MENU
TH EN

สรรพทรรศนะสังเคราะห์ 1 - บทนำและระบบจารวาก

Title Thumbnail: The Sarva-Darśana-Sagraha ที่มา: amazon.com, วันที่เข้าถึง 16 กุมภาพันธ์ 2565 และ Hero Image: The Sarva-Darśana-Samgraha, ที่มา: https://www.bookdepository.com/Sarva-dar%C5%9Bana-samgraha-Madhava/9781696420945, วันที่เข้าถึง 16 กุมภาพันธ์ 2565.
สรรพ (สรว) ทรรศนะสังเคราะห์ 1 - บทนำและระบบจารวาก
First revision: Feb.16, 2022
Last change: Apr.04, 2023
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
 อภิรักษ์ กาญจนคงคา.
 
การกลับมาค้นพบ
อินเดีย

  
ห้องสมุดปรัชญาอินเดีย
 

การกลับมาค้นพบอินเดีย 
  
 

สรรพ (สรว) ทรรศนะสังเคราะห์
ทบทวนระบบปรัชญาฮินดูที่แตกต่างหลากหลาย
 
 

กูเท เอ.อี. เคาเวล อี.บี.
 
 

เล่ม 9
 
  

สำนักพิมพ์คอสโม
 
 
 
 

ตีพิมพ์ครั้งแรก - พ.ศ.2443 (ค.ศ.1900)
ตีพิมพ์ชุดนี้ พ.ศ.2530 (ค.ศ.1987)


จัดพิมพ์โดย
รานี การโปร์ (นาง)
สำนักพิมพ์คอสโม
24-บี ถนนอันสาริ ดาร์ยกนิช
นิวเดลลี-110002 (อินเดีย)
 
พิมพ์ที่
เอ็ม/เอส ตาช ออฟเซ็ต
นิว เดลลี

 
 บทนำ.
 
ข้าพเจ้าจำได้ดีถึงความน่าสนใจอันน่าตื่นเต้นระหว่างที่ได้เรียนด้านฮินดูแห่งกัลกัตตาโดยการตีพิมพ์สรรพทรรศนะสังเคราะห์ของท่านมาธวะอาจารยาตามที่ปรากฎในบรรณานุกรมอินเดีย ในปี พ.ศ.2401 (ค.ศ.1858). ซึ่งการปรับปรุงแก้ไขเริ่มแรกจากบัณฑิต อิศวรจันทรา วิทยาสากระ แต่ทว่าการปรับปรุงแก้ไขในระยะต่อมานั้น ก็มิได้มีการเปลี่ยนแปลงที่สลักสำคัญนัก ซึ่งได้ตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2415 (ค.ศ.1872) โดยบัณฑิตทารานาธะ ทรกวาชสปติ. งานปรับปรุงนี้ได้ใช้วิลสันช่วย “ร่างสเก็ตช์ภาพส่วนของศาสนาฮินดู” (ตีพิมพ์ครั้งแรกในเดอะเอเชียติก รีเสิร์ชส์, เล่มที่ 16, กัลกัตตา, พ.ศ.2371 (ค.ศ.1828)); แต่ไม่ปรากฎให้เห็นเพื่อเป็นที่รู้จักมากนักในอินเดีย.เอ็มเอส. สำเนาของหนังสือนี้หาได้ยากมาก; และพบได้ทางตอนเหนือของอินเดีย, ไม่ว่าจะไกลเพียงใดก็ตาม ข้าพเจ้าก็หาโอกาสที่จะตรวจทานมันให้ได้, ดูเหมือนว่าจะได้คืนมาทั้งหมดหนึ่งชุด, ต้นฉบับได้นำมาจากทางใต้, และเขียนเป็นตัวอักษรเตลูกู.(Telugu Character – อยู่ในตระกูลภาษาดราวิเดียนของชาวอินเดียแถบรัฐอานธรประเทศและรัฐเตลังคานา ภาษาเตลูกู เป็นภาษาพูดเป็นอันดับ 2 รองจากภาษาฮินดี). แน่นอนว่าย่อมจะมีข้อผิดพลาดที่พบเหมือนกันหมด, และบางทีเกิดจากการอ่านที่ไม่ถูกต้องในภาษาเตลูกูดั้งเดิม. ข้าพเจ้าสังเกตว่ามีสิ่งที่เหมือนกันในสำเนาที่เป็นภาษานาครี (ภาษาดั้งเดิมก่อนเทวนาครี) จากคำชี้แนะของมหาคุรุมาธวะในยชุรเวทดำ (กฤษณะยชุรเวท – Krishna Yajurveda = The unarranged unclear, motley collection of versus in Yajurveda), ซึ่งยังคงมีอยู่ทางตอนเหนือของอินเดียปัจจุบัน.

       มีช่วงหนึ่งที่ข้าพเจ้าทำงานอยู่ที่สำนักเลขานุการของสมาคมเบงกอล
 


vi
เอเชียตะวันออกนั้น. โดยพื้นฐานแล้ว ข้าพเจ้านั้นหลงไหลในหนังสือเล่มนี้; และต่อมาก็ได้อ่านหนังสือนี้อีกกับมิตรสหายของข้าพเจ้า บัณฑิต มเหศจันทรา นยานรัตนะ, หัวหน้าภาคหรือคณบดีวิทยาสันสกฤตที่กัลกัตตา. ข้าพเจ้ามักหวังเสมอไว้ว่าจะแปลหนังสือนี้เป็นภาษาอังกฤษ; แต่ก็ถูกปรามด้วยภารกิจผูกพันต่าง ๆ ต่อเนื่องมาเรื่อย ขณะที่ข้าพเจ้าพำนักอยู่ที่อินเดีย. ไม่นานหลังจากที่ได้กลับมาอังกฤษแล้ว, ข้าพเจ้าก็ดำเนินการตามความหวังที่ตั้งใจไว้; แต่ข้าพเจ้าก็พบว่าบางบทนั้น, ซึ่งข้าพเจ้าไม่ได้ให้ความสนใจเหมือนเท่ากับส่วนอื่นที่เหลือนัก, คือมีความยากไม่น้อยที่จะถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษ (ให้เข้าใจได้), เป็นที่ซึ่งข้าพเจ้าไม่เพลิดเพลินอีกต่อไปในข้อได้เปรียบจากการอ้างอิงไปยังสหายเก่า ๆ ของข้าพเจ้า เหล่าบัณฑิตที่วิทยาลัยสันสกฤต. ในความสิ้นหวังนี้ ข้าพเจ้าได้วางการแปลลงจนเวลาล่วงเลยไปหลายปี, จนกระทั่งข้าพเจ้าบังเกิดการเรียนรู้จากสหาย, มร.เอ. อี. กอฟ, ในช่วงเวลานั้นเป็นศาสตราจารย์ในวิทยาลัยสันสกฤตที่เมืองพาราณสี, ก็ได้ครุ่นคิดถึงการแปลหนังสือนี้ขึ้นใหม่. โดยพลัน ข้าพเจ้าในขณะนั้นก็เสนอสหายท่านนี้ให้แปลหนังสือนี้ขึ้นมาด้วยกัน, และเขาก็ยอมรับด้วยไมตรีดียิ่ง ต่อข้อเสนอของข้าพเจ้า; และเราก็ดำเนินการแปลตามบทต่าง ๆ แบ่งงานแปลกัน. สหายท่านนี้ได้รับประโยชน์จากการช่วยเหลือของเหล่าบัณฑิตบางท่านที่พาราณสี, โดยเฉพาะบัณฑิต รามะ มิศระ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านแนวคิดสางขยะ, ผู้เป็นเจ้าแห่งแนวคิดคือศรีรามานูชาจารย์, และข้าพเจ้าก็เชื่อเช่นนั้น, แม้ว่าพวกเรา (ที่กำลังแปลหนังสือนี้อยู่นั้น) ได้ละทิ้งความสงสัยในบางสิ่งที่อธิบายไม่ได้หรืออธิบายผิดไป, เราก็อาจสามารถสาดแสงไปยังคำกล่าวต่าง ๆ ในมุมมืด ซึ่งเดิมนั้นมีมากมาย. การแปลของเรา โดยเริ่มต้นได้ตีพิมพ์ในช่วงที่ทำงานกับบัณฑิตที่เมืองพาราณสี ระหว่าง พ.ศ.2417 (ค.ศ.1874) และ พ.ศ.2421 (ค.ศ.1878); แต่พวกเขาก็ระมัดระวังในการปรับปรุงจากการตีพิมพ์ใหม่ในปัจจุบัน.

       โดยตัวงานแปลนี้เองนั้น เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจของความสามารถในการวิพากษ์ปรัชญาฮินดู. ผู้ประพันธ์ (มหาคุรุมาธวะ) ประสบความสำเร็จ ผ่านการวิพากษ์วิจารณ์


 
vii
ระบบปรัชญาทั้งสิบหกที่มีอยู่แล้วนั้นซึ่งอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 (คริสต์ศตวรรษที่ 14) ทางตอนใต้ของอินเดีย, และให้ปรากฎการณ์แก่แนวคิดของท่านอันได้กลายเป็นทฤษฎีที่มีความสำคัญที่สุด, และเป็นประเด็นที่ถกเถียงหลักของเหล่าสาวกหรือศิษยานุศิษย์ที่พยายามจะรักษาหลักปรัชญาทั้งสิบหกนี้ไว้; และท่านก็มักมีอารมณ์ขันแปลก ๆ บางอย่าง ในขณะที่ท่านได้ทุ่มเทกับงานประมวลเหล่าแนวคิดปรัชญานี้ และนี่ก็เป็นร่างบทสรุปสำหรับแนวคิดที่แตกต่างออกไป.1 บางครั้งเราอาจแตกต่างไปจากท่าน ในการตัดสินถึงความสำคัญในหลักคำสอนของเหล่าศิษยานุศิษย์ที่ได้เคารพอยู่บ้าง แต่การมองและมุมมองของนักวิจารณ์ผู้เป็นเจ้าของภาษาที่เฉียบแหลมนั้น เป็นเรื่องที่น่าสนใจเสมอ. ในระหว่างที่ท่านร่างโครงแนวคิดปรัชญานั้น ท่านมักจะอธิบายรายละเอียดยืดยาวอันคลุมเครือของระบบแนวคิดปรัชญาต่าง ๆ และข้าพเจ้าก็แทบจะไม่สามารถจินตนาการไปถึงแนวทางที่ดีกว่าสำหรับผู้อ่านชาวยุโรปที่ต้องการศึกษาทรรศนะแบบบ้าน ๆ ตามท้องถิ่นของชาวยุโรปเอง. ในหนึ่งหรือสองกรณี (โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระพุทธศาสนา และอาจอยู่ในระบบแนวคิดของศาสนาเชน) ท่านทำได้เพียงดึงแนวคิดที่มีผู้กล่าวไว้นานแล้วจากการอภิปราย สิง่ที่อ้างอิงส่วนใหญ่นั้นมาจากผลงานโดยตรงของศาสดาหรือศิษยานุศิษย์สำคัญ (ในแต่ละศาสนาหรือแนวคิดปรัชญา) ท่านก็เฝ้าติดตามศึกษาอย่างต่อเนื่อง แม้ในที่ที่ท่านไม่ได้อ้าวอิงคำกล่าวที่แน่นอนได้.2

       จากมุมมองของแนวคิดปรัชญาเวทานตะนั้น ผู้ประพันธ์ของเราได้ถูกเลือก, ในปี พ.ศ.1874 (ค.ศ.1331) นั้น ผู้นำของ
 
วากัสปติ มิศระ บ้างก็เรียก วาจัสปติมิศระ (Váchaspati Miśra) เป็นปราชญ์ฮินดูอินเดีย ในคศว.ที่ 9 ลัทธิอไวตะ เวทานตะ ท่านได้ประพันธ์ถึงหมวดสาขาต่าง ๆ ของปรัชญาอินเดียอย่างกว้างขวาง จนท่านเป็นที่รู้จักในนาม "ระบบหนึ่งที่ทุกระบบเป็นของตัวเอง - One for whom all systems are his own" หรือในภาษาสันสกฤตคือ Sarva-tantra-sva-tantra, มิศระท่านเป็นปราชญ์ที่สมบูรณ์พร้อม งานเขียนของท่านมีมากมายรวมทั้ง ภาษยะ (bhāṣya - ข้อคิด - commentaries), ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 10 มกราคม 2564. ภาพจาก: https://artsandculture.google.com/asset/vacaspati-misra/3gGDRT6aNo0NuQ , วันที่เข้าถึง 22 กุมภาพันธ์ 2565
---------------
1. ตัวอย่างของความใจเย็นสุขุมในเชิงปรัชญานี้คือของวากัสปติ มิศระ ผู้เขียนบทความมาตรฐานในแต่ละระบบจากหกระบบ เว้นเสียแต่ส่วนที่เป็นระบบแนวคิดไวเศษิกะ (the Vaiśeshika) ท่านได้นำมุมมองที่แตกต่างออกไปของแต่ละระบบ ซึ่งแน่นอนว่าไม่รวมถึงหลักการยิบย่อยที่แตกต่างจากนี้.
2. บรรณานุกรมชื่อผู้แต่งและผลงานที่ยกมาในแต่ละบานแผนกบรรณานุกรมของ ดร.ฮอลล์ หน้าที่ 162-164, และในบานแผนกของศาสตราจารย์ออเฟรซต์ด้วย, หน้า 247.


viii
ระเบียบสมารตะ01 ของมัฏธะแห่งศรินกริแห่งเขตแคว้นมัยซอร์ ซึ่งก่อตั้งโดยศังกราจารย์, มหาคุรุลัทธิเวทานตะในพุทธศตวรรษที่ 13 (หรือคริสต์ศตวรรษที่ 8), ด้วยความเพียรพยายามของลัทธิเวทานตะ ที่กลายมาเป็นสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน – ทัศนะอันเป็นที่ยอมรับของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู. ระบบต่าง ๆ จะค่อย ๆ ก่อตัวเพิ่มขึ้นทีละน้อย - อย่างแรกคือระบบจารวาก02 และพระพุทธศาสนา เป็นระบบที่อยู่ล่างสุดหากได้ละออกจากระบบเวทานตะ (ระบบพระเวทใหม่) และท้ายที่สุดนี้ ระบบสางขยะและโยคะซึ่งเป็นระบบสูงสุดและเข้าถึงได้มากที่สุด.

       ระบบทั้งสิบหกที่จะกล่าวถึงนี้ได้ดึงดูดการศึกษาของเหล่าชนที่มีจิตใจสง่างามในอินเดียตลอดช่วงยุคกลางของประวัติศาสตร์. พระภิกษุเสวียนจั้ง03. ได้กล่าวถึงสำนักปรัชญาต่าง ๆ ที่ท่านพบเห็นในช่วงเวลานั้นว่า: “รงเรียนสอนปรัชญามักมีความขัดแย้งกัน และเสียงของการโต้เถียงอภิปรายที่กระตือรือร้นของพวกเขา ก็ดังขึ้นราวกับคลื่นทะเล บรรดาพวกนอกรีตของนิกายต่าง ๆ ก็ผูกติดกับปรมาจารย์บางท่าน และโดยเส้นทางที่แตกต่างกันทั้งหมด ได้ทำงานไปสู่จุดหมายเดียวกัน” (แปลจากต้นฉบับเดิมที่ได้ถอดความเป็นภาษาฝรั่งเศส) เรายังคงได้ยินเสียงสะท้อนของดิน ในขณะที่เราอ่านวรรณกรรมยุคกลาง. ครั้นเมื่อพระเจ้าหรรษวรรธนะ04 เสด็จประพาสผ่านพื้นป่าวินธยา ทรงพบว่า “มีเหล่าพระอรหันต์ภิกษุผู้ขอได้ประทับบนโขดหิน เอนกายอยู่ใต้ต้นไม้ อาทิ ศเวตภทัส มหาภาศุปทัส ปาณฑรภิกษุ ภควตะ พาณิน เกศลัญชนะ โลกายติกะ กาปิละ กาณาทะ อปนิชดา ไอศวรการิน ธรรมศาสตริน เภาราณิกะ สาพตตันทวาส ศาบดะ ปาญชราตริกา และท่านอื่น ๆ ซึ่งทุกผู้นาม (ที่ได้ชุมนุมอยู่) ได้ฟังหลักคำสอนที่ตนต่างน้อมรับ และพร้อมอภิบาลดูแลภิกษุเหล่านั้นอย่างกระตือรือร้น.”1 ซึ่งแนวคิดหลักนิกายเหล่านี้จำนวนมากจะครอบงำเรา อันจะได้แสดงในหน้าถัดไป มีหลายเรื่องที่พบว่าในบทกวีของมหาคุรุมาธวะว่าด้วยเรื่องชัยชนะอันเป็นที่ถกเถียงกัน

---------------
1 หรรษาจริต, หน้า 264 (ฉบับพิมพ์ที่กัลกัตตา).
หมายเหตุ การขยายความ
01 Smárta order - ระเบียบสมารตะ เป็นลัทธิย่อยของเวทานตะ ก่อตั้งโดย ศังกราจารย์
02 ระบบจารวาก (The Chárváka or (Cārvāka; สันสกฤต : चार्वाक) System) รายละเอียดูใน หมายเหตุและการขยายความ ข้อที่ 2 หน้าที่ 48 ของปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 1.002
ภาพวาดพระภิกษุเสวียนจั้ง, ญี่ปุ่น, ยุคคามาคุระ (พุทธศตวรรษที่ 19 หรือคริสต์ศวรรษที่ 14), ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 16 มีนาคม 2565.
03 พระภิกษุเสวียนจั้ง (Hionen Thsang หรือ Hiuen Tsang หรือ Xuanzang หรือ พระถังซัมจั๋ง 唐三藏) (6 เม.ย.พ.ศ.1145 (ค.ศ.602) - 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.1207 (หรือ ค.ศ.664)) กำเนิดที่เมืองลั่วหยัง มณฑลเห่อหนาน สปช.จีน มรณกรรมที่ตงฉวน (Tongchuan) มณฑลส่านซี สปช.จีน เป็นภิกษุในสำนักโยคาจารย์ เอเซียตะวันออก พระพุทธศาสนา ท่านเป็นพระภิกษุที่บำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา มาแต่เยาว์ เมื่อเติบใหญ่ขึ้นจึงได้ออกเดินทาง โดยได้เขียนเป็นบันทึกการเดินทางไว้ด้วย ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ.1189 (ค.ศ. 646) มีชื่อว่า "ต้าถังซีโหยวจี้" (大唐西游记 -Dà Táng Xīyù Jì (Great Tang Records on the Western Regions)) แปลว่า "จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง" โดยในนั้นเล่าถึงการเดินทางที่ไปพบปะกับภูมิประเทศที่แตกต่างออกไป สภาพผู้คน วัฒนธรรมที่หลากหลาย น่าสนใจ รวมไปถึงการทหารและการเมืองการปกครอง โดยการเดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาและศาสตร์ความรู้ต่าง ๆ ที่ทวีปอินเดีย เมื่อเดินทางกลับมาสปช.จีน ได้นำพระสูตรทั้งมหายานและเถรวาทกลับมาด้วยกว่า 600 ม้วน เพื่อกลับมาแปลเป็นภาษาจีน, ที่มา: en.wikipedia.org และ th.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 16 มีนาคม 2565.
04 พระเจ้าหรรษวรรธนะ (King Harsha หรือ Harsha Vardhan) (ครองราชย์ราว พ.ศ.1149-1190) เป็นจักรพรรดิอินเดียโบราณแห่งราชวงศ์วรรธนะ ปกครองทางตอนเหนือของอินเดีย อาณาจักรมีความกว้างใหญ่และยิ่งใหญ่มาก จึงดึงดูดให้บรรดานักปราชญ์ ศิลปิน ผู้แสวงบุญจากทั่วสารทิศเข้ามาอย่างกว้างขวาง รวมทั้ง พระภิกษุเสวียนจั้งหรือ พระถังซัมจั๋งด้วย ชีวประประวัติของพระองค์ได้รับการบันทึกไว้ใน หรรษจริต (Harshacharita-“Deeds of Harsha”) ประพันธ์โดยกวีภาษาสันสกฤต พาณะ (Banabhatta).


 
ix
ของศังกราจารย์ และในงานร้อยแก้วปลอม ๆ ในหัวข้อเดียวกันที่กล่าวถึงอนันทันดาคีรี. เป็นไปได้ว่าที่กวีเก่าบางท่านได้ใส่ถ้อยคำของยุธิษฐิระมหาราชา ที่มักจะได้ยินจากปากของเหล่าบัณฑิตยุคใหม่ –
           Vedá vibhinná smṛitayo vibhinná,
                 Násau munir yasya mataṃ na bhinnam,
                 Dharmasya tattvaṃ nihitaṃ guháyaṃ,
                 Mahájano yena gataḥ sa pantháḥ1

      หรือมีการถอดจารึกได้ใหม่เป็นดังนี้
                 tarko ’pratiṣṭhaḥ śrutayo vibhinnā
                 nāsāv ṛṣir yasya mataṁ na bhinnam
                 dharmasya tattvaṁ nihitaṁ guhāyāṁ
                 mahājano yena gataḥ sa panthāḥ
01
 Synonyms
tarka — dry argument; apratiṣṭha — not fixed; śrutaya — the Vedasvibhinnāḥ — possessing different departments; na — not; asau — that; ṛṣi — great sage; yasya — whose; matam — opinion; na — not; bhinnam — separate; dharmasya — of religious principles; tattvam — truth; nihitam — placed; guhāyām — in the heart of a realized person; mahā-jana — self-realized predecessors; yena — by which way; gata — acted; sa — that; panthāḥ — the pure, unadulterated path.
แปลว่า:   
                "ข้อโต้แย้งที่แห้งแล้งไม่สามารถสรุปได้ บุคลิกภาพที่ดีซึ่งมีความคิดเห็นไม่ต่างจากคนอื่นไม่ถือว่าเป็นปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ เพียงแค่ศึกษาพระเวทซึ่งมีความแตกต่างกัน เราไม่สามารถมาถูกทางตามหลักศาสนาที่เข้าใจได้ ความจริงที่มั่นคงของหลักการทางศาสนาถูกซ่อนอยู่ในหัวใจของบุคคลที่เข้าใจตนเองและปราศจากมลทิน ฉะนั้น ดังที่ศาสตร์ยืนยันแล้ว พึงยอมรับหนทางที่ก้าวหน้าใด ๆ ก็ตามที่พระมหาชนะสนับสนุน”


       และเราก็ไม่อาจกล่าวกับคลีเมนต์แห่งเมืองอะเล็กซานเดรียว่า-
     μιᾱς τοίνυν οüσης τη̃ς άληθείας, τό γάρ ψεũδος μυρίας
έκτροπάς ε̋χει, καθάπερ αί βάκχαι τά τοũ Πενθέως διαφορήσασαι
μέλη αί τῆς φιλοσοφίας τῆς τε βαρβάρου τῆς τε
‘Ελληνικῆς αίρέσεις, έκάστη ο̎περ ε̎λαχεν, ω˝ς πᾶσαν αúχεῖ
τήν άλήθειαν, φωτὸςδ̇, οϊμαι, άνατολη̃πάντα φωτίζεται.

     ดูเหมือนจะเป็นความจริง แต่มีคำโกหกมากมาย
คุณกำลังเบี่ยงเบน
สมาชิกของปรัชญาอนารยชนของ
นิกายกรีก คนละนิกาย แล้วแต่ใครต้องการ
ความจริง แสงสว่าง โอ้ ทิศตะวันออกส่องสว่างเสมอ.
อี.บี.ซี.
---------------
1 พบในมหาภารตะ. บรรพที่ 3, 17402 กับรูปแบบบางอย่าง, ข้าพเจ้าได้ให้พวกเขาตามที่ได้ยินจากบัณฑิตรามานารายณะ วิทยารัตนะ.
หมายเหตุ การขยายความ
01 ได้สืบค้นจารึกนี้จาก https://vedabase.io/en/library/cc/madhya/25/57/ ซึ่งเป็นร้อยกรองที่ยุธิษฐิระมหาราชา กล่าวไว้ในมหาภารตะ วนบรรพ 313.117., วันที่เข้าถึง 20 มีนาคม 2565.


 
สารบัญ
                                                                                                                                               หน้า
  I.    ระบบจารวาก (อี.บี.ซี.).......... 2  
  II.    ระบบพระพุทธศาสนา (เอ.อี.จี.).......... 12  
  III.    ระบบอรหัต หรือ เชน (อี.บี.ซี.).......... 36  
  IV.    ระบบรามานูชาจารย์ (เอ.อี.จี.).......... 64  
  V.    ระบบปูรณะ-ปราญ หรือ ระบบภูมิปัญญา (เอ.อี.จี.).......... 87  
  VI.    ระบบนคุลิศะ-ปศุปตะ (เอ.อี.จี.)..........  103  
  VII.    ระบบไศวะ (อี.บี.ซี.).......... 112  
  VIII.    ระบบปรัชญาพิชาญ หรือ ระบบรับรู้ (เอ.อี.จี.).......... 128  
  IX.    ระบบรเสศวระ (เอ.อี.จี.).......... 137  
  X.    ระบบไวเศษิกะ หรือ อูลุกยะ (อี.บี.ซี.).......... 145  
  XI.    ระบบอักชะพาท หรือ นยายะ (อี.บี.ซี.).......... 161  
  XII.    ระบบของมหาฤๅษีไชมิณิ หรือ ปุรวะ มีมางสา (อี.บี.ซี.).......... 178  
  XIII.    ระบบปาณินิยะ (อี.บี.ซี.).......... 203  
  XIV.    ระบบสางขยะ (อี.บี.ซี.).......... 221  
  XV.    ระบบปตัญชละ หรือ โยคะ (อี.บี.ซี.).......... 231  
  XVI.    ระบบเวทานตะ หรือ ระบบศังกราจารย์.......... 273  
       ภาคผนวก - บนตรรกะของฮินดู อุปาธิ (อี.บี.ซี.).......... 275  
 
สรรพ (สรว) ทรรศนะสังเคราะห์.
บทนำ

     1. ข้าพเจ้าบูชาพระศิวะ อันที่เป็นพำนักแห่งองค์ความรู้ซึ่งเป็นนิรันดร์ ขุมคลังแห่งความสุขอันสูงสุด โดยที่โลกและส่วนอื่น ๆ ได้รับการรังสรรค์ขึ้นมา พระองค์เท่านั้นที่เป็นผู้สร้างขึ้นมาทั้งหมด.
     2. ทุก ๆ วันนั้น ข้าพเจ้าติดตามสรวัชญา-วิษณุ ผู้ซึ่งรู้จักอากมะ01 ทั้งหมด. ผู้เป็นบุตรแห่งศารงะปาณิ (Śárngapáṇi
) ผู้อยู่อีกฟากหนึ่งของห้วงทะเลของระบบทั้งมวล และทำให้จิตใจของมวลมนุษย์พึงพอใจด้วยความหมายที่ถูกต้องของคำว่าวิญญาณ.
     3. บทสรุปของระบบทั้งหมดถูกสร้างขึ้นโดยมหาคุรุมาธวะ ผู้ทรงพลานุภาพ อัญมณีของเกาสตูภะ02 แห่งเกษียรสมุทรของสายณะผู้มีโชค.
     4. เมื่อได้สืบค้นในศาสตราของบรรดาครูในอดีตอย่างถี่ถ้วนแล้ว ก็ยากที่จะมองข้ามไปได้ ท่านผู้โชคดี สายณะ-มหาคุรุมาธวะ1 ได้แสดงให้พวกเขาเห็นถึงความปิติยินดีในความดีงาม. ให้ผู้มีคุณธรรมได้สดับด้วยจิตซึ่งความริษยาทั้งปวงได้ขจัดไปหมดสิ้นแล้ว มีใครบ้างหนอที่ไร้ความสุขในมาลัยที่ร้อยด้วยดอกไม้นานาพันธุ์.
---------------

1 ดร.เอ.ซี.เบอร์เนลล์ ในคำนำฉบับตีพิมพ์ของวามศะ-พราหมณ์ ได้ไขปริศนาความสัมพันธ์ระหว่างมหาคุรุมาธวะและสายณะ. สายณะนั้นเป็นชื่อของดราวิเดียนบริสุทธิ์ที่ตั้งมอบให้แก่ทารกที่เกิดขึ้นมาหลังจากพี่ ๆ ทั้งหมดได้เสียชีวิตลง. มีปรากฎในบันทึกอื่น ๆ ว่ามหาคุรุมาธวะเรียกสายณะว่า "น้องชาย" อันเป็นการอธิบายเชิงเปรียบเทียบเกี่ยวกับร่างกายของท่าน ด้วยตัวท่านเองนั้นเป็นวิญญาณนิรันดร์. การใช้คำว่า สายณะ-มาธวะ ในที่นี้นั้น (ไม่ใช่เป็นการคู่กัน) แต่ดูเหมือนจะเป็นการพิสูจน์ว่าทั้งสองชื่อเป็นตัวแทนของบุคคลเดียวกัน. องค์คำกล่าวสายณะแห่งโศลก03 ที่สาม ดูเหมือนหมายความถึงมายณะผู้เป็นบิดาแห่งมหาคุรุมาธวะ หากได้พิจารณาศึกษาจริงจังแล้วน่าจะหมายถึงศริมัน-มายณะ.
หมายเหตุ การขยายความ
01 อากมะ-อากมัส (āgama, Ágamas เทวนาครี: आगम) เป็นการรวบรวมวรรณกรรมและคัมภีร์ตันตริกหลายเล่มของสำนักปรัชญาฮินดู คำนี้หมายถึงประเพณีหรือ "สิ่งที่ลงมา (จากสวรรค์)" และตำราอากมะกล่าวถึง จักรวาลวิทยา ญาณวิทยา หลักปรัชญา ศีลในการทำสมาธิและแนวปฏิบัติ โยคะสี่ประเภท คือ มนต์ การสร้างศาสนาสถาน การบูชาเทพเจ้า และวิธีการบรรลุความปรารถนาหกประการ ตำราบัญญัติของอากมะนี้เป็นภาษาทมิฬ และสันสกฤต อากมะมีความโดดเด่นในอินเดียใต้ และก็แปลงเป็นภาษาสันสฤตอย่างสมบูรณ์ในระยะต่อมา, ปรับเสริมจาก en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 22 พฤษภาคม 2565.
02 เกาสตูภะ (Kaustubha) หรือมักจะเรียกว่า เกาสตูภมณี เป็นคุณลักษณะของอัญมณีที่มีองค์ประกอบของมณีรัตน์ห้าประเภท (ไข่มุก มรกต ไพลิน ทับทิม และเพชร), ที่มา: www.wisdomlib.org, วันที่เข้าถึง 28 มิถุนายน 2565.
03 โศลก (Shloka or śloka) เป็นรูปแบบของกวีที่ใช้ในภาษาสันสกฤต

 
ภาพภควตะ ปุรณะ จาก worldhistory.org/Charvaka/, วันที่เข้าถึง 3 กรกฎาคม 2565.
 
บทที่ 1.
ระบบจารวาก.

[เราได้กล่าววิงวอนในเบื้องต้นว่า "ขอบูชาพระศิวะ อันที่เป็นพำนักแห่งองค์ความรู้ซึ่งเป็นนิรันดร์ ขุมคลังแห่งความสุขอันสูงสุด"] แต่เราจะอ้างได้อย่างไรว่าพระผู้เป็นเจ้าได้ประทานความสุขอันสูงสุดให้ เมื่อความคิดดังกล่าวได้ถูกยกเลิกอย่างสิ้นเชิงโดยระบบแนวคิดจารวาก อันเป็นอัญมณีแห่งลัทธิอเทวนิยม และเป็นแนวคิดสาวกของลัทธิพระพฤหัสบดี01? ความเพียรพยามของผู้นับถือระบบจารวากนี้ ยากที่จะถูกกำจัดให้หมดสิ้นได้ เพราะมนุษย์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันยึดถือว่า:-
       
ในขณะที่ชีวิตเป็นของเจ้า จงใช้ชีวิตอย่างมีความสุข;
       ไม่มีใครหลบพ้นจากพญามัจจุราชได้;
       เมื่อกายหยาบของเรามอดไหม้,
       มันจะก่อรูปกลับมาอีกครั้งได้อย่างไร?


       เหล่ามวลมนุษย์นั้น เมื่อดำเนินไปตามวิถีทางและหลงเพลินกับศาสตรา เมื่อพิจารณาถึงความร่ำรวยและความปรารถนาเป็นเพียงจุดสิ้นสุดของมนุษย์และการปฏิเสธการมีอยู่ของสิ่งของวัตถุต่าง ๆ ที่เป็นของโลกอนาคตนั้นไซร้แล้ว พบว่าเป็นไปตามหลักคำสอนของระบบจารวากเท่านั้น. โลกายัต (Lokáyata) เป็นอีกชื่อหนึ่งของสำนักระบบแนวคิดนี้ ซึ่งเป็นชื่อที่สอดคล้องกับสิ่งที่มีความหมายที่ดี.1 ในสำนักแนวคิดด้านธาตุทั้งสี่ ดิน และอื่น ๆ เป็น
---------------
1 ศังกราจารย์ ภาสกระ และมหาคุรุนักวิจารณ์ท่านอื่น ๆ ต่างเรียกโลกายติกา (Lokáyatikas) และสิ่งเหล่านี้ดูจะเหมือนสาขาปรัชญาหนึ่งของระบบจารวาก (อ้างถึง โคลบรูค). โลกายัต อาจได้รับการวิเคราะห์ในเชิงนิรุกติศาสตร์ว่า "เป็นที่แพร่หลายในโลก" (โลกะ และ อายตะ) โลกายตติกา ได้ปรากฎในงานอุกธากนะ (ukthagana) ของมหาคุรุปาณินิ. 
หมายเหตุ การขยายความ

ดาวพฤหัส (Jupiter), ที่ชัดที่สุดที่เคยถ่ายมา, ถ่ายโดยยาน Juno Spacecraft ที่มา: NASA และอ้างอิงจาก Facebook เพจ: ความรู้รอบตัว โดย คุณมงคล มาคะจันทร์, วันที่เข้าถึง 14 กรกฎาคม 2565.
01 พระพฤหัสบดี (พฤหสฺปติ Bṛihaspati เทวนาครี: बृहस्पति ) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระพฤหัสบดีถูกสร้างขึ้นมาจากพระศิวะทรงนำฤๅษี 19 ตน บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีเหลืองส้ม ประพรมด้วยน้ำอมฤต แล้วเสกได้เป็นพระพฤหัสบดี มีพระวรกายสีส้มทอง ทรงเครื่องผนวชฤๅษี นุ่งห่มหนังเสือ สวมลูกประคำ ทรงเครื่องประดับเป็นทองคำ แก้วบุษราคัมและแก้วไพฑูรย์ ทรงมฤค (กวาง) เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันตก และแสดงถึงอักษรวรรค ปะ (บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม) เรียกว่า มุสิกนาม พระพฤหัสบดีจัดว่าเป็นครูของเทวดาทั้งหลาย (เทวคุรุ, เทวาจารย์) จึงนิยมทำพิธีไหว้ครูในวันพฤหัสบดี ในไตรภูมิพระร่วง พระพฤหัสบดีมีวิมานลอยอยู่รอบเขาพระสุเมรุด้านทิศตะวันตก วิมานใหญ่ 17 โยชน์ รัศมีขาวเหลืองดังมุก, ที่มา: th.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 5 กรกฎาคม 2565

 
3
หลักการพื้นฐาน จากสิ่งเหล่านี้โดยลำพัง เมื่อได้เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ร่างกาย ปัญญาก็เกิดขึ้น เช่นเดียวกับการเคลิบเคลิ้มมึนเมาก็มาจากการผสมผสานบางอย่าง1 เมื่อสิ่งเหล่ามลายลง สติปัญญาก็พินาศสิ้นตามไปด้วย. มีการอ้างถึงศรุติ สำหรับเรื่องนี้ [พฤหทารัณยกะ อุปนิษัท (ศูกล ยชุรเวท) บทที่ 2 บรรพ 4 โศลก 12] "ผุดขึ้นมาจากองค์ประกอบเหล่านี้ องค์ความรู้ที่มั่นคงจะถูกทำลาย เมื่อถูกทำลาย - ภายหลังจากความตาย ก็ไม่มีสติปัญญาหลงเหลืออยู่."2 เพราะฉะนั้น วิญญาณจึงเป็นเพียงแต่ร่างกายเท่านั้น ที่โดดเด่นด้วยคุณลักษณะของปัญญา เนื่องจากไม่มีหลักฐานใดที่จะแยกจากร่างกายได้ ไม่สามารถพิสูจน์ได้ เนื่องจากสำนักแนวคิดระบบจารวากนี้ ถือได้ว่าการรับรู้เป็นแหล่งรับรู้เพียงประการเดียว และไม่อนุญาตให้สรุปหรือมีการอนุมาน และอื่น ๆ .

       ท้ายที่สุดแล้ว มนุษย์ก็คือการเพลิดเพลินอยู่ในกามกิเลส ตัณหา. และเมื่อกล่าวว่าสิ่งเหล่านี้คือจุดจบของมนุษย์ กล่าวเช่นนี้หาได้ไม่ เนื่องจากมนุษย์นั้นมักปะปนอยู่กับความเจ็บปวดอยู่เสมอ เพราะเป็นปัญญาของเราเองที่จะเพลิดเพลินกับความสุขให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และหลบเร้นความเจ็บปวดที่มาพร้อมกับมันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เฉกเช่น บุรุษผู้ปรารถนาปลา ก็จะได้รับเกล็ดและกระดูกปลาตามไปด้วย หากได้มากเท่าที่ต้องการแล้ว ก็จากไป หรือมนุษย์ผู้ประสงค์ข้าว ก็ต้องรับฟาง เปลือกข้าว เศษไม้ ฯ ตามไปด้วย เมื่อได้ตามที่ต้องการแล้ว ก็จากไปฉันนั้น. ดังนั้นเราจึงไม่กล้าหว่านข้าว เพราะกลัวว่าสัตว์ป่าจะมากินเสียก่อน และพวกเขาไม่ยอมตั้งหม้อบนกองไฟ เพราะว่ายังมีขอทานที่จะมารบเร้าขอส่วนแบ่งอาหารไป. หากผู้ใด-
---------------

1 มหาคุรุกิณวะ (Kiṇwa) ได้สาธยายถึง "ยาหรือเมล็ดพืชที่ใช้ในการหมักเพื่อผลิตสุราจากน้ำตาลในส่าเหล้า (อันเป็น) มูลฐาน และอื่น ๆ " จากคำกล่าวของโคลบรูคที่อ้างมาจากศังกราจารย์: "องค์ความคิดนั้นเป็นผลมาจากการดำแปลงองค์ประกอบรวม เฉกเช่นเดียวกับน้ำตาลที่ถูกบ่มหมักและปรุงด้วยส่วนผสมอื่น ๆ จะกลายเป็นสุราที่ทำให้มึนเมา และเนื่องจากใบพลู หมาก มะนาว และสารสกัดจากยาสีเสียด เคี้ยวรวมกัน มีคุณสมบัติสร้างความหรรษาที่ไม่อาจพานพบ."
2 แน่นอนว่าศังกราจารย์ ที่ได้แสดงในอรรถกถาไว้นั้น ท่านได้ตีความที่แตกต่างออกไปมาก โดยประยุกต์กับความดับของปัจเจกบุคคล เมื่อความรู้ขององค์พระผู้มีภาคสูงสุดครั้งหนึ่งได้เคยบรรลุ. ข้อมูลทางบรรณานุกรม อรรถกถาของมหาคุรุศภระ (Śabara) ไชยมิณิ สูต, เล่มที่ 1 บรรพ 1 โศลกที่ 5.

 
4
ขี้อายถึงกับละทิ้งความพอใจที่เห็นอยู่ได้นั้น เขาจะดูโง่เหมือนสัตว์เดรัจฉานอย่างที่กวีกล่าวไว้ว่า-

สุขซึ่งเกิดแก่มนุษย์จากการสัมผ้สกับวัตถุอันมีเหตุมีผล ให้ละทิ้งพร้อมกับความเจ็บปวด นั่นเป็นเหตุผลของคนเขลา
เมล็ดข้าวที่อุดมไปด้วยเมล็ดสีขาวที่ดีเลิศสุด
มนุษย์ผู้ใดที่แสวงหาประโยชน์ที่แท้จริงของเขา จะหนีผละไปเพราะถูกแกลบและฝุ่นปกคลุมกระนั้นหรือ?1


หากท่านคัดค้านว่า หากไม่มีสิ่งที่เรียกว่าความสุขในโลกอนาคต แล้วเหล่าบุรุษผู้รอบรู้จะเข้าไปมีส่วนร่วมในพิธีอัคนิโหตระ02 และการสังเวยอื่น ๆ ได้อย่างไร ซึ่งกระทำได้ด้วยการใช้เงินมหาศาลและความเหนื่อยล้าทางร่างกายเท่านั้น การคัดค้านของท่านไม่สามารถเป็นที่ยอมรับ ด้วยมีข้อพิสูจน์ต่าง ๆ ที่ขัดกัน เนื่องจากพิธีอัคนิโหตระ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องนั้นมีประโยชน์เพียงเป็นเครื่องหาทำกินเท่านั้น เพราะพระเวท ถูกทำให้มีมลทินด้วยความบกพร่องความชั่วสามประการ ความไม่จริง ความขัดแย้งในตนเอง และการพูดกล่าวซ้ำซาก.2 อีกประการหนึ่ง พวกจอมปลอมที่เรียกตนเองว่าเป็นบัณฑิตด้านพระเวท ก็เป็นผู้ทำลายล้างร่วมกัน เมื่ออำนาจของญานมหาฤๅษีกณาทะถูกโค่นล้มโดยผู้รักษากฎแห่งกรรม-กณาทะ และประการสุดท้าย พระเวททั้งสามนั้นเองเป็นเพียงการประสาน (ที่ไม่เกาะกัน) แบบหรู ๆ ของมีดเท่านั้น และด้วยเหตุนี้จึงมีคำกล่าวอันเป็นที่นิยมว่า-

อัคนิโหตระ พระเวททั้งสาม สามไม้เท้าของนักพรต และทาตนด้วยขี้เถ้า,-
พระพฤหัสบดีกล่าวว่า สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงหนทางหาเลี้ยงชีพสำหรับผู้ที่ไม่มีความเป็นลูกผู้ชายหรือความรู้สึก
.

ดังนั้นจึงมีคำกล่าวตามต่อมาว่าไม่มีนรกอื่นใด นอกจากความเจ็บปวดทางโลกที่เกิดจากสาเหตุขแงโลกเอง อย่างเช่น ลวดหนาม และอื่น ๆ , ผู้ยืนสูงสุดมีคนเดียวคือราชาแห่งโลก ซึ่งพิสูจน์การดำรงอยู่ได้ด้วยสายตาที่เพ็งมองของโลกทั้งมวล และการปลดปล่อยให้เป็นอิสระมีเพียงประการเดียวคือ การมลายของร่างกาย. โดยยึดหลักคำสอนว่า วิญญาณก็เหมือนร่างกาย
---------------

1 ข้าพเจ้าถือเอา กณะ (kaṇa)01 ไว้ที่นี่ที่เทียบเท่ากับ Kuaṛ ชาวเบงกอล หรือ เบงกาลี. ข้อมูลทางบรรณานุกรม อรรถรเวท, เล่มที่ 5 บรรพที่ 11 โศลก 3, 5, Aŕváḥ kaṇá gávas taṇdulá Marakás tusháḥ.
2 ดูใน นยายะสูตร, เล่มที่ 2 บรรพที่ 57.
หมายเหตุ การขยายความ
01 กณะ (kaṇa) หรือ มหาฤๅษีกณาทะ (Maharishi Kaṇāda, สันสกฤต เทวนาครี: कणाद) บ้างก็เรียก ฤๅษีกรณาทะ เป็นปราชญ์ด้านธรรมชาติและนักวิทยาศาสตร์ชาวอินเดียโบราณ ผู้ก่อสำนักแนวคิดปรัชญาด้านไวเศษิกะ และเป็นตัวแทนของนักคิดด้านฟิสิกส์ของอินเดียโบราณ, ปรับจาก en.wikipedia.org และ th.wikipedia.org, รวมทั้ง ฟื้น ดอกบัว. ปวงปรัชญาอินเดีย. กทม. ศยาม. 2555 หน้า 189-208, วันที่เข้าถึง 15 กรกฎาคม 2565.
02 การประกอบพิธีบูชาไฟ อัคนิโหตระ (เทวนาครี: अग्निहोत्र, agnihotra) หรือ หวนะ นำถ้วยยัญที่หล่อเนยใสเข้าไปในไฟ เป็นพิธีกรรมที่เคร่งครัด เป็นพิธีกรรมแสดงให้เห็นถึง "เสน่ห์แห่งความอุดมสมบูรณ์" และเป็นเสน่ห์แห่งแสงอาทิตย์ ซึ่งสร้างและรักษาดวงอาทิตย์ในยามราตรีและพระอาทิตย์ขึ้นอันเป็นสัญลักษณ์ เป็นประเพณีที่มีตั้งแต่สมัยพระเวท (ฤคเวท) เป็นมรดกของชาวอินโด-อิหร่าน ซึ่งรวมถึงพิธีกรรมบูชาไฟของลัทธิโซโรแอสเตอร์ (Zoroaster).


 
5
เช่นวลีที่ว่า "ข้าพเจ้าผอม" "ข้าพเจ้าเป็นคนผิวดำ" และอื่น ๆ ก็เข้าได้ทันทีว่าเป็นคุณลักษณะของความผอมบาง และอื่น ๆ และความประหม่าก็อยู่ในเรื่องเดียวกัน [ร่างกาย] เหมือนและใช้กับคำว่า "ร่างกายของข้าพเจ้า" อุปมากับ "ศีรษะของพระราหู" [พระราหูมีเพียงศีรษะ ไม่มีตัว]

พระราหู วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม ประเทศไทย, ที่มา: www.google.com.sa, วันที่เข้าถึง 17 กรกฎาคม 2565.





 


 
info@huexonline.com