MENU
TH EN
Title Thumbnail และ Hero Image: ภาพวัดไชยวัฒนาราม ถ่ายเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2560.
132. วัดไชยวัฒนาราม02.
First revision: Jan.09, 2020
Last change: May 25, 2021
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา

       วัดไชยวัฒนาราม ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 วัดไชยวัฒนารามถูกพม่ายึดและตั้งเป็นค่ายบัญชาการรบกับกรุงศรีอยุธยา วัดไชยวัฒนาราม เป็นพระอารามหลวงสมัยอยุธยา ที่สร้างขึ้นในสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาองค์ที่ 24 ซึ่งเป็นยุคที่ศาสนาเจริญรุ่งเรือง สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดไชยวัฒนารามขึ้นเมื่อ พ.ศ.2137 ในบริเวณนิวาสสถานของพระราชชนนี เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายพระราชมารดา วัดตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งตะวันตกของเกาะเมือง ตรงข้ามกับพระตำหนักสิริยาลัย ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา.

       เดิมวัดไชยวนาราม มีชื่อว่า "วัดชัยวัฒนาราม" ซึ่งสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า วัดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือกรุงละแวก จึงใช้คำว่า "ชัย" ที่หมายถึงชัยชนะ ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น "วัดไชยวัฒนาราม" โดยให้ "ไชย" หมายถึง "ไชโย" เป็นการประกาศความยิ่งใหญ่ของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และครอบคลุมรวมทั้งหมด รวมถึงชัยชนะด้วย.

       สำหรับการสร้างวัดนั้น สมเด็จพระเจ้าปราสาททองซึ่งเป็นกษัตริย์สมัยอยุธยาตอนปลาย ทรงแสดงปรางค์ขนาดใหญ่เป็นประธานของวัด เท่ากับเป็นการรื้อฟื้นศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้นที่นิยมสร้างปรางค์เป็นประธานของวัด เนื่องจากพระองค์ทรงได้เมืองเขมรมาอยู่ใต้อำนาจ จึงได้นำรูปแบบสถาปัตยกรรมขอมเข้ามาใช้ในการสร้างพระปรางค์ของวัดไชยวัฒนารามนี้ด้วย โดยตั้งใจจำลองแบบมาจากปราสาทนครวัดของกัมพูชา.

       ความสำคัญของวัดนี้ นอกจากจะเป็นวัดที่มีความสวยงามและมีการก่อสร้างไม่เหมือนวัดอื่น ๆ แล้ว วัดนี้ยังเป็นที่ฝังพระศพของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ หรือเจ้าฟ้ากุ้ง พระราชโอรสในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และกวีเอกสมัยอยุธยาตอนปลาย และเจ้าฟ้าสังวาลย์ ซึ่งเป็นพระชายาของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทั้งสองพระองค์ (เจ้าฟ้ากุ้งและเจ้าฟ้าสังวาลย์) ต้องพระราชอาญาจากการคบกัน ด้วยการโบยจนสิ้นพระชนม์ทั้งสองพระองค์01.


       ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันตกของพระนครศรีอยุธยาในหมู่แมกไม้บ้านส่วนและวัดวาอารามที่ดั้งอยู่เป็นระยะ ๆ ตั้งแต่หน้าวังหลังเรื่อยล่องมาตามสายน้ำจนถึงสามแยกใหญ่เเห่งกระเเสน้ำวนบางกะจะที่อุดมสมบูรณ์และคับคั่งไปด้วยเรือสำเภาของพ่อค้าวาณิชทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ บ้านเรือนที่ริมฝั่งแล้วล้วนเป็นพ่อค้าคหบดี และขุนนางชั้นสูงในราชสำนักแห่งพระนครศรีอยุธยา.

       ลุศักราช 2170 ปีเถาะนพศก ที่วัดมงกุฎผู้คนดูคึกคักและวุ่นวายสับสน ด้วยเป็นงานปลงศพมารดาเจ้าพระยากลาโหม ขุนนางชั้นผู้ใหญ่แห่งราชสำนัก บรรดาข้าราชการฝ่ายทหารพลเรือนผู้ใหญ่ผู้น้อยพากันออกไปช่วยงานและนอนค้างอ้างแรมอยู่เป็นอันมาก เป็นสาเหตุให้ข้าหลวงเดิมในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แสร้งนำความไปกราบบังคมทูลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นการลับว่า เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์คิดทำการครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก หากเอาการศพเข้ามาบังหน้าไว้ เห็นทีจะคิดประทุษร้ายต่อพระองค์เป็นมั่นคงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้มีวิจารณญาณให้ถ่องแท้ ก็ตกพระทัยตรัสให้เหล่าชาวป้อมล้อมพระราชวังขึ้นประจำหน้าที่ แล้วให้ขุนมหามนตรีออกไปหาตัวเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์เข้ามาเฝัา.

          ขณะนั้นหมื่นสรรเพชญูภักดี สอดหนังสือลับออกไปก่อนว่าพระราชโองการจะให้หาเข้ามาดูมวยบัดนีัเตรียมไว้พร้อมอยู่แล้วเมื่อเจ้าคุณจะเข้ามานั้นให้คาดเชือกเข้ามาทีเดียว ครั้นขุนมหามนตรีออกไปถึงกราบเรียนว่า พระราชโองการให้หา เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ซึ่งได้รับแจ้งเหตุอยู่แล้ว จึงว่าขึ้นท่ามกลางขุนนางทั้งปวงว่า.
         
           “เราทำราชการกตัญญูมาแต่ครั้งพระพุทธเจ้าหลวง ท่านทั้งปวงก็แจ้งอยู่สิ้นแล้ว เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จสวรรคตแล้ว ถ้าเรารักซึ่งราชสมบัติ ท่านทั้งหลายเห็นจะพ้นเราเจียวหรือ” ขุนนางทั้งปวงกราบแล้วจึงว่า ราชการทั้งปวงก็สิทธิ์ขาดอยู่เเก่ฝ่าเท้ากรุณาเจ้าสิ้น จะมีผู้ใดขัดแข็งนั้น ข้าพเจ้าทั้งปวงก็ไม่เห็นมีตัวแล้ว เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์จึงว่า “บัดนี้พระเจ้าแผ่นดินว่าเราทำการประชุม ขุนนางพร้อมมูลดังนี้คิดการกบฏ ก็ท่านทั้งปวงซึ่งมาช่วยด้วยสุจริตนั้นจะมิพลอยเป็นกบฏด้วยหรือ” ขุนนางทั้งปวงก็พร้อมกับกราบเรียนว่า “เป็นธรรมดาอยู่แล้วจึงว่าถ้าเท้ากรุณาจะทำการใหญ่จริง ข้าพเจ้าทั้งปวงจะขอเอาชีวิตสนองพระคุณตายก่อน

          ครั้นเพลาบ่ายสามโมงเศษ จุเพลิงเผาศพเสร็จแล้ว ได้เวลาอุดมฤกษ์เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ ก็ลงเรือพร้อมด้วยขุนนางทั้งปวงเข้าโจมตีวังหลวงได้ แด่ในเพลาคืนนั้น.

          ในปี พ.ศ.2173 ภายหลังจากข้าราชการขุนนางพร้อมใจกันปลดสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ซึ่งมีพระชนม์เพียง 9 พรรษา ลงจากราชบัลลังก์ และมอบราชสมบัติให้แก่เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์เจ้าพระยกลาโหมสุริยวงศ์ขึ้นผ่านพิภพเป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระนามเจ้าปราสาททอง แล้วพระราชทานปูบำเหน็จฆงวัลให้แก่ขุนนาง ข้าราชการตามสมควรแก่ฐานันดรศักดิ์ และที่บ้านสมเด็จพระพันปีหลังนั้น พระเจ้าอยู่หัวโปรดให้สถาปนาสร้างพระมหาธาตุเจดีย์มีพระระเบียงรอบ และมุมพระระเบียงนั้นกระทำเป็นเมรุทิศ เมรุรายอันรจนา และกอปรด้วยพระอุโบสถ พระวิหารการเปรียญ และสร้างกุฎีถวายพระสงฆ์เป็นอันมาก เสร็จแล้วให้นามชื่อ วัดชัยวัฒนาราม เจ้าอธิการนั้นถวายพระนามซื่ออชิตเถระ ราชาคณะฝ่ายอรัญวาสี ทรงพระราโชทิศถวาย นิภัตร.

          จากความในพระราชพงศาวดารข้างต้นจะเห็นได้ว่า สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงมีพระราชประสงค์ในการสร้างวัดไชยวัฒนาราม เพื่อถวายอุทิศให้เป็นอนุสรณ์สถานในนิวาสสถานเดิมของสมเด็จพระพันปีหลังหรือพระราชมารดาของพระองค์ประการหนื่ง และสร้างเป็นการเฉลิมพระเกียรดิพระองค์อีกประการหนึ่ง อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระเจ้าปราสาททองคงจะมีพระราชนิยมสถาปัดยกรรม ศิลปกรรมและลัทธินิยมแบบเทวราชของกัมพูชาโบราณเป็นอย่างมาก รูปแบบของสถาปัตยกรรมเเบบขอมจึงปรากฏย้อนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่รูปแบบของสถาปัตยกรรมเเบบนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไดรโลกนาถ ซึ่งเน้นหนักมาทางด้านการสร้างสถูปเจดีย์มากกว่าการสร้างพระมหาธาตุหรือสถาปัตยกรรมในรูปแบบพระปรางค์.

          ในแผนผังการจัดวางองค์ประกอบทางสถาปัดยกรรมของวัดไชยวัฒนาราม เป็นลักษณะของการถอดแบบแผนผังของจักรวาล ตามความเชื่อในทางศาสนาฮินดู หรือตามความเชื่อในคัมภีร์ไตรภูมิของฝ่ายศาสนาพุทธ ซึ่งมีต้นเค้ามาจากศิลปะขอมโบราณที่นิยมกำหนดให้ศูนย์กลางของจักรวาลคือเขาพระสุเมรุ หรือภูเขาที่ประทับอยู่ของเทพเจ้าออกมาเป็นชั้น ๆ ตามลำดับ.

          การอนุมานเรื่องราวของสถาปัตยกรรมเฉลิมพระเกียรติของพระเจ้าปราสาททองดังได้ล่าวมาข้างด้น เป็นการอนุมานขื้นมาจากพระราชนิยมในส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าปราสาททองและพระราชจริยาวัดรที่ทรงได้กระทำในช่วงรัชสมัยของพระองค์ดังจะได้ประมวลเหตุการณ์ต่าง ๆ ในช่วงรัชกาลมาประกอบด้วยดังต่อไปนี้

          ภายหลังจากการสถาปนาวัดไชยวัฒนารามแล้ว รุ่งขึ้นในปี พ.ศ.2174 ปีมะแม ตรีนิศก ทรงพระกรุณาให้ช่างออกไปถ่ายแบบอย่างพระนครหลวงและปราสาทกรุงกัมพุชประเทศเข้ามา ให้ช่างกระทำพระราชวังเป็นที่ประทับร้อนตำบลริมวัดเทพจันทร์สำหรับเสด็จขึ้นไปนมัสการพระพุทธบาท จึงเอานามเดิมซึ่งถ่ายมาให้ชื่อ พระนครหลวง.

          ภายหลังจากการสร้างวัดไชยวัฒนารามขึ้นแล้ววัดนี้ก็มีฐานะเป็นวัดพระราชาคณะฝ่ายอรัญวาสี และวัดที่ใช้ในการพระราชทานเพลิงศพพระราชวงศ์หรือขุนนางที่มีศักดึ้สูงเสมอด้วยเจ้าต่างกรม เช่น เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ผู้ว่าที่โกษาธิบดี เป็นด้น.

          ความสำคัญและสวยงามของวัดไชยวัฒนารามในขณะนั้นมีค่ายิ่งและสมควรแก่การอวดแขกเมืองได้ดังที่สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้ในหนังสือเรื่องประดิษฐานพระสงฆ์สยามวงศ์ในลังกาทวีปตอนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ดอนที่ว่า “ล่วงมาอีก 7 วัน ถึง ณวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ ข้าราชการไทย 2 คนมาบอกราชทูตลังกาว่า มีรับสั่งให้ไปนมัสการพระที่วัด 2 แห่ง พวกทูตานุทูตจึงลงเรือไปกับขุนนางไทย ไปนมัสการพระที่วัดพุทไธสวรรย์ ก่อนออกจากวัดพุทไธสวรรย์ที่วัดปัลลัญกรอาราม อีกวัดหนึ่ง เมื่อนมัสการแล้วทั้ง 1 วัด จึงกลับที่พัก

          เรื่องราวอันดูเป็นโศกนาฏกรรมของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ เจ้าฟ้ากวีเอกแห่งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ได้ผูกความรู้สึกอันซาบซึ้งต่อพระนิพนธ์ของพระองค์ทั้งในด้านอรรถรสของบทกวีนิพนธ์และเงื่อนงำในชีวิตของพระองค์ ซึ่งนำพาจุดจบชีวิตและพระวรกายอันไร้วิญญาณของพระองค์มาสร้างเงื่อนงำต่อให้แก่นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีพิสูจน์กันต่อไปอย่างไม่รู้จบ ณ วัดไชยวัฒนารามนี้เช่นเดียวกันด้วยความสั้นๆ ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาว่า “จึงดำรัสสั่งให้เอาศพทั้งสอง (เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) และเจ้าฟ้าสังวาลย์) ไปฝัง ณ วัดไชยวัฒนาราม”.

          จากการขุดแต่งและขุดตรวจวัดไชยวัฒนารามตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 เป็นด้นมา ได้ปรากฏภาพและแผนผังของวัดไชยวัฒนารามดีขึ้น แม้ว่าร่องรอยของสิ่งก่อสร้างบางอย่างจะถูกทำลายสูญหายไปเมื่อครั้งที่ทางราชการมีนโยบายปรับปรุงและพัฒนาวัดร้างโดยประมูลขายอิฐตามโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ.2496.

          นอกเหนือจากแผนผังของจักรวาลและองค์ประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องดังได้กล่าวมาเเล้วข้างต้นที่ริมลานประทักษิณด้านทิศเหนือ มีพระเจดีย์ทรงกลมฝีมือช่างสมัยอยุธยาตอนปลายและไม่ประณีตนักอยู่องค์หนึ่ง มีร่องรอยการขุดค้นหาสิ่งของอยู่ทั่วทั้งองค์ ในขณะที่ใกล้ ๆ กันนั้นมีฐานรากของพระเจดีย์ 3 องค์ องค์ที่ข้างเคียงกับองค์ที่สมบูรณ์ที่สุดเเสดงให้เห็นโครงสร้างของฐานว่าเป็นฐานสี่เหลี่ยม ส่วนยอดนั้นตกอยู่ในบริเวณใกล้ ๆ กัน

          ในทิศทางเดียวกัน คือด้านทิศเหนือของโบราณสถานกลุ่มใหญ่ พ้นเขตพุทธาวาสออกไปมีพระปรางค์องค์เล็ก ๆ อีกองค์หนึ่งที่พระปรางค์องค์นี้ยังปรากฏลวดลายปูนปั้นอยู่บางส่วน

          เมื่อพิจารณาเจดีย์ขนาดเล็กที่เพิ่งกล่าวมาอย่างรอบคอบแล้วทำให้เชื่อได้ว่า พระปรางค์องค์เล็ก ๆ ที่อยู่นอกเขตพุทธาวาสนั้นไม่น่าจะใช้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิธาตุของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ เพราะประเพณีการสร้างศาสนสถานขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิในสมัยอยุธยาตอนปลาย คงไม่นิยมที่จะสร้างขึ้นเป็นเจดีย์ทรงปรางค์ มักจะสร้างเป็นเจดีย์ทรงกลมเสียเป็นส่วนใหญ่ ประกอบทั้งลวดลายปูนปั้นที่ยังปรากฏอยู่ได้แสดงถึงความประณีตละเอียดอ่อน ซึ่งในระยะเวลาที่กระชั้นชิดและปิดบังซ่อนเร้นไม่น่าที่จะกระทำขึ้นได้ ความเป็นไปได้ของพระปรางค์องค์นี้อาจใช้สร้างขึ้นเพื่อเป็นหอพระในกลุ่มเขตสังฆาวาสของวัดเท่านั้น

          ส่วนพระเจดีย์ 3 องค์ที่ตั้งเรียงกันอยู่นั้น สิ่งที่น่าจะพิจารณาได้ว่าเป็นที่บรรจุอัฐิของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ เจ้าฟ้าสังวาลย์ และเจ้าฟ้านิ่ม นั่นก็คือดำแหน่งของพระเจดีย์องค์ที่อยู่ดัานทิศดะวันตกสุดมีขนาดใหญ่กว่าองค์ที่อยู่ถัดต่อมาอีกสององค์สมดังที่ในพระราชพงศาวดารระบุว่า 8 โทษกรมพระราชวังบวรเป็นมหันต์โทษถึงประหารชีวิตเป็นหลายข้อ จะขอพระราชทานให้สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ตามขัตติยประเพณี จึงทรงพระกรุณาตรัสขอชีวิตไว้ แต่ให้นาบพระนลาตถอดเสียจากเจ้าเป็นไพร่ และเจ้าฟ้านิ่ม เจ้าฟ้าสังวาลย์นั้นให้ลงพระราชอาชญาเฆี่ยนองค์ละยกสามสิบที่ให้ถอดเป็นไพร่จำไว้กว่าจะตาย และเจ้าฟ้าสังวาลย์นั้นอยู่สามวันก็สิ้นพระชนม์ แต่กรมพระราชวังบวรนั้นต้องรับพระราชอาชญาเฆี่ยนอีกสี่ยกเป็นร้อยแปดสิบทีก็ดับสูญสิ้นพระชนม์” เเม้ความในพระราชพงศาวดารจะไม่ระบุว่าสิ้นพระชนม์ทั้งสามพระองค์ แต่ก็น่าเชื่อว่าเมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว คงจะนำมาฝังไว้ในบริเวณใกล้เคียงกัน เนื่องจากทั้งสามพระองค์ถูกลงพระราซอาญาเป็นมหันตโทษ การกระทำฌาปนกิจพระศพของพระองค์และพระชายาทั้ง 2 พระองค์ คงจะได้กระทำขึ้นอย่างเงียบ ๆ และซ่อนเร้นเมื่อไม่ให้ระคายเคืองหรือเข้าพระเนตรพระกรรณของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ประกอบกับในระยะเวลาด่อมาบ้านเมืองก็มิได้เป็นปกติสุข ทั้งเหตุการณ์ภายในและภายนอกดังนั้นจึงเชื่อได้ว่าในระยะเวลาต่อมาคงจะได้มีการขุดพระศพของทั้งสามพระองค์ขี้นมาทำการฌาปนกิจ และนำพระอิฐของทั้งสามพระองค์มาบรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่ตั้งเคียงกันทั้งสามองค์ ดังที่เห็นกันอยู่ในป้จจุบันนี้01.

          ภายหลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าข้าศึกในปี พ.ศ.2310 แล้ว ความเสื่อมโทรมก็ได้เข้ามาครอบงำอดีตราชธานีเก่าไว้จนหมดมิด ทั่วทั้งแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาเต็มไปด้วยร่องรอยของการขุดหาทรัพย์สมบัติอันมีค่าที่ฝังไว้ตามที่ต่าง ๆ ขุดกันครั้งเเล้วครั้งเล่าด้วยเจตนาและจุดประสงค์ที่ต่างกัน แม้พระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงที่คิดจะป้องกันและรักษาอดีดราชธานีแห่งนี้ไว้ไห้คงอยู่เป็นหลักฐานของความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองให้ชาวโลกได้รับรู้ก็ตาม ตราบจนกระทั่งในปีงบประมาณ 2530 รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติงบเร่งรัดฟื้นฟูการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นเงิน 3,323,000.- บาท มาเพื่อการเริ่มต้นขุดค้นและขุดแต่งโบราณสถานวัดไชยวัฒนารามแห่งนั้นโดยได้งบต่อเนื่องมาเพื่อทำการดำเนินการตามกิจกรรมต่าง ๆ จนถึงปีงบประมาณ 2535 ในส่วนที่โอนเงินจัดสรรมาตั้งค่ายที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นเงินทั้งสิ้น 12,851,193.- บาทเพื่อให้ทันร่วมฉลองในโอกาสสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เจริญพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา.

          วัดไชยวัฒนารามแห่งนี้ ได้รับการประกาศเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2478 หน้า 3679-3717




ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย:
01. ประเด็นนี้ มีนักวิชาการหลายท่านโต้แย้ง ไม่เห็นด้วยว่ามีอัฐิของเจ้าฟ้ากุ้งและเจ้าฟ้าสังวาลย์บรรจุที่เจดีย์ ด้านซ้ายของขอบเขตพระวิหาร.
02. จาก. เว็บไซต์อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา, qrcode.finearts.go.th, วันที่เข้าถึง 25 พฤษภาคม 2564.




PHOTO GALLERY:
ภาพที่ 01: จาก: Facebook ห้อง "เที่ยวเมืองกรุงเก่า", วันที่เข้าถึง 9 มกราคม 2563.
ภาพที่ 02: จาก: Facebook ห้อง "หลายมุมเรื่องกรุงเก่า", วันที่เข้าถึง 10 พฤษภาคม 2563.
ภาพที่ 03-05:
ใบเสมา วัดไชยวัฒนาราม ตัวใบเสมาทำจากหินชนวน สภาพชำรุดแตกหักไม่สมบูรณ์ สลักลายกรอบสามเหลี่ยมที่ด้านล่างและด้านบนของใบเสมาภายในกรอบประดับลายพรรณพฤกษาเชื่อมต่อกันด้วยเส้นกลาง กลางใบเสมาประดับทับทรวงลวดลายพรรณพฤกษาเช่นเดียวกัน สันนิษฐานว่าเป็นงานในช่วงอยุธยาตอนปลาย รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง จาก: Facebook ห้อง "เที่ยวเมืองกรุงเก่า", วันที่เข้าถึง 01 สิงหาคม 2563. เครดิต: ภาพจาก CUIR - Chulalongkorn University Intellectual Repository.
ภาพที่ 06-10
: ภายในเมรุทิศเมรุราย วัดไชยวัฒนาราม ประดับด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังลายก้านขด ใบไม้ม้วน ซึ่งใช้โทนสีสว่างโดยใช้สีขาวเป็นพื้น ตกแต่งเพิ่มเติมด้วยสีแดง สีเขียว ซึ่งเป็นโทนสีที่นิยมใช้ในภาพจิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่เดิมน่าจะได้รับการประดับเต็มผนัง และมีการลงรักปิดทองที่บัวปลายเสา, จาก: Facebook ห้อง "เที่ยวเมืองกรุงเก่า", วันที่เข้าถึง 01 กรกฎาคม 2563. เครดิต:ภาพจาก CUIR โครงการศูนย์รูปธรรมศึกษาโปษยะจินดาและหอนิทรรศน์รัตกสิกร
ภาพที่ 11-12: าก: Facebook ห้อง "เที่ยวเมืองกรุงเก่า", วันที่เข้าถึง 05 สิงหาคม 2563. เครดิต:ภาพจาก CUIR-Chulalongkorn University Intellectual Repository, โครงการศูนย์รูปธรรมศึกษาโปษยะจินดาและหอนิทรรศน์รัตกสิกร

PHOTO
GALLERY
info@huexonline.com