MENU
TH EN

32. วัดชมชื่น - ศรีสัชนาลัย

วัดชมชื่น ทั้ง Title Thumbnail และ Hero Image ได้ถ่ายไว้เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2562.
32. วัดชมชื่น - ศรีสัชนาลัย01,02,03,04.
First revision: Nov.12, 2019
Last change: Apr.18, 2020

    วัดชมชื่น และอาคารอนุรักษ์หลุมขุดค้นวัดชมชื่น เป็นโบราณสถานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานประวัติศาสตร์และมรดกโลกทางวัฒนธรรม 
    วัดชมชื่น ตั้งอยู่ริมแม่น้ำยม อยู่ทางทิศตะวันตกของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ราว 400 เมตร มีการขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ โถใส่อัฐิของมนุษย์ และเครื่องปั้นดินเผา
          
 
โบราณสถานที่สำคัญคือ
     1)  เจดีย์ประธานทรงกลมก่อด้วยศิลาแลง ทรงเจดีย์ลังกา
     2)  วิหารด้านหน้าเจดีย์ประธานก่อด้วยศิลาแลง ขนาดหกห้อง มีมุขยื่นออกมาด้านหน้า
     3)  กุฎี หรือ กุฎาคาร (Cella-shrine หรือ Ku-dee) อยู่ด้านหลังพระวิหารเชื่อมกับมณฑป คล้ายเป็นห้องทึบอยู่ท้ายวิหาร หลังคาใช้ศิลาแลงก่อเหลี่ยมเข้าหากันเป็นรูปจั่วแหลม ด้านหน้าทั้งสองข้างมณฑปทำเป็นซุ้มจระนำ05 สองซุ้ม ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก แต่ปัจจุบันได้สูญหายไปแล้ว

 
          

     ด้านหน้าของเจดีย์ประธาน คือ กุฎี (กุฎาคาร) นั้น มีสิ่งที่น่าสนใจคือ ร่องรอยของงานปูนปั้นประดับบางแห่ง ซึ่งเหลือเพียงรอยจาง อันเป็นหลักฐานเกี่ยวข้องกับงานประดับในศิลปะล้านนา ซึ่งสอดคล้องกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ระบุถึงกองทัพเมืองเชียงใหม่ (ราชธานีแคว้นล้านนา) ลงมายึดครองเมืองศรีสัชนาลัยอยู่กว่าสิบปี ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 
     จึงเป็นไปได้ว่าวัดนี้สร้างหรือปฏิสังขรณ์ในช่วงการยึดครองนั้น 
     ด้านหน้าของกุฎี คือวิหารโถง ส่วนทางท้ายวัดมีอาคารโถงขนาดเล็ก คงเป็นวิหารด้วย แต่หากเป็นอุโบสถแสดงว่าใบสีมาถูกเคลื่อนย้ายไปหมดแล้ว.
          
ภาพจากซ้ายไปขวา: อาคารโถงขนาดเล็กท้ายวัด คงเป็นวิหารด้วย แต่หากเป็นอุโบสถแสดงว่าใบสีมาถูกเคลื่อนย้ายไปหมดแล้ว, ถ่ายจากทางทิศเหนือของวัดลงมายังเจดีย์ประธาน

ที่มา คำศัพท์และคำอธิบาย
01. ปรับปรุงจาก. dastacreativejourney.com, วันที่เข้าถึง 18 เมษายน 2563.
02. ปรับปรุงจาก. thailandtourismdirectory.go.th, วันที่เข้าถึง 18 เมษายน 2563.
03. ปรับปรุงจาก. sukhothai.go.th, วันที่เข้าถึง 18 เมษายน 2563. 
04. จาก. หนังสือ "โบราณสถานกับรูปแบบสันนิษฐาน มรดกโลก สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร" เล่มที่ 1, โดย ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม และคณะ หน้าที่ 92-93 ISBN 978-974-592-623-3 พิมพ์ครั้งแรก ธันวาคม 2551 กรุงเทพฯ.
05. ซุ้มจระนำ เป็น ชื่อซุ้มท้ายวิหารหรือท้ายโบสถ์ เป็นช่องตัน มักเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป.

 
info@huexonline.com