MENU
TH EN
ภาพเขียนแสดงวิวพระมหาเจดีย์ชเวดากอง เมื่อ ค.ศ.1825 โดยผู้หมวดโจเซฟ มัวร์ ทหารราบที่ 89 แห่งกองทัพจักรวรรดิอังกฤษ, ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 6 พฤศจิกายน 2560.
First revision: Nov.06, 2017
Last change: Sep.05, 2020
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา.
พระมหาเจดีย์ชเวดากอง01
 
        ระหว่างวันที่ 24-26 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา ผมได้ไปเที่ยวเมืองพม่ากับบริษัททัวร์แห่งหนึ่ง (รายละเอียดสามารถดูได้ใน http://huexonline.com/knowledge/24/172/ )ได้เข้าชมพระมหาเจดีย์ชเวดากองยามค่ำคืนในคืนแรกที่ไปถึง เห็นถึงความอลังการ์ การเข้าชมพระมหาเจดีย์ครั้งนี้นั้นใช้เวลาราว ๆ 2 ชั่วโมง เดินชมวนขวามือ (ทักษิณาวรรต) มีรายละเอียดต่าง ๆ ที่เก็บได้ไม่หมด ผมพยายามถ่ายภาพ ดื่มด่ำกับความรู้สึกจากการได้มานมัสการยัง ณ มหาสถานของพุทธศาสนิกชนอันยิ่งใหญ่แห่งนี้ เท่าที่เวลาจะเอื้ออำนวย.

       ในบล็อกนี้ ผมขอใคร่ศึกษาค้นคว้าแสดงความเป็นมาเป็นไป และรายละเอียดต่าง ๆ ของพระมหาเจดีย์ชเวดากองไว้ดังนี้:

 

 
        พระมหาเจดีย์ชเวดากอง (Shwedagon Pagoda หรือ The Great Dagon Pagoda หรือ The Golden Pagoda) ตั้งอยู่บริเวณเนินเขาเชียงกุตระ (Singuttara Hill) เมืองย่างกุ้ง สหภาพพม่า โดยคำว่า "ชเว" หมายถึง ทอง, "ดากอง" แผลงมาจากเมืองของมอญเดิมชื่อ "ตะเกิง" ซึ่งเป็นชื่อดั้งเดิมของเมืองย่างกุ้ง เชื่อกันว่าเป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระโคตมพุทธเจ้าจำนวนแปดเส้น ยอดสุดของพระเจดีย์บริเวณลูกแก้วหรือหยาดน้ำค้างประดับด้วยเครื่องประดับต่าง ๆ และเพชร 5,448 เม็ด ชั้นบนสุดมีทับทิม 2,317 เม็ดและเพชรเม็ดใหญ่ 76 กะรัต เพื่อรับลำแสงแรกและลำแสงสุดท้ายของดวงอาทิตย์ ผู้ที่เข้ามานมัสการหรือเยี่ยมชมจะต้องถอดรองเท้าทุกครั้ง. พระมหาเจดีย์มีความสูง 99 เมตร (325 ฟุต)
  • ประวัติ02
           ตามตำนานพระมหาเจดีย์ชเวดากอง หรือตำนารพระเกศธาตุนั้น พม่าเรียกว่า "ชเวดากอง -Shwe' Dagon" แปลว่า "พระเจดีย์ทองเมืองตะเกิง" นั้นสร้างมาไม่น้อยกว่า 2,600 ปี แต่นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีเชื่อกันว่าสร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6-10 โดยชาวมอญ ตามตำนานนั้นกล่าวว่ามีพี่น้องพ่อค้าสองคน (ตปุสสะ-Taphussa และ ภัลลิกะ-Bhallika บ้างก็เรียก Trapusa และ Bahalika) จากตอนเหนือของเนินเขาเชียงกุตระ (ปัจจุบันคือเมืองย่างกุ้ง) ได้ไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขณะที่พระองค์เสด็จประทับอยู่ใต้ต้นเกศ ทั้งสองคนมีความเลื่อมใสถวายข้าวสัตตุให้เสวย แล้วถวายตัวเป็นปฐมอุบาสกในพระพุทธศาสนา พระองค์ได้ประทานพระเกศาให้พ่อค้าวานิชทั้งสองมาแปดเส้น พ่อค้าทั้งสองได้กลับมายังเมืองพม่าและได้รับความช่วยเหลือจากผู้ปกครองท้องถิ่น พร้อมทั้งพระราชาโอกกะละปา (Okkalapa) ในการประดิษฐานพระเกศาธาตุยังบริเวณเนินเขาเชียงกุตระ
          ต่อมาพระมหาเจดีย์ได้ถูกทิ้งร้างไว้จนทรุดโทรม เวลาล่วงมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 พระเจ้าบินยอู (King Binnya U) (ค.ศ.1323-1384) ได้ทรงบูรณะพระมหาเจดีย์ให้มีความสูง 18 เมตร (59 ฟุต) ศตวรรษต่อมาราชินีบินยเทา บ้างก็เรียกพระนางชินสอบู (Queen Binnya Thau หรือ Shin Sawbu) (ค.ศ.1453-1472) ได้ทรงบูรณะพระมหาเจดีย์ให้มีความสูงถึง 40 เมตร (131 ฟุต) 

 
  • ลักษณะสถาปัตยกรรม 

ภาพ Floor Plan พระมหาเจดีย์ชเวดากอง, ที่มา: www.shwedagonpagoda.com, วันที่สืบค้น 14 พฤศจิกายน 2560
 
 
     
 
ภาพถ่ายสีของศาลาและเจดีย์รายบนลานประทักษิณรอบเจดีย์ชเวดากอง ที่กรุงย่างกุ้ง ในยุคที่พม่ายังเป็นอาณานิคมอังกฤษ
ถือเป็นภาพถ่ายสียุคแรก ๆ ของโลก โดยเทคนิก Kornraster-Farbdiapositiv หรือฟิล์มสไลด์สี
ถ่ายโดย Oswald Lübeck ช่างภาพชาวเยอรมนี ระหว่างปี 1911 - 1913
Bildnachweis: Deutsche Fotothek / Lübeck, Oswald,
ที่มา: Facebook เพจ "คลังพุทธศาสนา," วันที่เข้าถึง: 1 ตุลาคม 2562.



ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย:
01   ใช้ข้อมูลเริ่มต้นจาก th.wikipedia.org, en.wikipedia.org เป็นโครงเรื่องนำ พร้อมทั้งค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ผนวกกับประสบการณ์ตรงที่ได้ไปนมัสการพระมหาเจดีย์พระเกศธาตุแห่งนี้.
02   ใช้ข้อมูลสำคัญ การแปลเป็นภาษาไทยจากหนังสือ "ตำนานเมืองพม่า" พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ" ฉบับพิมพ์รวมเล่มครั้งแรก พ.ศ.2560 เป็นเอกสารหลัก.



PHOTO GALLERY
ภาพที่ 01-07: ถ่ายไว้เมื่อ 24 มีนาคม 2560.

ภาพที่ 08: เจดีย์ชเวดากอง ย่างกุ้ง พม่า ปี 2450 Shwedagon Pagoda ,Yangon, Myanmar ,1907, Credit : Philip Adolphe Klier, ผ่าน. Facebook เพจ "Wisuwat Buroot," วันที่เข้าถึง 5 กันยายน 2563.
ภาพที่ 09: เจดีย์ชเวดากอง ย่างกุ้ง พม่า ปี 2452-2453 Shwedagon Pagoda ,Yangon, Myanmar ,1909-1910, Credit : Philip Adolphe Klier, ผ่าน. Facebook เพจ "Wisuwat Buroot," วันที่เข้าถึง 5 กันยายน 2563.
ภาพที่ 10: เจดีย์ชเวดากอง ย่างกุ้ง พม่า ปี 2450 Shwedagon Pagoda ,Yangon, Myanmar ,1907, Credit : Philip Adolphe Klier,
ผ่าน. Facebook เพจ "Wisuwat Buroot," วันที่เข้าถึง 5 กันยายน 2563.
ภาพที่ 11: เจดีย์ชเวดากอง ย่างกุ้ง พม่า ปี 2498, Buildings within the grounds of the Shwe Dagon ,Yangon, Myanmar ,1955, Credit : Jeanne Cuisinier, ผ่าน. Facebook เพจ "Wisuwat Buroot," วันที่เข้าถึง 5 กันยายน 2563.
ภาพที่ 12: เจดีย์ชเวดากอง ย่างกุ้ง พม่า ปี 2477-2512, Shwe Dagon ,Yangon, Myanmar ,Between 1934 and 1969, Credit : Clarence W. Sorensen, ผ่าน. Facebook เพจ "Wisuwat Buroot," วันที่เข้าถึง 5 กันยายน 2563.
ภาพที่ 13: ประตูทางเข้าของมหาเจดีย์ชเวดากอง, ย่างกุ้ง (ร่างกุ้ง) พม่า ปี 2403-2443, Entrance to the great temple of Rangoon (Shwedagon Pagoda), Yangon (division) , Myanmar ,1860-1900, ผ่าน. Facebook เพจ "Wisuwat Buroot," วันที่เข้าถึง 5 กันยายน 2563.
ภาพที่ 14: เจดีย์บริวาร ชเวดากอง ย่างกุ้ง พม่า ปี 2505, Stupas ,Shwe Dagon ,Yangon, Myanmar ,1962, Credit : Georges Condominas, ผ่าน. Facebook เพจ "Wisuwat Buroot," วันที่เข้าถึง 5 กันยายน 2563.
ภาพที่ 15: เจดีย์ชเวดากอง ย่างกุ้ง พม่า ปี 2488, Within the grounds of the Shwedagon Pagoda ,Yangon, Myanmar ,1945, Credit : Charles Mouzon, ผ่าน. Facebook เพจ "Wisuwat Buroot," วันที่เข้าถึง 5 กันยายน 2563.
ภาพที่ 16: เจดีย์ชเวดากอง ย่างกุ้ง พม่า ปี 2480, Shwedagon Pagoda ,Yangon, Myanmar ,1937, Credit : Gaëtan Fouquet, ผ่าน. Facebook เพจ "Wisuwat Buroot," วันที่เข้าถึง 5 กันยายน 2563.
ภาพที่ 17: ชาวพม่าอยู่ในบริเวณเจดีย์ชเวดากอง ย่างกุ้ง พม่า ปี 2488, Burmese in the enclosure of the Shwedagon Pagoda ,Yangon, Myanmar ,1945, Credit : Charles Mouzon, ผ่าน. Facebook เพจ "Wisuwat Buroot," วันที่เข้าถึง 5 กันยายน 2563.

ภาพที่ 18-20: สตรีชาวพม่า และภาพบรรยากาศ บริเวณพระเจดีย์ชเวดากอง, ไม่ทราบปีที่ถ่าย, ผ่าน. Facebook เพจ "Wisuwat Buroot," วันที่เข้าถึง 5 กันยายน 2563.

 

PHOTO
GALLERY
info@huexonline.com