MENU
TH EN

อาณาจักรพม่าและมอญ ตอนที่ 1: รายพระนาม และสาแหรกพระราชวงศ์ในแต่ละอาณาจักร

Title Thumbnail: พระธาตุมุเตา, หงสาวดี พม่า, ถ่ายไว้เมื่อ 25 มีนาคม 2560. Hero Image: รูปปั้นพระเจ้ามนูหะ (King Manuha) และพระมเหสี (Queen Ningala Devi) ประดิษฐานที่อาคารด้านขวาของวิหาร วัดมนูหะ (Manuha Temple) พุกาม พม่าตอนกลาง, ถ่ายไว้เมื่อ 7 เมษายน 2561 
อาณาจักรพม่าและมอญ ตอนที่ 1: รายพระนาม และสาแหรกพระราชวงศ์ในแต่ละอาณาจักร01, 02.
First revision: Sep.16, 2021
Last change: Oct.28, 2021
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย อภิรักษ์ กาญจนคงคา.

มีนักวิชาการวางจัดกลุ่มอาณาจักรและ/หรือจักรวรรดิพม่าไว้หลายแนวทาง ดังนี้:

แนวทางที่ 1
อาณาจักรสุธรรมวดี (Thaton Kingdom)  ระหว่าง พุทธศตวรรษที่ 2 - พ.ศ.1600 (ระหว่าง 400 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ.1057)
เมืองหลวง สะเทิม (มอญ: သထုံ, သဓီု หรือ Thaton )

นครรัฐปยู (พม่า: ပျူ မြို့ပြ နိုင်ငံမျာ ) ระหว่าง พุทธศตวรรษที่ 2-3 - พ.ศ.1593 (ระหว่าง 200 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ.1050)
ทางเหนือของพม่า
เมืองหลัก: ศรีเกษตร (Sri Ksetra)

อาณาจักรอารากัน (Arakan Kingdom หรืออาณาจักรยะไข่ - Rakhine Kingdom) ระหว่าง พ.ศ.1331? - พ.ศ.1949 (ระหว่าง  ค.ศ.788? - 1406.)
ทางตะวันออกของพม่า


แนวทางที่ 2 ตาม หม่อง ทิน อ่อง02. พม่ามีศูนย์กลางจักรวรรดิ 3 จักรวรรดิ แทนที่จะเป็นเพียงอาณาจักร คือ

(1) จักรวรรดิพุกาม 

(2) จักรวรรดิหงสาวดี (พะโค) 

(3) จักรวรรดิอังวะ/อมรปุระ


แนวทางที่ 2 นี้ แสดงให้เห็นถึงการที่พม่าพิชิตสภาวะอันกระจัดกระจายของชนต่างเผ่าต่างหมู่ มารวมกันอยู่เป็นเอกภาพ ภายใต้กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่เพียงไม่กี่พระองค์ อาทิ
  • อนุรุท (อโนรธา)
  • ครรชิต (จันสิทธา)
  • ตะเบงชะเวตี้/บุเรงนอง
  • อลองพญา/มังระ
แนวทางที่ 3
ด้วยในพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของประเทศพม่าในปัจจุบันนี้นั้น ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมามีอาณาจักรต่าง ๆ เรียงตามลำดับดังนี้:

1.  อาณาจักรพุกาม พ.ศ.1392 - 1840 (ค.ศ.849-1297)
       1.1  ราชวงศ์พุกามตอนต้น ถึง พ.ศ. 1587 (ถึง ค.ศ.1044)
       1.2  อาณาจักรพุกาม 


2.  อาณาจักรย่อย
       2.1  มยีนไซง์ (Myinsaing) พ.ศ.1840-1856 (ค.ศ.1297-1313)
       2.2  ปิ้นยะ (Pinya) พ.ศ.1856-1907 (ค.ศ.1313-1364)
       2.3  ซะไกง์ หรือ สะกาย (Sagaing) พ.ศ.1858-1907 (ค.ศ.1315-1364)
       2.4  อังวะ (Ava) พ.ศ.1907-2098 (ค.ศ.1364-1555)
       2.5  แปร (Prome) พ.ศ.2025-2085 (ค.ศ.1482-1542)
       2.6  หงสาวดี (Hanthawaddy Pegu) พ.ศ.1830-2082, พ.ศ.2093-2095 (ค.ศ.1287-1539, 1550-1552)


3.  อาณาจักรตองอู (Toungoo) พ.ศ.2053-2295 (ค.ศ.1510-1752)

4.  ช่วงฟื้นฟูหงสาวดี (Restored Hanthawaddy Kingdom) พ.ศ.2283-2300 (ค.ศ.1740-1757)

5.  อาณาจักรคองบอง (โก้นบอง-Konbaung) หรือ อาณาจักรแห่งราชวงศ์อลองพญา พ.ศ.2295-2428 (ค.ศ.1752-1885)
แผนที่แสดงเมืองหลวงของพม่าภายใต้การปกครองของราชวงศ์อลองพญาหรือคองบอง, Map: Capitals of Burma under the Alungpaya Dynasty, ที่มา: pinterest.com, วันที่เข้าถึง 26 กันยายน 2564.

อาณาจักรตะโก้ง บ้างก็เรียก ตะก้อง (Tagaung Kingdom)
  • เป็นอาณาจักรแรกของพม่า อ้างจากพงศาวดารฉบับหอแก้วของพม่า (Hmannan Yazawin) อยู่ในพม่าภาคเหนือ (เมืองตะโก้งในปัจจุบันห่างจากเมืองมัณฑะเลย์ไปทางเหนือราว 127 ไมล์ อยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิรวดี) ตะโก้ง มาจากภาษาไทยใหญ่ (Tagaung หรือ Takawng) แปลว่า เรือข้ามฟาก (Drum ferry) เป็นเมืองโบราณของชนชาคิพยุ หรือ ปยุ (Tagaung_Kingdom) เป็นอาณาจักรของชาวปยุ ที่ค่อย ๆ อพพยพลงมาตั้งฐานเป็นย่อม ๆ แล้วพัฒนากลายเป็นอาณาจักรขึ้นราว พ.ศ.325 หรือ 128 ปีก่อนคริสต์กาล
  • แถบนี้มีเส้นทางบกผ่านภาคเหนือของพม่า สามารถขนส่งสินค้าจากจีนไปยังอินเดีย และเทศอื่น ๆ ในตะวันตก จีนพยายามที่จะควบคุมเส้นทางสายนี้ มีคณะทูตจากโรมันเดินตามเส้นทางสายนี้ไปยังประเทศจีนใน พ.ศ.640 (ค.ศ.97) และพ.ศ.670 (ค.ศ.127) ตามลำดับ
  • พวกปยุได้ตั้งอาณาจักรขึ้นใหม่อีก 2 อาณาจักร อาณาจักรหะลิงยี และอาณาจักรไปทโนเมียว [64/426]

อาณาจักรหะลิงยี บ้างก็เรียก หะลินยี (Halingyi Kingdom)
       อาณาจักรหะลิงยีนี้ตั้งขึึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 8 หรือคริสต์ศตวรรษที่ 3 พงศาวดารจีนเรียกว่า อาณาจักรหลินหยาง 
 

ที่มา: http://aseannotes.blogspot.com/, วันที่เข้าถึง 13 ตุลาคม 2564.

อาณาจักรไปทโนเมียว บ้างก็เรียก เปียทะโนมโย (Peikthanomyo Kingdom)
       คำว่า ไปทโนเมียว แปลว่า เมืองพระวิษณุ

 
รายนามกษัตริย์พม่า01,02,03,07.
ราชวงศ์พุกาม (พ.ศ.1587-1830) (ดู 02 หน้า 396 เป็นต้นไป) (ดู 03 หน้า 251 เป็นต้นไป)
 
ที่  นามกษัตริย์ นามในภาษาอังกฤษ/สันสกฤต/อื่น ๆ  ช่วงที่ประสูติ/ครองราชย์  หมายเหตุ
01  พระเจ้าอนุรุทธ หรือ พระเจ้าอนิรุทธ หรือ พระเจ้าอโนรธามังช่อ หรือ อนุรุท
 
 Anawrahta Minsaw  ประสูติ 11 พฤษภาคม พ.ศ.1557/ 11 สิงหาคม พ.ศ.1587 (ค.ศ.1044) - 11 เมษายน พ.ศ.1620 (ค.ศ.1077) กล่าวได้ว่าเป็นบิดาแห่งชาติพม่า ทรงสถาปนาพระพุทธศาสนาให้สถิตในพม่าตราบจนทุกวันนี้. สร้างพระเจดีย์ชเวซิกอง หรือชเวซีโกน
02  พระเจ้าสอลู (บ้างก็เรียกซอลู)  Saw Lu   ประสูติ 19 เมษายน พ.ศ.1592/ 11 เมษายน พ.ศ.1620 (ค.ศ.1077) - พ.ศ.1627 (ค.ศ.1084)  พระโอรสของ 01 ทรงอ่อนแอ เหล่าอำมาตย์ ที่ปรึกษา พระชินอรหันต์บริหารราชการแทน ต่อมาถูกปลงพระชนม์โดยสหายคนสนิท
03  พระเจ้าจันสิตตา (บ้างก็เรียกจันสิตถา จานซิต้า พระเจ้าครรชิต หรือ พระเจ้าจันสิต)
04
 Kyansittha หรือ Kyanzittha หรือ ศรีตรีภูวนาทิตยธัมมมราชา (สันสกฤต) จารึกพม่าเรียก ถิลุงมัง (T’iluin Man) แปลว่า "กษัตริย์แห่งถิเลง" ประสูติ 21 กรกฎาคม พ.ศ.1573/21 เมษายน พ.ศ.1627 (ค.ศ.1084) - พ.ศ.1655-6 (ค.ศ.1112-3)  บ้างก็ว่าเป็นอำมาตย์ในสมัย 02 และสถาปนาเป็นกษัตริย์ด้วยเหตุมีความวุ่นวาย บ้างก็ว่าเป็นพระโอรสของ 01 มีปรากฎในจารึกว่าพระองค์ซ่อมแซมพุทธคยา ซึ่งเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระบรมศาสดาที่อินเดีย
04  พระเจ้าอลองสิธู หรือ สิธู (วีรบุรุษผู้ชนะ)
06
Alaungsithu พระนามภาษาสันสกฤตพบในจารึกที่วัดชเวกูยี ออกพระนามว่า ศรีตรีภูวนาทิตยบวรธรรมราชา ประสูติ 17 มกราคม พ.ศ.1633/ พ.ศ.1655 - 1710
(ค.ศ.1112/12-1167)
 หลานหรือนัดดาของ 02 และ 03 ยุคนี้พม่าเจริญสูงสุดในทุกด้าน
05  พระเจ้านรสู หรือ พระเจ้านรธู หรือ พระเจ้านรสุ หรือ นะระตู หรือ นราธู Narathu  ประสูติ 16 มีนาคม พ.ศ.1661/พ.ศ.1710 - 1713
(ค.ศ.1167-1170)
โอรสของ 04 สร้างวัดธรรมยางจี (Dhammayangi) เมืองพุกาม ตามจารึกระบุว่าพระองค์โหดร้าย ปิตุฆาต (ฆ่าบิดาตนเอง) เป็นจุดเริ่มต้นของความเสื่อมของราชวงศ์พุกาม
06  พระเจ้านรสิงห์ หรือ นรเถขะ หรือ นรสิงขะ Naratheinkha หรือ Narasingkha สันสกฤตเรียกศรีตรีภูวนาทิตยบวรธัมมราชาธนบดี ประสูติ 20 สิงหาคม พ.ศ.1684/ราวกุมภาพันธ์ พ.ศ.1713-พฤษภาคม พ.ศ.1716 (ค.ศ.1170-1-1173-4)  โอรสของ 05
07  พระเจ้านรปติสิทธู หรือ พระเจ้านรปติสี่ตู่ หรือ พระเจ้านีปติสิทธู Narapatisithu สันสกฤตเรียกศรีตรีภูวนาทิตยบวรธัมมราชา ประสูติ 8 ตุลาคม พ.ศ.1693/พ.ศ.1716-1753 (ค.ศ.1173-4-1210-1) โอรสของ 05 อารยธรรมพม่าเริ่มชัดเจน ส่งผลต่อชาติต่าง ๆ โดยรอบ
08  พระเจ้านะดวงมยา (นันเด่าง์เมีย) หรือ พระเจ้าไชยสิงขะ  Nadaungmya หรือ Zeya Theinkha Uzana  ประสูติ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.1718/ พ.ศ.1753-1777 (ค.ศ.1210-1234)  โอรสของ 07 รัชกาลนี้อาณาจักรพุกามสงบ มีการสร้างวัดจำนวนมาก ที่สำคัญอาทิ วัดที่โลมี่นโล (Htilominlo Temple) ที่พุกาม
09  พระเจ้ากยะสวาร หรือ กยัสวาร หรือ พระเจ้าจะซวา Kyaswa สันสกฤตเรียกศรีตรีภูวนาทิตยบวรบัณฑิตธัมมราชา  / พ.ศ.1777-1793 (19 กรกฎาคม ค.ศ.1234/5-พฤษภาคม ค.ศ.1250/1)  โอรสของ 08 เป็นจุดเริ่มต้นแห่งยุคเสื่อมถอย เงินในท้องพระคลังร่อยหรอ ด้วยยกเว้นภาษีที่ดินธรณีสงฆ์
10  พระเจ้าอุซานะ หรือ อุชานะ หรือ อุซะนา หรือพระเจ้าสิทธูที่ 3 Uzana หรือ Sithu III สันสกฤตเรียกศรีตรีภูวนาทิตยธัมมราชาชัยสุรั  / พ.ศ. 1793-1797 (พฤษภาคม ค.ศ.1250/1-1 กรกฎาคม ค.ศ.1254/6)  โอรสของ 09 ไม่มีความสามารถนัก สวรรคตจากการเสด็จคล้องช้าง
11  พระเจ้านรสีหบดี Narathihapate หรือ Sithu IV สันสกฤตเรียกศรีตรีภูวนาทิตยบวรธัมมราชา เหมือน 07  / พ.ศ.1797-1830 (6 พฤษภาคม ค.ศ.1254/6-1 กรกฏาคม ค.ศ.1287)  โอรสของ 10 เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์พุกาม เป็นที่จดจำสองเรื่อง 1) ตะกละตะกลาม 2) หวาดกลัวต่อการรุกรานของมองโลก
 ช่วงว่างกษัตริย์หลังมองโกลรุกราน (พ.ศ.1830-1832 / ค.ศ.1287-1289)
12  พระเจ้ากยอชวา   Kyawswa  / พ.ศ.1830-1841 (30 พฤษภาคม ค.ศ.1287/9-17 ธันวาคม 1297/8)  โอรสของ 11 หนึ่งในผู้ที่ตั้งตนเป็นกษัตริย์หลังการล่มสลายของอาณาจักรพุกาม ใน ค.ศ.1287 ทรงปกครองอาณาจักรเล็ก ๆ รอบเมืองพุกาม เป็นประเทศราชมองโกล 
13  พระเจ้าสอนิท   Swa Hint  / พ.ศ.1841-1855 (ค.ศ.1298-1312)  โอรสของ 12
 
       หลัง พ.ศ.1830 อาณาจักรพุกามถูกตีแตก กษัตริย์ลำดับที่ 12-13 เป็นเพียงหุ่นเชิดที่มิได้มีอำนาจ จนถึง พ.ศ.1855 อาณาจักรพุกามจึงล่มสลาย แผ่นดินพม่าถูกแบ่งออกเป็นเป็นอาณาจักรน้อยใหญ่ ในช่วงเวลาที่คาบเกี่ยวกันนี้ ใคร่ขอแบ่งรายพระนามกษัตริย์หรือราชวงศ์ต่าง ๆ ดังนี้


อาณาจักรมยีนไซง์ (Myinsaing) พ.ศ.1840-1856 (ค.ศ.1297-1313)
       เป็นอาณาจักรในพม่าตอนกลาง ปกครองโดยสามพี่น้องไทยใหญ่จากเมืองมยีนไซง์ เป็นอาณาจักรเล็ก ๆ ที่กำเนิดขึ้นหลังการล่มสลายของอาณาจักรพุกาม (พ.ศ.1830) อาณาจักรนี้ประสบความสำเร็จในการต้านทานการรุกรานจากจักรวรรดิมองโกลครั้งที่ 2 ในช่วง พ.ศ.1843-1844 (ค.ศ.1300-1301) และยังรวบรวมพม่าตอนกลางให้เป็นปึกแผ่นได้สำเร็จ โดยเริ่มจากตะโก้งหรือตะก้อง (Tagaung) ในตอนเหนือ ถึงเมืองแปร (Prome-Pyay) ทางตอนใต้

อาณาจักรมยีนไซง์ ราว พ.ศ.1853 หรือ ค.ศ.1310 01.
 
ที่  นามกษัตริย์  นามในภาษาอังกฤษ/สันสกฤต/อื่น ๆ   ช่วงที่ประสูติ/ครองราชย์  หมายเหตุ
01  พระเจ้าอตินคายา, พระเจ้าราซะทินจาน, พระเจ้าสีหตู   Athinkhaya, Yazathingyan, Thihathu  พ.ศ.1840-1853 (ค.ศ.1297-1310)  สามพี่น้องชาวไทยใหญ่แห่งเมืองมยีนไซง์
 จักรวรรดิมองโกล เข้ารุกรานพม่าครั้งที่สอง (พ.ศ.1843-1844) ซึ่งอาณาจักรมยีนไซง์ต้านทานไว้ได้  
02  พระเจ้าราซะทินจาน, พระเจ้าสีหตู  Yazathingyan พ.ศ.1853-1855/6 (ค.ศ.1310-1312/1313)  
03  พระเจ้าสีหตู หรือสีหสุ   Thihathu พ.ศ.1856 (ค.ศ.1313)  
 

อาณาจักรพินยา หรือ ปินยา หรือ ปี้นยะ (Pinya Kingdom) พ.ศ.1855-1907 (ค.ศ.1312-1364)
 
 ที่  นามกษัตริย์  นามในภาษาอังกฤษ/สันสกฤต/อื่น ๆ   ช่วงที่ประสูติ/ครองราชย์  หมายเหตุ
01  พระเจ้าสีหสุ Thihathu /พ.ศ.1855-1867 (ค.ศ.1312-1324)  น้องสุดท้องของพี่น้องไทยใหญ่ทั้งสาม
02  พระเจ้าอุชานะ ที่ 1 Uzana I /พ.ศ.1867-1886 (ค.ศ.1324-1343)  โอรสกษัตริย์กยัสวารแห่งพุกาม 09
03  พระเจ้านรกานสิชิน หรือ นการสิชิน   /พ.ศ.1886-1893 (ค.ศ.1343-1350)  โอรสของ 01
04  พระเจ้ากยอชวัง บ้างก็เรียก กยอชวา Kyawswa I /พ.ศ.1893-1902 (ค.ศ.1350-1359)  โอรสของ 03
05  พระเจ้านรสุ Narathu of Pinya /พ.ศ.1902-1907 (ค.ศ.1359-1364)  โอรสของ 03 ถูกพวกไทยเมาจับไป เมื่อครั้งปล้นเมืองปินยา
06  พระเจ้าอุชานะ ที่ 2  UZana II /พ.ศ.1907 (ค.ศ.1364)  โอรสของ 03 ถูกพระเจ้าทาโดมินพญา แห่งราชวงศ์อังวะปลงพระชนม์
 


ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย:
01. จาก. th.wikipedia.org และ en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 16 กันยายน, 06 ตุลาคม 2564.
02. จากประวัติศาสตร์พม่า, หม่องทินอ่อง (Maung Htin Aung) พิมพ์ครั้งที่ 3 แปลโดย เพ็ชรี สุมิตร, ISBN: 978-974-604-267-3 มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย, จัดพิมพ์โดย มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, ธันวาคม 2551 

03. จาก. ประวัติศาสตร์จานเดียว-พม่า E-book โดย อภิชัย อารยะเจริญชัย, สำนักพิมพ์ "ทำกันเอง", 29 เมษายน 2563, [page 251]หน้าที่ 227-232.
04.  พระบรมรูปพระเจ้าจันสิตตา ภายในวัดอนันดา (อานานตาพะย่า) เมืองพุกาม, ที่มา: th.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 23 กันยายน 2564.
05.  ลำดับและรายนามกษัตริย์พม่า ส่วนใหญ่และในบล็อกนี้ยึดเวลาตามพงศาวดาร Zatadawbon Yazawin (ยาซาวิน - พงศาวดาร).
06.  พระบรมรูปพระเจ้าอลองสิทธู ด้านหน้าพระราชวังมัณฑะเลย์, ถ่ายไว้เมื่อ 9 เมษายน 2561.
07.  อ้างอิงจากพงศาวดารหลายฉบับประกอบกันอาทิ 
  • พงศาวดารซาทาดอว์บอน (Zatadawbon Yazawin) 
  • พงศาวดารมหาราชวงศ์ (Maha Yazawin)
  • พงศาวดารฉบับมหายาซะวิงเต๊ะ (Yazawin Thit) พงศาวดารฉบับมหาราชวงศ์ใหม่???
  • พงศาวดารมหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว (Hmannan Yazawin)
 

 
info@huexonline.com