบุตรสืบสกุล ประเพณีนี้ในภาษาสันสกฤตเรียกว่า "นิโยค" และบุตรที่เกิดโดยเงื่อนไขเช่นนี้ เรียกว่า "เกฺษตฺรช" ประเพณีนี้มีปฏิบัติกันในบรรดาชนเผ่ายิวโบราณเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Levirate.
03. หมายถึง ท้าวธฤตราษฎร์ (धृतराष्ट् - Dhṛtarāṣṭra) ท้าวปาณฑุ (पाण्डु - Pāṇḍu) และมหามติวิทูร (विदुर - Vidura).
04. นางอัมพิกา (अम्बिका - Ambikā) และนางอัมพาลิกา (अम्बालिका - Ambālikā)
05. ราชาวิจิตรวีรยะ (विचित्रवीर्य - Vicitravīrya - ผู้กล้าอันงดงาม) พระอนุชาของภีษมะ.
06. ตาย.
07. ภารตะ (भारत - Bhārata) เป็นฉบับส่วนขยาย (มี 24,000 โศลก) จากฉบับดั้งเดิม (ชยะ - มี 8,800 โศลก) ของมหากาพย์มหาภารตะในฉบับปัจจุบัน ซึ่งมีมากถึง 90,000 โศลก (หรือ 100,000 โศลก).
08. วาสุเทพ (वासुदेव - Vāsudeva) - ชื่อของพระกฤษณะ ในฐานะที่เป็นบุตรของวสุเทพ (वसुदेव - Vasudeva).
09. ศุกะ (शुक - Śuka)
10. พระฤๅษีนารทมุนี (नारद - Nārada) ดูหมายเหตุ คำอธิบาย 1 หน้าที่ 1 ของ 01. พาลกัณฑ์ - สรรคที่ 1-2. รามายณะ.
11. อสิต-เทวละ (असित - देवल - Asita-Devala) เป็นสองฤๅษีโบราณ ซึ่งมักจะปรากฎชื่อสองท่านนี้คู่กันเสมอ.
12. นางมาทรี (माद्री - Mādrī) เป็นมารดาของนุกุล และสหเทพ.
.
.
หน้าที่ 7
'หลังจากที่ท้าวปาณฑุได้พิชิตแคว้นรัฐต่าง ๆ มากมายทั้งด้วยสงครามและความกล้าหาญ พระองค์ก็ทรงพักผ่อนโดยเสด็จเข้าพงพนาไปกับเหล่าฤๅษี. ด้วยพระองค์ชอบล่าสัตว์ จากการที่ได้สังหารกวางในขณะที่มันกำลังสมสู่กับคู่ของมัน ทำให้การออกไปล่าสัตว์ได้นำความโชคร้ายมาสู่ท้าวปาณฑุ. ตั้งแต่เหล่าภราดาปาณฑพถือกำเนิด ซึ่งเป็นบุตรชายของนางปฤถา01 ได้ใช้ชีวิตตามบรรทัดฐานที่กำหนดไว้. ตามที่ได้บัญญัติไว้ตามตัวบท มารดาทั้งสอง02 ได้ตั้งครรภ์กอปรด้วยบุตรที่เกิดจากพระธรรมเทพ03 พระวายุ04 ท้าวสักกะ05 และจากเทพสององค์คือเทพฝาแฝดพระอัศวิน. เหล่าภราดาปาณฑพเจริญวัยขึ้นภายใต้การดูแลของมารดาทั้งสองและได้อยู่ในสังคมของเหล่าปราชญ์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ทั้งในป่าพุ่มไม้และพนาพงไพร. จากนั้นเหล่าปราชญ์นี้ก็พาเหล่าภราดาฯ ไปยังที่ที่ปราชญ์พำนักและพงไพร. จากนั้นบรรดาปราชญ์ฤๅษีได้พาเหล่าภราดาปาณฑพ ไปพบท้าวธฤตราษฎร์และเหล่าโอรสของพระองค์. เหล่าภราดาปาณฑพได้แต่งกายเป็นศิษย์พรหมจารี06 ไว้ปอยผมอันศักดิ์สิทธิ์. ฤๅษีท่านหนึ่งกล่าวว่า "ศิษย์ของเราเหล่านี้ เป็นบุตรของท้าวปาณฑุ เป็นบุตร เป็นพี่น้อง และเป็นมิตรสหายของท่าน." เมื่อกล่าวเช่นนี้แล้ว พระฤๅษีก็จากไป. เมื่อท้าวธฤตราษฎร์และเหล่าโอรสของพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นเหล่าบุตรชายของท้าวปาณฑุที่ถูกทิ้งไว้กับพวกตนแล้ว พวกเการพ และบรรดาบัณฑิตท่ามกลางวรรณะต่าง ๆ รวมทั้งชาวเมือง (หัสตินาปุระ) ต่างโห่ร้องต้อนรับด้วยความยินดี. อย่างไรก็ตามมีบางคนกล่าวว่าพวกเขาไม่ใช่บุตรชายของท้าวปาณฑุ เมื่อท้าวปาณฑุได้สิ้นพระชนม์ไปนานแล้ว. อย่างไรก็ตามด้วยเสียงติฉินนินทาดังมาจากทั่วทุกสารทิศ ก็ไม่มีใครสนใจนัก. ด้วยโชคมหาศาล เมื่อบุตรหลานของท้าวปาณฑุปรากฎตัวให้เห็น. เหล่าภราดาปาณฑพก็ได้รับการต้อนรับ. เสียงต้อนรับสะท้อนก้องไปทั่ว. ความอลเวงนินทากาเลก็สิ้นสุดลง สิ่งมีชีวิตที่มองไม่เห็น (ปีศาจ สิ่งที่ไม่เป็นมงคล) ก็ร้องโวยวายเสียงดัง และสะท้อนก้องไปทุกทิศทาง. เมื่อปารถะ08 และคนอื่น ๆ เข้ามายังเมือง ก็มีกลิ่นดอกไม้หอมฟุ้งกระจายไปทั่ว พร้อมเสียงสังข์และกลองคาบ (ไภริน, กลองหน้าเดียวก้นกลม). นับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ยิ่ง. ความปรีดาปรากฎจากชาวเมืองผู้ที่รักชื่นชมพวกเขา เสียงดังลั่นนี้ได้ยินไกลไปถึงสวรรค์ และทำให้ชื่อเสียงของเหล่าภราดาปาณฑพขจรขจาย.
พี่น้องปาณฑพได้อาศัยอยู่ที่เมืองนี้ โดยไม่มีผู้ใดมาคุกคาม พวกเขาได้ศึกษาพระเวทและศาสตร์09 อื่น ๆ อีกมากมาย ประชาชนทุกคนเคารพพวกเขา. ชาวเมืองต่างชื่นชมกับความบริสุทธิ์ของยุธิษฐิระ ความแข็งแกร่งของภีมะ ความกล้าหาญของอรชุน ความนอบน้อมของฝาแฝด (นกุลและสหเทพ) และความอ่อนน้อมถ่อมตนของนางกุนตีต่อผู้เฒ่าผู้แก่ของนาง.
---------------
01. ปฤถา (पृथा - Pṛthā) เป็นชื่อเดิมของนางกุนตี (कुन्ती - Kuntī) - มารดาแห่งวีรบุรุษ (วีรมาตะ - Vīramāta) ปฤถานั้น เป็นนามสกุลของนางกุนตี น้องสาวของวาสุเทพ (พระกฤษณะ) บุตรบุญธรรมของท้าวกุนติโภช (कुन्तिभोज - Kuntibhoja) ผู้ไร้บุตร ซึ่งเป็นเพื่อนของบิดา, ท้าวสุระ (Śūra) นางได้รับใช้พระฤๅษีทุรวาส (Durvāsa) และได้มนตร์มาบ้าง นางได้อัญเชิญพระอาทิตย์มาต่อหน้านางเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของมนตร์ นางขอร้องให้พระองค์กลับมา แต่พระองค์ได้พระราชทานบุตรชายแก่นางเมื่อนางยังเป็นสาวและจากไป นางกลัวเรื่องอื้อฉาว จึงทิ้งบุตรไว้ในแม่น้ำ และต่อมานางได้กลายเป็นชายาของท้าวปาณฑุ นางได้ให้กำเนิดบุตรชายที่มีชื่อเสียงสามคน ทั้งหมดเป็นเทพบุตร (Devaputras) และเทียบเท่ากับพระอินทร์ ได้แก่ ยุธิษฐิระ (ธรรมบุตร - Dharmaputra) จากธรรมเทพ (พระยม) ภีมะจากมรุตะ {Māruta - พระพาย - (पवन - Pavana) หรือพระวายุ} และอรชุนจากพระอินทร์.
02. นางกุนตีและมาทรี.
03. พระธรรมเทพ เป็นอีกนามหนึ่งของพระยม. รายละเอียดดูเพิ่มเติมใน หมายเหตุ คำอธิบาย 01 หน้าที่ 54 ของ 01.1 อาทิบรรพ - บรรพแห่งการเริ่มต้น.
04. พระวายุ (वायु - Vāyu) หมายถึงเทพแห่งลม หรือ มารุต (मारुत - Māruta) หรือ พระพาย (पवन - Pavana).
05. ท้าวสักกะ (शक्र - Śakra) อีกนามหนึ่งของพระอินทร์.
06. พรหมจารี (ब्रह्मचारी - Brahmacārī or Brahmachari) - ผู้ที่อยู่ในช่วงพรหมจรรย์ของชีวิต ผู้ที่อาศัยอยู่ในพรหมจรรย์หรือจิตสำนึกสากล, ศิษย์พรหมจรรย์ภายใต้การดูแลของอาจารย์ทางจิตวิญญาณ ผู้ที่อยู่ในระดับแรกของชีวิตทางจิตวิญญาณ ในระบบสังคมพระเวท ศิษย์ที่ยอมรับคำปฏิญาณพรหมจรรย์อย่างเคร่งครัด ในกรณีของพราหมณ์ จะเป็นเช่นนี้จนถึงอายุ 25 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พวกเขาสามารถแต่งงานหรือดำเนินชีวิตพรหมจรรย์ต่อไปได้ นับเป็นสมาชิกของกลุ่มชีวิตทางจิตวิญญาณกลุ่มแรก ตามระบบสังคมพระเวทที่มีอาศรมสี่กลุ่ม (four āśramas)07.
วานปรัสถ์ (Vānaprastha), ภาพวาดโดย Niharranjan Sen Gupta, วันที่: ไม่ทราบ, ที่มา: https://archive.org via en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง: 17 กันยายน 2567.
07. อาศรม (आश्रम - Āśrama) อาศรมสี่กลุ่ม หรือ ระบบอาศรม (four āśramas or Āśrama system) เป็นระบบของช่วงชีวิต ตามแนวทางของพราหมณ์-ฮินดูโบราณ โดยแบ่งเป็นสี่ช่วง
หนึ่ง) พรหมจรรย์ (ब्रह्मचर्य - Brahmacharya) - ช่วงวัยเป็นศิษย์ ศึกษาเล่าเรียน.
สอง) คฤหัสถ์ (गृहस्थ - Gṛhastha) - ผู้ครองเรือน
สาม) วานปรัสถ์ (वानप्रस्थ - Vānaprastha) - วิถีสู่พนาวร.
สี่) สันยาสะ (संन्यास - Saṃnyāsa or Sannyasa or Sanyasa or Sanyasi) - การสละโดยการบวช เป็นพรต.
08. ปารถะ (पार्थ - Pārtha) หมายถึง อรชุน บุตรแห่งนางปฤถา.
09. ศาสตร์ (शस्त्र - Śastra) หมายถึง อาวุธมหัศจรรย์ (Miraculous weapon) อ้างถึงศิวะปุราณะ, ส่วนในคัมภีร์ธรรมศาสตร์นั้นกล่าวว่า ศาสตร์ หมายถึง สาขาวิชาที่เรียนรู้, หากพิจารณาในนิยามทั่วไป ศาสตร์ในภาษาสันสกฤตแปลว่า กฎเกณฑ์ทั่วไป คำนี้ใช้เป็นคำต่อท้ายในบริบทของความรู้ทางเทคนิคหรือเฉพาะทางในสาขาการปฏิบัติที่กำหนดไว้ เช่น Jīva Śastra หมายถึง ชีววิทยา (Biology), Vastu Śastra หมายถึง สถาปัตยกรรมศาสตร์ (Architectual science), Śilpa Śastra หมายถึง ศาสตร์แห่งประติมากรรม (Science of sculpture), Neeti Śastra หมายถึง รัฐศาสตร์ (Political Science) เป็นต้น.
.
.
หน้าที่ 8
ทั่วทั้งโลกต่างพึงพอใจกับระดับความกล้าหาญของเหล่าภราดาปาณฑพ.
'หลังจากที่ผ่านไปไม่กี่ปี ในการชุมนุมของเหล่ากษัตริย์อันมีพิธีที่นางกฤษณา01 จะเป็นผู้เลือกเจ้าบ่าว อรชุนได้แสดงฝีมือทักษะอันยากยิ่งและได้รับชัยชนะในการแข่งขัน รวมทั้งชนะ (ใจ) ของเธอด้วย. จากวันนั้นเป็นต้นมาเขาได้รับการเคารพจากผู้คนทั้งโลกในฐานะจอมเกาทัณฑ์ผู้ยิ่งใหญ่. อรชุนเป็นดั่งดวงอาทิตย์ในสนามรบ ดูเป็นที่แสลงใจ (สำหรับศัตรู) อย่างยิ่ง. เขาปราบบรรดาราชาและกลุ่มชนเผ่าที่สำคัญได้ทั้งหมด. ด้วยเหตุนี้กษัตริย์02 จึงสามารถประกอบพิธีบูชาราชสูยะ03 ได้. ด้วยคำแนะนำอันชาญฉลาดของพระกฤษณะ, ฤทธิ์ของภีมะและอรชุน ตลอดจนท้าวยุธิษฏิระ ได้สังหารท้าวชราสันธ์04 และบั่นเศียรกษัตริย์แห่งเจตี05 ด้วยเหตุนี้จึงมีสิทธิธรรมในการทำพิธีราชสูยะ อันอุดมไปด้วยเสบียงภักษาหาร และเครื่องบูชา และเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม. ทุรโยธน์ได้มายังราชพิธีนี้ด้วย และได้เห็นทรัพย์ศฤงคารอันมากมายของเหล่าพวกภราดาปาณฑพในทุกด้าน -- ทั้งเครื่องบูชา อัญมณีมีค่า ทองคำ เพชร พลอย โคกระบือ ม้า ช้าง และสมบัติต่าง ๆ . เมื่อเห็นดั่งนี้ ความริษยาทำให้ทุรโยธน์พลุ่งพล่าน ยิ่งคุกรุ่นเมื่อได้เห็นท้องพระโรง (ของนครอินทรปรัสถ์) สวยสง่าดุจเทียมม้าสวรรค์ที่สร้างด้วยมายา. ก่อนที่พระกฤษณะ (จะมีวีรกรรมกับทุรโยธน์ในเบื้องหน้า) เขาก็ถูกภีมะเยาะเย้ยว่าเขามีชาติกำเนิดแสนธรรมดา เพราะสับสนกับสถาปัตยกรรมที่หลอกลวง.
'ท้าวธฤตราษฎร์ก็ได้รับรายงานเรื่องราวนี้ ในขณะที่พระองค์กำลังสำราญกับสิ่งของบรรดามีและของมีค่าต่าง ๆ อยู่นั้น บุตรของพระองค์ (ทุรโยธน์) ก็กลายเป็นดูซีด เหลือง และผอมแห้ง อันความรักที่มีต่อบุตรชาย กษัตริย์พระเนตรบอดจึงอนุญาตให้บุตรทุรโยธน์จัดให้มีการเล่นสกาขึ้น. เมื่อวาสุเทพได้ทราบเรื่อง พระองค์พิโรธ. แต่ก็ไม่ได้ทำอะไรเพื่อหยุดการพิพาทนี้ และมองความเกมแห่งความตายและการกระทำอันอยุติธรรมอื่น ๆ ที่มีความสำคัญเพิ่มขึ้น. แม้แต่มหามติวิทูร ภีษมะ โทรณาจารย์06 และกฤปาจารย์07 รวมทั้งบุตรแห่งศารวัต08 แต่พระองค์ (พระกฤษณะ) ก็ทำให้เหล่ากษัตริย์สังหารเข่นฆ่ากันเองในมหาสงครามที่กำลังจะเกิดขึ้น.
'เมื่อได้ทราบข่าวชัยชนะของพวกปาณฑพและทราบถึงปฏิญญาของทุรโยธน์ กรรณะ และศกุนิแล้ว, ท้าวธฤตราษฎร์ครุ่นคิดอยู่ครู่หนึ่ง จากนั้นจึงกล่าวแก่สัญชัย09 ว่า: "โอ สัญชัย! จงฟังทุกสิ่งที่ข้าฯ จะกล่าว.
---------------
01. นางกฤษณา (कृष्णा - Kṛṣṇā) เป็นอีกชื่อหนึ่งของนางเทฺราปตี และอีกชื่อก็คือ ปาญฺจาลี (पाञ्चाली - Pāñcālī หรือ Panchali - ราชธิดาแห่งแคว้นปาญจาละ หรีอ ปัญจาละ - पञ्चाल, Pañcāla).
02. ท้าวยุธิษฎิระ - ราชาแห่งเมืองอินทรปรัสถ์ (इन्द्रप्रस्थ - Indraprastha).
03. ราชสูยะ (राजसूय - Rājasūya) - เป็นพิธีราชาภิเษกของภารตะโบราณ มีปรากฎในยชุรเวท (รวมทั้งพิธีอัศวเมธ) เป็นการเสียสละอันยิ่งใหญ่เมื่อมีการราชาภิเษก โดยกษัตริย์และเจ้าชายอื่น ๆ ถวายเครื่องบรรณาการและต้องยอมรับความเหนือกว่าของกษัตริย์ผู้สวมมงกุฎแห่งสากลโลก.
04. ท้าวชราสันธ์ (जरासन्ध - Jarāsandha) - กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ (मगध - Magadha) ต่อมาถูกสังหารโดยภีมะ (สภาบรรพ).
05. กษัตริย์แห่งเจตี (चेदी - Cedī or Chedi) - หมายถึงศิศุปาละ (शिशुपाल - Śiśupāla) กษัตริย์ที่เป็นอริกับพระกฤษณะ เป็นโอรสของท้าวทมโกษะ. เดิมปางก่อนมีนามว่า "ชยะ" เป็นทวารบาลไวกูณฐ์สวรรค์ (वैकुण्ठ - Vaikuṇṭha) ของพระวิษณุ. พระกฤษณะได้สังหารศิศุปาละในระหว่างพิธีบูชาราชสูยะ.
06. โทรณาจารย์ (द्रोण - Droṇa หรือ द्रोणाचार्य - Droṇācārya) - อาจารย์ผู้สอนการยิงธนูให้แก่พวกปาณฑพและพวกเการพ.
07. กฤปาจารย์ หรือ กฤปะ (कृपाचार्य - Kṛpācārya หรือ कृप - Kṛpa) - ท่านเป็นสมาชิกสภาแห่งอาณาจักรกุรุ และเป็นครูของพวกปาณฑพและพวกเการพในช่วงแรก ๆ ก่อนที่โทรณาจารย์จะเข้ามาสอนในช่วงหลัง.
08. ศารวัต (शारद्वत - Śāradvata) - เป็นอีกชื่อของกฤปาจารย์ {กำเนิดจากปราชญ์-นักรบนามว่าศารวัน (Śāradvan) และนางอัปสรา (अप्सरा)} ต่อมาเป็นอาจารย์ของราชาปรีกษิต (परीक्षित् - Parīkṣit) ซึ่งได้ต้อนรับมหามติวิทูรสู่เมืองหัสตินาปุระ.
09. สัญชัย บ้างก็เรียก สันชัย (सञ्जय - Sanjaya แปลว่าชัยชนะ) - เป็นสาวกของฤๅษีวฺยาส เชื่อกันว่าท่านมีพรสวรรค์แห่งการเห็นทิพยทฤษฎิ10 ซึ่งเป็นความสามารถในการสังเกตเหตุการณ์ที่อยู่ไกลออกไปในจิตใจของท่าน ซึ่งได้รับมาจากฤๅษีวฺยาส ท่านเล่าเหตุการณ์ในสงครามคุรุเกษตรให้ท้าวธฤตราษฎร์ฟัง รวมทั้งเหตุการณ์ที่บรรยายไว้ในคัมภีร์หรือลำนำภควัท คีตา.
10. ทิพยทฤษฎิ (दिव्यदृष्टि - Divyadṛṣṭi หรือ Divyadrishti หรือ Divya-drishti ) - นิมิตอันศักดิ์สิทธิ์.
.
.
หน้าที่ 9
แล้วเจ้าก็จะพบว่าข้าฯ ไม่สมควรได้รับการดูหมิ่น. เจ้าเป็นผู้มีความรู้ในคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ มีความฉลาด มีปัญญา และเป็นที่เคารพนับถือก็เพราะด้วยปัญญาของเจ้า. ข้าฯ ไม่ได้ชอบสงคราม และไม่ชอบการทำลายล้างสายเลือดของข้าฯ เอง. ข้าฯ ไม่ได้มีความผูกพันกับบุตรชายเป็นพิเศษ เมื่อเทียบกับบุตรชายของของท้าวปาณฑุ. เหล่าบุตรชายของข้าฯ เดินทางผิด ไม่พอใจข้าฯ เพราะข้าฯ ชราและตาบอด. ทั้งหมดที่ข้าฯ ทนทุกข์ทรมานนี้ ก็เพราะสภาพร่างกายที่อ่อนแอของข้าฯ และด้วยความรักที่มีต่อบุตรชายของข้าฯ . ข้าฯ ช่างหลงผิดและโง่เขลาเสียเหลือเกิน และความโง่เขลาของทุรโยธน์ก็เติบโตมาจากสิ่งนั้น. เขาเห็นความมั่งคั่งและอำนาจของเหล่าบุตรของท้าวปาณฑุในพิธีราชสูยะ และถูกเยาะเย้ยถึงความเก้ ๆ กัง ๆ เมื่อดำเนินเข้าสู่ท้องพระโรง. ทุรโยธน์ไม่อาจทนเห็นสิ่งนี้ได้ และก็ไม่สามารถเอาชนะเหล่าภราดาปาณฑพในสนามรบได้เช่นเดียวกัน. ต่างจากกษัตริย์ที่ไม่สามารถเสาะแสวงหาสมบัติได้เต็มที่ เขาจึงวางแผนการเล่นสกาอย่างไม่ยุติธรรมด้วยความช่วยเหลือของกษัตริย์แห่งแคว้นคันธาระ.01 โอ ซัลติ!02 จงฟังคำพูดของข้าฯ และเรียนรู้ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในภายหลังและทุกอย่างที่ข้าฯ รู้. เมื่อเจ้าได้ยินสิ่งที่ข้าฯ พูดและจำได้ เจ้าจะรู้ว่าดวงตาอันชาญฉลาดของข้าฯ นั้น มีพรสวรรค์ในการมองการณ์ไกล.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่านางกฤษณา03 ถูกนำตัวไปแสดงต่อหน้าเหล่ากษัตริย์ เมื่อธนูวิเศษได้ง้างขึ้นและแล่นออกไป เป้าก็ตกลงสู่พื้น.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่านางสุภัทรา04 แห่งวงศ์มธุ05 ถูกอรชุนบังคับให้สมรสที่เมืองทวารกา06 ในขณะที่วีรบุรุษทั้งสอง07 แห่งวงศ์วฤษณิ08 ก็ยังเข้าเป็นเพื่อนสนิทกับเมืองอินทรปรัสถ์09 โดยไม่รู้สึกขุ่นเคือง.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าอรชุนทำให้พระอัคนี10 พึงพอใจ โดยมอบขาณฑวะ วนา11 ให้ และเมื่ออรชุนใช้ศรศักดิ์สิทธิ์ตรวจดูฝนที่ตกลงมาโดยกษัตริย์แห่งเหล่าเทพ (พระอินทร์).
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่ายุธิษฐิระพ่ายแพ้ในการเล่นสกาแก่ซัลพละ12 และอาณาจักรของเขาก็ถูกริบ ทั้ง ๆ ที่เหล่าภราดาปาณฑวะที่เหลือซึ่งยังทรงอำนาจ ได้ร่วมนั่งดูการเล่นสกานี้ด้วยก็ตาม.
---------------
01. คันธาระ (गान्धार - Gāndhāra) - กษัตริย์แห่งคันธาระคือศกุนิ (शकुनि - Śakuni) — ดินแดนแห่งภารตะโบราณ เชื่อกันว่าดินแดนนี้ทอดยาวจากริมฝั่งแม่น้ำสินธุไปจนถึงคาบูล, ท้าวสุพลาเป็นผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่ของรัฐนี้ บุตรีของพระองค์คือนางคานธารี ซึ่งเป็นชายาของท้าวธฤตราษฎร์ (โศลกที่ 11, อัธยายะที่ 111, อาทิบรรพ).
02. ซัลติ (सौति - Sauti or Souti) หมายถึงผู้เล่าเรื่องมืออาชีพ ในที่นี้หมายถึงสัญชัย.
03. นางเทฺราปตี.
04. นางสุภัทรา (सुभद्रा - Subhadrā) - ขนิษฐาของพระกฤษณะ ซึ่งนางสุภัทราเป็นธิดาของวสุเทพกับนางเทวกี พระนางมีพี่ชายสองคนคือพระกฤษณะและสารณะ {ส่วนพลราม (बलराम- Balarāma) - เกิดจากวสุเทพกับนางโรหิณี (रोहिणी - Rohiṇī) - พลรามมีศักดิ์เป็นพี่พระกฤษณะ} และนางเป็นชายาของอรชุน เป็นมารดาของอภิมันยุ (अभिमन्यु - Abhimanyu) - และเป็นอัยกีของท้าวปรีกษิต.
05. วงศ์มธุ (मधु - Madhu) - แปลว่า หวาน น้ำผึ้ง หรือเป็นอีกฉายาหนึ่งของพระศิวะ, วงศ์ยาทวะ (यादव - Yādava, The Yādavas) หรือวงศ์มาธุระ (माथुर - Māthura, The Māthuras) ก็สืบมาจากวงศ์มธุ.
06. เมืองทวารกา (द्वारका - Dvārakā) - อาณาจักรเกาะของพระกฤษณะ ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งตะวันตกของภารตะ ซึ่งพระองค์ทรงแสดงมนตร์ขลังเมื่อห้าพันปีก่อน เมืองหลวงของชาวยาดู พระกฤษณะทรงสร้างเมืองนี้ขึ้นเพื่อปกป้องชาวยาดูจากการโจมตีของเหล่าอสูร เมืองนี้เป็นเกาะนอกชายฝั่งตะวันออกของภารตะ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าคุชราต เมื่อพระกฤษณะสิ้นชีพ มหาสมุทรก็ปกคลุมเมืองนี้ทั้งเมือง.
07. พระกฤษณะและพลราม รายละเอียดพลราม ดูได้ในหมายเหตุ คำอธิบาย ข้อ 1. หน้าที่ 152 ของ 05. อุโทยคบรรพ - บรรพแห่งความพยายาม.
08. วงค์วฤษณิ หรือ วริชนิ (वृष्णि - Vṛṣṇi หรือ Vrishni) - เป็นวงศ์ที่สืบต่อมาจากวงศ์ยาดู, ซึ่งวฤษณิเป็นชื่อของหนึ่งในกษัตริย์ผู้มีชื่อเสียงของวงศ์ยาดู.
09. อินทรปรัสถ์ (इन्द्रप्रस्थ - Indraprastha) - เป็นเมืองหลวงของพวกปาณฑวะ ปัจจุบันคือเมืองเดลลี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของภารตะยุคปัจจุบัน.
10. พระอัคนี (अग्नि - Agni) - เทพแห่งไฟ เป็นบุตรของพระพรหม เป็นตัวตนอันศักดิ์ของการบูชาไฟ ถือเป็นผู้ส่งสารของเหล่าเทวดาไปยังมวลมนุษย์.
11. ซัลพละ (सौबल - Saubala หรือr Soubala) - เป็นอีกฉายาหนึ่งของศกุนิ.
ท้าวธฤตราษฎร์ให้สัญชัย เล่าถึงเหตุการณ์ในมหาสงคราม ณ ทุ่งคุรุเกษตร, ที่มา: asitis.com ผ่าน www.pinterest.com, วันที่เข้าถึง: 24 กันยายน 2567.
.
.
หน้าที่ 10
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่านางเทฺราปที ซึ่งมีผู้อารักษ์ปกป้อง แต่ดูราวกับว่าไม่มีผู้ปกป้องเอาเสียเลย นางถูกฉุดกระชากไปยังท้องพระโรงในขณะที่นางมีประจำเดือน โดยมีอาภรณ์ห่มกายเพียงชิ้นเดียวและมีน้ำตาไหลตกในลำคอ.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าเหล่าภราดาปาณฑพผู้โศกเศร้าและชอบธรรมได้ออกเดินทางสู่ป่าพนาไพร ร่วมทุกข์ทนด้วยความรักที่มีต่อพระเชษฐา.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าสนาตัก01 และพราหมณ์ผู้ยิ่งใหญ่จำนวนนับพัน ซึ่งอาศัยไทยทานและของบริจาคยังชีพ ได้ติดตามธรรมราชา02 สู่พงไพรด้วย.
อรชุนรับศรศักดิ์สิทธิ์ "ปาศุปตะ" (पाशुपत - Pāśupata) อันทรงอานุภาพจากองค์ภควาน ศิวะ (ด้านขวายืนคือพระกฤษณะ), ที่มา: x.com, วันที่เข้าถึง: 25 กันยายน 2567.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าอรชุนได้สงบศึกต่อพระศิวะเจ้า ผู้เป็นเทพแห่งทวยเทพ ซึ่งได้ปรากฎตัวต่อหน้าอรชุนในรูปลักษณ์ของตฺรยัมพกะ03 พรานป่าและอรชุนได้รับอาวุธสำคัญคือ ปาศุปตะ04.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าอรชุนซึ่งผูกพันกับคำมั่นของตนได้ขึ้นสวรรค์และเรียนรู้การใช้อาวุธสวรรค์ต่าง ๆ อย่างถูกต้องจากพระอินทร์.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าภีมะและบุตรคนอื่น ๆ ของนางกุนตี พร้อมด้วยท้าวไวศฺรวณ05 ได้เดินทางไปยังดินแดนที่มนุษย์เข้าไปไม่ถึง.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าเหล่าบุตรชายของข้าฯ ได้รับคำแนะนำจากกรรณะให้ไปทำภารกิจเกี่ยวกับปศุสัตว์ แต่แล้วก็ถูกพวกคนธรรพ์จับตัวไป และได้รับการปลดปล่อยโดยอรชุน.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าพระธรรม06 ได้ปรากฎตัวต่อพระธรรมราชา07 และตั้งคำถามซึ่งได้รับคำตอบที่ถูกต้อง.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าอรชุนผู้มีจิตใจอันยิ่งใหญ่ซึ่งอาศัยอยู่ในอาณาจักรของท้าววิราฏ08 สิ่งที่ดีที่สุดของข้าฯ ก็ถูกอรชุนทำลายด้วยรถม้าศึกเพียงคันเดียว.
---------------
01. สนาตัก (स्नातक - Snātaka or Snataka) - พราหมณ์ที่ผ่านการศึกษาระยะแรกและมีความเป็นพรหมจรรย์ และกำลังเข้าสู่ขั้นคฤหัสถ์ (ผู้ครองเรือน - Gṛhastha) เรียกว่า สนาตัก บ้างก็เรียก สนาฏกะ.
02. ธรรมราชา (धर्मराज - Dharmarāja) หมายถึง ยุธิษฐิระ.
03. ตฺรยัมพกะ (त्र्यम्बक - Tryambaka หรือ Tryaṃbaka) - พระผู้มีสามเนตร หนึ่งในสิบเอ็ดฉายาของพระรุทร (रुद्र - Rudra) ตามที่ปรากฎในศิวะปุราณะ. รายละเอียดดูใน นามของพระศิวะ เทพ เทวีที่เกี่ยวข้อง และรายละเอียดต่าง ๆ.
04. ปาศุปตะ (पाशुपत - Pāśupata หรือ Pashupata) - เป็นศร เป็นขีปนาวุธ เป็นอาวุธของมหาเทพพระศิวะ. ในระหว่างที่อรชุนถูกเนรเทศให้อยู่ป่านั้น เขาได้บำเพ็ญตบะเพื่อเอาใจพระศิวะ และได้รับขีปนาวุธนี้จากพระองค์.
05. ท้าวไวศฺรวณ หรือ ท้าวเวสุวัณ หรือ ท้าวเวสวัณ (สันสกฤต: वैश्रवण - ไวศฺรวณ or บาฬี: वेस्सवण - เวศฺสวณ - Vaiśravaṇa หรือ Vaishravana) หมายถึง ท้าวกุเวร (Kubera).
06. หมายถึง พระยม เทพแห่งความตาย.
07. หมายถึง ท้าวยุธิษฐิระ.
08. ท้าววิราฏ (विराट - Virāṭa) - กษัตริย์แห่งแคว้นมัสยา.
.
.
หน้า 11
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่ากษัตริย์แห่งมัสยา01 ได้ยกย่องให้เกียรติแก่อรชุน โดยยกธิดาคือนางอุตตรา02 แก่เขา และอรชุนก็ยอมรับ แต่ขอยกนางอุตตราให้แก่บุตรของตนแทน.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่ายุธิษฐิระผู้พ่ายแพ้ ไร้สมบัติพัสถาน ถูกเนรเทศ ต้องพลัดพรากจากญาติมิตร แต่กลับมาระดมกองทัพได้มากถึงเจ็ดอักเษาหิณี03.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินคำประกาศของฤๅษีนารทมุนีว่า พระกฤษณะและอรชุนคือพระนรและพระนารายณ์ และฤๅษีก็เห็นพวกเขาทั้งสองในสวรรค์ชั้นพรหมา.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าพระกฤษณะแห่งวงศ์มธุ ผู้ทรงปกคลุมโลกทั้งใบด้วยฝ่าเท้าเดียว04 ได้เข้าร่วมกับฝ่ายปาณฑพแล้ว.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่ากรรณะและทุรโยธน์วางแผนจะด่าทอเกศวะ05 ซึ่งเขาได้แสดงร่างในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าเกศวะได้เข้าไปปลอบใจนางปฤถา06 ณ หน้ารถม้าศึกของพระองค์ ซึ่งนางร่ำไห้เมื่อพระองค์จะจากไป.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าวาสุเทพได้เป็นที่ปรึกษาแก่พวกเขา (ฝ่ายปาณฑพ) และได้ให้พรแก่ทั้งสองคือ บุตรแห่งท้าวศานตนุ คือ ภีษมะ และบุตรแห่งภรัทวาช07.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่ากรรณะกล่าวแก่ภีษมะว่า เขาจะไม่เข้าสู้ในสนามรบ หากภีษมะสู้ และเมื่อกล่าวเช่นนี้แล้ว ภีษมะก็จากไป.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าวาสุเทพ อรชุน และธนูคาณฑีวะ08 อันทรงพลังไร้ขอบเขต รวมตัวกันเป็นสามองค์ที่เต็มไปด้วยพลังอันน่าสะทกสะท้าน.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าอรชุนซึ่งเหนื่อยล้าจนหมดเรี่ยวแรงได้ทรุดตัวลงบนรถศึกแล้วนั้น พระกฤษณะได้แสดงถึงโลกทั้งมวลในกายของพระองค์ให้อรชุนเห็น.
---------------
01. มัสยา (मत्स्य - Matsya) - ในมัธยประเทศ (Madhyadeśa) ระหว่างทางจากเมืองทวารกา (Dvārakā) ไปยังเมืองหัสตินาปุระ (Hastināpura); มหามติวิทูร (Vidura) เข้ามาเยี่ยม; กษัตริย์ของมัสยะ (Matsya) ซึ่งพ่ายแพ้ต่อพระกฤษณะ (Kṛṣṇa) นั่นคือท้าววิราฏ (विराट - Virāṭa).
02. นางอุตตรา (उत्तरा - Uttarā) - ธิดาของท้าววิราฏ และเป็นชายาของอภิมันยุ, แต่เริ่มเดิมทีท้าววิราฏประสงค์ที่จะยกนางอุตตราแก่อรชุน แต่อรชุนปฏิเสธขอยกให้บุตรชายตนคืออภิมันยุแทน นางอุตตราได้เป็นมารดาของท้าวปรีกษิตในกาลต่อมา.
หนึ่งในกองทัพของพวกเการพ, พัฒนาเมื่อ 3 ตุลาคม 2567.
.
03. อักเษาหิณี (अक्षौहिणी - Akshouhini หรือ Akṣauhiṇī) - กองทัพที่มีกระบวนพร้อมมูล (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน) (บาลีเป็น อกฺโขภิณี) มักถูกใช้วัดขนาดของกองทัพในวรรณกรรมภารตะโบราณ 1 อักเษาหิณี มีกำลังรบดังต่อไปนี้คือ มีช้าง 21,870 เชือก, ม้า 65,610 ตัว, รถรบหรือรถศึก 21,870 คัน และ มีทหารเดินเท้า 109,350 คน รายละเอียดดูเพิ่มเติมใน หมายเหตุ คำอธิบาย 01 หน้าที่ 155 ของ 05. อุโทยคบรรพ - บรรพแห่งความพยายาม.
04. หมายถึง "วามนาวตาร" อันเป็นนารายณ์อวตารปางที่ห้าของพระวิษณุ เมื่อถือกำเนิดเป็นพราหมณ์แคระวามน ซึ่งพระองค์ทำให้ราชาปีศาจท้าวพลีต้องอับอาย รายละเอียดดูใน นารายณ์อวตาร ตอนที่ 5 "วามนาวตาร".
05. เกศวะ (केशव - Keśava หรือ Keshava - ผู้มีผมงดงาม) - หนึ่งใน 108 ฉายาของพระกฤษณะ หรืออีกชื่อหนึ่งของพระวิษณุ.
06. นางกุนตี.
07. โทรณะ (द्रोण - Droṇa) หรือ โทรณาจารย์ (द्रोणाचार्य - Droṇācārya or Dronacharya) - บุตรแห่งภรัทวาช.
08. ธนูคาณฑีวะ (गाण्डीव - Gāṇḍīva) - ธนูศักดิ์สิทธิ์ของอรชุน ที่สร้างโดยพระพรหม, ผู้สร้างจักรวาลเพื่อจุดประสงค์อันสูงส่งในการปกป้องธรรมะ อาวุธศักดิ์สิทธิ์นี้จึงถูกส่งต่อไปยังพระอิศวรซึ่งถือไว้เป็นเวลาหนึ่งพันปีก่อนที่จะมอบให้พระพรหมครอบครองเป็นเวลา 503 ปี ต่อมาพระอินทร์ทรงถือธนูเป็นเวลา 580 ปี ตามด้วยพระโสมอีก 500 ปี ในที่สุด พระวรุณทรงถือธนูเป็นเวลา 100 ปีก่อนที่จะมอบให้กับอรชุน นักรบผู้กล้าหาญแห่งภราดาปาณฑพ. พระอัคนีเทพแห่งไฟต้องการที่จะกลืนกินป่าขาณฑวปรัสถ์เพื่อฟื้นคืนพลังและความรุ่งโรจน์ พระองค์จึงได้ขอความช่วยเหลือจากวีรบุรุษสองคน คือ พระกฤษณะและอรชุน อรชุนเป็นนักรบที่ดีที่สุดคนหนึ่งและเป็นนักธนูที่เก่งที่สุดในโลกในยุคนั้น เขาต้องการธนูจากพระอัคนีที่เหมาะกับความแข็งแกร่ง ทักษะ และพลังของอาวุธจากสวรรค์ของพระอัคนี จากนั้นพระอัคนีก็ขอให้พระวรุณอวยพรอาวุธที่เขาต้องการ พระวรุณได้มอบธนูคาณฑีวะให้กับอรชุน รวมทั้งถุงใส่ลูกธนูสองถุงที่สามารถบรรจุลูกธนูได้ไม่หมด ธนูเป็นที่เกรงขามของเหล่าอริในช่วงสงครามกุรุเกษตร เนื่องจากอรชุนเอาชนะและสังหารนักรบผู้ยิ่งใหญ่หลายท่านรวมถึงเหล่าเทพด้วย.
1
1
หน้า 12
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าภีษมะผู้ทำลายล้างศัตรูผู้ยิ่งใหญ่ ได้สังหารพลขับรถศึกนับหมื่นนาย01 ทุกวัน แต่ก็ไม่สามารถสังหารนักรบผู้ยิ่งใหญ่ได้แม้แต่คนเดียว.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าอรชุนได้วางศิขัณฑิน02 ไว้เบื้องหน้าเขา แล้วก็ได้เอาชนะภีษมะคงคาบุตรผู้กล้าอย่างหาที่สุดมิได้ ซึ่งภีษมะผู้ฉกาจนั้น ในหลาย ๆ สมรภูมินั้น ภีษมะไม่เคยพ่ายแพ้ในการสงครามเลย.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าภีษมะ นักรบเฒ่าได้สังหารเหล่านักรบโสมากะ03 จนเหลือไม่กี่คน ได้นอนอยู่บนเตียงลูกศร บาดเจ็บจากลูกศรที่มีปลายเป็นขนนกหลากสี.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าภีษมะบุตรแห่งท้าวศานตนุ นอนทอดตัวอยู่และกระหายน้ำ อรชุนได้เจาะดิน (ให้น้ำพุ่งออกมา) เพื่อดับกระหาย.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าพระศุกร์04และพระสุริยะ05 ได้ร่วมมือกันนำชัยชนะมาสู่บุตรของนางกุนตี และสัตว์ร้ายต่าง ๆ ก็อยู่รอบตัวเราตลอดเวลา.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าโทรณาจารย์แสดงกระบวนท่าของอาวุธต่าง ๆ ในสนามรบ แต่ก็ไม่สามารถสังหารขุนทหารปาณฑพคนสำคัญ ๆ ได้เลยสักคน.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่านักรบผู้ยิ่งใหญ่,06 เหล่านักรบสังศัปตกะ07 ที่กำหนดไว้เพื่อสังหารอรชุน แต่ก็ถูกอรชุนสังหารเสียสิ้น.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าบุตรชายผู้กล้าหาญของนางสุภัทรา08 ได้เจาะทะลวงการจัดทัพลับ (จักรพยุหะ)09 ของเราได้ด้วยมือเปล่าเพียงข้างเดียว ซึ่งคนอื่นไม่สามารถทะลวงผ่าไปได้ และมีบุตรชายของภรัทวาช10 ซึ่งมีอาวุธครบมือคอยคุ้มกันปกป้องให้.
---------------
01. นับหมื่นนาย ในที่นี้น่าจะหมายถึงเป็นจำนวนมาก.
02. ศิขัณฑิน (शिखण्डी - Śikhaṇḍī หรือ Shikhandi) - แรกเกิดเป็นหญิง เป็นธิดาของท้าวทรุปัท กษัตริย์แห่งแคว้นปัญจาละ ภายหลังได้เปลี่ยนเป็นเพศชาย และเป็นพี่ชายของนางเทฺราปที ซึ่งนางอัมพาได้กลับชาติมาเกิดเป็นศิขัณฑิน ซึ่งนางอัมพาผู้เคยถูกภีษมะทำให้เสียเกียรติ ศิขัณฑินได้ร่วมรบในสงครามทุ่งกุรุเกษตรในฝ่ายภราดาปาณฑพน้องเขย และเป็นตัวแปรสำคัญในการเสียชีวิตของภีษมะ นอกจากนี้ศิขัณฑินยังได้ประจัญบานรบกับยอดนักรบอย่างอย่างอัศวัตถามา กฤปจารย์ และกฤตวรมัน.
03. โสมากะ (सोमक - Somaka หรือ Somakas) - เป็นเหล่านักรบวรรณะกษัตริย์แห่งแคว้นปัญจาละ {the Pañcāla or Panchala (पञ्चाल) region} เป็นชนพื้นเมืองโสมากะ. กษัตริย์ของพวกโสมากะเป็นบุตรของสหเทพ และเป็นหลานของนางสุภาสะ ตามคำแนะนำของเหล่าพราหมณ์ ครั้งหนึ่งพระองค์ได้บูชายัญบุตรชาย. (มหาภารตะ วนาบรรพ อัธยายะที่ 128).
04. พระศุกร์ (शुक्र - Śukra หรือ Shukra) - เทพวีนัสตามแนวคิดเทพโรมัน และในปุราณะของฮินดูหมายถึงฤๅษีตนหนึ่ง. เป็นหนึ่งในเจ็ดบุตรของฤๅษีวิศิษฐ์ (वसिष्ठ - Vasiṣṭha) อันเป็นหนึ่งในสัปตฤษี และนางอูรจา (ऊर्जा - Ūrjā) หนึ่งในยี่สิบสี่บุตรีของท้าวทักษะ (Dakṣa).
05. พระอาทิตย์.
06. มีลำดับชั้นของนักรบ มหาภารตยุทธอาจแปลได้อย่างคลุมเครือว่านักรบผู้ยิ่งใหญ่ อย่างไรก็ตาม มหาราษฏระคือนักรบที่สามารถต่อสู้กับนักรบนับหมื่นคนเพียงลำพัง.
07. สังศัปตกะ (संशप्तक - Saṃśaptaka หรือ Sanshaptaka พหูพจน์ the Sanshaptakas) - นักรบผู้ปฏิญาณตนว่าจะสู้ไม่ถอย - 'นักรบผู้สาบานตน' พวกเขาคือกลุ่มผู้กล้าหาญที่สุดในบรรดาเผ่าตรีการ์ตา (the Trigartas) ซึ่งนำโดยกษัตริย์สุสรมัน (King Susarman)โดยพวกเขาสาบานตนว่าจะฆ่าอรชุน หรือไม่ก็ต้องตายในความพยายามนั้น. หลังจากสาบานตนแล้ว พวกเขาก็ประกอบพิธีศพของตนเอง เพราะพวกเขารู้ดีว่าโอกาสที่จะชนะนั้นริบหรี่ และความตายก็แทบจะเป็นความแน่นอน.
08. อภิมันยุ (अभिमन्यु - Abhimanyu).
09. จักรพยุหะ (चक्रव्यूह - The Cakravyuha หรือ Cakravyūha) หรือ ปัทมพยุหะ (पद्मव्यूह - The Padmavyūha) - การจัดทัพแบบทหารราบ ซึ่งโทรณาจารย์เป็นผู้จัดแบบทัพนี้ขึ้น ซึ่งทำให้อภิมันยุติดหล่ม และถูกรุมสังหารในที่สุด.
10. โทรณะ (द्रोण - Droṇa)
1.
2.
หน้า 13
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่านักรบผู้ยิ่งใหญ่ของเราทั้งหมดไม่สามารถเอาชนะอรชุนได้ ต่างร่วมมือกันล้อมและสังหารเด็กน้อยอภิมันยุ และนั้นก็เริงร่ายินดี.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าเหล่านักรบผู้ไร้สติของท้าวธฤตราษฎร์ต่างโห่ร้องด้วยความยินดีที่ได้สังหารอภิมันยุ และอรชุนก็โกรธจัด ก็ทำตามคำสาบานเกี่ยวกับกษัตริย์แห่งสินธุ.01
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าอรชุนสาบานที่จะสังหารกษัตริย์แห่งสินธุเสียและจะรักษาคำสาบานนี้ไว้ท่ามกลางเหล่าปัจจามิตร.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าบรรดาม้าของธนัญชัย02 หมดแรง องค์วาสุเทพได้ปลดแอกพวกมันออกจากสนามรบ ให้ดื่มน้ำ จากนั้นก็ผูกแอกใหม่แล้วทะยานขับรถศึกต่อไป.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าขณะที่อรชุนยืนอยู่บนรถศึกของเขานั้น ก็สามารถขับไล่บรรดานักรบทั้งหมดได้ด้วยธนูคาณฑีวะ แม้ว่าในขณะนั้นม้าที่ลากรถศึกของเขาไม่พร้อมก็ตาม.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่ายุยุธัน03 แห่งวงศ์วฤษณิ ได้ทำให้กองทัพของโทรณะระส่ำด้วยพละกำลังของช้าง ทำให้ไม่สามารถโจมตีเขาได้ จากนั้นยุยุธันก็กลับไปยังจุดที่พระกฤษณะและปารถะ04 ตั้งทัพอยู่.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่ากรรณะซึ่งตกอยู่ในอำนาจของภีมะ ได้ไว้ชีวิตเขาแต่กล่าวด้วยวาจาหยาบคาย และภีมะก็ลากกรรณะด้วยปลายธนู.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าโทรณะ กฤตวรมัน05 กฤปาจารย์ กรรณะ บุตรแห่งโทรณะ06 และกษัตริย์ผู้กล้าแห่งแคว้นมัทระ07 ปล่อยให้กษัตริย์แห่งสินธุ08 ถูกสังหารต่อหน้า.
---------------
01. ท้าวชัยทรัถ (जयद्रथ - Jayadratha).
02. ธนัญชัย (धनञ्जय - Dhanañjaya) - ชื่อสำหรับอรชุน แปลว่า “ผู้ได้ทรัพย์สมบัติมหาศาลจากการพิชิต” ชื่อนี้หมายถึงการที่อรชุนรวบรวมทรัพย์สมบัติมหาศาลขณะพิชิตกษัตริย์หลายพระองค์ของภารตะทางเหนือ เพื่อใช้ในการบูชายัญราชสูยะของท้าวยุธิษฐิระ.
03. ยุยุธัน (युयुधान - Yuyudhāna) หรือ สาตยกี (सात्यकि - Sātyaki) -นักรบผู้ทรงพลังแห่งวงศ์วฤษณิ.
04. ปารถะ (पार्थ - Pārtha) หมายถึง อรชุน บุตรแห่งนางปฤถา.
05. กฤตวรมัน (कृतवर्मन् - Kṛtavarman หรือ Kritavarma).
06. อัศวัตถามา.
07. ราชาศัลยา (शल्य - Śalya หรือ Shalya) แห่งมัทรเทศ (King of Madra - मद्र).
รูปปั้นฆโฏตกัจ (घटोत्कच - Ghaṭotkaca Statue) - กำลังสู้กับกรรณะ, ใกล้สนามบินนานาชาติ Ngurah Rai, บาหลี, อินโดนีเซีย, ที่มา: flickr.com, วันที่เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565.
1.
2.
หน้า 14
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าหอกสวรรค์ที่ราชาแห่งทวยเทพ01 ประทานให้นั้น ถูกมาธวะ02 ปัดเบี่ยงไปยังอสูรฆโฏตกัจ03 ผู้มีรูปร่างน่ากลัว.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าในระหว่างการต่อสู้ระหว่างกรรณะกับฆโฏตกัจนั้น หอกที่สามารถสังหารสาวยสาจี04 ได้ในสนามรบ กลับถูกบุตรของคนขับรถศึกปลดออก05.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าธฤษฏะทฺยุมนะ06 ละเมิดบรรทัดฐานแห่งความชอบธรรมทุกประการ ได้ฆ่าโทรณาจารย์ในขณะที่เขาอยู่บนรถม้าศึกคนเดียว ไร้ความรู้สึกและมุ่งมั่นจะเอาให้ตาย.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่านกุล บุตรแห่งนางมาดรี ได้ดวลประจัญรถม้าศึกกับบุตรชายแห่งโทรณะ07 ต่อหน้าชนทั้งมวล อันพิสูจน์ให้ประจักษ์ว่าตนหรือนกุลนั้นมีความทัดเทียมกันในสงคราม.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าหลังจากที่โทรณะสิ้นชีพแล้ว บุตรแห่งโทรณะได้ใช้อาวุธสวรรค์นารายณะ08 ในทางที่ผิด และก็ไม่สามารถสังหารเหล่าภราดาปาณฑพได้.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่ากรรณะผู้หาญกล้ายิ่ง ซึ่งไม่เคยปราชัยในสงครามใด ๆ ถูกอรชุนสังหารในสงครามที่เป็นพี่น้องกันที่แม้แต่เหล่าเทพก็ไม่สามารถเข้าใจได้.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าบุตรของโทรณะ,09 นักรบผู้กล้าทุหศาสัน และกฤตวรมัน10 ผู้น่าเกรงขาม ประสบความล้มเหลวในเอาชนะธรรมราชา ยุธิษฐิระ.
' "โอ สัญชัย! โอ นักกวี! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่ายุธิษฐิระได้สังหารกษัตริย์แห่งมัทราเทศ11 ผู้เยาะเย้ยพระกฤษณะในการต่อสู้.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าซัลพละ,12 ผู้ชั่วร้าย ซึ่งเป็นต้นเหตุของเกมสกาและการทะเลาะวิวาท แม้ว่าเขาจะมีเวทมนตร์ แต่ก็ถูกสหเทพแห่งภราดาปาณฑพสังหาร.
---------------
01. พระอินทร์เป็นราชาแห่งเหล่าทวยเทพ หอกสวรรค์ (शक्ति - Śakti หรือ Shakti - ศักติ) ที่พระอินทร์มอบให้กรรณะไม่ได้กล่าวถึงชื่อในโศลกนี้ ส่วนในโศลกถัดไปนั้นได้กล่าวไว้ชัดเจน.
02. มาธวะ (माधव - Mādhava) - พระกฤษณะ - เป็นพระนามของพระผู้เป็นเจ้าผู้สูงสุด มีความหมายว่า "พระองค์ผู้ปรากฏในราชวงศ์มธุ" นอกจากนี้ยังเป็นพระนามของราชวงศ์ยาดูและพระนามของพระกฤษณะ โดยเปรียบเทียบพระองค์กับความหอมหวานของฤดูใบไม้ผลิหรือความหอมหวานของน้ำผึ้ง.
03. ฆโฏตกัจ (घटोत्कच - Ghaṭotkaca) แปลว่าหม้อเกลี้ยง ๆ ด้วยฆโฏตกัจมีศีรษะล้าน.
04. สาวยสาจี (सव्यसाची - savyasācī หรือ Savyasachi) - อรชุน ผู้ที่สามารถใช้มือทั้งสองข้างได้อย่างคล่องแคล่วและมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกัน, ผู้สามารถใช้ธนูด้วยทักษะเดียวกันด้วยมือทั้งสองข้าง.
05. บุตรชายคนขับรถ หมายถึง กรรณะ ซึ่งกรรณะมี 'อธิรัฐ (अधिरथ नन्दन - Adhiratha Nandana)' เป็นคนในวรรณะสูตะผู้มีหน้าที่ขับรถเป็นบิดาบุญธรรม.
06. ธฤษฏะทฺยุมนะ (धृष्टद्युम्न - Dhṛṣṭadyumna).
07. อัศวัตถามา.
08. อาวุธสวรรค์นารายณะ หรือ นารายณาศาสตรา (नारायणास्त्रम् - Nārāyaṇāstra หรือ nārāyaṇāstram - the celestial weapon nārāyaṇa).
09. อัศวัตถามา.
10. กฤตวรมัน (कृतवर्मन् - Kṛtavarman หรือ Kritavarma).
11. ราชาศัลยา (शल्य - Śalya หรือ Shalya) - กษัตริย์แห่งมัทรเทศ (मद्र - Madra).
12. ซัลพละ (सौबल - Saubala or Soubala) เป็นอีกชื่อหนึ่งของศกุนิ.
1.
2.
หน้าที่ 15
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าทุรโยธน์มีกำลังอ่อนแรง ปราศจากรถม้าศึก เหนื่อยล้า และยังคงหยิ่งทะนง เขาได้เดินลงไปในสระน้ำและทอดตัวนอนในสระน้ำนั้น.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าภราดาปาณฑพพร้อมวาสุเทพ ยืนอยู่ริมสระน้ำคงคา และกล่าวกับบุตรชายที่ชอบชวนทะเลาะของข้าฯ ด้วยการดูหมิ่นดูแคลน.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าในการต่อสู้ด้วยกระบอง แม้ว่าเขา (ทุรโยธน์) จะแสดงยุทธวิธีลีลาการใช้อาวุธกระบองต่าง ๆ ได้น่าอัศจรรย์ก็ตาม แต่เขากลับถูกสังหารอย่างไม่ยุติธรรมตามคำแนะนำของวาสุเทพ.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าบุตรชายของโทรณะ01 และคนอื่น ๆ ได้กระทำการน่าสยดสยองและเสื่อมเสียชื่อเสียงโดยการฆ่าเหล่าเจ้าชายแห่งแคว้นปัญจาละ02 และบรรดาบุตรชายของนางเทฺราปที03 ในขณะที่พวกเขากำลังหลับไหล.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าภีมเสน04 ตามล่าและโกรธจัด อัศวัตถามาได้ใช้อาวุธอันยิ่งใหญ่ที่สุดที่เรียกว่าไอษีกะ05 ซึ่งตรงเข้าสังหารทารกในครรภ์.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าพรหมาสตร์06 ถูกยิงโดยอัศวัตถามาและถูกผลักด้วยอาวุธอีกชิ้นโดยอรชุน อรชุนจึงสงบลง. แต่ถึงกระนั้น อัศวัตถามาก็ต้องยอมสละเแก้วมณีบนศีรษะของตน.
' "โอ สัญชัย! ข้าฯ ไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะเลย เมื่อข้าฯ ได้ยินว่าบุตรชายของโทรณะ07 ได้สังหารทารกในครรภ์ของธิดาท้าววิราฏ08 ด้วยอาวุธอันยิ่งใหญ่ และบุตรชายของโทรณะก็ถูกสาปแช่งร่วมกันโดยมหาฤๅษีไทวปายนะและเกศวะ.
' "อนิจจา! หายนะได้บังเกิดแก่นางคานธารี ผู้สูญเสียบุตรชาย หลานชาย บรรดาพ่อ (รวมลุงและอา) บรรดาพี่ชายน้องชาย และญาติพี่น้องไป. เหล่าภราดาปาณฑพได้บรรลุผลสำเร็จอันยากลำบาก. พวกเขาได้อาณาจักรที่ไร้คู่แข่งมาครอบครองได้อีกครั้ง.
' "อนิจจา! ข้าฯ ได้ยินมาว่ามีเพียงสิบคนเท่านั้นที่รอดชีวิตจากสงครามอันยากลำบากนี้ สามคนอยู่ฝ่ายเรา และเจ็ดคนอยู่ฝ่ายปาณฑพ. ในสงครามของพวกวรรณะกษัตริย์ที่น่าสะพึงกลัวนี้นั้น กองทัพสิบแปดกอง09 ถูกสังหารเรียบ ข้าฯ เห็นความมืดมิดที่แผ่ขยายออกไปอย่างสุดขั้วรอบตัวข้าฯ . ความหลงผิดได้ครอบงำข้าฯ ไว้. โอ สูตะ! สติสัมปชัญญะกำลังออกจากร่างข้าฯ จิตใจของข้าฯ เพ้อฝันลอยล่อง." '
---------------
01. อัศวัตถามา.
02. ธฤษฏะทฺยุมัน (धृष्टद्युम्न - Dhṛṣṭadyumna) และศิขัณฑิน (शिखण्डी - Śikhaṇḍī หรือ Shikhandi).
03. บุตรชายทั้งห้าของนางเทฺราปที หรือ อุปปาณฑพ - The Upapāṇḍavas (उपपाण्डव - Upapāṇḍava) หรือ ปาณฑวบุตร (पाण्डवपुत्र - Pāṇḍavaputra) ประกอบด้วย:
1) ประติวินธัย (प्रतिविन्ध्य - Prativindhya) จาก ยุธิษฐิระ,
2) ศรุตโสม (सुतसोम - Sutasoma) จากภีมะ,
3) ศรุตกรรม (श्रुतकर्मा - Śrutakarmā หรือ Shrutakarma) จากอรชุน (มีนิยามแตกต่างกัน ซึ่งใน"ภาควต ปุราณะ" ระบุว่า ศรุตกรรมเป็นบุตรของสหเทพ ส่วนใน Śrutakīti II ระบุว่าศรุตกรรมเป็นบุตรของอรชุน),
4) ศรุตเสน (श्रुतसेन - Śrutasena หรือ Shrutasena) จากสหเทพ และ
5) ศตานีกะ (शतानीक - Śatānīka หรือ Satanika) จาก นกุล.
04. ภีมเสน (भीमसेन - Bhīmasena) หรือ ภีมะ (भीम - Bhīma).
05. ขีปนาวุธไอษีกะ (ऐषीक - Aiṣīka) - ก้านทำจากกก หรืออ้อย.
พรหมาสตร์, ที่มา: www.pinterest.com, วันที่เข้าถึง: 21 ตุลาคม 2567.
06. พรหมาสตร์ หรือ พรหมศิราสตรา (ब्रह्मास्त्र - Brahmāstra หรือ ब्रह्मशिरास्त्र - Brahmaśirāstra) - อาวุธนี้เป็นเหมือนลูกศรซึ่งพระศิวะประทานแก่พระฤๅษีอคัสตยะ (अगस्त्य - Agastya) กล่าวไว้ในมหาภารตะ อัธยายะที่ 138 โศลกที่ 9, ต่อมาฤๅษีอคัสตยะก็มอบให้แก่อัคนิเวศ (अग्निवेश - Agniveśa) ต่อมาฤๅษีอัคนิเวศก็มอบให้แก่ฤๅษีโทรณะหรือโทรณาจารย์ และโทรณาจารย์ก็มอบให้แก่อรชุน พร้อมสั่งสอนเกี่ยวกับการใช้อาวุธนี้ดังนี้ "เจ้าไม่ควรยิงลูกศรนี้ใส่ผู้คน หากใช้ลูกศรนี้กับผู้ต่ำช้า โลกทั้งสามจะถูกทำลาย. อาวุธนี้ไม่มีคู่เทียบในโลกนี้ จงรักษามันไว้ให้บริสุทธิ์ และฟังสิ่งที่ข้าฯ พูด. ถ้ามีศัตรูที่ไม่ใช่มนุษย์โจมตีเจ้า อาวุธนี้สามารถใช้สังหารมันได้ในสนามรบ."
07. อัศวัตถามา.
08. นางอุตตรา (उत्तरा - Uttarā).
09. อักเษาหิณี.
1.
2.
หน้าที่ 16
ซัลติ01 กล่าวว่า "ท้าวธฤตราษฎร์ได้กล่าวถ้อยคำเหล่านี้ด้วยความโศกเศร้าอย่างที่สุดและคร่ำครวญถึงชะตากรรมของตนแล้ว พระองค์ก็หมดสติไป. เมื่อฟื้นขึ้นมาแล้ว พระองค์จึงตรัสกับสัญชัยด้วยถ้อยคำเหล่านี้.
'ท้าวธฤตราษฎร์กล่าว "โอ สัญชัย! เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้นแล้ว ข้าฯ ปรารถนาจะสละชีวิตทันที. ข้าฯ ไม่เห็นความสบายใจหรือประโยชน์ใด ๆ ที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปอีก." '
ซัลติกล่าวว่า "คราวนั้น บุตรที่แสนฉลาดของควัลคณะ02 ได้กล่าวถ้อยคำเหล่านี้ที่เต็มไปด้วยความหมายแก่ราชาแห่งโลกผู้ทุกข์ระทมและเศร้าโศกนั้น.
'สัญชัยกล่าวว่า "(ได้สดับ) จากพระฤๅษีนารทมุนีและไทวปายนะผู้ชาญฉลาด พระองค์คงได้ยินเกี่ยวกับกษัตริย์หลายพระองค์ ผู้มีภารกิจและกำลังอันยิ่งใหญ่. บรรดากษัตริย์เหล่านี้ประสูติในราชวงศ์ที่เกรียงไกรและมีคุณธรรมอันสูงส่ง. เหล่ากษัตริย์นี้รู้จักการใช้อาวุธสวรรค์และมีพลังเทียบเท่าท้าวสักกะ03. หลังจากพิชิตโลกด้วยการประพฤติที่ชอบธรรม และทำการบูชายัญด้วยเครื่องบูชาที่เหมาะสม เหล่าราชาดังกล่าวต่างได้รับชื่อเสียงและยอมจำนนต่อกาลเวลา. บุรุษเหล่านี้ได้แก่ ไวณยะ04 นักรบผู้กล้าหาญ, สฤณชัย05 ผู้กล้าหาญที่ได้รับพร, สุโหตระ06, รันติเทวะ07, ฤๅษีกักษีวันตะ08, อุชิจ09, พาลหิกะ10, ทมนะ11, ศายวยะ12, ศรยาติ13, อจิตะ14, จิตะ15, ฤๅษีวิศวมิตร16 ผู้สังหารอริศัตรูและอัมบรีษะ17 ผู้มีพลังมหาศาล, ฤๅษีมรูตตา18, พระมนู19, ท้าวกยะ20, ท้าวอิษวากุ21, ท้าวภรต22, พระราม โอรสแห่งท้าวทศรถ, พระศศพินทุ์23, ภคีรัธ24, และท้าวยยาติ25 แห่งการปฏิบัติดีชอบ ซึ่งแผ่นผืนโลกได้ประดับโรงเรือนและเสาไว้สำหรับบูชา. ในสมัยโบราณนั้น ครั้นเมื่อกษัตริย์ศายวยะได้พลัดพรากจากพระโอรส ราชายี่สิบสี่พระองค์เหล่านี้คือกษัตริย์ที่พระฤๅษีนารทมุนีได้กล่าวถึงจริยวัตรต่าง ๆ ของพระองค์. ทว่ากษัตริย์องค์อื่น ๆ มาแล้วก็จากไป ทั้ง ๆ ที่มีอำนาจที่เกรียงไกรกว่า เป็นนักรบที่เลืองลือ จิตวิญญาณอันยิ่งใหญ่ และได้รับพรถึงคุณความดีทั้งมวล. พวกเขาเหล่านี้เป็นสมาชิกของปูรุวงศ์ คุรุวงศ์ ยาดูวงศ์ ศูรเสนา26, ราชาวิษวคศวะ27 ผู้มีความอดทนที่ยิ่งใหญ่, ท้าวอนีนา28, ยุวนาศวะ29, ท้าวกกุษฐา30, ท้าวราฆุผู้กล้าหาญ, วีทิโหตระ31 ผู้ไร้พ่าย, ภวะ32, ท้าวเศวต33, ท้าวพฤหัทกุรุ34, ท้าวอุศีนระ35, ท้าวศตรถะ36, ท้าวกังกะ37, ท้าวทุลิทุหะ38, ท้าวทรุมะ39, ราชาทัณฑโภทภวะ40, ท้าวพระ41, วีนะ42, ราชาสคระ43, ท้าวสางกฤติ44, ราชานิมิ45, ท้าวอเชยะ46, ปรศุ47, ท้าวปุณฑระ48, ศัมภู49, เทวาวฤธะผู้บริสุทธิ์50, เทวหับยะ51, ราชาสุประติมะ52, ท้าวสุประตีกะ53, ท้าวพฤหัทราธ54,
---------------
[จากการสืบค้นชื่อบุคคลนั้น พบว่ามีหลายนิยามจากหลายแหล่ง ทั้งนี้ผมจะอ้างอิงจากนิยามที่เกี่ยวข้องกับมหาภารตยุทธเป็นหลักก่อน หากไม่พบ ก็ใช้ข้อมูลอ้างอิงจากแหล่งอื่นที่น่าเชื่อถือ เช่น ปุราณะ, อิติหาส, ภาควตะ ปุราณะ, ฤค-เวท, ศิวะปุราณะ เป็นต้น]
01. ซัลติ ในที่นี้หมายถึงบุตรชายของโลมหรรษณะ ก็คืออุกรศรวะ (ดูหมายเหตุ คำอธิบายที่ 08 หน้า 1 ข้างต้น).
02. ควัลคณะ (गवल्गण - Gavalgaṇa) - บิดาของสัญชัย.
03. ท้าวสักกะ (शक्र - Śakra หรือ Shakra) - พระอินทร์.
04. ไวณยะ (वैण्य - Vaiṇya - ผู้สืบเชื้อสายจากวีนะ) - เป็นอีกฉายาหนึ่งของกษัตริย์แห่งปฤธุ (पृथु - Pṛthu) ในตำนาน บุตรแห่งวีนะ (वेन - Vena) ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่ชั่วร้าย.
05. สฤณชัย (सृञ्जय - Sṛñjaya หรือ Srinjaya) - ฤๅษีผู้เป็นราชา ท่านเป็นอัยกา (ตา) ของนางอัมพา (अम्ब - Ambā) เจ้าหญิงแห่งแคว้นกาสี (काशी - Kāśī) และเป็นสหายแห่งปรศุราม (परशुराम - Paraśurām) ตามคำขอร้องของนางอัมพาที่ถูกท้าวศัลวะ (साल्वा - Sālva) ทอดทิ้ง สฤณชัยจึงเข้าไปหาปรศุรามก่อน จากนั้นจึงพบกับภีษมะและชักชวนให้เขาแต่งงานกับนางอัมพา (มหาภารตะ อุโทยคบรรพ อัธยายะที่ 175 โศลก 15 ถึง 27).
06. สุโหตระ (सुहोत्र - Suhotra) - เป็นชื่อบุคคล ซึ่งมีคำจำกัดความที่หลากหลายในปุราณะและอิติหาส.
07. รันติเทวะ (रन्तिदेव - Rantideva) - เป็นกษัตริย์ที่ใจดีใจกว้างที่สุดในภารตะโบราณ, เป็นอีกฉายาหนึ่งของพระวิษณุ, เป็นกษัตริย์แห่งจันทรวงศ์ สืบเชื้อสายมาจากท้าวภรตเป็นลำดับที่ 6 ทรงเคร่งศาสนา มีเมตตากรุณา แต่ก็ทรงใช้ทรัพย์สมบัติ และมีสัตว์ถูกเชือดในการบูชายัญเป็นจำนวนมาก.
08. ฤๅษีกักษีวันตะ (कक्षीवन्त् - Kakṣīvant หรือ Kakshivanta) - ฤษีผู้มีชื่อเสียงซึ่งปรากฎในฤคเวท.
09. อุชิจ (Oushija).
10. พาลหิกะ (बाल्हिक - Bālhīka) - มีหลายนิยาม ดังนี้: กษัตริย์แห่งราชวงศ์อหระ; โอรสของพระเจ้าปราตีปะกับนางสุนันทา; โอรสองค์ที่ 3 ของราชาชนเมชยะที่ 1 และเป็นพระราชนัดดาของกษัตริย์กุรุ; บิดาของโรหิณี; ชายาของวาสุเทพ; คนขับรถศึกของยุธิษฐิระ; ชื่อของคนธรรพ์.
11. ทมนะ (दमन - Damana) - โอรสแห่งกษัตริย์เปารวะ {पौरव - Paurava - อยู่ในแคว้นอังคะ (अङ्ग - Aṅga) - เผ่าอินโด-อารยันทางตะวันออกของภารตะโบราณ} ซึ่งธฤษฏะทฺยุมันได้ปลิดชีพลงเสียในสงครามทุ่งคุรุเกษตร (ภีษมบรรพ อัธยายะที่ 61 โศลกที่ 20).
12. ศายวยะ (शैव्य - Śaivya หรือ Shaivya) - ชื่อของราชาและนักรบผู้กล้าในกองทัพของภราดาปาณฑพ.
13. ศรยาติ (शर्याति - Śaryāti หรือ Sharyati) - กษัตริย์แห่งปูรุวงศ์ (the Pūru dynasty - पूरु) เป็นโอรสของท้าวปราคินวาน (प्राचिन्वान् - Prācinvān) และเป็นบิดาของอหังยาติ (अहंयाति - Ahaṃyāti) (อาศรมวาสิกบรรพ อัธยายะที่ 90 โศลกที่ 14).
14. อจิตะ (अजित - Ajita) - ผู้ไม่เคยถูกพิชิต เป็นการอธิบายมหาเทพศิวะ ตามที่ปรากฎในศิวะปุราณะ (บรรพที่ 2 อัธยายะที่ 3 โศลกที่ 4).
15. จิตะ (जित - Jita) - หนึ่งในโอรสทั้งห้าของกษัตริย์ยาดู (यदु - Yadu).
16. ฤๅษีวิศวามิตร (विश्वामित्र - Viśvāmitra) - มีหลายนิยาม: เป็นฤๅษีในยุคไววสฺวตะ (वैवस्वत - the Vaivasvata) ซึ่งมีพระมนูไววัสวัตเป็นมนูในยุคปัจจุบัน; ได้รับเชิญให้ไปงานราชสูยะแห่งท้าวยุธิษฐิระ ได้มาเข้าเฝ้าพระกฤษณะที่สยามันตปัญจกะ (स्यमन्तपञ्चक - Syamantapañcaka) และราชาปรีกษิตโดยฝึกฝนปราโยปเวศะ (प्रायोपवेश - Prāyopaveśa - การปฏิญาณถือศีลอด); ทำหน้าที่เป็นปุโรหิตในการบูชายัญของพระกฤษณะที่ทุ่งคุรุเกษตร.
17. อัมบริษะ (अम्बरीष - Ambarīṣa) - หนึ่งในกษัตริย์ลึกลับของราชวงศ์อิกษวากุ เชื่อกันว่าพระองค์เอาชนะทั้งโลกได้ภายในหนึ่งสัปดาห์ พระองค์มีชีวิตอยู่ในเตรตะยุค.
18. ฤๅษีมรูตตา (मरुत्त - Maṟuttā) - ฤๅษีผู้ยิ่งใหญ่ ได้โต้เถียงกับพระกฤษณะ ซึ่งกำลังเดินทางไปกรุงหัสตินาปุระในฐานะทูตของเหล่าภราดาปาณฑพ (มหาภารตะ อุโทยคบรรพ อัธยายะที่ 83 โศลกที่ 27).
19. พระมนู (Manu) ดูในคำอธิบาย 02 หน้าที่ 5 คัมภีร์ปุราณะ 1.
20. ท้าวกยะ (गय - Gaya) - เป็นกษัตริย์ภารตะโบราณ พระองค์ได้จัดยัชพิธีหลายครั้ง มียัชพิธีหนึ่งที่มีชื่อเสียงมากของพระองค์มีอธิบายไว้ในวนบรรพ อัธยายะที่ 75 โศลกที่ 18, พระองค์เป็นสมาชิกยมราชสภา (यमराज सभा - Yamarāja Sabhā) (มหาภารตะ สภาบรรพ อัธยายะที่ 8 โศลกที่ 18).
21. ท้าวอิกษวากุ (इक्ष्वाकु - Ikṣvāku) ดูหมายเหตุที่ 21 หน้าที่ 5 ข้างต้น.
22. ท้าวภรต (भरत - Bharata) ดูหมายเหตุที่ 19 หน้าที่ 5 ข้างต้น.
23. พระศศพินทุ์ (शशबिन्दु - Śaśabindu หรือ Shashabindu) - พระวิษณุหรือพระกฤษณะ; กษัตริย์; พระจันทร์; ศศ = กระต่าย และพินทุ์ = จุด.
24. ภคีรัธ (भगीरथ - Bhagīratha) - โอรสของกษัตริย์ทิลีปา (दिलीप - Dilīpa) แห่งสุริยวงศ์ กษัตริย์แห่งแคว้นโกศล (कोसल - Kośala), ผู้บูชาพระอิศวรและพยายามขับพระแม่คงคาลงมา แต่ทว่าได้สิ้นชีพและไม่ประสบความสำเร็จเสียก่อน.
25. ท้าวยยาติ (ययाति - Yayāti) ดูหมายเหตุที่ 20 หน้าที่ 5 ข้างต้น.
26. ศูรเสนา หรือ สุรเสนา (शूरसेन - Śūrasena หรือ Shura) - ชื่อเดิมของภูมิภาคที่ปัจจุบันรู้จักในนามของมถุรามณฑล (मथुरामण्डला - Mathurāmaṇḍala) หรือเมืองมถุรา ชาวพื้นเมืองแถบนี้เรียกว่า ศูรเสน (शूरसेना - Śūrasenas).
27. ราชาวิษวคศวะ (विष्वगश्व - Viṣvagaśva หรือ Vishvagashva) - กษัตริย์โบราณของภารตะ ทรงเป็นโอรสของจักรพรรดิปฤธุ (पृथु - Pṛthu) แห่งอิกษวากุวงศ์ และเป็นพระบิดาของกษัตริย์อดริ (अद्रि - Adri). ทรงมีชื่อเสียงขจรขจายด้วยการให้ทานวัว พระองค์ทานอาหารมังวิรัตโดยสมบูรณ์ (มหาภารตะ วนบรรพ อัธยายะที่ 20 โศลกที่3; อนุศาสนบรรพ อัธยายะที่ 76 โศลก 25; อนุศาสนบรรพ อัธยายะที่ 115 โศลกที่ 58).
28. ท้าวอนีนา (अनेना - Anenā) - เป็นบุตรของปุรัญชยะ (पुरञ्जय - Purañjaya) ท้าวเธอมีบุตรชื่อปฤธุ (पृथु - Pṛthu) (ภาควตะ ปุราณะ บรรพที่ 9 อัธยายะที่ 6 โศลกที่ 20).
29. ยุวนาศวะ (युवनाश्व - Yuvanāśva หรือ Yuvanashva) - 1) พระองค์เป็นหลานของท้าววิศวกศวะ (विश्वगश्व - Viṣvagaśva) แห่งอิกษวากุวงศ์ และเป็นบุตรของกษัตริย์อดริ (अद्रि - Adri) เป็นบิดาของกษัตริย์ศราวะ (श्रावा - Śrāva) (มหาภารตะ วนบรรพ อัธยายะที่ 202 โศลกที่ 3). 2) ท่านเป็นบุตรของวฤษทรรภ (वृषदर्भ - Vṛṣadarbha) พระองค์ได้เสด็จสู่สวรรค์โดยการถวายของบูชาเป็นอัญมณี สตรี และบ้านเรือน (มหาภารตะ ศานติบรรพ อัธยายะที่ 234 โศลกที่ 15).
30. ท้าวกกุษฐา (ककुत्स्थ - Kakutstha) - เป็นกษัตริย์แห่งสุริยวงศ์ โอรสของท้าวภากีรัธ (भगीरथ - Bhageeratha) และเป็นบรรพบุรุษของพระราม. บุตรของท้าวกกุษฐาคือพระราฆุ (रघु - Raghu).
31. วีทิโหตระ (वीतिहोत्र - Vītihotra) - บุตรแห่งอิทรเสนา (इन्द्रसेन - Indrasena). พระองค์มีบุตรชื่อสัตยศรวา (सत्यश्रवा - Satyaśravā), (ภาควตะ ปุราณะ บรรพที่ 9 อัธยายะที่ 2).
32. ภวะ (भव - Bhava) - หนึ่งในสิบเอ็ดฉายาของพระรุทร, พระองค์เป็นบุตของสธาณุ (स्थाणु - Sthāṇu) และเป็นหลานของพรหมา (ब्रह्मा - Brahmā) (มหาภารตะ อาทิบรรพ อัธยายะที่ 66).
33. ท้าวเศวต (श्वेत - Śveta) - แปลว่า "ขาว" เป็นโอรสของท้าววิราฏ ถูกสังหารโดยศรของท้าวภีษมะในมหาสงคราม ณ ทุ่งคุรุเกษตร พระองค์ไม่เสวยเนื้อสัตว์ มหาภารตะ อนุศาสนบรรพ อัธยายะที่ 150 กล่าวถึงท่านว่าเป็นหนึ่งในกษัตริย์ไม่กี่พระองค์ที่สมควรได้รับการรำลึกถึงด้วยความเคารพทั้งยามรุ่งอรุณและพลบค่ำ (มหาภารตะ อาทิบรรพ อัธยายะที่ 1 โศลกที่ 233; ศานติบรรพ อัธยายะที่ 153 โศลก 68; อนุศาสนบรรพ อัธยายะที่ 115 โศลกที่ 66).
34. ท้าวพฤหัทกุรุ (बृहद्गुरु - Bṛhadguru) - แปลว่า "ครูผู้ยิ่งใหญ่" เป็นกษัตริย์แห่งภารตะโบราณ มีกล่าวในลัทธิศักติ พระพุทธศาสนาและศาสนาเชน - พระองค์จะพกเหยือกอยู่เสมอ ไม่เคยเป็นผู้เสพสุข ผู้กระทำและทำลาย.
35. ท้าวอุศีนระ (उशीनर - Uśīnara หรือ Ushinara) - กษัตริย์ของเผ่ายาดพ (यादव - The Yādavas - ยาดูวงศ์) กษัตริย์องค์นี้ได้เสด็จมาร่วมในพิธีสยุมพร (स्वयंवर - Svayaṃvara - พิธีเจ้าสาวเลือกสามี) ของนางเทฺราปที (อาทิบรรพ อัธยายะที่ 185 โศลกที่ 20).
36. ท้าวศตรถะ (शतरथ - Śataratha) - กษัตริย์ภารตะโบราณ ทรงประทับอยู่ในตำหนักของพระยม และบูชาพระยม (สภาบรรพ อัธยายะที่ 8 โศลกที่ 26).
37. ท้าวกังกะ (कङ्क - Kaṅka) - 1) กษัตริย์ภารตะโบราณ (อาทิบรรพ อัธยายะที่ 1 โศลกที่ 233); 2) หนึ่งในเจ็ดนักยิงธนูที่มีชื่อเสียงของวฤษนิวงศ์ (สภาบรรพ อัธยายะที่ 14).
38. ท้าวทุลิทุหะ (दुलिदुह - Duliduha) - กษัตริย์ภารตะโบราณ (อาทิบรรพ อัธยายะที่ 1 โศลกที่ 233).
39. ท้าวทรุมะ (द्रुम - Druma) - ทรุมะ แปลว่า พงไม้ - trees, 1) กษัตริย์ภารตะโบราณ (อาทิบรรพ อัธยายะที่ 1 โศลกที่ 233); 2) ท้าวทรุมะ ได้ถือกำเนิดใหม่เป็นอสุรชื่อ ศิบิ หรือ ศิวิ (शिबि - Śibi); 3) หัวหน้าของเหล่ากินนร (किन्नर - Kinnara - นักดนตรีแห่งสวรรค์) (มหาภารตะ สภาบรรพ อัธยายะที่ 10 โศลกที่ 29) พระองค์ประทับนั่งในตำหนักของท้าวกุเวร (कुबेरा - Kubera - เทพเจ้าแห่งความมั่งคั่ง) และขับร้อง พระองค์เป็นอาจารย์ของรุกมิน (रुक्मिन् - Rukmin) บุตรของภีษมกะ (भीष्मक - Bhīṣmaka) และทรงโค้งคำนับให้รุกมินศิษย์ของพระองค์ (มหาภารตะ อุโทยคบรรพ อัธยายะที่ 158).
40. ราชาทัณฑโภทภวะ (दंभोद्भव - Daṃbhodbhava) - จักรพรรดิในสมัยภารตะโบราณ พระองค์เป็นเจ้าชายนักรบผู้ยิ่งใหญ่ พระองค์ทรงควบคุมโลกทั้งใบได้. ในที่สุดก็ไม่มีใครเหลืออยู่ให้ต่อสู้ด้วยอีกแล้ว. ดังนั้นพระองค์จึงทรงตระเวนท้าทายทุกคนที่ทรงพบ. แต่ไม่มีใครกล้าต่อสู้กับพระองค์ จากนั้นพระพรหมทรงแนะนำให้พระองค์ไปท้าทายพระนรพระนารายณ์ที่กำลังบำเพ็ญตบะอยู่ที่จุดเหนือสุดของโลก. จอมจักรพรรดิจึงเสด็จไปยังคันธมาทาน (गन्धमादन - Gandhamādana) พร้อมด้วยกองทัพอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ และทรงแจ้งแก่พระนรและพระนารายณ์ถึงความประสงค์ที่จะต่อสู้ ทั้งสองกล่าวว่าพวกเขาเป็นเพียงฤๅษีและไม่มีพลังที่จะต่อสู้ แต่ราชาทัณฑโภทภวะไม่พอใจ. ในที่สุด พระนรและพระนารายณ์ก็เอาหญ้าอิศีกา (इषीका तृणम् - iṣīkā grass) มาต่อสู้กับจักรพรรดิ แม้ว่ากองทัพของจักรพรรดิจะยิ่งใหญ่และมหาศาล แต่ก็ไม่สามารถต้านทานหญ้าในมือของฤๅษีได้ ในที่สุด พระจักรพรรดิก็ยอมรับว่าล้มเหลวและกราบลงต่อหน้าฤๅษี พระนรพระนารายณ์จึงแนะนำพระองค์ไม่ให้หยิ่งยะโสในอนาคต และให้ดำเนินชีวิตอย่างบริสุทธิ์ เมื่อทรงสดับคำเทศนาของฤๅษีแล้ว พระจักรพรรดิก็กลายเป็นผู้ศรัทธา พระองค์เสด็จกลับพระราชวังและดำเนินชีวิตอย่างชอบธรรม (มหาภารตะ อุโทยคบรรพ อัธยายะที่ 96).
41. ท้าวพระ (पर - Para) - กษัตริย์ภารตะโบราณ (มหาภารตะ อาทิบรรพ อัธยายะที่ 1 โศลกที่ 234).
42. วีนะ (वेन - Vena) - หนึ่งในสิบโอรสของพระมนูไววัสวัต (ดูรายละเอียดใน หมายเหตุ คำอธิบาย 02 หน้าที่ 5 คัมภีร์ปุราณะ 1) (มหาภารตะ อาทิบรรพ อัธยายะที่ 75 โศลกที่ 15).
43. ราชาสคระ (बाहुक - Sagara) - บุตรของบาหุกะ (बाहुक - Bāhuka) ชื่อของพระองค์แปลว่า 'ผู้ถือกำเนิดมาพร้อมยาพิษ' ต่อมาได้เป็นจักรพรรดิ กล่าวกันว่ามีบุตรอย่างน้อยหกหมื่นคน หนึ่งในนั้นคือ อสมัยชสะ (असमञ्जसा - Asamañjasa) (ภาควตะ ปุราณะ บรรพที่ 9 อัธยายะที่ 8 โศลกที่ 4 และ 8-14).
44. ท้าวสางกฤติ (संकृति - Saṃkṛti, साङ्कृति - Sāṅkṛti, साङ्कृति - Sāṅkṛti หรือ Samkriti) - 1) กษัตริย์แห่งภารตะวงศ์ พระองค์เป็นโอรสของกษัตริย์นรกะ (नरक - Naraka) (ภาควตะ ปุราณะ บรรพที่ 9 อัธยายะที่ 17 โศลกที่ 17); 2) กษัตริย์ผู้ประทับอยู่ในท้องพระโรงของพระยม และบูชาพระองค์ (มหาภารตะ สภาบรรพ อัธยายะที่ 8 โศลกที่ 10); 3) พระมุนีที่ถือกำเนิดในราชวงศ์อตริ (अत्रि वंश - Atri Dynasty หรือ Vaṃsa) พระองค์ได้สั่งสอนศิษย์เรื่องพระผู้เป็นเจ้าที่ไร้กายหยาบ ไม่มีคุณลักษณะ จากนั้นพระองค์ก็เสด็จไปประทับยังเทวโลก (มหาภารตะ ศานติบรรพ อัธยายะที่ 234 โศลกที่ 22).
45. ราชานิมิ (निमि - Nimi) - 1) จักรพรรดิที่มีชื่อเสียงเป็นโอรสของท้าวอิกษวากุ; 2) โอรสของทัตตาเตรยมุนี (दत्तात्रेयमुनि - Dattātreyamuni) แห่งวงศ์อตริ (อนุศาสนบรรพ อัธยายะที่ 91 โศลกที่ 5); 3) โอรสของกษัตริย์วิทารภา (विदर्भ - Vidarbha) หลังจากยกธิดาให้แก่ฤๅษีอคัสตยะแล้ว พระองค์ก็เสด็จขึ้นสู่สวรรค์ (อนุศาสนบรรพ อัธยายะที่ 137 โศลกที่ 11).
46. ท้าวอเชยะ (अजेय - Ajeya) - กษัตริย์ภารตะโบราณ.
47. ปรศุ (परशु - Paraśu) - หมายถึง ขวานหรือขวานเล็กใช้ในการศึก 1) บุตรแห่งอุตตมะ มนู (उत्तम - Uttama Manu); 2) บุตรนางรุกมิณีกับพระกฤษณะ.
48. ท้าวปุณฑระ (पुण्ड्र - Puṇḍra) - กษัตริย์ภารตะโบราณ, ปุณฑระนั้นเป็นเขตแดนโบราณของภารตะ เขตนี้ประกอบด้วยเขตมาลทะ (मालदा - Mālada) ในปัจจุบัน บางส่วนบนชายฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโกสี (कोसी - Kosī) และบางส่วนในดินาชปุระ (दिनाजपुर - Dinājpur) ปัจจุบันอยู่ในประเทศบังคลาเทศ. อรชุนและกรรณะได้พิชิตดินแดนแห่งนี้ในช่วงเวลาที่ต่างกัน.
49. ศัมภู (शम्भु - Śambhu) - 1) พระอัคนี (अग्नि - Agni) มีฐานะเทียบเท่ากับพราหมณ์ผู้รอบรู้พระเวท (มหาภารตะ วนบรรพ อัธยายะที่ 221 โศลกที่ 5); 2) เป็นบุตรของพระกฤษณะกับนางรุกมิณี (มหาภารตะ อนุศาสนบรรพ อัธยายะที่ 14 โศลกที่ 33).
50. เทวาวฤธะ (देवावृध - Devāvṛdha) - 1) นักรบ, ผู้ต่อสู้กับฝ่ายปาณฑพในทุ่งคุรุเกษตร (มหาภารตะ กรรณบรรพ อัธยายะที่ 85 โศลกที่ 3); 2) กษัตริย์ผู้ทรงสามารถบรรลุสวรรค์พร้อมกับราษฎรของพระองค์ โดยได้มอบฉัตรทองคำเป็นของขวัญ (มหาภารตะ ศานติบรรพ อัธยายะที่ 234 โศลกที่ 21).
51. เทวหับยะ (देवहव्य - Devahavya) - มุนี, เป็นหนึ่งในสมาชิกสภาแห่งพระอินทร์ (มหาภารตะ สภาบรรพ อัธยายะที่ 7).
52. ราชาสุประติมะ (सुप्रतिम - Supratima) - เป็นจอมราชาท่ามกลางเหล่ากษัตริย์ของภารตะโบราณ.
53. ท้าวสุประตีกะ (सुप्रतीक - Supratīka) - 1) กษัตริย์ภารตะโบราณ; 2) หนึ่งในช้างทั้งแปดที่ค้ำจุนโลกไว้ (มหาภารตะ อุโทยคบรรพ อัธยายะที่ 99); 3) ชื่อช้างของภคทัต ซึ่งเป็นได้สร้างวีรกรรมไว้มากมาย ต่อมาถูกสังหารโดยอรชุน (มหาภารตะ โทรณบรรพ อัธยายะที่ 29 โศลกที่ 43).
54. ท้าวพฤหัทราธ (बृहद्रथ - Bṛhadratha) - กษัตริย์แห่งอังคะวงศ์ มีชาวเผ่าลมะศูระ (लंशूर इति - The Laṃśūras) บนภูเขาคฤทรกูฑะ (गृद्ध्रकूट -Gṛddhrakūṭa - เทือกเขาทางเหนือของภารตะ) ได้ช่วยเหลือพระองค์ไว้ จากการพยายามสังหารของปรศุราม (มหาภารตะ ศานติบรรพ อัธยายะที่ 48, และ โทรณบรรพ อัธยายะที่ 57 และ 62).
กษัตริย์นักรบแห่งภารตะโบราณ, พัฒนาไว้เมื่อ 29 ตุลาคม 2567.
1.
2.
หน้าที่ 17
มโหทสาหะ01, วินีตาตมัน02, พระนล03แห่งเหล่านิษาท04, สัตยวรตะ05, ศานตภยะ07, สุมิตรา08, ท้าวสุพละ09, ท้าวชนุชังฆะ10, ท้าวอนารัณยะ11, อรกะ12, ท้าวปริยภฤทยะ13, ศุภวรตะ14, พลบันทุ, ท้าวนิรามารท15, ท้าวเกตุศฤงคะ16, ท้าวพฤหัทพละ17, ท้าวธฤษฏเกตุ18, ท้าวพฤหัทเกตุ19, ท้าวทีพตเกตุ20, ท้าวนิรามยะ21, อวิคษิตะ22, ประพละ23, ท้าวทูรตะ24, เจ้าชายกฤทบันธุ25, ธฤฑีษุธิ26, มหาปุราณะ27, สัมภาวยะ28, ท้าวปรัทยางคะ29, ท้าวปรหัน30, ท้าวศรุติ31. บรรดากษัตริย์เหล่านี้และกษัตริย์องค์อื่น ๆ อีกหลายร้อยพระองค์ รวมทั้งดอกบัวทั้งหลาย (เหล่านักรบผู้กล้า) ต่างก็เคยได้สดับรับทราบกันมา. ทรงเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ทรงอำนาจและเฉลียวฉลาดเหล่านี้ ยอมสละทรัพย์สมบัติและความสุขอันมากมาย และได้สิ้นชีพลง เช่นเดียวกับโอรสทั้งหลายของเหล่ากษัตริย์. แม้แต่ผู้ที่กระทำความดีบนสวรรค์ ผู้มีจิตวิญญาณอันยิ่งใหญ่ ผู้มีความกล้าหาญ ความเอื้อเฟื้อ ความสัตย์ ความบริสุทธิ์ ความสงสารเห็นอกเห็นใจ ความกรุณา ความศรัทธา และความเรียบง่าย และผู้ที่มีคุณสมบัติดีพร้อมและมีความมั่งคั่งอย่างเหลือล้น ซึ่งนักกวีที่มีองค์ความรู้ขั้นสูงได้บรรยายไว้แก่ชาวโลกในคัมภีร์ปุราณะ พวกเขาเหล่านี้ก็ไปสู่ความตายเช่นกัน. บุตรชายของพระองค์เป็นคนบาปหนา อิจฉา โลภ หลงไหลไปกับกิเลสตัณหาและความชั่วร้าย โปรดอย่าโศกเศร้าเสียใจไปกับพวกเขาเลย. โอ ท่านท้าวธฤตราษฎร์! พระองค์เป็นผู้รอบรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ และมีความเฉลียวฉลาดและมีปัญญา. ผู้ที่มีความเข้าใจตามบรรทัดฐานของศาสตร์ต่าง ๆ ย่อมไม่หลงผิด. โอ้ ราชาแห่งเหล่ามนุษย์ พระองค์ทรงทราบดีถึงความโชคดีและความโชคร้ายของโชคชะตาที่ได้ลิขิตไว้. พระองค์คงทราบดีถึงความรู้สึกสุดโต่งที่พระองค์ทรงยอมจำนนเพื่อปกป้องเหล่าโอรสของพระองค์. พระองค์ไม่ควรโศกเศร้าเสียใจในสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้น. ผู้ที่ฉลาดจะไม่รู้สึกเสียใจกับโชคชะตา. แม้มีปัญญาอันเหลือล้น สิ่งใดที่ถูกกำหนดไว้ก็จะเกิดขึ้น. ไม่มีใครล่วงละเมิดเส้นทางที่วางไว้ได้. เวลาทำให้เกิดทั้งความมีอยู่และความไม่มีอยู่ ความปิติและความเจ็บปวด. เวลาสร้างองค์ประกอบทั้งหมด และเวลาทำลายสรรพสิ่ง. เวลาเผาไหม้ทุกสิ่ง และถึงเวลาดับไฟ. เวลาเดินไปในทุกแง่มุม แผ่ซ่านและเป็นกลาง. เมื่อรู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่าง อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ล้วนสร้างขึ้นโดยเวลา จึงไม่เหมาะสมที่พระองค์จะต้องจมอยู่กับความโศกเศร้า." '
ซัลติ32 กล่าวว่า 'พระมหาฤๅษีกฤษณะ ไทวปายนะ ได้เรียบเรียงอุปนิษัทอันเป็นที่เคารพบูชา. การศึกษาเรื่องภารตะ33 นั้นศักดิ์สิทธิ์มาก ถึงขนาดว่าแม้จะอ่านเพียงบรรทัดเดียวของโศลก บาปทั้งหมดของผู้อ่านก็ถูกทำลายไป. นี่เป็นการยกย่องผู้กระทำความดีอันบริสุทธิ์ ทวยเทพ เหล่าเทพฤๅษี34 พราหมฤๅษี35 ผู้พิสุทธิ์ บรรษายักษ์ และเหล่าพญานาค.
---------------
01. มโหทสาหะ (महोत्साह - Mahotsāha) - บุตรแห่งพระอุตตมะ มนู (รายละเอียดดูในหมายเหตุ คำอธิบาย 01 หน้าที่ 5 คัมภีร์ปุราณะ 1).
02. วินีตาตมัน (विनीतात्मन् - Vinītātman) - หนึ่งในพันฉายาของพระศิวะ, การประนมมือด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน (ศิวะ ปุราณะ).
03. พระนล (नल - Nala) - บุตรของท้าววีรเสนา (वीरसेन - Vīrasena - พระองค์เป็นมังสะวิรัต) เป็นราชาของพวกนิษาทหรือพรานป่า "พระนลคำฉันท์..!!!???" 1) คราหนึ่งฤๅษีพฤหัทศวะ (बृहदश्व - Bṛhadaśva) ได้มาเยือนวังของท้าววีรเสนา ได้สรรเสริญชื่นชมถึงคุณสมบัติของพระนลไว้มาก (มหาภารตะ วนบรรพ อัธยายะที่ 53 โศลกที่ 2); 2) ครั้นเมื่อพระนลกำลังเล่นอยู่ในสวน ด้วยความสนุกสนาน พระนลได้จับหงส์ที่มีปีกสีทองไว้ได้ตัวหนึ่ง หงส์กล่าวแก่พระนลว่า "หากท่านปล่อยข้าฯ แล้วไซร้ ข้าฯ ก็จะบอกเรื่องของท่านให้นางทมยันตี (दमयन्ती - Damayantī) ฟัง" หงส์จึงถูกปล่อยไป มันบินตรงไปยังแคว้นวิทรภะ (विदर्भ - Vidarbha) และโน้มน้าวให้นางทมยันตีรักพระนล (มหาภารตะ วนบรรพ อัธยายะที่ 53); 3) หลังจากความตาย พระนลได้นั่งราชรถศึกลอยฟ้าของพระอินทร์ และได้เป็นพยานในการต่อสู้ระหว่างอรชุนกับฝ่ายเการพ อันเป็นช่วงปลายที่เหล่าภราดาปาณฑพที่ได้ใช้ชีวิตในป่า (มหาภารตะ วนบรรพ อัธยายะที่ 56 โศลกที่ 10).
04. นิษาท (निषाद - Niṣāda หรือ Nishada) - นายพราน ท่องทั่วไปตามหุบเขาอย่างอิสระ.
05. สัตยวรตะ (सत्यव्रत - Satyavrata) - นักรบของฝ่ายเการพ เป็นโอรสคนหนึ่งท้าวธฤษตราษฎร์, บ้างก็มีชื่อเรียกว่า สัตยเสนา06 (सत्यसेन - Satyasena) และ สัตยสันธะ (सत्यसन्ध - Satyasandha).
06. อีกนิยามหนึ่ง สัตยเสนา (सत्यसेन - Satyasena) - บุตรชายของกรรณะ เขาทำหน้าที่เป็นทหารรักษาวงล้อรถศึกของกรรณะผู้เป็นบิดาในสงครามมหาภารตะ (มหาภารตะ กรรณบรรพ อัธยายะที่ 48 โศลกที่ 18).
07. ศานตภยะ (शान्तभय - Śāntabhaya) - ชื่อของบุตรชายของเมธาทิธิ (मेधातिथि - Medhātithi) (วิษณุปุราณะ).
08. สุมิตรา (सुमित्र - Sumitra) - กษัตริย์ภารตะโบราณ พระองค์เป็นอสูรที่กลับชาติมาเกิดเป็นกษัตริย์ (มหาภารตะ อาทิบรรพ อัธยายะที่ 67 โศลกที่ 63) พระองค์อยู่ฝ่ายปาณฑพ และเป็นสมาชิกในราชสำนักของยุธิษฐิระ (มหาภารตะ สภาบรรพ อัธยายะที่ 4 โศลกที่ 25).
09. ท้าวสุพละ (सुबल - Subala) - กษัตริย์แห่งแคว้นคานธาระ (หรือคันธาระ) พระองค์เป็นบิดาของศกุนิ (शकुनि - Śakuni) และนางคานธารี (गान्धारी - Gāndhārī).
10. ท้าวชนุชังฆะ (जानुजङ्घ - Jānujaṅgha) - กษัตริย์ที่ควรระลึกถึงในทุกเช้าเย็น (มหาภารตะ อนุศาสนบรรพ อัธยายะที่ 165 โศลกที่ 69) หนึ่งในโอรสแห่งพระตามส มนู (तामस - Tāmasa) พระมนูองค์ที่ 4.
11. ท้าวอนารัณยะ (अनरण्य - Anaraṇya) - 1).กษัตริย์แห่งอิกษวากุวงศ์ พระองค์เป็นมังสะวิรัติ (มหาภารตะ อนุศาสนบรรพ อัธยายะที่ 115 โศลกที่ 59) 2). ครั้งหนึ่งทศกัณฐ์ได้บุกดินแดนของท้าวอนารัณยะ ได้ต่อสู้และพระองค์ก็สิ้นพระชนม์ ก่อนจะสิ้นพระชนม์ก็ได้สาปแช่งท้าวราพณ์หรือทศกัณฐ์ว่า พระราม โอรสของพระเจ้าทศรถจะสังหารท้าวราพณ์ (พฺรหฺมาณฺฑ ปุราณะ - Brahmāṇḍa-purāṇa อัธยายะที่ 45).
12. อรกะ (अर्क - Arka) - บุตรชายของปุรุชา (पुरुज - Puruja). เขามีบุตรนามว่าภรมยาศวะ (भर्म्याश्व - Bharmyāśva) ซึ่งต่อมาภรมยาศวะก็เป็นกษัตริย์ที่มีชื่อเสียงของแคว้นปัญจาละ (पाञ्चाला देश - Pāñcāla Deśa) (ภาควตะ ปุราณะ บรรพที่ 9 อัธยายะที่ 21 โศลกที่ 31).
13. ท้าวปริยภฤทยะ (प्रियभृत्य - Priyabhṛtya) - 1). กษัตริย์ภารตะโบราณ 2). บุตรแห่งพระตามส มนู (तामस - Tāmasa) พระมนูองค์ที่ 4.
14. ศุภวรตะ (शुभव्रत - Śubhavrata) - สืบค้นนามไม่พบ แต่หมายถึง "การมีใจจดจ่ออยู่ที่พระศิวะ" (ศิวะปุราณะ บรรพที่ 2 อัธยายะที่ 5 โศลกที่ 7).
15. ท้าวนิรามารท (निरामर्द - Nirāmarda) - กษัตริย์ภารตะโบราณ.
16. ท้าวเกตุศฤงคะ (केतुशृङ्ग - Ketuśṛṅga) - 1) กษัตริย์ภารตะโบราณ; 2) บุตรฤๅษีภฤคุ (भृगु - Bhṛgu).
17. ท้าวพฤหัทพละ (बृहद्बल - Bṛhadbala) - โอรสพระเจ้าสุพา (सुबा - Subā บ้างก็เรียกท้าวสุพละ) กษัตริย์แห่งแคว้นคานธาระ. พระองค์ได้ร่วมพิธีแต่งงานของปาญจาลี (पाञ्चाली स्वयम्वर - Pāñcālī Svayamvara) พร้อมด้วยภราดาของพระองค์ คือ ศกุนิและวฤษกะ (वृषक - Vṛṣaka) (มหาภารตะ อาทิบรรพ อัธยายะที่ 185 โศลกที่ 5).
18. ท้าวธฤษฏเกตุ (धृष्टकेतु - Dhṛṣṭaketu) - เป็นโอรสท้าวศิศุปาละ (शिशुपाल - Śiśupāla) กษัตริย์แห่งเจตี (चेदी - Cedī or Chedi) ท้าวธฤษฏเกตุมีบทบาทมากในมหาภารตยุทธ ทรงอยู่ฝ่ายภราดาปาณฑพ.
19. ท้าวพฤหัทเกตุ (बृहत्केतु - Bṛhatketu) - กษัตริย์ภารตะโบราณ.
20. ท้าวทีพตเกตุ (दीप्तकेतु - Dīptaketu) - กษัตริย์ภารตะโบราณ.
21. ท้าวนิรามยะ (निरामय - Nirāmaya) - กษัตริย์ภารตะโบราณ.
22. อวิคษิตะ (अविक्षित - Avikṣita) - มรุตตะ (मरुत्त - Marutta) หนึ่งในกษัตริย์แห่งอิกษวากุวงศ์ ผู้ทรงทำการเสียสละโดยสัมวรรต (संवर्त - Saṃvarta - เป็นน้องของพระพฤหัสฯ ที่ไม่ค่อยลงรอยกันนัก) เป็นการท้าทายต่อพระอินทร์และพระพฤหัสปติ.
23. ประพละ (प्रबल - Prabala) - ทรงพลัง, ผู้ติดตามพระหริ (พระกฤษณะ) โจมตีเหล่าอสูรผู้ติดตามแห่งพาลี (बलि - Bali - จอมอสูรในหริวงศ์). เป็นโอรสของพระกฤษณะกับนางมาทรี (माद्री - Mādrī - คนละคนกับนางมาทรีที่เป็นชายาของท้าวปาณฑุ).
24. ท้าวทูรตะ (धूर्त - Dhūrta) - กษัตริย์ภารตะโบราณ.
25. เจ้าชายกฤทบันธุ (कृतबन्धु - Kṛtabandhu) - 1) ชื่อของเจ้าชาย; 2) หนึ่งในโอรสของพระตามส มนู (तामस - Tāmasa Manu).
26. ธฤฑีษุธิ (दृढेषुधि - Dṛḍheṣudhi).
27. มหาปุราณะ (महापुराणम् - Mahāpurana).
28. สัมภาวยะ (संभाव्य - Saṃbhāvya) - บุตรแห่งไรวตะ (रैवत - Raivata - 1). กษัตริย์ภารตะโบราณ; 2). หนึ่งในสิบเอ็ดชื่อของพระรุทร).
29. ท้าวปรัทยางคะ (प्रत्यङ्ग - Pratyaṅga) - กษัตริย์ภารตะโบราณ.
30. ท้าวปรหัน (परहन् - Parahan) - กษัตริย์ภารตะโบราณ.
31. ท้าวศรุติ (श्रुति - Śruti) - กษัตริย์ภารตะโบราณ.
32. ซัลติ ในที่นี้หมายถึงบุตรชายของโลมหรรษณะ ก็คืออุกรศรวะ (ดูหมายเหตุ คำอธิบายที่ 08 หน้า 1 ข้างต้น).
33. เดิมนั้นก่อนจะมีการขยายความมีการรจนาให้วิจิตร มหาภารตะ มีชื่อว่า ภารตะ.
34. เทพฤๅษี หรือ เทวฤๅษี (देवर्षि - Devarṣi) - นักบุญแห่งสวรรค์ อาทิ ฤๅษีนารทมุนี (नारद - Nārada), ฤษีอตริ (अत्रि - Atri), ฤษีมรีจิ (मरीचि - Marīci), ฤษีภรัทวาช (भरद्वाज - Bharadvāja), ฤษีปุลัสตยะ (पुलस्त्य - Pulastya), ฤษีปุลหะ (पुलह - Pulaha), ฤษีกระตุ (क्रतु - Kratu), ฤษีภฤคุ (भृगु - Bhṛgu), ฤษีวสิษฐ์ (वसिष्ठ - Vasiṣṭha), ฤษีปราเชตัส (प्रचेतस् - Prachetas), ตลอดจน ฤษีภรตะ (भरत - Bharata), ฤษีทัมบุรุ (तुम्बुरु - Tumburu), ฤษีคาณาทะ (कणाद - Kaṇāda) และท่านอื่น ๆ .
35. พราหมฤๅษี (ब्राह्मर्षि - Brāhmaṛṣi) หมายถึงปราชญ์ผู้มีความรู้เกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าสูงสุด (พระพรหม - ब्रह्मन् - Brahman).
1.
2.
หน้าที่ 18
องค์พระวาสุเทพ01 ผู้เป็นนิรันดร์ได้รับการยกย่องในที่นี้. พระองค์คือสัจธรรม ความเป็นอมตะ ความบริสุทธิ์ และศักดิ์สิทธิ์. พระองค์ได้รับการอธิบายว่าเป็นพระพรหมอันสูงสุด ชั่วนิรันดร์ เป็นแสงสว่างที่คงที่และคงอยู่ชั่วนิรันดร์ ซึ่งจริยวัตรอันศักดิ์สิทธิ์นี้ได้รับการนิยามโดยผู้รู้. พระองค์ทรงเป็นแหล่งแห่งความมีอยู่และความไม่มีอยู่ หลักแห่งการขยายและหดตัวลง. ซึ่งได้นำมาพรรณนาว่าเป็นวิญญาณสูงสุดที่รวบรวมคุณลักษณะของธาตุทั้ง 502 และคุณสมบัติ 3 ประการ03 และคำว่า "ไม่สำแดง" ไม่สามารถนำมาใช้กับวิญญาณนี้. นอกจากนี้ การทำสมาธิและโยคะ ยังทำให้เสรีชนมองเห็นตัวเองราวกับว่าตัวเองกำลังยืนเป็นเงาสะท้อนในกระจก. ผู้ใดที่สัตย์ซื่อเดินตามวิถีแห่งความถูกต้องเสมอแล้วไซร้ ผู้นั้นก็จะพ้นบาปทั้งปวงเมื่ออ่านอัธยายะนี้. ตั้งแต่แรกเริ่ม ผู้ศรัทธาที่ได้ยินอัธยายะเบื้องต้นของภารตะนี้เสมอแล้ว ก็จะไม่เคยประสบกับความยากลำบาก. ผู้ที่เปล่งวาจาอัธยายะ (บท) เบื้องต้นซ้ำ ๆ ไม่ว่าจะในตอนเช้าหรือตอนเย็น ก็จะพ้นจากบาปทั้งหมดที่สะสมมาตลอดทั้งวันหรือคืน. ในเนื้อหาของภารตะ อัธยายะนี้เป็นเสมือนสัจธรรมและอาหารทิพย์ เหมือนเนยอยู่ในก้อนนมเปรี้ยว และเหมือนพราหมณ์อยู่ท่ามกลางสัตว์เดินสองขา เหมือนมหาสมุทรที่ดีที่สุดในบรรดาทะเลสาบ และเป็นวัวดีที่สุดในบรรดาสัตว์สี่ขา. จึงมีการกล่าวกันว่าสิ่งที่ดีที่สุดนั่นคือภารตะ. ภารตะได้สร้างพราหมณ์เพียงฟังบทสวดหนึ่งโศลก และถวายอาหารและเครื่องดื่มแก่บรรพบุรุษแล้วไซร้ อาหารและเครื่องดื่มนั้นก็ไม่มีวันหมด. คัมภีร์พระเวทควรได้รับการสนับสนุนด้วยอิติหาส04 และปุราณะ05. แต่พระเวทควรได้รับการอนุเคราะห์ด้วยการศึกษาบ้าง แม้เพียงเล็กน้อย06 มิฉะนั้นความรู้นั้นอาจเสียหายได้. อย่างไรก็ตาม หากผู้รู้ได้สวดพระเวทของพระฤๅษีกฤษณะแล้วไซร้07 เขาก็จะได้รับประโยชน์. ไม่ต้องสงสัยเลยว่าบาปจากการฆ่าตัวอ่อนจะมลายไปด้วยเช่นกัน. บุรุษผู้บริสุทธิ์ที่ได้อ่านอัธยายะนี้ด้วยความเคารพในทุก ๆ ค่ำคืนที่มีพระจันทร์ ก็เสมือนกับว่าได้อ่านภารตะทั้งเล่ม. บุรุษใดที่ฟังบทสวดศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ด้วยความนอบน้อมทุกคืนวัน เชื่อกันว่าจะมีอายุยืนยาวและมีชื่อเสียง และไปสู่สวรรค์.
---------------
01. วาสุเทพ (वासुदेव - Vāsudeva) - พระกฤษณะ.
02. ดิน น้ำ พลังงาน ลม และท้องฟ้า.
03. คัมภีร์มหาปุราณะที่ระบุถึงไตรคุณะ หรือ สามคุณธรรม (three qualities or गुण - Guṇa) ได้แก่ สัตตวะ หรือ สตฺตฺว (सत्त्व - Sattva - ความสมดุล ความมีอยู่จริง ความสว่าง การสร้างสรรค์ - The Quality of light or purity), รชสฺ (रजस् - Rajas - พลังงาน อารมณ์ ความเคลื่อนไหว คุณธรรม การคุ้มครองรักษา - passion) และ ตมัส หรือ ตมฺส (तमस् - Tamas - ความเฉื่อย ถดถอย ความคงสภาพ - darkness or inertia) นั้น (ดูเพิ่มเติมในหมายเหตุ คำอธิบาย 01 หน้าที่ 36 ของ จ. บทนำ: ภควัทคีตา).
04. อิติหาส, แท้จริงแล้วคือประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะมหากาพย์สองเรื่อง (รามายณะและมหาภารตะ).
05. ปุราณะ (पुराण - purāṇa) - เก่าแก่, โบราณ, สำเร็จสมบูรณ์, รังสรรค์พระเวทให้สมบูรณ์ - ancient, old, complete, completing, completes the Vedas.
06. แม้ว่าจะเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ แต่ในที่นี้พระเวทได้ถูกกำหนดให้เป็นบุคคล.
07. ในที่นี่อ้างอิงถึงมหาฤๅษีกฤษณะ ไทวปายนะ (เวทวฺยาส).
1.
2.
หน้าที่ 19
ในสมัยโบราณ ทวยเทพและบรรดาฤษีจะมาพบกัน แล้ววางคัมภีร์พระเวททั้งสี่01 ไว้บนตาชั่งด้านหนึ่ง และมหากาพย์ภารตะอยู่อยู่ด้านหนึ่ง. ภารตะนั้นหนักกว่าทั้งในด้านความยิ่งใหญ่และน้ำหนัก. เนื่องด้วยมีความโดดเด่นในเนื้อหาและสาระ จึงได้รับขนานนามว่ามหาภารตะ (महाभारत - Mahābhārata) ผู้ที่รู้ความหมายที่แท้จริงนี้ก็จะพ้นจากบาปทั้งปวง. การบำเพ็ญตบะไม่ใช่บาป การศึกษาก็ไม่ใช่บาป กฎธรรมชาติแห่งพระเวทก็ไม่ใช่บาป และความพยายามดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งความมั่งคั่งก็ไม่ใช่บาป. แต่จะกลายเป็นบาปเมื่อมันถูกเหยียดหยามปรามาส.'
---------------
01. หมายถึง ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และอรรถรเวท (รายละเอียดดูใน หน้าที่ 64 ของ ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 1.003).
แหล่งอ้างอิง:
01. จาก. "The Mahabharata 1," แปลโดย BIBEK DEBROY, ISBN: 978-0-1434-2514-4, สำนักพิมพ์เพนกวิน แรนดอม เฮ้าส์, พ.ศ.2558, ตีพิมพ์ในภารตะ.
02. จาก. "The Mahābhārata," An abridged translation by JOHN D. SMITH, ISBN: 978-0-140-44681-4, สำนักพิมพ์เพนกวิน บุ๊คส์, พ.ศ.2552. สหรัฐอเมริกา. www.penguin.com.
03. จาก. "The Mahabharata: Complete 18 volume," Veda Vyasa, Kisari Mohan Ganguli, แปล (เป็นภาษาอังกฤษ) [พ.ศ.2426-2439], ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2564 โดยสำนักพิมพ์ ซานซานิ.
04. จาก. http://www.wisdomlib.org.
05. จาก. www.purankosh.in
.
.
.