MENU
TH EN

ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 1.003 - ยุคพระเวท: บทสวดแห่งฤคเวท

Title Thumbnail: ฤคเวท เป็นภาษาสันสกฤต ราว ค.ศ.1495-1735, ถือครองโดย ห้องสมุดบริติช, ที่มา: bl.uk, วันที่เข้าถึง 11 เมษายน 2564. Hero Image: ระบบพราหมณ์ทั้งหก หรือ ษัษทรรศนะ (ษษฺ หรือ ษฏฺ षट्)
ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 1.003 - ยุคพระเวท: บทสวดแห่งฤคเวท
First revision: Apr.11, 2021
Last change: Apr.13, 2023
 

ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 1.003
 
 
ส่วนที่ 1
 
ยุคพระเวท
   
 
 63
บทที่ 2
บทสวดแห่งฤคเวท

พระเวททั้งสี่ – ส่วนต่าง ๆ ของพระเวท มนต์ พราหมณ์ อุปนิษัทความสำคัญของการศึกษาบทสวด – วัน (ที่ระบุเรื่องราว) และความเป็นผู้ประพันธ์ – มุมมองที่แตกต่างในการสั่งสอนด้วยบทสวด – แนวโน้มทางด้านปรัชญา – ศาสนา – เทวา –  ธรรมชาตินิยมและมานุษยวิทยา – สวรรค์และโลกมนุษย์ - พระพิรุณ - ฤทธา – พระสุริยะ – อุษา – โสม (พระจันทร์) – พระยม – พระอินทร์ - เทพชั้นรองและเทพีต่าง ๆ  – การจำแนกประเภทเทพยดาต่าง ๆ ของพระเวท – แนวโน้มต่าง ๆ ที่เชื่อว่ามีพระเจ้าองค์เดียว - เอกเทวนิยม – ธรรมชาติอันมีเอกภาพ – แรงกระตุ้นที่หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับภาวะจิตที่มีเหตุผล – การส่งผลของการมีจิตสำนึกทางศาสนา – อติเทวนิยม – พระวิศวกรรม พระพฤหัสบดี พระประชาบดี และพระหิรัณยกภา รุ่งอรุณแห่งการวิพากษ์วิจารณ์ – ความไม่เพียงพอทางปรัชญาเอกเทวนิยม-ที่เชื่อว่ามีพระเป็นเจ้าเป็นเทวดาองค์เดียว – เอกนิยม - ความเชื่อที่ว่ามีเพียงปัจจัย – ปรัชญาและศาสนา – การคาดเดาเกี่ยวกับจักรวาลวิทยาของบทสวดพระเวท – นาสาทียะสูกตะ – ความสัมพันธ์ของโลกกับสิ่งที่แน่นอน – ปุรุษะสูกตะ – ศาสนาในทางปฏิบัติ – ผู้สวดมนต์ – เครื่องบูชา หรือ เมธ – กฎทางจริยธรรม – กรรม – การบำเพ็ญทุกรกิริยา – วรรณะ – ชาติหน้า – สองวิถีของบรรดาเทพเจ้าและเหล่าพระบิดา – นรกอเวจี – การเกิดใหม่ – บทสรุป.
 
I
ระเวท
ระเวทเป็นเอกสารที่เก่าแก่ที่สุดที่เรามีในจิตใจของมนุษย์. วิลสันได้เขียนไว้ว่า: "เมื่อข้อความในฤคเวทและยชุรเวทเสร็จสมบูรณ์นั้น เราจะมีเนื้อหาอย่างเพียงพอสำหรับการชื่นชมอย่างปลอดภัยของผลที่ได้มาจากสิ่งเหล่านี้ และสภาพที่แท้จริงของชาวฮินดูทั้งทางการเมือง และทางศาสนา ณ วันที่ร่วมบันทึกถึงการจัดระเบียบทางสังคมที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จักกัน - ก่อนรุ่งอรุณของอารยธรรมกรีก - ก่อนร่องรอยที่เก่าแก่ที่สุดของจักรวรรดิอัสซีเรียที่ได้ค้นพบขึ้น - อาจร่วมสมัยกับงานเขียนภาษาฮิบรูที่เก่าแก่ที่สุด และภายหลังราชวงศ์อียิปต์เท่านั้น ซึ่งเรายังรู้เพียงเล็กน้อยยกเว้นบางชื่อที่สืบเสาะไม่ได้ พระเวทได้ให้ข้อมูลที่มากมายแก่เรา

 
64
เกี่ยวกับสิ่งที่น่าสนใจที่สุดในการไตร่ตรองศึกษาสมัยโบราณ."1 มีสี่พระเวท: ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และอรรถรเวท01 โดยที่สามพระเวทแรกนั้น มีความเหมาะเหมือนไม่เพียงแต่ในชื่อ รูปแบบ และภาษาเท่านั้น แต่ยังมีความเหมาะเข้ากันได้ในเนื้อหาอีกด้วย. ฤคเวทนั้นเป็นหลักสำคัญของพระเวททั้งหมด. เป็นลำนำที่ได้รับแรงดลใจที่ชาวอารยันนำมาจากถิ่นเก่าของพวกเขา แล้วนำพามาสู่อินเดียในฐานะที่เป็นสมบัติอันล้ำค่าที่สุดของชาวอารยันที่ได้รวบรวมเก็บไว้ พวกเขาตอบสนองต่อการกระตุ้นโดยต้องรักษาสมบัติของเขาไว้ให้ดี จากการที่ชาวอารยันได้พบผู้นับถือเทพเจ้าอื่น ๆ จำนวนมากในแผ่นดินใหม่. (ภารตะมาตา แผ่นดินที่พวกเขาได้ทยอยย่างกรายเข้ามาเป็นระลอก) ฤคเวทคือสมบัติที่สะสมไว้. ส่วนสามเวท เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมพิธีกรรมพิธีสวดไว้อย่างหมดจด. สิ่งที่พบส่วนใหญ่ในฤคเวทนั้น แม้แต่บทสวดที่มีลักษณะเฉพาะ ก็ไม่มีบทศึกษาที่โดดเด่นในตัวเอง. พระเวททั้งหลายล้วนถูกจัดเตรียมไว้เพื่อขับลำนำถวายบวงสรวง. ยชุรเวทก็เป็นเช่นเดียวกับสามเวท ซึ่งต่างก็มีวัตถุประสงค์ในทางพิธีกรรม. ประมวลคัมภีร์พระเวทเหล่านี้ได้รังสรรค์ขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของศาสนพิธี. วิทนีย์ได้เขียนว่า: "ในยุคพระเวทตอนต้นนั้น การบูชาสังเวยคงเป็นการอุทิศตนแบบหลวม ๆ มิได้ผูกมัด ไม่ผูกมัดในกิจของนักบวชหรือพรตผู้มีอภิสิทธิ์ (ในการติดต่อกับพระผู้เป็นเจ้า) ไม่ได้ควบคุมรายละเอียดปลีกย่อย ทว่าปล่อยให้เป็นไปตามแรงดลใจเสรีของผู้ถวายพร้อมเพลงสรรเสริญและบทสวดของฤคเวทและสามเวท ขณะที่ปากได้พึมพำกล่าวถวายนั้น สองแขนก็มอบของกำนัล อันเนื่องจากหัวใจเขาได้รับแรงดลใจได้นำสู่พระผู้เป็นเจ้า... อย่างไรก็ตาม เมื่อกาลเวลาล่วงไป พิธีกรรมก็เป็นทางการมากขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดก็กลายเป็นการสืบทอดอย่างมีลำดับขั้นของกิจกรรมเดี่ยวที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวดและละเอียดถี่ถ้วน ไม่เพียงแต่โคลงกลอนที่กำหนดไว้ซึ่งต้องยกมาในพิธีเท่านั้น แต่ก็มีการสร้างพูด สูตรของกลุ่มคำ ตั้งมั่นที่จะมาพร้อมกับวัตรปฏิบัติของแต่ละบุคคล อันรวมเป็นงานทั้งหมดเพื่ออธิบาย แก้ต่างให้ตนเอง อวยพร ให้ความหมายในเชิงสัญลักษณ์หรือสิ่งที่คล้ายกัน. ...สูตรการบูชายัญเหล่านี้มีชือว่า ยชุส ซึ่งรากศัพท์คือ ยช ไปถึงการสังเวย. ... ยชุรเวทประกอบด้วยสูตรเหล่านี้ บางส่วนเป็นร้อยแก้วบางส่วนเป็นร้อยกรอง จัดเรียงลำดับเพื่อใช้ในการบูชายัญ."2 สิ่งที่สะสมของสามเวทและยชุรเวทจะต้องจัดทำขึ้น 
---------------

1 ว.ต.อ. (วารสารราชสมาคมตะวันออกศึกษา), เล่มที่ 13, พ.ศ.2395, หน้า 206.
2 การดำเนินการของสมาคมอเมริกันตะวันออกศึกษา, เล่มที่ 3 หน้าที่ 304.

หมายเหตุ การขยายความ
01. บ้างก็เรียก อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท

 
65
ในช่วงระหว่างการสั่งสม (บทสวด กลุ่มคำ) ของฤคเวทและยุคพราหมณ์ เมื่อศาสนพิธีกรรมได้จัดวางรากฐานไว้ดีแล้ว. คัมภีร์อรรถรเวทที่ได้สั่งสมเป็นเวลายาวนานนั้น พระเวทก็มิได้ให้การเชิดชูให้ศักดิ์ศรีนัก แม้ว่าสำหรับวัตถุประสงค์ของเรา (ในการศึกษาจำแนกประเภทพระเวทนั้น) คัมภีร์อรรถรเวทมีความสำคัญรองลงมาจากฤคเวทเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว นี่ก็คือการรวบรวมเนื้อหาทางประวัติศาสตร์อย่างอิสระ. จิตวิญญาณที่มีความแตกต่างได้แผ่ซ่านกระจายไปทั่ว (คำสอนของ) พระเวท ซึ่งเป็นผลผลิตของความคิดในยุคหลัง. แสดงให้เห็นผลของจิตวิญญาณที่มีการประนีประนอมน้อมปรับโดยชาวอารยันที่นับถือ (รังสรรค์) พระเวท นำมาใช้กับแง่ที่เป็นเหล่าเทพเจ้าองค์ใหม่และบรรดาผีสางที่ชาวพื้นเมืองเดิมในแผ่นดินใหม่ที่นับถือ เหล่าชาวอารยันนี้ก็ค่อย ๆ ปราบ (ความคิดนับถือผีเดิม ๆ ) ลงอย่างช้า ๆ .

 
       ในแต่ละพระเวทจะประกอบด้วยสามส่วน ที่เรียกว่า มนต์ พราหมณ์ และ อุปนิษัท (Mantras, Brāhmaṇas and Upaniṣads). การรวบรวมบทสวดมนต์หรือบทสวดที่เรียกว่า สัมหิตา (Saṁhitā). เหล่าพราหมณ์นั้นได้รวมถึงศีล และหน้าที่ทางศาสนา. อุปนิษัท และอารัญยกะ เป็นบทสรุปส่วนสุดท้ายของพราหมณ์ที่กล่าวถึงปัญหาทางปรัชญา. อุปนิษัทนั้นมีภูมิหลังทางจิตของความคิดที่เรียงลำดับมาทั้งหมดของประเทศนี้ (อินเดีย). ในยุคเริ่มต้นของอุปนิษัทนั้น ไอตเรยะ01 (อุปนิษัท) และ เกาษีตกิ02 (อุปนิษัท) อยู่ในหมวดของฤคเวท, เกนะ03 (อุปนิษัท) และ ฉานโทคยะ04 (อุปนิษัท) อยู่ในหมวดของสามเวท, อีษา05 (อุปนิษัท) ไตติรียะ06 (อุปนิษัท) และพฤหทารัณยกะ07 (อุปนิษัท) อยู่ในหมวดยชุรเวท, และปรัสนะ08 (อุปนิษัท) พร้อมทั้งมุณฑกะ09 (อุปนิษัท) อยู่ในหมวดของอรรถรเวท. ส่วนคัมภีร์อารัณยกะนั้นอยู่ระหว่างบรรดาพราหมณ์และอุปนิษัท และตามชื่อที่บอกเป็นนัยเจตจำนงที่ใช้เป็นสิ่งในการทำสมาธิสำหรับผู้ (ประสงค์จะหลุดพ้น) ที่อยู่ในพงป่า. บรรดาพราหมณ์ได้ถกกันถึงพิธีกรรมของผู้ครองเรือน (หรือคฤหัสถ์) เมื่อย่างเข้าวัยชราก็ต้องไปอาศัยอยู่ในป่า จำเป็นที่ต้องมีพิธีกรรมบางอย่างมาทดแทน และนั่นก็คือคัมภีร์อารัณยกะ. ในแง่มุมเชิงสัญลักษณ์และจิตวิญญาณของลัทธิบูชายัญนั้นได้ถูกไตร่ตรองทบทวน และการทำสมาธินี้ก็ได้นำมาทดแทน (ลัทธิ) สังเวยบูชายัญนี้. คัมภีร์อารัณยกะก่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างพิธีกรรมการบรรดาพราหมณ์กับปรัชญาของอุปนิษัท. ในขณะที่บทสวดก็เป็นการสร้างบทกวีขึ้น1 พวกพราหมณ์นั้นเป็นการงานของนักบวช และอุปนิษัทนั้นเป็นการทำสมาธิญาณสมาบัติของเหล่าปราชญ์. ศาสนาแห่งธรรมชาติของบทสวด ศาสนาแห่งกฎของบรรดาพราหมณ์ และศาสนาแห่งจิตวิญาณของอุปนิษัทนั้น
---------------

1 R.V., (ภ.ร.- ภาษยะของศรีรามานุชาจารย์ในเวทานตะสูตร.???), หน้าที่ 164. 6.; บทที่ 10 129. 4.
หมายเหตุ การขยายความ
01  ไอตเรยะ อุปนิษัท "ตัวตนและอาตมันของมนุษย์" (ฤคเวท) (Aitareya Upaniṣad)
02  เกาษีตกิ (อุปนิษัท) อยู่ในหมวดของฤคเวท
03  
เกนะ อุปนิษัท "ใครย้ายโลก" (สามเวท) (Kena Upaniṣad)
04  ฉานโทคยะ อุปนิษัท "บทเพลงและการสังเวย" (สามเวท) (Chāndogya Upaniṣad)
05  อีษา อุปนิษัท "ผู้ปกครองภายใน" (ศูกล ยชุรเวท) (Īśa Upaniṣad)
06  ไตติรียะ อุปนิษัท (บ้างก็ใช้ว่า ไตตติรียะ) "จากอาหาร สู่ปิติ" (กฤษณะ ยชุรเวท) (Taittirīya Upaniṣad)
07  พฤหทารัณยกะ อุปนิษัท (ศูกล ยชุรเวท) (Bṛhad-āraṇyaka Upaniṣad)
08  ปรัสนะ อุปนิษัท "ลมหายใจของชีวิต" (อรรถรเวท หรือ อาถรรพเวท) (Praśna Upaniṣad)
09  มุณฑกะ อุปนิษัท "การรับรู้สองอย่าง" (อรรถรเวท หรือ อาถรรพเวท) (Muṇḍaka Upaniṣad)
01-09 ปรับปรุงจากที่มา: en.wikipedia.org และ oknation.nationtv.tv/blog/chaiyassu/2011/02/11/entry-1, วันที่สืบค้น 28 กันยายน 2560. และหลักการแห่งอุปนิษัท (The Principal Upaniṣad​​​​​s)​​โดย ฯพณฯ สรวปัลลี ราธากฤษณัน (Servepalli Radhakrishnan), สำนักพิมพ์ Humanity Books, ปีที่พิมพ์ ค.ศ.1992, สหรัฐอเมริกา.


 
66
มีความสอดคล้องกันอย่างใกล้ชิดกับสามฝ่ายที่ยิ่งใหญ่อันเป็นไปตามแนวคิดของเฮเกิลที่เกี่ยวกับการพัฒนาศาสนา. แม้ว่าในระยะหลัง ทั้งสามศาสนาได้ดำรงเคียงข้างกัน ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่าทั้งสามศาสนาแต่เก่ากาลนั้น ได้รับการพัฒนาตามลำดับ. ในอุปนิษัทนั้น ขณะที่มีความต่อเนื่องในการบูชาพระเวท ในอีกแง่หนึ่ง นั่นก็ถือว่าเป็นการต่อต้านศาสนาพราหมณ์.

 
II
วามสำคัญของการศึกษาทสวดระเวท

       การศึกษาบทสวดฤคเวทนั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้มีความเข้าใจถึงเรื่องราวอย่างเพียงพอในแนวคิดของชาวอินเดีย. ไม่ว่าเราจะคิดอย่างไร ตำนานที่ไม่ครบองคาพยพ หรือนิทานเปรียบเทียบหยาบ ๆ การจัดรวมกลุ่มที่คลุมเครือ หรือองค์ประกอบที่ยังไม่สมบูรณ์ ยังคงเป็นที่มาของแนวปฏิบัติและปรัชญาในยุคหลังของชาวอินโด-อารยัน และการศึกษาสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความเข้าใจที่ถูกต้องของแนวคิดในภายภาคหน้า. เราพบกับความสดชื่นและความเรียบง่ายและมนต์เสน่ห์ที่ไม่สามารถอธิบายได้ในลมหายใจของฤดูใบไม้ผลิหรือดอกไม้ในยามเช้า อันเกี่ยวโยงกับความพยายามครั้งแรกของจิตใจมนุษย์ในอันที่จะทำความเข้าใจและแสดงให้เห็นถึงความลี้ลับของโลก.
       ข้อความในพระเวทที่เราครอบครองอยู่นั้น มีมาถึงเราในช่วงเวลาของกิจกรรมทางภูมิปัญญา เมื่อเหล่าชนอารยันค้นพบหนทางจากบ้านเกิดเมืองนอนของตนเข้าสู่อินเดีย. พวกเขาได้นำความคิดและความเชื่อบางอย่างที่ได้พัฒนาขึ้นและ(จะ)ดำเนินต่อไปในผืนแผ่นดินอินเดีย. การเรียบเรียงและรวบรวมบทสวดเหล่านี้ต้องใช้เวลานาน. มัคส์ มึลเล่อร์ได้แบ่งยุคสัมหิตาไว้1. ในยุคโบราณนั้น มีการแต่งบทสวดไว้. มันเป็นยุคสร้างสรรค์ที่โดดเด่นด้วยบทกวีที่แท้จริง เมื่ออารมณ์ของเหล่าชนพรั่งพรูออกมาในรูปของบทเพลง เราได้พบร่องรอยแห่งการสังเวย การอธิษฐานอันเป็นเครื่องบูชาเพียงอย่างเดียวที่ถวายแด่พระผู้เป็นเจ้า. ประการที่สอง มันคือช่วงเวลาของการรวบรวมหรือการจัดกลุ่มอย่างเป็นระบบ ตอนนั้นเอง 

---------------
1 บางครั้งก็มีความพยายามที่จะกำหนดบทสวดออกเป็นห้าช่วงที่แตกต่างกัน โดยความแตกต่างกันทางความเชื่อของศาสนาและประเพณีทางสังคม. ดู อาร์โนลด์01.: Vedic Metre.
หมายเหตุ การขยายความ
01. เอ็ดเวิร์ด เวอร์นอน อาร์โนลด์ (Edward Vernon Arnold) พ.ศ.2400-2469 หรือ ค.ศ.1857-1926 ปราชญ์ชาวอังกฤษ ที่เขียนงานด้านปรัชญาสโตอิก กรีก ละติน และโรมัน.


 
67
ที่บทสวดได้ถูกจัดเรียงในรูปแบบเดียวกับที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน. ในช่วงเวลานั้น แนวความคิดเกี่ยวกับการบูชายัญค่อย ๆ พัฒนาไปอย่างช้า ๆ . เมื่อบทสวดได้ถูกเรียบเรียงและรวบรวมขึ้นซึ่งนั่นเป็นเรื่องของจินตนาการและการคาดเดา. เรามั่นใจว่าสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจุบัน ซึ่งมีมาก่อนพระคริสต์ประมาณสิบห้าศตวรรษ พระพุทธศาสนาที่เริ่มแพร่หลายในอินเดียเมื่อ 500 ปีก่อนคริสตกาล สันนิษฐานได้ว่าไม่เพียงแต่มีการดำรงอยู่ของบทสวดพระเวท แต่ยังหมายรวมถึงวรรณกรรมด้านพระเวททั้งหมด รวมทั้งพราหมณ์และอุปนิษัท. หรือระบบพราหมณ์ได้ถูกจัดตั้งไว้พร้อมสรรพ เพื่อที่จะให้ปรัชญาอุปนิษัทได้มีการพัฒนารังสรรค์อย่างสมบูรณ์ ก็ต้องใช่้ระยะเวลาอีกยาวนาน1. การพัฒนาความคิดที่ปรากฎในวรรณกรรมอันโอฬารนี้ ต้องเวลาอย่างน้อยหนึ่งพันปี. ช่วงเวลานี้ก็ไม่นานเกินไป หากเราได้จดจำถึงความหลากหลายและวรรณกรรมที่แสดงให้เห็นนั้นมีการเติบโตขึ้น. นักวิชาการชาวอินเดียบางท่านได้กำหนดบทสวดพระเวทมีอายุราว 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนท่านอื่น ๆ ก็กล่าวว่ามีอายุว่า 6,000 ปีก่อนคริสตกาล. ทิลัค01 ผู้ล่วงลับได้กำหนดเวลาบทสวดพระเวทไว้ประมาณ 4,500 ปีก่อนคริสตกาล พราหมณ์ราว 2,500 ปีก่อนคริสตกาล อุปนิษัทยุคต้นราว 1,600 ปีก่อนคริสตกาล. จาโคบี02 กำหนดบทสวดนี้ไว้ที่ 4,500 ปีก่อนคริสตกาล เราได้กำหนดเป็นศตวรรษที่ 15 ก่อนคริสต์ศักราช และก็เชื่อว่าวันเวลาที่เรากำหนดนี้ไม่ถูกท้าทายว่าเร็วเกินไป.
       ในสัมหิตาฤคเวท หรือบทสวดรวบรวมชุดนี้ ประกอบด้วย 1,017 บทสวด หรือสูกตะ ครอบคลุมบททั้งหมดประมาณ 10,600 บท (หรือพยางค์โคลง). ซึ่งแบ่งเป็นแปดอัษฏัค (อษฺฏองฺค).2,03  แต่ละอษฺฏองฺคมีแปดอัธยายะหรือบท ซึ่งแบ่งออกเป็นวรรค..??? หรือกลุ่ม. บางครั้งก็แบ่งออกเป็นสิบมณฑล (maṇḍalas) หรือวงกลม. ส่วนหลังนั้นเป็นที่นิยมมากกว่า ในมณฑลนั้นประกอบด้วย 191 บทสวด และมีผู้ประพันธ์ประมาณสิบห้าคนหรือสิบห้าฤษี (ผู้หยั่งรู้หรือปราชญ์) อาทิ โคตะมะ04 กัณวะ05 เป็นต้น. มีหลักการที่เกี่ยวข้องในการเรียบเรียงบทสวด. ได้วางให้อัคนีเป็นลำดับแรก พระอินทร์เป็นลำดับสอง และที่เหลือ. ซึ่งแต่ละมณฑลทั้งหกถัดไปนั้น กำหนดให้เป็นกลุ่มกวีเดี่ยว และมีการจัดเรียงไว้เป็นแบบเดียวกัน. ในลำดับที่แปดก็ไม่มีการจัดเรียงไว้แน่นอน. มันถูกกำหนดให้เหมือนกับเป็นลำดับแรกซึ่งมาจากผู้ประพันธ์หลายท่าน. มณฑลที่เก้านั้นประกอบด้วยบทสวดที่ระบุถึงโสม (พระจันทร์). บทสวดที่มีมากมายของมณฑลที่แปด

---------------
1 จากจุดนี้เองนิยามศัพท์ทางปรัชญาก็ได้ก่อเกิดขึ้นมาตามลำดับจากบทสวดเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น พราหมณ์ อาตมัน โยคะ มีมางสา.
2 ประกอบด้วยแปดส่วน คือ อษฺฏองฺค
03.
หมายเหตุ การขยายความ
บาล คงคาธาร ทิลัค (Bal Gangadhar Tilak), ที่มา: www.culturalindia.net, วันที่สืบค้น 5 มกราคม 2566.
01. บาล คงคาธาร ทิลัค (Bal Gangadhar Tilak) (23 กรกฎาคม พ.ศ.2399 (ค.ศ.1856) - 1 สิงหาคม พ.ศ.2463 (ค.ศ.1920)). ท่านเป็นนักชาตินิยมอินเดีย ครู นักปฏิรูปสังคม นักกฎหมาย และนักเคลื่อนไหวเพื่อเอกราช. ท่านเป็นผู้นำคนแรกของกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชแห่งอินเดีย (Indian Independence Movement). ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 18 กันยายน 2560.
แฮร์มันน์ จีออร์ค จาโคบี (Hermann Georg Jacobi), ที่มา: ru.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 06 มีนาคม 2564.
02. แฮร์มันน์ จีออร์ค จาโคบี (Hermann Georg Jacobi) (11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2393 (ค.ศ.1850) - 19 ตุลาคม พ.ศ.2480 (ค.ศ.1937))  เป็นนักอินเดียวิทยาชาวเยอรมันที่โดดเด่น มีความเชี่ยวชาญด้านภาษาสันสกฤตมาก ได้แปลและกำหนดคำว่า โหรา (Hora) ทางดาราศาสตร์ของอินเดีย.
03. อัษฏัค หรือ 
อษฺฏองฺค.- aṣṭaka (अष्टक) (บาลี: อฏฺฐงฺค, สันสกฤต: อษฺฏ+องฺค)
04. โคตะมะ มหาฤๅษี (Gautama Maharishi) ท่านเป็นปราชญ์ฮินดู และมีการกล่าวอ้างถึงทั้งในศาสนาเชน และพุทธศาสนา ท่านได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในเจ็ดปราชญ์ฤๅษีที่ยิ่งใหญ่ (One of the Saptarishis -สัปตะฤๅษี (Seven Great Sages Rishi))

ภาพเขียนช่วงต้นคริสต์ศวรรษที่ 19 แสดงภาพ: โคตะมะ มหาฤๅษี, ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 7 มีนาคม 2565. 
05. กัณวะ (Kaṇva) ท่านเป็นฮินดูฤๅษี ประพันธ์บทสวดบางบทในฤคเวท ท่านมีเชื้อสายปราชญ์ฮินดูโบราณ บางครั้งท่านก็ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในเจ็ดปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ (One of the Saptarishis -สัปตะฤๅษี (Seven Great Sages Rishi)).

 
68
และเก้านั้น พบในสามเวทด้วย. ส่วนมณฑลที่สิบ ดูเหมือนว่าจะเป็นส่วนเสริมที่มีขึ้นในภายหลัง. อย่างไรก็ตาม มันก็มีมุมมองที่เป็นปัจจุบันในช่วงสุดท้ายของการพัฒนาบทสวดพระเวท. สีสันด้านกวีนิพนธ์ดั้งเดิมของที่นี่อันเกี่ยวเนื่องกับข้อคิดทางจิตวิญญาณก่อนหน้านี้ก็ป่วย ด้วยความคิดทางปรัชญาที่ซีดเซียว. บทสวดต่าง ๆ ที่คาดเดา (เกิดความกังขาสงสัย) เกี่ยวกับที่มาในการประพันธ์หลากหลายจะมารวมบรรจบกัน. เมื่อรวมกับทฤษฎีอันเป็นนามธรรมเหล่านี้แล้ว ยังพบกับอาคมความเชื่อโชคลางต่าง ๆ และปฏิบัติการอันเป็นยุคของอรรถรเวท. ในขณะที่ส่วนที่คาดเดาบ่งบอกถึงความเจริญด้านจิตใจอันปรากฎเป็นครั้งแรกในกวีบทสวด คุณลักษณะเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าเมื่อถึงเวลานั้นชาวอารยันพระเวทต้องคุ้นเคยกับหลักคำสอนและวัตรปฏิบัติของชาวอินเดียดั้งเดิม และทั้งสองนี้ก็เป็นเครื่องบ่งชี้อันแจ่มแจ้งถึงที่มาตอนปลายของมณฑลที่สิบ.

 
III
ารอนระเวท

       มีนักวิชาการที่มาด้วยความสามารถได้จัดมุมมองที่แตกต่างกันของจิตวิญญาณของบทสวดพระเวท นักวิชาการเหล่านี้น้อมนำเอาคัมภีร์โบราณมาศึกษาชีวิตของพวกเขา. ฟลายเดอฮาร์ (Pfleiderer)01 กล่าวว่า "คำอธิษฐานที่ไร้เดียงสาเหมือนเด็กปฐมวัยของฤคเวท." พิกเทต02 ยืนยันว่าชาวอารยันตามที่ปรากฎในฤคเวทนั้นนับถือพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว แม้ว่าจะคลุมเครือและเก่ากาลก็ตาม. โรธ03 และ ทยานันทะ สรัสวตี04 ผู้ก่อตั้งอารยสมาช05 ก็เห็นด้วยกับมุมมองนี้. ซึ่งราม โมฮัน รอย06 ถือว่าเทพเจ้าต่าง ๆ ในพระเวทนั้น เป็น "การแสดงเชิงเปรียบเทียบของคุณลักษณะของเทพสูงสุด". สอดคล้องกับปราชญ์ท่านอื่นที่กล่าวไว้ บลูมฟิลด์07 บทสวดของฤคเวทนั้น ถือเป็นองค์ประกอบที่ได้เสียสละของเผ่าพันธุ์อารยันเก่ากาลอันมีความสำคัญยิ่งต่อพิธีกรรมต่าง ๆ . ศาสตราจารย์แบร์เกน08 ก็เชื่อเช่นนั้นในเชิงเปรียบเทียบ. สายณะ09 นักวิจารณ์อินเดียผู้มีชื่อเสียง นำการตีความที่แสดงถึงความเป็นธรรมชาติของเทพต่าง ๆ มาใช้ในบทสวด ซึ่งได้รับการสนับสนุนการศึกษาวิจัยจากแหล่งทุนยุโรปสมัยใหม่. ในบางครั้งระยะต่อมานั้น สายณะได้ตีความบทสวดด้านจิตวิญญาณของศาสนาพราหมณ์. ความคิดเห็น (ของเหล่าปราชญ์ข้างต้น) ก็ไม่จำเป็นว่าจะแย้งเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน เพียงเหล่าปราชญ์นั้นได้ชี้ให้เห็นถึงคุณลักษณะที่แตกต่างกัน
หมายเหตุ การขยายความ
ออตโต ฟลายเดอฮาร์ (Otto Pfleiderer), ที่มา: giffordlectures.org, วันที่เข้าถึง 09 มีนาคม 2565.
01. ออตโต ฟลายเดอฮาร์ (Otto Pfleiderer) (13 กันยายน พ.ศ.2382 (ค.ศ.1839) - 18 กรกฎาคม พ.ศ.2451 (ค.ศ.1908)) เป็นนักเทววิทยาโปรเตสแต้นท์ชาวเยอรมัน.
อาดอยฟ์ พิกเทต (Adolphe Pictet), ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 09 มีนาคม 2565.
02. อาดอยฟ์ พิกเทต (Adolphe Pictet) (11 กันยายน พ.ศ.2342 (ค.ศ.1799) - 20 ธันวาคม พ.ศ.2418 (ค.ศ.1875)) เป็นนักชาติพันธุ์วิทยา นักภาษาศาสตร์ (linguist) และนักนิรุกติศาสตร์ (philologist) ชาวสวิส.
03.  กุสตาฟ โรธ (Gustav Roth) เกิดเมื่อ พ.ศ.2459 ท่านเป็นนักอินเดียวิทยา นักไวยากรณ์ และปรัชญา มีงานวิจัยด้านปรัชญาฮินดูและพระพุทธศาสนา.
มหาฤๅษี ทยานันทะ สรัสวตีที่มา: starsunfolded.com, วันที่เข้าถึง 12 เม.ย.2565
04.  มหาฤๅษี ทยานันทะ สรัสวตี (Dayānanda Sarasvatī) 12 ก.พ. พ.ศ.2367 - 30 ต.ค.2426 เป็นนักปรัชญาอินเดียแนวพระเวท เป็นผู้นำทางสังคม ผู้ก่อตั้งอารยสมาช ซึ่ง ฯพณฯ ดร.สวรปัลลี ราธากฤษณัน เรียกท่านว่า ผู้สร้างอินเดียยุคใหม่ เทียบเท่ากับศรี อรพินโธ. 
05.  อารยสมาช (Arya Samaj สันสกฤต: आर्य समाज ) หรือสมาคมชั้นสูง หรือขบวนการปฏิรูปศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่เน้นความเชื่อว่ามีพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียวของอินเดีย ที่ส่งเสริมค่านิยมและการปฏิบัติตามความเชื่อในอำนาจที่ไม่มีข้อผิดพลาดของพระเวท สมาชหรือสมาคมนี้ก่อตั้งโดยสันยาสี หรือ มหาฤๅษี ทยานันทะ สรัสวตี เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2418.

ภาพเขียน ราชา ราม โมฮัน รอย, ที่มา: deccanherald.com, วันที่เข้าถึง 17 เมษายน 2565.
06. ราชา ราม โมฮัน รอย (Ram Mohan Roy - เกิดเมื่อ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2315, เบงกอล อินเดีย - ถึงแก่กรรมเมื่อ 27 กันยายน พ.ศ.2376, บริสตอล อังกฤษ) เป็นนักการศาสนา สังคม นักปฏิรูปการเมืองชาวอินเดีย เกิดในตระกูลพราหมณ์ที่มีชื่อเสียง ท่านท่องไปทั่วในขณะที่เยาว์วัย ได้เปิดเผยตัวตนต่อวัฒนธรรมต่าง ๆ และพัฒนามุมมองที่ต่างออกไปจากศาสนาฮินดู. ในปี พ.ศ.2346 ท่านได้เขียนแผ่นพับประณามการแบ่งแยกทางศาสนาและความเชื่อทางไสยศาสตร์ของอินเดีย และสนับสนุนศาสนาฮินดูแบบมีพระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว. ท่านจัดให้มีการแปลคัมภีร์พระเวทและอุปนิษัทสมัยใหม่ เพื่อเป็นพื้นฐานทางปรัชญาตามความเชื่อของท่าน ได้สนับสนุนเสรีภาพในการพูดและการนับถือศาสนา และประณามระบบวรรณะและพิธีสัตตี (suttee - หรือ Sati ในภาษาสันสกฤต - เมื่อสามีถึงแก่กรรม ภรรยาที่ยังมีชีวิตต้องโดนเผาตายตกตามสามีด้วย). ในปี พ.ศ.2369 ท่านได้ก่อตั้งวิทยาลัยเวทานตะ และในปี พ.ศ.2371 ได้ก่อตั้งพราหมณ์สมาจ (หรือสมาคมพราหมณ์). ที่มา: britannica.com, วันที่เข้าถึง 14 เมษายน 2565. 

ศ.มอริซ บลูมฟิลด์ (Maurice Bloomfield) ที่มา: dbcs.rutgers.edu, วันที่เข้าถึง 3 พ.ค.2565.
07.  ศ.ดร.มอริซ บลูมฟิลด์ (Maurice Bloomfield) (23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2398 ออสเตรีย - 13 มิถุนายน พ.ศ.2471 ซานฟรานซิสโก สหรัฐฯ) มีความสามารถด้านภาษาสันสกฤต มีผลงานมากมาย ตีพิมพ์ใน AJP - American Journal Press และหนังสือด้านปรัชญาอินเดีย, ปรับปรุงจาก jstor.org, วันที่เข้าถึง 3 พฤษภาคม 2565.
08. อะเบล แบร์เกน (Abel Bergaigne) (31 สิงหาคม พ.ศ.2381 - 6 สิงหาคม พ.ศ.2431) นักอินเดียวิทยาและปราชญ์ด้านภาษาสันสกฤตชาวฝรั่งเศส มีผลงานที่ตีพิมพ์ด้านศาสนาและปรัชญา โครงสร้างไวยกรณ์ แสดงถึงพัฒนาการด้านประวัติศาสตร์ทั้งภาษาสันสกฤต กรีก ละติน ภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิก และอื่น ๆ .
09. สายณะ (Sāyaṇa) หรือ สายณาอาจารยะ (Sāyaṇācārya) ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.1930 (ค.ศ.1387) เป็นปราชญ์ในสำนักปรัชญาสันสกฤตมีมางสา ท่านได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับพระเวท มีงานด้านการแพทย์ จริยธรรม ดนตรี และไวยกรณ์.


 
69
อันเป็นประมวลกลุ่มปรัชญาฤคเวทเท่านั้น. มันเป็นงานที่แสดงถึงความคิดของปราชญ์ในรุ่นต่อ ๆ มา และมีลำดับชั้นของความคิดอยู่ภายใน. โดยหลักแล้ว เราอาจกล่าวได้ว่าฤคเวทนั้น เป็นตัวแทนของศาสนาในยุคที่ไม่มีความซับซ้อนนัก. บทสวดจำนวนมากนั้นดูเรียบง่ายและเยาว์วัยไร้เดียงสา เป็นการแสดงถึงจิตสำนึกด้านศาสนาภายในจิตใจ ปราศจากความซับซ้อนที่จะตามมา. นอกจากนี้ในภายหลังแล้ว ก็ยังมีบทสวดของพราหมณ์ที่เป็นแบบฉบับและเป็นทางการอีกด้วย. มีคัมภีร์บางเล่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคัมภีร์เล่มก่อน ซึ่งรวบรวมผลที่สมบูรณ์ของการไตร่ตรองอย่างมีสติเกี่ยวกับความหมายของโลก และตำแหน่งแห่งหนของมนุษย์บนโลกใบนี้. เอกเทวนิยมได้แสดงลักษณะของบทสวดสรรเสริญบางบทของฤคเวท. ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ในบางครั้งนั้นพระผู้เป็นเจ้าหลายองค์ก็ถูกมองว่าเป็นพระนามและจริยวัตรที่แสดงออกต่างกันไปของสิ่งมีชีวิตที่ดำรงอยู่ในสากลจักรวาล.1 แต่ลัทธิเอกเทวนิยมนี้ ยังไม่ถือว่าเป็นเอกเทวนิยมที่เฉียบแหลมของโลกสมัยใหม่.
ศรี ออโรบินโด (ศรี อรพินโธ) (15 สิงหาคม พ.ศ.2415 กัลกัตตา อินเดีย - 5 ธันวาคม พ.ศ.2493 ปูดูเชร์รี หรือ พอนดิเชอร์รี อินเดีย), ที่มา: pragyata.com, วันที่เข้าถึง 29 สิงหาคม 2564.
       ออโรบินโด กอช (ศรี อรพินโธ โฆษะตระกูล) เป็นปราชญ์ผู้ลึกลับชาวอินเดียที่ยิ่งใหญ่ มีความเห็นว่าพระเวทนั้นเพียบพร้อมไปด้วยคำแนะนำเกี่ยวกับคำสอนที่อำพรางไว้และปรัชญาที่เร้นลับ. ท่านมองว่าเทพเจ้าแห่งบทสวดนั้น เป็นสัญลักษณ์แห่งการทำงานทางจิตวิทยา. สูรยะ (สุริยะ) หมายถึง ความเฉลียวฉลาด อัคนีเแทนความตั้งใจ และโสมะ (พระจันทร์-โสม) แทนความรู้สึก. สำหรับท่านนั้น พระเวทเป็นศาสนาที่ลึกลับที่สอดคล้องกับลัทธิออฟิก01 และเอยูเซเนี่ยน02 ของกรีกโบราณ. "สมมติฐานที่ข้าพเจ้าเสนอคือฤคเวทนั้น เป็นเอกสารสำคัญฉบับหนึ่งที่ยังคงอยู่กับเราตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ของความคิดมนุษย์ ซึ่งความลึกลับทางประวัติศาสตร์ของลัทธิเอยูเซเนี่ยนและออฟิกนั้น เป็นเพียงเศษเล็กเศษน้อยที่ล้มเหลว เมื่อความรู้ทางจิตวิญญาณและจิตใจของเผ่าพันธุ์ ถูกบดบังด้วยเหตุผลที่ยากแก่การตัดสินใจในปัจจุบันขณะ ด้วยสิ่งปกคลุมที่มีรูปและสัญลักษณ์ที่จับต้องได้ ซึ่งปกป้องความรู้สึกจากคำดูหมิ่นและเปิดเผยต่อผู้ประทับจิต. หลักการสำคัญประการหนึ่งของความเชื่อที่ดำมืดคือความศักดิ์สิทธิ์และเป็นความลับขององค์ความรู้ตนเองและความรู้ที่เที่ยงแท้ของเหล่าทวยเทพ. พวกเขาคิดว่าภูมิปัญญานี้ไม่เหมาะกับมนุษย์ผู้มีจิตใจปกติธรรมดา อาจอันตราย หรืออาจวิปริต และการใช้ในทางที่ผิดและสูญเสียคุณธรรมได้ หากเปิดเผยต่อวิญญาณที่หยาบกระด้างและไม่บริสุทธิ์. ดังนั้นพวกเขาจึงรื่นรมย์กับการมีอยู่ของ
---------------
1 ดูใน ฤคเวท
, บรรพที่ 1. สรรคที่ 164-46 และ 170-71.

หมายเหตุ การขยายความ
01. ลัทธิออฟิก (Orphic-Orphism) เป็นลัทธิกรีกโบราณ มีตำนานอธิบายว่ามนุษย์มีลักษณะสองประการคือ 1) ร่างกายที่สืบทอดมาจากไททันส์ และ 2) ประกายไฟหรือวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ สืบทอดมาจาก ไดอะไนซัส (เทพเจ้าแห่งไวน์ เทศกาลรื่นเริง) เพื่อให้บรรลุความรอดจากเรือไททานิค การดำรงอยู่ของวัตถุ.
02. ลัทธิเอยูเซเนี่ยน (Eleusinian) ลัทธิเกษตรกรรมโบราณ เกี่ยวกับการเกิดใหม่ของเทพผู้ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นนิรันดร์แห่งชีวิตซึ่งไหลจากรุ่นสู่รุ่น.
 

 
70
การบูชาภายนอกที่มีประสิทธิผล แต่ไม่สมบูรณ์สำหรับคำดูหมิ่นและวินัยภายในสำหรับผู้ริเริ่ม (นำความรู้ที่บริสุทธิ์เข้ามาในจิต) และการสวมภาษาของพวกเขาด้วยคำพูดและภาพ อันมีความรู้สึกทางจิตวิญาณสำหรับผู้ที่ถูกเลือกและความรู้สึกที่เป็นรูปธรรมสำหรับเหล่าชนทั่วไปที่ได้นมัสการ บทสวดของพระเวทบังเกิดขึ้นและรังสรรค์ขึ้นบนหลักการเหล่านี้"1 เราพบว่าทัศนะนี้เป็นการตรงข้าม ไม่เพียงแต่นักวิชาการสมัยใหม่ชาวยุโรปเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการตีความดั้งเดิมของสายณะและระบบปรัชญาของปูรวะ-มีมางสา ผู้ทรงอำนาจในการตีความพระเวทด้วย ไม่ว่ามุมมองของศรี อรพินโท โฆษะตระกูลจะแยบยลเพียงใด เราก็จำต้องลังเลในการทำตามคำแนะนำของเขา. ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่ความก้าวหน้าทั้งหมดของความคิดของชาวอินเดียจะค่อย ๆ มลายไปจากความจริงทางจิตวิญญาณสูงสุดของบทสวดพระเวท. สอดคล้องกับสิ่งที่รู้กันโดยทั่วไปของการพัฒนามนุษย์ และง่ายกว่าที่จะยอมรับว่าศาสนาและปรัชญาในยุคหลัง ๆ เกิดขึ้นจากข้อเสนอแนะที่หยาบกระด้าง และแนวคิดทางศีลธรรมขั้นต้น และแรงบันดาลใจทางจิตวิญญาณของจิตใจในยุคแรก ๆ มากกว่าที่จะเป็นความเสื่อมทรุดของความสมบูรณ์แบบดั้งเดิม. ในการตีความถึงจิตวิญญาณของบทสวดแห่งพระเวทนั้น เราเสนอให้นำเอามุมมองของบทสวดเหล่านี้ที่บรรดาพราหมณ์และอุปนิษัทได้ยอมรับต่อมาทันที. ผลงานที่เกิดขึ้นภายหลังนี้เป็นความต่อเนื่องและเป็นการพัฒนามุมมองของบทสวด. ในขณะที่เราพบความก้าวหน้าจากการบูชาพลังงานธรรมชาติภายนอกไปสู่ศาสนาด้านจิตวิญญาณของอุปนิษัท ที่เข้าใจได้ง่าย ๆ ตามกฎแห่งการเติบโตด้านศาสนาตามปกตินั้น มนุษย์ทุกหนแห่งในโลกเริ่มต้นด้วนสิ่งที่อยู่ภายนอกแล้วเข้าสู่ศาสนาสูงสุดที่มีอยู่ในพระเวท. การตีความนี้สอดคล้องกับวิธีการทางประวัติศาสตร์สมัยใหม่และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ของวัฒนธรรมมนุษย์ยุคแรก ๆ และสอดคล้องกับมุมมองชั้นเอกของอินเดียที่ปราชญ์สายณะได้นำเสนอ. 
---------------

1 อรยะ, เล่มหนึ่ง หน้าที่ 60. 


 
71
IV
นวโน้มต่าง ๆ ทางรัชญา

       ในฤคเวท เรามีวจนะอันเร่าร้อนของจิตวิญญาณเก่ากาล ทว่าเป็นดวงจิตกวีซึ่งแสวงหาที่หลบเร้นจากการตั้งคำถามอันดื้อรั้นของความรู้สึกและสิ่งต่าง ๆ ภายนอก. บทสวดเป็นแนวปรัชญาในขอบเขตที่พวกเขาพยายามอธิบายความลึกลับของโลก ไม่ใช่ด้วยความเข้าใจที่ลึกซึ้งเหนือมนุษย์หรือการเผยที่ไม่ธรรมดา แต่ด้วยลำแสงแห่งเหตุผลที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือ. จิตที่ได้เผยไว้ในพระเวทไม่ใช่จิตประเภทใดประเภทหนึ่ง. มีเพียงจิตวิญญาณที่คร่ำครวญแห่งกวีผู้เพียงแต่คร่ำครวญถึงความงดงามของท้องฟ้าและความมหัศจรรย์ของแผ่นดินโลก และบรรเทาจิตวิญญาณด้วยดนตรีอันเป็นภารกิจของปราชญ์เหล่านี้ด้วยการแต่งบทสวดสรรเสริญ. เหล่าเทพอินโด-อิหร่านประกอบด้วย ทโยษะ01 พระวรุณ พระอุษา พระมิตระ02 และอื่น ๆ อันเป็นผลงานของจิตสำนึกในบทกวีนี้.
Dyaus (ทโยษะ หรือ เทยาสฺ หรือ อากาศ (ākāśa, Akasha) - ท้องฟ้า สวรรค์), ที่มา: bloghemasic.blogspot.com, วันที่เข้าถึง: 29 สิงหาคม 2564.

       ได้มีปราชญ์ท่านอื่นที่กระตือรือร้นยิ่ง พยายามปรับโลกให้เข้ากับจุดประสงค์ของตนเอง. ความรู้ทางโลกที่เป็นประโยชน์แก่ตนก็เป็นเครื่องชี้นำชีวิต. และในช่วงเวลาแห่งการมุ่งพิชิตและการต่อสู้ เทพที่ทรงประโยชน์ดังเช่น พระอินทร์ ก็ถือกำเนิดขึ้น. ด้วยแรงกระตุ้นทางปรัชญาที่แท้จริง ความปรารถนาที่จะรู้และเข้าใจโลกเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ตนเอง แสดงให้เห็นเฉพาะเมื่อพายุสงบลงและปลอดจากความเครียดเท่านั้น. ในตอนนั้นเองเหล่าชนทั้งหลายได้นั่งลง เกิดคำถามในพระเจ้าที่พวกเขาบูชาอย่างโง่เขลา และตรึกตรองถึงความลึกลับของชีวิต. ในช่วงเวลานี้เองก็เกิดคำถามขึ้น ซึ่งจิตใจของมนุษย์ไม่สามารถให้คำคอบที่เพียงพอได้. มีผู้ประพันธ์ในพระเวทได้อุทานขึ้น "ฉันไม่รู้ว่าฉันเป็นอะไรกันแน่ ดูลึกลับ ผูกมัด จิตใจฉันก็ลอยล่องไป." แม้ว่าจะมีเชื้อ (ร้าย หรือหน่อที่ไม่ดีนัก) ของปรัชญาที่แท้จริงได้ปรากฎขึ้นในระยะหลัง แต่มุมมองของชีวิตที่สะท้อนในบทกวี และการฝึกฝนบทสวดก็ยังคงให้องค์ความรู้อยู่. เนื่องจากประวัติศาสตร์เกี่ยวกับตำนานนั้นนำหน้าโบราณคดี การเล่นแร่แปรธาตุทางเคมี โหราศาสตร์ที่เกี่ยวกับดวงดาว แม้แต่ปกรณัมและกวีนิพนธ์ก็มาก่อนปรัชญาและวิทยาศาสตร์. ในตำนานและศาสนานั้น เราได้พบแรงกระตุ้นทางปรัชญาขึ้น ในนั้นเราก็พบคำตอบสำหรับคำถามของการดำรงอยู่ขั้นสุดท้ายของผู้ศรัทธาทั่วไป. สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากจินตนาการ
หมายเหตุ การขยายความ
01. ทโยษะ หรือ เทยาสฺ หรือ ทโยษปิติ (Dyauspitar or ภาษาเทวนาครี  द्यौष्पितृ Dyáuṣpitṛ́) หมายถึง มหาเทพกรีก ซูส (Zeus) หรือละติน จูปิเตอร์ (Jupiter)

พระมิตระ (ด้านซ้าย) ในงานประติมากรรมสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 4 ที่ Taq-e Bostan ทางตะวันตกของอิหร่าน, ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 16 พ.ค.2565.

 
02. พระมิตระ (Mitra) เป็นเทพเก่ากาล โปรโต-อินโด-อิราเนียน-Proto-Indo-Iranian  ชื่อเทพองค์นี้มีการกล่าวไว้มากมาย ทั้งทางด้านพระพุทธศาสนา (เป็นพระโพธิสัตว์ - อารยะเมตตรัย - Maitreya) ทั้งทางด้านเอเชียไมเนอร์ ในยุคเฮเลนนิค ในกรีก บางส่วนของอนาโตเลีย ในตอนกลางของอิหร่าน ฯ ในภาษาสันสกฤตและในภาษาอินโด-อารยันยุคใหม่ มิตระ หมายถึง เพื่อน หนึ่งในแง่มุมของการผูกพัน และพันธมิตร.
 

72
ที่ซึ่งสาเหตุในตำนานนั้น ได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นโลกแห่งความจริง. เมื่อเหตุผลค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเหนือจินตนาการ ความพยายามที่จะจำแนกสิ่งถาวร (หรือความรู้สึกที่ติดตรึงอยู่) ที่ได้จับยัดใส่เข้ามา ออกจากสิ่งที่เป็นความจริงของโลกที่ได้สร้างขึ้น. การคาดเดาเกี่ยวกับจักรวาลวิทยาได้เกิดขึ้นแทนที่การสันนิษฐานในปกรณัมตำนาน. องค์ประกอบถาวรของโลกถูกแปดเปื้อนเป็นมลทิน และด้วยเหตุนี้จักรวาลวิทยาจึงสับสนกับศาสนา. ในช่วงแรก ๆ ที่ได้พิจารณาไตร่ตรองนั้น อย่างที่เรามีในฤคเวท ตำนานปกรณัม จักรวาลวิทยา และศาสนานั้น เราจะพบว่ามันคละปะปนกัน. จะเป็นที่น่าสนใจยิ่งในการอธิบายความคิดเห็นสั้น ๆ ของบทสวดภายใต้หัวเรื่องของ เทววิทยา จักรวาลวิทยา จริยธรรม และสุนทรียศาสตร์.

 
info@huexonline.com