MENU
TH EN

สุโขทัยคดี ในมิติประวัติศาสตร์ จารึกศึกษา และนิรุกติประวัติ ตอนที่ 1

Title Thumbnail: เจดีย์วัดสรศักดิ์ ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ถ่ายไว้เมื่อ 17 พฤศจิกายน 2562.
สุโขทัยคดี ในมิติประวัติศาสตร์ จารึกศึกษา และนิรุกติประวัติ ตอนที่ 101
First revision: Jan.11, 2020
Last change: Aug.12, 2021

จดบันทึกการบรรยาย พร้อมสืบค้น ภาพ ข้อมูลเสริม รวบรวม และเรียบเรียงเพิ่มเติมโดย อภิรักษ์ กาญจนคงคา
 
     กระผมขอนอบน้อม รับเนื้อหาการบรรยาย และใคร่ขออนุญาต อาจารย์ ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร ด้วยการนำเนื้อหาการบรรยายของท่าน มาศึกษาค้นคว้าต่อ พร้อมทั้งหาภาพประกอบเพิ่มเติมไปเรื่อย ๆ เมื่อมีข้อมูล สิ่งประจักษ์ หรือความเห็นอื่นที่น่าสนใจก็จะนำมาเสริม โดยพยายามให้เป็นองค์ความรู้ที่มีแหล่งอ้างอิงให้ดีที่สุดตามกำลังขีดความสามารถของผม แก่ผู้สนใจใคร่ศึกษาต่อไปครับ.
 
   ครั้งที่  หัวข้อการบรรยาย
   ครั้งที่ 1
เสาร์ที่ 8 ก.พ.63
 1. ความสำคัญและสถานภาพของประวัติศาสตร์ "สุโขทัย"
    1.1 สังคมไทยร่วมสมัยกับประวัติศาสตร์สุโขทัย: สิ่งที่ได้รับรู้กับข้อเท็จ-ข้อจริงทางประวัติศาสตร์
    1.2 ประวัติศาสตร์นิพนธ์เมืองเหนือ (สุโขทัย): พงศาวดารเมืองเหนือ อภินิหารย์การประจักษ์ ระยะทางการตรวจราชการมณฑลพิษณุโลก เที่ยวเมืองพระร่วง ฯลฯ.
 2. หลักฐานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สุโขทัย
 3. การกำเนิดและความรุ่งเรืองของ "เมืองเหนือ" (สุโขทัย ศรีสัชนาลัย สองแคว และกำแพงเพชร): ภูมิหลังประวัติศาสตร์และปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์
 4. เนื้อหาประวัติศาสตร์สุโขทัยและประเด็นศึกษา
 5. ความเชื่อมโยง
 
 การสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์
 
   
การศึกษาสุโขทัยในแง่มุมภาษาและนิรุกติประวัติ

 
   
ข้อมูลจากหลักฐานชั้นต้น

 
   
การศึกษาจารึกโบราณสมัยสุโขทัยในเชิงบูรณาการ

 
   ภาพสะท้อนสังคมไทยสมัยสุโขทัยกับมรดกทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นทุนจากบรรพบุรุษ
   ครั้งที่ 2
เสาร์ที่ 15 ก.พ.63
 2. ประวัติศาสตร์การเมือง (ตอนที่ 1: ยุคเริ่มต้นสุโขทัย)
     2.1 ปฐมบทประวัติศาสตร์สุโขทัยจากจารึกวัดศรีชุม (จารึกสมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนี)
     2.2 จากราชวงศ์ศรีนาวนำถุมสู่ราชวงศ์ศรีอินทราทิตย์ 
   ครั้งที่ 3
เสาร์ที่ 22 ก.พ.63
 3. ประวัติศาสตร์การเมือง (ตอนที่ 2: ยุคเริ่มต้นสุโขทัย)
     3.1 สภาพการเมืองสุโขทัยจนถึงรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง (ข้อมูลจากจารึกสมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนี)
     3.2 พระศาสนากับการเมือง
   ครั้งที่ 4
เสาร์ที่ 21 มี.ค.63
 4. ประวัติศาสตร์การเมือง (ตอนทื่ 3: ยุคเริ่มต้นสุโขทัย) ความสำคัญของจารึกหลักที่ 1: (จารึกพ่อขุนรามคำแหง) และจารึกพ่อขุนรามพล: ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง
     4.1 การค้นพบ (อภินิหารย์การประจักษ์)
     4.2 ปัญหาสถานภาพการเป็นเอกสารร่วมสมัย
     4.3 เนื้อความและผลกระทบต่อสังคมไทย
   ครั้งที่ 5
เสาร์ที่ 04 เม.ย.63
 5. ความสำคัญของรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชที่ 1
     5.1 จากรัชกาลพ่อขุนงั่วนำถมถึงสิ้นรัชกาลพระยาลิไท/ลือไท (สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชที่ 1)
     5.2 ข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง: จารึกวัดป่ามะม่วง จารึกนครพระชุม และชินกาลมาลีปกรณ์
   ครั้งที่ 6
เสาร์ที่ 18 เม.ย.63
 6. พัฒนาการทางประวัติศาสตร์จากรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชที่ 2 ถึงการเสียเอกราชในรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (บรมปาล)
     6.1 จารึกวัดอโสการาม จารึกวัดบูรพาราม จารึกวัดช้างล้อม จารึกพ่อนมไสดำ ฯลฯ และเอกสารจีน "หมิงสือลู่" ว่าด้วย "ปอเล่อ" ในการสร้างจำลองอดีตของอาณาจักรสุโขทัย
     6.2 ท้าวศรีจุฬาลักษณ์และแม่นางสาขาในประวัติศาสตร์การเมืองสุโขทัย
     6.3 อโยธยากับการผนวกดินแดนเมืองเหนือ
     6.4 กบฏเจ้ายุธิษฐิระ
   ครั้งที่ 7
เสาร์ที่ 9 พ.ค.63
 7. การเมือง-การปกครองของอาณาจักรสุโขทัย
     7.1 รัฐราชอาณาจักรแบบสัมพันธวงศ์
     7.2 สถาบันกษัตริย์
          จากพ่อขุนถึง "ธรรมราชา"
          พระมหากษัตริย์ในฐานะพระโพธิสัตว์ผู้ทรงนำอเวไนยสัตว์ข้ามสังสารวัฏ
          พระมหากษัตริย์ในฐานะผู้ทรงความเที่ยงธรรมด้านกฎหมาย (จารึกลักษณะลักพา (ภา??) /ขโมย หลักที่ 38)
          พระมหากษัตริย์กับการส่งเสริมสุขภาพของไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน
     7.3 ราโชบายและหลักการปกครอง: ทศพิธราชธรรมและ "ไชยวาทาศาสน์" (คำสอนว่าด้วยชัยชนะ)
   ครั้งที่ 8
เสาร์ที่ 16 พ.ค.63
 8. เศรษฐกิจและการค้า
     8.1 การส่งเสริมเกษตรกรรม: การสร้างระบบการชลประทาน หรือ "ท่อปู่พระยาร่วง"
     8.2 เครือข่ายการค้าทั้งภายในและภายนอก
     8.3 เศรษฐกิจเมือง: (1) ตลาด (2) เงินตรา และ (3) สินค้า
     8.4 หัตถอุตสาหกรรมเครื่องถ้วย
   ครั้งที่ 9
เสาร์ที่ 6 มิ.ย.63
 9. สังคมสุโขทัย
     9.1 กลุ่มคนและชนชั้นทางสังคม (social groups & stratification)
     9.2 รัฐกับราษฎร์
     9.3 สถานภาพสตรี
     9.4 กฎหมายกับสังคม: กฎหมายลักษณะลักพา (ภา??) กฎหมายมรดก
     9.5 นันทนาการ
     9.6 โรคภัยไข้เจ็บ
   ครั้งที่ 10
เสาร์ที่ 20 มิ.ย.63
10. วัฒนธรรมสุโขทัย
     10.1 คติความเชื่อดั้งเดิมของชนเผ่าไท
          การนับถือผีที่สิงสถิตในธรรมชาติ ผีด้ำ ผีเสื้อ (ผีพ่อเชื้อ) และ "ตุ๊กตาเสียกะบาล"
     10.2 ความเชื่อในศาสนาหลัก "พุทธสาสน์ ไสพาคม เทพกรรม"
     10.3 ความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับพุทธศาสนา
          สังสารวัฏ ปัญจอันตรธาน พระศรีอาริย์ พระสารีริกธาตุ พระศรีมหาโพธิ์ พระพุทธบาท ประเพณีการบวช การสร้างพระพุทธรูป และการสร้างวัดหรือแปลงเรือนเป็นพิหาร
     10.4 ความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์
          หอเทวาลัย และการสร้างรูปเคารพเทพในศาสนาพราหมณ์ ตลอดจนการสังเคราะห์ความเชื่อเรื่องพระหริหระ
     10.5 ความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับลัทธิเทพกรรม (พิธีกรรมเกี่ยวกับช้าง)
   ครั้งที่ 11
เสาร์ที่ 4 ก.ค.63
11. พัฒนาการด้านภูมิปัญญาและอักษรศาสตร์
     11.1 การรับอิทธิพลพุทธศาสนาจากละโว้-อโยธยา หริภุญชัย ลังกา นครศรีธรรมราช
     11.2 พัฒนาการด้านภาษาและอักษรศาสตร์
     11.3 ความสำคัญของเตภูมิกถา (ไตรภูมิกถา??) ต่อสังคมไทย
   ครั้งที่ 12
เสาร์ที่ 18 ก.ค.63
12. ความรุ่งเรืองด้านศิลปกรรมของสุโขทัย
     12.1 ลักษณะเด่นของศิลปกรรมสุโขทัย (และตัวอย่าง) พุทธศิลป์และสุนทรียภาพของงานทัศนศิลป์ ได้แก่
                สถาปัตยกรรมศิลป: พิหาร ธาตุเจดีย์ มณฑป  
                ประติมากรรม: รูปเคารพบูชาในศาสนาพราหมณ์
                ประติมากรรม: พระพุทธรูป
                จิตรกรรม: ภาพเขียนบนผนังมณฑปวัดศรีชุม
                งานทัศนศิลป์อื่น ๆ เช่น รูปปั้นตุ๊กตาพื้นบ้าน เครื่่องใช้
     12.2 ภาพสะท้อนสังคมไทยในศิลปกรรมสุโขทัย
                แรงบันดาลใจ
                อุดมคติด้านสุนทรียภาพ
                เท็คนิกวิทยา
                ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ
   ครั้งที่ 13
เสาร์ที่ 25 ก.ค.63
13. สรุป  
   13.1 การบรรยายสรุป
     13.2 การเสวนาเรื่อง "ทุนวัฒนธรรมสุโขทัยกับการแปลงเป็นทุนทางเศรษฐกิจ"
             สุโขทัยศึกษากับการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้เรื่องราวของมรดกทางวัฒนธรรมของไทยที่ได้รับการยกย่องในฐานะมรดกโลกที่คนไทยควรภาคภูมิใจ
     13.3 ข้อมูลด้านวัฒนธรรมจากการศึกษาเรื่องราวของสุโขทัยอย่างเป็นระบบโดยอยู่บนพื้นฐานของหลักฐานชั้นต้นต่าง ๆ และทำการวิเคราะห์ในเชิงบูรณาการ ย่อมมีคุณค่าต่อแนวทางการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชาติ
     13.4 ผลการศึกษาเชิงบูรณาการเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่สามารถแปลงให้มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสมัยที่คนทั้งโลกตื่นตัวในเรื่องการท่องเที่ยว และไทยเป็นประเทศหนึ่งซึ่งมีทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย ทั้งวิถีชีวิตไทย แหล่งโบราณสถาน และศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ยิ่งการท่องเที่ยวเติบโตไปมากเท่าใด มัคคุเทศก์ก็ยิ่งมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในฐานะเป็นสื่อกลางถ่ายทอดความรู้แก่สังคม



วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563
 
ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร เมธีวิจัยอาวุโส สกว.
 
 
  • มีคนลงทะเบียนร่วมฟังสัมมนาร่วม 300 กว่าท่าน
  • คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ โฆษกของศูนย์ฯ
  • ดร.นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผอ.ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ กล่าวต้อนรับ
  • ศ.ดร.เจตนา นาควัชระ เมธีวิจัยอาวุโส สกว. กล่าวเปิดนำ
  • ต้องพัฒนา Fact ให้เป็น Truth
  • วิชาภาษาสันสกฤต กลายเป็นที่นิยมในเยอรมัน
  • ทฤษฎี ต้องระวัง จะทำให้เราเข้าป่า เราต้องมีสำนึกขบถ
  • ดร.วินัยได้ไปสุโขทัยก่อน เพื่อทำอารมณ์เตรียมบรรยาย
  • ประวัติศาสตร์ในสถานศึกษาปัจจุบันจะมุ่งเน้นไปที่ประวัติศาสตร์อยุธยา เรื่องประวัติศาสตร์ล้านนา หรือสุโขทัย กลายเป็นองค์ประกอบสายหลักด้านประวัติศาสตร์กรุงศรีฯ ไป ทั้ง ๆ ที่ลืมไปว่าขณะนั้นอาณาจักรล้านนามีความยิ่งใหญ่มีขอบเขตอาณาจักรกว้างขวางกว่ารัฐสยามเสียอีก และมีความเจริญรุ่งเรือง.
  • พบหลักฐานใหม่ในการศึกษาประวัติศาสตร์สุโขทัย/ล้านนา ซึ่งจะใช้เอกสารภาษาจีนมาช่วยศึกษาประวัติศาสตร์ (หมิงสือลู่ - ชิงสือลู่)
  • เดิมประวัติศาสตร์เชียงใหม่มักจะใช้หนังสือ 15 ราชวงศ์เป็นที่อ้างอิงหลัก
ความสำคัญของ "สมัยสุโขทัย" ในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย
  • เรื่องพงศาวดารเมืองเหนือนั้น ช่วงปลาย ร.1 ได้ทรงให้พระเจ้าลูกยาเธอฯ วังหน้าเป็นแม่กอง แล้วให้พระยาวิเชียรปรีชาทรงรวบรวม เรื่องเมืองเหนือจากตำนานบอกเล่า ไม่ค่อยเป็นประวัติศาสตร์
คนไทยร่วมสมัยกับการรับรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์สุโขทัย
  • รับรู้อุทยานประวัติศาสตร์เป็นมรดกโลก ตำนานนางนพมาศ การลอยกระทง ถนนพระร่วง ขอมสบาดโขลญลำพง ล้วนมาจากหนังสือเที่ยวเมืองพระร่วง (ของ ร.6 สมัยทรงเป็นสยามมกุฎราชกุมาร) ซึ่งยังเป็นเรื่องราวเล็กน้อย (กระผีก) เรื่องถูกแต่งขึ้นใหม่
โมฆียปกรณัม (Myth): ความเชื่อที่สร้างขึ้นกับเรื่องจริงและข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์
  • เรื่องยอพระเกียรติพระร่วงเจ้า สนุกดี เป็นนิยาย (ติดทะเล ต่างชาติ ฝรั่งมาค้าขาย...ซึ่งเป็นเรื่องเพ้อฝัน) งานนี้เขียนขึ้นทีหลังราว ค.ศ.1826 หลังสนธิสัญญารานตะโบ (Treaty of Yandabo: ရန္တပိုစာချုပ်) (ที่อังกฤษทำกับพม่า ซึ่งสนธิสัญญานี้ทำเป็นภาษาอังกฤษ: ทำให้พม่าต้องสูญเสียดินแดนอัสสัม มณีปุระ ยะไข่ และตะนาวศรี แก่อังกฤษ และยังต้องเสียค่าปฏิกรณ์สงครามเป็นจำนวนเงินหนึ่งล้านปอนด์สเตอร์ลิง) - ทำให้ภูมิภาคย่านนี้ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร.
  • ท้าวศรีจุฬาลักษณ์มีตัวตนจริง และมีความสำคัญ สตรีชั้นสูง หญิงเหล็ก ปรากฎในจารึกต่าง ๆ เช่น จารึกวัดอโสการาม วัดบูรพาราม วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม (วัดตาเถรขึงหนัง) ฯ 
  • เรื่องลอยกระทง ไม่มีจารึกในเอกสารชั้นต้นเรื่องนี้เลย ด้วยในสมัย ร.3 มีการรื้อฟื้นเรื่องนี้ แต่งตำนานสนับสนุน
  • เรื่องขอมสบาดโขลญลำพง เป็นเรื่องการประกาศเอกราชของคนไทย
  • ถนนพระร่วง มีการขุดคลองท่อปู่พรญาร่วง (พรญา = พระยา เขียนแบบมอญ) จากบางพาน (อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร) ไปถึงเมืองสุโขทัย เพื่อนำน้ำไปเลี้ยงสุโขทัย เป็นระบบชลประทาน คันดินที่สูงก็กลายเป็นทางสัญจร 
  • สาเหตุที่เข้าใจคลาดเคลื่อนว่าเป็นถนนพระร่วงนั้น มาจากสมัย ร.3 เจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จไปเมืองเหนือได้จารึกมาสองหลัก คือจารึกพ่อขุนรามคำแหง และจารึกวัดป่ามะม่วงที่เป็นภาษาเขมร ครั้งนั้นนักวิชาการยังอ่านอักษรพ่อขุนรามคำแหงยังไม่ได้ แต่คุ้นอักษรภาษาเขมรมากกว่า มีการประชุมนักวิชาการพบว่า เป็นเรื่องเสริมแต่งทั้งหมด  เมื่อครั้งมีการประชุมศิลาจารึกสยาม เมื่อ ค.ศ.1924 โดย จอช เซเดส เป็นบรรณารักษ์หอพระสมุดวชิรญาณนั้น มีแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส.
  • เซเดส ตีพิมพ์การอ่านจริง และส่วนที่เจ้าไทย (สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปรเรศวริยาลงกรณ์-พระสังฆราช) แปลออกมา เซเดส ฉลาดพอ ไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น. เพื่อไม่ทำให้คนไทยขัดเคือง. แต่ข้อความที่แต่งเติมได้ถูกนำมาใช้เป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ จนกระทั่ง ร.6 (สยามมกุฎราชกุมาร) ในสมัยนั้นได้เดินทางไปเมืองเหนือแต่งเรื่องเที่ยวเมืองพระร่วงขึ้นก็หลักฐานชิ้นนั้นอยู่. ตำนานต่าง ๆ ล้วนแต่ถูกแต่งเติมทั้งนั้น.
เจ้าฟ้ามงกุฎกับการค้นพบศิลาจารึกหลักที่ 1 และจารึกวัดป่ามะม่วงของพรญาลือไทในสมัยรัชกาลที่ 3
  •  เจ้าฟ้ามงกุฎทรงสนพระทัยในจารึกหลักภาษาเขมร (จารึกวัดป่ามะม่วง) มากกว่า. เพราะมีเหตุจูงใจให้ท่านชื่นชอบ พรญาลือไทในจารึกหลักเขมรนั้น เป็นคนนำไพร่พลจากศรีสัชนาลัยเข้าไปจู่โจมเมืองสุโขทัย แล้วยึดบ้านเมืองไว้ได้ มีการตีความว่าท่านเป็นผู้แย่งชิงราชสมบัติคืนมา (เหมือนกับท่านต้องรี้ราชภัยไปทรงผนวช แล้วค่อยสึกกลับมาครองราชย์ใหม่) และพรญาลือไทราช ทรงเชี่ยวชาญในตำราโหราศาสตร์ (ดุจเดียวกับพระองค์) และการเสด็จออกพระผนวชโดยพระสังฆราชจากลังกาที่ผ่านมาทางเมืองมอญ.
  • การประวัติศาสตร์เดิมยังไม่เป็นระบบ ควรจะต้องมีการนำมาทบทวนใหม่ คำทำนายว่าบ้านเมืองจะเสื่อมถอยฯ..ก็มาจากพรญาลือไท
ความหมายของ "สุโขทัย" "หัวเมืองเหนือในอดีต"
  • สุโขทัย แปลว่า รุ่งอรุณแห่งความสุข อุทัย แปลว่าเพิ่มพูน (increase) ตรงกับคำบรรยายในจารึก กล่าวถึงความอุดมสมบูรณ์ของสุโขทัย
  • เมื่อก่อนเราจะเรียกว่าเมืองเหนือ ไปเพียงแค่สุโขทัย พิษณุโลกเท่านั้น แต่พอสยามเทศะสามารถครอบครองล้านนาได้ เมืองเหนือจึงขยายไปถึงเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย 
     
ขอบเขตทางกายภาพและวัฒนธรรม
  • อาณาเขตทางใต้ของสุโขทัยนั้นจรดไปถึงนครศรีธรรมราช ซึ่งมีผู้โต้แย้งว่าเป็นไปไม่ได้เพราะไกลถึงขนาดนั้น แต่เอกสารของจีนก็ดี ของมอญก็ดี ต่างระบุว่าอาณาจักรสุโขทัยยาวไปจรดนครศรีธรรมราช.
  • ในจารึกวัดบูรพาราม กล่าวถึงอำนาจของพระมหาธรรมราชาธิราช ปกครอง ปกเลือง ปกเขม เขมรัฐ ปกกาว. ในอดีตการกำหนดอาณาเขตเป็นไปตามชาติ เช่น ปกเลือง อาณาเขตของชาวเลือง ปกซ่าว เป็นอาณาจักรเขตของชวา หรือหลวงพระบาง.
  • มีนักวิชาการจีนกล่าวถึง "ป่อเล่อ"...ก็มาจากปกเลือง ที่พบในจารึกวัดบูรพาราม ปก หรือ เปาะ (ในภาษาเชียงใหม่) แปลว่า เจ้าแคว้น 
เสียน หมายถึง สุโขทัย หรือไม่? จารึกพ่อขุนรามคำแหง เป็นของทำใหม่หรือไม่? สุโขทัยมีทาส หรือไม่? เตภูมิกถาไม่ใช่ งานเขียนร่วมสมัยสุโขทัย
  • มักเป็นคำที่ถามเสมอ ในชินกาลมาลีปกรณ์ ระบุ สุโขทัยซึ่งเป็นสยามประเทศ (บาลี.... สุโขทัยปุเล สยามเทเศ การบอกตำแหน่งปาไป่สีฟู่ เชียงใหม่ติดกับเสียน (เชียงใหม่ติดกับสุพรรณบุรีนั้นเป็นไปไม่ได้) ...นั่นคือสุโขทัยอันเป็นสยามนั่นเอง.
  • จินตนทัศน์ในอดีต (Perception of the past) 
คนอยุธยารับรู้สุโขทัยอย่างไร?
  • คนอยุธยารับรู้สุโขทัยอย่างไร .... เมืองหลวงเก่า เมืองพระร่วง ความเชื่อของความรุ่งเรืองทางด้านปัญญาของสุโขทัย 
  • สุภาษิตพระร่วง หรือ บัณฑิตพระร่วงหรือสุภาษิตพระร่วง มาลอกในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
  • หลักชัย หลักกฎหมายที่พระยาร่วงเมืองสุโขทัยได้วางไว้โดยไปถึง จารึกหลักที่ 38 ว่าด้วยการลักพาขโมย ธำรงรัฐสีมาดุจพระร่วง.
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีฯ ทุกฉบับจะไม่พูดถึงประวัติศาสตร์ก่อนจุลศักราช 712 ก่อนตั้งกรุงศรีฯ ร.1 ให้ไปรวบรวมพงศาวดารเมืองเหนือมาใน ค.ศ.1809 ก็ได้มา ต่อมาฉบับบริติชมิวเซียมมีการกล่าวถึงพงศาวดารเมืองเหนือ ใส่ไว้ตอนแรก.
  • มีข้อน่าสังเกตว่า ร.1 เคยอยู่เมืองเหนือ ได้ความคุ้นเคยผูกพัน แล้วนำพงศาวดารเมืองเหนือมาใส่ ต่อมาเจ้าฟ้ามงกุฎได้พบ จารึกหลักที่ 1 และจารึกป่ามะม่วง ผู้ใดมีข้อขุ่นใจให้ไปรัน (สั่น หรือตี...สุภาษิตโบราณ อย่าเอาไม้สั่นไปรันขี้) กระดิ่ง.
  • ร.3 โปรดให้ขุดคลองที่จันทบุรี เจอไม้ขนาดใหญ่เข้า โปรดให้ทำกลองวินิจฉัยเภรี หลักจากมีการค้นพบจารึกหลักที่ 1.

คาร์ล บ็อค (Carl Bock) (17 กันยายน พ.ศ.2392-10 สิงหาคม พ.ศ.2475) ข้าราชการ นักเขียน นักธรรมชาติวิทยา และนักสำรวจชาวเดนมาร์ก ได้เดินทางสำรวจสยาม ภาคเหนือ และลาว เขียนหนังสือชื่อ Temples and Elephants (ท้องถิ่นสยามยุคพระพุทธเจ้าหลวง), ที่มา: th.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 31 กรกฎาคม 2564.



เซอร์ เออร์เนสต์ เมสัน ซาโตว (Sir Ernest Mason Satow) (พ.ศ.2386-2472), ที่มา: matichonweekly.com, วันที่เข้าถึง 31 กรกฎาคม 2564.
  • Carl Bock เป็นชาวเดนมาร์ก ฝรั่งคนเแรกที่เที่ยวศึกษาเมืองเหนือ ต่อมา เซอร์ เออร์เนสต์ เมสัน ซาโตว (Sir Ernest Mason Satow) ทูตอังกฤษในกรุงสยาม ระหว่างพ.ศ.2428-2431 เป็นที่มาของสำนวนว่า พระสุโขทัยนั้นสวย เหมือนสาวสิบเจ็ด สะโอดสะอง สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงศ์ เสด็จเมืองเหนืออย่างเป็นทางการ พระนิพนธ์ของพระองค์เขียน และวาดลายได้งดงามเล่มหนึ่งเกี่ยวกับสุโขทัย. ไปศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นป่าต้องถากถาง สามารถวาดลวดลายปูนปั้นเอาไว้.
  • ร.6 สมัยเมื่อเป็นสยามมกุฎราชกุมาร เขียน "เที่ยวเมืองพระร่วง" ละเอียด และจดบันทึกแบบทหารปืนใหญ่ (ท่านเรียนเป็นทหารปืนใหญ่ที่อังกฤษ) มีระเบียบ
  • หนังสือเที่ยวเมืองพระร่วง ร.6 ท่านบันทึกไว้เยอะมาก ในจารึกหลักที่ 11 วัดเขากบ จารึกหลัก 2 ศรีชุม...."รัตนกุดานคร ไทเรียกว่า กำปงครอง" 
  • ตอนขึ้นเรือที่นครสวรรค์ มีเมืองเก่าอยู่ ปากน้ำโพ เมืองนั้นชื่อ กำปงครอง
  • กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ... ได้อ่านและค้าน ได้โต้ตอบกันทางวิชาการ ต่อมาสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ได้เขียนเพิ่มเติม แต่หลังจากที่ ร.6 สิ้นพระชนม์แล้ว.
  • พ.ศ.2503 ได้มีการจัดประชุมปวศ.ครั้งยิ่งใหญ่ กลางแจ้งที่หน้าวัดพระรัตนมหาธาตุ สุโขทัย....เป็นการให้ความสำคัญปวศ.สุโขทัยอย่างเป็นทางการ. นบกั้นน้ำ ปีที่พระแท่นมนังคศิลาบาตรสร้าง ปลูกต้นตาลได้ผลผลิตมากถึง 13-14 เท่า ลายพระนามกษัตริย์สุโขทัย (จารึกที่ 14-15 สร้างปัญหาในการตีความของนักปวศ.)
  • จารึกหลักที่ 1 ปลอมหรือเปล่า? .... ดร.ไมเคิล วิคเคอรี (Michael Vickery)01. อ.พิริยะ ไกรฤกษ์... พาดพิงไปถึงงานไตรภูมิกถา...หากจารึกหลักที่ 1 ทำทีหลัง แสดงว่าไตรภูมิกถาก็ทำขึ้นมาทีหลัง ในสมัยรัชกาลที่ 4. มีการประชุมโต้แย้งครั้งใหญ่ที่ธนาคารกรุงเทพ ...เรื่องไม่จบ คนที่เชื่อว่าปลอมก็เชื่ออยู่ คนที่เชื่อว่าไม่ปลอมก็ยังเชื่อว่าไม่ปลอม
  • มีคำทวิพจน์ในจารึกหลักที่ 1 ซึ่งเลิกไปแล้วในสมัย ร.4 อาจารย์ ดร.วินัย กล่าวว่าปลอมไม่ได้.
  • กรุงสุโขทัย เป็นรากฐานของความเป็นไทย 1) เรื่องตัวอักษร 2) พระพุทธศาสนา พระพุทธรูปที่เป็นเอกลักษณ์ คือพระพุทธรูปปางลีลา...ดูที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง 3) พระธาตุดอกบัวตูม
  • จารึกหลักหนึ่งชื่อ "พ่อขุนรวมพล"...พระปฐมเจดีย์....พิพิธภัณฑสถานแห่ง นครปฐม...ที่จริงต้องเป็น "จารึกพ่อขุนรามพล" พ่อขุนคนหนึ่งตียึดพ่อขุนอีกท่านหนึ่ง มีการผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน ที่ไม่ราบรื่น
  • พ่อขุนรามพล เป็นใคร ควรเป็น พ่อขุนรามคำแหง นั่นแหละ เพราะ พล = กำแหง กำลัง หรือ อาจจะเป็นชื่อตามทฤษฎี น้องชายพระกฤษณะ (รามพล)
  • พระมหาเถรศรีศรัทธา มานครพระกริ (นครพระกฤษณ์) กลับจากลังกาลาเรือเข้าเมืองมอญ แล้วตัดมานครปฐม
  • ค.ศ.550 พศว.ที่ 12 ที่วัดพระงาม มีการจารึกพระนามของมหากษัตริย์นั่น ชื่อพระกริ (ตามตำนานอินเดียโบราณ..มหาภารตะยุทธ์) ทวารกา ก็เป็น เมืองทวารวดี ไป
  • เจดีย์จุลประโทน ที่นครปฐมคือศูนย์กลางของทวารวดี นครพระกริ 
  • ศรีสัชนาลัยอยู่ที่ไหน?
  • จารึกหลักที่ 1 กล่าวถึง ปัว แพร่ น่าม ม่าน เมืองพัน (พนน - น สองตัวเท่ากับไม้หันอากาศตัวหนึ่ง)...เมืองพัน คือ มะตะพัน หรือ เมาะตะมะ เมืองมอญ. จารึกวัดช้างล้อม จารึกสุโขทัยหลักที่ 106 พ่อนมไสดำ พระญาติผู้ใหญ่ของสุโขทัยได้บวชที่วัดพระพุทธสาคร ทางเมืองมอญ
  •  
  • [00:28:57, EP.02/2]  

 

 
วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ กำหนดการเปลี่ยนใหม่เป็น:-

เวลา 13:00 - 16:00 น.
หอประชุมชั้น 4 อาคารศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
การบรรยายครั้งที่ 2
หัวข้อบรรยาย: ประวัติศาสตร์การเมือง
(ตอนที่ 1: ยุคเริ่มต้นสุโขทัย)
จาก"ราชวงศ์ศรีนาวนำถุม" สู่ "ราชวงศ์ศรีอินทราทิตย์"

กำเนิดรัฐสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย: พ่อขุนศรีนาวนำถุม



วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม กำหนดการเปลี่ยนใหม่เป็น:-
 
    ลำดับเหตุการณ์สำคัญ
   ราว ค.ศ.1219/พ.ศ.1762  พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สวรรคต
   ค.ศ.1243/พ.ศ.1786  พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 สวรรคต
   ราว ค.ศ.1247/พ.ศ.1790  -- When the eleventh year of the reign of this king, ปรักกมพาหุ II, a king of the Javakas known by the name of Candabhanu (จันทภาณุ) landed with a terrible Javaka army under the treacherous pretext that they also were followers of the Buddha. All these wicked Javaka soldiers who invaded every landing place and who with their poisoned arrows, like terrible snakes, without ceasing harassed the people whomever they caught sight of, laid waste, raging in their fury all Lanka. Just as flashes of lighting with floods of water (visit) a place destroyed by light with flames of fire, so Lanka which had been harassed by Mahga and others were ravaged once by the Javakas
 -- Prince Virabhahu (วีรพาหุ) had to organize an army to suppress them.
          Wilhelm Geiger. Culavamsa, Eng translation by C. Mabel Rickmirs. (New Delhi: Asian Edu-cational Services. 1992): 151 
   ค.ศ.1256/พ.ศ.1800  -- พระเจ้าโรจราช (ศรีอินทราทิตย์) ครองสุโขทัยปุระแห่งสยามเทศะ
   ค.ศ.1262/3  จันทภาณุสิ้นพระชนม์ที่ลังกา
   ค.ศ.1274/ม.ศ.1196  "เมื่อศักราช 1196 ขวบนั้น ยังมีพญาองค์หนึ่งชื่อพญาศรีไสยณรงค์แต่ตะวันตกมาเสวยเมืองนครศรีธรรมราช" (ตำนวนเมืองนครศรีธรรมราช)
   ค.ศ.1279/ม.ศ.1201  รามคำแหงขึ้นครองราชย์ (ถ้าถือปีปลูกต้นตาลเป็นขึ้นเสวยราชย์) แต่ข้อสันนิษฐานนี้อาจผิด
   ค.ศ.1279/พ.ศ.1822  ราชสำนักจีน (หยวน) หารือกันเรื่องการจัดทัพไปปราบเซียน หลัวหู หม่าปาเอ๋อร์ จี้หลัน และซูมู่ตาลา (น่าแปลกที่ไม่กล่าวถึงเจินล่า) แต่ฉี้อเจียหลู่นาต๋าซือเสนอว่า ได้รัฐเหล่านั้นมาก็ไม่มีประโยชน์อะไร ให้ส่งทูตไปเกลี้ยกล่อม ดังนั้นจึงมีรับสั่งให้เอียลาเยหนูเตอมี่จัดส่งทูตไปตามข้อเสนอดังกล่าว กว่า 20 อาณาจักรยอมอ่อนน้อม
  The court deliberated on raising an army to attack the country of Hsien, and the countries of Lo-hu, Ma-pa-erh, Chu-lan, and Su-mu-tu-la. But Chia-lu-na-ta-ssu expressed himself thus to the throne: "These are all small, unimportant kingdoms: even if we can acquire them, wherein lies the advantage? To raise an army against them destroys men's lives; would it not be well to succeed or fail by sending emissaries to persuade them?  If they then do not submit, it will not yet be late to attack."  The emperor accepted his words and order Yo-la-yeh-nu-t'ieh-mie and others to proceed on missions. Over twenty kingdoms submitted.
   ก่อน ค.ศ.1281  1. พระร่วงเจ้าไปรบชวา
 2. มะกะโทพาพระธิดาหนีไปเมาะตะมะ
   ค.ศ.1282/พ.ศ.1825  17 ก.ค.
 - Ho Tzu-chi  ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปสยาม
 - ราชสำนักหยวนส่งทูตมาประเทศเซียน แต่เมื่อผ่านจ้านเฉิง พวกจัมปาได้จับตัวไว้
   ค.ศ.1283/พ.ศ.1826  พระร่วงได้เมืองสัชนาลัยแล้วจึงประดิษฐ์อักษร
   ค.ศ.1283/1205  -- รามคำแหงประดิษฐ์ตัวอักษรไทย
   ปีรกา (ค.ศ.1285 หรือ ค.ศ.1297)  -- พ่อขุนรามพลเป็นขุนในเมืองศรีสัชนาลัยได้ปีหนึ่ง แล้วจึงสวมยอดพระธาตุ
   ค.ศ.1285/1207?  -- บรรจุพระธาตุกลางเจดีย์ที่เมืองศรีสัชนาลัย
   ค.ศ.1289/พ.ศ.1832  4 ธันวาคม: ละโว้และหนี่เหรินกว๋อรวมสองประเทศส่งทูตมาถวายของพื้นเมืองเป็นเครื่องมงคลราชบรรณาการ
   ค.ศ.1291/พ.ศ.1834  11 พฤศจิกายน: กษัตริย์ลโวทัยปุระส่งทูตมาถวายศุภสารอักษรทองคำ (พระสุวรรณบัตร) พร้อมด้วยเครื่องราชบรรณาการมีทองคำ งาช้าง นกกระเรียน นกแก้วห้าสี ขนนกกระเต็น นอระมาด ชัน กราบูร)
   ค.ศ.1292/-13 = 1214  -- ปลูกตาลได้ 14 เข้าจึงให้ฟันแผ่นหินทำพระแท่นมนังศิลาบาตร
   ค.ศ.1293/1836  --พี่น้องไทยใหญ่อ้างสิทธิเหนือมะริด ตะนาวศรี
   ค.ศ.1293-4 มิถุน.  -- ราชสำนักหยวนส่งทูตไปเซียน
  ค.ศ.1294-05 กรก.  -- กานมู่ติงแห่งเพชรบุรีส่งทูตไปจีน
           18 สิงห์.  -- ราชสำนักหยวนสั่งให้กานมู่ติงไปเข้าเฝ้าหรือส่งอนุชาไปเป็นตัวประกัน
   ค.ศ.1295  -- ราชสำนักหยวนสั่งให้เซียนเลิกรุกรานมาลีหยู่เอ้อ
   ค.ศ.1296/พ.ศ.1839  23 มกราคม พระเจ้ากรุงลโวทัยปุระให้ทูตนำเครื่องราชบรรณาการมาถวายที่ราชสำนักหยวน
   ค.ศ.1297/พ.ศ.1840  2 พฤษภาคม: (จักรพรรดิ) พระราชทานเครื่องนุ่งห่มต่าง ๆ แก่ชาวสยามและชาวละโว้ ผู้นำเครื่องราชบรรณาการมาถวาย
   ค.ศ.1299/พ.ศ.1842   2 กุมภาพันธ์: ชาวสยาม มลายู ละโว้ ต่างนำของพื้นเมืองมาถวายเป็นเครื่องราชบรรณาการ จักรพรรดิพระราชทานตราหูฝู่ (เสือ) ให้แก่รัชทายาทของประเทศสยาม
พระยาเลอไทขึ้นครองราชย์
    ตอนปลายปี พระเจ้ากรุงสยาม (มีศุภสาร) กราบทูลว่า เมื่อชั่วพระราชบิดา ราชสำนัก (จีน-หยวน) เคยพระราชทานอานม้า บังเหียนม้า ม้าขาว แลเสื้อด้ายกรองทอง จึงใคร่ขอพระราชทาน (สิ่งของดังกล่าว) ตามทำนองเดียวกัน อย่างไรก็ตามอัครมหาเสนาบดีหวันเจ๋อต๋าลาหั่น ถวายความเห็นว่า ถ้าพระราชทาน ม้าแก่สยาม ซึ่งเป็นอาณาจักรเล็กแล้ว เกรงว่าเซินตู๋ (ปกติหมายถึง สินธุ อินเดีย) ซึ่งเป็นอาณาจักรเพื่อนบ้านของสยาม จักติฉินนินทาราชราชสำนัก (จีน-หยวน) ได้.
   ค.ศ.1299/พ.ศ.1842-ค.ศ.1340/พ.ศ.1884  ช่องว่าง 41 ปี
  1. พระยาเลอไท 1299/1842 - 1322/1883?
  2. พระยาลือไท 1340/1883
  3. งั่วนำถุม 1322? - 1347/1890
   ค.ศ.1340/พ.ศ.1883  -- พรญาลิไทขึ้นครองราชย์ที่ศรีสัชนาลัย
   ค.ศ.1341-1415  -- เมืองกำโปลา หรือ กัมพไล เป็นเมืองหลวงของลังกา พระมหาเถรศรีสรธา ต้องไปลังกาและอินเดียหลังปีนี้ ถ้าท่านอยู่ที่นั่น 9-10 ปี จะกลับมาสยามประเทศเมื่อผ่านต้นทศวรรษ 1350 ไปแล้ว
   ค.ศ.1343/พ.ศ.1886  7 เมษ.  -- พระบรมครูติโลกดิลกรัตนศีลคันธวนวาสีธรรมกิตติสังฆราชมหาสามีเจ้าแรกออกบวชในคามวาสี
   ค.ศ.1347/พ.ศ.1890  (อาจเป็น ศุกร 22 พฤษาคม พ.ศ.1349)
 -- พรญาลิไทเอาขวานประหารศัตรูและขึ้นครองราชย์ที่สุโขทัย อ้างว่าขึ้นครองราชย์แทนปู่พ่อ
   ค.ศ.1349/พ.ศ.1892 มิถุน - กรกฎ  พรญาลิไทประดิษฐานพระมเหศวร พระวิศณุในหอเทวาลัยมหาเกษตรในป่ามะม่วง
   ค.ศ.1279/ ม.ศ.1357/ พ.ศ.1901  -- พรญาลิไทสถาปนาพระศรีมหาธาตุที่นครชุม อ้างว่าพระธาตุเป็นของแท้ใช่ของสามานย์ไม่
 -- หลัวหูโจมตีและผนวกเซียน
   ค.ศ.1351 - 2 กุมภ์  -- สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 สถาปนากรุงพระนครศรีอโยธยา


 


 


 

 
 
 
การบรรยายพิเศษครั้งที่ 6
วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม 2563  เวลา 13:00-16:00 น.
ณ ห้อง 601 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ถนนบรมราชชนนี แขวง/เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร

1. ภาพรวมของสุโขทัยในฐานะรัฐราชอาณาจักร
 กษัตริย์ในอุดมคติ พระบรมจักรพรรดิราช "ศรีธรรมาโศกราช" "ผู้ทรงภูมิปัญญาอันประเสริฐ" รอบรู้ในกลาศาสตร์    ที่มาของสิทธิธรรม พิธีกรรม ราชาภิเษก    ธรรมราชา ความหมายของธรรม: คำสอนของพระพุทธองค์ ธรรม: กฎหมาย
         
     อาณารัฐ    
         
 พระราชอาณาเขตร รามคำแหง พรญาลือไท มหาธรรมราชาธิราชที่ 2 รามราชาธิราช    การปกครองแบบสมาพันธ์ฉันเครือญาติ    หลักการปกครอง ***ไชยวาทาสาสน์*** ว่าด้วย ราชกับราษฎร์ การทำนุบำรุงความเป็นอยู่
         
 กฎหมาย: พระธรรมศาสตร์ พระราชศาสตร์    ระบบราชการ การควบคุมกำลังคน ราชการฝ่ายใน ราชการฝ่ายหน้า ราชการฝ่ายสงฆ์    การผูกสัมพันธ์กับรัฐอื่น และพิธีการทำสัตย์ปฏิญญา


2. พัฒนาการจากระบอบ "พ่อขุน" มาสู่รัฐราชาธิปไตยที่ได้รับอิทธิพลจากเขมรโบราณ
3. ความสัมพันธ์ฉันเครือญาติกับเจ้าเมืองหลักคือ น่าน ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร และสองแฅว
4. สมัญญานาม "ธรรมราชา" แสดงถึงอุดมการณ์แบบพุทธเถรวาท นั่นคือ ทศพิธราชธรรม ไชยวาทาสาสน์ "ความพอดี"
5. หลักการปกครองบ้านเมือง
        ในการสร้างภาพลักษณ์ของการเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงภูมิธรรมและรอบรู้ทั้งทางโลกย์และทางธรรม เตภูมิกถาได้หยิบยกคำสอนเรื่องหลักการปกครองบ้านเมืองที่พระบรมมหาจักรพรรดิได้ทรงสั่งสอนแก่บรรดากษัตริย์ทั้งหลายที่มาถวายบังคม คราวที่พระบรมมหาจักรพรรดิทรงปราบทั้งจักรวาลแล้ว คำสอนนี้เรียกว่า ไชยวาทาสาสน์ คำสอนนี้ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของศาสนาพุทธมีมานานและสะท้อนอยู่ในการแถลงพระราโชบายในจารึกพ่อขุนรามคำแหงในหัวข้อที่ว่า กษัตริย์ไม่ใช่เป็นเพียงนักรบแต่ต้องเป็นผู้พิทักษ์ธรรมคือสอนให้ราษฎร "รู้บุญรู้ธรรม" และรู้จักส่งเสริมให้ประชาชนอยู่ดีกินดีด้วยเช่นเดียวกับการอำนวยความยุติธรรมโดยซื่อ หรือ "อย่าได้เลือกผู้รักอย่าได้มักผู้ชัง"
        สำหรับพรญาลือไทยแล้ว สิทธิธรรมของพระองค์มาจากพระราโชบายการปกครอง ทรงแสดงให้เห็นในจารึกหลักต่าง ๆ ว่า ทรงปกครองบ้านเมืองโดยใช้หลักการที่ไม่เพียงแต่สอดคล้องกับอุดมคติของการเป็น "มหาธรรมราชา" แต่ยังต้องการเอาชนะใจประชาราษฎรด้วย ในทางพุทธปรัชญา พระมหาธรรมราชาทรงต้องยึดมั่นในจุดมุ่งหมายปลายทางที่ยิ่งใหญ่ คือ การได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าและการพาเวไนยสัตว์ข้ามวัฏสงสารหรือ การเวียนว่ายตายเกิด ดังนั้น พระองค์จึงทรงสั่งสอนประชาชนให้ "กระทำบุญธรรม" เพราะกว่าจะเวียนว่ายตายเกิดมาเป็นมนุษย์นั้นยากนัก จึงไม่ควรเสียชาติเกิด ทรงสั่งสอนให้ประชาชนเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของสังคมในทัศนะของพุทธศาสนา โดยเฉพาะในเรื่อง "ปัญจอันตรธาน" หรือการที่พระศาสนาดำรงอยู่เพียง 5,000 ปี และทุก 1,000 ปีที่ผ่านไป สังคมมนุษย์จะเสื่อมลงจนถึงยุคมิคสัญญีที่ความร้อนจากบาปจะทำให้เกิดไฟไหม้ล้างโลก
        ในการแปลงคำสอนด้านพุทธปรัชญาที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมนั้น ในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์และราษฎร พระยาลิไทยได้แจกแจงถึงแนวคิดและแนวปฏิบัติของพระองค์ไว้ในจารึกนครชุมว่า

     1.  พระมหากษัตริย์ในฐานะผู้นำต้องมีความรอบรู้ในศิลปศาสตร์ และวิชาทางโลกย์ เช่น ดาราศาสตร์ การผูกสกาจาตุรงค์ "การทำยนตร์ ขี่ช้าง คล้องช้าง" มีความแกล้วกล้าในการรบศึก.
     2.  นอกจากอยู่ในทศพิธราชธรรมแล้ว พระมหากษัตริย์ยังต้องถือศีล 5 ศีล 8 มีพระเมตตาแก่ประชาชน ไม่ถือโกรธแม้กระทั่งผู้คิดทรยศหรือผู้คิดร้ายที่ "ใส่ง้วน (สารพิษ) ในปลา ใส่ยา [พิษ] ในข้าว"
     3.  พระมหากษัตริย์ต้องไม่โลภ "ไม่ขย้ำเอาเหย้าน้าวเอาเรือนเขา" ไม่ลักเข้าลักของราษฎร สมบัติของผู้ตายไม่ว่าจะเป็นลูกเจ้าลูกขุนให้ตกเป็นของทายาท คือ "พ่อตายให้ไว้แก่ลูก พี่ตายให้ไว้แก่น้อง" หลักการเรื่องมรดกนี้มีกล่าวไว้ในจารึกพ่อขุนรามคำแหงมาก่อน
     4.  พระมหากษัตริย์มีหน้าที่ส่งเสริมให้ประชาชนทำกินโดยสะดวก "ให้ขี่เรือไปค้าขี่ม้าไปขาย" ไม่ขีดรูดภาษีโดยอำเภอใจ จะเก็บผลประโยชน์จากเกษตรกรได้ไม่เกินร้อยละสิบ ส่วนการเรียกส่วยต้อง "ไม่เอายิ่งเอาเหลือ" ถ้าเอามากไปจะเป็นตัวอย่างให้กษัตริย์ในภายภาคหน้ากดขี่ประชาราษฎร กษัตริย์ที่ดีจักต้องรู้จักความพอดีและพอเพียง และทรงให้ทำเหมืองทำฝายเพื่อให้ปลูกพืชทั้งเพื่อประกอบอาชีพและว่านสมุลไพรต่าง ๆ เช่น "ปลูกหมากพร้าวหมากลาง ที่เป็นป่าเป็นดงให้แผ้วให้ถาง [เป็นเรือกสวนไร่นา]".
     5.  พระมหากษัตริย์ทรงต้องใส่พระทัยในการสะสมเสบียงของบ้านเมืองมิให้ขาดแคลน นั่นคือ "จุ่งจุ่งข้าวเหลือเกลือทุนในเมืองตน" เพราะถ้าต้องไปขอความช่วยเหลือจากคนอื่นก็อาจถูกดูแคลน แต่ถ้ามีเสบียงมากบ้านเมืองอื่นก็จะมาพึ่งพิงอ่อนน้อม.
     6.  พระมหากษัตริย์มีหน้าที่สั่งสอนจริยธรรมและคุณธรรมแก่คนในสังคมกล่าวคือสอน "ให้ยำปู่ครู [ยำปู่ย่าตายาย ยำพ่อแม่?...พี่]น้อง ยำผู้เถ้าผู้แก่".
     7.  พระมหากษัตริย์ทรงต้องยึดหลักมนุษยธรรมในการใช้แรงงานราษฎร กล่าวคือ "ให้รู้ปรานีไพร่ฟ้า [ข้าไทย] งานไสร้ใช้ ผิบ่ชอบเมื่อใช้ไสร้ อย่าพาใช้" นั่นคือ งานใดถ้าจะใช้แรงงานราษฎร เมื่อใช้แล้วจะไม่ชอบด้วยมนุษยธรรมก็อย่าได้ใช้ ยิ่งไปกว่านั้น ยังห้ามใช้แรงงานผู้เถ้าผู้แก่ด้วย


กษัตริย์ในอุดมคติ พระบรมจักรพรรดิราช "ศรีธรรมาโศกราช" "ผู้รอบรู้ในกลาศาสตร์" "ผู้ทรงภูมิปัญญาอันประเสริฐ"
  • การบรรยายครั้งนี้ เป็นเรื่องพื้นฐานสถาบันกษัตริย์ในไทย
  • จารึกวัดป่าแดง เป้นรูปทรงใบเสมา จากสุโขทัย นำเข้ามากรุงเทพฯ สมัยรัชกาลที่ 6 แต่เมื่อนำมากรุงเทพ กองไว้เป็นแผ่นสี่เหลี่ยม ตรวจเช็คแล้ว น่าจะมีจารึกอื่น ๆ ปนด้วยและไม่ทราบว่าเอามาจากไหน นัหประวัติศาสตร์ต้องละเอียด ต้องรื้อค้นศึกษากันใหม่
  • ขุน = กมรเตงอัญ, วัฒนธรรมเขมรฝังรากลึกก่อนที่คนไทยจะเข้ามา
  • ในเตภูมิกถา ไม่ได้ใช้คำว่าอาณาจักร แต่จะใช้คำว่าอาณารัฐ (รัฐของพระราชา)
  • พุทธศตวรรษที่ 16 (พ.ศ.15xx) มีรัฐไทยเล็ก ๆ กระจายกันอยู่ ก่อนที่จะเป็นรัฐไทย อ้างอิงจากเอกสารของพุกาม
  • พระเจ้าอลองธสิทธู...แห่งพุกาม จะนำพาปวงราษฎรข้ามพ้นสังสารวัฏ
  • เมาะตะพัน (Mataban) หรือเมืองพัน ไทยเรียก เมาะตะมะ
  • วัชชปุระ....พัชชปุระ (อุดมไปด้วยพืช) ชื่อดั้งเดิมของเมือง เพชรบูรณ์ ปัจจุบัน.....ลุมบาจาย
ความสัมพันธ์กับรัฐอื่นและพิธีการทำสัตย์ปฏิญญา
  • ระบบราชการของสุโขทัย น่าจะมีกองงานราชบัณฑิต
  • หน (ฝ่าย) ราชามาตย์ ...พวกอำมาตย์ ข้าราชการ
  • ธรรมศาสตร์ หลักการทั้งหลายที่เกี่ยวกับกฎหมาย มูลคดีมีอะไรบ้าง? (ส่วนใหญ่มี 18 ประการ ตามที่รับมาจากอินเดีย)
  • หนคามวาสี (มีพระภิกษุมากที่สุด) - บา ...อุปัชฌาย์ ครูบาศรีวิชัย, 
  • หนพระรูป
  • หนอรัญวาสี (พระป่า) พระสายวิปัสนาธุระนี้ ได้รับความนับถือมากกว่าพระสายคามวาสี  
  • กัลปา ภาษาสันสกฤต แปลว่า กำหนด (Fix) ที่ดินของกษัตริย์ยกให้แก่ฝ่ายสงฆ์ไป นาพระราชทานให้แก่พระอารามเรียกว่านาแจก
  • พระจงกรม คือ พระพุทธรูปปางลีลา
  • พระเจ้าหย่อนตีน ที่วัดสรศักดิ์ เป็นวัฒนธรรมที่มาจากทวารวดี เหมือนพระหย่อนตีนพระหินขาวที่นครปฐม
  • ฝ่ายใน..(ลูกเจ้า บาทบริจาริกา)..นอกจากมีทรัพย์แล้ว ต้องมีศฤงคารด้วย (หาความสุขจากบรรดาบาทบริจาริกา พระมหากษัตริย์ต้องบำรุงบาทบริจาริกาให้สวยงาม)
  • หัวเมือง..มีอิสระสูงมาก (Marriage Politics - การเมืองเรื่องแต่งงาน แต่งกันไขว้กันไปหมด)
 

 
 
การบรรยายพิเศษครั้งที่ 7
วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน 2563 เวลา 13:00-16:00 น.
ณ ห้อง 601 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ถนนบรมราชชนนี แขวง/เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร


ศรษฐกิจและสังคมสุโขทัย
การเศรษฐกิจ
7.1  สถาบันกษัตริย์กับการทำนุบำรุงเศรษฐกิจ
       - ส่งเสริมการค้าแบบเสรี (จารึกหลักที่ 1 และหลักที่ 3)
       - สร้างระบบชลประทานเหมืองฝาย (สรีดภงค์) ทำนบ
       - ตลาดปสานและตลาดนัด
7.2  หัตถอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบและเครื่องถ้วย (แหล่งผลิตเครื่องสังคโลกที่ศรีสัชนาลัยและสุโขทัย)
7.3  เส้นทางการค้า
       (1) เมาตะมะ - เมืองพัน - ฉอด - ตาก - ระแหง - เชียงทอง - สุโขทัย,
       (2) ต้าหลี่ - ซือเหมา - แม่สาย - เชียงใหม่ - ลำพูน - ศรีสัชนาลัย - สุโขทัย, 
       (3) สุโขทัย - กำแพงเพชร - สองแฅว - พระบาง - อโยธยา,
       (4) สองแฅว - สุโขทัย - น่าน - หลวงพระบาง - เวียงจันทน์ 
7.4  ตลาดกับเงินตรา
       - ตลาดปสาน
       - การใช้เงินตรา
       - สินค้า

สังคม
7.5  ชนชั้นทางสังคม
       - เจ้าไท (พระภิกษุ)
       - ลูกเจ้า
       - ลูกขุน  ---- ทมูลนาย/มูลตวาน = เจ้า + ขุน
       - ไพร่หลวง
       - ข้าไท
       - ข้าพระ (เชิงกุฏีและศีลบาล)
       - ศักดินา
       การควบคุมไพร่: จ่าข้าสุภาวดี กับการขึ้นทะเบียนไพร่ฟ้า (ไพร่หลวง) ข้าไท (ไพร่สม)
7.6  กลุ่มชาติพันธ์ุในสุโขทัย
         "เขม" ละว้า มอญ เลิง มาว กาว ว่าว ชาวอู ชาวของ ชาวมา ไทใต้หล้าฟ้าฏ[โรก]
7.7  นันทนาการ
         ดุริยศิลป์ คีตศิลป์ และการเผาเทียน การเล่นพันลุ (พลุ)

 
  • ชุมชนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบหากมีคดีความขึ้น
  • การปักไหมตามศักดิ์ ศักดิ์ไม่เท่ากัน ปักโดยขนาด = ปักเต็มที่
  • สัตย์ปฎิญญา ปกติจะสาบานต่อเบื้องพระพักตร์ของพระพุทธรูป
  • จารึกสัตย์สาบาน ในไทย ล้านนา ประเภทนี้มีสี่-ห้าหลัก
  1. จารึกปู่หลานสบถกัน (หลักที่ 45) เมืองน่าน-สุโขทัย มีสำเนาที่เมืองน่าน ที่วัดช้างค้ำ สุโขทัยเรียกกษัตริย์เมืองน่านว่า "ปู่พญา" (มหากษัตริย์)
  2. เป็นการสบถสาบานเป็นพันธมิตรระหว่างราชวงศ์กาว ฝ่ายเมืองน่านกับราชวงศ์ไทเลิง (หรือไทเลือง) ฝ่ายเมืองสุโขทัย โดยพระเจ้าธรรมราชาธิราชที่ 2.
  3. จารึกของทางเชียงใหม่ พญากือนา หรือกีนา ของเชียงใหม่ ให้ราชโอรสสาบานกัน จะจงรักภักดีรักใคร่กัน.
  4. จารึกวัดเจดีย์ศรีสองรัก จังหวัดเลย  พระเจ้าบรมจักรพรรดิ อยุธยา กับ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชของลาว สาบานกันว่าจะต้าน พระเจ้าชนะสิบทิศบุเรงนอง
  5. จารึกน้าพระยา - สมเด็จเจ้าพระยา กระทำสัตย์ปฏิญญาต่อกัน
  • สมเด็จเจ้าพระยา กษัตริย์อยุธยา พระองค์เดียว (ตามเอกสารหมิงสือหลู่: หมายถึง สมเด็จพระราเมศวร) น้าพระยา หมายถึง พระยาศรีเทพาหุราช (เป็นฝ่ายสุโขทัย-มีความสัมพันธ์ฉันเครือญาติ ... น้องชายของแม่)
  • สุพรรณภูมิ-อโยธยา แข่งขันกัน ในกรณีที่สิ้นสุดยุคสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ฝ่ายสุพรรณภูมิได้ไปผนวกสุโขทัยไว้ ระแวงพระราเมศวร (แม่เป็นสุโขทัย)
  • สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพ่องั่ว-เจ้าเมืองสุพรรณภูมิ) เป็นที่มีบารมี สามารถถอดพระราเมศวร ได้
  • ถอดพระราเมศวร หมายความว่า ไม่มีอำนาจในการปกครอง ไม่ได้เรื่อง (เอกสารจากหมิงสือหลู่) ค.ศ.1368-1369-1371 เอกสารจีนบอกว่า สมเด็จเจ้าพระยาถูกโค่นล้ม
  • กษัตริย์แห่งอโยธยา คือ ผู้เป็นใหญ่แห่งยโสธร นักวิชาการรุ่นเก่าหลายท่านกล่าวว่าคือเมืองทุ่งยั้ง (เมืองขึ้นของสุโขทัย) ซึ่งเป็นไปไม่ได้
  • พระราเมศวร ครองราชษ์ได้สามปี แล้วมาครองราชย์ต่อภายหลัง
  • บวรทวารวดีศรีอยุธยา
 
  • จารึกวัดบูรพาราม กล่าวถึงท้าวศรีจุฬาลักษณ์ไปงานปลงพระศพปู่พญา ....สุโขทัยกำลังดิ้นรนหาพันธมิตร
  • จารึกปู่หลานสบถกัน ด้านที่สาม มีเนื้อหากฎหมายลักพา
  • พิธีกรรมในการทำสัตย์สาบานกันนี่
  • ปู่พญาผากอง ปู่พญาคำฟู มีตัวตนแน่นอน
  • ตำนานนครศรีธรรมราช มีพรญาผู้หนึ่งมาจากทางตะวันตก (มาจากตะนาวศรี เมาะตะพัน) ไสสงคราม ค.ศ.1371-74 เป็นเจ้าเมืองนครศรีฯ
  • เขมรัฐ หมายถึงเมืองศรีสัชนาลัย, ปกกาว หมายถึง เมืองน่าน, ปกเลือง หมายถึง ชาวสุโขทัย, กลุ่มชนชาวเลืองเป็นกลุ่มชนชั้นสูง อาศัยแถบลุ่มน้ำอู ทางตอนเหนือของลาว
  • ตามคติฮินดูนั้น เทวดาดูแลโลกมีหกตน ตนหนึ่งคือเทวดาชายชื่อไพสพ ไทยแปลงมาเป็นเทวดาเพศหญิง เจ้าแม่โพสพ.
  • อย่าให้รู้จักไสย์ภาคม แปลว่า วิชาที่เป็นหรือให้คุณ หากผิดคำสาบาน
  • จารึกวัดช้างค้ำ จะมีเงื่อนไขที่เขาสรุปเอา....สาปแช่ง สบถ หากผิดคำสาบาน ขออย่าให้รู้จักชื่อมหาเถรที่สำคัญ ๆ ทั้งหลาย คือไม่ให้โอกาส

การปกครอง
  • สุโขทัยคล้าย ๆ เป็นสมาพันธรัฐ สัมพันธวงศ์ไปปกครอง จารึกลักษณะโจร จะมีการมาชุมนุมกันของเจ้าเมืองสำคัญ เช่น จ้าพระยาพังเกษตร เจ้าพระยาทไวนทีศรียุมนา - ครองพิษณุโลก (พัง แปลว่า พญาพัง ...ตระพัง ภาษาเขมร พญาที่ดูแลสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ดูแลพิธีบรมราชาภิเษก)
  • เมืองหลัก ๆ เป็นเมืองของเจ้านายผู้น้อย....อนุวงศ์
  • นายเมือง = เจ้าเมือง เป็นคนธรรมดาที่ไม่ใช่เจ้านาย (นายเมือง) เป็นผู้ปกครองเมืองขนาดย่อมรองลงมา

เศรษฐกิจและสังคมของสุโขทัย
  • สถาบันกษัตริย์กับการทำนุบำรุงเศรษฐกิจ: สร้างระบบชลประทานเหมืองฝาย (สรีดภงค์) ทำนบ
  • จารึกพ่อขุนรามคำแหง ส่งเสริมการค้าขายแบบเสรี "...เจ้าเมืองบ่เอาจกอบ ในไพร่ลู่ทาง เพื่อจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า..."
  • การได้รับพระราชยศ ก็มีสักนา นาของแท้ กะเกณฑ์ผู้คนมาทำนา เอาประโยชน์จากที่นานั้น
  • พระเจ้าแผ่นดินมีหน้าที่ส่งเสริมให้มีการค้า บางกรณีก็จะมีการออกทุนให้ด้วย
  • ในเอกสารล้านนา กษัตริย์จะต้องปล่อยให้มีกฎุมพี ปล่อยให้กู้เงินด้วย ปล่อยให้ข้าสินไถ่ออกไปทำมาค้าขาย เอากำไรรายได้มาไถ่ตัวไป.
  • หากมีการกดขี่ ผู้คนก็ไม่มาเมืองนี้ ดังนั้นต้องจัดการให้ดี ไม่รีดนาเร้นมากนัก
  • การสร้างสรีดภงส์ การสร้าง การควบคมน้ำให้อยู่ในระบบคูคลอง
  • พรญาลิไท ได้พูดถึงในจารึกนครชุม ปล่อยให้คนทำมาค้า จารึกหลักที่ 8 อยู่เมืองสองแคว ทำนบกั้นน้ำไปถึงเมืองสุโขทัย
  • "...เบื้องหัวนอน เมืองสุโขทัยนี้ มีกุฎีพิหาร ปู่ครูอยู่ มี สรีดภงส์ มีป่าพร้าว ป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม
  • สรีดภงส์ เป็นภาษาสันสกฤต ซึ่งแปลงเป็นภาษาเขมร สรีดภงส์พบในจารึกที่ปราสาทสดอกก๊กอกธม แปลว่า ทำนบ คำว่า สรีดภงส์ พบในจารึกหลักที่ 1 และจารึกปราสาทสดอกก๊อกธมเท่านั้น
  • "...เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยนี้ มีตลาดปสาน..." ตลาดปสาน คือ ตลาดขายของ คำว่า ปสาน มาจากคำเปอร์เซีย บาซาร์ แปลว่า ตลาดสด ไทยรับคำนี้ผ่านภาษามลายู.

หัตถอุตสาหกรรม
แหล่งผลิตเครื่องสังคโลกที่ ศรีสัชนาลัยและสุโขทัย
  • ศรีสัชนาลัย (ไม่น้อยกว่า 900 เตา) >> กลุ่มเตาบ้านเกาะน้อย และกลุ่มเตาบ้านป่ายาง
  • สุโขทัย (ตอนนี้พบแล้ว 100 เตา) >> กลุ่มเตาทุเรียงในเขตเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย
  • เครื่องถ้วยเหล่านี้ทำรายได้ให้สุโขทัยมาก
  • เตาทุเรียง เป็นภาษามอญโบราณแปลว่า จาน
  • สังโคบ เป็นภาษามอญโบราณแปลว่า เตาเผา
  • มีจารึกเห็นสุมเผาหม้อเผาใหกันเยอะ
  • คุณภาพดินที่ศรีสัชนาลัยดีกว่าสุโขทัย ทำให้สังคโลกศรีสัชนาลัย มีเนื้อและคุณภาพดีกว่าของสุโขทัย
  • การส่งไปขายไกลถึงญี่ปุ่น (เอาไว้ใส่ซาเก) อินเดีย ชวา....อาจจะไกลถึงตะวันออกกลาง
  • ที่เตาเผาแม่น้ำน้อย-สิงห์บุรี (แม่น้ำเจ้าพระยาเดิม) ก็มีการเผาสังคโลก แต่ไม่มาก
  • หากไม่มีรายได้จากตรงนี้ แล้วศรีสัชนาลัยและสุโขทัยจะเอาทุนทรัพย์ที่ไหนมาสร้างวัดวาอารามใหญ่โตโอฬารได้ ต้องมีการผสมฟางข้าวและแกลบมหาศาลในการทำอิฐ ดังนั้นต้องมีการทำนากันมาก จึงมีวัสดุก่อสร้างเพียงพอ
  • ประชากรของสุโขทัยจะต้องไม่น้อยกว่า 30,000 คน

เส้นทางการค้า
  • เส้นทางที่ 1: เมาะตะมะ(เมืองพัน)-ฉอด-ตาก-ระแหง-เชียงทอง-สุโขทัย  เส้นทางนี้อาจจะใช้มากที่สุด
  • เส้นทางที่ 2: ต้าหลี่-ซือเหมา-แม่สาย-เชียงใหม่-ลำพูน-ศรีสัชนาลัย-สุโขทัย
  • เส้นทางที่ 3: สุโขทัย-กำแพงเพชร-สองแคว-พระบาง-อโยธยา
  • เส้นทางที่ 4: สองแคว-สุโขทัย-น่าน-หลวงพระบาง-เวียงจันทน์ เป็นเครือข่ายการค้า จะมีกองคาราวาน จากน่าน ตัดเข้าเวียงจันทน์ เลย.
      เครื่องสังคโลกเราไปจำหน่ายได้กว้างไกลถึงอินเดีย สุโขทัยไม่เก็บภาษีผ่านด่าน แต่เก็บร้อยชักสิบ จึงมีเงินมาก่อสร้างบูรณะวัดวาอาราม ส่วนอยุธยาเก็บภาษีด่านทุกทิศ เมืองใหญ่ของไทย คือเมืองที่มีพระศรีรัตนมหาธาตุเสมอ เป็นศูนย์รวมจิตใจ วัดเป็นจุดเริ่มต้นของตลาด มีงานวัดงานเทศกาล
     พระแท่นดงรัง กาญจนบุรี มีคนเดินทางมาเที่ยวมาทำบุญกันเยอะ เศรษฐกิจไม่ได้มาเดี่ยว ๆ จะมาพร้อมวัฒนธรรม

เงินตราในสมัยสุโขทัย
  • เงินพดด้วงสุโขทัย
  • เหรียญกษาปณ์จีนสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ.1312) จากการขุดค้นที่ศาลตาผาแดง (ไว้พระรูปพระศิวะและพระนารายณ์)
  • "...มีพนมเบี้ย มีพนมหมาก..."
  • เหรียญจีนเป็นเหรียญมาตรฐาน ทั้งไทย ชวา มลายู การค้าขายคึกคัก เงินก็เอามาขาย แต่ต้องมีการหลอมก่อน
  • การค้าขายมีหลากหลาย มีเครื่องถ้วยชามจากจีนพบที่วัดพระพายหลวง เมืองโบราณสุโขทัย ผลิตจากแหล่งเตาจิ่งเต๋อเจิ้น มณฑลเกียงซี พบเครื่องถ้วยชามจากจีน สมัยราชวงศ์หยวน ผลิตจากแหล่งเตาหลงฉวน มณฑลเจ้อเจียง จากการขุดค้นทางโบราณคดีวัดชนะสงคราม เมืองโบราณสุโขทัย
  • ตลาดสุโขทัย จากจารึกวัดศรีชุม: "...ลางแห่งตลาด ซื้อสัตว์ทั้งหลายโปรส อันเป็นต้นว่า คนอีกแพะแลหมูหมาเป็ดไก่ทั้งห่านนกหกปลาเนื้อฝูงสัตว์ทั้งหลาย..." ซื้อสัตว์ มาปล่อยทำบุญ ด้วยแนวคิดเมตตาทางพระพุทธศาสนา....ความใจบุญอันเป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทย...มีการค้าขายค้าทาส

โครงสร้างทางสังคม
ชนชั้นทางสังคม
       - พระมหากษัตริย์
       - พระบรมวงศานุวงศ์
       - เจ้าไท (พระสงฆ์)....เจ้ากู
       - ลูกเจ้า
                   
       - ลูกขุน  ---- ทมูลนาย/มูลตวาน = เจ้า + ขุน  {ทมูล (ทะ มาจาก ทวย) }
       - ไพร่หลวง
       - ข้าไท (ไพร่ส่วนตัว เป็นไพร่บริวาร)
       - ข้าพระ (เชิงกุฏีและศีลบาล) เป็นกลุ่มคนที่มีจำนวนมาก เพราะมีวัดเยอะ
  • การควบคุมไพร่: จ่าข้าสุภาวดี กับการขึ้นทะเบียนไพร่ฟ้า (ไพร่หลวง) ข้าไท (ไพร่สม)

กลุ่มชาติพันธุ์ในสุโขทัย
  • สุโขทัยมีคนหลายชาติหลายภาษา...."เขม" (สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า "ขแมร์" คนเขมร) ละว้า มอญ เลิง มาว กาว ซ่าว ชาวอู ชาวของ ชาวมา (มาจากลุ่มแม่น้ำแดง ในเวียดนาม ซึ่งมีคนไทอยู่มาก) ไทใต้หล้าฟ้าฏ(โรก-พวกมุสลิม ที่มาจากตอนใต้ของจีน พวกยูนนาน กองคาราวานที่มาค้าขายทางเหนือ ก็มีพวกมุสลิมด้วย)
  • เขม เขมรัฐ เชียงตุง ไทยเขม, หล้า แปลว่า ฟ้า

นันทนาการ
  • คีตศิลป์ และการเผาเทียน การเล่นระทา (ดอกไม้ไฟ) จุดพันลุ (พลุ)
  • ....-จารึกพ่อขุนรามคำแหง- "...ดำบังคม (ตีกลองเป็นพุทธบูชา) กลอง ด้วยเสียงพาด (พาด คือ พาทย์ (เครื่องประโคม)) เสียงพิณ (เครื่องสาย) เสียงเลื้อน (เสียงเอื้อนเป็นทำนอง) เสียงขับ (เสียงขับร้อง)..."
  • และจากจารึกวัดพระยืน "...เสียงพาทย์เสียงพิณ" "ตีพาทย์ดังฆ้องบี่ไฉน พิสเนญชัย (เสน่งเขาวัว) ทะเทียด กาหล (แตรงอน) แตรสังข์มาร (อาจหมายถึงสังข์ที่เป่าไล่มาร อัปมงคลได้) กังสดาส มรทง (กลองคล้าย ๆ โทน) ดงเดิด (กลองของทางลาว กลองรัว) เสียงเลิศเสียงก้อง"
 
 
 
การบรรยายพิเศษครั้งที่ 8
วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน 2563  เวลา 13:00-16:00 น.
ณ ห้อง 601 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ถนนบรมราชชนนี แขวง/เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร

8.1  คติความเชื่อ
        ความเชื่อเดิม:

          การนับถือบรรพบุรุษ: "เสื้อ" (อย้าวเรือนพ่อเชื้อเสื้อคำมัน) ผีเสื้อบ้าน ผีเสื้อเมือง ด้ำ
          การให้ความสำคัญแก่พลังแห่งธรรมชาติ เพราะต้องพึ่งพิงธรรมชาติ: การนับถือ อารักษ์ บุคลาธิษฐานของเทพดารักษาป่า ภูเขา (พระขพุง) ภูผา แม่น้ำ
          พิธีกรรมเพื่อความอุดมสมบูรณ์ (fertility rites) แม่โพสพ ทานอยาง (ธัญญางค์)
        พุทธศาสน์
          ปัญจอันตรธาน,
          สังสารวัฏ
          พระบาทลักษณ์,
          พระบรมสารีริกธาตุ,
          พระโพธิ์ศรี,
          ลังกาวัตร
        พราหมณ์และไสยศาสน์:
          ศิพาคม
          หอเทวาลัย
          พระหริหระ
          พระมเหศวร
          พระนารายณ์
        เทพกรรม
          ที่มาและความสำคัญของตำราและพิธีกรรมคชศาสตร์

8.2 สถานภาพผู้หญิงในสังคมสุโขทัย
        พระศรีธรรมราชมาตา
        ท้าวศรีจุฬาลักษณ์
        แม่นางษาขา
        จารึกคำอธิษฐาน

8.3 โลกทัศน์: ปัจจัยข้างนอกที่เข้ามากำหนดวิธีการมองโลกของคนสุโขทัย
  • ศาสนาพุทธเถรวาท
             การบำรุงอายุพระศาสนา
             บันไดไตรภูมิ / เตภูมิกถา
             ปฏิจฺจสมุปฺปาท (casual genesis, dependent origination)
             นรก - สวรรค์
             รู้บุญรู้ธรรม
             นิรพาน

8.4 ชีวทัศน์: การมองโลกโดยเอาตัวเป็นศูนย์กลางและสิ่งที่มุ่งหวังในชีวิต
  • การไม่ผิดผี
  • การหลุดพ้นโดยสิ้นเชิงจากสังสารวัฎ
  • การออกบวช
  • การทำบุญ
  • การได้พบกับพระศรีอาริยไมตรี

วิถีชีวิตคนไทยสมัยสุโขทัย
คติความเชื่อ
  • ความเชื่อเป็นสิ่งสำคัญ ความเชื่อดั้งเดิม-->การนับถือผีบรรพบุรุษ "เสื้อ" (ผีเสื้อ คำซ้อน) ฝรั่งเศสศึกษาในเวียดนาม ภาคเหนือ หากมีคนตาย ลูกหลานก็จะนั่งรอให้วิญญาณเข้าบ้าน แสดงว่าวิญญาณไปสู่สุขคติแล้ว
  • ความเชื่อเดิม: การนับถือบรรพบุรุษ "เสื้อ" (อย้าวเรือนพ่อเชื้อ (พ่อตัว) เสื้อคำมัน ผีเสื้อบ้าน ผีเสื้อเมือง ด้ำ)
  • มีการเคารพต่อผีประจำหมู่บ้าน เหมือนเขมร และไทย ก็มีในเตภูมิกถา เสื้อบ้าน เสื้อเมือง ที่ถนนราชดำเนินใน ศาลหลักเมือง มีการเก็บพระเสื้อบ้านทรงเมือง--> พระสยามเทวาธิราช หลังพระสยามฯ ที่ประดิษฐาน จะเขียนเป็นภาษาจีน กล่าว เทียนหรือสวรรค์ ให้คุ้มครองโลก
  • ด้ำ ..."ผีซ้ำด้ำพลอย"  (ด้ำ แปลว่า วงศ์ตระกูล) สามด้ำขวาน (สามเป็นลูกของขวาน)
  • ในจารึกปู่หลานสบถกัน...นำเทพมาเป็นพยาน
การให้ความสำคัญแก่พลังแห่งธรรมชาติ
  • เพราะต้องพึ่งพิงธรรมชาติ:
  • การนับถือ...
  • อารักษ์ บุคลาธิษฐานของเทพยดารักษาป่า ภูเขา (พระขพุง) ภูผา แม่น้ำ
  • นิราศหริภูณชัย เดือนเมษาจะมีพรานเผาป่า เทพยดาอารักษ์ จะร้อนรน
  • เชื่อว่ามีผีตามป่าเขา แม่น้ำ ผีบ้านผีเรือนตามธรรมชาติ
  • มีลัทธิและพิธีกรรมเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ (Fertility rites) พระแม่คงคา พระแม่โพสพ...ไพสพ...ท้าวกุเวร เทพแห่งความมั่งคั่ง...มั่งคั่งจากผลิตผลการเกษตร..พระแม่โพสพ มีพิธีเชิญพระแม่ฯ กลับสวรรค์, ท้าวกุเวร เป็นเพศชาย ทำไมมาแปลงกลับเป็นเทพสตรี เหมือนจีน พระอวโลกิเตศวร ผู้หญิงต้องการมีลูก ก็เคยมาขอพร จึงเปลี่ยนให้พระอวโลกิเตศวรเป็นเพศหญิง เจ้าแม่กวนอิม
  • ทานอยาง (ธัญญางค์) ...ธัญญะ + อังคะ ==เทพประจำแห่งพืช
  • แม่ย่าเมือง (เทพที่สุโขทัย) เกี่ยวกับแผ่นดินที่ทำการเกษตร ...ลัทธิความอุดมสมบูรณ์...
  • ในพิพิธภัณฑ์รามคำแหง จะเจอ "ตุ๊กตาเสียกระบาล" เป็นการสร้างผู้ที่รับเคราะห์แทนในกรณีที่โชคร้าย
  • ตัดไม้ข่มนาม ...เป็นการฆ่าฟันศัตรูล่วงหน้า เพื่อให้เกิดเหตุการณ์นั้นจริง
  • ของขวัญหรือการสู่ขวัญ เวลาอาคันตุกะจากต่างแดนมา ก็จะทำพิธีรับขวัญ ขวัญจะสถิตที่ตรงกระหม่อม
  • การบนบานบวงสรวง เพื่อให้ได้ตามที่สมปรารถนา ไม่ใช่ทำแต่เทพยดา ต้นไม้ ภูเขา เท่านั้น แต่สามารถบนบานบวงสรวงกับบุคคลได้
พุทธศาสนากับพราหมณ์
  • จารึกหลักที่ 13 ทางตะวันออกของตัวเมือง กล่าวว่า...คนกำแพงเพชร รู้เรื่องเทวกรรม
  • ความเชื่อในเรื่องการปัญจอันตรธาน การเวียนว่ายตายเกิด (สังวารวัฏ) และไตรภูมิ
  • แสดงอยู่ในจารึกนครชุม เรื่อง "ปัญจอันตรธาน"
  • *คติปัญจอันตรธาน* กำเนิดขึ้นในลังกา
  • ความเสื่อมสูญของพระศาสนา 5 ขั้น
  1. ปฏิเวธอันตรธาน (พระอรหันต์สูญ)...หมดกุลบุตรที่ได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันต์ หมดคุณสมบัติผู้ที่จะเข้าถึงอรหัตตผล
  2. ปฏิบัติอันตรธาน (พระวินัยสูญ)...สงฆ์เริ่มขาดพระวินัย ไม่เคร่งครัด ปฏิบัติตนไม่ถูกต้อง
  3. ปริยัตติอันตรธาน (พระไตรปิฎกสูญ)...ชาดก เอกสารสูญหาย ความแม่นยา ยาหยูกที่มีประสิทธิภาพจะถดถอยสูญหายไป
  4. ลิงคอันตรธาน (พระสงฆ์สูญ)...พระสงฆ์ไม่แสดงความเป็นพระสงฆ์เลย เหลือแค่ผ้าเหลืองเหน็บที่ใบหู
  5. ธาตุอันตรธาน (พระบรมสารีริกธาตุสูญ)...ไฟไหม้โลก
  • สิ่งสำคัญห้าอย่าง ห้าช่วงเวลา ช่วงเวลาละหนึ่งพันปี
  • หนึ่งในสามคัมภีร์ที่แสดงเกี่ยวกับเตภูมิกถา คือ คัมภีร์สารสังขหะ เป็นหนังสือที่พระเขาไม่อ่านแล้ว สมัยนี้ (ร้านหนังสือบอก อ.วินัย ไว้ดังนี้) แต่งเป็นภาษาไทยโดยพระอนันทะ แต่งที่เชียงใหม่ เขียนขึ้นในช่วงที่เชียงใหม่พุทธศาสนาเจริญมากในสมัยนั้น
  • จารึกนครชุม แสดงการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พ.ศ.1901
  • พรญาลิไท ทรงสถาปนาพระธาตุนครชุมเมื่อ พ.ศ.1900
  • --จารึกนครชุม-- "...หากเอาพระศรีรัตนมหาธาตุอันนี้มาสถาปนาในเมืองนครชุมนี้ ปีนั้น พระมหาธาตุอันนี้ ใช่ธาตุอันสามานย์ คือ พระธาตุแท้จริงแล้ เอาลุกแต่ลังกาทวีปพู้นมาดาย..." ระหว่างนี้ไปปี 2000 จะมีของศักดิสิทธิ์ทางพระพุทธศาสนาสูญหาย
  • เป็นคติความเชื่อ โลกมีการหมุนเวียนเปลี่ยนไปไม่มีที่สุด....มาจากศาสนาพราหมณ์ เรื่องยุค มหายุค ตอนนี้เราเข้าสู่กลียุคแล้ว
  • เมื่อครบห้าพันปี เกิดไฟไหม้โลก เกิดมิคคสัญญี (มิค แปลว่า เนื้อ) จะมองทุกคนเป็นเนื้อ ไล่ฆ่ากัน มีการผิดธรรมชาติ กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย
  • จารึกป่ามะม่วง หลักที่ 2 ส่วนท้าย จับความได้ว่า พรญาลือไทกล่าวว่า คนกว่าจะเกิดได้นั้นลำบาก เมื่อเกิดไฟไหม้โลก อฤทธะสัญญี (อฤทธะ-ความชั่วร้าย) เห็นคนอื่นเลวร้ายอยากจะทำลาย มนุษย์อยู่ในช่วงที่ไม่เกิน 99 ปี เกินกว่านี้คือกำไร ต่อไปมนุษย์จะสูงแค่หนึ่งศอก การเคลื่อนตัวก็จะกระดึ๊บ ๆ เคลื่อนไป
  • ปัจจุบันมีการฆ่ากันทุกวัน ความโหดร้ายมีมากขึ้น ซึ่งควรจะรู้บุญรู้ธรรม ...พรญาลือไทกล่าว
  • ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เลย พ.ศ.2000 แล้ว เกิดความวุ่นวาย พระนารายณ์หนุนอิสลามและบาทหลวง พระสงฆ์ไม่พึงพอใจ มีพระเพทราชาหนุน
  • ที่นครเชียงใหม่มีการชำระอักษร (ก็คือสังคยานา) พระไตรปิฎก ต้องจรรโลงพระพุทธศาสนา เมืองมอญ เมืองอยุธยา ก็พยายามจรรโลงพระพุทธศาสนาไว้ (ที่อยุธยา กษัตริย์ออกผนวช)

ความเชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด สังสารวัฏ
  • อย่างน้อยก็ได้พบพระศรีอาริยไมตรี ทางภาคเหนืออาจรวมทั้งสุโขทัย มีความเชื่อเรื่องพระศรีอาริยไมตรี เพราะมีพระจากสุโขทัยไปทำบุญที่ลำพูน..พระสี่อิริยาบท ก็คือพระพุทธเจ้าในอดีตชาติ
  • การเวียนว่ายตายเกิด เกิดจากพระพุทธองค์เป็นนักปรัชญาที่ยิ่งใหญ่ เกี่ยวกับปฏิจฺจสมุปฺปาท (casual genesis, dependent origination)

ไตรภูมิพระร่วง
  • โลกสาม: สวรรค์ โลกมนุษย์ นรก ...ซอยได้สามสิบเอ็ดชั้น (ขั้นหรือชั้นสูงสุดคือพรหมลูกฟัก หลุดพ้น ไม่ต้องพึ่งพิงใครแล้ว พร้อมตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า)
  • มนุษย์เราเป็นชั้นที่ 5 จากล่างขึ้นมา พรญาลือไท จึงเตือนมนุษย์นักหนา เพราะยังไม่ถึงไหน ต้องถึงชั้นพรหมให้ได้ก่อน
  • สังสารวัฏ:
           - กษัตริย์ผู้ทรงภูมิธรรมและรอบรู้ทั้งทางโลกย์และทางธรรม
           - การพาเวไนยสัตว์ข้ามวัฏสงสารหรือ การเวียนว่ายตายเกิด
           - ให้ "กระทำบุญธรรม" เพราะกว่าจะเวียนว่ายตายเกิดมาเป็นมนุษย์นั้น ยากนัก จึงไม่ควรเสียชาติเกิด
  • สมมติเทพ เราต้องเข้าใจว่าถูกเลือกขึ้นมาหลังจากไฟล้างโลกแล้ว
  • ตอนที่ไฟล้างโลกแล้ว กลิ่นดินหอมเหมือนหมูปิ้ง พรหมที่อยู่ใกล้โลกทนไม่ได้ ลงมากิน ง้วนดิน (ง้วน = ของพิษ) กินแล้วก็เกิดกิเลส สภาพของการเป็นพรหมเป็นผู้บริสุทธิ์น้อยลง
  • พรหมไม่มีเพศ เมื่อกินง้วนดิน ก็มีเพศหญิง-ชาย กามราคะ ทำมาหากิน เกิดความวุ่นวายรบราฆ่าฟัน หาคนตัดสินไม่ได้
  • ต้องประชุมเลือก คนที่ดีที่สุดมาปกครอง "สมมติเทพ" เลือกขึ้นมาให้ปกครอง เป็นกษัตริย์ มอบอำนาจให้ทุกอย่าง เจ้าชีวิต เจ้าแผ่นดิน เจ้าภาษี
  • นรกโกกันต์ แย่สุด ปิตุฆาต มาตุฆาต ฆ่าพระ ปีหนึ่งเห็นแสงแว้บเดียวสามครั้ง กินฆ่ากันเอง

การจำลองพระบาทลักษณ์
  • พระพุทธเจ้าเสด็จไปลังกาสามครั้ง ครั้งที่สามเสด็จไปเขาสมณกูฏ สมณเทพให้พระองค์ประทับพระบาทไว้
  • เป็นพระราชนิยมที่โปรดให้สร้างจำลองพระบาทลักษณ์ (รอยพระบาท) ไว้หลายแห่งในดินแดนสุโขทัย เช่น เขาสุมนกูฏ เขากบ (กุดานคร กำปงคอง นครสวรรค์) จอมทอง (ไม่ใช่เชียงใหม่)
  • ทรงให้คนไปพิมพ์รอยพระบาทที่สำคัญที่สุดของลังกามา
  • เป็นศูนย์กลางและศูนย์รวมทางจิตใจของพระองค์และประชาชน
  • พรญาลือไท ได้ให้คนไปนำแบบพระบาทมาจากลังกาเอง ไม่ใช่ของสามานย์ (ของแท้) เขาจอมทอง สมณกูฏที่สุโขทัยเอง
  • ข้อสังเกต ระแวง ๆ ว่าวัดพระศรีมหาธาตุ ไม่ค่อยมีบทบาทในสมัยพรญาลือไทเลย เป็นไปได้ไหมที่วัดพระศรีฯ สร้างในสมัยพ่อขุนนาวนำถม
  • การให้ความสำคัญกับพระโพธิ์ศรี นำกิ่งมาจากลังกา

พระโพธิ์ศรี:
  • เป็นคติความเชื่อแบบลังกา
  • เป็นรูปแบบหนึ่งในการกระทำบุญกุศล เพื่อสืบพระพุทธศาสนา
  • ...-จารึกนครชุม- "...เอาทั้งพืชศรีมหาโพธิ์อันพระพุทธเจ้าเรา เสด็จอยู่ใต้ดิน แลผจญพลขุนมาราธิราช ได้ปราบแก่สรรพเพชญุเดญญาณเป็นพรพุทธมาปลูกเบื้องหลังพระมหาธาตุนี้..."
  • นายศรีโยธาออกผนวช กล่าวถึงการสร้างวัด เกิดอุบัติเหตุแมงคาเข้าหู ปฏิบัติราชการไม่ได้ ก็เลยเข้าวัด ต้องการสร้างวัด ขออนุญาตเจ้าเมืองปลูกโพธิ์ที่เอามาจากลังกา [1:32:29]

ลังกาวัตร
  • มหาวงษ์ เป็นวงศ์ของพระพุทธเจ้า เป็นคัมภีร์ที่ยิ่งใหญ่มากทางพระพุทธศาสนา ที่พระโฆษาจารย์เขียนไว้
  • จุลวงษ์ เป็นการกล่าวถึงวงศ์กษัตริย์ในลังกา
  • ดงศรีมหาโพธิ ที่ปราจีนบุรี มีการอ้างถึงคัมภีร์ทางลังกา

คติความเชื่อ
  • จารึกที่ 13 กล่าวถึงพุทธศาสน์และไสยศาสตร์มาก
  • หอเทวาลัยเกษตร น่าจะเป็นที่ประดิษฐานพระศิวะ เพราะเป็นปศุปติ เป็นใหญ่แห่ง ปศุ...สัตว์และเกษตร
  • ศิวาคม เป็นเรื่องไสยศาสตร์
  • ไสย...สิ่งที่ทำให้เกิดคุณ
  • มีการพบพระหริหระ (ส่วนผสมของพระศิวะและพระวิษณุ) ที่หอเทวาลัยเกษตร
  • พระหริหระ มีอยู่ในเขมร อินเดีย มีทั่วไป
  • พระหริหระ  ... พระลักษมีไปเฝ้าพระอุมา ...ถกเถียงกันว่าใครใหญ่กว่ากัน ระหว่างพระศิวะ กับ พระวิษณุ ... เกิดการรวมตนระหว่างเทพทั้งสอง ...นี่คือตำนานหนึ่ง
  • ดูในคัมภีร์วิษณุปุราณะ

เทพกรรม
  • ที่มาและความเชื่อสำคัญของตำราและพิธีกรรมคชศาสตร์
  • "...เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราชประดิษฐานพระอิศวรเป็นเจ้าไว้ให้ครองสัตว์สี่ตีนสองตีนในเมืองกำแพงเพชรแลช่วยเลิกศาสนา พุทธศาสน์ ไสยศาสตร์ แลพระเทพกรรม มิให้หม่นให้หมองให้..."
  • พระพรหมเป็นเทพที่เทพทั้งหลายนับถือ ด้วยดอกบัวเผือก พระพฤหัสปติได้นำดอกบัวเผือกเนรมิตเป็นช้างสองกลุ่ม
 
 
สุโขทัยคดี: ประวัติศาสตร์ จารึกศึกษา และนิรุกติประวัติ
มรดกความทรงจำแห่งสยามเหนือ

การบรรยายพิเศษครั้งที่ 9
วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2563   เวลา 13.00-16.00 น.
ณ ห้อง 601 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ศิลปกรรมสุโขทัย
 
 
  ดร. วินัย พงศ์ศรีเพียร เมธีวิจัยอาวุโส สกว.
                                                                  และคุณวิภาดา อ่อนวิมล
 
1 ปฐมบท: การศึกษาศิลปกรรมสุโขทัยสำคัญอย่างไร
        1.1 เพื่อเข้าใจว่า ศิลปกรรมเกี่ยวข้องกับสังคมสุโขทัยอย่างไร เช่น การเป็นสื่อความคิด ความเชื่อ ความศรัทธา และวัฒนธรรมของสังคมสุโขทัย
        1.2 เพื่อเข้าว่า งานศิลปกรรมเป็นเครื่องแสดงถึงสุนทรียรส และการสร้างสรรค์ทางศิลปะของชาวสยาม
        1.3 เพื่อเชื่อมโยงศิลปกรรมสุโขทัยกับมิติทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ
        1.4 เพื่อเข้าใจอิทธิพลของศิลปกรรมสุโขทัยต่อศิลปกรรมไทยในยุคหลัง
2 ต้นทางศิลปกรรมสุโขทัย: ศูนย์รวมแห่งแรงดลบันดาลใจ
        2.1 อิทธิพลของวัฒนธรรมมอญทวารวดี หริภุญชัย พุกาม และเขมร
        2.2 อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์      
        2.3 อิทธิของศาสนาพุทธ
        2.4 อิทธิพลจีน
        2.5 การหลอมรวมและคลี่คลายสู่ศิลปกรรมสุโขทัย
        2.6 ประเภทศิลปกรรมสุโขทัยที่โดดเด่น
               - สถาปัตยกรรมศิลป์
               - ประติมากรรมศิลป์
               - ทัศนศิลป์และประณีตศิลป์
3 สถาปัตยกรรมศิลป์อันเกี่ยวเนื่องกับศาสนาหลัก (พุทธ-พราหมณ์)
                ศรัทธา แรงดลบันดาลใจ และต้นแบบ
                แผนผัง รูปแบบ และเท็คนิกวิธี (โครงสร้าง วัสดุ และ)
                เนื้อหา : หลักปรัชญา เทวปกรณัมพราหมณ์ พุทธประวัติ
                อัตลักษณ์
                เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมกับอัจฉริยภาพของช่างสุโขทัย
4 ประติมากรรมศิลป์อันเกี่ยวเนื่องกับศาสนาหลัก (พุทธ-พราหมณ์)
                ความเชื่อและแรงดลบันดาลใจ
รูปทรงและความเปลี่ยนแปลง
                เนื้อหา
                อัตลักษณ์
                พระพุทธรูป
                เทวรูป
                ลวดลายปูนปั้น
5 ทัศนศิลป์และประณีตศิลป์
                แรงดลบันดาลใจ
                เครื่องใช้ในพิธีกรรม
ภาชนะดินเผา
                รูปปั้นขนาดเล็ก
                เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน
                จิตรกรรม
6 งานศิลปกรรมกับภาพสะท้อนสังคมสุโขทัย
        6.1 อัจฉริยภาพของชาวสยามในสุโขทัยในการสร้างสรรค์ศิลปกรรมไทยโดยการผสมผสานวัฒนธรรมศิลปะจากหลายกระแส ซึ่งสะท้อนให้เห็นพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของสุโขทัย
        6.2 อิทธิพลของศิลปกรรมแบบสุโขทัยในฐานะแม่แบบของศิลปะกระแสหลักที่มีต่องานศิลปะรุ่นหลัง



เน้นเรื่องศิลปะสุโขทัย
  • วิทยากรท่านที่สอง คุณวิภาดา อ่อนวิมล จบจากคณะโบราณคดี เกียรตินิยมอันดับที่หนึ่ง ม.ศิลปากร
  • นักประวัติศาสตร์ จะมีคำถามว่า ศิลปกรรม สะท้อนเศรษฐกิจ สังคม และความเชื่อของผู้คนในยุคนั้นอย่างไร
  • นักประวัติศาสตร์ศิลปะอาจจะหาความหมายจากการพบ
  • จากคัมภีร์ "ชินกาลมณีปกรณ์" กล่าวว่า สุโขทัยปุเรสยามเทเศ หมายถึง สุโขทัยคือสยามประเทศ
  • อิทธิพลของศิลปกรรมสุโขทัย มีต่อศิลปกรรมในยุคต่อมา เป็นอย่างมาก
  • พบอิทธิพลมอญ ทวารวดี พุกาม หริภุณชัยที่ลำพูน เขมร ลังกา ส่งผลต่อเนื่องของศิลปกรรมสุโขทัยต่อมา
 
ศิลปะในกรุงสุโขทัย
  • สุโขทัยเป็นรัฐที่ไม่ได้อยู่โดยเดียว มีวัฒนธรรมอื่นผสมผสานด้วย
  • พระพนัสบดี ที่พบนั้น เป็นศิลปะยุคทวารวดี ซึ่งนักประวัติศาสตร์ยังความได้ไม่ชัดเจนนัก แต่ก็สันนิษฐานว่า เป็นรูปพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีภาพบุคคลสองท่านอยู่ด้านข้าง สันนิษฐานว่าเป็นพระพรหมและพระอินทร์

พระพนัสบดี ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี ที่วัดตระพังมะพลับ ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย ที่มา: virtualhistoricalpark.finearts.go.th/sukhothai, วันที่เข้าถึง 26 มิถุนายน 2563.
  • ศิลปะแบบเขมร พบมากมาย ช่วงตอนต้นสุโขทัย อาทิ
  • ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ที่วัดศรีสวาย
ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ พระราชประสิทธิคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดราชธานี และเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย มอบให้พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติรามคำแหง เดิมได้จากวัดศรีสวาย ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย ที่มา: virtualhistoricalpark.finearts.go.th/sukhothai, วันที่เข้าถึง 26 มิถุนายน 2563.
  อุทกสีมา)
  • ปราสาทเฟื้อง เป็นงานปูนปั้นประดับพระศรีมหาธาตุเมืองเชลียง เป็นบุคคลสี่หน้า ทำให้นึกถึงศิลปะเขมรสมัยบายน ประดับซุ้มประตูทางเข้าต่าง ๆ มีนางรำอัปสรกำลังร่ายรำ มีความชัดเจนว่าเป็นเขมร คือมีการชักชายผ้าออกมา

ปราสาทเฟื้อง, ถ่ายเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2562.
 
  • เจดีย์ราย แสดงให้เห็นว่าเป็นเจดีย์พุกาม ด้วยไม่มีบัลลังก์ปรากฎ มีฐานองค์ระฆัง ปลียอดไฉนเลย ไม่มีฐานบัลลังก์
  • เจดีย์รายวัดพระพายหลวง อาคารเป็นสี่เหลี่ยมชั้น ๆ ลดหลั่นกันไป มีการเจาะช่องจระนำทุกด้าน เหมือนเจดีย์ที่วัดจามเทวี หริภูณชัย
  • วัดเจดีย์เหลี่ยม เจดีย์กูบคำ เวียงกูมกาม ได้รับอิทธิพลจากวัดจามเทวี
  • เจดีย์วัดพญาวัด ที่น่าน
สถาปัตยกรรม: อาคารทรงปราสาท + วิหาร
  • วัดศรีสวาย, วัดพระพายหลวง เป็นทรงแบบเขมร คืนมีอาคารทรงปราสาทด้านหลัง (สามหลัง) และวิหารด้านหน้า วิหาร + เจดีย์
  • อีกแบบหนึ่ง วิหารอยู่ด้านหน้าเจดีย์ เจดีย์นี้จะเป็นเจดียประธาน
มณฑป + วิหาร

อาคาร ในภาพจาร เป็นอาคารทรงปราสาท (ที่วัดศรีชุม)
  • อาคารซ้อนชั้นลดหลั่นขึ้นไป คติแบบเขมร คติฐานนันดรชั้นสูง ศักดินา
  • ประดับซุ้มหน้าบัน
  • ลักษณะคล้ายเจดีย์ทรงปราสาทยอดแบบสุโขทัย
ช่องแสง การเจาะหน้าต่า
  • ทำเป็นช่องแสงแนวยาวดิ่งลงมา เพื่อเป็นช่องลม ดูศักดิ์สิทธิ์ แสดงความขลังของอาคาร
วัดพระเชตุพน
  • หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
  • คูน้ำล้อมรอบ (นทีสีมา/อุทกกสีมา) อิทธิพลจากลังกา
มณฑป
  • ประดิษฐานพระพุทธรูป
  • มักไม่มีส่วนหลังคาเหลือ
  • ส่วนมากเครื่องบนหลังคาจะหายไปแล้ว ที่ศรีสัชนาลัย หลังคามักเป็นศิลาแลง เพราะที่ศรีสัชนาลัย มีแร่แลงเยอะ อาทิ มณฑป มีทรงจั่ว มีงานไม้ มีช่องให้วางไม้
เจดีย์ทรงปราสาท
  • ยังคงใกล้เคียงปราสาทเขมร เช่น วัดพระพายหลวง (เรือนธาตุซ้อนชั้น บรรพแถลง / กลีบขนุน หน้าบัน ประตูหลอกสามด้าน) วัดศรีสวาย
เจดีย์ทรงปราสาทยอดแบบสุโขทัย เช่น วัดมหาธาตุสุโขทัย
  • หน้าบัน
  • เรือนธาตุมีจระนำ
เจดียทรงปราสาทยอด
  • ยอดเจดีย์ทรงระฆัง
  • ประดับด้วยซุ้มเคล็ก/ฝักเพกา < ล้านนา (เจดีย์ปราสาทที่เชียงแสน จว.เชียงราย) พุกาม
  • เรือนธาตุมีจระนำ ประดิษฐานพระพุทธรูป
เจดีย์ทรงระฆัง นิยมมาก (เจดีย์วัดตระกวน)
  • ได้รับอิทธิพลจากลังกา แล้วมาประสมประสานเป็นแบบสุโขทัย จากล่างขึ้นบน: ฐานเขียง--> ฐานบัวรูปฟัก -->บัวถลา (ช่วยเชิงช่าง ทำให้ดูอ่อนช้อย ลื่นไหล) --> องค์ระฆัง --> บัลลังก์ --> บัวฝาละมี (รองรับปล้องไฉนให้เรียงตัวไปอย่างสวยงาม) --> ปล้องไฉน
  • บางองค์ที่แกนปล้องไฉน ทำพระสาวกลีลารอบแกน (เจดีย์วัดเขาสุวรรณคีรี ศรีสัชนาลัย) อิทธิพลจากลังกา
เจดีย์ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับเจดีย์ทรงระฆัง คือ เจดีย์ช้างล้อม
  • อิทธิพลลังกา
  • คติศูนย์กลางจักรวาล ช้างเป็นสัตว์ที่ค้ำจุนพระสุเมรุ และเป็นสัตว์ประจำทิศ
  • จารึกวัดสรศักดิ์ (พศว.20) "...มหาเจดีย์มีช้างรอบ..."
  • จากล่างขึ้นบน: ช้างล้อม --> ซุ้มพระพุทธรูป --> บัวถลา --> บัวปากระฆัง --> บัลลังก์ --> ปล้องไฉน --> ปลียอด
เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม
  • จากล่างขึ้นบน: ฐานเขียงซ้อนกันหลายชั้น --> ฐานบัวลูกฟักเพิ่มมุม(1) --> เรือนธาตุเพิ่มมุม(1) --> กลีบขนุน(1) --> ยอดดอกบัวตูม --> (ไม่มีบัลลังก์) เป็นปล้องไฉนขึ้นไปเลย --> ปลียอด
  • (1) มีอิทธิพลแบบเขมร
  • เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม (บ้างก็เรียกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์)
    • พศว.20 เป็นต้นไป
    • เอกลักษณ์ของเจดีย์สุโขทัย
    • ได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะอื่น
    • นโยบายการศาสนาผสานการเมือง
    • นักวิชาการ อาจมองว่าเป็นการแก้ไขทางเทคนิคให้ดูสวยงามขึ้น
    •  
  • เจดีย์ทรงนี้ พบได้มากใน:
    • สุโขทัย - ศรีสัชนาลัย
    • พิษณุโลก --> วัดเจดีย์ทอง
    • กำแพงเพชร --> วัดกะโลทัย วัดเจดีย์กลางทุ่ง
    • เพชรบูรณ์ --> วัดมหาธาตุ
    • ตาก --> วัดพระธาตุ
    • ชัยนาท --> วัดตระโหนดหลาย
    • มีกระจัดกระจายที่วัดเมืองแพร่ ชัยนาท
    • น่าน --> วัดสวนตาล
    • เชียงใหม่ --> วัดสวนดอก (พระสุมนเถระ จากสุโขทัยได้รับเชิญจากล้านนาขึ้นไปให้เผยแพร่พระศาสนาโดยให้จำพรรษา ที่วัดสวนดอก) จึงไม่น่าแปลกใจที่เชียงใหม่มีเจดีย์ทรงดอกบัวตูมด้วย.
  • หอเทวาลัยเกษตร พบแห่งเดียว ที่มีลักษณะเช่นนี้
    • มีผังสี่เหลี่ยม และเสาสี่เหลี่ยมแปดเสา มีร่องไว้สอดไม้
    • มีแท่นให้วางเทวรูป (เทวรูปสุโขทัย จะมีรูปลักษณ์คล้ายพระพุทธรูป)
พระพุทธรูป
  • พระพุทธรูป (หมวดวัดตระกวน)
    • ตัวอย่างมาจากวัดพระพายหลวง ...พระพุทธรูปในระยะแรก (ครึ่งแรก พศว.19)
    • พระพักตร์กลม พระวรกายอวบอ้วน
    • ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน ปลายสังฆาฏิแตกเป็นเขี้ยวตะขาบ
    • ศิลปะแบบปาลละ ส่งต่อไป พุกาม --> หริภูญชัย
  • พระพุทธรูป (หมวดใหญ่)
    • พระพุทธรูปที่นิยมสร้างมาก (กลางหรือปลาย พศว.19 เป็นต้นไป)
    • พระพักตร์รูปไข่ พระวรกายสมส่วน อ่อนช้อย พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่ง
    • ชายสังฆาฏิยาวถึงพระนาภี ปลายแตกเป็นเขี้ยวตะขาบ
    • ขัดสมาธิราบ + รัศมีเปลว = ลังกา
  • พระพุทธรูป (หมวดกำแพงเพชร)
    • พบในเมืองกำแพงเพชร
    • พระนลาฎกว้าง พระหนุเสี้ยม
  • พระพุทธรูป (หมวดพระพุทธชินราช) พระนิ้วสี่นิ้วจะเท่ากันหมด
    • พระวรกายอวบขึ้น
    • ชายสังฆาฎิจะยาวมาถึงพระนาภี
    • นิ้วพระหัตถ์จะเรียงเสมอกันสี่นิ้ว (สันนิษฐานมาจาก 1) การบูรณะภายหลัง 2) ช่างทำขึ้นมาเอง เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น)
  • พระบาทลักษณ์
    • รอยพระบาทปรากฎหลายแห่งในดินแดนสุโขทัย โดยเฉพาะในสมัยพรญาลิไท เขาสุมนกูฎ เขาพระบาท เขากบ (จว.นครสวรรค์) เขานางทอง
    • ช่องสี่เหลี่ยม บรรจุมงคล 108 ประการ อาจได้รับอิทธิพลจากพุกาม
    • อิทธิพลจากพุกาม --> คัมภีร์ชินาลังการ (ลังกา)
    • รอยพระบาทที่บรรจุมงคล 108 ประการ พบที่วัดศรีชุม รอยพระบาทในเจดีย์โลกนันทะ พุกาม
พระสี่อิริยาบท
  •  พระสี่อิริยาบท วัดพระพายหลวง วัดเชตุพน และพระสี่อิริยาบทที่กำแพงเพชร (นั่ง เดิน ยืน และนอน) ...> คัลวิหาร สมัยโปลนนารุวะ ศรีลังกา ...คติความเชื่อ
  • มาจากคัมภีร์ ดูกะนิกายมหาวัตร สติดูกายเป็นอารมณ์ แสดงออกมาเป็นท่าทางต่าง ๆ
  • เป็นพุทธประวัติ มีการสร้างอยู่ในแกนเดียวกัน มีการทำเช่นนี้อยู่แล้วในพุกาม
ลายปูนปั้นประดับวิหาร
  • พิจารณาปูนปั้นวิหาร วัดตระพังทองหลาง ด้านหนึ่งแสดง: พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์ มีพระอินทร์และพระพรหมต้อนรับ, อีกด้านหนึ่งแสดง: พระพุทธเจ้าปราบช้างนาฬาคีรี (Elephant Nalagiri)
  • รัศมีของพระพุทธเจ้าในปูนปั้น มีลักษณะเป็นเปลว เหมือนกับที่มีแสดงเป็นภาพวาดพระพุทธเจ้าที่ลังกา มีลายเป็นวงกลมสลับสี่เหลี่ยม ซึ่งเป็นที่นิยมมากในสมัยทวารวดี [51:05]
เกียรติมุข / หน้ากาล
  • มหาอสูรสงคราม อสูรเป็นฝ่ายดี พระอินทร์เป็นฝ่ายที่ไม่ดี ในปกรณัมพราหมณ์ ตำนานเหล่านี้สนุก (คนสุโขทัยชอบ แม้ว่านับถือพุทธ)
  • กาลบาลเมสูร ....พระกาฬ
  • เกียรติมุข....วิกลกาย (มีแต่หัว ร่างกายซูบผอม หิวโซ ตอนหลังพระศิวะให้กินตัวเอง จึงเหลือแต่หัว)
  • ชลัญธร บุคลาธิษฐานของน้ำ
  • มกร (มะกะระ) เป็นพาหนะของพระพิรุณ ข้อมูลบางแห่งไม่ตรงกัน หน้าตาเป็นจรเข้ เป็นกวางบ้าง บ้างก็ว่าเป็นพาหนะของพระนางคงคาด้วย และเป็นสัตว์ประจำตัวของกามเทพด้วย (อนงค์ ผู้ไม่มีองค์ คือ กามเทพ)
  • มีการพัฒนาไปอีกขั้น หน้าบันมี เกียรติมุข คายนาค (อาจจะเป็นมกร เสียด้วยซ้ำ) 
อาจารย์พิศิษฐ์
  • บ้านวังหาด (เลยสุโขทัยไปราว ๆ 10 กิโลเมตร)....มีความเก่าแก่ โบราณมาก เครื่องสัมฤทธิ์ เครื่องถ้วยมาก (ตอนนี้มีชาวลำปางอพยพลงมา) ความรู้ไม่จำกัดแค่กรุงสุโขทัย
  • ช้างล้อมช้างรอบ เป็นอิทธิพลลังกาทั้งหมด[1:30]
คุณวิภาดา:
ลายปูนปั้นที่ได้อิทธิพลจีน
  • ดูได้จาก "ลายช่องกระจกและลายพันธุ์พฤกษา" วัดนางพญา ศรีสัชนาลัย
  • ภาชนะดินเผา แหล่งเตาเผา: แหล่งผลิตเครื่องสังคโลก ที่ ศรีสัชนาลัยและสุโขทัย
  • ศรีสัชนาลัย: กลุ่มเตาบ้านเกาะน้อย (เคลือบเขียว ภาชนะดินเผาแบบศิลาดล) และกลุ่มเตาบ้านป่ายาง (ทำการผลิตประติมากรรมเคลือบขาว ช่อฟ้า ตุ๊กตา ตุ๊กตาเสียกระบาล)
  • สุโขทัย: กลุ่มเตาทุเรียงในเขตเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย (เขียนสีเคลือบเป็นสีดำ ใช้แร่เหล็กเขียน เพราะหาได้ง่าย หากเขียนแบบจีน ต้องใช้โคบอลต์ (มาจาก มัสรา - อิรัก ตะวันออกกลาง) ซึ่งหายากและราคาแพง จึงใช้แร่เหล็กแทน)
  • เริ่มผลิต พศว.19-ต้น 20 ผลิตที่ศรีสัชนาลัยก่อน
  • แล้วมาผลิตที่สุโขทัย เครื่องเคลือบเริ่มเป็นสีดำ
  • ช่วงราชวงศ์หมิงเกิดหยุดชะงักทางการค้ากับตลาดโลก--> สุโขทัยจึงขยายการค้าออกไปส่วนอื่น ๆ มากขึ้น, มีการผลิตเครื่องเคลือบที่เวียดนาม
  • พิจารณาจากแหล่งเตา ผลผลิตแล้ว มีความคล้ายคลึงกันของรูปแบบผลงาน อาจเป็นเพราะตลาดต้องการแบบนี้ (แหล่งเตาสุโชทัย และ แหล่งเตาสมัยราชวงศ์ตรัน เวียดนาม (พศว.19-20))
  • พบเหรียญจีนหนึ่งเหรียญสมัยราชวงศ์หยวน ที่บริเวณศาลตาผาแดง
  • มีจารึกจากยุนนานกล่าวถึงเส้นทางโบราณ จากต้าหลี่ มาไทย มาค้าขาย
  • ตำนานกล่าวว่า พระร่วงเสด็จไปเมืองจีน ...ซึ่งไม่มีพูดที่ไหนว่ากษัตริย์ไทยไปเมืองจีน เสด็จไปสองครั้ง
  • เว้นแต่ช่วงอยุธยา เจ้านครอินทร์ สุเหมือนบัน (สุพรรณบุรี) ไปเมืองจีน เพราะสุพรรณกับเมืองจีนมีความใกล้ชิดกันมาก
  • การผลิตเครื่องสังคโลก สุโขทัยน่าจะได้อิทธิพลจากยุนนาน หรือเวียดนามมากกว่า แทนที่จะได้อิทธิพลจากเมืองจีน เจ่อเจียง (ซึ่งไกลเกินไป)
เรื่อง "ปลา" ว่ายวนไปมาในลายถ้วยชามสังคโลก อธิบายโดยอาจารย์ประพฤติ
  • การที่การค้าของราชวงศ์หมิงสะดุด เพราะมีกองโจรญี่ปุ่น มาเป็นพัน ๆ คนคอยดักปล้น ซึ่งราชการจีนทำอะไรไม่ได้ โจรสลัดญี่ปุ่นรบเก่งมาก ต่อมามีแม่ทัพจีนคนหนึ่งชื่อ "ชีจี้กวง" ไปเกณฑ์คนทหารจ้างชาวไร่ชาวนาแถวนั้นของจีน สามารถปราบญี่ปุ่นราบคาบ ใช้เวลาหลายสิบปีจนสำเร็จ ปราบยากมาก เพราะญี่ปุ่นหนีไปตามเกาะ ต้องตามบุกไปปราบ
  • ปลา ... อี๋ แปลว่า เหลือ เหลือกินเหลือใช้...เป็นมงคล....อายุยืน การวาดปลาสวย ๆ ...มีคติ ฮกล้กซิ้ว ฮก = มีบุญมีวาสนา มีลูกเยอะ ลูกมากครอบครัวเจริญ   ล้ก = เจริญในหน้าที่การงาน ซิ้ว = อายุยืน,
  • ต้นสน ไก่ เหมย = มิตรสาม ยามอากาศหนาวเหน็บ ทั้งสามอย่างอยู่ด้วยกันได้ยามหนาวเหน็บ
อาจารย์พิศิษฐ์
  • ที่ศรีสัชนาลัยมีเตาทับซ้อนกัน มีตัวอย่างหลายจีนทุกแบบ ทั้งเตาที่สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และที่เวียดนาม
  • เราทำสังคโลกแบบบาง ๆ ไม่ได้ เนื้อเราสู้ที่อื่นไม่ได้ (จีน) เราทำได้แค่สโตนแวร์ มันจะหนัก
  • เราดีอย่างคือ เรามีหมด ช่อฟ้าใบระกา ท่อน้ำ ฯลฯ ซึ่งจีนไม่มี เราทำเครื่องถ้วยพอร์ชเลนไม่ได้ (Porcelain)
คุณวิภาดา
  • มีสังคโลกลายหอยสังข์ ทั้งที่แหล่งเตาศรีสัชนาลัย และแหล่งเตาสมัยราชวงศ์หมิง ในพศว.11
  • มีลายกิเลน นก หงส์ แต่มีตัวอย่างที่สมบูรณ์น้อย
  • สมัย ร.5 เราส่งลายไปให้เมืองจีนทำ ... เป็นไปได้ไหม เพราะลายสังข์ เป็นความเชื่อของอินเดีย โดยเฉพาะอินเดียใต้ ที่อินเดียส่งลายสังข์ไปให้จีนทำ สังข์ ในคติพราหมณ์นั้น เคยเป็นที่ประทับของพระวิษณุ เป่ายามสงคราม เป็นเครื่องดนตรีสำหรับเป่าไล่สิ่งชั่วร้าย เครื่องดนตรีที่ปรากฎในจารึกวัดพระยืน มีสังข์เรียกว่า "สังข์มาร" บางครั้งเรียก มหาสังข์ เป็นทักษิณาวัตร
  • เครื่องสังคโลก ลายที่พบมากอีกลายก็คือ ลายดอกพิกุล เหมือนทางล้านนา

สำเนาจิตรกรรรมจำหลักลายเส้นบนหินชนวน เรื่องชาดก ประดับผนังมณฑปวัดศรีชุม ภายในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ รามคำแหง ถ่ายไว้เมื่อ 17 พฤศจิกายน 2562
วารุณีทูสกชาดก - Varunidusaka - jataka
  • พบร่องรอยการใช้ใหในภาพจารที่วัดศรีชุม มีไม้คานหาบ (ทำเป็นเชือกร้อยมาทางก้นโยงมาด้านบนดึงรั้งเกี่ยวกับคานหามอีกที) แบกใหใส่เหล้า (หรือของเหลว) วารุณีทูสกชาดก - Varunidusaka - jataka ดังภาพข้างต้น และมีการระบุว่ามีการนำภาชนะประเภทนี้ไปบรรจุอัฐิศพครั้งที่สองของชาวสุโขทัยด้วย ฝังอยู่ตามวัดแนวโบราณสถานของไทย พบที่วัดพระพายหลวง ที่วัดบางขลัง (เมืองโบราณที่อยู่ระหว่างศรีสัชนาลัยและสุโขทัย)
เครื่องประกอบสถาปัตยกรรม
  • ส่วนมากผลิตจากเตาป่ายาง
  • ช่อฟ้า ปั้นลม บราลี เชิงชาย
  • เคลือบสีขาว เขียนลายสีดำ
  • สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากจีน
  • มกร ของสุโขทัย จะไม่เหมือนแบบอินเดีย แต่จะเป็นแบบจีน
  • --จารึกพ่อขุนรามคำแหง-- "...ป่าหมาก..."
  • --จารึกวัดช้างล้อม-- "...เต้าปูนอันหนึ่ง..."
  • โบราณวัตถุ ที่สะท้อนการใช้ชีวิตประจำวัน ...ที่วัดพระพายหลวงพบเต้าปูน (กินหมากกินพลุ) ป่าหมาก ป่าพร้าว มีการกล่าวในจารึกว่านำเต้าปูนไปถวายกัลปนา
โคมปรุเคลือบ
  • --จารึกวัดเขมา-- พ.ศ.2079
  • "...ถ้วยโคมลายดวงหนึ่ง..."  ...กัลปนาสิ่งของให้กับวัด
  • สันนิษฐานว่าใช้คู่กับเสาประทีป ขุดค้นพบชิ้นส่วนโคมร่วมกับเสาศิลาที่วัดสิงห์ จว.กำแพงเพชร

ประติมากรรมเคลือบขนาดเล็ก
  • บุคคลอุ้มลูก ถือของ สัตว์ หมากรุก เบี้ย ม้า
  • มีรูปคนกำลังปล้ำ น่าจะเป็นการละเล่นของอินเดียส่งผ่านมาให้ไทยเราช้านานแล้ว
  • ประติมากรรมเรือ
  • พบเครื่องใช้สำริด เป็นคันศร เหมือนกับที่แสดงในแผ่นหินจาร ปัญจวุธชาดก (พระโพธิสัตว์มาปราบอสูร) ที่วัดศรีชุม เป็นอาวุธที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ใช้สำหรับคนชั้นสูงในการประกอบพิธีกรรม
  • พบเครื่องประดับ ที่วัดมหาธาตุ และวัดพระพายหลวง
  • มีการพบเหรียญ ตามแบบทวารวดี บ้านวังหาด บ้านด่านลานหอย
จิตรกรรม
  • มีไม่มาก ส่วนใหญ่ใช้สีฝุ่น + กาว
  • สีเอกรงค์ > ดำ แดง เหลือง ทอง ขาว
  • พื้นสีขาว / ระบายสีแดง / ตัดเส้นสีดำ
  • [2:47]


ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย:
01.  ไมเคิล วิคเคอรี (Michael Vickery) นักประวัติศาสตร์และนักอ่านจารึกบุคคลสำคัญ (ชาตะ 1 เม.ย.2474 รัฐมอนทานา สหรัฐอเมริกา - มรณะ 29 มิ.ย.2560 เมืองพระตะบอง ประเทศกัมพูชา) ผลงาน: พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับไมเคิล วิคเคอรี, บทความในสยามสมาคม (Journal of the Siam Society ปีที่ 66 ฉบับที่ 2-ก.ค.2521) ซึ่งตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับอักขรวิธีในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหง ผลงานของท่าน ดูได้ใน http://michaelvickery.org/ , ที่มา: matichon.co.th, วันที่เข้าถึง 12 สิงหาคม 2564.





 
info@huexonline.com