MENU
TH EN

ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 2.001

Title Thumbnail: อรชุนและพระกฤษณะผู้เป็นสารถี เผชิญหน้ากับกรรณะ, ประมาณปี พ.ศ.2363 ที่มา: พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งเมืองฟิลาเดลเฟีย, วันที่สืบค้น 21 กันยายน 2560., Hero Image: Spiritual Nonviolence ภาพพระกฤษณะสนทนากับอรชุน, ที่มา : www.pinterest.com, วันที่เข้าถึง 11 มีนาคม 2564. 

ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 2.001
First revision: Jan.29, 2021
Last change: Aug.14, 2022
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา.

 
ส่วนที่ 3
 
ระบบพราหมณ์ทั้งหก01.
 
 
 
 
17
 
 

บทที่ 1
 
บทนำ
 
จิตวิญญาณแห่งยุคสมัย - ทรรศนะ - อาสติกะ และ นาสติกะ – วรรณกรรมเกี่ยวกับพระสูตร - วัน (ที่ระบุเรื่องราว) - แนวคิดร่วม - ระบบทั้งหก.
 
 
 

1
 

รุ่งอรุณแห่งระบบ
 
นยุคของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ได้แสดงถึงจุดเริ่มต้นที่ยิ่งใหญ่แห่งจิตวิญญาณปรัชญาอินเดีย. ความก้าวหน้าของปรัชญาโดยทั่วไปนั้น กำเนิดขึ้นจากการวิพากษ์โจมตีที่มีพละกำลังด้วยประเพณีที่สืบกันมายาวนาน เมื่อมนุษย์รู้สึกว่าตนถูกบังคับให้ถอยหลัง และจึงเกิดมีการตั้งคำถามพื้นฐานนานาขึ้นอีกครั้ง ซึ่งบรรพชนของพวกเขาได้ปัดคำถามเหล่านี้ทิ้งด้วยแผนการเก่าดั้งเดิม. การขบถของพุทธศาสนาและศาสนาเชนนั้น ก่อให้เกิดประวัติศาสตร์ทางความคิดของอินเดียยุคหนึ่ง เนื่องจากในที่สุดก็มีแรงระเบิดต่อวิธีการปฏิบัติตามหลักศาสนาและช่วยให้เกิดมุมมองที่สำคัญ สำหรับเหล่านักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ของชาวพุทธแล้ว ตรรกะถือเป็นคลังแสงหลักที่ถูกปลอมแปลงยุทโธปกรณ์นั้นเสีย จากการวิพากษ์วิจารณ์เชิงทำลายที่เป็นสากล. พระพุทธศาสนาได้ทำหน้าที่เป็นยาชำระล้างสิ่งโสมมในจิตใจอันเป็นเครื่องกีดขวางในยุคเก่าก่อน. ความระแวงสงสัยนั้น หากกล่าวโดยความสัตย์แล้ว มันจะช่วยปรับความเชื่อที่วางอยู่บนฐานทางธรรมชาติเสียใหม่.
 

 
       ทรรศนะทั้ง 602. สำนักปรัชญาอินเดีย 6 สำนักเป็นผู้ให้กำเนิดตอนสำคัญแห่งวรรณคดีพระเวท ทรรศนะทั้ง 6 มีชื่อเรียกดังนี้
          1.  นยายะ-ทรรศนะ (Nyāya)
          2.  ไวเศสิกทรรศนะ (Vaishesika)
          3.  สางขยทรรศนะ (Sankhya)
          4.  โยคทรรศนะ (Yoga)
          5.  ปูรวมีมางสาทรรศนะ (Pūramîmānsā)
          6.  อุตตรมีมางสาทรรศนะ (Uttaramîmānsā)

       กล่าวกันว่าทรรศนะทั้ง 6 นี้แต่งขึ้นในช่วงระหว่างศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช ถึงสมัยของพระเจ้าอโศก โดยแต่งเป็นสูตร (สูกตะ) ซึ่งให้คำจำกัดความแบบสั้น ๆ ชัดเจน ไม่ก่อให้เกิดความสงสัย แนวความคิดเรื่องอวิทยา (Ayidyā) มายา ปุรุษะและชีวะมีอยู่ในปรัชญาทุกระบบ ทรรศะทั้ง 6 นั้น คัดค้านความไม่เชื่อของชาวพุทธ และสร้างมาตรฐานแห่งความจริงแท้เชิงวัตถุประสงค์ ขึ้นมาคัดค้านทฤษฎีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (ของพระพุทธศาสนา) ทุกทรรศนะเชื่อเรื่องการส้รางโลก การรักษาโลก และการทำลายโลก นอกจากปูรวมีมางสาทรรศนะแล้ว ทรรศนะอื่น ๆ ก็มีจุดมุ่งหมายอยู่ที่โมกษะหรือการเปลื้องวิญญาณให้หลุดพ้นจากการเกิดใหม่โดยชี้ชัดออกมาว่า วิธีที่จะบรรลุโมกษะนั้น คือ การทำจิตให้บริสุทธิ์ (Cittasuddhi-จิตตสุทธิ) และการกระทำแบบวางเฉย (Niṣkam Karma - นิษกัมกรรม).

       1.  นยายทรรศนะ ฤๅษีโคตมะ (Gūatama) เป็นผู้แต่งทรรศนะนี้ ถือว่า ตรรกะ คือ การคิดเป็นพื้นฐานของการศึกษาทั้งหมด และเป็นศาสตร์แห่งศาสตร์ทั้งหลาย คนเราสามารถรับรู้ได้โดย 4 วิธีคือ
              1). ประตยักษะ (Pratayakṣa - การเห็นประจักษ์)
              2). อนุมาน (Anumāna - การคาดคะเน) อนุมานมี 3 ชนิด คือ ปูรวัต (Pūravat) เสสวัต (Sesavat) และสามัญญโต ทฤษตัม (Sāmaññato Driṣataṃ)
              3). อุปมา (Upamā - การเปรียบเทียบ)
              4). ศัพทะ (Shabda - การพูด)
       นยายทรรศนะ อภิปรายถึงปัญหาที่เกิดจากความสงสัย และเชื่อว่าเกิดจากความจำผิด ความผิด คือการเข้าใจวัตถุผิดไปจากที่เป็นจริง ความจริงย่อมเปิดเผยตัวเองต่อคนที่รู้ (ความจริงนั้น) อาตมัน (soul) เป็นจริง คุณสมบัติของวิญญาณ คือ ความรัก ความเกลียด เจตจำนง การรับรู้ (consciousness) ไม่สามารถจะแยกไปจากวิญญาณ "เหมือนแสงสว่างของเปลวไฟ ไม่สามารถอยู่แยกจากเปลวไฟได้" นยายทรรศนะเชื่อในพระเป็นเจ้าว่าสมบูรณ์ด้วยความรู้และความสุข (bliss) ยอมรับทฤษฎีการเกิดใหม่ และสอนผู้คนให้เปลื้องตนเองให้พ้นจากพันธนาการ (กิเลส) ที่ทำให้เกิดใหม่.

       2.  ไวเศสิกทรรศนะ ฤๅษีกนทะ (Kanada) เป็นผู้แต่ง ทรรศนะนี้ถือว่า ปทารถะ (Padārtha) แบ่งออกได้เป็น 6 ชั้น คืือ ทระวยะ (Dravya-ทรัพย์) คุณ (Guṇa-คุณภาพ) กรรม (Karma - การกระทำ) สามันยะ (Sāmanya - ความเป็นสามัญหรือความทั่วไป) วิเศษ (Visheṣa - ความจำเพาะ) และสมวย (Samavaya - การอนุมาน) ทรัพย์ มี 9 คือ ปฐวี อาโป วาโย เตโช อากาศ กาละ เทศะ วิญญาณ และมนัส อะตอม คือ โครงสร้างเล็กสุดของสรรพสิ่งที่เป็นรูป เป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำลายได้ สรรพสิ่งที่เกิดขึ้นมีขนาดแตกต่างกัน มีคุณสมบัติอยู่ 17 ชนิด กรรมอยู่ได้ชั่วระยะเวลาอันสั้นแล้วก็ดับลงที่ขั้นหนึ่ง หรือขั้นต่อมา (เกิดแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว) ฤๅษีกนทะไม่ได้อ้างถึงพระเจ้าโดยตรง ปรัชญาของท่านไม่ได้เป็นปรัชญาเกี่ยวกับจักรวาลที่สมบูรณ์.

       3.  สางขยทรรศนะ ฤๅษีกปิละ (Kapila) เป็นผู้แจ่ง ทรรศะนี้ถือว่า หลักการขั้นพื้นฐานของทรรศนะนี้ ก็คือ ความเป็นคู่กัน (ไทฺว-ภาวะ) ของปุรุษและประกฤติ ประกฤติ มีคุณอยู่ 3 คือ สัตตวคุณ (Sattvaguna) รชคุณ (Rajaguna) และตมคุณ (Tamaguna) สัตตวคุณเป็นต้นตอแห่งความดีและความสุข รชคุณเป็นต้นตอแห่งการทำกรรมและความทุกข์ ตมคุณเป็นต้นตอแห่งอวิชชา ความเกียจคร้าน และความเฉื่อยชา ไม่ถือว่าโลกเป็นจริง เพราะไม่ได้คงอยู่ตลอดไป ชั่วระยะ เวลาหนึ่งก็ถูกทำลายมีอยู่สิ่งเดียวเท่านั้นที่เป็นอมตะคือ ประกฤติ ขณะที่ปุรุษะเป็นอมตะ ชีวะทั้งหลายก็ถูกผูกมัดด้วยเครื่องผูกมัดคือการเกิดใหม่ ทรรศนะนี้ เชื่อว่าพระเจ้ามีอยู่จริง ประกฤติและปุรุษต่างอิงอาศัยกัน แต่ไม่อิงอาศัยพระเจ้า.

       4.  โยคทรรศนะ ฤๅษีปตัญชลิ (Patañjali) เป็นผู้แต่ง ทรรศนะนี้ถือว่า การปฏิบัติโยคะ หรือการฝึกจิตให้เกิดสมาธิ สามารถทำคนให้หลุดพ้นจากวัฏจักรแห่งการเกิดใหม่ได้ คนควรทำความเพียรเพื่อพัฒนาชีวิตทั้งกายและใจ และได้เสนอวิธีที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้นไว้ 7 วิธี คือ ยมะ (Yama-การงดเว้น) นิยมะ (Niyama-การสังเกต) อาสนะ (Āsana-การนั่ง) ปราณยมะ (Prānayama-การควบคุมลมหายใจ) ประตยหระ (Pratyahara-การถอนความรู้สึก) ธยานะ (Dhyāna-การเพ่ง) และสมาธิ (Samādhi-การควบคุมจิต) การปฏิบัติหัตถโยคะจะทำให้ควบคุมร่างกายและทำให้สามารถทนความเจ็บปวดหนัก ๆ ได้ การควบคุมลมหายใจ ย่อมมีอิทธิพลอย่างมากต่อจิตใจ โยคะจะมายุติลงที่ธยานะและสมาธิ เมื่อคนเราได้สมาธิขั้นนั้น เขาจะไม่รับรู้เกี่ยวกับโลกภายนอกเลย จะเพ่งอยู่ที่พระเจ้าเท่านั้น ทรรศนะนี้เชื่อว่า พระเจ้าเท่านั้นจะช่วยเราให้บรรลุถึงเป้าหมายของเรา.

       5.  ปูรวมีมางสาทรรศนะ ฤๅษีไชมินิ (Jāimini) เป็นผู้แต่ง ทรรศนะนี้ถือพิธีกรรมเป็นเรื่องสำคัญ และยอมรับความศักดิ์สิทธิ์ (ความน่าเชื่อถือ) ของพระเวท อาตมันไม่ใช่สิ่งเดียวกับร่างกายมนุษย์ ประสาทสัมผัส และความเข้าใจ และยอมรับว่า วิญญาณ (soul) มีหลากหลาย ธรรมะ คือ รูปแบบของการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง มีหน้าที่ (กรรม) อยู่ 2 ชนิด คือ นิตยกรรม (Nitya Karma) กับกัมยกรรม (Kamya Karma) นิตยกรรม คือ กรรมที่ทำทุกวัน ส่วนกัมยกรรม คือ กรรมที่ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์พิเศษบางอย่าง คนเราควรทำการบูชาต่อเทพเจ้า ไม่จำเป็นต้องรอให้พระเจ้ากรุณาหรือบันดาลให้ ปูรวมีมางสาทรรศนะเกี่ยวข้องอยู่กับจริยศาสตร์ด้านการใช้พลังที่บริสุทธิ์ และไม่โจมตีปัญหาเกี่ยวกับความจริงอันสูงสุด ผูกพันอยู่กับการประกอบพิธีบูชายัญเท่านั้น.

       6.  อุตตรมีมางสาทรรศนะ ฤๅษีภัทรยานะ (Bhadrayāna) เป็นผู้แต่ง โดยเขียนเป็นสูตร (สั้น ๆ ) ไว้ 555 สูตร ซึ่งแบ่งออกเป็นบทใหญ่ได้ 4 บท บทที่ 1 อธิบายเรื่องลักษณะ (ธรรมชาติ) ของพรหมมัน ความสัมพันธ์ของพระหมมันกับโลกกับปัจเจกวิญาณ (individual soul-ชีวาตมัน) บทที่ 2 อธิบายเรื่องการคัดค้าน บทที่ 3 อธิบายเรื่องแนวทางและวิธีบรรลุถึงพรหมวิทยา บทที่ 4 อธิบายเรื่องผลของพรหมวิทยาและอนาคตของวิญญาณ (soul) หลังตาย (ชีวิตหลังตาย).

---------------
หมายเหตุ การขยายความ

01. ระบบพราหมณ์ทั้งหก หรือ ษัษทรรศนะ Shad-darśanas (ษษฺ หรือ ษฏฺ - षट्)
02. จาก. หนังสือ ประวัติศาสตร์อินเดียโบราณ, หน้าที่ 35-38, ผศ.รท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ, สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2555, กรุงเทพฯ. ซึ่งทรรศนะที่ 6 นั้น จะแตกต่างจากผู้เขียนท่านอื่น โดยนักเขียนท่านอื่นจะเป็นเวทานตะ ส่วนอาจารย์บรรจบจะเป็นอุตตรมีมางสาทรรศนะ.
 
info@huexonline.com