MENU
TH EN
Title Thumbnail & Hero Image: วัดพญาแมน, ที่มา: Facebook ห้อง "ราชธานีศรีอยุธยา", วันที่เข้าถึง 11 กรกฎาคม 2564.
177. วัดพญาแมน
First revision: Jul.15, 2020
Last change: Jul.11, 2021
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา.

       วัดพระยาแมน หรือวัดพญาแมน เป็นวัดร้างตั้งอยู่นอกเกาะเมืองอยุธยาด้านทิศเหนือ ในพื้นที่บริเวณทุ่งขวัญที่ตำบลลุมพลี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยวัดพระยาแมนได้รับการประกาศให้เป็นโบราณสถานของชาติ แต่ไม่ได้กำหนดขอบเขต เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 หลังจากนั้น จึงได้รับการขึ้นทะเบียนแบบกำหนดขอบเขตอีกครั้ง เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2523.

       วัดมีกำแพงแก้วล้อม มีพระอุโบสถเป็นประธานของวัด ด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันออกของพระอุโบสถมีพระปรางค์ 2 องค์ตั้งอยู่คู่กัน ลักษณะแผนผังดังกล่าวนิยมสร้างในอยุธยาตอนปลาย จากการศึกษาทางโบราณคดีสรุปว่า วัดนี้สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 22 - 22 ในสัมยอยุธยาตอนกลาง - ปลาย และมีการใช้งานเรื่อยมาจนกระทั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ.2310 จึงถูกทิ้งร้างไป.

       วัดพระยาแมนเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยไม่ปรากฏนามผู้สร้างและไม่ทราบว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยใด แต่ชื่อวัดพระยาแมนปรากฏในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา กล่าวคือ ก่อนที่สมเด็จพระเพทราชาจะได้ครองราชสมบัตินั้น ผนวชอยู่ที่วัดพระยาแมน โดยพระอาจารย์อธิการได้ทำนายว่าพระองค์จะได้ขึ้นครองราชสมบัติ รวมทั้งยังได้ให้โอวาทานุสาสน์ในสมณะกิจทั้งปวง ดังนั้น เมื่อสมเด็จพระเพทราชาได้เสวยราชสมบัติแล้วจึงทรงพระราชดำริถึงคุณพระอาจารย์อธิการวัดพระยาแมน จึงเสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดพระยาแมนเพื่อถวายนมัสการพระอาจารย์ แล้วมีพระราชดำรัสให้ให้สร้างพระอารามให้ถาวรขึ้นกว่าเก่า เมื่อสร้างแล้วเสร็จทรงพระกรุณาให้มีการสมโภช 3 วัน (บางหลักฐานว่า 7 วัน 7 คืน)03. และทรงตั้งพระอาจารย์อธิการวัดพระยาแมน ชื่อ พระยาศรีสัจจญาณมุนี ราชาคณะ ฝ่ายคามวาสี พร้อมถวายเครื่องสมณบริขารพร้อมตามศักดิ์พระราชาคณะทุกประการ จากพงศาวดารแสดงให้เห็นว่าสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ล้วนเป็นฝีมือช่างคราวปฏิสังขรณ์ในครั้งนั้นทั้งสิ้น01.

       จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่าพระอุโบสถเป็นที่ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระเพทราชาได้สร้างซ้อนทับพระอุโบสถหลังเดิมของวัดซึ่งแสดงให้เห็นว่าได้มีการปฏิสังขรณ์ ดังนั้นที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ล้วนเป็นฝีมือช่างคราวปฏิสังขรณ์ในครั้งนั้นทั้งสิ้น

       สอดคล้องกับหลักฐานที่บันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารถ้าจะหาดูสถาปัตยกรรมสมัยสมเด็จพระเพทราชาอย่างแท้จริง นอกจากจะต้องไปดูที่วัดบรมพุทธารามในเกาะเมืองแล้ว ก็ยังมีที่วัดพระยาแมนแห่งนี้ โดยเฉพาะที่พระอุโบสถจะสังเกตเห็นว่ามีซุ้มประตูยอดราวกับถอดแบบพิมพ์เดียวกัน.

       ซึ่งภายในอุโบสถของวัดพระยาแมนมีการเจาะซุ้มโค้งอันแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะสมัยสมเด็จพระนารายณ์ส่วนที่ผนังพระอุโบสถมีการเจาะเป็นช่องเล็ก ๆ เรียงรายเป็นชั้น ๆ แปลกกว่าพระอุโบสถทั่วไปที่เคยเห็น
นอกจากนี้ภายในวัดยังประกอบไปด้วยเจดีย์ประธานฐานแปดเหลี่ยมอยู่ทางด้านหลังพระอุโบสถ เยื้องไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเจดีย์ประธาน มีเจดีย์ย่อมุม 12 ตั้งอยู่คู่กันบริเวณด้านหน้าพระอุโบสถมีปลายขนาดเล็ก03.


       ในบริเวณวัด พบสิ่งปลูกสร้างเป็นถังน้ำประปาโบราณ และแนวท่อส่งน้ำเข้าสู่ตัวพระอุโบสถ อยู่ทางทิศตะวันออก ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่ามีการนำน้ำประปาไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใด02, 03.


ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย
01. จาก. th.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 11 กรกฎาคม 2564.
02. จาก. naewna.com, วันที่เข้าถึง 11 กรกฏาคม 2564.
03. จาก. ayutthayastation.com, วันที่เข้าถึง 11 กรกฎาคม 2564.
info@huexonline.com