MENU
TH EN

สาระสำคัญของปรัชญาอินเดีย 1

Title Thumbnail: จารึกหรือคัมภีร์พระเวท, ที่มา: http://velivada.com/2017/04/07/dalit-bahujans-guide-understand-caste-hindu-vedas-scriptures/, วันที่เข้าถึง 16 กุมภาพันธ์ 2565.
สาระสำคัญของปรัชญาอินเดีย 1
First revision: Feb.16, 2022
Last change: Jul.19, 2022
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย 
อภิรักษ์ กาญจนคงคา.
 
สาระสำคัญของ
ปรัชญาอินเดีย
 
 
 

เอ็ม. หิริยานนะ
 
 
 
 
  

สำนักพิมพ์โมติลาล บานาร์ซิดาล จำกัด
สงวนลิขสิทธิ์ l เดลลี

 
 
iv
 
 

ตีพิมพ์ครั้งต่อมา:เดลลี,พ.ศ.2543, พ.ศ.2548, พ.ศ.2551
ตีพิมพ์ฉบับอินเดียครั้งแรก: เดลลีพ.ศ.2538

 
 

© สำนักพิมพ์ เอ็ม/เอส คาฟยาลายา
สงวนลิขสิทธิ์

 
 

ISBN : 978-81-208-1304-5 (ปกผ้า)
ISBN : 978-81-208-1330-4 (ปกกระดาษ)

 
 

โมติลาล บานาร์ซิดาล
41 ยู.เอ. ถนนบังกาโล, ยวะฮาร์ นาคาร์, เดลลี 110 007
8 มหาลักษมี แชมเบอร์, 22 ถนน ภูลาไภ เดซาย, มุมไบ 400 026
203 โรยาเพทต้าห์ ไฮโรด, มายลาปอร์, เชนไน 600 004
236, เมนบล็อกที่ 9, ชยนาคาร์, เบงกาลูรู 560 011
ซานาส พลาซ่า, 1302 ถนนบาจิ เรา, ปูเน 411 002
8 ถนนกาแมค, กัลกัตตา 700 017
อโศก ราชพาธ, ปัตนะ 800 004
โชวค์, พาราณสี 221 001

 
 

พิมพ์ในอินเดีย
 
โดย ไชเนนทรา ปรากาช เชน ณ สำนักพิมพ์ ศรี ไชเนนทรา,
เอ-45, นารายนะ, เฟส-I, นิว เดลลี 110028
และตีพิมพ์โดย นเรนทรา ปรากาช เชน สำหรับ
สำนักพิมพ์โมติลาล บานาร์ซิดาส จำกัด,
ถนนบังกาโล, เดลลี 110 007

 
v
 
 

คำนำ
 
*

เป็นเวลาหลายปีแล้วที่หนังสือ “เค้าโครงปรัชญาอินเดีย” ของข้าพเจ้าได้รับการตีพิมพ์ ด้วยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้เป็นหนังสือเรียนอันมีประโยชน์สำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของเรา. ผู้อ่านทั่ว ๆ ไปก็ประสงค์ที่จะอ่านเรื่องราวที่ง่ายและกระชับ และนี่คือความพยายามในปัจจุบันที่จะสนองความต้องการดังกล่าว. หวังใจว่าหนังสือฉบับนี้คงเหมาะสมกับวัตถุประสงค์นี้ และคงจะได้รับการตอบรับเช่นเดียวกับหนังสือฉบับก่อนหน้า.

       หนังสือสองเล่มนี้มีความเหมือนกันในสาระสำคัญ ต่างมีความคล้ายคลึงกันในเนื้อหา แต่จะเห็นได้ว่าถ้อยคำที่เผยและแสดงในหนังสือนี้ไม่ซ้ำกับเล่มก่อนหน้า. งานประพันธ์ปัจจุบันเล่มนี้นั้น ได้ละรายละเอียดที่มากมายอันรวมอยู่ในหนังสือฉบับก่อน. อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างระหว่างสิ่งเหล่านี้ มิได้เป็นเพียงการละเว้นเท่านั้น แต่ยังได้ปรับเปลี่ยนการเขียนในบางหัวข้อ เช่น ในสองบทแรกเกี่ยวข้องกับความคิดของชาวอินเดียในยุคต้น ๆ . อย่างน้อยก็มีสองกรณีที่มีการเพิ่มส่วนที่สำคัญอีกครั้ง. ในหนังสือก่อนหน้านั้น พระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงสองขั้นตอนของการเติบโต. ซึ่งในระยะที่สาม ได้แสดงถึงหลักคำสอนตามที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ตรัสสอนไว้เป็นปฐม และประวัติย่อของพุทธธรรม ซึ่งได้ปรับสร้างขึ้นใหม่โดยนักวิชาการในช่วงไม่กี่ปีผ่านมา และยังค้นพบ ณ ที่นี้อีกด้วย. ทำนองเดียวกับหมวดเรื่องราวของปรัชญาเวทานตะก็ได้นำมาขยาย โดยการรวมระบบทไวตะเข้าไว้ด้วย. ในการเขียนเรื่องเกี่ยวกับปรัชญาอินเดียนี้นั้น เป็นการยากที่จะหลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์ภาษาสันสกฤต แต่จำนวนที่ปรากฎในเนื้อความของงานนี้ ก็ลดลงมากที่สุดเท่าที่จะมากได้แล้ว และมีอภิธานศัพท์เพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถค้นหาความหมายได้โดยง่าย.

       ข้าพเจ้าได้นำประโยชน์จากการจัดทำหนังสือนี้ ให้กับบทความสองชิ้นของข้าพเจ้าที่ได้มีส่วนร่วม เส้นทางอารยัน (Aryan Path) และอีกบทความหนึ่งเกี่ยวกับ มรดกวัฒนธรรมอินเดีย (Heritage of Indian Culture) (จัดพิมพ์เผยแพร่โดยคณะเผยแผ่รามกฤษณะ).ข้าพเจ้าขอขอบคุณบรรณาธิการที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่อนุญาตให้ข้าพเจ้าได้ตีพิมพ์หนังสือนี้. ได้อ้างอิงเฉพาะยัง


 
vi
บทความได้จัดวางอย่างเหมาะสมในหมายเหตุตอนท้ายของหนังสือ. ข้าพเจ้าขอจารึกไว้ในใจถึงความรู้สึกที่เป็นหนี้ท่าน ดร. เจ.อี.เทิร์นเนอร์ แห่งมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลที่ได้เมตตาในการอ่านหนังสือในฉบับพิมพ์ดีดและสำหรับคำแนะนำอันมีค่ายิ่ง. สุดท้ายนี้ ข้าพเจ้าประสงค์ที่จะแสดงความขอบคุณอย่างสุดซึ้งต่อศาสตราจารย์ ส. ราธากฤษนัน ที่ได้ให้ความสนใจในงานของข้าพเจ้ามาโดยตลอด. ซึ่งไม่ใช่เรื่องเกินจริงเลยที่กล่าว หากสำหรับความช่วยเหลือและกำลังใจของท่าน ทั้งหนังสือเล่มนี้และเล่มก่อน ๆ ก็คงไม่ได้เขียนขึ้นเป็นแน่. 

เมษายน พ.ศ.2491.                                                                                      ม.ห.


 

vii
เนื้อหา
      หน้า  
บทนำ     5  
I.    ศาสนาพระเวทและปรัชญา 9  
II.    การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบ 31  
III.    สำนักแนวคิดที่ไม่ใช่พระเวท 57  
IV.    นยายะ-ไวเศษิกะ 84  
V.    สางขยะ-โยคะ 106  
VI.    ปูรวะ-มีมางสา 129  
VII.    เวทานตะ - ความสัมบูรณ์พร้อมสรรพ 151  
VIII.    เวทานตะ - เทวนิยม 175  
   หมายเหตุและข้อมูลอ้างอิง 202  
   อภิธานศัพท์ภาษาสันสกฤต 211  
   ภาคผนวก 214  

ภาพเขียนพระรามทรงศร, ที่มา: pinterest.com, วันที่เข้าถึง 26 มีนาคม 2565
 

 viii
 
9(1)
 
บทที่หนึ่ง
ศาสนาพระเวทและปรัชญา
*

หล่งข้อมูลแรกสุดของเราเกี่ยวกับความคิดของชาวอินเดียคือพระเวท ความหมายดังที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งมิใช่เป็นเพียงงานประพันธ์เดียว ทว่าเป็นวรรณกรรมทั้งมวล. วรรณกรรรมนี้มักได้รับการพิจารณาว่าแบ่งออกเป็นสองส่วน อันได้แก่ มนต์ และ พราหมณ์.1 ในยุคแรก ๆ มีอุปนิษัท อันหลากหลายหมวดหมู่รวมอยู่ด้วยกัน แต่เนื่องด้วยเรื่องราวที่มีความสำคัญยิ่งของอุปนิษัท (ที่กระจุกรวมกันไว้นี้) ในประวัติศาสตร์ความคิดของชาวอินเดีย เรื่องราวที่กระจุกรวมกันอยู่นี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของพระเวทที่แยกจากกัน. กล่าวอย่างกว้าง ๆ ก็คือทั้งสามส่วนแสดงถึงขั้นตอนที่ต่อเนื่องกันในการเติบโตของวรรณกรรมพระเวท และยังยืนหยัดเพื่อคำสอนที่ชัดเจนได้ไม่มากก็น้อย. เรายังไม่สามารถกำหนดขีด แบ่งเส้น ลำดับเวลาที่แน่นอนของแต่ละขั้นตอนพัฒนาการเหล่านี้ได้. แม้แต่ในช่วงเวลาของยุคพระเวท โดยรวมแล้ว ก็ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แม้ว่าคำถามนี้ยังคงค้างอยู่ในจิตใจของเหล่าปราชญ์มาช้านาน. ทั้งหมดที่แน่นอนคือยุคพระเวทนั้นถูกต้อง รวมทั้งปรัชญาประธานคืออุปนิษัท มีอายุมากกว่าสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าทรงเสด็จปรินิพพานเมื่อประมาณ 480 ปีก่อนคริสตกาล. การกำหนดต่อมาในภายหลัง ยุคพระเวทอาจกำหนดใช้เป็น 500 ปีก่อนคริสตศักราช. แต่สำหรับการกำหนดก่อนหน้านี้ ซึ่งเชื่อกันทั่วไปจวบจนไม่นานมานี้ และยังไม่หมดสิ้นคือ 1200-1500 ปี ก่อนคริสตกาล. ตอนนี้ได้มีมุมมองใหม่เข้ามาแทนที่ คือมุมมองของ ดร.วินเตอร์นิตซ์ ได้กำหนดไว้ในหนังสือชื่อ "ประวัติศาสตร์วรรณกรรมอินเดีย" ซึ่งได้มีการแก้ไขจุดเริ่มต้นของช่วงเวลาระหว่าง 2000 ถึง 2500 ปีก่อนคริสตกาล แทน 1200-1500 ปีก่อนคริสตกาล. ก็ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่ามีการเปลี่ยนแปลงใดบ้าง (หากมี) ก็จะพบถึงความจำเป็นในบทสรุป เมื่อมีการค้นพบครั้งสำคัญที่เกิดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาในหุบเขาสินธุ ใกล้กับเมืองโบราณโมเฮนโจ-ดาโร และเมืองโบราณฮารัปปา ซึ่งเป็นเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว. อย่างไรก็ตาม รายละเอียดเหล่านี้ดูจะไม่มีความสลักสำคัญกับเราที่นี่ (ในการศึกษาปรัชญาอินเดีย) มากนัก ดังนั้นเราจะดำเนินการพิจารณาคำสอนของพระเวททั้งสามหมวดจักดีกว่า.
---------------

1 มนต์เป็นกลอน หรือกวีนิพนธ์ ส่วนพราหมณ์นั้นเป็นร้อยแก้ว หรืองานประพันธ์ ทว่ามักมีการอ้างอิงในกลอน เนื้อหาทั้งหมดจะจัดออกเป็นสี่กลุ่มใหญ่ โดยแต่ละกลุ่มได้กำหนดไว้ให้เป็น "พระเวท" (เช่น องค์ความรู้) - ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และอรรถรเวท พระเวทแต่ละกลุ่มจึงมีทั้งบทสวดมนต์และพราหมณ์.

 
10(2)


I

คำว่า "มนต์" อาจถือได้ว่าเทียบเท่ากับ "บทสวด" หรือ "เพลงทางศาสนา." บทสวดหรือเพลงทางศาสนาที่บรรจุอยู่ในพระเวทมีอายุต่างกัน โดยบทสวดเก่าที่สุด อาจจะมีอายุห่างจากบทสวดถัดไปหลายศตวรรษ.


 
info@huexonline.com