MENU
TH EN
Title Thumbnail & Hero Image: คุ้มขุนแผน, ที่มา: กรมศิลปากร QR Code http://www.qrcode.finearts.go.th/index.php/th/display003/23-hp03-010, วันที่เข้าถึง 31 กรกฎาคม 2563.
024. คุ้มขุนแผน01.
First revision: Jun.02, 2020
Last change: Jul.30, 2020
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา

     คุ้มขุนแผน, เมื่อแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาล่มสลาย ราชธานีโยกย้ายไปตั้งในที่แห่งใหม่ที่กรุงเทพฯ อยุธยาก็ถูกทอดทิ้งให้รูปร่างเป็นป่าชัฎไปสิ้นทั้งเกาะ ตราบจนกระทั่งราวปี พ.ศ.2483 ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราซมาสู่ระบบประชาธิปไตย ดร.ปรีดี พนมยงค์ ผู้นำคนหนึ่งของคณะราษฎร์ซึ่งเป็นชาวอยุธยา ได้ทำการย้ายจวนสมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ของพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ ซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2437 จากวัดสะพานเกลือบริเวณเกาะลอย ตรงข้ามที่ว่าการมณฑล มาสร้างขึ้นในบริเวณคุกนครบาลเก่าแห่งนี้ และให้ชื่อบ้านทรงไทยกลุ่มนี้ว่า “คุ้มขุนแผน” โดยตัวของ ดร.ปรีดี พนมยงค์ก็มักจะมาพักอยู่เสมอ ๆ ระหว่างวันหยุดสัปดาห์ที่กลับมาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

     สาเหตุแห่งการตั้งชื่อที่พักแห่งนี้ว่า “คุ้มขุนแผน” เป็นเพราะความซาบซึ้งในวรรณกรรมของไทยเรื่องขุนช้าง - ขุนแผน ซึ่งในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่าระบุว่า เรื่อง ขุนช้าง - ขุนแผน เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีในแผ่นดินสมเด็จพระพันวษา ซึ่งเมื่อสืบเหตุการณ์ตามท้องเรื่องแล้ว เชื่อได้ว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในราวแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ระหว่างจุลศักราช 853-891 (พ.ศ 2034-2073) เรื่องราวของขุนช้าง - ขุนแผนที่เป็นเรื่องแบบชาวบ้าน ๆ เล่าขานกันสืบมา จนกลายเป็นนิทานที่กล่าวเติมเสริมแต่งให้มีรสมีชาติมากยิ่งขึ้น จะมีก็แต่เนื้อหาสาระใหญู่ ๆ ของเรื่องเท่านั้นที่มีเค้าของความจริงอยู่บ้าง เเละดัวยความประทับใจในเนื้อเรื่อง เมื่อนำบ้านหลังนี้มาสร้างขึ้นในบริเวณที่เป็นคุกนครบาล ก็เลยตั้งชื่อให้สอดคล้องกับการที่ขุนแผนมาดิดคุกนครบาลแห่งนี้ด้วย ดังบทประพันธ์ที่ว่า

     ฝ่ายพวกนครบาลได้รับสั่ง      เข้าล้อมหน้าล้อมหลังอยู่เป็นหมู่
พาขุนแผนคุมออกนอกประตู            พระหมื่นศรีเอ็นดูร้องสั่งไป
ฝากด้วยเถิดพ่อเจ้าทุกเช้าคํ่า           จองจำแต่พออัชฌาสัย
นครบาลรับคำแล้วนำไป                   เอาตัวเข้าคุกใหญ่ในทันที

     ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้บูรณะเรือนไทยกลุ่มนี้ และมอบให้อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากรมาจนถึงปัจจุบันนี้.




ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย:
01. จาก. กรมศิลปากร QR Code http://www.qrcode.finearts.go.th/index.php/th/display003/23-hp03-010, วันที่เข้าถึง 31 กรกฎาคม 2563.



PHOTO GALLERY
ภาพที่ 01-02: คุ้มขุนแผน, ที่มา: กรมศิลปากร QR Code http://www.qrcode.finearts.go.th/index.php/th/display003/23-hp03-010, วันที่เข้าถึง 31 กรกฎาคม 2563.

PHOTO
GALLERY
humanexcellence.thailand@gmail.com