MENU
TH EN
Title Thumbnail & Hero Image: วัดโคกพระยา ถ่ายไว้เมื่อ 30 มิถุนายน 2561
149. วัดโคกพระยา
First revision: Jan.10, 2020
Last change: May 23, 2021
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา

     วัดโคกพระยา ตั้งอยู่นอกเกาะเมืองอยุธยาทางด้านทิศเหนือ วัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เจดีย์ทรงระฆังเป็นประธานของวัด ด้านหน้าของเจดีย์ประธานเป็นวิหาร มีกำแพงแก้วล้อมรอบวัด
     วัดโคกพระยาเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาระบุ ในปี พ.ศ.1925 แผ่นดินพระราเมศวรว่า เป็นที่สำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้าทองลัน
     จากมาตราที่ 201 ของกฎมณเฑียรบาล ซึ่งตราขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ระบุอย่างชัดเจนว่า การสำเร็จโทษเชื้อพระวงศ์ ให้กระทำที่วัดโคกพญา
     จากการศึกษาทางโบราณคดีสามารถสรุปได้ว่า วัดโคกพระยานี้สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น และถูกทิ้งร้างไปเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ.2310 ต่อมาในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์มีหลักฐานว่ามีผู้คนเข้ามาใช้พื้นที่บริเวณวัดโคกพระยาอีกครั้งหนึ่ง01.



       วัดโคกพระยา เป็นวัดโบราณวัดหนึ่งที่มีหลักฐานกล่าวถึงในประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยเริ่มสถาปนาพระนครศรีอยุธยาเพราะเป็นสถานที่ใช้ในการสำเร็จโทษพระเจ้าแผ่นดิน และพระบรมวงศานุวงศ์มาตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระราเมศวร รัชกาลที่ 2 แห่งสมัยพระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานี เป็นต้นมา.

       บัญชีวัดร้างในอำเภอรอบกรุงซึ่งสำรวจเมื่อครั้ง ร.ศ. 123 (พ.ศ.2447) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระบุชื่อวัดโคกพระยาอยู่ในตำบลบ้านลุมภาลี มีเนื้อที่ 7 ไร่ 1 งาน 94 ตารางวา เป็นวัดที่อยู่ในกลุ่มตำบลเดียวกัน 9 วัด คือ 1). วัดสนามกราย 2). วัดพระยาร่อง 3). วัดสี่เหลี่ยม 4). วัดโคกพระยา 5). วัดโคก 6). วัดรั้งพระยาแมน 7). วัดดอนกระต่าย 8). วัดตูมน้อย 9). วัดจงกลม.

       ต่อมาในแผนที่กรุงศรีอยุธยา ฉบับพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) สมุหเทศาภิบาล เสร็จราชการมณฑลอยุธยา และอุปนายกราชบัณฑิตยสภา แผนกโบราณคดี ตรวจสอบเมื่อ พ.ศ.2469 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ห่างกัน 22 ปี ปรากฏว่า ชื่อวัดในกลุ่มนี้ทั้งหมดเปลี่ยนแปลงหรือหายไปรวมทั้งชื่อวัดโคกพระยา.

        เมื่อราว พ.ศ.2511 ดร.สุเมธ ชุมสาย ได้ตรวจสอบและชำระแผนที่โดยอาศัยเค้าโครงของแผนที่พระยาโบราณราชธานินทร์ เพื่อประกอบแผนการพัฒนาเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา วัดต่าง ๆ ที่หายไปหลายวัดในช่วง พ.ศ.2447 ได้กลับมามีชื่อปรากฏในแผนที่อีกครั้ง เช่น วัดโคกพระยา วัดสี่เหลี่ยม วัดพระยาแมน และวัดจงกลม นอกจากนั้น ในกลุ่มของทุ่งภูเขาทองซึ่งแต่เดิมไม่มีวัดโคกพระยา ได้ปรากฏชื่อวัด “โคกพระยา” ขึ้นมาอีกวัดหนื่ง ณ ตำแหน่งที่เคยเป็นวัดร้างใกล้กับภูเขาทอง ตามแผนที่ของกรมแผนที่ทหารบก สำรวจเมื่อปี พ.ศ.2458 พิมพ์เมื่อปี พ.ศ.2463.

        พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาได้กล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับวัดโคกพระยาหลายตอน ซึ่งจะนำมาใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาว่า วัดโคกพระยา ที่แท้จริงนั้นควรจะอยู่ ณ ที่สุดในพระนครศรีอยุธยา
        ครั้งที่ 1 ในแผ่นดินสมเด็จพระราเมศวร (ครั้งที่ 2) ในพงศาวดารระบุว่า “สมเด็จพระราเมศวรเสด็จลงมาแด่เมืองลพบุรีเข้าในพระราชวัง กุมเอาเจ้าทองลันได้ ให้พิฆาตเสีย ณ วัดโคกพระยา”
         ครั้งที่ 2 ในแผ่นดินขุนวรวงศาธิราช พ.ศ.2072 ขุนวรวงศาธิราชเจ้าแผ่นดินคิดกับเจ้าแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ให้เอาพระยอดฟ้าไปประหารชีวิตเสีย ณ วัดโคกพระยา
         ครั้งที่ 3 กล่าวถึง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าเสด็จยกพยุหโยธาทวยหาญ ออกไปดูกำลังข้าศึก ณ ทุ่งภูเขาทองเสด็จยืนพระคชาธารประมวลพลบเลคชพยุห โดยกระบวนตั้งอยู่ ณ โคกพระยา
         ครั้งที่ 4 ปลายแผ่นดินสมเด็จพระศรีเสาวภาค พ.ศ.2145 พระศรีศิลป์บวชอยู่วัดระฆัง ไดัสมณฐานันดรเป็นพระพิมลธรรม สึกออกเข้าพระราชวังได้คุมเอาพระเจ้าแผ่นดินไปให้พันธนาการไว้มั่นคง รุ่งขึ้นให้นิมนต์พระสงฆ์บังสุกุล 100 ให้ธูปเทียนสมาธิแล้วก็ให้สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ เอาพระศพไปฝัง ณ วัดโคกพระยา แล้วเสด็จขึ้นผ่านพิภพกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา ทรงพระนามสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงธรรม
         ครั้งที่ 5  บรรดาเหล่าเสนาพฤฒามาตย์ราชปุโรหิตาจารย์ทั้งหลาย มีเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์เป็นประธาน อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระเชษฐาธิราช พระราชโอรส องค์ปฐมของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ขื้นราชาภิเษก พระพันปีศรีศิลป์ผู้เปนพระอนุชาลอบหนีไปซ่องสุมผู้คนที่เมืองเพชรบุรี จะยกเข้ามา สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินตรัสทราบเหตุให้แต่งกองทัพออกไปจับกุมพระพันปีศรีศิลป์ได้ เอาตัวมาประหารชีวิตเสีย ณ วัดโคกพระยา
         ครั้งที่ 6 เจ้าฟ้าชัยได้ครองราชสมบัดิ ครั้นอยู่มาสมเด็จพระนารายณ์เป็นเจ้า คบคิดด้วยพระศรีสุธรรมราชา ซ่องสุมผู้คนพร้อมแล้วก็ยกเข้ามาในพระราชวัง กุมเอาเจ้าฟ้าชัยไปสำเร็จโทษเสีย ณ โคกพระยา
         ครั้งที่ 7 เมื่อสมเด็จพระนารายณ์เป็นเจ้าเข้าไปในพระราชวังหลวง เสด็จขึ้นพระราชมณเฑียรพระวิหารสมเด็จในวันเดียวกันนัน เสนาบดีก็ไปตามสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาธิราชได้ ณ วังหลัง ก็ให้ไปสำเร็จโทษ ณ โคกพระยาตามประเพณี
         ครั้งที่ 8  ศักราช 1064 ปีวอก จัตวาศก (พ.ศ.2245) สมเด็จพระเจ้าเสือให้ชาวที่เชิญเจ้าพระขวัญเข้ามาถึงดำหนักหนองหวาย แล้วก็ประหารเสียด้วยท่อนจันทน์ เสร็จแล้วก็ให้เอาพระศพใส่ถุงแล้วใส่ลงในแม่ขันให้ข้าหลวงเอาออกไปฝังเสีย ณ วัดโคกพระยา

       เหตุการณ์ที่กล่าวถึงในพระราชพงศาวดารมีตั้งแต่รัชกาลของสมเด็จพระราเมศวรเรื่อยลงมาจนถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือเพียง 8 ครั้ง 7 ครั้ง เป็นเรื่องการสำเร็จโทษ อีก 1 ครั้งเป็นเรื่องการดั้งทัพ แต่จากการสำรวจทำแผนที่วัดร้างในพระนครศรีอยุธยาในสมัยหลังต่อมา เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ตังกล่าวนั้นสิ้นสุดลงแล้ว ได้ปรากฏชื่อวัดโคกพระยาขึ้นถึง 2 แห่ง จึงได้สร้างความสับสนขึ้นเเก่ นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีเป็นอย่างยิ่งว่าวัดใดคือวันโคกพระยาที่กล่าวถึงในประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่แท้จริง เพราะต่างฝ่ายต่างก็มีเหตุผลของตนเองมาเป็นเครื่องประกอบในการพิจารณา เช่น เหตุผลที่ว่าวัดโคกพระยาที่ตามแผนที่กำหนดว่าอยู่เหนือวัดหัสดาวาสและวัดหน้าพระเมรุนั้น เป็นวัดที่อยู่ห่างไกลจากตัวเมืองไม่มากนัก หากจะมีการนำพระเจ้าแผ่นดินหรือพระบรมวงศานุวงศ์ไปสำเร็จโทษ ณ ที่นั้น ก็จะเป็นที่ปลอดภัยจากการแย่งชิงตัวนักโทษ แต่ถ้านำไปประหารที่โคกพระยาซื่งอยู่ถึงกลางทุ่งภูเขาทองห่างจากตัวเมืองออกไปประมาณ 2 กิโลเมตร ก็จะเสี่ยงกับการเเย่งชิงดัวนักโทษ จึงน่าจะไม่สมเหตุสมผลที่กล่าวว่าวัดโคกพระยาอยู่ที่ทุ่งภูเขาทอง ส่วนอีกเหดุผลหนึ่งก็อ้างถึงเหตุการณ์ตอนสมเด็จพระมหาจักรพรรดิยกกองทัพออกมาจากพระนครศรีอยุธยา มาตั้งทัพรอฤกษ์อยู่ที่วัดโคกพระยา ถ้าวัดโคกพระยา ดั้งอยู่เหนือวัดหัสดาวาส ก็น่าจะไม่สมเหตุสมผลเพราะขบวนกองทัพจำนวนมากจะมาตั้งทัพกระจุกกันอยู่ ณ ที่ ๆ ไม่ห่างไกลเมืองไปได้อย่างไร โคกพระยาที่กล่าวถึงในเหดุการณ์นี้จึงควรจะมีตำแหน่งอยู่ ณ กลางทุ่งภูเขาทองจึงจะเหมาะสมแก่เหตุผลที่จะรบกันได้ เป็นต้น.

       พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา กล่าวถึงเหตุการณ์ตอนสมเด็จพระสุริโยทัยพระอัครมเหสีของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงถูกพระเจ้าแปรฟันขาดคอช้างในคราวตามเสด็จ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิออกไปดูกำลังข้าศึกครั้งนั้น ณ สมรภูมิทุ่งภูเขาทองไว้โดยละเอียด ดังนี้

        “ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ยกทัพข้ามกาญจนบุรีมาถึงพระนครศรีอยุธยา ณ วันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 4 ตั้งค่ายหลวงตำบลกุ่มดอง ทัพพระมหาอุปราชาตั้งค่ายตำบลเพนียด ทัพพระเจ้าแปรตั้งค่ายตำบลบ้านใหม่มะขามหย่อง ทัพพระยาพสิมตั้งค่ายตำบลทุ่งวัดวรเชษฐ

        ครั้นรุ่งขึ้น ณ วันอาทิตย์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าเสด็จยกพยุหโยธาทวยหาญออกไปดูกำลังข้าศึก ณ ทุ่งภูเขาทอง จึงทรงเครื่องอลังการยุทธเสด็จทรงช้างต้นพลายแก้วจักรพรรดิ สูงหกศอกคืบห้านิ้วเป็นพระคชาฑร ประดับคชาลังกาภรณ์เครื่องมั่น มีกลางช้างและควาญ พระสุริโยทัยผู้เป็นเอกอัครราชมเหสีประดับพระองค์เป็นพระยามหาอุปราช ทรงเครื่องสำหรับราชณรงค์ เสด็จทรงช้างพลายทรงสุริยกษัตริย์สูงหกศอกเป็นพระคชาธาร ประดับคชาภรณ์เครื่องมั่นเสร็จ มีกลางช้างและควาญ พระราเมศวรทรงเครื่องสิริราชปิลันธนาวราภรณ์ สำหรับพิชัยยุทธสงครามเสร็จ เสด็จทรงช้างต้นพลายมงคลจักรพาฬสูงห้าศอกคืบแปดนิ้ว ประดับกุญชรอลงกตเครืองมั่นมีกลางช้างและควาญ ครั้นได้มหาศุภวารฤกษ์ราชดฤถีพระโหราลั่นฆ้องชัยประโคมอุโฆษแตรสังข์อึงอินทเภรี สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าก็ยาตราพระคชาธารข้ามฟากไป พระอัครมเหสีและพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์โดยเสด็จ เหล่าคชพยุหดั้งกันแทรกแซงค่ายค้ำพังคาโลดแล่น มีทหารประจำขี่กรกุมปืนปลายขอประจำคอทุกตัวสาร ควาญประจำท้ายล้อมเป็นกรรกงโดยขนัด แล้วถึงหมู่พยุหเสนากรโยธาหาญเดินเท้าถือดาบด๊้งเสโลโตมร หอกใหญ่หอกคู่ ธงทวนธนูปืนนกสับคับคั่งซ้ายขวาหน้าหลัง โดยกระบวนคชพยุหสงคราม เสียงเท้าพลและเท้าช้างสะเทือนดังพสุธาจะทรุด สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าเสด็จยืนพระคชาธาร ประมวลพลและคชพยุหโดยกระบวนตั้งอยู่ ณ โคกพระยา

          ฝ่ายกองตระเวนรามัญเห็นดังนั้น ก็เข้าไปกราบทูลพระเจ้าหงสาวดีโดยได้เห็นทุกประการสมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตรัสว่าชะรอยจะเป็นทัพพระมหาจ้กรพรรดิยกออกมาจะกระทำคชพยุหสงครามกับเรา พระองค์ตรัสให้ยกพลหลวงออกจากค่ายตั้งกระบวนสมเด็จพระเจ้าหงสาวดีทรงเกราะเครื่องพิชัยยุทธ ยอมทับถมด้วยวิชาศัสตราเวทย์คาถา แล้วสอดพระมหาสุวรรณสังวาลประดับเพชรพื้นถม สรรพคุณเวทคาถาต่างๆ ทรงพระมาลา ลงเลขยันต์กันสรรพศัสตราวุธภยันดราย สำหรับราชณรงค์ยุทธเสร็จเสด็จทรงช้างด้น พลายมงคลปราบทวีปสูงเจ็ดศอกเป็นพระคชาธารประดับคชาภรณ์เครื่องมั่นมีกลางช้างและควาญเครื่องูสงสำหรับราชณรงค์แห่โดยขนัดมีหมู่ทหารถือดาบดั้งหมื่นหนึ่งล้อมพระคชาธารพระเจ้าแปรทรงอลังการเครื่องพิชัยยุทธ ทรงช้างต้นพลายเทวนาคพินายูสงหกศอกคืบเจ็ดนิ้ว เป็นพระคชากร ประดับคชาภรณ์เครื่องมั่น มีความและกลางช้างยกเป็นกองหน้า มีทหารดาบสองมือพันห้าร้อยล้อมพระคชาธาร และข้างท้าวพระยารามัญคับคั่ง ทั้งกระบวนกรรกงเป็นขนัด เหล่าพยุหโยธาหาญเดินเท้าถือสรรพศัสตราดาดาษโดยกระบวน สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีก็ยกพยหโยธาทวยหาญออกทั้งยังท้องทุ่งตรงหน้าทัพสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ห่างกันประมาณร้อยเส้น เสด็จยืนพระคชาธารคอยฤกษ์


          จากความในพระราชพงศาวดารที่ยกมานี้จะเห็นว่า ทัพหลวงของฝ่ายหงสาวดี ตั้งอยู่ ณ ตำบลกุ่มดอง ซึ่งอยู่ที่ตำบลบ้านกุ่ม วัดจุฬามณี อำเภอบางบาล ห่างจากกำแพงพระนครศรีอยุธยาตามเส้นทางตรงประมาณ 12 กิโลเมตร ทัพพระมหาอุปราชาตั้งอยู่ตำบลเพนียด ทัพพระเจ้าแปรตั้งค่ายตำบลบ้านใหม่มะขามหย่อง เเละทัพพระยาพสิมตั้งค่ายอยู่ตำบลทุ่งวัดวรเชษฐ ซึ่งเมื่อตอนเดินทัพมานั้นทัพพระมหาอุปราชาเป็นทัพหน้า ทัพพระเจ้าแปรเป็นกองเกียกกาย และทัพพระยาพสิมเป็นกองหลังตามลำดับ แต่เมื่อมาประชิดพระนครศรีอยุธยาแล้วก็ได้แปรทัพทั้ง 3 ออกกระจายล้อมลงมาจากตอนเหนือของเมือง มีระยะห่างจากกำแพงพระนครฯ 100 เส้น หรือประมาณ 4 กิโลเมตร

          ในการรบครั้งนั้น การตั้งทัพรับของฝายทัพกรุงศรีอยุธยา มีกำลังพลน้อยกว่าพม่าข้าศึกถึง 10 เท่าดังนั้นการตั้งรบจึงจำเป็นที่จะด้องกระชับสมรภูมิทุ่งภูเขาทองให้แคบเข้า โดยพระมหานาควัดภูเขาทองได้สึกออกมารับอาสาตั้งค่ายกันทัพเรือ ตั้งค่ายแต่วัดภูเขาทองลงมาจนวัดป่าพลู พรรคพวกสมกำลังญาติโยมทาสชายทาสผู้หญิงของพระมหานาค ช่วยกันขุคคูนอกค่ายกันทัพเรือ จึงเรียกว่าคลองมหานาคในขณะเดียวกัน ก็ตรัสให้พระยาจักรีออกดั้งค่ายตำบลลุมพลี ถือพลหมื่นห้าพันม้วนใส่เสื้อแดงหมวกแดง

          ถ้าทัพพระมหาจักรพรรดิยืนช้างอยู่ที่วัดโคกพระยานอกบริเวณวัดภูเขาทองแล้ว ทัพพระเจ้าหงสาวดีจะอยู่ในรัศมีบ้านท้ายไผ่ บ้านพุทรา เขตเมื่อทัพทั้งสองต่างฝ่ายต่างเคลื่อนทัพเข้าหากันแล้วทัพพระเจ้าหงสาวดีที่อยู่ที่ตำบลกุ่มดอง จุดที่ยืนทัพห่างกันร้อยเส้น ก็น่าที่จะเป็นไปได้ที่ทัพของพระเจ้าหงสาวดีจะมาตั้งทัพรอพระฤกษ์อยู่ที่บ้านท้ายไผ่ บ้านพุทราและทัพพระมหาจักรพรรดิยืนข้างอยู่ที่วัดโคกพระยา ณ บริเวณทุ่งภูเขาทอง ในพระราชพงศาวดารไม่ได้กล่าวถึงการปะทะทัพกันระหว่างทัพพระมหาจักรพรรดิกับทัพพระเจ้าหงสาวดี เพราะตั้งอยู่ห่างจากกัน ดังนั้นเมื่อได้ฤกษ์ปะทะทัพ “สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ก็ขับพระคชาธารเข้าชนช้างกองหน้าพระเจ้าหงสาวดี พระคชาธารเสียทีให้หลังข้าศึกเอาไว้ไม่อยู่ พระเจ้าแปรได้ท้ายข้าศึกดังนั้น ก็ขับพระคชาธารตามไล่ช้างพระมหาจักรพรรดิ” ทั้งนีัเพราะทัพพระเจ้าเเปรตั้งอยู่ใกล้กว่า คือตำบลบ้านใหม่มะขามหย่อง ซึ่งฐานะของทัพพระเจ้าแปรได้ถูกปรับให้เป็นทัพหน้าไปโดยปริยาย การเสียทีเพลี่ยงพล้ำช้างของพระมหาจักรพรรดิเป็นไปได้หรือไม่ว่ามีเจตนาจะลวงทัพพระเจ้าเเปรให้เข้าซองที่ถูกกระหนาบโดยทัพของพระมหานาคเเละทัพพระยาจักรี เพราะฉะนั้นด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นมานี้ ตำแหน่งที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงประทับพระคชาธารรอพระฤกษ์อยู่ก่อน ปะทะทัพพระเจ้าแปรตามที่พระราชพงศาวดารกล่าวถึงนี้จึงน่าจะอยู่ ณ ตำแหน่งใกล้วัดภูเขาทอง

          หลักฐูานอีกชิ้นหนึ่งที่จะนำมาประกอบในการพิจารณาตำเเหน่งที่ตั้งของวัดโคกพระยา คือจดหมายเหตุของ (เจ) อิริมี ฟาน ฟลีต หรือที่เรียกกันว่า วันวลิต (JEREMIE VAN VLIET) ซึ่งเขียนในปี ค.ศ.1647 (พ.ศ.2190) ได้กล่าวถึงเหตุการณ์จลาจลในอาณาจักรสยาม ในรัชสมัยสมเด็จพระเชษฐาธิราชตอนหนึ่งว่า

           “ถ้าพระองค์ปรารถนาจะหนีเคราะห์กรรม ซึ่งจะบีบคั้นพระองค์จงทรงระมัดระวังออกญากลาโหมเพราะคนผู้นี้เป็นคนชั่วมีสันดานทรยศมาดั้งแด่หนุ่มเพราะฉะนั้น เขาจึงถูกลงพระอาญาอย่างหนักบ่อยครั้งด้วยพระราชโองการของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ก่อน เขาจะใช้เล่ห์กระเท่ห์อย่างเฉลียวฉลาด และจะชิงมงกุฎจากพระเศียรของพระองค์ ทั้งจะนำพระองค์ไปสู่ความตาย ตลอดจนเชื้อพระวงศ์ทุก ๆ พระองค์ของพระเจ้าอยู่หัวในพระโกศ ซึ่งทรงเป็นพระเชษฐาของหม่อมฉันและพระราชบิดาของพระองค์ เพื่อตั้งตัวเองเป็นกษัตริย์ครองบัลลังก์ต่อไป

           “พระเจ้าแผ่นดินมิได้มีความซาบซึ้งในคำแนะนำ ทั้งมิได้เกิดความสมเพชเวทนาเลย พระองค์ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงความตั้งพระทัย ทั้งได้ยึดมั่นอยู่ตรงกันข้ามทรงมีรับสั่งให้นำพระมหาอุปราชไปสำเร็จโทษโดยเร็ว พระมหาอุปราชจึงถูกนำตัวไปที่วัดชื่อพระเมรุโคกพญา (WAT PRAHIMIN KHOPIR JA) ตรงข้ามกับพระราชวัง เพชฌฆาตให้พระองค์นอนลงบนผ้าแดงและทุบพระองค์ที่พระนาภีด้วยท่อนจันทน์นี้เป็นวิธีสำเร็จโทษที่ใช้กันในประเทศสยาม ซึ่งใช้กับเจ้านายในราชตระกูลเท่านั้น เสร็จแล้วเขาใช้ผ้านั้นห่อพระ สรีระและไม้จันทน์ แล้วโยนลงไปในบ่อทิ้งให้พระศพเน่าเปื่อยไป

          ข้อความที่วัน วลิตเขียนดังกล่าวข้างด้น ตรงกับเหตุการณ์ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาที่ยกมากล่าวอ้างไว้ข้างต้นแล้วว่าเป็นเหตุการณ์ที่มีชื่อวัดโคกพระยาเป็นครั้งที่ 5 ว่าได้จับกุมพระพันปีศรีศิลป์พระอนุชาของพระเชษฐาธิราช มาประหารชีวิตเสีย ณ วัดโคกพระยา เพียงแต่ในจดหมายเหตุของวัน วลิตระบุสถานที่ของ “พระเมรุโคกพระยา” ไว้อย่างชัดเจนว่าอยู่ตรงข้ามกับพระราชวัง

          ด้วยเหตุผลและหลักฐานเกี่ยวกับวันโคกพระยาที่กล่าวมาข้างต้น จึงอาจสรุปได้ว่า ชื่อ “โคกพระยา” ที่กล่าวถึงมี 2 แห่งอยู่ ณ สถานที่ต่างกัน สถานที่ใช้สำเร็จโทษพระบรมวงศานุวงศ์น่าจะเป็นวัดโคกพระยา หน้าพระเมรุ ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับพระบรมมหาราชวังตามที่ ฟาน ฟลีต ได้บันทึกไว้ ส่วน “โคกพระยา” ที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงยืนช้างรอฤกษ์นั้นน่าจะดั้งอยู่ ณ ทุ่งภูเขาทอง และมิใช่ที่สำหรับใช้สำเร็จโทษพระบรมวงศานุวงศ์ของพระนครศรีอยุธยา

          วัดโคกพระยา (ร้าง) ที่กล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้เป็นลำดับแรก คือ วัดที่ตั้งอยู่เหนือวัดหน้าพระเมรุ ตำบลคลองสระบัว อำเภอพระนครศรีอยุธยา วัดแห่งนี้ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน และกำหนดเขตที่ดินไว้ 2 ไร่ 2 งาน 56 ตารางวา ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 97 ตอนที่ 163 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2523 หน้า 3624 ไว้เป็นโบราณสถานของชาติแล้ว โบราณสถานของวัดนี้ประกอบด้วย เจดีย์ประธาน เจดีย์ราย เจดีย์ทรงปรางค์ วิหาร และแนวกำแพงแก้ว ซึ่งได้รับการบูรณะแล้ว
 


วัดโคกพระยาบริเวณทุ่งภูเขาทอง
          โบราณสถานวัดโคกพระยาแห่งที่สองนี้ ตั้งอยู่ในตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา อยู่ห่างจากโบราณสถานวัดภูเขาทองมาทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 500 เมตร บริเวณโบราณสถานมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 40 ไร่ 3 งาน 81 ตารางวาพื้นที่ด้านทิศเหนือและตะวันออกติดกับที่นาของชาวบ้านและมีสระน้ำซึ่งขุดขึ้นใหม่ทางด้านทิศตะวันตกด้านทิศใต้มีถนนลูกรังทอดเป็นแนวยาว และมีลำคลองสองไพขนานกับเนินดินด้านทิศใต้

          จากการขุดแต่งบูรณะในพุทธศักราช 2541 ได้พบว่าโบราณสถานวัดโคกพระยานี้มีการก่อสร้าง 3 ครั้ง คือ

          สมัยแรก สันนิษฐานจากลักษณะของใบเสมาว่าตั้งอยู่ในสมัยอยุธยาตอนกลาง สถาปัตยกรรมรุ่นนี้คืออุโบสถและเจดีย์ ซึ่งก่อสร้างอยู่บนฐานยกสูงจากระดับพื้นดิน ด้วยการสร้างแนวกำแพงกันดินเป็นกรอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแล้วถมดินด้านในสำหรับเป็นฐานรองรับอาคาร โดยแนวกำแพงกันดินนี้สร้างเป็นฐานบัวลูกเเก้วอกไก่ และอาจใช้เป็นกำแพงแก้วของโบสถ์ในสมัยแรก
          เจดีย์ ตั้งอยู่บริเวณมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวัด ภายในแนวกำแพงแก้วเดียวกับโบสถ์ ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงกลม ฐานสี่เหลี่ยมขนาด 7.5*7.5 เมตร ส่วนยอดและองค์เจดีย์หักพังลงเหลือแต่ฐานและแกนด้านในองค์เจดีย์ซึ่งก่อเป็นแกนรูปกากบาท

          อุโบสถ เป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 14 เมตร ยาว 25 เมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเจดีย์ ลักษณะอาการที่ปรากฏเป็นอาคารที่มีประตูทางเข้า 4 ประตู มีทางเดินโดยรอบอุโบสถฐานไพทีด้านหลังกว้าง 3 เมตร พื้นปูกระเบื้องดินเผา จากการขุดฐานชุกชีพบชิ้นส่วนพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ 1 องค์และพบร่องรอยการพอกปูนทับฐานชุกชีของเดิม เสาอาคารเป็นเสาแปดเหลี่ยมมีทั้งหมด 10 ต้น
          จากการขุดตรวจฐานอาคารพบว่ามีการก่อสร้าง 2 สมัยด้วยกัน สมัยแรกใช้อิฐขนาด 28*14*4 เซนดิเมตร ภายนอกพบร่องรอยเสาพาไลรองรับ ซึ่งในสมัยหลังถูกปูทับด้วยกระเบื้องปูพื้น แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนรูปแบบตัวอาคารโดยในสมัยหลังได้มีการก่อผนังและเสสัาอาคารขึ้นใหม่ โดยใช้อิฐขนาดใหญู่และเปลี่ยนลักษณะอาการเป็นอาคารที่มีส่วนชายคาแคบลง รับน้ำหนักหลังคาด้วยคันทวยหรือเต้าแทนการใช้เสารับพาไลแบบสมัยแรก ส่วนพื้นอาคารนั้นมีการเสริมปูนและปูกระเบืัองดินเผาทับอาคารเดิม
          ใบเสมาที่พบมีความคล้ายคลึงกับใบเสมาของวัดวรเชษฐาราม (ในเมือง) ซึ่งเป็นวัดที่สร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ สมัยอยุธยาตอนกลาง

          สมัยที่ 2 ได้มีการบูรณะวัดโคกพระยาเพิ่มเติมโดยบูรณะพระอุโบสถและกำแพงแก้วที่อยู่รอบพระอุโบสถโดยพอกปูนฐานชุกชีและฉาบพื้นอุโบสถใหม่ดังที่กล่าวไว้ในเรื่องของอุโบสถ สำหรับกำแพงแก้วนั้น ได้ก่อพอกกำแพงแก้วด้านตะวันออกและตะวันตกให้หนาขึ้นสร้างกำแพงด้านทิศใต้เพิ่มอีก 1 แนว โดยทำเป็นฐานบัวแล้วถมดินเพื่อปรับระดับพื้นส่วนที่ขยายออกมาจากแนวฐานเดิมมาจนชิดแนวกำแพงนี้ ทำให้ขอบเขตของอุโบสถในสมัยนี้กว้างกว่าในสมัยแรกและใช้เป็นแนวกำแพงแก้วล้อมอุโบสถ ส่วนแนวกำแพงแก้วด้านเหนือคงใช้แนวเดิม

          สมัยที่ 3 ได้มีการบูรณะอุโบสถโดยปรับปรุงพื้นปูกระเบื้องและเปลี่ยนรูปแบบอาคารดังกล่าวมาแล้วในเรื่องอุโบสถ และมีการก่ออิฐบริเวณกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ให้หนาขึ้น ด้านทิศตะวันออกมีการก่อสร้างแนวกำแพงวัดใหม่แล้วถมดินปรับพื้นที่พร้อมกลบทับแนวกำแพงแก้วเดิมจนถึงระดับมีการก่อพอกและใช้แนวเดิมตั้งเเต่สมัยที่ 1 และฐานกำแพงแก้ว
          กำแพงเเก้วด้านทิศเหนือไม่พบรองรอยการพอกอิฐทับแต่ยังคงใช้แนวเดิม และได้มีการก่อสร้างเสาหัวเม็ดบริเวณมุมกำแพงแก้วแต่ละมุม และมีซุ้มประตูทุกด้านของกำแพงแก้ว
          ในสมัยนี้ ได้มีการสร้างกำแพงดินเพิ่มขึ้นอีกคือ ทางด้านทิศเหนือ ทิศตะวันตกและทิศใต้เพื่อเป็นขอบเขตในการปรับระดับลดขึ้นลงจากประตูซุ้มกำแพงแก้ว ทำให้พื้นที่โดยรอบนอกเขตกำแพงแก้วนี้มีระดับเท่ากันเป็นแนวที่อยู่นอกสุดของอุโบสถ แต่ทางทิศเหนือของอุโบสถมีลักษณะเป็นที่ลุ่ม จึงมีการสร้างแนวกำแพงกันดินเพื่อเป็นเขื่อนป้องกันฐานอุโบสถพัง โดยได้มีการก่ออิฐเป็นเอ็นยึดระหว่างแนวกันดินน้ำกับแนวกำแพงแก้ว และถมดินปรับระดับบริเวณแนวกำแพงกันเดินให้ได้ระดับเดียวกัน โดยปรับระดับนี้ไปจนถึงแนวกำแพงรอบวัดที่สร้างในสมัยนี้เช่นกัน
          ที่เจดีย์ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่มีการสร้างแท่นบริเวณฐานเจดีย์ด้านทิศใต้ คงจะใช้เป็นที่สำหรับวางเครื่องบูชาต่าง ๆ

          นอกจากอุโบสถและเจดีย์ยังมีอาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในวัดอีก ดังนี้
          1) อาคารวิหารหรือตำหนัก เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 10*26 เมตร ตัวอาคารมีห้องด้านหน้าและด้านหลังกว้าง 1.9 เมตร มีบันไดขึ้นด้านข้างบริเวณห้องทั้ง 2 ด้าน ด้านในมีแนวเสา 4 คู่ และมีมุขอีกด้านละ 1 คู่ ฐานอาคารเป็นฐานบัว อิงที่ผนังอาคารนี้มีขนาดใหญ่กว่าที่พบในอาคารอื่น ๆ
          2) อาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 6.4 เมตร ยาว 9 เมตร มีประตูทางเข้าภายในอาคาร เป็นประตูกลางผนังด้านสกัดทิศดะวันตก เนื่องจากพบร่องรอยธรณีประตู พื้นอาคารปูด้วยอิฐ ไม่พบร่องรอยของเสาภายในอาคารหรือเสาพาไล ภายนอกอาคารมีการสร้างแนวกำแพงกันตินแตะตกแต่งเป็นฐานบัว แล้วถมดินเพื่อยกระดับของอาคารให้สูงขึ้นจากระดับพื้นภายนอก
          3) อาคารเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก กว้าง 5 เมตร ยาว 8 เมตร ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าในข้อ 2)
          4) อาคารตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอุโบสถ ติดกับแนวกำแพงแก้วด้านทิศเหนือ ตัวอาคารมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 6.40 เมตร ยาว 10 เมตร พื้นอาคารปูกระเบื้องดินเผาเช่นเดียวกับพื้นอุโบสถ ด้านนอกอาคารพบแนวอิฐล้อมรอบอาคาร สันนิษฐานว่าเป็นแนวกันดินบริเวณอาคารนอกจากนี้ยังมีแนวอิฐเป็นทางเดินเชื่อมต่อกับซุ้มประตูอุโบสถด้านทิศตะวันตก
          5) อาคารที่ดั้งอยู่ดิดกับแนวกำแพงวัดด้านทิศเหนือ ระหว่างอุโบสถกับอาคาร ด้านทิศตะวันตกของอุโบสถ เป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็กกว้าง 4 เมตร ยาว 5.60 เมตร
          6) อาคารตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของอาคารวิหารหรือตำหนัก ตัวอาคารมีขนาดกว้าง 3.50 เมตร ยาวประมาณ 4 เมตร
          7) อาคารที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอาคารในข้อ 6 ตัวอาคารมีขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 7 เมดร สันนิษฐานว่าเป็นวิหาร อาคารนี้เหลือรองรอยของผนังบางส่วน

          แนวทางเดินของวัดแห่งนี้ มี 4 ทางได้แก่แนวทางเดินที่เป็นแนวอิฐทางเดินด้านทิศตะวันออกของอาคารในข้อ 2 กว้าง 2.20 เมดร
          แนวทางเดินซึ่งเชื่อมต่อระหว่างอุโบสถและอาคารในข้อ 4 เริ่มจากซุ้มประตูกำแพงเเก้วด้านทิศตะวันตกของอุโบสถไปยังอาคารในข้อ 4 กว้าง 1.70 เมดร
          แนวทางเดินเข้าวัดด้านทิศดะวันออก กว้างประมาณ 150 เชนติเมตร แนวทางเดินนี้ตัดผ่านแนวกำแพงวัดเข้าสู่เขตกำแพงแก้วของอุโบสถ โดยทางเข้านี้อยู่ทางทิศใต้ของเจดีย์
          แนวทางเดินซึ่งเป็นแนวพื้นทางเดินที่อยู่นอกกำแพงวัดทางด้านทิศใต้ แนวอิฐที่ปรากฏมีลักษณะไม่ค่อย เป็นระเบียบ
          แนวกำแพงอุโบสถ กำแพงแนวเหนือ - ใต้ มีความยาว 31 เมตร แนวดานตะวันออก - ตะวันตกยาว 48 เมตร แนวกำแพงนี้ครอบคลุมบริเวณอุโบสถและเจดีย์ แนวกำแพงด้านทิศตะวันตกและทิศใต้มีการก่อและเสริมขึ้นภายหลัง พบส่วนฐานของซุ้มประดูทางเข้าด้านทิศดะวันตกและทิศใด้ ทางด้านทิศดะวันออกมีแนวทางเดินทอดยาวออกไปนอกกำแพงวัด
          แนวกำแพงวัด กำแพงในแนวเหนือ - ใต้ มีความยาว 75 เมดร แนวตะวันออก – ตะวันตก ยาว 250 เมตร จากการขัดแย้งไม่พบซุ้มประตูทางเข้าวัดนอกจากแนวทางเดินจากบริเวณด้านนอกกำแพงวัดตัดผ่านแนวกำแพงนี้เข้าสู่บริเวณกำแพงแก้วของอุโบสถ
          กลุ่มแนวอิฐ ตั้งอยู่ใกล้แนวกำแพงด้านทิศตะวันตกของวัด ลักษณะเป็นเเนวอิฐก่อเป็นกรอบรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาต 15*15 เมตร มีจำนวน 2 แนว อยู่ห่างกันประมาณ 2 เมตร ตั้งอยู่ใกล้แนวกำแพงด้านทิศตะวันตกของวัด




ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย:
01. จาก. ป้ายอธิบายที่หน้าวัดโคกพระยา คัดลอกไว้เมื่อคราวไปถ่ายเก็บภาพและข้อมูลเมื่อ 30 มิถุนายน 2561.
02. จาก. เว็บไซต์อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา qrcode.finearts.go.th, วันที่เข้าถึง 22 พฤษภาคม 2564.



PHOTO GALLERY
ภาพที่ 01: วัดโคกพระยา ไม่ทราบวันที่ถ่าย, ที่มา: Facebook ห้อง "เที่ยวเมืองกรุงเก่า", วันที่เข้าถึง 28 เมษายน 2563. 

PHOTO
GALLERY
info@huexonline.com