MENU
TH EN

โครงการต่อต้านการทุจริต ตอนที่ 1

โครงการต่อต้านการทุจริต ตอนที่ 1
(Anti-Corruption Project)
First revision: Jan.07, 2019
Last change: Aug.07, 2020

     เรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น นับเป็นมะเร็งร้ายของสังคมเศรษฐกิจไทยและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมาช้านาน ถึงเวลาแล้ว ต้องต่อต้านเดี๋ยวนี้ เวลานี้ พวกเราทุกคนต้องยืนหยัดต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ เพื่อสร้างสังคมที่สงบสุข พัฒนาสถาวร ยั่งยืน วิวัตน์ไปอย่างถูกต้อง มีจริยธรรม เป็นและสร้างบรรทัดฐานแก่ลูกหลานของเราสืบไปครับ.
  • คอร์รัปชั่น (Corruption) ประกอบด้วย ฝั่งอุปทาน (Supply side) "การซื้อความได้เปรียบในการแข่งขัน" เช่น ต้องการลัดคิว เพื่อให้เร็ว จึงจ่ายเงินแก่ผู้คุมกฎ  ฝั่งอุปสงค์ (Demand Side) "การใช้อำนาจในทางมิชอบ เพื่อประโยชน์ส่วนตน" เช่น รับเงินจากผู้เสนอขอลัดคิว แล้วใช้อำนาจตนที่ไม่ถูกต้อง เอื้อให้ผู้เสนอสามารถลัดคิวได้ 
 

        มาตรา 123/5 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามทุจริต (พ.ศ.2558) "ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
         ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับนิติบุคคลใดและกระทำไป เพื่อประโยชน์ของนิติบุคคลนั้น โดยนิติบุคคลดังกล่าวไม่มีมาตรการควบคุมภายในที่เหมาะสม เพื่อป้องกัน มิให้การกระทำความผิดนั้น นิติบุคคลนั้นมีความผิดตามมาตรานี้ และต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งเท่า แต่ไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหรือประโยชน์ที่ได้รับ
       บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับนิติบุคคลตามวรรคสอง ให้หมายความถึง ลูกจ้าง ตัวแทน บริษัท ในเครือ หรือบุคคลใดซึ่งกระทำการเพื่อหรือในนามของนิติบุคคลนั้น ไม่ว่าจะมีอำนาจหน้าที่ในการนั้น หรือไม่ก็ตาม"


รูปลักษณะของคอร์รัปชั่น (Forms of Corruption)
  1. การกิน/ติดสินบน (การใช้สิ่งจูงใจเชิงบวกเพื่อจุดประสงค์ที่เสียหาย) (Briberythe use of positive inducements for corrupt aims)
    • เงินสดหรือการชำระแบบอื่นเพื่อประกันสัญญา/ขอรับใบอนุญาต (Cash or other payments to secure contract / obtain a license)
    • ของขวัญมากเกินไป การบริจาคทางการเมือง/การกุศลที่ไม่เหมาะสม (Excessive gifts, improper political/charitable contributions)
    • สินบน/เงินทอน (Kickbacks)
    • การจ่ายเพื่อให้อำนวยความสะดวก (Facilitation payment)
  2. การกรรโชก (ทรัพย์) (การใช้การคุกคามเพื่อจุดประสงค์ที่เสียหาย) (Extortion - the use of threats for corrupt aims)
    • การเรียกร้องด้วยการคุกคามที่อันตราย หากไม่ตรงตามความต้องการ (Demanding money with a threat of harm if demands are not met.)
  3. เงินรางวัลที่ผิดกฎหมาย (Illegal gratuity)
    • ให้/รับบางสิ่งบางอย่าง หลังจากทำธุรกรรมเสร็จสมบูรณ์ (Giving/receiving something after transaction is completed.)
  4. ผลประโยชน์ทับซ้อน/การเลือกปฏิบัติ (Conflict of interest/Nepotism/Cronyism)
    • การขัดแย้งกัน/ปะทะกันระหว่างผลประโยชน์ของบุคคลและผลประโยชน์สาธารณะ (A clash between the person's self-interest and public interest.).

     ข้อมูลจาก Transparency International ซึ่งได้มีการสำรวจดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index - CPI) ทั่วโลกจำนวน 183 ประเทศ สรุปข้อมูลปี พ.ศ.2560 ไว้ดังนี้
  ที่ ประเทศ คะแนน CPI ปี 2017 (ปี 2016) อันดับที่ จำนวนแหล่งที่มาของข้อมูล
  1  นิวซีแลนด์ (New Zealand) 89 (90) 1 8
  2  เดนมาร์ค (Denmark) 88 (90) 2 8
  3  ฟินแลนด์ (Finland) 85 (89) 3 8
  4  นอร์เวย์ (Norway) 85 (85) 3 8
  5  สวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland) 85 (86) 3 7
  6  สิงคโปร์ (Singapore) 84 (84) 6 9
  7  สวีเดน (Sweden) 84 (88) 6 8
  8  แคนาดา (Canada) 82 (82) 8 8
  9  ลักเซมเบิร์ก (Luxemburg) 82 (81) 8 6
  10  เนเธอร์แลนด์ (Netherlands) 82 (83) 8 8
  101  ไทย (Thailand) 37 (35) 96 9
           
    Global Average 43.07    
 
ที่มา: Transparency International website (www.transparency.org), วันที่สืบค้น 7 มกราคม 2562.

     จากตารางข้างต้นจะเห็นได้ว่าดัชนีการรับรู้การทุจริตของไทย อยู่ในระดับท้าย ๆ เป็นลำดับที่ 101 จาก 183 ประเทศ ค่าเฉลี่ยดัชนีของโลกอยู่ที่ 43.07 คะแนน ของไทยเราได้ 37 คะแนน ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่ง Transparency International จะประมวลจากข้อมูลอ้างอิงแต่ละประเทศ 6-9 แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
     หากระดับดัชนีการรับรู้การทุจริตของไทย เป็นเช่นนี้ และหากไม่มีการปรับปรุงยกระดับในปีต่อ ๆ ไป ย่อมส่งผลเสียในระดับเครดิตของประเทศ จะถูกจำกัดในการระดมทุนในโครงการต่าง ๆ จากแหล่งหรือกองทุนในระดับสากล ทั้งนี้เพราะเจ้าของเงินทุน เกิดความลังเล ขาดความเชื่อมั่น และมีความไม่แน่ใจว่าเงินทุนที่ลงไปนั้น จะนำไปใช้อย่างถูกต้อง โปร่งใส สมตามเจตนารมณ์ของโครงการเพียงใด ย่อมมีสัดส่วนถูกผ่องถ่ายออกไปจากการคอร์รัปชั่นมากน้อยตามดัชนีฯ ข้างต้นอย่างแน่นอน.
 
     และเมื่อพิจารณาดัชนี Corruption Perceptions Index ปี พ.ศ.2560 เฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียน สรุปได้ดังนี้ 
  ที่ ประเทศ คะแนน CPI ปี 2017
(ปี 2016)
อันดับที่ของโลก จำนวนแหล่งที่มาของข้อมูล
  6  สิงคโปร์ (Singapore) 84 (84) 6 9
  32  บรูไน ดารูสสะลาม (Brunei Darussalam) 62 (58) 32 3
  63  มาเลเซีย (Malaysia) 47 (49) 62 9
  95  ติมอร์-เลสเต้ (Timor-Leste) 38 (35) 91 3
  98  อินโดนีเซีย (Indonesia) 37 (37) 96 9
  101  ไทย (Thailand) 37 (35) 96 9
  110  เวียดนาม (Vietnam) 35 (33) 107 8
  111  ฟิลิปปินส์ (Philippines) 34 (35) 111 9
  132  พม่า (Myanmar) 30 (28) 130 7
  138  ลาว (Loas PDR) 29 (30) 135 5
  161  กัมพูชา (Cambodia) 21 (21) 161 8
           
    คะแนนเฉลี่ยอาเซียน (Asean Average) 44.83    
ที่มา: Transparency International website (www.transparency.org), วันที่สืบค้น 7 มกราคม 2562.

     และเมื่อพิจารณาตารางข้างต้น ถึงดัชนีการรับรู้การทุจริตในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน ไทยอยู่ในระดับกลาง ๆ ในบรรดาประเทศอาเซียนซึ่งล้วนแล้วแต่มีดัชนีฯ ที่ไม่ดีนัก (ยกเว้นสิงคโปร์) สิงคโปร์ เป็นประเทศเล็ก ๆ เกาะที่เต็มไปด้วยหินลูกรัง มีกะลาสีเรือจีนโพ้นทะเล ชวา จาม แขก อินเดีย มาเลย์ อยู่คละกัน เมื่อห้าสิบกว่าปีที่แล้ว ปัจจุบันเป็นประเทศที่เน้นธรรมาภิบาล มาตรฐาน และคุณภาพ ให้ความสำคัญกับดัชนีการรับรู้การทุจริตมาก อยู่ในอันดับที่ 6 และระดับต้น ๆ ของโลกมาหลายปีแล้ว ทำให้กองทุน แหล่งทุนต่าง ๆ ให้ความน่าเชื่อถือ สามารถระดมเงินทุนจากแหล่งต่าง ๆ ได้มาก ด้วยเงื่อนไขที่ดี และต้นทุนทางการเงินที่ต่ำ 
     ซึ่งเงินทุน (Capital Funds) เหล่านี้เป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนประเทศสิงคโปร์ในระดับนานาชาติได้ต่อไปได้อย่างยั่งยืน.

 

ที่มา: www.unodc.org, วันที่สืบค้น 8 มกราคม 2562


 ข้อมูลจาก Transparency International ซึ่งได้มีการสำรวจดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index - CPI) ทั่วโลกจำนวน 180 ประเทศ สรุปข้อมูลปี พ.ศ.2561 ไว้ดังนี้
  ที่ ประเทศ คะแนน CPI ปี 2018 (ปี 2017) อันดับที่ จำนวนแหล่งที่มาของข้อมูล
  1  เดนมาร์ค (Denmark) 88 (88) 1 8
  2  นิวซีแลนด์ (New Zealand) 87 (89) 2 8
  3  ฟินแลนด์ (Finland) 85 (85) 3 8
  4  สิงคโปร์ (Singapore) 85 (84) 3 9
  5  สวีเดน (Sweden) 85 (84) 3 8
  6  สวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland) 85 (85) 3 7
  7  นอร์เวย์ (Norway) 84 (85) 7 8
  8  เนเธอร์แลนด์ (Netherlands) 82 (82) 8 8
  9  แคนาดา (Canada) 81 (82) 9 8
  10  ลักเซมเบิร์ก (Luxemburg) 81 (82) 9 7
  104  ไทย (Thailand) 36 (37) 104 9
           
    Global Average 43.12    
 
ที่มา: Transparency International website (www.transparency.org), วันที่สืบค้น 1 เมษายน 2562.

     จากตารางข้างต้นจะเห็นได้ว่าดัชนีการรับรู้การทุจริตของไทย อยู่ในระดับท้าย ๆ เป็นลำดับที่ 104 จาก 180 ประเทศ ค่าเฉลี่ยดัชนีของโลกอยู่ที่ 43.12 คะแนน ของไทยเราได้ 36 คะแนน ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่ง Transparency International จะประมวลจากข้อมูลอ้างอิงแต่ละประเทศ 6-9 แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
     หากระดับดัชนีการรับรู้การทุจริตของไทย เป็นเช่นนี้ และหากไม่มีการปรับปรุงยกระดับในปีต่อ ๆ ไป ย่อมส่งผลเสียในระดับเครดิตของประเทศ จะถูกจำกัดในการระดมทุนในโครงการต่าง ๆ จากแหล่งหรือกองทุนในระดับสากล ทั้งนี้เพราะเจ้าของเงินทุน เกิดความลังเล ขาดความเชื่อมั่น และมีความไม่แน่ใจว่าเงินทุนที่ลงไปนั้น จะนำไปใช้อย่างถูกต้อง โปร่งใส สมตามเจตนารมณ์ของโครงการเพียงใด ย่อมมีสัดส่วนถูกผ่องถ่ายออกไปจากการคอร์รัปชั่นมากน้อยตามดัชนีฯ ข้างต้นอย่างแน่นอน.
 
     และเมื่อพิจารณาดัชนี Corruption Perceptions Index ปี พ.ศ.2561 เฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียน สรุปได้ดังนี้ 
  ที่ ประเทศ คะแนน CPI ปี 2018
(ปี 2017)
อันดับที่ของโลก จำนวนแหล่งที่มาของข้อมูล
  1  สิงคโปร์ (Singapore) 85 (84) 4 9
  2  บรูไน ดารูสสะลาม (Brunei Darussalam) 63 (62) 31 3
  3  มาเลเซีย (Malaysia) 47 (47) 62 9
  4   อินโดนีเซีย (Indonesia) 38 (37) 90 9
  5  ฟิลิปปินส์ (Philippines) 36 (34) 102 9
  6  ไทย (Thailand) 36 (37) 104 9
  7  ติมอร์-เลสเต้ (Timor-Leste) 35 (38) 112 3
  8  เวียดนาม (Vietnam) 33 (35) 119 8
  9  พม่า (Myanmar) 29 (30) 135 7
  10  ลาว (Loas PDR) 29 (29) 135 5
  11  กัมพูชา (Cambodia) 20 (21) 161 8
           
    คะแนนเฉลี่ยอาเซียน (Asean Average) 41.00    
ที่มา: Transparency International website (www.transparency.org), วันที่สืบค้น 1 เมษายน 2562.



     ด้วย "โครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต" หรือ "Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption (CAC)" อันเป็นโครงการที่จัดตั้งโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors หรือ IOD) ได้นำแบบประเมินตนเองเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่นของ Transparency International มาประยุกต์ใช้ และได้ให้ PwC Thailand มาร่วมในการแก้ไขออกแบบ ที่ Website Huexonline.com ได้นำมาแสดงนี้ เป็น เวอร์ชั่น 2.1 16 กันยายน 2559 (ปัจจุบันมี Version 4.0) เมื่อ 10 กรกฏาคม  2563.)
    โดยผู้เข้าร่วมโครงการ ต้องตอบแบบประเมินตนเอง 71 ข้อ โดยในภาคบังคับต้องตอบว่า "ใช่" จำนวน 58 ข้อ
    ใคร่ขออนุญาตทาง CAC และ IOD มา ณ โอกาสนี้ โดยขอเผยแพร่ ขยายรายละเอียด เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ใด ๆ ครับ

 
                               
 
แบบประเมินตนเอง Version 2.1

8 หลักการในแบบประเมินตนเอง

หลักการ
การห้ามคอร์รัปชั่น ไม่ว่าในรูปแบบใด ๆ ภาคบังคับ   มี 7 ข้อ
     หลักการข้อที่หนึ่งในสองข้อของการดำเนินธุรกิจคือ "บริษัทควรห้ามการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม" หมายความว่า การดำเนินงานทุกอย่างของบริษัทจะต้องเป็นไปตามนโยบายห้ามการคอร์รัปชั่น ซึ่งควรได้รับการระบุเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนว่า บริษัทห้ามการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบโดยกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน ตลอดจนบุคคลที่สามที่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัท ไม่ว่าจะโดยการนำเสนอ (offering) การให้คำมั่นสัญญา (promising) การขอ (soliciting) การเรียกร้อง (demanding) การให้หรือรับสินบน (giving or accepting bribes) หรือการกระทำพฤติกรรมที่ส่อไปในทางคอร์รัปชั่น ตัวอย่างนโยบาย เช่น "บริษัทไม่ยอมรับการคอร์รัปชั่นใด ๆ ทั้งสิ้น โดยครอบคลุมถึงธุรกิจและรายการทั้งหมดในทุกประเทศและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมกันนี้ บริษัทได้กำหนดขั้นตอนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชั่นอย่างละเอียด เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามนโยบายนี้ ทั้งนี้ บริษัทจะสอบทานขั้นตอนการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายธุรกิจ และรักษาชื่อเสียงของบริษัท โดยกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนต้องปฏิบัติตามนโยบายนี้โดยทั่วกัน"

     การกำหนดนิยามของการคอร์รัปชั่นจะช่วยให้บริษัทสามารถระบุขอบเขตของความเสี่ยงได้ชัดเจนขึ้น ทั้งนี้ คำนิยามสามารถอ้างอิงมาจากคำที่ใช้อยู่แล้วในธุรกิจ เช่น การนำเสนอ การให้คำมั่นสัญญา การยอมรับ การชักจูงสู่การกระทำที่ผิดต่อกฎหมาย หรือทำลายความไว้ใจ นอกจากนี้ คำนิยามยังสามารถระบุรายละเอียดของการทำคอร์รัปชั่นในรูปแบบต่าง ๆ ที่ทำให้บริษัทมีความเสี่ยงมากขึ้น รวมถึงแนวการทำธุรกิจกับบุคคลที่สามด้วย
หลักเกณฑ์ ใช่ ไม่ใช่ ไม่ จำเป็น ไม่ชัดเจน กำลังวางแผน  หลักฐานอ้างอิง
 1.  บริษัทมีนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น            
 2.  คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัตินโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่นอย่างเป็นทางการ            
 3.  บริษัทได้กำหนดคำนิยามของการคอร์รัปชั่น            
 4.  คำนิยามได้ครอบคลุมการคอร์รัปชั่นในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งทำให้เกิดการใช้อำนาจอย่างไม่ถูกต้อง เชน การให้ของขวัญหรือบริการ การให้เงินสดหรือสิ่งของแทนเงินสด การให้สินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐ และการคอร์รัปชั่นระหว่างหน่วยงานเอกชน            
 5.  บริษัทห้ามผู้บริหารและพนักงานไม่ให้เรียกร้อง ดำเนินการ หรือ ยอมรับการคอร์รัปชั่น เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว เพื่อน และคนรู้จัก            
 6.  บริษัทมีแนวปฏิบัติ (Code of Conduct) หรือนโยบายลักษณะเดียวกัน ที่ระบุอย่างชัดเจนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชั่น            
 7.  บริษัทมีการประกาศให้บุคคลภายนอกทราบอย่างชัดเจน เกี่ยวกับนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น            



ความมุ่งมั่นต่อนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น ภาคบังคับ  มี 3 ข้อ
     หลักการข้อที่สองของธุรกิจคือ "บริษัทควรมุ่งมั่นพัฒนามาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น" ซึ่งบริษัทควรให้ความสำคัญต่อการจัดทำและสื่อสารนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่นให้บุคคลภายนอกทราบถึงรายละเอียดของมาตรการนี้ การสื่อสารควรจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท และแสดงสารจากกรรมการผู้จัดการ (หรือประธานเจ้าหน้าที่บริหาร) เพื่อแสดงการยอมรับในการนำไปปฏิบัติ การแสดงความมุ่งมั่นจากกรรมการผู้จัดการ (หรือประธานเจ้าหน้าที่บริหาร) เป็นสิ่งสำคัญในการจูงใจและแสดงความเป็นผู้นำในการปฏิบัติ ทั้งนี้ บริษัทต้องสื่อสารรายละเอียดการปฏิบัติเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชั่นให้แก่พนักงานและคู่ค้าทั้งหมดของบริษัท โดยจัดทำในรูปของเอกสารแจกประเภทต่าง ๆ อาทิเช่น แผ่นพับ (brochure) Email เป็นต้น

 
หลักเกณฑ์ ใช่ ไม่ใช่ ไม่ จำเป็น ไม่ชัดเจน กำลังวางแผน  หลักฐานอ้างอิง
 8.  บริษัทแสดงออกถึงความมุ่งมั่นในการต่อต้านการคอร์รัปชั่น เช่น ระบุในค่านิยมขององค์กร (Values) แนวปฏิบัติ (Code of Conduct) นโยบายและระเบียบ การบริหารความเสี่ยง การสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร การอบรม การควบคุมภายใน การติดตาม และการตรวจสอบ            
 9.  บริษัทมีขั้นตอนในการปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น            
 10.  ขั้นตอนในการปฏิบัติได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการบริษัท            




การพัฒนามาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น
     เมื่อบริษัทได้จัดทำนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่นแล้ว ควรต้องทำมาตรการเพื่อการปฏิบัติอย่างละเอียด และถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักการทำธุรกิจ มาตรการที่จัดทำขึ้นนี้ จะต้องได้รับการปฏิบัติ ติดตาม รายงาน และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การจัดทำเอกสาร ภาคบังคับ  มี 1 ข้อ
     การปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นควรได้รับการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างสมบูรณ์เช่นเดียวกับการปฏิบัติอื่น ๆ เพื่อให้มีการกำหนดบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการบันทึกแนวทางการปฏิบัติ การติดตามและปรับปรุงการปฏิบัติ และเก็บหลักฐานเพื่อการตรวจสอบ หากบริษัทไม่มีมาตรการจัดทำเอกสารอย่างละเอียด อาจทำให้บริษัทไม่พบข้อบกพร่องของกระบวนการปฏิบัติ ดังนั้น เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นเนื่องจากข้อมูลไม่เพียงพอหรือไม่ทันสมัย อาจทำให้บริษัทไม่สามารถเอาผิดกับการปฏิบัตินั้นได้

 
หลักเกณฑ์ ใช่ ไม่ใช่ ไม่ จำเป็น ไม่ชัดเจน กำลังวางแผน  หลักฐานอ้างอิง
11.  มาตรการปฏิบัติได้รับการจัดทำเป็นเอกสารตามหลักการควบคุมภายใน เพื่อให้สอดคล้องตามนโยบายและระเบียบของบริษัท            




การประเมินความเสี่ยงเพื่อพัฒนามาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น ภาคบังคับ  มี 3 ข้อ
    มาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นที่มีประสิทธิภาพเกิดจากการประเมินความเสี่ยงเหมาะสมกับสภาพธุรกิจและความเสี่ยงของแต่ละบริษัท การประเมินความเสี่ยงคอร์รัปชั่นและการจ่ายสินบนทำให้บริษัทสามารถระบุงานที่มีความเสี่ยงสูงจากการคอร์รัปชั่น ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น มาตรการที่ต้องปฏิบัติ วิธีวัดความสำเร็จ และทรัพยากรที่ต้องใช้เพื่อลดความเสี่ยง

 
หลักเกณฑ์ ใช่ ไม่ใช่ ไม่ จำเป็น ไม่ชัดเจน กำลังวางแผน  หลักฐานอ้างอิง
12*.  ในการจัดทำมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น บริษัทได้มีการประเมินความเสี่ยงด้านคอร์รัปชั่นที่อาจเกิดขึ้นต่อบริษัทด้วย           [โปรดกรอกข้อมูลตามเอกสารแนบในภาคผนวก]
13*.  ในกรณีที่บริษัทมีการประเมินความเสี่ยง บริษัทได้จัดทำมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ประเมินได้           [โปรดกรอกข้อมูลตามเอกสารแนบในภาคผนวก]
14.  บริษัทมีคำอธิบายเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น เช่น มีแผ่นพับ (Brochure) ให้แก่พนักงานหรือคู่ค้าเพื่ออธิบายการปฏิบัติในรายละเอียด            


ความสอดคล้องกับกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชั่น ภาคบังคับ  มี 1 ข้อ
     โดยปกติบริษัทมักชี้แจงให้สาธารณชนทราบว่าบริษัทจะปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบของแต่ละประเทศที่บริษัทมีกิจการอยู่ ดังนั้น บริษัทจึงควรทำให้พนักงานและผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบของแต่ละท้องถิ่น รวมถึงความเสี่ยง และบทลงโทษที่อาจเกิดขึ้นจากการไม่ปฏิบัติตาม

 
หลักเกณฑ์ ใช่ ไม่ใช่ ไม่ จำเป็น ไม่ชัดเจน กำลังวางแผน  หลักฐานอ้างอิง
15.  บริษัทมีการแจ้งต่อบุคคลภายนอกว่านโยบายของบริษัทคือการปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศไทยในการต่อต้านคอร์รัปชั่น            



รูปแบบของการคอร์รัปชั่น
     รูปแบบของการคอร์รัปชั่นแต่ละแบบมักต้องการคำอธิบายที่ชัดเจน เช่น นโยบายอย่างละเอียด วิธีการใช้วิจารณญาณ เพื่อให้บริษัทปราศจากการคอร์รัปชั่น ทั้งนี้ บริษัทจะต้องมีการปฏิบัติให้เหมาะสมตามความเสี่ยงที่ประเมินได้


การช่วยเหลือทางการเมือง (Political Contributions)
     การช่วยเหลือทางการเมืองคือ การช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเงินหรือรูปแบบอื่น เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง แม้ว่าการกำหนดว่ากิจกรรมใดเป็นการช่วยเหลือทางการเมืองอาจทำได้ยาก แต่การช่วยเหลือด้านการเงินสามารถรวมกำหนดขอบเขตได้ชัดเจน เช่น อาจหมายความถึงการให้พรรคการเมืองกู้เงิน ส่วนการช่วยเหลือในรูปแบบอื่น (In-kind) เช่น การให้สิ่งของหรือบริการ การโฆษณาส่งเสริมหรือสนับสนุนพรรคการเมือง การซื้อบัตรเข้าชมงานที่จัดเพื่อระดมทุนหรือบริจาคเงินให้แก่องค์กรที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพรรคการเมือง เป็นต้น นอกจากนี้ การเปิดโอกาสให้พนักงานลาหยุดโดยไม่ได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง หรือเป็นตัวแทนบริษัท เพื่อร่วมดำเนินการเกี่ยวกับการรณรงค์ทางการเมือง ก็ถือรวมอยู่ในความหมายของการช่วยเหลือทางการเมืองเช่นกัน การช่วยเหลือทางการเมืองอาจเป็นวิธีที่ถูกต้องตามกฎหมายสำหรับบริษัทที่จะสนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตย โดยให้การสนับสนุนด้านการเงินหรืออื่น ๆ แก่พรรคการเมือง ทั้งนี้ กฎหมายและวิธีปฏิบัติอาจแตกต่างกันในแต่ละประเทศ การช่วยเหลือทางการเมืองอาจถือว่าเป็นการกระทำผิด หากบริษัทให้ความช่วยเหลือเพื่อใช้ประโยชน์ในการได้สัญญา หรือร่างกฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของตน บางบริษัทห้ามการช่วยเหลือทางการเมืองทั้งหมด เนื่องจากมีความเสี่ยงและอาจทำให้บริษัทเสียชื่อเสียงได้ 

 
หลักเกณฑ์ ใช่ ไม่ใช่ ไม่ จำเป็น ไม่ชัดเจน กำลังวางแผน  หลักฐานอ้างอิง
16.  บริษัทมีนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษรที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการช่วยเหลือทางการเมืองไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม            
17. บริษัทได้กำหนดคำนิยามของการช่วยเหลือทางการเมือง            
18. ในกรณีที่บริษัทมีนโยบายไม่ช่วยเหลือทางการเมือง บริษัทมีขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อป้องกันกิจกรรมที่ว่านี้            
19. ในกรณีที่บริษัทมีนโยบายให้ความช่วยเหลือทางการเมือง นโยบายดังกล่าวได้ระบุว่าการปฏิบัติต้องเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย            
20. ในกรณีที่บริษัทมีนโยบายให้ความช่วยเหลือทางการเมือง บริษัทได้กำหนดขั้นตอน การสอบทานและอนุมัติอย่างเหมาะสม            
 


การบริจาคเพื่อการกุศล (Charitable Contributions)
     การบริจาคเพื่อการกุศลอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อบริษัทได้ เนื่องจากกิจกรรมดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายเงินโดยไม่มีผลตอบแทนที่มีตัวตน และอาจใช้เป็นข้ออ้างหรือเส้นทางสำหรับการคอร์รัปชั่น นอกจากนี้ การบริจาคอาจจะมีจุดประสงค์แอบแฝงโดยใช้ การกีฬากุศลหรือองค์กรการกุศลเป็นสิ่งบังหน้าเพื่อก่อให้เกิดความได้เปรียบ เช่น การบริจาคให้ลูกค้าหรือผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ ส่วนการบริจาคผ่านคนกลางจะมีความเสี่ยงมากขึ้น เนื่องจากมีการควบคุมและการติดตามน้อยลง หากบริษัทมีมูลนิธิหรือกองทุน ซึ่งไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรการของบริษัท หากมีการบริจาคเกิดขึ้นโดยไม่ได้อ้างชื่อบริษัทก็ตาม ก็อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อรับอิทธิพลจากผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ หรือเพื่อได้มาซึ่งสัญญาสำหรับโครงการของบริษัทในอนาคต 

 
หลักเกณฑ์ ใช่ ไม่ใช่ ไม่ จำเป็น ไม่ชัดเจน กำลังวางแผน  หลักฐานอ้างอิง
21.  บริษัทมีนโยบายที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่ครอบคลุมการบริจาคเพื่อการกุศล            
22.  บริษัทมีขั้นตอนและการควบคุมเพื่อให้มั่นใจว่าการบริจาคเพื่อการกุศลไม่ได้ปฏิบัติเพื่อการคอร์รัปชั่น            
23.  บริษัทมีขั้นตอนการสอบทานและอนุมัติการบริจาคเพื่อการกุศลโดยผู้ที่อำนาจของบริษัท            
24.  บริษัทมีขั้นตอนการติดตามเพื่อให้มั่นใจว่าการบริจาคเพื่อการกุศลไม่ได้ปฏิบัติเพื่อการคอร์รัปชั่น            



เงินสนับสนุน (Sponsorships)
    เงินสนับสนุนแตกต่างจากการบริจาคเพื่อการกุศล เนื่องจากเงินสนับสนุนมีวัตถุประสงค์เพื่อธุรกิจ ตราสินค้า หรือชื่อเสียงของบริษัท ซึ่งมีความเสี่ยงเนื่องจากการเป็นการจ่ายเงินสำหรับการบริการหรือผลประโยชน์ที่ยากต่อการวัดผลและติดตาม เงินสนับสนุนอาจถูกเชื่อมโยงไปเกี่ยวข้องกับการให้สินบน เช่น เงินสนับสนุนอาจมีจุดประสงค์แอบแฝงโดยใช้ การกีฬากุศลหรือองค์กรการกุศลเป็นสิ่งบังหน้า เพื่อก่อให้เกิดความได้เปรียบ เช่นการบริจาคให้ลูกค้าหรือผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ ในบางครั้งเงินสนับสนุนอาจเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม เนื่องด้วยผลตอบแทนอาจมีมูลค่าสูง อาทิ ตั๋วเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาครั้งสำคัญ เป็นต้น ด้วยเหตุผลทั้งหมดเหล่านี้ บริษัทควรมีนโยบายและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเงินสนับสนุน กระบวนการสอบทาน และรายละเอียดการควบคุม รวมทั้งการประเมินผลของเงินทุนสนับสนุนที่ได้เกิดขึ้นแล้ว ในกรณีที่นโยบายการให้เงินสนับสนุนนั้นได้รับการกำหนดไว้อย่างชัดเจน บริษัทจะสามารถต่อต้านการคอร์รัปชั่นซึ่งอาจเกิดจากการให้เงินสนับสนุนได้.

 
หลักเกณฑ์ ใช่ ไม่ใช่ ไม่ จำเป็น ไม่ชัดเจน กำลังวางแผน  หลักฐานอ้างอิง
25.   บริษัทมีนโยบายที่เป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการใช้เงินสนับสนุน            
26.  บริษัทมีกระบวนการและการควบคุม เพื่อให้มั่นใจว่าการใช้เงินสนับสนุนไม่ได้ใช้เป็นข้ออ้างสำหรับการคอร์รัปชั่น            
27.  บริษัทมีกระบวนการอนุมัติและใช้เงินสนับสนุน ซึ่งสอดคล้องกับกระบวนการจัดซื้อทั่วไป            
28.  บริษัท มีกระบวนการตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่า เงินสนับสนุนไม่ได้ใช้เป็นข้ออ้างสำหรับการคอร์รัปชั่น            
 

 ค่าของขวัญ ค่าบริการต้อนรับ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ภาคบังคับ (Gifts, Hospitality, and Expenses Mandatory)
     ค่าของขวัญ ค่าบริการต้อนรับ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ สามารถนำมาซึ่งความเสี่ยงต่อการคอร์รัปชั่น ค่าใช้จ่ายเหล่านี้อาจเป็นช่องทางให้บุคคลที่สามทำการทุจริต โดยจ่ายเงินเป็นค่าใช้จ่ายเหล่านี้ให้แก่พนักงานของบริษัทเพื่อติดสินบนและสร้างความสนิทสนม เพื่อนำไปสู่การเป็นลูกค้าในอนาคต ดังนั้น ความละเลย ความไม่มีประสบการณ์ และความไม่เอาใจใส่เกี่ยวกับเรื่องการรับหรือให้เงินเหล่านี้ อาจนำมาซึ่งความเสี่ยงต่อการคอร์รัปชั่น ในขณะเดียวกันการให้ค่าของขวัญ ค่าบริการต้อนรับ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่เหมาะสมแก่ลูกค้าบางราย อาจเป็นการปฏิบัติที่ผิดนโยบายของลูกค้า และเป็นเหตุให้บริษัทต้องเสียโอกาสในการประมูลงาน ในสังคมที่มีวัฒนธรรมการให้ของขวัญในเทศกาลต่าง ๆ พนักงานอาจมองว่าการให้ของขวัญเป็นเรื่องปกติ และเป็นสิ่งที่ยากในการพิจารณาว่าจะพิจารณาอย่างไรว่าเป็นการให้ของขวัญหรือการคอร์รัปชั่น เมื่อค่าใช้จ่ายเหล่านี้อาจทำให้เกิดความเสี่ยงได้ บริษัทจึงควรมีนโยบายที่ชัดเจนในรูปแบบลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้เป็นการสื่อสารและเป็นคู่มือปฏิบัติให้แก่พนักงาน เพื่อควบคุมการคอร์รัปชั่น การควบคุมที่มีประสิทธิภาพควรกำหนดมูลค่าขั้นต่ำของเงินค่าของขวัญ ค่าบริการต้อนรับและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของพนักงานอย่างเหมาะสมในแต่ละประเทศ.

 
หลักเกณฑ์ ใช่ ไม่ใช่ ไม่ จำเป็น ไม่ชัดเจน กำลังวางแผน  หลักฐานอ้างอิง
29.  บริษัทมีนโยบายที่เป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าของขวัญ ค่าบริการต้อนรับ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ให้แก่พนักงาน            
30.  บริษัทได้มีการห้ามมิให้มีการรับหรือให้ของขวัญ บริการต้อนรับ และรายจ่ายอื่น ๆ หากบริษัทเห็นว่าการกระทำเหล่านั้นจะมีผลกระทบเกี่ยวกับการดำเนินการของบริษัท            
31.  บริษัทมีขั้นตอนและการควบคุม รวมถึงการรายงาน เพื่อให้มั่นใจว่านโยบายค่าของขวัญ ค่าบริการต้อนรับ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เป็นไปตามนโยบายที่บริษัทกำหนดไว้            
32.  บริษัทมีขั้นตอนเพื่อสื่อสารนโยบายเรื่องค่าของขวัญ ค่าบริการต้อนรับ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ให้แก่พนักงานทุกคน            
33.  บริษัทมีขั้นตอนเพื่อสื่อสารนโยบายเรื่องค่าของขวัญ ค่าบริการต้อนรับ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ให้แก่คู่ค้าทุกคนด้วย            



มาตรการที่ต้องนำไปปฏิบัติ (Programme Implementation Requirements)

โครงสร้างองค์กรและความรับผิดชอบ (Organization and Responsibility)
     เนื้อหาในส่วนนี้เป็นการประเมินว่าบริษัทมีโครงสร้างองค์กรที่กำหนดความรับผิดชอบที่สอดคล้องและสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของมาตรการนี้หรือไม่ การนำมาตรการนี้ไปปฏิบัติให้สำเร็จนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถของหน่วยงานอื่น ๆ ด้วย เช่น ฝ่ายการเงิน ฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายความปลอดภัย และฝ่ายตรวจสอบภายใน ดังนั้น บริษัทต้องมั่นใจว่าหน่วยงานเหล่านี้มีบุคลากรที่มีความสามารถและจำนวนอย่างเพียงพอ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องเห็นคุณค่าของมาตรการนี้และนำไปปฏิบัติงานในฝ่ายของตน.

ความมุ่งมั่นและการกำหนดความรับผิดชอบ ภาคบังคับ (Commitment to a Programme and assignment of responsibilities Mandatory)
หลักเกณฑ์ ใช่ ไม่ใช่ ไม่ จำเป็น ไม่ชัดเจน กำลังวางแผน  หลักฐานอ้างอิง
34.  คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร ให้การยอมรับต่อมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นนี้            
35.  คณะกรรมการบริษัทกำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นนี้โดยตรงหรือโดยคณะอนุกรรมการ            
36.  กรรมการบริษัทและผู้บริหารระดับสูงมีความรับผิดชอบต่อการนำมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นนี้ไปปฏิบัติ            
37.  บริษัทได้มอบหมายอำนาจและความรับผิดชอบที่ชัดเจนให้ผู้บริหาร เพื่อนำมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นนี้ไปปฏิบัติ            



 การแสดงออกถึงความมุ่งมั่นโดยคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหาร ภาคบังคับ (Demonstration of commitment by Board and management Mandatory)
    คณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารไม่ควรเพียงแต่การแสดงความมุ่งมั่นและกำกับดูแลเท่านั้น แต่บุคคลเหล่านี้ต้องปฏิบัติให้พนักงานและคู่ค้าทางธุรกิจเห็นว่าตนสนับสนุนมาตรการนี้อย่างจริงจัง โดยการแสดงความซื่อสัตย์ บอกกล่าวกับพนักงานและสาธารณชน ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อทั้งภายในและภายนอกบริษัท รวมถึงการปฏิบัติให้เป็นแบบอย่างของผู้นำด้วย.

 
หลักเกณฑ์ ใช่ ไม่ใช่ ไม่ จำเป็น ไม่ชัดเจน กำลังวางแผน  หลักฐานอ้างอิง
38.   บริษัทกำหนดให้กรรมการบริษัทต้องปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นนี้ด้วย            
39.  บริษัทมีบทลงโทษเมื่อกรรมการบริษัทไม่ปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นนี้            
 


 บริษัทและบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องทางธุรกิจ (Business Relationships)
    แม้ว่ามาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นมุ่งเน้นที่ระบบงานภายในของบริษัท ตลอดจนทัศนคติและการกระทำของพนักงานและลูกจ้าง บริษัทควรตระหนักว่าการกระทำเพียงเท่านี้ยังไม่เพียงพอต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของมาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่น เพราะการคอร์รัปชั่นอาจจะเกิดขึ้นจากตัวแทนและตัวกลาง โดยบริษัทอาจต้องเกี่ยวข้องต่อการกระทำของบุคคลเหล่านี้ นอกจากนี้ พนักงานของบริษัทอาจได้รับการทาบทามหรือข้อเสนอจากบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับบริษัท เพื่อให้ทำการคอร์รัปชั่น ดังนั้น บริษัทจึงควรสนับสนุนให้บริษัทที่เกี่ยวข้อง (ครอบคลุมบริษัทย่อย บริษัทร่วม และบริษัทอื่นที่บริษัทมีอำนาจในการควบคุม) และบุคคลที่อาจถือได้ว่าเป็นตัวแทนของบริษัท เข้าร่วมมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นนี้ด้วย.



การนำมาตรการไปปฏิบัติโดยบริษัทและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ภาคบังคับ (Implementing the Programme across the company and its subsidiaries Mandatory)
หลักเกณฑ์ ใช่ ไม่ใช่ ไม่ จำเป็น ไม่ชัดเจน กำลังวางแผน  หลักฐานอ้างอิง
40.   บริษัทมีนโยบายในการแจ้งให้บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทอื่นที่บริษัทอำนาจในการควบคุม และตัวแทนทางธุรกิจ นำมาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่นไปปฏิบัติ            
41.  บริษัทมีขั้นตอนชัดเจนในการแจ้งให้บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทอื่นที่บริษัทมีอำนาจในการควบคุมและตัวแทนทางธุรกิจ นำนโยบายนี้ไปปฏิบัติ            




 ฝ่ายสนับสนุนและดำเนินงาน ภาคบังคับ (Support and operational functions Mandatory)
     ความสำเร็จของการนำมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นไปปฏิบัตินั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถของฝ่ายสนับสนุนภายในบริษัทด้วย เช่น ฝ่ายการเงิน ฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายรักษาความปลอดภัย และฝ่ายตรวจสอบภายใน ดังนั้น บริษัทควรมีความแน่ใจว่าบุคลากรของฝ่ายสนับสนุนเหล่านี้มีทักษะและทรัพยากรเพียงพอต่อการนำมาตรการมาใช้ นอกจากนี้ ฝ่ายดำเนินงานที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดคอร์รัปชั่น เช่น ฝ่ายจัดซื้อและสัญญา ฝ่ายจัดการห่วงโซ่อุปทาน ฝ่ายขายและการตลาด ควรเห็นคุณค่าของการนำมาตรการนี้ไปปฏิบัติด้วยเช่นกัน.
หลักเกณฑ์ ใช่ ไม่ใช่ ไม่ จำเป็น ไม่ชัดเจน กำลังวางแผน  หลักฐานอ้างอิง
42.  บริษัทมีกระบวนการในการตรวจสอบงานขายและการตลาดอย่างสม่ำเสมอ เกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการเกิดคอร์รัปชั่น รวมถึงการจัดให้มีวิธีการแก้ไขที่เหมาะสม.            
43.  บริษัทมีกระบวนการในการตรวจสอบงานจัดซื้อและทำสัญญาอย่างสม่ำเสมอ เกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการคอร์รัปชั่น รวมถึงการจัดให้มีวิธีการแก้ไขที่เหมาะสม            
44.  บริษัทมีกระบวนการที่ทำให้มั่นใจว่าฝ่ายสนับสนุนและดำเนินงานมีทรัพยากรและบุคลากรที่มีทักษะเพียงพอต่อการนำมาตรการมาปฏิบัติ            




ทรัพยากรบุคคล (Human Resources)
     มาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นนี้จะประสบความสำเร็จได้ ถ้าบริษัทได้รับการสนับสนุนและความมุ่งมั่นจากพนักงาน การนำมาตรการมาปฏิบัติภายในองค์กรต้องเกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคลทุกเรื่อง ดังนั้น การประเมินในส่วนนี้จึงครอบคลุมนโยบายและกระบวนการปฏิบัติของการบริหารทรัพยากรบุคคลว่าสนับสนุนมาตรการนี้หรือไม่ รวมถึงหลักการในการคัดเลือก การปฐมนิเทศ การอบรม การประเมินผลงาน การเห็นคุณค่าของพนักงาน การเลื่อนขั้น และบทลงโทษพนักงาน นอกจากนี้ความสำเร็จของมาตรการยังขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมของพนักงานในการริเริ่มทำมาตรการและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการมีตัวแทนพนักงานเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของคณะทำงานโครงการนี้ด้วย.

การจัดการบุคลากรให้สอดคล้องกับมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น
ภาคบังคับ (Alignment of human resources practices with the Programme Mandatory)
หลักเกณฑ์ ใช่ ไม่ใช่ ไม่ จำเป็น ไม่ชัดเจน กำลังวางแผน  หลักฐานอ้างอิง
45.   บริษัทมีกระบวนการบริหารบุคลากร ซึ่งรวมถึงการคัดเลือก การอบรม การประเมินผลงาน การให้ผลตอบแทน ตลอดจนการเลื่อนตำแหน่งของพนักงาน ที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของบริษัทต่อมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น            
  


วิธีปกป้องพนักงานที่ปฏิเสธการคอร์รัปชั่น ภาคบังคับ (Protection for refusing to pay bribes Mandatory)
หลักเกณฑ์ ใช่ ไม่ใช่ ไม่ จำเป็น ไม่ชัดเจน กำลังวางแผน  หลักฐานอ้างอิง
46.  บริษัทมีนโยบายที่จะไม่ลดตำแหน่ง ลงโทษ หรือให้ผลทางลบต่อพนักงานที่ปฏิเสธการคอร์รัปชั่น แม้ว่าการกระทำนั้นจะทำให้บริษัทสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ            
47.  บริษัท มีกระบวนการสื่อสารอย่างชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายที่จะไม่ลดตำแหน่ง ลงโทษ หรือให้ผลทางลบต่อพนักงานที่ปฏิเสธการคอร์รัปชั่น แม้ว่าการกระทำนั้นจะทำให้บริษัทสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ            
48.   บริษัทมีกระบวนการนำนโยบายที่จะไม่ลดตำแหน่ง ลงโทษ หรือให้ผลทางลบต่อพนักงานที่ปฏิเสธการคอร์รัปชั่น ไปใช้ในการปฏิบัติ แม้ว่าการกระทำนั้นจะทำให้บริษัทสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ            



การปฏิบัติตามภาคบังคับของมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นและบทลงโทษ ภาคบังคับ (Mandatory compliance with the programme and sanctions Mandatory)
หลักเกณฑ์ ใช่ ไม่ใช่ ไม่ จำเป็น ไม่ชัดเจน กำลังวางแผน  หลักฐานอ้างอิง
49.   บริษัทมีนโยบายให้พนักงานปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นโดยเฉพาะในส่วนภาคบังคับ            
50.  บริษัทมีกระบวนการนำนโยบายให้พนักงานปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นโดยเฉพาะในส่วนภาคบังคับ มาใช้ในการปฏิบัติ            
51.  บริษัทมีกระบวนการสื่อสารอย่างชัดเจนให้พนักงานทราบเกี่ยวกับบทลงโทษ หากพนักงานไม่ปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น            
52.  บริษัทมีกระบวนการอย่างเหมาะสมในการลงโทษพนักงานที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น ซึ่งการลงโทษนี้รวมถึงการเลิกจ้างงาน ในกรณีที่บริษัทเห็นว่าจำเป็น            



การฝึกอบรม (Training)
 
   การให้ความรู้และการฝึกอบรมมีความจำเป็นต่อมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นของบริษัท และเป็นพื้นฐานในการสร้างความมุ่งมั่นของกรรมการและพนักงานให้มีความรับผิดชอบต่อมาตรการนี้ วัตถุประสงค์โดยรวมของการฝึกอบรมคือ การส่งเสริมให้บริษัทมีวัฒนธรรมองค์กรที่ปราศจากการคอร์รัปชั่น บริษัทควรมีความมั่นใจว่าบริษัทได้จัดอบรมเรื่องมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นนี้ เมื่อมีการรับพนักงานใหม่ (รวมถึงการแต่งตั้งคณะกรรมการบริษัท) หรือ การแต่งตั้งตัวแทน โดยถือให้การปฏิบัติตามมาตรการนี้เป็นภาคบังคับ ทั้งนี้ การฝึกอบรมควรชี้แจงในรายละเอียดเพื่อนำไปปฏิบัติ และควรรวมถึงการชี้แจงบทลงโทษของบริษัท หากพนักงานไม่ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวนี้

การฝึกอบรมคณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงาน ภาคบังคับ (Training of managers, and employees Mandatory)
หลักเกณฑ์ ใช่ ไม่ใช่ ไม่ จำเป็น ไม่ชัดเจน กำลังวางแผน  หลักฐานอ้างอิง
53.   บริษัทมีกระบวนการปฐมนิเทศให้แก่พนักงานใหม่ เพื่อให้พนักงานมีความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่น ความคาดหวังของบริษัท และรู้ถึงบทลงโทษหากพนักงานไม่ปฏิบัติตามมาตรการนี้            
54.  บริษัทมีกระบวนการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง แก่คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง เกี่ยวกับมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น ความคาดหวังของบริษัท และรู้ถึงบทลงโทษหากไม่ปฏิบัติตามมาตรการนี้            



การตั้งข้อสงสัยและขอคำแนะนำ (Raising Concerns and Seeking Guidance)
     มาตรการที่มีประสิทธิภาพ ควรประกอบด้วยนโยบาย ขั้นตอน และช่องทางในการให้คำแนะนำ และสนับสนุนเพื่อให้เกิดการพัฒนาและยกประเด็น มาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่นมีการสื่อสารได้หลายช่องทาง ทั้งสายขอความช่วยเหลือ (Help Lines) สายด่วน (Hot Lines) หรือ การแจ้งเบาะแส (Whistle-blowing) ช่องทางเหล่านี้ไม่ได้ใช้สำหรับพนักงานเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ได้กับคู่ค้าหรือสาธารณชนทั่วไป แม้ว่าช่องทางที่กล่าวมานี้อาจไม่เป็นที่นิยมนัก ช่องทางนี้ก็ยังมีประโยชน์ในการเปิดเผยการปฏิบัติในทางที่ผิด (abuse) ที่สำคัญ นอกจากนี้ มาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นควรสนับสนุนให้พนักงานขอคำแนะนำหรือหารือ ก่อนการร้องเรียน (complaints) โดยบริษัทสามารถพิจารณาหาช่องทางอื่น เพื่อให้พนักงานขอคำแนะนำต่างหากจากช่องทางการร้องเรียนก็ได้. 

ช่องทางการร้องเรียนของพนักงาน ภาคบังคับ (Complaints channels for employees Mandatory)
หลักเกณฑ์ ใช่ ไม่ใช่ ไม่ จำเป็น ไม่ชัดเจน กำลังวางแผน  หลักฐานอ้างอิง
55. บริษัทมีช่องทางที่ปลอดภัยและสามารถให้พนักงานเข้าถึงได้อย่างมั่นใจ เมื่อพนักงานต้องการแจ้งข้อมูลหรือเบาะแส โดยปราศจากความเสี่ยงต่อผู้แจ้งในภายหลัง            
56. บริษัทมีช่องทางที่ปลอดภัยและสามารถให้พนักงานเข้าถึงได้อย่างมั่นใจ เมื่อพนักงานต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น            




 การสื่อสาร (Communication)
     การสื่อสารเป็นสำคัญของมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น การสื่อสารภายในควรทำให้พนักงานทราบว่านโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่นและการปฏิบัติตามนโยบายนี้เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับทุกคนในบริษัท บริษัทที่มีการสื่อสารภายในอย่างมีประสิทธิภาพ จะได้ผลดีในการก่อให้เกิดความร่วมมือ ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติ และสามารถดำเนินการลงโทษได้หากมีผู้ไม่ปฏิบัติตาม และในที่สุดบริษัทจะเห็นว่าพนักงานร่วมมือต่อต้านการคอร์รัปชั่นเพื่อคุณค่า (value) ขององค์กร.
     การสื่อสารภายนอก ควรแสดงให้ผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทเห็นถึงความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือของมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น เพื่อก่อให้เกิดชื่อเสียงที่ดี และยับยั้งผู้ที่ต้องการกระทำคอร์รัปชั่นต่อบริษัท นอกจากนี้ ยังเป็นการกระตุ้นให้มีการแสดงความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย และเสริมสร้างความมั่นคงของการสื่อสารภายในบริษัทด้วย. 


การสื่อสารภายใน ภาคบังคับ (Internal communication Mandatory)
หลักเกณฑ์ ใช่ ไม่ใช่ ไม่ จำเป็น ไม่ชัดเจน กำลังวางแผน  หลักฐานอ้างอิง
57.   บริษัทมีขั้นตอนที่ทำให้สามารถสื่อสารมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นได้ถึงพนักงานทุกคน            


แนวทางสำหรับมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น ภาคบังคับ (Guidelines on the Programme Mandatory)
หลักเกณฑ์ ใช่ ไม่ใช่ ไม่ จำเป็น ไม่ชัดเจน กำลังวางแผน  หลักฐานอ้างอิง
58.   บริษัทมีขั้นตอนในการจัดทำข้อแนะนำเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร            


การสื่อสารภายนอก ภาคบังคับ (External communication Mandatory)
หลักเกณฑ์ ใช่ ไม่ใช่ ไม่ จำเป็น ไม่ชัดเจน กำลังวางแผน  หลักฐานอ้างอิง
59.   บริษัทมีนโยบายในการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น            
60.  บริษัทมีขั้นตอนในการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น            




การควบคุมภายในและการบันทึกข้อมูล
     บริษัทควรจัดทำระบบควบคุมภายในอย่างสมเหตุสมผล (Reasonable Assurance) และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่บริษัท ว่าการจ่ายเงินและรับเงินได้รับอนุมัติอย่างถูกต้องจากผู้บริหารและคณะกรรมการบริษัท การคอร์รัปชั่นและการจ่ายสินบนแสดงให้เห็นถึงการฝ่าฝืนการควบคุมภายในของบริษัท ทั้งนี้ บริษัทควรกำหนดระบบควบคุมภายในสอดรับกับมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นและเหมาะสมกับความเสี่ยงคอร์รัปชั่นของบริษัท.
     การควบคุมภายใน (Internal Controls) เป็นนโยบายและขั้นตอนปฏิบัติ เพื่อช่วยให้เกิดความมั่นใจว่าแนวทางของคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารได้รับการนำไปปฏิบัติ และเป็นไปตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัท การควบคุมภายในได้รับการนิยามอย่างกว้าง ๆ ว่าเป็นกระบวนการที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร หรือบุคลากรอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลเกี่ยวประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ความน่าเชื่อถือของรายงานทางการเงิน และการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การตรวจสอบ (Audit) เป็นกระบวนการที่สอบทานความน่าเชื่อถือของระบบการควบคุมภายใน เอกสาร และผลการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดความมั่นใจกับผู้บริหาร นักลงทุน และผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ ของบริษัท ทั้งนี้ผู้ตรวจสอบภายในเป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบ และอาจมีบุคลากรอิสระจากภายนอกบริษัทมาดำเนินการตรวจสอบด้วย คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดสำหรับระบบการควบคุมภายใน แม้ว่าคณะกรรมการจะมอบหมายให้ผู้บริหารทำหน้าที่กำหนด ปฏิบัติ และติดตามระบบการควบคุมภายใน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสีย คณะกรรมการบริษัทควรมีความโปร่งใสและเปิดเผยผลการประเมินการควบคุมภายในของบริษัทให้ผู้มีส่วนได้เสียได้ทราบ.



ระบบการควบคุมภายใน (Internal Control System) ภาคบังคับ
หลักเกณฑ์ ใช่ ไม่ใช่ ไม่ จำเป็น ไม่ชัดเจน กำลังวางแผน  หลักฐานอ้างอิง
61.  บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน เพื่อจัดการการคอร์รัปชั่น            
62.  ระบบการควบคุมภายในของบริษัทครอบคลุมทั้งด้านการเงินและการดำเนินการของกระบวนการทางบัญชีและการเก็บบันทึกข้อมูล รวมถึงกระบวนการอื่น ๆ ในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น            
63.  บริษัทมีคณะกรรมการตรวจสอบที่กำกับดูแลการควบคุมภายใน การจัดทำรายงานทางการเงิน และกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้องกับมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น            
64.  บริษัทมีความมั่นใจว่าได้จัดให้มีการแบ่งแยกหน้าที่งานอย่างเหมาะสม            
65.  บริษัทมีขั้นตอนการหารือผลการควบคุมภายในที่เกี่ยวกับมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นกับบุคลากรที่ปฏิบัติงานนั้น ๆ             



การบันทึกและเก็บรักษาข้อมูล (Books Records) ภาคบังคับ
หลักเกณฑ์ ใช่ ไม่ใช่ ไม่ จำเป็น ไม่ชัดเจน กำลังวางแผน  หลักฐานอ้างอิง
66.  บริษัทมีขั้นตอนในการเก็บรักษาเอกสารและบันทึกต่าง ๆ ให้พร้อมต่อการตรวจสอบเพื่อยืนยันความถูกต้องและเหมาะสมของรายการ            
67.  บริษัทมีขั้นตอนการปฏิบัติ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีรายการใดที่ไม่ได้รับการบันทึก หรือไม่สามารถอธิบายได้หรือรายการที่เป็นเท็จ            


การสอบทานและการตรวจสอบภายใน ภาคบังคับ (Review and Internal Audit Mandatory)
หลักเกณฑ์ ใช่ ไม่ใช่ ไม่จำเป็น ไม่ชัดเจน กำลังวางแผน หลักฐานอ้างอิง
68.  บริษัท มีขั้นตอนเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการควบคุมภายในของกระบวนการทำบัญชีและการเก็บรักษาข้อมูล ได้รับการตรวจสอบภายในเพื่อยืนยันประสิทธิผลของกระบวนการตามมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น            
69.  บริษัทมีขั้นตอนเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการบันทึกรายการทางการเงินมีหลักฐานอย่างเพียงพอ เพื่อใช้ในการตรวจสอบ            


การติดตามและทบทวน
     บริษัทควรทบทวนมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นอย่างต่อเนื่อง โดยพิจารณาถึงสถานการณ์และความเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไปรวมถึงการเรียนรู้จากประสบการณ์ การเปรียบเทียบ และการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย ในการออกแบบมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นนั้น บริษัทควรกำหนดผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการติดตามและทบทวนมาตรการด้วย บางบริษัทอาจกำหนดให้ฝ่ายจรรยาบรรณเป็นผู้รับผิดชอบ บางบริษัทอาจถือเป็นหน้าที่ของฝ่ายตรวจสอบภายใน หรือฝ่ายกฎหมาย บริษัทขนาดเล็กอาจกำหนดให้กรรมการหรือผู้บริหารหนึ่งคนเป็นผู้รับผิดชอบ นอกจากนี้ บริษัทควรจัดให้มีการทดสอบและการประเมินความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การนำมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผล.

การสอบทานโดยคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัท ภาคบังคับ
     คณะกรรมการบริษัทอาจมอบหมายให้คณะกรรมการตรวจอสบเป็นผู้กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น โดยคณะกรรมการตรวจสอบควรสอบทานมาตรการและการควบคุมภายในที่เกี่ยวข้อง และควรได้รับรายงานเกี่ยวกับความเพียงพอและประสิทธิผลของมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นนี้ นอกจากนี้ คณะกรรมการตรวจสอบควรสอบทานการประเมินความเสี่ยงและให้คำแนะนำต่อคณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ควรมีเพื่อลดความเสี่ยงนั้น โดยผู้บริหารต้องนำคำแนะนำไปปฏิบัติ ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบจะได้รับรายงานผลการตรวจสอบภายในและรายงานการรับรองจากภายนอก ต่อมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นของบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบจึงควรรายงานผลการตรวจสอบนั้นต่อคณะกรรมการบริษัทอย่างสม่ำเสมอ และให้คำแนะนำข้อควรปฏิบัติแก่คณะกรรมการบริษัทและผู้บริหาร

 
หลักเกณฑ์ ใช่ ไม่ใช่ ไม่ จำเป็น ไม่ชัดเจน กำลังวางแผน  หลักฐานอ้างอิง
70.   บริษัทมีขั้นตอนสำหรับให้ผู้บริหารระดับสูงรายงานผลการตรวจสอบตามมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นนี้ ต่อคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ คณะกรรมการบริษัทอย่างสม่ำเสมอ            
71.  บริษัทมีขั้นตอนเพื่อให้สามารถรายงานประเด็นที่พบอย่างเร่งด่วนต่อผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการบริษัท            



การเตรียมข้อมูลที่สำคัญ มีหลายเรื่อง อาทิ

จรรยาบรรณทางธุรกิจ (Code of Conduct - COC) บ้างก็เรียก Code of Ethics

คู่มือพนักงาน (Employee Handbook)
ซึ่งจะต้องมีการจัดทำอย่างละเอียดสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมองค์กร พร้อมแทรกวัฒนธรรมองค์กร การกำหนดประเด็นต่าง ๆ ใน COC จะต้องทำได้จริง มีแผนปฏิบัติงานรองรับ

 

OPEN HOUSE: 71 CHECKLISTS V.4.0
Online Seminar
เมื่อ 07 สิงหาคม 2563
เริ่ม 10:00-12:00 น.
จัดโดย แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย
Thai Private Sector Collective Action Against Corruption (CAC)
Do good
สินบนช่วยโอกาสในระยะสั้น แต่ปิดโอกาสในระยะยาว
CAC มีกระบวนการรับรอง และแนวทางปฏิบัติ
Parrat CAC
ข้อแตกต่าง Version 2.1 กับ Version 4.0

คุณพนา Management of CAC

version 2.1 Download from www.thai-cac.com หน้า Resource
สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป โดยเรื่องการสนับสนุนพรรคการเมือง
มีกำลังใจ ยื่นมา แล้วผ่านให้ได้
มีการปรับ Checklist ให้อธิบายมากขึ้น
Version 4.0 (เพื่อความเท่ตามสมัยนิยม)เป็น Checkilst แบบประเมินเหมือนกันกับ 2.1

หัวใจของ Checklist 71 ข้อ
  • ต้องสร้างรั้วที่แข็งแรงป้องกันการคอร์รัปชัน
  • ชั้นแรก การประเมินความเสี่ยง ความเสี่ยงที่ต้องซื้องาน ติดต่อภาครัฐ
  • ขั้นที่สอง ระบบการควบคุมภายใน มีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน มาตรการต่าง ๆ การให้ของขวัญ การเลี้ยงรับรอง การสนับสนึนพรรคการเมือง กลุ่ม Interest
  • นโยบายและข้อปฏิบัติ
  • บุคลากร ต้องมีความเข้าใจ อบรมปฐมนิเทศ เตรียมบุคลากรให้มีความพร้อม
  • การสื่อสาร ให้ทุกทราบ ไม่เฉพาะคนในองค์กร ...ผู้รับเหมา agent ที่ปรึกษา และหน่วยงานรัฐ
  • ระบบร้องเรียน (Whistleblowing system) ระบบกันขโมย ไว ทำให้เรารู้ภัย ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ต้องเป็นกลางและมีประสิทธิภาพ

ข้อแตกต่าง v.2.1 กับ v.4.0
  1. ยังมี 71 ข้อเหมือนเดิม
  2. ทั้ง 71 ข้อ ต้องมีตอบว่ามีแล้วทุกข้อ แต่ระดับความยากง่ายแตกต่างกัน
  3. มี template ความเสี่ยง โอกาสที่จะออกนอกกรอบน้อยมาก
  4. เอา Checklist จาก 2.1 ออก มี 17 ข้อ เพราะบางอันอาจให้ความสับสน หรือคล้ายกับข้ออื่น 17 ข้อที่เพิ่มขึ้น ทดแทนด้วยการให้รายละเอียด ...การจ่ายค่าอำนวยความสะดวก (Facilitation)
  5. ประสบการณ์ในการตรวจเอกสาร ...ดูตารางแมงมุมใหม่ (Revised Checklist + Risk Assessment template) ....ความเสี่ยง, มาตรการควบคุม, นโยบายและข้อปฏิบัติ, บุคลากร, การสื่อสาร, ระบบการแจ้งเบาะแส
  6. แบบ Version 2.1 หมวดหมู่ค่อนข้างเยอะ ได้จัดระเบียบใหม่ดังนี้
    1. ประเมินความเสี่ยง
    2. มาตรการป้องกันความเสี่ยงด้านคอร์รัปชั่น
    3. ...
    4. ...
    5. ...
    6. ...
    7. ...
  7. แบบประเมินตนเองมีลักษณะเป็น Guidelines มี หรือไม่มี
  8. Checklist ต้องมีอะไรบ้าง
  9. #55 ช่องทางการแจ้งเบาะแส ต้องปลอดภัยแก่ผู้แจ้ง
  10. #66
  11. #67
  12. #68
  13. #69
  14. #70
  15. ปรับ ต้องมีคำนิยาม ให้ความชัดเจน ขั้นตอน มีความชัดเจน ทำอย่างไร ต้องตรวจสอบว่าที่เราทำมาแล้วนี้ มัน Work หรือเปล่า?
    1. การให้ของขวัญ การเลี้ยงรับรอง
    2. การให้การสนับสนุน (Sponsorship)
    3. การบริจาค (Donations)
    4. การสนับสุนทางการเมือง
    5. การขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest)
  16. การจ่ายค่าอำนวยความสะดวก (Facilitation Payment)
    1. มีการกำหนดนิยาม "การจ่ายค่าอำนวยความสะดวก" (Facilitation Payment) ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และเป็นคำนิยามที่มีความชัดเจน
  17. การจ้างพนักงานรัฐ (Revolving Door)
    1. กลุ่มเจ้าหน้าเกษียณแล้ว, พนักงานรัฐที่มีความเชี่ยวชาญ, พนักงานรัฐที่รับราชการอยู่มี Side line เยอะ
  18. เอกสารแนบเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับการลดความเสี่ยง (ของฝ่ายขาย) เท่านั้น เอกสารขอเฉพาะประเด็นที่ต้องประเมินเกี่ยวกับเรื่องคอร์รัปชันเท่านั้น
  19. ทำ Gap Analysis ว่า 71 ข้อนั้น เรามีแล้วหรือยัง  ..
  20. ต้อง Tick ว่ามีแล้วทุกข้อ
  21. Policy and Procedures
  22. ในช่อง เอกสารอ้างอิง (ชื่อเอกสาร/หน้า) จัดไว้ 4 บรรทัด (File:1 นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น หน้าที่ 20-24, 20-Gift_policy ข้อปฏิบัติพนักงานในการให้และรับของขวัญ, เอกสาร 15: Code of Conduct หน้าที่ 1 บรรทัด 1 และ 3) จัดส่งเป็น Flashdrive และมี Password protected....
  23. ตารางความเสี่ยง Risk Template ....% การผ่านประมาณ 2/3 เท่า
  24. ยื่นแบบ 2.1 หรือ 4.0 ต้องยื่นก่อน 30 มิถุนายน 2564.
  25. Steps
    1. Communicate
    2. Setup Team
    3. Gap Analysis
    4.  
  26. Old steps
    1. Communicate
    2. Re-assess corruption risks
    3. Review controls
    4. Approval for new controls
    5. Develop working papers
    6.  
  27. Key to Cetification Success
    1. อย่าทำคนเดียว (Involve relevant personals within the organization)
    2. เข้าใจสิ่งที่ CAC ต้องการ (Understand definition of corruption and prioritize B2G transactions)
    3. Corruption risks align with business activity
    4. Internal controls address

Questions & Answers
  1. บริษัทแม่ต้องดูความเสี่ยงบริษัทลูกด้วย ทุกบริษัทการ
  2. การจ้างพนักงานรัฐ ต้องพิจารณาว่าเปิดเผยได้ขนาดไหน อาจแสดงใน Annual Report]'
  3. ความรับผิดชอบของ President และ CEO มีรายงานการประชุมระบุชัดเจน ว่ากรรมการอนุมัติ ยอมรับ มีการระบุใน Charter ของ Board
  4. ...










 
info@huexonline.com