MENU
TH EN

053. ปราสาทไบแบก - อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์

Title Thumbnail: ปราสาทไบแบก, ที่มา: likeburiram2017.blogspot.com, วันที่เข้าถึง 25 มิถุนายน 2564. Hero Image: ปราสาทไบแบก, ที่มา: sites.google.com, วันที่เข้าถึง 25 มิถุนายน 2564.
053. ปราสาทไบแบก - อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์01, 02.
First revision: Jun.25, 2021
Last change: Jun.25, 2021
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา.

       ปราสาทไบแบก ตั้งอยู่ที่บ้านสายโท 5 ต.จันทบเพชร อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ อันเป็นเขตรอยต่อระหว่างไทย-กัมพูชา

       ศิลปะและสถาปัตยกรรม:
          ปรางค์มีลักษณะเป็นปรางค์กัมพูชาโบราณ สร้างด้วยอิฐ แบบไม่สอปูน 3 องค์ ตั้งอยู่บนศิลาแลงเดียวกัน โดยวางตัวอยู่ในทิศเหนือ - ใต้ ปรางค์แต่ละองค์มีประตูเข้าทางเดียวคือทางด้านทิศตะวันตก ประตูอีกสามด้านเป็นประตุหลอก เสาประดับกรอบประตูเป็นหินทราย เป็นเสาแปดเหลี่ยมสร้างด้วยหินทราย ส่วนยอดของปราสาทด้านทิศเหนือยังพอสันนิษฐานรูปแบบทางสถาปัตยกรรมได้.
          เมื่อได้พิจารณาจากทับหลัง 3 ชิ้น พบว่าเป็นศิลปะกัมพูชาแบบเขาพระวิหารตอนต้น (เดิมเรียกว่าแบบคลัง-บาปวน)
          พิจารณาอายุจาก หน้ากาล (กาฬ - Kala) ลงมาชิดขอบล่าง มีรูปบุคคลหรือใบไม้ เรียงแถวกันอยู่ด้านบน ท่อนพวงมาลัยแอ่นโค้งลงเล็กน้อย.
          ทับหลัง สลักเป็นพระนารายณ์ทรงครุฑ 2 ชิ้น เป็นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ 1 ชิ้น สันนิษฐานได้ว่าผู้สร้างปราสาทนี้มีเจตจำนงให้เป็นศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไวษณพนิกาย (นับถือพระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ เป็นใหญ่)
          ปัจจุบันทับหลังทั้งสามชิ้น อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย.

ที่มา 01. วันที่เข้าถึง 25 มิถุนายน 2564.
 
   
   ปราสาทหลังกลางและด้านทิศใต้พังทลายเหลือเพียงส่วนเรือนธาตุ มีกำแพงแก้วและซุ้มประตูสร้างด้วยอิฐไม่สอปูน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าล้อมรอบปราสาททั้ง 3 หลัง มีซุ้มประตูทางเข้าอยู่ด้านทิศตะวันตก.

       บริเวณปราสาทพบฐานประติมากรรมหินทราย เสาประดับกรอบประตูแปดเหลี่ยมปราสาทจำลองและบัวยอด ซึ่งปัจจุบันยังมีความงดงามแม้จะพังทลายเนื่องจากมีกลุ่มคนมาลักลอบขุดหาสมบัติและยังมีชาวบ้านเดินทางมาชมและกราบไหว้ขอพรอยู่อย่างต่อเนื่อง. นักวิชาการสันนิษฐานว่าปราสาทไบแบกนี้น่าจะเป็นกลุ่มปราสาทบริวารของปราสาทพนมรุ้ง


       ยุคสมัยที่สร้างและบูรณะ
        - ต้นรัชสมัยพระเจ้าสูริยวรมเทวะที่ 1
        - ต้นครึ่งหลัง พศว.ที่ 16?
        - อายุประมาณ 1,000 ปี



ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย:
01. จาก. Facebook ห้อง "สำรวจปราสาทอารยธรรม"เขมรโบราณ"", โดยผ่านผู้ใช้นามว่า Priyanut Attasophonwatthana, วันที่เข้าถึง 25 มิถุนายน 2564.
02. จาก. mgronline.com, วันที่เข้าถึง 25 มิถุนายน 2564.

 
humanexcellence.thailand@gmail.com