MENU
TH EN

โครงการต่อต้านการทุจริต ตอนที่ 2

Title Thumbnail: Banner Anti-Corruption, ที่มา: https://www.transparency.org, และ Hero Image: Banner Anti-Corruption, ที่มา: www.coe.int/en/web/corruption/-/preliminary-assessment-of-the-independence-and-effectiveness-of-anti-corruption-bodies-in-the-eastern-partnership-region, วันที่เข้าถึง 13 กันยายน 2563.
โครงการต่อต้านการทุจริต ตอนที่ 2
First revision: Sep.13, 2020
Last change: Sep.14, 2020
สืบค้น เรียบเรียง รวบรวมโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา

     ด้วย แนวร่วมต่อต้านการคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action Against Corruption - CAC) ภายใต้การสนับสนุนของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการไทย (Thai Institute of Directors หรือ IOD) ได้มีการพัฒนาแบบประเมินตนเองเพื่อพัฒนาระบบต่อต้านคอร์รัปชัน ฉบับปรับปรุง 4.0 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2563 แทนเวอร์ชั่น 2.1 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นเดิม.
ซึ่งอ้างอิงจากแบบประเมินตนเอง 241 ข้อของ Transparency International และได้นำมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับภาคเอกชนไทยเพื่อใช้ในการประเมินองค์กรเกี่ยวกับระบบต่อต้านการคอร์รัปชัน

     สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องการพัฒนาระบบต่อต้านคอร์รัปชั่นที่มีมาตรฐาน และเข้าขอรับรองจาก CAC.

     สำหรับ Website: huexonline.com นี้ มีแนวทางและปรัชญาในการสนับสนุนให้ประเทศไทยปลอดคอร์รัปชันอย่างจริงจัง จึงใคร่ขอเป็นหนึ่งในกระบอกเสียง หรือสื่อเพื่อให้ประเทศไทยใสสะอาด สง่างามในเวทีโลก ทุก ๆ เวทีและทุก ๆ โอกาส ทั้งนี้ website: huexonline.com มิได้ประสงค์ที่จะสื่อในเชิงพาณิชย์เพื่อประโยชน์ส่วนตนแต่ประการใดครับ

    แบบประเมินนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริษัทสามารถเสริมสร้างระบบและตรวจสอบ นโยบาย การประเมินความเสี่ยง มาตรการควบคุม บุคลากร การสื่อสาร ช่องทางการร้องเรียน และการปรับปรุงระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างภูมิคุ้มกันต่อภัยคอร์รัปชันและสร้างความโปร่งใสให้กับองค์กร.

 
   ประเด็น  แบบประเมินเดิม version 2.1  แบบประเมินใหม่ Version 4.0
 1.  จำนวนข้อ  71 ข้อ  71 ข้อ
 2.  การตอบ  มีภาคบังคับและไม่บังคับ  ต้องตอบ "มีแล้ว" ทุกข้อ
 3.  ตารางประเมินความเสี่ยง  มีความชัดเจนตามที่ควร  มีความชัดเจนเพิ่มขึ้น
 4.  มีการปรับลดและทดแทน   -  ลด 17 ข้อแบบเดิม ทดแทนด้วยการประเมินเกี่ยวกับ:-
       4.1 การจ่ายค่าอำนวยความสะดวก (Facilitation Payment)
       4.2 การสนับสนุนพรรคการเมือง (Political Contribution)
       4.3 การจ้างพนักงานรัฐ (Revolving Door)
       4.4 การขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest)
       4.5 การติดตาม และการทบทวน



แบบประเมินตนเองเพื่อสร้างระบบต่อต้านคอร์รัปชัน
 ลำดับ  สิ่งที่ต้องประเมิน  ยังไม่มี  กำลังจัดทำ  มีแล้ว  เอกสารอ้างอิง
 หมวดที่ 1 - การประเมินความเสี่ยง (Corruption Risk Assessment)
 1  บริษัทจัดให้มีการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวกับทุจริตคอร์รัปชัน ในกรณีที่บริษัทเป็น Holding Company นอกจากจะมีการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวกับทุจริตคอร์รัปชันสำหรับของบริษัท Holding เองแล้ว ควรมีการประเมินความเสี่ยงฯ ของบริษัทย่อยที่ทำธุรกิจหลักของกลุ่มเพิ่มเติมอย่างน้อย 1 บริษัทด้วย        
 หมวดที่ 2 - มาตรการป้องกันความเสี่ยงด้านคอร์รัปชัน (Internal Control for Corruption)
 2  ระบบการควบคุมภายในของบริษัท มี Operational Control ที่สามารถใช้ป้องกันความเสี่ยงในแต่ละข้อที่ระบุในแบบประเมินความเสี่ยง        
 3  ระบบการควบคุมภายในของบริษัท มี Control Environment ที่สามารถใช้ป้องกันความเสี่ยงในแต่ละข้อได้ ให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่ระบุในแบบประเมินความเสี่ยง        
 หมวดที่ 2.1 - มาตรการควบคุมภายในด้านการเงิน การบันทึกบัญชี และการเก็บรักษาเอกสาร (Financial Controls)
 4  ระบบการควบคุมภายในของบริษัท มี Financial Control ที่สามารถใช้ป้องกันความเสี่ยงด้านคอร์รัปชันได้อย่างเพียงพอ เหมาะสม        
 5  บริษัทมีขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อให้มั่นใจว่ารายการทางการเงินใด ๆ ได้รับการบันทึกในสมุดบัญชีอย่างครบถ้วน ไม่มีรายการใดที่ไม่ได้รับการบันทึก หรือไม่มีรายการใดที่ไม่สามารถอธิบายได้ หรือเป็นรายการที่เป็นเท็จ.        
 6  บริษัทมีขั้นตอนในการเก็บรักษาเอกสารและบันทึกต่าง ๆ ให้พร้อมต่อการตรวจสอบ เพื่อยืนยันความถูกต้องและเหมาะสมของรายการทางการเงิน        
 7  บริษัทมีความมั่นใจได้ว่าจัดให้มีการแบ่งแยกหน้าที่งานอย่างเหมาะสม        
 หมวดที่ 2.2 - มาตรการควบคุมในการกำกับดูแลและการตรวจสอบ (Monitoring and Auditing)
 8  บริษัทมีคณะกรรมการตรวจสอบ หรือคณะกรรมการอื่น ที่กำกับดูแลความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชัน และมีหน้าที่จัดทำรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการบริษัททราบอย่างสม่ำเสมอ        
 9  บริษัทมีการตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าขั้นตอนการบันทึกรายการทางการเงินมีระบบการควบคุมภายในที่ดี และมีเอกสารหลักฐานเพื่อใช้ในการตรวจสอบอย่างเพียงพอ        
 10  บริษัทมีการตรวจสอบภายใน เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ากระบวนการทำบัญชีและการเก็บรักษาข้อมูลของบริษัทมีระบบการควบคุมภายในและมีความรัดกุมพอ        
 11  ฝ่ายตรวจสอบภายใน หรือผู้ที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการออกแบบระบบการควบคุมภายใน และปรับปรุงแก้ไขระบบการควบคุมภายในของบริษัท มีการขอความเห็น หรือมีการประชุมภายใน ในเรื่องระบบการควบคุมภายในหรือขั้นตอนในการปฏิบัติงานสำหรับกิจกรรมที่มีความเสี่ยงด้านคอร์รัปชัน กับฝ่ายที่เป็น Risk Owner หรือฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่มีความเสี่ยงด้านคอร์รัปชันนั้น ๆ        
 12  บริษัทมีขั้นตอนการรายงานประเด็นที่พบจากการตรวจสอบภายในอย่างเร่งด่วน ต่อผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการบริษัท        
 หมวดที่ 2.3 - มาตรการควบคุมฝ่ายสนับสนุน (Support Functions)
 13  บริษัทมีการตรวจสอบภายใน ในเรื่องกระบวนการของงานขาย และการตลาด ในส่วนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดคอร์รัปชันอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงจัดให้มีวิธีการแก้ไขข้อผิดพลาดอย่างเหมาะสม        
 14  บริษัทมีการตรวจสอบภายใน งานจัดซื้อและการทำสัญญา โดยเฉพาะกิจกรรมเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการเกิดคอร์รัปชั่น รวมถึงการจัดให้มีวิธีการแก้ไขที่เหมาะสม        
 15  บริษัทมีการแต่งตั้งหน่วยงาน หรือบุคลากรที่มีความเหมาะสมในการดูแล และติดตามการนำมาตรการต่อต้านคอร์รัปชันของบริษัทไปปฏิบัติ        
 หมวดที่ 3 นโยบายและข้อปฏิบัติ (Anti-Corruption Principle & Policy)
 หมวดที่ 3.1 - นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน
 16  บริษัทมีนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน ที่เป็นลายลักษณ์อักษร ลงนามโดยประธานกรรมการบริษัท หรือผู้บริหารระดับสูง และมีเนื้อหาที่ละเอียดเพียงพอ ในการนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ        
 17  บริษัทได้กำหนดคำนิยามของการคอร์รัปชัน ซึ่งคำนิยามได้ครอบคลุมการคอร์รัปชันในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งทำให้เกิดการใช้อำนาจอย่างไม่ถูกต้อง เช่น การให้ของขวัญหรือบริการ การให้เงินสดหรือสิ่งของแทนเงินสด การให้สินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐและการคอร์รัปชันระหว่างหน่วยงานเอกชน        
 18  บริษัทกำหนดให้ทุกคนในบริษัท รวมถึงกรรมการบริษัท ต้องปฏิบัติตามนโยบาย โดยไม่มีข้อยกเว้น และมีข้อกำหนดห้ามผู้บริหาร และพนักงานไม่ให้เรียกร้อง ดำเนินการ หรือ ยอมรับการคอร์รัปชัน เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว เพื่อน และคนรู้จัก        
 19  การจัดทำนโยบายฯ หรือการทบทวนนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันได้รับการอนุมัติ จากคณะกรรมการบริษัทอย่างเป็นทางการ        
 20  บริษัทมีการแต่งตั้งให้คณะกรรมการบริษัท หรืออนุกรรมการ ที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริษัท เป็นผู้กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชันนี้อย่างเป็นทางการ        
 21  บริษัทมีการระบุหน้าที่ ความรับผิดชอบให้กรรมการบริษัท และผู้บริหารระดับสูงนำมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชันนี้ไปปฏิบัติภายในองค์กร        
 22  บริษัทมีการระบุบทลงโทษ สำหรับกรรมการบริษัทในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชัน ซึ่งมาตรการลงโทษนั้น ต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรม เมื่อเปรียบเทียบกับบทลงโทษสำหรับพนักงาน.        
 หมวด 3.2 - การจัดทำข้อปฏิบัติเพื่อสนับสนุนนโยบาย (Procedures to support the Policy)
 23  บริษัทมีแนวปฏิบัติ (Code of Conduct) หรือนโยบายลักษณะเดียวกัน ที่ระบุแนวปฏิบัติเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชันอย่างชัดเจน        
 24  บริษัทมีการจัดทำแนวทาง/ขั้นตอนในการปฏิบัติสำหรับรายการที่มีความเสี่ยงต่อการคอร์รัปชัน อาทิ เช่น การช่วยเหลือทางการเมือง การบริจาคเพื่อการกุศล การให้เงินสนับสนุน ค่าของขวัญ ค่าบริการต้อนรับ        
 25  นโยบาย และขั้นตอนการปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการบริษัท หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท        
 หมวด 3.3 - การให้หรือรับของขวัญ การเลี้ยงรับรอง (Gift and Hospitality)
 26  บริษัทมีการกำหนดนโยบายที่เป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการให้และรับของขวัญ การเลี้ยงรับรอง และการบริการต้อนรับ ที่มีหลักการที่สอดคล้องกับนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน        
 27  บริษัทได้กำหนดคำนิยามของการให้และรับของขวัญ การเลี้ยงรับรอง และการบริการต้อนรับ        
 28  บริษัทมีขั้นตอนและมาตรการการควบคุม รวมถึงขั้นตอนการรายงานเพื่อให้มั่นใจว่ามีการถือปฏิบัติ ตามนโยบายการให้และรับของขวัญ การเลี้ยงรับรอง และการบริการต้อนรับ ที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด        
 29  บริษัทมีการตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทไม่ได้ใช้การให้และรับของขวัญ การเลี้ยงรับรอง การบริการต้อนรับ เป็นช่องทางในการคอร์รัปชัน        
 
 
 ลำดับ  สิ่งที่ต้องประเมิน  ยังไม่มี  กำลังจัดทำ  มีแล้ว  เอกสารอ้างอิง
 หมวด 3.4 - การให้ความสนับสนุน (Sponsorship)
 30  บริษัทมีนโยบายที่เป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการให้และรับการสนับสนุนทั้งในที่เป็นเงิน สิ่งของ หรือรูปแบบอื่นใด        
 31  บริษัทได้กำหนดคำนิยามของการให้และรับการสนับสนุน        
 32  บริษัทมีขั้นตอนและมาตรการการควบคุม รวมถึงขั้นตอนการรายงาน เพื่อให้มั่นใจว่า มีการถือปฏิบัติ ตามนโยบายการให้/รับการสนับสนุนที่ได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด        
 33  บริษัทมีการตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทไม่ได้ใช้การให้หรือรับการสนับสนุน เป็นช่องทางในการคอร์รัปชั่น        
 หมวดที่ 3.5 - การบริจาค (Donations)
 34  บริษัทมีนโยบายที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่ครอบคลุมการบริจาคเพื่อการกุศล        
 35  บริษัทได้กำหนดคำนิยามของการให้/รับบริจาค และคำอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง        
 36  บริษัทมีขั้นตอนและมาตรการการควบคุม รวมถึงขั้นตอนการรายงาน เพื่อให้มั่นใจว่ามีการถือปฏิบัติ ตามนโยบายการให้และรับการบริจาค ที่ได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด        
 37  บริษัทมีการตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทไม่ได้ใช้การให้หรือรับการบริจาค เป็นช่องทางในการคอร์รัปชั่น        
 หมวดที่ 3.6 - การสนับสนุนทางการเมือง (Political Contributions)
 38  บริษัทมีนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษรที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการช่วยเหลือทางการเมืองไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม        
 39  บริษัทได้กำหนดคำนิยามของการช่วยเหลือทางการเมือง        
 40  บริษัทมีขั้นตอนและมาตรการควบคุม รวมถึงขั้นตอนการรายงาน เพื่อให้มั่นใจว่ามีการถือปฏิบัติ ตามนโยบายการช่วยเหลือทางการเมือง ที่ได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด        
 41  บริษัทมีการตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทไม่ได้ใช้การช่วยเหลือทางการเมือง เป็นช่องทางในการคอร์รัปชัน        
 หมวดที่ 3.7 - การขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest)
 42  บริษัทมีนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษรที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการขัดแย้งทางผลประโยชน์ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม        
 43  บริษัทได้กำหนดคำนิยามของการขัดแย้งทางผลประโยชน์        
 44  บริษัทมีขั้นตอนและมาตรการการควบคุม รวมถึงขั้นตอนการรายงาน เพื่อให้มั่นใจว่ามีการถือปฏิบัติ ตามนโยบายการป้องกันรายการขัดแย้งทางผลประโยชน์ ที่ได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด        
 45  บริษัทมีการตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่า ไม่มีรายการขัดแย้งทางผลประโยชน์เกิดขึ้นในบริษัท        
 หมวดที่ 3.8 - การจ่ายค่าอำนวยความสะดวก (Facilitation Payment)
 46  มีการกำหนดคำนิยามของ การจ่ายค่าอำนวยความสะดวก (Facilitation Payment) ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และเป็นคำนิยามที่มีความชัดเจน        
 หมวดที่ 3.9 - การจ้างพนักงานรัฐ (Revolving Door)
 47  บริษัทมีการจัดทำนโยบายเกี่ยวกับการจัดจ้างพนักงานรัฐไว้อย่างเหมาะสม ชัดเจน เพื่อไม่ให้ใช้การกระทำดังกล่าว เป็นการตอบแทนการได้มาซึ่งผลประโยชน์ใด ๆ โดยนโยบายดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท        
 48  บริษัทมีมาตรการการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดจ้างพนักงานรัฐให้สาธารณชนได้รับทราบ เพื่อความโปร่งใส ตรวจสอบได้        
 หมวดที่ 3.10 - นโยบายกับบริษัทในเครือ ตัวแทนธุรกิจ และคู่ค้า (Affiliates, Subsidiaries, Agents, and Third-parties)
 49  การนำนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันไปถือปฏิบัติ ให้ครอบคลุมถึงบริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทอื่นที่บริษัทมีอำนาจในการควบคุม รวมถึงตัวแทนทางธุรกิจ        
 50  บริษัทมีนโยบายและขั้นตอนที่ชัดเจนในการสื่อสารให้บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทอื่นที่บริษัทมีอำนาจในการควบคุม และตัวแทนทางธุรกิจ นำนโยบายนี้ไปปฏิบัติ        
 51  บริษัทมีการสื่อสารมาตรการการต่อต้านคอร์รัปชันในรูปแบบต่าง ๆ ให้กับคู่ค้า เช่น ให้คำอธิบายเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านคอร์รัปชัน ผ่านจดหมายชี้แจงนโยบาย จัดอีเว้นท์ และ/หรืองานสัมมนา        
 หมวดที่ 4 - การบริหารบุคลากร (Human Resources)
 52  มีนโยบายบริหารบุคลากร ซึ่งรวมถึงการคัดเลือก การประเมินผลงาน การให้ผลตอบแทน ตลอดจนการเลื่อนตำแหน่งของพนักงาน ที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของบริษัทต่อมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชัน        
 53  บริษัทมีนโยบายที่จะไม่ลดตำแหน่ง ลงโทษ หรือให้ผลทางลบต่อพนักงานที่ปฏิเสธการคอร์รัปชัน แม้ว่าการกระทำนั้นจะทำให้บริษัทสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ        
 54  บริษัทมีการสื่อสารนโยบายที่จะไม่ลดตำแหน่ง ลงโทษ หรือให้ผลทางลบต่อพนักงานที่ปฏิเสธการคอร์รัปชัน แม้ว่าการกระทำนั้นจะทำให้บริษัทสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ ด้วยวิธีการที่ทำให้พนักงานได้รับทราบอย่างทั่วถึง        
 55  บริษัทมีมาตรการที่จะนำนโยบายไม่ลดตำแหน่ง ลงโทษ หรือให้ผลทางลบต่อพนักงานที่ปฏิเสธการคอร์รัปชัน ไปใช้ในการปฏิบัติจริง แม้ว่าการกระทำนั้นจะทำให้บริษัทสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ        
 56  บริษัทมีกระบวนการนำนโยบายให้พนักงานปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชัน        
 57  บริษัทมีการสื่อสารอย่างชัดเจนให้พนักงานทราบเกี่ยวกับบทลงโทษ หากพนักงานไม่ปฏิบัติตามมาตรการการต่อต้านการคอร์รัปชันอย่างน้อยสองช่องทาง        
 58  บริษัทมีมาตรการที่เหมาะสมในการลงโทษพนักงานที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชัน ซึ่งการลงโทษนี้รวมถึงการเลิกจ้างงาน ในกรณีที่บริษัทเห็นว่าจำเป็น        
 59  บริษัทมีการปฐมนิเทศให้แก่พนักงานใหม่ โดยในกระบวนการดังกล่าว ได้รวมถึง การทำความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น ความคาดหวังของบริษัท และบทลงโทษกรณีที่พนักงานไม่ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว        
 60  บริษัทมีการฝึกอบรมแก่คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง เกี่ยวกับมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชัน ความคาดหวังของบริษัท และรู้ถึงบทลงโทษหากไม่ปฏิบัติตามมาตรการนี้        
 61  บริษัทมีนโยบายฝึกอบรมมาตรการ และความรู้เกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชัน อย่างต่อเนื่อง ให้พนักงานทุกระดับ รวมถึงกรรมการบริษัท และผู้บริหาร โดยเฉพาะพนักงานที่เกี่ยวข้องกับรายการที่มีความเสี่ยงกับการคอร์รัปชัน        
 หมวด 5 - การสื่อสาร (Communication)
 62  บริษัทมีการสื่อสารมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชัน ให้พนักงานเข้าถึงได้ทุกคน        
 63  บริษัทมีการเปิดเผยมาตรการการต่อต้านคอร์รัปชัน ต่อสาธารณชน        
 64  บริษัทมีการสื่อสารนโยบาย และขั้นตอนของกิจกรรมดังต่อไปนี้ ในเชิงรุก ให้พนักงานได้รับทราบ และเข้าถึงได้ทุกคน
 - การให้และรับของขวัญ การเลี้ยงรับรอง การบริการต้อนรับ
 - การสนับสนุน
 - การบริจาค
 - การช่วยเหลือทางการเมือง
 - การขัดแย้งทางผลประโยชน์
       
 65  บริษัทมีการสื่อสารนโยบาย และขั้นตอนต่อไปนี้ ในเชิงรุกให้คู่ค้าได้รับทราบ
 - การให้รับของขวัญ การเลี้ยงรับรอง การบริการต้อนรับ/
 - การสนับสนุน
 - การบริจาค
 - การช่วยเหลือทางการเมือง
 - การขัดแย้งทางผลประโยชน์
       
 หมวด 6 - การแจ้งเบาะแสและขอคำแนะนำ (Raising Concerns and Seeking Guidance)
 66  บริษัทมีการจัดทำนโยบายการแจ้งเบาะแสการคอร์รัปชันเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีขั้นตอนการรับเรื่องร้องเรียน ผู้ทำหน้าที่สอบสวน ขั้นตอนการพิจารณา ระยะเวลาในการพิจารณา และการสื่อสารแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง        
 67  นโยบายการแจ้งเบาะแสฯ ได้ถูกสื่อสาร และมีการประกาศให้พนักงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ทราบอย่างชัดเจนในเรื่องช่องทางนั้น ๆ         
 68  ช่องทางการแจ้งเบาะแสตามที่ระบุในนโยบายนั้น เป็นช่องทางที่ปลอดภัย และสามารถให้พนักงานเข้าถึงได้อย่างมั่นใจ โดยปราศจากความเสี่ยงต่อผู้แจ้งในภายหลัง        
 69  บริษัทมีช่องทางที่เหมาะสม และปลอดภัยสำหรับพนักงาน กรณีที่พนักงานนั้น ๆ ต้องการสอบถาม ขอคำปรึกษาคำแนะนำ / ในการปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชัน        
 70  บริษัทมีการเก็บ รวบรวมสถิติข้อมูลเบาะแส ที่เกี่ยวกับคอร์รัปชัน (ระหว่างบริษัทกับหน่วยงานรัฐหรือระหว่างบริษัทด้วยกันเอง) และนำเสนอให้คณะกรรมการบริษัทรับทราบอย่างสม่ำเสมอ        
 หมวด 7 - การทบทวน ตรวจสอบ และปรับปรุง (Review, Assess, and Improve)
 71  บริษัทมีการทบทวน ตรวจสอบ ปรับปรุงมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชันและรายงานต่อกรรมการเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการวัดประสิทธิผล ปรับปรุง และพัฒนามาตรการให้มีความสอดคล้องกับความเสี่ยงที่อาจเปลี่ยนไป        




 
 
info@huexonline.com