MENU
TH EN

สุโขทัยคดี ในมิติประวัติศาสตร์ จารึกศึกษา และนิรุกติประวัติ ตอนที่ 2

Title Thumbnail & Hero Image: จารึกวัดตระพังนาค, ที่มา: https://db.sac.or.th, วันที่เข้าถึง 30 มิถุนายน 2563.
สุโขทัยคดี ในมิติประวัติศาสตร์ จารึกศึกษา และนิรุกติประวัติ ตอนที่ 2
First revision: Jun.30, 2020
Last change: Aug.22, 2020
จดบันทึกการบรรยาย พร้อมสืบค้น ภาพ ข้อมูลเสริม รวบรวม และเรียบเรียงเพิ่มเติมโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา

 
     กระผมขอนอบน้อม รับเนื้อหาการบรรยาย และใคร่ขออนุญาต อาจารย์ ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร ด้วยการนำเนื้อหาการบรรยายของท่าน มาศึกษาค้นคว้าต่อ พร้อมทั้งหาภาพประกอบเพิ่มเติมไปเรื่อย ๆ เมื่อมีข้อมูล สิ่งประจักษ์ หรือความเห็นอื่นที่น่าสนใจก็จะนำมาเสริม โดยพยายามให้เป็นองค์ความรู้ที่มีแหล่งอ้างอิงให้ดีที่สุดตามกำลังขีดความสามารถของผม แก่ผู้สนใจใคร่ศึกษาต่อไปครับ.
 
 
สุโขทัยคดี: ประวัติศาสตร์ จารึกศึกษา และนิรุกติประวัติ
มรดกความทรงจำแห่งสยามเหนือ

การบรรยายพิเศษครั้งที่ 10
วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2563   เวลา 13.00-16.00 น.
ณ ห้อง 601 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ถนนบรมราชชนนี แขวง/เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170
 พัฒนาการด้านอักษรศาสตร์ วรรณกรรม และภูมิปัญญา
  ดร. วินัย พงศ์ศรีเพียร เมธีวิจัยอาวุโส สกว.
 
1 ปฐมบท
     1.1 ภูมิหลังของพัฒนาการด้านอักษรศาสตร์และภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย
           1.1.1 คนไทกับภาษากลุ่มไท-ลาว
           1.1.2 ร่าย (ร้อยแก้วแบบมีสัมผัส) และโคลง (ร้อยกรองลาว)   
     1.2 การอพยพเข้าสู่เขตศูนย์รวมอารยธรรมโบราณในใจกลางภาคพื้นทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  
           1.2.1 วัฒนธรรมสันสกฤต: การรับศาสนาพราหมณ์และซึมซับวัฒนธรรมด้านภาษาและอักษรศาสตร์ของเขมร
           1.2.2 วัฒนธรรมบาลี: การรับนับถือพุทธศาสนาจากทวารวดี หริภุญชัย และพุกาม
           1.2.3 การปักหลักของวัฒนธรรมพุทธลัทธิลังกาวงศ์ผ่านนครศรีธรรมราช เมาะตะพัน และลังกา
           1.2.4 ปาลีศึกษา : จารึกวัดตระพังนาค
                     - แบบเรียนภาษาปาลีที่เก่าที่สุด
                       ท้าววิรูปักษ์อยู่ทิศประจิม
                      -ท้าวกุเวรอยู่ทิศอุดร
                      -ท้าวธตรฐอยู่ทิศบูรพา
                      -ท้าววิรุฬหกอยู่ทิศทักษิณ
                   ขอความนอบน้อมจงมีแก่พระพุทธเจ้า ขอความสําเร็จจงมี
                        อ   อา  อิ   อี    อุ   อู 
                        เอ  ไอ  โอ  เอา  อํ   อะ
                        ก  ข  ค   ฆ   ง               จ  ฉ  ช  (ฌ  ญ)
                        ฏ  ฐ  ฑ   ฒ  ณ              ต  ถ  ท  ธ  น
                        (ป  ผ  พ)  ภ   ม              ย  ร  ล  ว  ส  ห  ฬ
                     แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
                     เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
                     เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว
                     เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
                     เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบาน
                     เป็นผู้จําแนกธรรม ดังนี้ 
                     พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว
                     เป็นสิ่งที่ประจักษ์ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ให้ผลไม่จํากัดเวลา
                     เป็นสิ่งควรเรียกให้ผู้อื่นมาดู เป็นสิ่งที่บุคคลควรน้อมใจเข้าไปหา
                     เป็นสิ่งที่วิญญูชนพึงรู้แจ้งเฉพาะตน ดังนี้
                     พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง และปฏิบัติชอบแล้ว
     1.3 พ่อขุนรามคำแหงกับการประดิษฐ์อักษรไทสุโขทัย
           1.3.1 จุดประสงค์
           1.3.2 ลักษณะอักษรไทสุโขทัยและพัฒนาการจากอักษรขอมหวัด
           1.3.3 ระบบตัวอักษร การเขียน และหน้าที่ของตัวอักษร
           1.3.4 การสร้างรูปวรรณยุกต์เอกและโท (อิทธิพลภาษาถิ่นนครศรีธรรมราช)
     1.4 ลักษณะเด่นของภาษาไทสุโขทัยและวากยลีลา
           1.4.1 ทวิพจน์ในภาษาไทสุโขทัย
           1.4.2 อักษรควบกล้ำในภาษาไทสุโขทัย
           1.4.3 การรับคำภาษาอื่นเข้าสู่ภาษาไท
     1.5 วรรณกรรมไทสมัยสุโขทัย
           1.5.1 ข้อถกเถียงเกี่ยวกับตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์และบัณฑิตพระร่วง
           1.5.2 ความสำคัญของเตภูมิกถาต่อสังคมไทย
                   -เตภูมิกถาในฐานะวรรณกรรมพุทธศาสนา: อัจฉริยภาพของพรญาลือไท และภาพสะท้อนความรุ่งเรืองของพุทธศาสนา
                  -โครงสร้างและเนื้อหา
                  -ลักษณะของภาษาไทสมัยสุโขทัย


ภูมิหลังของพัฒนาการด้านอักษรศาสตร์และภูมิปัญญาไทย สมัยสุโขทัย
มักจะกล่าวกัน 3 เรื่อง:
1. เตภูมิกถา - มีผู้กล่าวว่าได้เขียนขึ้นใหม่ในสมัยรัฐกาลที่ 4 สุภาษิตพระร่วง หรือในหนังสือจินดามณีเรียกว่า "สุภาษิตบัณฑิตพระร่วง" เชื่อว่างานใหม่แน่นอน อ่านง่าย ไม่เหมือนกับที่เราอ่านในจารึก
ซึ่งเป็นเรื่องที่มีปัญหา หากปฏิเสธว่าเป็นงานใหม่
2. ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือนางนพมาศ - นักวิชาการมักจะปัดตกไปเลย ฉากเป็นแบบรัตนโกสินทร์ตอนต้น การค้าขายแบบวิลันดา อังกฤษ ซึ่งเป็นไม่ได้ในแบบสุโขทัย เข้าใจว่าเป็นการแต่งในสมัยรัชกาลที่ 3 ยิ่งกำหนดภาษาตะเลงว่าเป็นภาษาอังกฤษ ก็ยิ่งกำหนดอายุได้เลย อังกฤษนั้นยึดครองพม่าส่วนล่าง มะริด ทะวาย ตะนาวศรี ราว ค.ศ.1826 ตาม "สนธิสัญญารานตะโบ (Treaty of Yandabo) - ระหว่างบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษและพระราชอาณาจักรอังวะ" เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1826 (พ.ศ.2369)
    ไตรภูมิพระร่วง ควรเป็น ไตรภูมิพระลือ
3. สุภาษิตพระร่วง แต่งขึ้น พรญาลือไท ควรเรียกว่า ไตรภูมิพระลือ

มีย่อมคนไทอยู่ จากการสำรวจของจีนหากมาทางทะเล เชื่อกันว่าอาณาจักรหนานเจ้าเป็นอาณาจักรไทย ต้นกำเนิดของ....ยูนนานตอนใต้ ตอนหลังย้ายไปต้าหลี่
จีนตอนใต้มีปัญหานิดหน่อย ราว คศ.ที่ 15 เรื่อง คนแถบนี้ว่า ยเหว่ ..ยเหว่ร้อยจำพวก คือเต็มไปหมดเลย พวกที่ยังไม่ได้รับวัฒนธรรมจีน

คนไทกับภาษากลุ่มไท-ลาว
  • แถบราชวงศซ้ง เกี่ยวกับหลงจื่อเหา ชาวไทลง ชาวไทโท่....ชาวไทซี...ชาวไทจ้วง
  • อาณาจักรหนานเจ้าที่แผ่มาทางเหนือของลาว ...อาณาจักรไอ-ลาว....อ้ายลาว มีการทบทวนใหม่ จริง ๆ แล้วอยู่เหนือลาวไม่ไกลนัก เทือกเขาไอ-ลาว แหล่งกำเนิดลุ่มแม่น้ำแดง ..."ไอ-ลาว" เป็นชื่อเรียกผู้ปกครอง...มีประเพณีนี้กับไทยวน ...ลาวเป็นชื่อต้นของบุคคล....ลาวจก...ลาวเม็ง
  • ในสมัยหนานเจ้ามีอำนาจสูงสุด....พีล่อโก๊ะ...แผ่อำนาจลงมาทางใต้...หนานเจ้าได้รับการเชื้อเชิญจากไดเวียด ช่วยปลดแอกจากจีน....หนานเจ้าก็บุกเข้าไปเจอเผ่าไทชื่อไป๋
  • สิ่งที่เกิดขึ้นกับราชวงศ์หลี่ของเวียดนาม...เวียดนาม (ไดเวียด)จะจัดการปกครองแบบจีน...รวบอำนาจเข้าสู่ราชสำนัก (Centralization) หมายถึงเวียดนามได้ขยายอิทธิพลมายังท้องที่ที่มีชาวเผ่าไท
  • ชาวเผ่าไท จำนวนหนึ่งไม่ยอมรับอิทธิพล centralization จากราชวงศ์หลี่ของเวียดนาม จึงเกิดการเคลื่อนย้ายของผู้คนระลอกสอง (ระลอกแรกจากอาณาจักรไอ-หลาว)
  • กวางสีมีชาวเผ่าไทอยู่เยอะ ตั้งกันเป็นอิสระ เรียกชุมชนเผ่าไทว่า "เปาะ"....ปอเหลอ....กษัตริย์ปอเหลอคือ "รามราชาธิราช" ก็คือกษัตริย์ไทย
  • หลงจื่อเกา รบชนะญวน ดึงตำนานมาเป็น ขุนเรือง (วิทยานิพนธ์ของ Harvard)
  • เปาะ....ทางเชียงใหม่ใช้อยู่...จากเปาะ เป็น ปก ...ปกเลือง....แว่นแคว้นชาวเลืองหรือชาวเลิง....อยู่ในลาว ต่อมาอพยพเคลื่อนย้าย มาตามลำน้ำอู เข้าสู่ดินแดนประเทศไทย
  • พวกกาว...(สระ.อา กับ เอีย แทนกันได้) ....เกียวจี้..เผ่าไทที่อยู่เวียดนาม
  • หลงจื่อเกา หรือ หลงเจื่องเกา เชื้อสายปกครอง แถบเวียดนาม เป็นแหล่งที่มีทองคำ เวียดนามก็เรียกร้องส่วย และกดขี่
  • บิดาของหลงจื่อเกา พยายามเรียกร้องความสนใจของจีน...ให้จีนยอมรับเป็นรัฐบรรณาการของจีน แต่จีนเห็นว่าอยู่ไกล ก็ไม่ให้ความช่วยเหลือ
  • เกิดการกบฎ หลงจื่อเกา มีแม่เป็น Coach เป็นผู้นำ (หลังบิดาเสียชีวิต) ตอนหลังญวนบังคับ หลงจื่อเการวบรวมคนได้ 500 และมาถึง 5,000 คนเข้าโจมตี จึงเป็นปัญหาของเวียดนามและจีน
  • ค.ศ.1053 หลงจื่อเกา รวมไพร่พลเป็นหมื่น โจมตีถึงเมืองกวางโจว ร่วมสัปดาห์ จนราชวงศ์ซ้งจากทางเหนือเข้าปราบปรามจนพ่ายไป
  • มาพึ่งตระกูลต้วนของอาณาจักรหนานเจ้า
  • มีสองสันนิษฐาน หนึ่ง) หนานเจ้าไม่ไว้วางไว้ หลงจื่อเกา ด้วยมีบารมีสูง จึงตัดศีรษะส่งให้จีน สอง) ทางตระกูลต้วนอนุเคราะห์ส่งมาที่ต้าหลี่ บริเวณ แม่สาย เชียงแสน
  • สมมติฐานหรือข้อสัมนิษฐานที่สองนี้สำคัญ เพราะหลงจื่อเกา ไปละม้ายคล้ายกับชื่อของ "ขุนเจือง หรือ ขุนเจื่อง" เข้า, ตามตำนานเชียงใหม่ สายตระกูลลาวจก....มีเรื่องเล่าคล้ายกัน ขาวทางเชียงใหม่กับญวน ที่ขุนเจือง หรือ หลงจื่อเกา รบชนะญวนที่เมือง "บั๊กกัน" เอกสารไทยเรียก "แกวปะกัน" เป็นการดึงตำนานมาจากเรื่องจริง มีคนไทยเคลื่อนย้ายจากกวางสีมาด้วยจำนวนหนึ่ง ค.ศ.1073 ราชสำนักซ่งเปลี่ยนแปลงนโยบาย พาคนมาทางใต้ให้มีชาวฮั่นมากขึ้น
  • ทำให้ทราบว่าคนไท มีระดับการเคลื่อนไหวระดับ ผู้ก่อตั้งอาณาจักรไดเวียดสิ้นพระชนม์ อาณาจักรไดเวียดแตกสลาย คนไทยแตกออกเป็นสิบสองแว่นแคว้น กลายเป็นความสำคัญของเลขสิบสองกับไท (อาจหมายถึงสิบสองนักษัตรก็ได้) เลขสิบสอง เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย สิบสองนักษัตริย์ สิบสองปันนา
  • สิ่งที่เป็นจุดเด่นของคนไทย การทำเกษตรกรรม คนไทยสามารถทำนาได้สองหรือสามครั้งต่อปี มีนาขั้นบันไดด้วย เป็นลักษณะพิเศษ มีชีวิตอยู่กับเกษตรกรรม ตามหุบเขา
  • สนใจทางเกษตรกรรม การลงแขก ร้องเพลงปฏิพากษ์  (เพราะคลายความเบื่อหน่าย) มีสัมผัส ร้อยกรอง ร่าย โคลง จินดามณี
  • ร่าย ร้อยแก้ว แบบมีสัมผัส มีคำที่คล้องจอง โคลง ร้อยกรองลาว โคลงแม่แบบโบราณ เป็นปฏิภาณกวี จารึกหลักที่ 1-2 หลายหลัก ปรากฎในเตภูมิกถา แสดงออกทางศิลปะที่โดดเด่น
การอพยพเข้าสู่ เขตศูนย์รวมอารยธรรมโบราณ ในใจกลาง ภาคพื้นทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • ช่วง คศว.ที่ 10. คนไทยเข้ามามากขึ้น มีการนับถือแถน แถนหลวงเป็นหลัก ปัจจุบันจะเป็นความเชื่อทางพื้นบ้าน เช่น การจุดบั้งไฟ ("แถน" อาจจะมาจากภาษาจีนว่า "เทียน" ที่แปลว่าสวรรค์)
วัฒนธรรมบาลี:
  • การรับนับถือพุทธศาสนาจาก ทวารวดี หริภุญชัย พุกาม
  • พบอารยธรรมมอญที่หริภุณไชย ...ใกล้วัฒนธรรมเมืองพุกาม ทำให้เชียงใหม่ ไม่ค่อยมีวัฒนธรรมของศาสนาพราหมณ์ (แทบไม่มีเลย) มีแค่ประเภทตามตำรา หากมาตอนกลางของประเทศไทยที่เป็นสุดเขตแดนของวัฒนธรรมเขมร ที่ศรีสัชนาลัย ก็จะสัมผัสวัฒนธรรมใหม่ที่ปักหลักมานาน
  • เจออักษรศาสตร์ของเขมรโบราณ ไม่ว่าเป็นศิลปะ สิ่งก่อสร้าง สื่อ จารึกที่ค้นพบ
วัฒนธรรมสันสกฤต: การรับศาสนาพราหมณ์ และซึมซับวัฒนธรรมด้านภาษาและอักษรศาสตร์ของเขมร
  • หนังสือหรือสื่อ จารึกดงแม่นางเมือง...มหาศักราช ตรงกับ พ.ศ.1710 ทำและสร้างองค์มหาเจดีย์ เพื่อระลึกถึงพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชองค์ที่ล่วงลับไปแล้ว เจ้าเมืองโพนัด???? เมืองโบราณที่บรรพตพิสัย นครสวรรค์
  • จารึกจะใช้ภาษาปาลี ใช้อักษรเขมรเขียน เป็นตัวอักษรที่ถูกแปลงแล้ว (ในไทยถูกพัฒนาแล้ว เป็นเขมรเมืองลโวทัยปุระ ก็ได้) ราว พ.ศ.1700 สมัยราชวงศ์ซ่ง มีรัฐเล็ก ๆ ชื่อ จงหลี่ฟู้ ส่งทูตไปเมืองจีนราว 3-4 ครั้ง จีนบันทึกว่า อักษรที่เขียนมาถึงนั้นเป็นอักษรแบบเจินล่า (หรือเขมร) แสดงว่าอักษรเขมรโบราณนั้นฝังรากลึกมานานอยู่ในดินแดนแถบนี้
  • วัฒนธรรมเขมรไม่ได้อยู่ในดินแดนนี้มาก่อน หากมองย้อนไปใน คศว.ที่ 11 แล้ว มีวัฒนธรรมทวารวดี มีการใช้สันสกฤต และปาลีอยู่ด้วย ... แล้ส่งต่อไปยังสุโขทัย คติความเชื่อและอักษรศาสตร์ด้วย
  • การใช้ภาษีบาลี อาจจะมาจากหริภุณไชย และพุกาม เป็นแหล่งหลัก หากเป็นส่วนราชสำนัก จะใช้ภาษาสันสกฤต เพราะดูขลัง
  • คนไทยมีหลายเผ่าหลายพวก มีการผสมผสานกัน ไทยเลืองใต้หล้าฟ้าต่อ เชียงแสนพะเยา เมืองมาว ฯ ดังนั้นภาษาไทยในจารึกจึงมีหลากหลาย. ภาษาไทยจะมีความเชื่อมโยงกับภาษาลาวมากที่สุด
  • เดิมไทยเรารับพุทธศาสนามาจากหริภุณไชย และพุกาม ต่อมาในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก็รับเพิ่มเสริมมาจากเมืองนครศรีธรรมราช ช่วงที่ศาสนาพุทธรุ่งเรือง พอสมัยพรญาลิไท ก็รับพุทธศาสนาโดยตรง โดยผ่านเมืองมอญ แล้วไปลังกา ทำให้ภาษาบาลีเป็นภาษาหลัก พุทธศาสนาช่วยส่งเสริมด้วย
  • แบบเรียนภาษาเมืองเหนือเป็นของสุโขทัย พบที่วัดตระพังนาค เมืองเก่าสุโขทัย เป็นแม่แบบ ไม่ใช่เรียนภาษาอย่างเดียว เขาบูชาท้าวสี่องค์ ท้าววิรูปักษ์ กุเวร ฯ ด้วย ครบสี่ทิศ
    • ๒  ท้าววิรูปักษ์อยู่ทิศประจิม
    • ท้าวกุเวรอยู่ทิศอุดร
    • ท้าวธตรฐอยู่ทิศบูรพา
    • ท้าววิรุฬหกอยู่ทิศทักษิณ
    • ขอความนอบน้อมจงมีแก่พระพุทธเจ้า ขอความสำเร็จจงมี
    • อ อา อ อี อุ อู
  • เป็นที่มาของการไหว้ครู พระพุทธองค์เป็นครูที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เป็นครูของเทวดา มนุษย์ทั้งหลาย
  • อย่าเดินข้ามหนังสือ หนังสือเป็นของศักดิ์สิทธิ์ บ่อเกิดความรู้
  • เราคุ้นเคยกับเขมร บาลี สันสกฤต
  • มีการดึงภาษาเขมรมา ด้วย ต ไม่ใช้ ใช้ ฏ....เช่น ตั้ง เป็น ฏังง...ลิ เป็น ลือ เพราะมีชื่อเลืองลือ...ลิไท.... ลือไท
  • ลิไทยราช...ไม่มีความหมายในภาษาไทย...ดร.วินัยใช้ ลือไท
  • ฃ ใช้จนถึง รัชกาลที่ 6....เช่น เฃต
  • ข้า ... ฃ้าฅน บ่ฃ้าบ่ตี
  • ค้อง...ไม่ใช่ฆ้อง (แบบปัจจุบัน)
  • จารึกสุโขทัย แสดงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมากกับลาว เช่น ถ้วย จะใช้ ถ้อย  (จะใช้ อ แทน ว) ภาษาที่สุโขทัยนำมาจากเขมร คือ ไพร่ จะเขียน พไร่ เอา พ ใว้ข้างหน้า
  • ห มีหน้าที่สร้างคำคู่กับอักษรต่ำ หรือสร้างคำใหม่
  • ฟ้าแลบ (ไทยกลาง) มะเลือง มะล้า มะลัง (ไทยเดิม)
  • เหลือเฟือ คำเดียวกัน และ น กับ ร แทนกันได้ ตาม Phonetic
  • เหน็บเหนื่อย เมื่อย คร้านอิด
ปาลีศึกษา: จารึกตระพังนาค
  • อักษรขอมสุโขทัย ภาษาบาลี
  • พุทธศตวรรษที่ 21
  • "แบบเรียนภาษาบาลีที่เก่าแก่ที่สุด"
  • จารึกหลักที่ 2 ขุนผาเมือง หาเป็นท้าวภิบาลแก่กษัตริย์ทั้งหลาย (กษัตริย์เขมร .... วรมัน แปลว่าเกราะกำบัง ชื่อกษัตริย์ทั้งหลาย)
ลักษณะเฉพาะภาษาไทย ทวิพจน์
  • พจน์ของชนเผ่าไท มี เอกพจน์ ทวิพจน์ พหูพจน์...
  • การรับเรื่องจากการสั่นกระดิ่งร้องทุกข์ของพ่อขุนรามคำแหง.....แล่นความแก่ขาด้วยชื่อ... ตัดสินความแก่โจทก์จำเลย (ทวิพจน์) ...ขา แปลว่า สองฝ่าย ตรงข้ามกัน
  • ทวิพจน์ มีเฉพาะกรีกโบราณและไทย กรีกเลิกไปนานแล้ว, ไทยใช้มาจนรัชกาลที่ 5 แล้วเลิกไป สองเขือพี่หลับไหล (เขือ แปลว่าเราทั้งสอง)
  • รา แปลว่า เราสอง แต่คนละเพศ คนละฝ่ายกัน เช่น ครูแก้ว อัจฉริยะกุล...ของสุนทราภรณ์ (ลึกซึ้งด้านภาษามาก)...ดื่มด่ำรสล้ำยังจำได้ บาดดวงใจสองรา...
  • ไตรภูมิพระร่วง ควรเป็นไตรภูมิพระลือ เพราะพระลือแต่ง...กล่าวโดยกรมพระยาดำรงฯ .....เป็นหนังสือที่ไม่ค่อยมีคนอ่าน
ความสำคัญของเตภูมิกถาต่อสังคมไทย
  • เตภูมิกถาในฐานะวรรณกรรมพุทธศาสนา: อัจฉริยภาพของพรญาลือไท และภาพสะท้อนความรุ่งเรืองของพุทธศาสนา
  • โครงสร้างเนื้อหา
  • ลักษณะของภาษาไทสมัยสุโขทัย
  • เตภูมิกถา... มีความยอดเยี่ยมเป็นพิเศษ โดย รศ.เสมอ บุญมา
  • (อ.วินัยบรรยายต่อ) เตภูมิกถา มีความสำคัญต่อวัฒนธรรมไทย แต่งโดยพรญาลือไท แต่งเมื่อปีระกา ศักราชที่ 23 (คืออะไร???) เป็นไปไหม? เป็นปีรัชศก..
  • เมื่อครองศรีสัชนาลัย ได้ 6 ปี หรืออาจจะสันนิษฐานว่า เตภูมิกถา เขียนขึ้นมาทีหลัง ....โยงกับตำหรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ศักราชที่ 15  รัชกาลพระร่วงเจ้า...ทำให้เกิดความไม่แน่นอนในปีที่แต่ง ดูว่าใครเป็นผู้แต่ง?
  • ต้องดูตัวเนื้อหา ภาษาที่ใช้ ... เชื่อว่าเป็นเอกสารเก่า ใช้ศัพท์แสงที่ปรากฎในจารึกพรญาลือไท เช่น "ราม" แปลว่า งามก็ได้ หญิงงาม...นงราม ...มีกลองอันใหญ่ มีกลองอันราม (แปลว่ากลองอันกลาง)
  • ศิลาจารึกวัดศรีชุม พระพุทธรูปอันท่าว (ขนาดย่อม) อันเล็ก ทมุนทนาย ใช้ในจารึกเหมือนกัน 
  • เชื่อได้ว่า เตภูมิกถา แต่งโดยพรญามหาธรรมราชา ลือไท...
  • การแต่ง มีที่มา (Sources) จากที่ไหน? พรญาลือไท กล่าวว่า กูเป็นศิษย์ที่มีครูหลายครู...พระอโนมาธัตตี???...เจ้าอาวาสหนอรัญวาสี ที่เมืองศรีสัชนาลัย และพระสมนเถระ ซึ่งเป็นสายราชวงศ์จากเมืองนครพัน (เมาะตะมะ) ไม่เพียงแต่เท่านั้น ท่านเรียนโดยการรับพิสัยจากพระมหาเถระที่หริภุญไชยด้วย...มีหนังสือสอบถาม ...เรียนระยะไกล ตั้งปุจฉาวิสัชนากัน...น่าทึ่งมาก...นี่คือวิทยานิพนธ์เล่มแรกในประวัติศาสตร์ไทย มีการอ้างอิงแหล่งค้นคว้า อ้างอิงต้นตำรับ
  • คัมภีร์สารสังฆหะ??? ...ถือว่าแน่แล้ว เตภูมิกถา ยิ่งดีกว่า
  • พรญาลือไททรงเขียน ...ใฝ่รู้
  • การสอนพุทธศาสนามีสามขั้นตอน
  • อภิธรรม...ชั้นสูง สำหรับปัญจวัคคีย์..ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
  • ปัญญาน้อย..แต่ฉลาด สอนในเรื่องจริยธรรม สอนคำสอน ตัวบท สอนโดยสาธิต
  • ปัญญาน้อยสุด...จะสอนว่าทำดีมาก ๆ แล้วไปสวรรค์
  • นามธรรม รูปธรรม ต้องแปลงให้เห็นภาพ..นรกเป็นอย่างไร เตือนใจมากขึ้น
  • นรกภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ฯ ....3 แดน มีสวรรค์ 7 ชั้น ...กว่าเกิดเป็นคนได้ เกิดแล้วเกิดอีก ยากนัก ต้องรู้บุญรู้ธรรม มีภพภูมิที่สูงขึ้น
  • พิธีถือน้ำในอินเดีย...สาบานต่อหน้าพระเวท ก็เพียงพอแล้ว
  • ของไทยต้องมีอะไรให้เห็นเป็นตัวตน ...ต้องดื่มน้ำบนโสมสูตร สาบาน
  • พรญาลือไท เริ่มต้องเขียนจากนรกภูมิก่อน....รูปภูมิ และอรูปภูมิ...ไปสู่ โมคะ (โมกษะ...ของศาสนาเชน)...สวรรค์มหานครนิพพาน ...มหานครแห่งความสุข
  • การดูคน...คนเวียนว่ายตายเกิด...แบ่งคนเป็นสี่ประเภท คนนรก เปรต เดรัจฉาน และคนมนุษย์ (แสดงว่าคนเลวมีถึงสามในสี่)
  • ทำให้เตภูมิกถา เป็นหนังสือทวีปัญญาให้คิด ...ใครผิดคำสาบานให้ตกนรกอวิจี (อเวจี)
  • หากตายไปก็เจอพรญายมราช ...มียมบาลตรวจตราว่ากล่าวจริงไหม? ให้จิตรคุปต์จด...จดไว้บนหนังหมา...ส่งไปนรก สุดแล้วแต่ขุมไหน นรกมี 8 ขุม (นรกใหญ่ 8 ขุม) มีนรกบ่าว (นรกแวดล้อม 16 หลุม) มีนรกเล็ก มีพวกยมบาลทำหน้าที่ นรกขุมใหญ่ไม่ต้องมี เป็นที่อยู่ของพรญายมราช (มีกรรม ครึ่งหนึ่งของวันอยู่สวรรค์ ครึ่งหนึ่งของวันอยู่นรก)
  • มีนรกพิเศษสองขุม....หนึ่ง) นรกโลกันต์..อยู่นอกกำแพงจักรวาล ณ ที่โลกสวรรค์ บาดาล มาบรรจบกัน อยู่นอกกำแพงจักรวาล จึงไม่ได้รับแสงอาทิตย์ มืดมิด ไม่มีกำหนดนรก ต้องป่ายปืนขึ้นมา เห็นแสงสว่างได้ปีละสี่ครั้ง (วันประสูติ ตรัสรู้ แฐมเทศนา และปรินิพพาน) สอง) มหาอเวจีนรก
  • โลกันต์นรก ...ประทุษร้ายบิดา มารดา นักบวช ผู้มีศีล และยุยงสงฆ์ให้แตกกัน
  • อเวจีนรก....ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระสงฆ์ ทำให้โลหิตของพระพุทธเจ้าห้อเลือด ทำให้เกิดสังฆเภท
  • แดนเทวดา....แดนพระอินทร์...เทวราช หัวหน้าสวรรค์ ศัพท์เฉพาะใช้เฉพาะพระอินทร์ พราหมณ์ก็กล่าวเช่นนั้น
  • ลัทธิเทวราช ....อินทราภิเษก อภิเษกพระอินทร์เป็นกษัตริย์บนพื้นโลก
  • เทวดาขั้นต่ำสุด ...สมมติเทพ หรือ สมมติเทวดา..ไม่ได้เป็นเทวดาแท้...โดยมีเงื่อนไขว่าต้องรักษา ทศพิธราชธรรมไว้
  • อุบัติเทวดา...เกิดมาเป็นเทวดา...ไม่เป็นอมตะ ยังเวียนว่ายตายเกิด
  • วิสุทธิเทวดา พิเศษ พระพุทธเจ้า อริยสงฆ์ ศีลบริสุทธิจริง ๆ
  • ขายเครื่องลางของขลัง ต้องตกนรกอเวจี
  • พรหมในศาสนาพุทธ แปลว่า ผู้บริสุทธิ์ ปรับเป็นแบบพุทธ เช่น พรหมวิหาร การตีความเคลื่อนย้ายวัฒนธรรมจากพราหมณ์มาสู่พุทธ
  • แต่ในเตภูมิกถา จะกล่าวถึง พระอินทร์ ไอราวัณ และนครไตรตรึงส์ เท่านั้น
  • พระอินทร์ในศาสนาพราหมณ์ เจ้าเล่ห์ มั่วสุมที่สุด
  • ในไทยมีกฎหมาย อินทรภาค...หลักคำสอนของพระอินทร์...สอนผู้พิพากษา
  • ในสมัยรัตนโกสินทร์มีพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย....พระอินทร์ออกว่าความ
  • ศาสนาพราหมณ์ อสูรเป็นคนดีได้บ้าง แต่ในศาสนาพุทธ อสูรก็คืออสูร
  • ราหู ศาสนาพุทธมีครบองค์ประกอบ แต่ศาสนาพราหมณ์ ถูกตัดไปครึ่งหนึ่ง เพราะดื่มน้ำอมฤต
  • จตุรงคบาล เจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยทั้งสี่ทิศ ของโลกและจักรวาล
  • อสูรก็มีสี่ทิศ แต่ดูแลกันคนละอย่าง สังคมไทยเป็นสังคมที่แม่เป็นใหญ่
  • ในเรื่อง "นารายณ์อวตาร ปรศุรามาวตาร"...เชื่อฟังพ่อมาก ปรศุรามเชื่อพ่อ ฆ่าแม่ สังคมไทยรับไม่ได้ ขอพรจากพ่อให้พ่อปลุกแม่ขึ้นมาใหม่ ...สังคมไทยไปแปลงให้เป็นรามสูร เพราะถือขวานเหมือนกัน
  • เตภูมิกถา ทำให้เราเข้าใจวัฒนธรรมไทย มิคสัญญี มาจากไตรภูมิ...บาปมากจนโลกทนไม่ไหว ไฟบรรลัยกัลป์ก็เกิด มนุษย์ด้วยกันต่างเห็นกันเป็นเนื้อ ไล่ฆ่ากัน...สัญญี = ความรับรู้, มิคคะ = เนื้อ.     
 
โครงการอบรมวิชาการและบรรยายพิเศษเรื่อง
“สุโขทัยคดี” ในมิติประวัติศาสตร์ จารึกศึกษา และนิรุกติประวัติ
มรดกความทรงจำแห่งสยามเหนือ
การบรรยายพิเศษครั้งที่ 11
วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563   เวลา 13.00-16.00 น.
ณ ห้อง 601 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ถนนบรมราชชนนี แขวง/เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170

1. ความนำเรื่อง
1.1 สถานภาพของสตรีสุโขทัย
1.1.1 ความสำคัญ บทบาท และสถานภาพของสตรีกลุ่มชาติพันธ์ไท
        - สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์: มรดกตกทอดของความคิดเรื่องมาตาธิปไตย (maternalism) พระแม่โพสพ พระแม่ธรณี
        - เป็นสื่อกับพลังเหนือธรรมชาติ เช่น แม่มด แม่หมอ
        - เป็น "แม่บ้านแม่เรือน"
1.1.2 สตรีสุโขทัยในบริบทของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรัฐไทร่วมสมัย
        - สถานภาพสตรีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชวา สุมาตรา เขมรโบราณ
        - ภาพลักษณ์และสถานภาพของหญิงไทในเอกสารประวัติศาสตร์:
            - ข้อมูลจากจารึกร่วมสมัย: จารึกวัดอโสการาม จารึกวัดบูรพาราม จารึกวัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม จารึกคำอธิษฐาน จารึกป้านางเมาะ ฯลฯ
            - ไป่อี๋จ้วน (ค.ศ.1396)
            - คำสอนพรญามังรายหลวง, ธรรมศาสตร์ขุนบรม.
1.1.3 สตรีไทสมัยสุโขทัย
        โลกทัศน์และชีวทัศน์: ทัศนคติต่อการมองโลก และแนวคิดเกี่ยวกับชีวิต
บทบาททางการเมืองของราชนารีสุโขทัย
 สุโขทัย  เชียงใหม่  อโยธยา
 พระขนิษฐา และพระศรีธรรมราชมาตา (รัชกาลพรญาลือไท)  พระราชมารดาของพรญาแสนภูไปปกครองเมืองเชียงใหม่ กับพรญาคำฟู  พระนางสุรินทร์พระพี่นางในสมเด็จพระเจ้าพรญา (ราเมศวร)
 พระอัครราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์ (รัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชที่ 2 และสมเด็จพระรามราชาธิราช)  ค.ศ.1365/พ.ศ.1908 พระราชเทวีในรัชกาลพรญาผายูให้พรญากิลนาและพรญามหาพรหมพี่น้องทำสัตย์สาบานต่อกันที่พระศรีรัตนมหาธาตุ หริภุญชัย  พระราชเทวีในสมเด็จพระบรมราชาธิบดี (เจ้าพรญาสาม) และพระราชมารดาของสมเด็จพระราเมศวร บรมไตรโลกนาถ
เมื่อครั้งติลกมหาราชเชียงใหม่มาล้อมเมืองพิษณุโลก ได้เสด็จขึ้นไปช่วยพระราชโอรสป้องกันเมือง
 แม่นางสาขาพระราชมารดาในสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชที่ 4 (บรมปาล)  พระราชเทวีในรัชกาลมหาราชสามฝั่งแก่นและพระราชมารดาของติลกมหาธรรมราชาธิราช (ไตรโลก) ในรัชกาลติลกมหาราชไปตีเมืองน่านได้  แม่หยัวเมืองศรีสุดาจันทร์
   มหาราชเทวีศรียศวดีในรัชกาลมหาราชเจ้ายอดเชียงราย ทรงช่วยให้พระเมืองแก้วได้ราชสมบัติตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์  

บทบาททางวัฒนธรรมของสตรีสมัยสุโขทัย: การทำนุบำรุงพระศาสนา

1.2 จารึกพ่อขุนรามพลกับจารึกพ่อขุนรามคำแหง
1.2.1 จารึกพ่อขุนรามพล: การอ่านและวิเคราะห์เนื้อความใหม่
1.2.2 ปัญหาการอ่านและตีความจารึกพ่อขุนรามคำแหง ด้านที่ 4
1.2.3 ความรู้จากการสังเคราะห์ข้อมูลใหม่
1.3 จารึกวัดพระยืนและจารึกเจ้าพัน จ.ศ.766: ความรุ่งเรืองทางศาสนาของสุโขทัย
1.3.1 จารึกวัดพระยืน: พระสุมนเถระกับการแผ่พุทธศาสนาลัทธิรามัญวงศ์ในล้านนา
1.3.2 จารึกเจ้าพัน จ.ศ.766 (ค.ศ.1404/พ.ศ.1947)






สถานภาพสตรีในสังคมสุโขทัยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • บริบทของสตรีสุโขทัย สตรีมีบทบาทสูง เริ่มตั้งแต่ยุคหินใหม่ สตรีเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ อย่างเช่น อินเดียมีพระรูปของมาตาเทวี พัฒนาเป็นพระอุมาเทวีในยุคหลัง ก่อนการเข้ามาของชนชาติอารยัน สังคมแบบมาตาธิปไตย (maternalism) ผู้หญิงเป็นใหญ่ มาจากสังคมเกษตร พระแม่โพสพ พระแม่ธรณี ให้ความเตารพยกย่องสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ
  • สุโขทัย มีแม่ย่าเมือง ก็มาจากลัทธิมาตาธิปไตย กล่าวถึงพระแม่โพสพ ในจารึกหลักที่ 15 ที่มาที่ไป ในปกรณัมของอินเดียไม่พบชื่อนี้ แต่จะมาจากพระใบสพราช ชื่อหนึ่งของท้าวกุเวร อันเป็นคลังของเทวดาทั้งหลาย มีทรัพย์มาก ไทยเรารับมา เนื่องจากเราเป็นมาตาธิปไตย ก็เปลี่ยนพระโพธิสัตว์ชาย เป็นโพธิสัตว์หญิง
  • แม่มด (มด แปลว่า หมอ) แม้พระราชพงศาวดารสมัยหลัง กรุงศรีฯ สมัยพระเจ้าบรมโกศ ยังอ้างถึง, แม่บ้านแม่เรือน (บ้าน หมายถึงการเชื่อมโยงกับคนในชุมชน, เรือน ก็เป็นงานการในเรือน)
ล้านนา
  • ปี ค.ศ.1365 (พ.ศ.1908 บ้างก็ว่า พ.ศ.1898) พระยากิลนา ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์เชียงใหม่ แต่มีพระอนุชาที่มีอำนาจและบารมีสูง คือพระพรหมราชา (พรญามหาพรหม) ตอนที่พรญาผายูสิ้นพระชนม์ พรญากิลนาได้ปกครองเชียงใหม่ ท้าวพรญามหาพรหมได้ปกครองเชียงราย มีจารึกที่น่าสนใจ โดยแม่ให้ลูกมาทำสัตย์สาบานที่หน้าพระศรีมหาธาตุหริภุณไชย ซึ่งเป็นศาสนสถานที่สำคัญที่สุดของเชียงใหม่ ให้พี่น้องรักใคร่กัน ไม่ทำสงครามกัน แสดงว่าแม่ซึ่งอยู่ใกล้ชิดลูก มีบทบาททางการเมืองได้หลายอย่าง
  • พอพ้นสมัยพรญากิลนา ก็เกิดเรื่องจนได้ พญาแสนเมืองมา ราชบุตรของพรญากิลนา ที่ข้าราชบริพารสนับสนุนให้ปกครองเมืองเชียงใหม่ แต่อีกฝ่ายพรญามหาพรหมก็ไม่ยอม แต่สุดท้าย พญาแสนเมืองมาก็ได้ปกครองเชียงใหม่ (ดูในราชวงศ์ปกรณ์เชียงใหม่)
  • ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มีความสัมพันธ์กับเมืองน่าน
  • ที่เขมร อ้างถึง โจวต้ากวน ได้เล่าไว้ ในปีหนึ่งกษัตริย์เขมรต้องขึ้นไปปราสาท (ปราสาทพิมานอากาศ) เพื่อสมสู่กับนางนาค
  • คล้ายกันในภูมิภาคนี้ เขมร พม่า ชวา โยงเป็นเรื่องเล่าจากเขมรโบราณ สตรีเป็นเจ้าของแผ่นดิน ผู้ชายเดินทางเข้ามาทีหลัง...ภารตะวัตร (Indianization)
  • ในกฎมณเฑียรบาล อยุธยาตอนต้น พระเจ้าแผ่นดิน ร่วมพิธีเฉลิมพระราชมณเทียร เจ้าแม่หยัวเมืองหรือแม่อยู่หัวเมือง (วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ของเมือง) - สตรีที่เป็นตัวแทนความสมบูรณ์ในแผ่นดิน ไปอยู่ด้วยหนึ่งคืน เหมือนกับตำนานเขมรโบราณ แต่พิธีนี้ก็หายไป อาจเป็นด้วยอิทธิพลของพระพุทธศาสนา.
  • ชวา หลังดัตช์เข้าปกครองชวาแล้ว มีกษัตริย์ชวา สูสูฮันนาน (สุลต่าน) ทำพิธีสมสู่กับนางนาคที่อยู่ในสมุทร สะท้อนให้เห็นความสำคัญของผู้หญิง (สะท้อนความอุดมสมบูรณ์ และพลังธรรมชาติอย่างหนึ่ง)
  • มินังกะเบา อยู่เกาะสุมาตรา มรดกตกทอดมาทางสายผู้หญิง เป็นเรื่องตกค้างมาตั้งแต่สมัยโบราณ
  • พระมเหสีของพระเจ้าชัยวรมเทวะที่ 7 มีส่วนในการผลักดันพระสวามีให้เขมรรวมเป็นอาณาจักรผืนใหญ่
  • วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม (ตาเถรขึงหนัง)... จารึกเกี่ยวกับการสร้างวัดบำเพ็ญบุญและถวายกัลปนา
    • สมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชา และสมเด็จมหาธรรมราชาธิบดี ราชโอรส ขึ้นเสวยราชสมบัติในศรีสัชนาลัยสุโขทัย
    • การอาราธนาสมเด็จพระมหาศรีกิรติจากพชรบุรีศรีกำแพงเพชรมาสร้าง "ศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม" ที่สุโขทัย
    • วัดนี้ สร้างในสมัยสมเด็จธรรมราชาธิราชที่ 1
  • มีจารึกวัดโศการาม วัดบูรพาราม จารึกป้านางคำ (พ.ศ.1922) วัดศรีพิจิตรฯ ....ทำโดยอัครมเหสีท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (เป็นหญิงเหล็กในประวัติศาสตร์ ต่างจากลักษณะอ่อนช้อยที่มาเสริมภายหลังในสมัยรัชกาลที่ 3)
  • วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม (ตาเถรขึงหนัง): จารึกเกี่ยวกับการสร้างวัดบำเพ็ญบุญและถวายกัลปนา
        -  สมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดา และสมเด็จมหาธรรมราชาธิบดี ราชโอรส ขึ้นเสวยราชสมบัติในศรีสัชนาลัยสุโขทัย
        -  การอาราธนาสมเด็จพระมหาศรีกิรติจากพชรบุรีศรีกำแพงเพชรมาสร้าง "ศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม"
  • จารึกป้านางเมาะ (พ.ศ.1935-1947)
    • การทำบุญให้แก่ป้านางเมาะและคำปรารถนา
      • รูปงามเหมือนนางวิสาขา
      • มีใจตั้งมั่นในพระรัตนตรัย
      • ได้บำเพ็ญเบญสาธารณะ ดั่งเมณฑกเศรษฐี
      • ขอให้พ้นจากเคราะห์ทั้งหลาย
  • จารึกป้านางคำ (พ.ศ.1922) - ป้านางคำที่ได้บำเพ็ญกุศลในพุทธศาสนา
    • สร้างวิหารและพระพุทธรูป
    • บาลี: ได้กล่าวพรรณนาถึงลายลักษณ์ที่ปรากฎในรอยพระพุทธบาท
  • มีจารึกของ "ไปอี๋จ้วน" ค.ศ.1396 (ทูตจากราชสำนักหมิง) ไปที่เมืองเมาหลวง (ซึ่งมีปัญหากับจีนในระยะการเปลี่ยนผ่านจาก หยวนเป็นหมิง)...กล่าวว่าสตรีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความอิสระ หละหลวมในทางศีลธรรม แต่หลังจากแต่งงานมีคู่แล้วจะต้องซื่อสัตย์ต่อสามี มิฉะนั้นจะมีบทลงโทษ
  • คำสอนพรญามังรายหลวง
  • ธรรมศาสตร์ขุนบรม
  • หลงจื่อเกา วีรบุรุษไทย มีชื่อเสียงในด้านเป็นนักรบ ต่อสู้กับเวียดนามในสมัยราชวงศ์ลี่ ราว ๆ ค.ศ.1050-1057 เบื้องหลังมีแม่ให้แรงดลใจ สนับสนุน มีศาลเล็ก ๆ ใน "กวางสี" บูชาแม่ของหลงจื่อเกา หลงจื่อเกา ต่อสู้ให้ไทมีอิสระภาพ เป็นไทจ้วง ในกวางสี แม้ตอนหลังจะพ่ายแพ้ แต่อยู่ในความทรงจำของผู้คน
  • พระอัครราชท้าวศรีจุฬาลักษณ์ อัครราชเทวีในพระมหาธรรมราชาธิราชที่ 2 (ไสสือไท) ๆ มีบทบาทร่วมกับพันธิมิตรไปตีล้านนา ช่วงที่มีการรุกรานของจีนราชวงศ์หมิง ค.ศ.1404-1405 ล้านนาต้องเสียเมืองเชียงแสนก่อนส่งส่วยให้กับเมืองจีน
  • พระมหาธรรมราชาธิราชที่ 2 ปกครองนั้น มีอัครเทวีสองพระองค์ คือ อาจเป็นมเหสีลำดับที่หนึ่ง (แม่นางสาขา -มาจากตำนานพุทธ แม่นางวิสาขา) (มีโอรสชื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชาบรมปาล) และท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (มีบทบาทสูงมาก) เป็นมารดาของโอรสสองพระองค์ คือ รามราช และ ศรีธรรมโศกราช
  • พรญาไสลือไท ส่ง พระธรรมราชาบรมปาลไปปกครองเมืองสองแคว (เข้าใจว่าแน่นางสาขา พระมารดาไปด้วย)
  • ที่เมืองสุโขทัย ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มีอำนาจได้รับการสนับสนุนจากข้าราชการอำมาตย์ ดันให้ พระมหาธรรมราชาพระรามราชธิราช ครองราชย์แทนพระราชบิดา ทำให้เกิดปัญหากับ บรมปาลที่เมืองสองแคว ซึ่งมีเถลิงพระนามไว้สูงส่งแก่พระรามราชาธิราชว่าพระบพิตรเป็นเจ้า
  • จากบันทึกของหมิงสือลู่ แสดงไว้ว่า กษัตริย์ไทยที่ติดต่อกับจีน คือ รามราชาธิราช ไม่ใช่บรมปาล...ทางฝ่ายจีนให้การรับรองพระรามราชาธิราช
  • การครองราชย์ของกษัตริย์องค์ใหม่ ถัดจากพรญาไสลือไท คือ สมเด็จพระรามราชาธิราช มีบางเมืองไม่ยอมรับอำนาจ ก็เกิดการขัดขืน มีจารึกกล่าวถึงสมเด็จพระมหาธรรมราชา (รามราชาธิราช) และพระศรีธรรมราชมาตา (ซึ่งหมายถึงแม่) นำทัพไปปราบบ้านเมืองต่าง ๆ ให้อยู่ในอำนาจของกรุงสุโขทัย มีหลายเมือง ทางตะวันตกและลุ่มแม่น้ำป่าสักให้กลับมาในอำนาจกรุงสุโขทัยอีกครั้งหนึ่ง
  • แสดงให้เห็นการมีอำนาจของหญิง ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ท่านสร้างวัดวาอารามมากมาย แม้แต่การออกกฎหมายในลักษณะลักพา ที่เมืองกำแพงเพชร (ชากังราว) พระราชมารดาเสด็จด้วย พบหลักฐาน ข้าราชการที่ตามเสด็จ พรญาพังทวัยนทีศรียมุนา??? บรรดาเจ้าเมือง 4-5 เมือง เช่น ไตรตรึงษ์ ที่เป็นพันธมิตรกับสุโขทัย
  • เมื่อครั้งการเกิดอธิกรณ์ที่สำนักป่าแดง อรัญวาสี พระมหาธรรมราชา (รามราชาธิราช) ต้องเสด็จไปตัดสินอธิกรณ์ พระบรมครูดิลก เป็นสงฆ์สายอรัญวาสีทั้งหมด
  • รามราชาธิราช อาจยังมีพระชนม์ไม่มาก จึงมีพระราชมารดา กำกับเป็นพี่เลี้ยงให้
  • การจราจลในอาณาจักรสุโขทัย ระหว่างพระรามราชา และพระบรมปาล เกิดขึ้นรุนแรงเป็นลำดับ ทำให้เจ้านครอินทร์ แห่งกรุงศรีอยูธยา เข้ามาแทรกแซง ทั้งสองฝ่ายที่มีกำลังน้อยกว่า ต้องเข้ามาถวายบังคมเจ้านครอินทร์ มีในบันทึกของพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา และบันทึกของฟาน ฟลีต ว่าสยามมีการแบ่งเป็นสองฝ่าย หัวเมืองเหนือจลาจล เมื่อปราบได้แล้ว ก็ยังคงให้มีอนุวงศ์ปกครองอยู่ แต่ในบันทึกของกรุงศรีอยุธยา บันทึกว่าเมืองทั้งสี่เมืองรวมทั้ง สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชรและเชลียง เป็นเพียงเมืองเจ้าพระยามหานคร.
  • พระราชธิดาของแม่นางสาขา คือ พระวรราชเทวี ได้อภิเษกกับพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) แห่งอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ด้วยเป็นกุศโลบายอย่างไรไม่ทราบได้ ที่กษัตริย์กรุงศรีฯ น่าจะอภิเษกสมรส กับทางฝั่งสุโขทัยน่าจะเหมาะกว่า แทนที่จะมาฝั่งเมืองสองแคว 
  • พระราชโอรส คือ พระราเมศวรบรมไตรโลกนารถ
  • เมื่อพระบรมไตรโลกนาถขึ้นครองราชย์ก็มีพระบรมราโชบายที่จะรวมเมืองเหนือให้เป็นเอกภาพกับทางอยุธยา แต่มีปัญหาที่เจ้าชายยุธิษฐิระ ซึ่งเป็นพระราชบุตรของพระเจ้าอยู่หัวบรมปาล เห็นว่าบิดาได้รับเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชาในฐานะหัวเมืองประเทศราช ตัวเองก็ไม่ควรได้รับฐานะที่ต่ำไปกว่าพ่อ และความจริงก็เป็นญาติผู้พี่ของสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถด้วย
  • สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ ก็ถือว่าตนมีเชื้อสายทางสุโขทัยเหมือนกัน จึงผนวกดินแดนเมืองเหนืออาณาจักรสุโขทัยเข้ากับอยุธยาไว้ เจ้าชายยุธิษฐิระจึงหันมาสวามิภักดิ์ทางด้านอาณาจักรล้านนาเมืองเชียงใหม๋ ภายใต้กษัตริย์สมเด็จพระเจ้าติโลกราชแทน
  • แล้วส่งกองทัพมาล้อมเมืองบรางพล (กำแพงเพชร) (ตัว ร วิลาสไม่ออกเสียง จึงกลายเป็นเมืองบางพล....แปลว่า มีพลมาก) และเมืองสองแควด้วย หวังว่าจะยึดเมืองให้กับเจ้าชายยุษฐิระ อยุธยาแทบแย่ 
  • พระบรมไตรโลกนารถเชิญพระราชมารดาไปเป็นที่ปรึกษา (พระวรราชเทวี ด้วยเป็นสายสุโขทัย) และพยายามรักษาประโยชน์ให้ราเมศวรบรมไตรโลกนารถ
  • เชียงราย เป็นเมืองหลวงของโยนรัฐ หรือรัฐยวน ไม่ใช่เมืองเชียงใหม่
  • พระเจ้าติโลกราชแห่งเมืองเชียงใหม่ ล้านนา ให้พระมารดาตีเมืองน่านได้ โดยพระองค์มิได้เสด็จไปเอง
  • นิราศหริภุณไชย กล่าวไว้ พระนางมหาเทวียศวดี (มหาเทวีสิริยศวดี) มีความงดงาม เป็นราชเทวีของเจ้ายอดเชียงราย ๆ หลงสตรีนางหนึ่งเป็นเชื้อสายฮ่อ สนับสนุนราชบุตรที่มีเชื้อสายฮ่อ ทำให้ราชสำนักล้านนาเกรงว่าผิดเพี้ยนไป...เจ้านางยศวดีจึงวางแผนกำกับให้บุตร เจ้าเมืองแก้ว ยึดอำนาจเจ้ายอดเชียงรายแทน
  • พระนางยศวดี อยู่ในอำนาจยาวนานหลายปี (พญาแก้วพระชนม์เพียง 14 ปีขณะขึ้นครองราชย์) และรบกับอยุธยา เป็นครั้งสุดท้าย ยันทัพไว้ได้ รักษาสถานภาพเดิมไว้ (Statusquo) ทรงสร้างวัดวาอารามไว้มาก เก่งมาก
  • ในกฎหมายมังรายศาสตร์ แปลกมากมีการจ่ายค่าปรับจัดสรรให้พระนางยศวดีด้วย จะได้ครึ่งหนึ่งของพระเจ้าแผ่นดิน
  • เชียงใหม่ อยุธยา สุโขทัย สตรีมีบทบาทสูงมาก
การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
  • เกี่ยวกับสตรีมาก ล้วนแล้วแต่จะขอพรว่า เกิดมาชาติใหม่ ก็ขอให้เกิดเป็นชาย เพราะจะได้บวช ชายที่ร่ำรวยก็จะขอพรว่า หากเกิดชาติหน้า ก็ขอให้เกิดมาได้พบกับพระศรีอาริยไมตรี เพื่อกอบกู้ให้ข้ามสังสารวัฏไป
  • จารึกวัดบูรพาราม: จารึกเกี่ยวกับการบำเพ็ญบุญและถวายกัลปนา แต่มีการกล่าวถึงพระนามกษัตริย์และสายตระกูล
    • พระราชประวัติสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชที่ 3
    • สมเด็จพระราชเทวีเจ้าทรงกัลปนาอุทิศส่วนพระราชกุศลถวายแด่ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช สมเด็จพระศรีธรรมราชมาตา พร้อมด้วยเหล่าพระบรมวงศานุวงศ์ มีสมเด็จปู่พระยา พ่อออก แม่ออก
  • จารึกคำอธิษฐาน
    • การกระทำบุญของสตรีชั้นสูง
    • แสดงข้อมูลด้านวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย
      • เทพในศาสนาพราหมณ์ (พระอินทร์ พระพรหม พระนารายณ์ ปารเมศวร พระพาย ฯลฯ)
      • โรคภัยไข้เจ็บ (ปวดเมื่อย อิดโรย หิด ฝี ฯลฯ)
      • การบรรลุอรหัตตผล
      • พระศรีอาริยเมตไตร อนาคตพุทธเจ้า
  • จารึกพ่อนมสายดำ จารึกวัดช้างล้อม พ่อนมสายดำ (ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่) สามีของแม่นมเทพ (แม่นมลูกกษัตริย์) พ่อนมสายดำ ได้ดีเพราะภรรยา

ศิลาจารึกพ่อขุนรามพล กับ จารึกพ่อขุนรามคำแหง
  • ปัญหาการอ่านและตีความ จารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ 1 ด้านที่ 4
  • จากการศึกษาจารึกหลักที่ 1 มีสี่ด้าน ด้าน 1-3 จารึกโดยลายมือหนึ่ง มีการทำเครื่องหมายจบข้อความแล้ว. แต่ทำไม่ยังมีด้านหนึ่ง ด้านที่ 4 มีอะไรประหลาด ๆ  ระบบการเขียนไม่เหมือนกับสามหน้าแรกเลย ตัวอย่าง:
  • ........ด้านที่สี่ ................ด้าน 1-3
    • ษรีอินทราทิตย์ ...... ศรีอินทราทิตย์
    • พ่อขุนรามคำแหง.... แทนพ่อฃุน
    • 1207 กุน .............. ควรเป็น 1209
    • ษรีสัชนาไล .......... ศรีสัชนาไล
    • ตั้ง ...................... ด้าน 1-3 เขียน ฏ้งง
    • พรญา .................. พญา ---คำว่า "พรญา" ใช้ในสมัยหลัง (พรญาลือไท) ไปแล้ว
    • คน ...................... แทน ฅน
  • 1207 (เป็นปีมหาศักราช) ผิด ไม่ใช่กุน แต่เป็นระกา ควรเป็น 1209 ซึ่งเป็นกุน
  • จารึกนี้มาทำเพิ่มขึ้น โดยเห็นว่า ด้าน 1-3 กล่าวถึงเมืองอย่างเดียว ด้านที่ 4 จึงจารึกถึงประวัติว่าทำอะไรบ้าง แต่ก็ยังมีข้อผิด
  • สันนิษฐานว่า จารึกด้านที่ 4 นี้ผิด คลาดเคลื่อนไป 12 ปี เมื่อเทียบกับ Timeline เดียวกันจากเอกสารจีนมาเปรียบเทียบ

จารึกพ่อขุนรามพล: การอ่านและวิเคราะห์เนื้อความใหม่
  • ในปีระกา พ.ศ.1888 พ่อขุนรามพลได้เป็นเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยและสุโขทัย ต่อมามีพ่อขุนอีกพระองค์หนึ่งพระนามว่า พ่อขุนศรี และเมื่อพ่อขุนศรีสวรรคต เมืองจึงตกเป็นของพ่อขุนรามพลเพียงผู้เดียว พ่อขุนรามพลน่าจะมีพี่หรือน้องชายอีกพระองค์หนึ่ง ซึ่งต่อมาทั้งสองพระองค์ คงจะร่วมกันปกครองเมืองศรีสัชนาลัยและสุโขทัย โดยพ่อขุนรามพลไปครองเมืองศรีสัชนาลัย.
  • ศิลาจารึกหลักที่ 7 อ่านยากมาก พบได้โดยบังเอิญ
  • จารึกพ่อขุนรวมพล ...ต้องเป็นพ่อขุนรามพล
  • จารึกอยู่ที่พระปฐมเจดีย์ ท่าน ดร.ประเสริฐ ณ นคร จำแม่น แต่ปรากฎว่า หายไป สืบไปมาก็มีการย้ายที่ไป ได้พบ จารึกอยู่สภาพที่ลบเลือน อ่านแทบไม่ได้ ด้านข้างเป็นภาษาบาลี พออ่านเท่าที่ได้ มีภาษาไทยอยู่บ้าง อาจจะมาจากเมืองเหนือพร้อมพระร่วงโรจนฤทธิ์
  • อ่านใช้เวลา เดาบ้าง ข้อมูลหายไป (22 บรรทัด)
  • เมืองศรีสัชนาลัย (บรรทัดที่ 25) ปีระกา พ่อขุน....พ่อขุนรามพล  (ปีระกา พ่อขุนบาลเมือง--บาลราช...ตาย)
  • พารี้พล มาเอาเมืองศรีสัชนาลัยเข้าได้ ....ขึ้นครองราชย์ ได้เมืองศรีสัชนาลัยนี้คืน.
  • มีการกล่าวถึง "ซ่อมยอดพระธาตุ" ตรงกับหลักที่ 1 ด้าน 4 ในจารึกหลักที่ 2
  • ตอนซ่อมเอาทองนพคุณ ทองเนื้อเก้า สวม [โสรม = ครอบ] ครอบ ใส่บนโจมสุดยอด (บนสุด)
  • พ่อขุนรามพล == พ่อขุนรามคำแหง....เพราะภาษาบาลี แปล พ่อขุนรามคำแหง เป็น พ่อขุนรามพโล (ที่เป็นรามพล เพราะพระภิกษุท่านประดิษฐ์คำไว้มากกว่า) ....คำว่าพ่อขุน จะไม่มีใช้มาหลังพ่อขุนรามคำแหงเลย จะใช้เป็น พรญา กมรเตงอัญ แบบเขมร
  • บาลราช ครองราชย์อยู่สั้นมาก ปรากฎในชินกาลมณีปกรณ์
  • รามราช ผูกติดกับศรีสัชนาลัยมากกว่า สุโขทัย
  • ปู่ไสยสงคราม พรญาไสยรณรงค์สงคราม ที่ปกครองสุโขทัย
  • อาจจะให้พ่อขุนรามคำแหง ปกครองศรีสัชนาลัย ให้ไสยสงครามผู้น้องปกครองสุโขทัย ท้ายที่สุดให้ไสยสงครามไปปกครองนครศรีธรรมราช (เดินทางผ่านเมืองมะตะบัน - เมาะตะมะ - เมืองพัน)

จารึกวัดพระยืน (พ.ศ.1913) - หริภุญไชย...เป็นมรดกความทรงจำที่สมบูรณ์ของลำพูน
  • รายละเอียดอยู่ใน "ยุธิราษฎร์รำพัน" สมัยสุโขทัยพระพุทธศาสนาเติบโตที่เมืองมอญ
  • อาราธนาพระสุมนมหาเถร จากสุโขทัยมาเผยแพร่พระพุทธศาสนายังล้านนา
  • นิมนต์มาจำพรรษาที่วัดพระยืน ในเมืองหริภุณไชย และได้กล่าวสรรเสริญเกียรติคุณแห่งพระมหาเถร
  • การปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุต่าง ๆ ภายในวัดพระยืน

พระภิกษุสำคัญ ๆ สามรูปในยุคนั้น
  • พระอุทุมพรเถระ ......บวชเรียนที่ลังกา แล้วกลับมาเมืองพัน มีชื่อเสียงลูกศิษฐ์ลูกหามาก มีพระภิกษุที่แวะมาหา ราว 3 รูปคือ
    • พระสุมนเถระ (พระสุมนมหาเถร) .... จำพรรษาที่วัดป่ามะม่วงตามคำเชิญของพรญาลือไท
    • พระอโนมาทักษี (Check..!!) ..วัดป่าแดง ที่ศรีสัชนาลัย
  • พระอานันทเถระ ....ไปเชียงใหม่
  • พระยากิลนา อัญเชิญพระอุุทุมพรเถระ ไปเมืองเชียงใหม่ แต่ท่านไม่มา เพราะเป็นสังฆราชที่เมืองพัน อยู่ โดยส่งพระอานันทเถระไปเชียงใหม่แทน
  • ปรากฎว่าพระอานันทเถระ ไม่ยอมทำสังฆกรรมกับพระเถระที่เชียงใหม่ โดยอ้างว่าพระอาจารย์ไม่ได้มอบอำนาจมา แล้วก็กลับไป
    • เข้าสู่สยามประเทศ (พ้นเมืองพันมา เมืองเมาะตะมะ หรือ Mataban) ...ข้อสังเกต สยามประเทศหมายรวมถึง สุโขทัย รวม ล้านนาด้วย
  • จารึกวัดพระยืนที่หริภุณไชย อาราธนาพระสุมนเถระจากสุโขทัยมาล้านนา (ด้วยเพราะล้านนามีสงฆ์สายหริภุญไชย สายพุกาม ยังไม่มีสายรามัญหรือลังกาเลย...เพราะเข้าใจว่ามีความลึกซึ้งด้านพระธรรมอยู่ไม่น้อย)
  • ที่พรญากิลนาอัญเชิญพระสุมนเถระไปเชียงใหม่ เพราะได้รับการกล่าวขวัญว่าพระเถระรูปนี้มีบุญ ด้วยอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากฝั่งน้ำฝากระดาน บริเวณเมืองบางขลัง
  • พรญากิลนา ต้องมาขออัญเชิญถึงสามครั้ง....มาหริภุญไชย มาแวะวัดพระยืน (เป็นวัดสายอรัญวาสี - ท่านจะอยู่ในเมืองไม่ได้) (มาบูรณะปฏิสังขรณ์ เพราะทรุดโทรม) เหตุที่มาลำพูนก่อน ก็ต้องรอสร้างวัด ที่วัดสวนดอก (สวนดอกไม้-วัดบุปผาราม) ก่อน ต้องใช้เวลา
  • พระมณฑปที่วัดพระยืน ที่พระสุมนเถระพำนักนั้น ท่านบูรณะพระมณฑปอดีตพระพุทธเจ้าทั้งสี่พระองค์ เป็นเรื่องสำคัญ เป็นเรื่องปัญญจอันตรทานด้วยส่วนหนึ่ง
  • จารึกวัดพระยืน ร่ายยาวตั้งแต่พรญามังราย มีหลายพระองค์ที่ขาดหายไป...ดร.ไมเคิล วีคลี่ (อาจจะไม่ลงลึกในรายละเอียด)...จารึกหายไปสามพระองค์ก็จริงแต่เป็นกษัตริย์ที่ไม่ได้ครองเมืองเชียงใหม่ เช่นขุนคราม ไปปกครองเชียงราย
  • เพราะ เดิมเชียงราย มีความสำคัญมากกว่าเมืองเชียงใหม่ เพราะเชียงใหม่ได้ตั้งขึ้นใหม่
  • พระยากิลนา....พระยากือนา ....ท้าวสองแสนนา (นี่คือชื่อที่ถูกต้อง)....ช่วงหลัง ๆ ยกเฟ้อให้ท่านเป็นพญาโกฏินา
  • เอกสารจีนเรียก "ปันเมี่ยน" คือ พระยาพันเมือง  ในสมัยหลังยกเฟ้อเป็น พระยาแสนเมืองมา
  • เสียนไท ....แสนไท (คนไทยสามแสนคน) ยกเฟ้อ ในการเขียนประวัติศาสตร์ ลาวเรียกว่า พระเจ้าสามแสนไท
  • พระนามของกษัตริย์ไทยจะยาวขึ้นเรื่อย ๆ ในพระสุบรรณบัตรจะยาว บรรยายพระเกียรติยศ
  • การซ่อมวัด พรญาลือไทได้เชิญพระสุมนเถระ มา
  • จารึกวัดพระยืน แสดง มีการสร้างปราสาท มีการตั้งพลับพลา มีการตั้งพิธี
  • กษัตริย์สมัยก่อนก็แข่งบารมี ...แสดงตน มีความรู้ ปรับศักราช
  • ทำให้ยาก ระบบศักราชเชียงตุง อย่างหนึ่ง เชียงราย เชียงใหม่ก็อีกอย่าง เพราะแข่งบารมี ปรับศักราช
  • มีการบรรจุพระสารีริกธาตุ ทรงสุโขทัย ที่วัดสวนดอก
  • จารึกวัดพระยืน แสดงข้อมูลเรื่องเครื่องดนตรี ปี่ไฉน (เขมร) อื่น ๆ แสดงพหุวัฒนธรรม

จารึกเจ้าพัน
  • พิมพ์ครั้งแรก ใช้ชื่อจารึกเจ้าพัน จ.ศ.766 ปีวอก ซึ่ง จอร์ช เซเดส์ ได้รวบรวมไว้
  • ช่วงแรก อ่านไม่รู้เรื่อง ไม่ได้ความ
  • ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นจารึกสองแคว
  • "...[เจาพัน] กอพระเจดียอยู่ในเมืองเชียงใหม่..." ...เจดีย์วัดธาตุกลาง จ.เชียงใหม่ ...ทรงสุโขทัยรุ่นหลัง ราว ค.ศ.1401...ใครสร้าง โอกาสไหนอย่างไร มีชุมชนสุโขทัยที่นี่หรือเปล่า ที่แสดงอัตลักษณ์สุโขทัยไว้ที่เชียงใหม่
  • ระบบการควบคุมเป็นเจ้าพัน...เป็นยุคแรก ...หมายถึงเจ้านาย ...ต่างพระองค์ แทนพระองค์ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช...เชื้อพระวงศ์สุโขทัย แรกสร้างวัดที่เมืองเชลียง สร้างวิหารแปดห้อง ใหญ่พอสมควร ขนาดกลาง เมื่อก่อนวิหารสำคัญกว่าโบสถ์ที่เมืองเชลียง
  • วัดนี้น่าอยู่ในหน อรัญวาสีที่เมืองเชลียง แหลนสาม... จังหัน ทำกับข้าวไปถวายพระพุทธรูป การอุทิศคนให้คอยดูแลรับใช้พระวิหาร แต่งเครื่องครัน สามแสนเบี้ยสำหรับสร้างพระศรีอาริยไมตรี (ใช้ภาษาปาลี มากกว่าสันสกฤต) คนถือยัว (ยั่ว = ยาน) ตรธาน = ชำรุดเสียหาย...เป็นเรื่องการซ่อมสถานที่ที่วัดมหาธาตุ เชลีย
  • เจ้านายจากสุโขทัย มาซ่อมแซมวัดมหาธาตุที่เมืองเชลียง และสองแคว
  • มีการกล่าวถึงเมืองลำพูน มีการกล่าวถึงน้ำมันตะเกียง เก็บเงินบูชาพระมหาธาตุ มีการกล่าวถึงผ้าเช็ดหน้า ผ้าชำระพระพักตร์พระพุทธรูป
  • เจ้าพันก่อเจดีย์ที่เมืองเชียงใหม่
  • ทางเมืองเหนือ เชียงใหม่ ไม่มีวัดมหาธาตุ มีแต่เจดีย์หลวง, ลำพูน...มีการบวชชา (บวชหมู่) มีคำว่า เหมิน แปลว่า หมื่น





 

การบรรยายครั้งที่ 12 ในชุด สุโขทัยคดี จะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคมนี้ เวลา 13.00-15:30 น.
ณ ห้อง 601 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
หัวข้อเรื่องที่จะบรรยาย คือ "ประวัติศาสตร์และนิรุกติประวัติในจารึกสุโขทัย"

ในครั้งนี้อาจารย์วินัย จะแนะนำให้สมาชิกของกลุ่มรู้จ้ก
 1 จารึกวัดช้างล้อม
 2  จารึกวัดตาเถรขึงหนัง
 3 จารึกวัดอโสการาม

 
info@huexonline.com