MENU
TH EN
Title Thumbnail: เพดานธรรมมาสน์ วัดครุฑ สลักลายดอกบัวใหญ่เต็มกลางแผ่นไม้ และมีลายประจำมุมสี่มุมล้อมรอบด้วยลายกลีบบัวเป็นกรอบนอกและลายพรรณพฤกษา, จาก. Facebook ห้อง "เที่ยวเมืองกรุงเก่า" ที่สืบค้นต่อมาจาก CUIR, วันที่เข้าถึง 10 เมษายน 2563 และ Hero Image: ภาพวัดครุฑธาราม จาก bloggang.com, วันที่สืบค้น 03 เมษายน 2563.

180. วัดครุฑ หรือ วัดครุธาราม
First revision: Apr.03, 2020
Last change: Aug.09, 2020
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา

     จาก "คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง" ส่วนหนึ่ง มีเนื้อความว่า "...พระองค์ (พระบรมเอกทัศ) จึงบำรุงพระศาสนาแล้วครอบครองบ้านเมืองก็อยู่เย็นเป็นสุขมา แล้วพระองค์ก็สร้างอารามชื่อวัดละมุด แล้วสร้างวัดครุฑธาวาสวัดหนึ่ง พระองค์จึงฉลองเลี้ยงพระสงฆ์พันหนึ่งจึงถวายไตรจีวรหรือเครื่องสังเคตพันหนึ่ง เครื่องเตียบสิ่งและพัน ต้นกัลปพฤกษ์ก็พันหนึ่ง จึงแจกทานสารพัดสิ่งของนา ๆ สิ่งละพัน แจกอาณาประชาราษฎร์ทั้งปวงเป็นอันมาก จึงปลายเงินทองวันละสิบชั่ง 7 วันเป็น 70 ชั่ง จึงให้มีการมหรสพทั้งปวงสรรพสิ่งต่าง ๆ เป็นการใหญ่ถ้วน 7 วันแล้ว พระองค์จึงหลั่งทักษิโณทกตกลงเหนือแผ่นพระสุธา จึงแผ่กุศลให้แก่สัตว์ทั้งปวง แล้วเสด็จคืนเข้ามายังพระราชวังพระองค์ตั้งอยู่ในธรรมสุจริต บพิตรเสด็จไปถวายนมัสการพระศรีสรรเพชญ์ทุกเพลามิได้ขาด พระบาทจงกรมอยู่เป็นนิจบพิตรตั้งอยู่ในทศพิธ 10 ประการ แล้วครอบครองกรุงขันธสีมา ทั้งสมณพราหมณาก็ชื่นชมยินดี ปรีเป็นสุขนิราศทุกขภัย ด้วยเมตตาบารมีทั้งฝนก็ดีบริบูรณ์ พูนความสุขมิได้กันดารทั้งข้าวปลาอาหารและผลไม้มีรสโอชา ฝูงอาณาประชาราษฎร์และชาวนิคมชนบทก็อยู่เย็นเกษมสานต์มีแต่จะชักชวนกันทำบุญให้ทานและการมหรสพต่าง ๆ ทั้งนักปราชญ์ผู้ยากผู้ดีมีแต่ความสุขทั่วทุกขอบขัณธเสมา"01.

 

     วัดครุฑ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ อยู่นอกเกาะเมืองอยุธยา อยู่ ณ ตำบลคลองสระบัว อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000 หรืออยู่ปลายคลองสระบัวฝั่งตะวันออก มีจารึกที่พระอุโบสถระบุว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) ในปี พ.ศ.2302 พระอุโบสถเป็นอาคารขนาดย่อมฐานอาคารแอ่นโค้ง ด้านหน้าต่อมุขยื่นและมีหลังคาจั่นหับคลุม ซึ่งเป็นแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย (ปรับปรุงจาก: ผู้ใช้นามว่า "เผ่าพันธุ์ ฅนเดินทาง สิ่งดี รอยยิ้ม จริงใจ" ใน Google Map, วันที่เข้าถึง 16 เมษายน 2563.)
 
          
ภาพจากซ้ายไปขวา: ภาพวาดพระเจ้าเอกทัศ, ที่มา : i.pinimg.com, วันที่เข้าถึง 16 เมษายน 2563, และภาพวัดครุฑ จาก bloggang.com, วันที่สืบค้น 03 เมษายน 2563.

 

เพดานธรรมมาสน์ วัดครุฑ สลักลายดอกบัวใหญ่เต็มกลางแผ่นไม้ และมีลายประจำมุมสี่มุม
ล้อมรอบด้วยลายกลีบบัวเป็นกรอบนอกและลายพรรณพฤกษา
02.
 
 

บันไดนาค ธรรมมาสน์วัดครุฑ สลักเป็นลำตัวพญานาคประดับด้วยลายกระหนก ส่วนเชิงบันได เป็นรูปมกรคายพญานาค02.


ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย
01. จาก. bloggang.com, วันที่สืบค้น 03 เมษายน 2563.
02. จาก. Facebook ห้อง "เที่ยวเมืองกรุงเก่า" ที่สืบค้นต่อมาจาก CUIR, วันที่เข้าถึง 10 เมษายน 2563



Gallery
ภาพที่ 01-02, 10:  บันไดนาค ธรรมาสน์วัดครุฑ สลักเป็นลำตัวพญานาคประดับด้วยลายกระหนก ส่วนเชิงบันได เป็นรูปมกรคายพญานาค
ภาพที่ 02:  บันไดนาค ธรรมาสน์วัดครุฑ สลักเป็นลำตัวพญานาคประดับด้วยลายกระหนก ส่วนเชิงบันได เป็นรูปมกรคายพญานาค
ภาพที่ 03, 28:  บันไดนาค ธรรมาสน์วัดครุฑ สลักเป็นลำตัวพญานาค ส่วนเชิงบันไดเป็นมกรคายพญานาคชูเศียรขึ้นสู่เบื้องบน ขันบันไดสลักเป็นรูปดอกบัวประดับ
ภาพที่ 04-09:  นาคเชิงบันไดธรรมาสน์วัดครุฑ สลักรูปมกรคายพญานาคชูเศียรขึ้นสู่เบื้องบน แกะสลักลายกระหนกประกอบงดงามมาก
ภาพที่ 11, 14-19:  ฐานสิงห์ประดับส่วนล่างของธรรมาสน์วัดครุฑ โดยฐานสิงห์ชั้นบนมีการประดับแผงกระทงธรรมาสน์สลักลวดลายพรรณพฤกษา ส่วนฐานสิงห์ชั้นล่าง บริเวณแข้งสิงห์สลักเป็นรูปพญานาคหลายเศียรงดงามมาก.
ภาพที่ 12-13:  ฐานสิงห์ประดับส่วนล่างของธรรมาสน์วัดครุฑ โดยฐานสิงห์ชั้นบนมีการประดับแผงกระทงธรรมาสน์สลักลวดลายพรรณพฤกษา
ภาพที่ 20-21:  กาบพรหมศรประดับเสาธรรมาสน์
ภาพที่ 22:  ประจำยามรัดอก ประดับเสาธรรมาสน์วัดครุฑ ประดับลายดอกไม้ตรงกลางล้อมรอบด้วยลายกระหนก.
ภาพที่ 23-24:  กระทงธรรมาสน์สลักลายกระหนกและพรรณพฤกษา ใช้ประดับที่พนักธรรมาสน์วัดครุฑ.
ภาพที่ 25:  
เพดานธรรมมาสน์ วัดครุฑ สลักลายดอกบัวใหญ่เต็มกลางแผ่นไม้ และมีลายประจำมุมสี่มุมล้อมรอบด้วยลายกลีบบัวเป็นกรอบนอกและลายพรรณพฤกษา
ภาพที่ 26-27:  กวางจำหลักไม้ ประดับที่เชิงบันไดธรรมาสน์วัดครุฑ กวางจำหลักไม้นี้ อาจสื่อความหมายถึง ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน สถานที่ซึ่งพระบรมศาสดาทรงแสดงปฐมเทศนาเป็นครั้งแรก.
 

PHOTO
GALLERY
humanexcellence.thailand@gmail.com