MENU
TH EN

บันทึกประจำวันของดรักเกอร์: มกราคม

ปีเตอร์ เอฟ ดรักเกอร์, ที่มา: www.toolshero.com, วันที่เข้าถึง:30 ธันวาคม 2566
บันทึกประจำวันของดรักเกอร์: มกราคม 01.
First revision: Dec.30, 2023
Last change: Mar.03, 2024
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา.
   ถือกำเนิด  ปีเตอร์ เฟอร์ดินานด์ ดรักเกอร์
 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2452
 ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย-ฮังการี
   ถึงแก่อนิจกรรม  11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 (สิริรวม 95 ปี)
 เมืองแคลร์ม้องท์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
   การศึกษา  ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกอเธ่ ณ เมืองแฟรงค์เฟิร์ท สหพันธรัฐเยอรมนี
   อาชีพ  ที่ปรึกษาด้านการจัดการ นักการศึกษา และนักเขียน
   รางวัลต่าง ๆ ที่ได้รับ  เหรียญเกียรติยศ เฮนรี่ ลอเรนซ์ แก้นท์  (พ.ศ.2502)
 เหรียญเกียรติภูมิอันดับที่หนึ่งแห่งออสเตรียด้านวิทยาศาสตร์และศิลปะ (พ.ศ.2534)
 เหรียญรางวัลเพรซิเด้นท์แห่งเสรีภาพ (พ.ศ.2545)


 
    1  มกราคม
ความซื่อสัตย์ในการเป็นผู้นำ
จิตวิญญาณขององค์กรถูกสร้างขึ้นจากฝ่ายจัดการระดับสูง

ข้อพิสูจน์ถึงความจริงใจและความจริงจังของฝ่ายจัดการคือ การมีคุณลักษณะที่เน้นย้ำถึงความซื่อสัตย์สุจริตอย่างแน่วแน่. เหนือสิ่งอื่นใด สิ่งนี้จะต้องแสดงให้เห็นในการตัดสินใจเกี่ยว "คน" ของฝ่ายจัดการ. เพราะนี่เป็นคุณลักษณะที่ใช้ในการเป็นผู้นำ เป็นคุณลักษณะที่จัดวางไว้เป็นตัวอย่างและให้นำไปเลียนแบบ. คุณลักษณะหรืออุปนิสัยนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ใคร ๆ ก็สามารถหลอกผู้คนได้. ผู้คนที่เขานั้นทำงานด้วย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใต้บังคับบัญชา จะรู้ได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ว่าเขาหรือเธอ (ที่เป็นผู้จัดการ) มีความซื่อสัตย์หรือไม่. พวกเขา (เหล่าพนักงาน) อาจให้อภัย (ใจเย็น) กับ ผู้จัดการที่ร่วมงานอยู่นั้นอย่างมาก เช่น การไร้ความสามารถ (มือไม่ถีง) ความไม่รู้ (รู้เรื่องในสิ่งที่ตนทำอยู่ไม่มากนัก) ความไม่มั่นคง (ลังเล อ่อนไหว) หรือมีมารยาทที่ไม่ดี. แต่พวกเขาจะไม่ให้อภัยกับผู้จัดการที่ขาดความซื่อสัตย์ในตัวเอง. พวกเขาจะไม่ให้อภัยฝ่ายจัดการระดับสูงที่เลือกผู้จัดการคนนี้มาทำงาน.

       นี่เป็นเรื่องจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่เป็นหัวหน้าขององค์กร. เพราะจิตวิญญาณขององค์กรถูกสร้างขึ้นจากฝ่ายจัดการระดับสูง. หากองค์กรมีจิตวิญญาณที่ยิ่งใหญ่ นั่นก็เป็นเพราะจิตวิญญาณของฝ่ายจัดการระดับสูงนั้นยิ่งใหญ่. ถ้ามันเน่าเปื่อยก็เพราะว่าส่วนยอดนั้นเน่าเปื่อย ดังสุภาษิตที่ว่า "ต้นไม้ตายจากยอด". ไม่ควรมีใครได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับสูง เว้นแต่ฝ่ายจัดการระดับสูงเต็มใจที่จะให้มีลักษณะนิสัยของตนเป็นแบบอย่างสำหรับผู้ใต้บังคับบัญชา.

 
จุดที่นำไปปฏิบัติ: ประเมินคุณลักษณะของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และฝ่ายจัดการระดับสูง เมื่อพิจารณาข้อเสนองาน (หรือผลงานประจำปี). การปรับตัวเข้ากับบุคลากรในองค์กรที่มีคุณธรรม.

จากหนังสือ การจัดการ: งาน ความรับผิดชอบ แนวปฏิบัติ (Management: Tasks, Responsibilities, Practices).
 
    2 มกราคม
การระบุถึงอนาคต
สิ่งที่สำคัญคือการระบุ "อนาคตที่เกิดขึ้นแล้ว"

รรดาผู้คาดการณ์ถึงอนาคตมักจะวัดค่าเฉลี่ยในการตีบอล (เบสบอล) ของตนโดยการนับจำนวนสิ่งที่พวกเขาคาดการณ์ไว้ซึ่งก็เป็นจริง. พวกเขาไม่เคยนับว่ามีสิ่งสำคัญมากมายที่พวกเขาไม่ได้ทำนายนั้นจะเป็นจริง. ทุกสิ่งที่นักพยากรณ์คาดการณ์ไว้อาจเกิดขึ้นได้. แต่เขาอาจจะไม่ได้เห็นความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งมีความหมายมากที่สุด หรือที่แย่กว่านั้นก็คืออาจไม่ได้ใส่ใจกับสิ่งเหล่านั้น. ไม่มีทางเลยที่เราจะหลีกเลี่ยงความไม่เกี่ยวข้องในการพยากรณ์ได้ เพราะสิ่งที่สำคัญและโดดเด่นมักจะเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงในค่านิยม การรับรู้ และเป้าหมาย กล่าวคือ ในสิ่งที่ใคร ๆ ก็สามารถทำนายได้ แต่ก็ไม่สามารถคาดการณ์ได้.

       แต่งานที่สำคัญที่สุดของผู้บริหารคือ การระบุการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้ว. ความท้าทายที่สำคัญในสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองคือ การใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้วและใช้เป็นโอกาส. สิ่งสำคัญคือการระบุ "อนาคตที่เกิดขึ้นแล้ว" - และพัฒนาวิธีการในการรับรู้และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้. วิธีการนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ในหนังสือ Innovation and Entrepreneurship ของข้าพเจ้าเมื่อปี พ.ศ.2528/ค.ศ.1985 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคน ๆ หนึ่งมองการเปลี่ยนแปลงในสังคม ในด้านประชากรศาสตร์ ในความหมายของมัน ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อย่างเป็นระบบอย่างไร ว่าเป็นโอกาสในการสร้างอนาคต.


จุดที่นำไปปฏิบัติ: ให้ระบุแนวโน้มสำคัญในตลาดของเราที่ปรากฎแล้ว. จดเขียนแสดงเกี่ยวกับการที่ทำให้ธุรกิจยั่งยืน และผลกระทบต่อชีวิตและองค์กรของเรา.
จากหนังสือ วิสัยทัศน์เชิงนิเวศน์ (The Ecological Vision)
ยุคแห่งความไม่ต่อเนื่อง (The Age of Discontinuity
).
 
   3 มกราคม
การบริหารจัดการเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้
ใครก็ตามที่ปลูกหญ้าสองใบ สามารถทำให้เติบโตได้เพียงใบเดียวได้ก่อน ก็สมควรที่จะได้รับสิ่งที่ดีกว่าสำหรับมนุษยชาติ มากกว่านักปรัชญาที่คาดเดายากหรือผู้สร้างระบบทางอภิปรัชญา.

ารบริหารจัดการจะยังคงเป็นสถาบันพื้นฐานและมีอำนาจตราบเท่าที่อารยธรรมตะวันตกยังคงอยู่. สำหรับการจัดการไม่เพียงแต่มีพื้นฐานอยู่บนธรรมชาติของระบบอุตสาหกรรมสมัยใหม่และในความต้องการขององค์กรธุรกิจสมัยใหม่เท่านั้น ซึ่งระบบอุตสาหกรรมจะต้องไว้วางใจในทรัพยากรการผลิตทั้งที่เป็นคนและวัตถุดิบ. ฝ่ายจัดการยังแสดงถึงความเชื่อพื้นฐานของสังคมตะวันตกสมัยใหม่. เป็นการแสดงออกถึงความเชื่อในความเป็นไปได้ในการควบคุมการดำรงชีวิตของมนุษย์ผ่านการจัดระเบียบทรัพยากรทางเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบ. เป็นการแสดงออกถึงความเชื่อที่ว่าการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสามารถกลายเป็นกลไกที่ทรงพลังที่สุดเพื่อความดีขึ้นของมนุษย์และความยุติธรรมทางสังคม กล่าวคือ โจนาธาน สวิฟต์ได้กล่าวเกินจริงเป็นครั้งแรกเมื่อสามร้อยปีที่แล้ว ใครก็ตามที่ทำให้หญ้าสองใบเติบโตในที่ซึ่งมีเพียงหญ้าเดียวที่เติบโตก่อนสมควรได้รับสิ่งที่ดีกว่าของมนุษยชาติ ยิ่งกว่านักปรัชญาเก็งกำไรหรือผู้สร้างระบบอภิปรัชญาคนใด.

       การจัดการ ซึ่งถือเป็นองคาพยพของสังคมที่มีหน้าที่เฉพาะในการสร้างทรัพยากรให้มีผลิตภาพ กล่าวคือ การจัดการนั้น มีความรับผิดชอบต่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจที่เป็นระบบ จึงสะท้อนถึงจิตวิญญาณพื้นฐานของยุคสมัยใหม่. อันที่จริงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ และสิ่งนี้อธิบายว่าทำไมเมื่อการจัดการได้ถือกำเนิดแล้ว มันจึงเติบโตอย่างรวดเร็วและมีการต่อต้านน้อยมาก.

จุดที่นำไปปฏิบัติ: เราลองยกบางตัวอย่างว่า ทำไมการจัดการ ความสามารถ ความสมบูรณ์ และการดำเนินการของการจัดการนั้น จึงมีความสำคัญต่อโลกเสรี (โลกธุรกิจปัจจุบัน).
จากหนังสือ แนวปฏิบัติของการจัดการ (The Practice of Management).
 
  4 มกราคม
ความเฉื่อยชาขององค์กร
ทุกองค์กรจำเป็นต้องมีวินัยในการเผชิญหน้ากับความเป็นจริง.

ทุกองค์กรจำเป็นต้องรู้ว่าไม่มีโปรแกรมหรือกิจกรรมใดที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลเป็นเวลานานโดยไม่ต้องดัดแปลงและออกแบบใหม่. ในที่สุดทุกกิจกรรมก็ล้าสมัย. ในบรรดาองค์กรต่าง ๆ ที่เพิกเฉยต่อข้อเท็จจริงนี้ ผู้ละเมิดที่เลวร้ายที่สุดคือภาครัฐ. แท้จริงแล้ว การไม่สามารถทำอะไรได้คือโรคสำคัญของภาครัฐ และเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ภาครัฐในปัจจุบันนั้นป่วย. โรงพยาบาลและมหาวิทยาลัยดีกว่าภาครัฐบาลเพียงเล็กน้อยในการกำจัดเรื่องราวล้าสมัยในวันวาน.

       นักธุรกิจที่อ่อนไหวกับเรื่องเมื่อวานพอ ๆ กับข้าราชการ. พวกเขามีแนวโน้มที่จะตอบสนองต่อความล้มเหลวของผลิตภัณฑ์หรือโปรแกรมด้วยการเพิ่มความพยายามในการลงทุนเป็นสองเท่า. แต่โชคดีที่พวกเขาไม่สามารถหลงระเริงตามใจชอบได้อย่างอิสระ. พวกเขาอยู่ภายใต้วินัยที่มีวัตถุประสงค์ วินัยด้านการตลาด. พวกเขามีวัตถุประสงค์นอกเหนือการวัดผล การทำกำไร. ดังนั้นพวกเขาจึงถูกบังคับให้กำจัดสิ่งที่ไม่ประสบความสำเร็จและไม่เกิดผลออกไปไม่ช้าก็เร็ว. เพื่อให้องค์กรต่าง ๆ เช่น รัฐบาล โรงพยาบาล ทหาร และอื่น ๆ ให้ยึดเหนี่ยว (ภาวะ) เศรษฐกิจไว้เท่านั้น.

       ทุกองค์กรจะต้องสามารถปรับเปลี่ยนให้มีการเปลี่ยนแปลงได้. เราต้องการแนวคิดและการวัดผลที่มอบให้กับองค์กรประเภทต่าง ๆ ในสิ่งที่เป็นการทดสอบตลาดและเกณฑ์มาตรฐานวัดความสามารถในการทำกำไรให้กับธุรกิจ. การทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานเหล่านั้นจะมีความแตกต่างกันมาก.


จุดที่นำไปปฏิบัติ: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรของเรานั้น มีการทดสอบและมีมาตรฐานที่เข้มงวดในการวัดประสิทธิภาพหรือไม่.
จากหนังสือ ยุคแห่งความไม่ต่อเนื่อง (The Age of Discontinuity).
 
   5 มกราคม
การละทิ้ง
ไม่มีอะไรยากและแพงเท่า แต่ก็ไม่มีอะไรไร้ประโยชน์เท่ากับความพยายามเก็บศพไม่ให้ส่งกลิ่น.

ผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพรู้ว่าพวกเขาต้องทำหลายสิ่งหลายอย่างให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิผล. ดังนั้นพวกเขาจึงต้องมีสมาธิ. กฎข้อแรกสำหรับการมุ่งความสนใจไปที่ความพยายามของผู้บริหารคือการขจัดอดีตที่ไร้ประสิทธิผลออกไป. ทรัพยากรชั้นหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรที่หายากซึ่งเต็มไปด้วยความแข็งแกร่งของมนุษย์ จะถูกดึงออกมาใช้ทันทีและนำไปใช้งานเพื่อโอกาสแห่งอนาคต. หากผู้นำไม่สามารถสลัดวันวาน และละทิ้งเมื่อวานแล้วละก็ พวกเขาก็จะไม่สามารถสร้างวันพรุ่งนี้ได้.

       หากไม่มีการละทิ้งอย่างเป็นระบบและมีเป้าหมายแล้ว องค์กรก็จะถูกครอบงำโดยเหตุการณ์ต่าง ๆ . มันจะเปลืองทรัพยากรที่ดีที่สุดไปในสิ่งที่ไม่ควรทำหรือไม่ควรจะทำอีกต่อไปแล้ว. เป็นผลให้ขาดทรัพยากร โดยเฉพาะคนที่มีความสามารถ ที่จำเป็นในการใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้น. มีธุรกิจน้อยเหลือเกินที่เต็มใจที่จะสลัดทิ้งเมื่อวานนี้ และส่งผลให้มีทรัพยากรสำหรับวันพรุ่งนี้น้อยเกินไป.

จุดที่นำไปปฏิบัติ: หยุดการใช้ทรัพยากรอย่างสุร่ยสุร่ายกับธุรกิจที่ล้าสมัย และเพิ่มอิสระให้กับบุคลากรที่มีความสามารถของเรา เพื่อจะได้รับประโยชน์จากโอกาสใหม่ ๆ .
จากหนังสือ ผู้บริหารที่มีประสิทธิผล (The Effective Executive)
การจัดการในยุคปั่นป่วน (Managing in Turbulent Times)
การจัดการในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ (Managing in a Time of Great Change)
ความท้าทายด้านการจัดการในศตวรรษที่ 21 (Management Challenges for the 21st Century) .

 
 
  6 มกราคม
แนวปฏิบัติของการละทิ้ง
หากเราไม่ได้ทำสิ่งนี้ตั้งแต่แรก เราจะเขาไปช่วยทำในตอนนี้เลยดีหรือไม่?

ก็ต้องและถามอย่างจริงจังว่า "หากเราไม่ได้ทำสิ่งนี้มาก่อนแล้ว เราจะลงมือทำตอนนี้โดยรู้ในสิ่งที่เรารู้นั้นได้หรือไม่?" ถ้าคำตอบคือไม่ ปฏิกิริยาที่จะแสดงออกไปจะต้องเป็น "แล้วเราจะทำอย่างไรดี?"

       มีสามกรณี หนึ่ง) การกระทำที่ถูกต้องคือการละทิ้งทันที การละทิ้งเป็นการกระทำที่ถูกต้องหากผลิตภัณฑ์ บริการ ตลาด หรือกระบวนการ "ยังมีชีวิตอีกไม่กี่ปี". ผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการที่กำลังจะตายเหล่านี้เองที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่และความพยายามอย่างสูงสุดอยู่เสมอ พวกเขาผูกมัดคนที่มีประสิทธิผลและมีความสามารถมากที่สุดเอาไว้. สอง) แต่ในทำนองเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ บริการ ตลาด หรือกระบวนการต่าง ๆ ควรละทิ้งไป หากข้อโต้แย้งเดียวในการรักษาไว้คือ "มันถูกตัดค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมสิ้น (ในทางบัญชี) ออกไปหมดแล้ว". เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการแล้ว ไม่มี "สินทรัพย์ใด ๆ ที่ไม่มีต้นทุน".  มันมีเพียง "ต้นทุนจม" เท่านั้น. กรณีที่สาม) ที่การละทิ้งเป็นนโยบายที่ถูกต้อง - และนโยบายที่สำคัญที่สุด - คือกรณีที่เพื่อประโยชน์ในการรักษาผลิตภัณฑ์ บริการ ตลาด หรือกระบวนการเก่า ๆ หรือที่กำลังถดถอยลดลงเอาไว้นั้น ก็เป็นการทำให้ผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการใหม่และกำลังเติบโต ถูกทำให้แคระแกรนหรือละเลยนั่นเอง.

จุดที่นำไปปฏิบัติ: จากคำถามข้างต้น คำตอบคือไม่ ก็เป็นความลำบากใจยิ่งในการละทิ้งธุรกิจอันเป็นที่รักที่หวงออกไป.
จากหนังสือ ความท้าทายด้านการจัดการในศตวรรษที่ 21 (Management Challenge for the 21st Century).
 
  7 มกราคม
พนักงานที่มีองค์ความรู้: เป็นสินทรัพย์ไม่ใช่ต้นทุน
หน้าที่ของฝ่ายจัดการคือรักษาดูแลทรัพย์สินขององค์กรเอาไว้.

นักงานที่มีองค์ความรู้นั้น เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต. มันเป็นองค์ความรู้ที่อยู่ระหว่างหู (สมอง) ของพวกเขา. และเป็นสินทรัพย์ด้านทุนที่มหาศาลที่สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยสิ้นเชิง. เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานที่มีองค์ความรู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต. พวกเขาจึงสามารถเคลื่อนที่ได้ (อาจย้ายไปอยู่องค์กรอื่นที่เขาคิดว่าเหมาะกว่ากับพวกเขาได้ง่าย). พนักงานที่ใช้แรงงานนั้น ต้องการงานมากกว่าที่งานต้องการพวกเขา. อาจยังไม่เป็นความจริงสำหรับพนักงานที่มีองค์ความรู้ทุกคนว่าองค์กรต้องการพวกเขามากกว่าที่พวกเขาต้องการองค์กร. แต่สำหรับส่วนใหญ่แล้ว มันเป็นความสัมพันธ์ทางชีวภาพที่ทั้งสองต้องการซึ่งกันและกันอย่างเสมอภาคเท่าเทียม.

       หน้าที่ของฝ่ายจัดการคือรักษาดูแลทรัพย์สินขององค์กรไว้. นั่นกลายเป็นว่าองค์ความรู้ของพนักงานแต่ละคนนั้นเป็นทรัพย์สิน นั่นก็กลายเป็นว่านโยบายด้านบุคลากร ก็ต้องดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีองค์ความรู้และมีผลิตภาพสูงเอาไว้ และแปลงผลิตภาพที่เพิ่มขึ้นให้เป็นขีดความสามารถด้านประสิทธิภาพขององค์กร.

จุดที่นำไปปฏิบัติ: ดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีองค์ความรู้ที่มีผลิตภาพสูงสุดเอาไว้ โดยปฏิบัติต่อพวกเขาและองค์ความรู้ของพวกเขาในฐานะทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดขององค์กร.
จากหนังสือ ความท้าทายด้านการจัดการในศตวรรษที่ 21 (Management Challenge for the 21st Century)
 
   8 มกราคม
ความเป็นอิสระในงานด้านองค์ความรู้
งานที่ใช้องค์ความรู้นั้น ต้องมีทั้งความเป็นอิสระและความรับผิดชอบ.

ารเรียกร้องให้ผู้พนักงานที่มีองค์ความรู้กำหนดงานของตนเองและผลลัพธ์ของงานเองนั้นเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากพนักงานที่มีองค์ความรู้จะต้องเป็นอิสระ. เนื่องจากความรู้แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แม้จะอยู่ในสาขาเดียวกัน พนักงานที่มีองค์ความรู้แต่ละคนก็มีชุดความรู้เฉพาะของตนเอง ด้วยความรู้เฉพาะทางและเฉพาะตัวนี้ พนักงานแต่ละคนควรรู้เกี่ยวกับสาขาเฉพาะของตนมากกว่าใครก็ตามในองค์กร. โดยแท้จริงแล้วพนักงานที่มีองค์ความรู้นี้นั้น ต้องการที่รู้ในกรอบเนื้อหาองค์ความรู้ในส่วนที่ตนถนัดมากกว่าใคร ๆ พวกเขาก็ได้รับค่าตอบแทนให้มีความรู้ในสาขาเฉพาะของตน. ความหมายคือ เมื่อพนักงานที่มีองค์ความรู้แต่ละคนได้กำหนดงานของตนเองขึ้นแล้ว และเมื่อหน่วยงานได้มีการปรับโครงสร้างใหม่อย่างเหมาะสมแล้ว พนักงานที่มีองค์ความรู้แต่ละคนก็ควรได้รับการคาดหวังให้ทำงานในแนวทางของตนเองและรับผิดชอบงานนั้น. (พนักงานที่มีองค์ความรู้จะต้องตั้งคำถามกับตนเองว่า) ฉันจะมุ่งเน้นไปที่อะไร? ผลลัพธ์ใดบ้างที่คาดหวังได้ ซึ่งฉันความรับผิดชอบ? ด้วยกำหนดเวลาที่ส่งมอบงานอะไร? ซึ่งพนักงานที่มีองค์ความรู้ต้องใช้ทั้งความเป็นอิสระและความรับผิดชอบ.

จุดที่นำไปปฏิบัติ: ให้เขียนแผนงาน โดยประกอบด้วย จุดมุ่งเน้น (หรือภารกิจ) ผลลัพธ์ที่ต้องการ และกำหนดเวลา. ส่งไปให้ผู้บังคับบัญชาของเรา.
จากหนังสือ ความท้าทายด้านการจัดการในศตวรรษที่ 21 (Management Challenge for the 21st Century).
ผลิตภาพของพนักงานที่มีองค์ความรู้
(โปรแกรมออนไลน์ Corpedia) (Knowledge Worker Productivity (Corpedia Online Program))
 

ที่มา: www.amazon.com, วันที่เข้าถึง: 13 มกราคม 2567.
 
 
   9 มกราคม
บุคลิกภาพใหม่ของบริษัท
ในสังคมของบริษัทต่อไปนี้ ผู้บริหารระดับสูงจะเป็นตัวบริษัทเอง. ทุกสิ่งทุกอย่างสามารถจัดจ้างจากภายนอกได้.

นสังคมยุคใหม่ของบริษัทและผู้บริหารระดับซึ่งต่อไปนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยความรับผิดชอบของผู้บริหารระดับสูงนั้นจะครอบคลุมในทุกทิศทางขององค์กร ทั้งเรื่องการวางแผน กลยุทธ์ ค่านิยม และหลักการทั้งหมด โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกต่าง ๆ พันธมิตร หุ้นส่วนธุรกิจ และการร่วมทุน ตลอดจนการวิจัย ออกแบบ และนวัตกรรม.

       การสร้างบุคลิกองค์กรใหม่นั้น จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงค่านิยมขององค์กร และนั่นอาจเป็นงานที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้บริหารระดับสูง ในช่วงครึ่งศตวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่สอง บริษัทได้พิสูจน์ตัวเองอย่างยอดเยี่ยมในฐานะองค์กรทางเศรษฐกิจ ในฐานะผู้สร้างความมั่งคั่งและการสร้างงาน ในสังคมยุคใหม่ ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดสำหรับบริษัทขนาดใหญ่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบริษัทนานาชาติ อาจเป็นความชอบธรรมทางสังคมของบริษัท ค่านิยม ภารกิจ และวิสัยทัศน์ ทุกสิ่งทุกอย่างสามารถจ้างจากภายนอกได้.

จุดที่นำไปปฏิบัติ: มุ่งเน้นไปที่ค่านิยม ภารกิจ และวิสัยทัศน์ขององค์กรของเรา และพิจารณาเรื่องการจัดจ้างจากภายนอกในทุก ๆ เรื่อง.
จากหนังสือ การจัดการในสังคมใหม่ (Managing in the next society).
สังคมใหม่ (
โปรแกรมออนไลน์ Corpedia) (The Next Society (Corpedia Online Program))
 
  10 มกราคม
การจัดการมีฐานะอันเป็นทางเลือกของผู้นำที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด
ทางเลือกอื่นแก่สถาบันที่ทำงานอย่างอิสระ หน้าที่และการดำเนินงานไม่มีความอิสระ. นั่นคือองค์กรที่มีเบ็ดเสร็จเด็ดขาดอย่างแท้จริง.

ากสถาบันต่าง ๆ ของสังคมพหุนิยมของเราไม่ดำเนินการด้วยความเป็นอิสระที่มีความรับผิดชอบ เราก็จะไม่มีความเป็นปัจเจกนิยมและสังคมที่ผู้คนมีโอกาสที่จะเติมเต็มตัวเองได้. ในทางกลับกัน เราจะกำหนดกองทัพที่สมบูรณ์ให้กับตัวเราเอง โดยที่ไม่มีใครได้รับอนุญาตให้มีอิสระภาพได้. เราจะมีลัทธิสตาลิน (สตาลิน-เผด็จการทหารโซเวียต) มากกว่าประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม นับประสาอะไรกับความเป็นธรรมชาติที่รื่นรมย์ในการทำสิ่งต่าง ๆ ของตนเอง. การปกครองแบบเผด็จการหรือผู้นำที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดจึงเป็นทางเลือกเดียวที่แข็งแกร่ง มีประสิทธิภาพ และเป็นอิสระ.

       การบริหารที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดเข้ามาแทนที่ผู้บริหารที่เด็ดขาดเพียงคนเดียวสำหรับสถาบันที่มีการแข่งขันกันหลายฝ่าย. มันทดแทนความหวาดกลัวที่เป็นความรับผิดชอบ. มันไม่ได้ทำลายสถาบันต่าง ๆ แต่อย่างใด เพียงแต่โดยการรวมสถาบันทั้งหมดไว้ในระบบราชการที่โอบรับทุกด้านแห่งเครื่องมือเพียงแห่งเดียวเท่านั้น. มันผลิตสินค้าและบริการแม้จะเหมาะสม สิ้นเปลือง ในระดับต่ำ และมีค่าใช้จ่ายมหาศาลในการทนทุกข์ ความอับอาย และความคับข้องใจ การทำให้สถาบันของเราดำเนินการด้วยความรับผิดชอบ เป็นอิสระ และในความสำเร็จในระดับสูง จึงเป็นสิ่งเดียวที่ปกป้องเสรีภาพ และในระดับสูงของความสำเร็จจึงเป็นสิ่งเดียวที่ปกป้องเสรีภาพและศักดิ์ศรีในสังคมพหุนิยมของสถาบันต่าง ๆ . การดำเนินการและการจัดการที่มีความรับผิดชอบเป็นทางเลือกแทนการปกครองแบบเผด็จการและเป็นสิ่งเดียวที่เราป้องกันได้.


จุดที่นำไปปฏิบัติ: ขั้นตอนใดที่เราและคนอื่น ๆ สามารถดำเนินการได้ในขณะนี้เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานของสถาบันที่เรารับผิดชอบ.
จากหนังสือ การจัดการ: งาน ความรับผิดชอบ แนวปฏิบัติ (Management: Tasks, Responsibilities, Practices).
สังคมใหม่ (โปรแกรมออนไลน์ Corpedia) (The Next Society (Corpedia Online Program))
 
  11 มกราคม
การจัดการและเทววิทยา
ฝ่ายจัดการมักเกี่ยวข้องกับธรรมชาติของมนุษย์เสมอ,
และด้วยความดีและความชั่ว.


ฝ่ายจัดการก็ดำเนินชีวิตไปตามครรลอง ทำงาน และปฏิบัติงานในและสำหรับสถาบัน ซึ่งเป็นชุมชนของผู้คนที่ผูกมัดรวมกันด้วยสายสัมพันธ์: สายสัมพันธ์ด้านการงาน. และแท้จริงแล้ว ด้วยเป้าหมายของการจัดการก็คือชุมชนผู้คนที่ผูกพันกันด้วยพันธะงาน เพื่อวัตถุประสงค์ร่วมกัน ฝ่ายจัดการจึงมักเกี่ยวข้องกับธรรมชาติของมนุษย์ (ดังที่พวกเราทุกคนได้พานพบมา) กับทั้งความดีและความชั่วด้วยเช่นกัน. ข้าพเจ้าได้เรียนรู้เรื่องเทววิทยา (ผีสาง นางไม้ เทวดา) ในฐานะที่ปรึกษาด้านการจัดการมากกว่าตอนที่ข้าพเจ้าสอนศาสนา.

จุดที่นำไปปฏิบัติ: เรามีเพื่อนร่วมงานที่ชั่วร้ายจริง ๆ หรือไม่? สำหรับเรื่องนี้เราจะทำอะไรได้บ้าง?
จากหนังสือ: "การสอนงานจัดการ" การจัดการยุคใหม่ ("Teaching the Work of Management," New Management).


 
  12 มกราคม
การฝึกฝนต้องมาก่อน
ผู้มีอำนาจตัดสินใจจำเป็นต้องคำนึงถึงการตัดสินใจ ณ ปัจจุบันขณะของตนด้วย "อนาคตที่เกิดขึ้นแล้ว."

ผู้มีอำนาจตัดสินใจ - ในรัฐบาล, ในมหาวิทยาลัย, ในธุรกิจ, ในสหภาพแรงงาน, ในโบสถ์ - จำเป็นต้องคำนึงถึงอนาคตที่เกิดขึ้นแล้วในการตัดสินใจ ณ ปัจจุบันขณะ. พวกเขาจำเป็นต้องรู้ว่าเหตุการณ์ใดได้เกิดขึ้นแล้วซึ่งไม่สอดคล้องสมมติฐานในปัจจุบัน และด้วยเหตุนี้จึงต้องสร้างความเป็นจริงใหม่.

       ปราชญ์และนักวิชาการมักจะเชื่อว่าแนวความคิดต้องมาก่อน ซึ่งจะนำไปสู่ความเป็นจริงทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และจิตวิทยาใหม่ ๆ . นี่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้น แต่ทว่ามันมีข้อยกเว้น. ตามกฎแล้วทฤษฎีไม่นำหน้าการปฏิบัติ. บทบาทของมันคือการจัดโครงสร้างและประมวลแนวทางปฏิบัติที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว. บทบาทของมันคือการแปลงความโดดเดี่ยว และ "ผิดปกติ" และจากข้อยกเว้นไปเป็น "กฎ" และ "ระบบ" และดังนั้นทฤษฎีจึงเป็นสิ่งที่สามารถเรียนรู้และสอนกันได้ และเหนือสิ่งอื่นใด ทฤษฎีเป็นสิ่งที่สามารถประยุกต์ใช้โดยทั่วไปได้.


จุดที่นำไปปฏิบัติ: ฐานความรู้ที่เราใช้ในการตัดสินใจนั้นล้าสมัยหรือไม่? เราต้องการกรอบการทำงานทางภูมิปัญญาใหม่ ๆ เพื่อที่จะชนะในตลาดอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้หรือไม่?
จากหนังสือ: "ความเป็นจริงใหม่" (The New Realities).


 
  13 มกราคม
การจัดการและศิลปศาสตร์
การจัดการเป็นศิลปศาสตร์.

ารจัดการเป็นประเพณีที่ใช้เรียกศิลปศาสตร์ว่า "เสรีนิยม" เนื่องจากเกี่ยวข้องกับความรู้พื้นฐาน การพัฒนาตนเอง ภูมิปัญญา และความเป็นผู้นำ “ศิลปะ” เพราะมันเกี่ยวข้องกับการฝึกฝนและการประยุกต์. ผู้จัดการใช้ความรู้และความเข้าใจเชิงลึกด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในด้านจิตวิทยาและปรัชญา เศรษฐศาสตร์และประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์กายภาพและจริยธรรม. แต่พวกเขาต้องมุ่งเน้นความรู้นี้ไปที่ประสิทธิผลและผลลัพธ์ เช่น การรักษาผู้เจ็บป่วย การสอนนักเรียน การสร้างสะพาน การออกแบบและการขายโปรแกรมซอฟต์แวร์ที่ "ใช้งานง่าย".

จุดที่นำไปปฏิบัติ: เรามีแผนจะพัฒนาตัวเองในด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์อย่างไร? ให้พัฒนาแผนดังกล่าวในวันนี้.
จากหนังสือ: "ความเป็นจริงใหม่" (The New Realities).




ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย:
01. The Daily Drucker: 366 DAYS of INSIGHT and MOTIVATION for GETTING the RIGHT THINGS DONE, ปีเตอร์ เอฟ. ดรักเกอร์ และ โยเซฟ เอ. มาเซียรีลโล, สำนักพิมพ์  HarperBusiness, พิมพ์ครั้งที่ 1, ISBN 0-06-074244-5, พ.ศ.2547, นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา.

 
info@huexonline.com