MENU
TH EN

ล้านนามหาปกรณัม ตอนที่ 4

ล้านนามหาปกรณัม ตอนที่ 4
First revision: Mar.31, 2021
Last change: Jul.25, 2021

       ผมใช้ข้อมูลหลักจากการบรรรยายของ อาจารย์ ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร เมธีวิจัย สกว. ซึ่งท่านได้บรรยายตามสื่อต่าง ๆ ไว้และที่จะท่านได้บรรยายใน "ล้านนามหาปกรณัม" ให้กับผู้สนใจตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 จนถึงกลางปี 2564 มาแสดงในบล็อกนี้ โดยเสริมเนื้อหาที่ได้ค้นคว้าจากแหล่งต่าง ๆ มาประกอบโดยอ้างอิงด้วยความเคารพ.
 
 
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
ร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

การบรรยายเรื่อง

ล้านนามหาปกรณัม ความทรงจำแห่งอภินวบุรี-ศรีหริภุญชัย

ณ ห้อง 601 ชั้น 6 อาคารศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ
เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี แขวง/เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170
ครั้งที่ 7 ศุกร์ที่ 02 เมษายน 2564 ช่วง 10:00-11:30 และ 13:00-14:30 น.
  

"รัชกาลติลกราชาธิราชจนถึงสิ้นรัชกาลเจ้ายอดเชียงราย:
การเมือง-การปกครอง การพระศาสนา และวัฒนธรรม"

1. ลำดับเหตุการณ์สำคัญรัชกาลติลกราชาธิราช
     ติ-ละ-กะ แปลว่า เป็นเลิศ, ติ-ละ-กะ-ราชาธิราช นั้นเป็นชื่อที่ถูกต้อง
 ค.ศ.1441/พ.ศ.1984  ท้าวลกขึ้นครองราชสมบัติเมื่ออายุได้ 31 ปี (ชินกาลฯ)
 - (สามสิบย้อย - ชื่อตำแหน่ง) ยุยงให้เจ้าลก เป็นกษัตริย์ พี่ ๆ หนึ่งถึงห้า ครองเมืองต่าง ๆ แล้วสิ้นพระชนม์หมด
 - เจ้าลก อาจเป็นกษัตริย์ที่มีมลทิน คนไม่ชอบใจเท่าไหร มีปัญหาเรื่องสิทธิธรรม
 - เจ้าลก ปกครองเมืองพร้าว และเมืองหนึ่งในรัฐไทใหญ่ (เข้าใจว่า เจ้าลกทำอะไรผิดบางอย่าง)
  - 'สงครามกลางเมือง' เพราะขุนนางหัวเมืองบางกลุ่ม โดยเฉพาะเจ้าเมืองฝาง ไม่เห็นด้วยและยังต้องการที่จะยกพระเจ้าสามฝั่งแก่นขึ้นมาครองราชย์ใหม่ 
ค.ศ.1442/พ.ศ.1945  - หมื่นสามไชหาญเอาหนังสือไปชวนพระยาบรมไตรจักรมาเอาเมืองเชียงทอง
ค.ศ.1443/พ.ศ.1986  พระยาแก่นท้าวแข็งเมือง ยกไปปราบเมืองน่าน
ค.ศ.1443/พ.ศ.1986  ติลกราชาธิราชเสด็จออกผนวช มีพระอดุลศักยาธิกรณมหาสามีเป็นกรรมวาจาจารย์และพระญาณมงคลเถระเป็นพระอุปัชฌาย์ ทั้งสองรูปเป็นคณะลังกาวงศ์
ค.ศ.1445/พ.ศ.1988  -- 22 กรกฎาคม: คณะทูตของปาไป่ต้าเตี้ยนในรัชกาลนี้ ไปถึงเมืองหลวงจีนและได้เข้าเฝ้าจักรพรรดิเป็นครั้งแรก
 -- 2 กันยายน: ตราลัญจกร  (ที่ถูกต้องต้องเขียน ลัญฉกร แปลว่าตราแผ่นดิน แต่คำว่า ลัญจกร แปลว่า สินบนเบี้ยบ้ายรายทาง) และเอกสารคำหับที่ราชสำนักปาไป่ต้าเตี้ยนต้องใช้ในการติดต่อกับราชสำนักหมิงได้ถูกพวก "โจรชาวสยาม" (ชาวอโยธยา) ทำลายไปในกองไฟ. 
ค.ศ.1447/พ.ศ.1990  สร้างบูรณะพระธาตุเจดีย์หลวง อภิเษกสมเด็จพระสังฆราชพระมหาเถระเมธังกร พระอาจารย์เป็น "พระอดุลศักตยาธิกรณมหาสามี"
ค.ศ.1448/พ.ศ.1991  ติลกได้น่าน (โดยให้พระราชมารดาไปตีเมืองน่าน) พรญาแก่นท้าวหนีไปพึ่งพระยาใต้ (ทางฝ่ายอโยธยา) จึงตั้งผาแสงน้องพระยาแก่นท้าวเป็นพระยาน่านแทน.
ค.ศ.1448/พ.ศ.1991  เลทันต์ตงให้ปฏิรูปการปกครองเขตปกครองเทือกเขาอันนัม คือ เขตพงหมาน (Bon Man) หรือเมืองกระบองแกวหลวงในพงศาวดารล้านช้าง มีฐานะเป็น "เจ้า" (โจว) ให้เปลี่ยนฐานะเป็นระดับ "ฝู่" ซึ่งมีข้าหลวงเวียดปกครอง กัมกงเป็นกบฏต่อต้านและไปเป็นพันธมิตรกับราชอาณาจักรล้านช้าง ในฤดูใบไม้ร่วง กองทัพลาวเข้ามารุกรายชายแดนไดเวียด
 -- ราชสำนักเลได้ตอบโต้อย่างทันควัน ไพร่พลจำนวน 180,000 คน ถูกจัดเป็น 5 ทัพ เดินหน้าออกประจัญข้าศึก โดยออกจากแง่อัน ทันห์หัว และฮุงหัว หลวงพระบางแตกหลังจากได้ต่อต้านอย่างเหนียวแน่น และกองทัพเวียดนามได้ติดตามกษัตริย์ลาวไปจนเกือบถึงชายแดนพม่า.
ค.ศ.1449/พ.ศ.1992  --- พระยาแก่นท้าวเมืองน่านนำอโยธยามาตีชิงเมืองคืน แล้วไปเป็นพันธมิตรกับหลวงพระบาง เพื่อยกทัพมาตีเชียงใหม่
 --- มหาเทวีสิ้นพระชนม์
 --- หลวงพระบางยกทัพมาตีน่าน???
ค.ศ.1451/พ.ศ.1994  --- บรมปาลพิราลัย? (สุโขทัย) สมเด็จพระเจ้าบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีฯ มิได้แต่งตั้งเจ้าชายยุธิษเฐียร เป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเสมอพระราชบิดา เจ้ายุธิษเฐียรไม่พอพระทัยจึงหันไปพึ่งติลกราชาธิราช
 --- ติลกยกไปตีพิษณุโลก/สองแคว ตั้งทัพที่ทุ่งยั้ง เมืองฝาง ไปตีเมืองปากยม (เข้าใจว่าเป็นเมืองเกยชัย...????) สังหารเจ้าเมือง
 --- ยุทิสเถียงไปกินพันนาภูคา แล้วไปกินเมืองพะยาว เรียกติลกว่า พระเจ้า
 --- มหาราชเมืองเชียงใหม่ยกกองทัพมาตีได้เมืองชากังราวและยกขึ้นไปตีเมืองสุโขทัย แต่ตีเมืองสุโขทัยไม่ได้จึงยกทัพกลับ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้ยกทัพไปตีเมืองลี้ สบเถิน (ใกล้ ๆ ลำปาง) และไปตั้งทัพหลวงที่บ้านโคนแต่ก็ตีไม่ได้เช่นกัน
ค.ศ.1454/พ.ศ.1997  ไปตีหลวงพระบาง เพราะลาวเคยร่วมกับน่านมาตีเมืองเชียงใหม่???
ค.ศ.1457/พ.ศ.2000  21 มีนาคม: หมิงสือลู่ระบุว่า เจ้าเมืองเชียงรุ่งได้ฆ่าตัวตาย เพราะป่านหย่าจง (พรญาจง) ผู้เป็นอนุชาได้เชิญให้พระเจ้าติโลกราชทรงเข้าช่วยแย่งชิงราชสมบัติ
 --- ฝ่ายล้านนาว่า เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แต่งทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ เอกสารทางเหนือบอกว่า ฝ่ายอโยธยาพ่ายในการรบที่ลำปาง ต้องถอยทัพกลับมา ในขณะที่ฝ่ายอโยธยาบันทึกว่า เรื่องพระอินทราชาถูกปืนยิงต้องพระพักตร์ เกิดขึ้นใน พ.ศ.2006 
ค.ศ.1459/พ.ศ.2002  ติลกราชาธิราชพระองค์ยกกองทัพขนาดใหญ่ไปล้อมเมืองสองแควอยู่หลายเดือน สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นมารับศึกด้วยพระองค์เอง ในเวลานั้นสถานการณ์คับขันจึงเชิญพระราชมารดาขึ้นไปปรึกษาการศึก เพราะเคยเป็นเจ้าหญิงเมืองเหนือมาก่อน.
ค.ศ.1460/พ.ศ.2003  ติลกราชาธิราชทรงเห็นว่าจักตีเมืองสองแควไม่ได้ จึงเปลี่ยนแผนศึกให้เจ้ายุธิษเฐียรไปตีเมืองงาว เมืองแพร่ และกาวน่านคืนราชวงศ์ปกรณ์เชียงใหม่บันทึกว่า ติลกมหาราชได้ยกไปตีได้เมืองสุโขทัย ซึ่งเหตุการณ์นี้พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ละเว้นไม่กล่าวถึงเลย...!!!!
 
--- หัวเมืองลื้อเป็นกบฏ ติลกราชาธิราชจำต้องยกทัพขึ้นไปตีลื้อเมืองโพง ยังไม่ทันได้เมือง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงให้ยกทัพมาตีได้เมืองแพร่ในปีเดียวเดียวกัน
 --- มหาราชเชียงใหม่ทรงโต้ตอบยกกองทัพมาตีเมืองเชลียง ในเวลานั้นพระยาเชลียงไม่มีทางเลือกนอกจากรีบยอมอ่อนน้อม ในแง่มุมของอโยธยา พระยาเชลียงได้เอาใจออกห่างจากพาผู้คนไปออกแก่ติลกมหาราชเชียงใหม่.
ค.ศ.1461/พ.ศ.2004  --- พระยาเชลียงนำทัพมหาราชมาตีเมืองสองแคว แต่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและพระราชมารดาทรงร่วมคิดป้องกันเมืองไว้ได้
 --- มหาราชและพระยาเชลียงจึงยกทัพไปตีเมืองกำแพงเพชรแทน แต่หลังจากล้อมเมืองอยู่ 7 วันก็ยังตีไม่ได้จึงยกทัพกลับ การที่มหาราชเชียงใหม่เป็นฝ่ายรุก ทำให้พระยานครไทยนำครัวไปสวามิภักดิ์ด้วย.
ค.ศ.1461/พ.ศ.2004  -- พรญาเชลียงคิดจักกำจัดหมื่นนครซึ่งเป็นแม่ทัพคนสำคัญของฝ่ายเชียงใหม่ ถูกส่งตัวไปอยู่เมืองหาง
ค.ศ.1462/พ.ศ.2005  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถให้พระยากลาโหมไปตีเมืองสุโขทัย "ได้เมืองคืนดุจเก่า" (ทางฝ่ายอโยธยาไม่ได้บันทึกว่าเสียเมืองเมื่อใด) หลังเสียไปแก่ทางเชียงใหม่ใน ค.ศ.1460/ พ.ศ.2003 (ตามราชวงศ์ปกรณ์)
ค.ศ.1463/พ.ศ.2006  คัมภีร์ศาสนวงศ์ของพระปัญญาสามี (พม่า) กล่าวว่าในจุลศักราช 825 ติลกราชาธิราชได้ทรงเสริมพระธาตุหริภุญไชย ถวายแด่พระเมธังกร และพระสารีบุตรเถระ.
 ---  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จไปเสวยราชสมบัติที่เมืองสองแคว
 --- ติลกราชาธิราชยกพลมาเอาเมืองสุโขทัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และสมเด็จพระอินทราชาเจ้าเสด็จไปป้องกันเมือง มีการสงครามครั้งใหญ่ ฝ่ายอโยธยาป้องกันเมืองไว้ได้ มหาราชติลกจึงเลิกทัพกลับคืนไป.
ค.ศ.1465/พ.ศ.2008  --- สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จออกผนวช ณ วัดจุฬามณีที่เมืองพิษณุโลกนาน 8 เดือน ฝ่ายเชียงใหม่ว่า ขณะผนวชอยู่ได้ส่งพระโพธิสมภารเป็นทูตไปขอบิณฑบาตรเมืองเชลียง.
ค.ศ.1466/พ.ศ.2009  --- ติลกราชาธิราชมีพระบารมีสูงสุด จึงโปรดให้จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นอโศกธรรมิกราช ทำนองเดียวกับพิธีอินทราภิเษก.
ค.ศ.1468/พ.ศ.2011  ให้สำเร็จโทษท้าวสีบุญเรือง 'เพราะแรงระวงงหวง แหนราช'
ค.ศ.1473/พ.ศ.2016  หมื่นนครให้ลอกเอาทองพระเจ้าลงมาหุ้มดาบ. (ลป.)
ค.ศ.1474/พ.ศ.2017  พระยาสุโขทัยได้รับคำสั่งให้มาตีเมืองเชียงชื่น (เชลียง) โดยทัพสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงยกทัพหลวงตามมา หมื่นด้งนครได้ป้องกันเมืองเป็นสามารถ แต่ได้ถูกเจ้าเมืองน่านและแพร่ใส่ความว่าเป็นคิดทะเยอทะยานจักเป็นกบฏด้วยข้อหาที่ว่า หมื่นด้งนครได้ลอกทองพระลงมาหุ้มดาบ เหิมเกริมเกินศักดิ์ ด้วยความระแวงจึงโปรดให้เรียกตัวจากเมืองเชลียงมาเข้าเฝ้าที่เชียงใหม่แล้วประหารชีวิตเสีย เมียหมื่นด้งนครซึ่งเป็นแม่นางเมืองรักษาเมืองอยุ่ ครั้งทราบข่าวนี้ก็ขุ่นข้องใจ เอาใจออกห่างไปเข้าข้างสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทำให้ทัพฝ่ายอโยธยายึดเมืองเชลียงได้.
 --- ผลของสงครามที่ชัดเจนคือ ฝ่ายอโยธยาได้เมืองศรีสัชนาลัย หรือเชียงชื่นกลับคืนมา แต่ฝ่ายโยนรัฐได้ครอบครองเมืองแพร่ เมืองมาน เมืองน่าน เมืองงาว และเมืองปัว.
ค.ศ.1475/พ.ศ.2018  ติลกราชาธิราชโปรดให้หมื่นด้ามพร้าคิดสร้างพระมหาเจดีย์หลวง
 --- มหาราชขอมาเป็นไมตรี.ลป.
ค.ศ.1479-1481/พ.ศ.2022-2024  เมื่อตอนก่อนที่จักรพรรดิเลธันห์ตงจะเข้าโจมตีลาว พระองค์กระทำตนกร่าง ราวยกพระองค์เองให้มีฐานะเช่นเดียวกับจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิง โดยได้ส่งพระราชโองการไปยังเจ้าเมืองเชียงรุ่ง และติลกมหาราชให้ส่งทัพเข้าร่วมโจมตีหลวงพระบางด้วย เอกสารจีนกล่าวว่า ติลกมหาราชกริ้วขนาดทรงให้ช้างกระทืบพระราชโองการของกษัตริย์ไดเวียด
 --- หลังจากที่ยึดหลวงพระบางได้แล้ว กองทัพไดเวียดได้ยกล้ำเข้ามาทางเมืองน่าน กองทัพของท้าวขาก่านเจ้าเมืองน่านได้โจมตีให้พวกไดเวียดแตกพ่ายไป เอกสารหมิงสือลู่ บันทึกว่าจักรพรรดิเลธันห์ตง ทรงโทมนัสยิ่งนักในความพ่ายแพ้และต้องถอยทัพกลับไป.
ค.ศ.1481/พ.ศ.2024  ฉลองพระมหาเจดีย์หลวง
ค.ศ.1483/พ.ศ.2026
(กาเม้า)
 ข่าลั่วะกบถเมืองยอง หมื่นจ่าคำน้อยไปไล่จนหนีพึ่งเมืองเชียงรุ่ง โปรดให้หมื่นดำพร้าอ้ายไปตีเชียงรุ่งแต่ไม่สำเร็จ
 -- โปรดให้ชำระพระไตรปิฎก ณ วัดโพธาราม
 -- ปีเถาะ สิริธรรมจักรพรรดิราชาธิราช (ติลกมหาราช) โปรดให้สีหโคตเสนาบดีและอาณากิจมหาอำมาตย์หล่อพระพุทธรูปสัมฤทธิ์องค์ใหญ่หนักประมาณสามสิบแสน (3,960 กิโลกรัม) ให้มีลักษณะเหมือนพระพุทธรูปแบบละโว้ หล่อที่วัดป่าตาลมหาวิหารทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราชธานีเชียงใหม่... ทรงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุประมาณ 500 องค์กับพระพุทธรูปแก้ว ทองแลเงินจากหอพระธาตุส่วนพระองค์มาบรรจุไว้ในพระเศียรพระพุทธรูปสัมฤทธิ์องค์ใหญ่.
ค.ศ.1485/พ.ศ.2028  --- ติลกราชาธิราช โปรดให้หมื่นด้ามพร้า (สีหโคตเสนาบดี) และอ้ายอาณัติการ (อาณากิจจาธิบดีมหาอำมาตย์) หล่อพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ขนาดหนัก 1,420/1,960 กิโลกรัม ไว้ที่วัดป่าตาลมหาวิหาร พระพุทธรูปนี้ทรงให้หล่อตามแบบพระเมืองละโว้ (ลวปุระ)
 --- ทรงสร้างวัดโพธารามและต่อมาให้มีการชำระอักษรพระไตรปิฎกที่วัดโพธารามใน ค.ศ.1485/พ.ศ.2028 ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของพระองค์ในการสมานรอยร้าวในสถาบันสงฆ์
 --- พระยายศราชมาสืบไมตรี ติลกราชไม่ยอมรับ หมื่นด้ามพร้าอ้ายฆ่าพวกทูตที่มาทั้งหมด
 --- โปรดให้ไปเลียบด่านเตริน ได้ปะทะกับชาวใต้ หมื่นอ้ายนครลงไปช่วยขับไล่ชาวใต้ที่มารุกราน.
ค.ศ.1486/พ.ศ.2029  --- ชาวใต้มารุกรานเมืองกีบ เมืองหิน ลูกพันนาเมืองน่าน 
 --- ขุนนางหัวเมืองกลุ่มหนึ่ง (หมื่นเชียงราย หมื่นพร้าว หมื่นเชียงลือ หมื่นจ่าคำน้อย) ที่ไม่พอใจพระองค์และพยายามสุมหัวกันเป็นกบฎ เพื่อจะยกเอาหมื่นเวียงดินเป็นกษัตริย์ แต่กระทำการไม่สำเร็จ เพราะหมื่นด้ามพร้าไม่เอาด้วย.
ค.ศ.1487/พ.ศ.2030  หลังจากทรงครองราชสมบัติมายาวนานถึง 44 ปี (ตามราชวงศ์ปกรณ์เชียงใหม่) ติลกมหาธรรมราชาธิราชมหาราชผู้ยิ่งใหญ่แห่งเชียงใหม่ ก็สวรรคตเมื่อพระชนม์ได้ 78 ชันษา.

2. ภาพลักษณ์ของติลกราชาธิราช
       2.1 ปัญหาสิทธิธรรมในการขึ้นครองราชย์
       2.2 วีรกษัตริย์นักรบ ทรงทำสงครามตลอดรัชกาล
             - โยนรัฐ - อโยธยามหายุทธ์ (ต้นเหตุจากสงครามตอนสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ทรงตีเมืองเชียงทอง)
             - ทำสงครามขยายอำนาจและปราบปรามกบฏหัวเมืองไทยใหญ่
             - ทรงเข้าแทรกแซงสงครามสืบราชสมบัติในเชียงรุ่งและหลวงพระบาง
             - สงครามโยนรัฐ - ไดเวียด
       2.3 พระองค์ทรงระแวงบุคคลใกล้ชิดและขุนนางซึ่งเป็นเหตุให้ดึงอำนาจการปกครองมาสู่พระองค์เอง ผลกระทบคือ
             - การย้ายเจ้าเมืองบ่อย ๆ 
             - การสังหารบุคคลสำคัญ เช่น หมื่นนคร ท้าวสีบุญเรือง
             - การคิดกบฏของขุนนาง
             - การขึ้นมามีอำนาจของกลุ่มขุนนางเมื่อสิ้นรัชกาลไปแล้ว
       2.4 "อโสกธรรมิกราช" ในบริบทของ "ปัญจอันตรธาน"
             - ทรงอุปถัมภ์คณะสงฆ์สำนักลังกาวงศ์วัดป่าแดง
             - การเสด็จออกผนวช
             - การได้ครอบครองพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์: พระพุทธสิหิงค์และพระแก้วมรกต และการสร้างพระพุทธรูปสำคัญ
             - การชำระอักษรพระไตรปิฏก




2. ท้าวเจ้ายอดเชียงราย
       2.1  ลำดับเหตุการณ์
 ค.ศ.1487/พ.ศ.2030  ท้าวเจ้ายอดเชียงรายได้ราชสมบัติ พระชนม์ได้ 31 ปี หมายความว่า ประสูติปีระวายไจ้ /จ.ศ.818/ค.ศ.1456/พ.ศ.1999 
 ค.ศ.1488/พ.ศ.2031  พันญี (เชากลุน) สร้างวัดเวฬุวัน (ปัจจุบันคือ วัดเวฬุวัน (ปันเจียง) ต.ยางเนิ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่) เชิญพระจุฬาไพยเถระมาเป็นเจ้าอารามและถวายเป็นพระอารามแด่มหาเทวีเจ้า และเป็นบุญแก่มหาราชและมหาเทวีตนเป็นเจ้าแก่แผ่นดิน.
 ค.ศ.1489/พ.ศ.2032  มหาราชเทวี (ในพระศรีธรรมราชนัดดา) ถวายทองสักโกอันเกลือกด้วยคำมาใส่เป็นยอดพระเจดีย์ในวัดข่วงชุมแก้ว ในเมืองควก
 ค.ศ.1495/พ.ศ.2038  ขุนนางถอดเจ้ายอดเชียงรายออกจากราชบัลลังก์ด้วยข้อหาว่าทรงเอาใจและผ่อนปรนต่อข้อเรียกร้องของพวกจีนฮ่อ (กรมการเมืองยูนนาน) มากเกินไป ยิ่งกว่านั้น ยังทรงรักลูกเลี้ยงที่เป็นเชื้อสายฮ่อยิ่งกว่าเจ้าแก้ว พระราชโอรสแท้ ๆ อันเกิดแก่นางปงน้อย อัครราชเทวี ซ้ำยังส่งเสริมให้พระโอรสเลี้ยงเชื้อสายฮ่อไปเป็นเจ้าเมืองแห่งหนึ่งด้วย.
 --- บุคคลที่มีบทบาทมากในการถอดเจ้ายอดเชียงรายจากราชบัลลังก์ คือ บุคคลที่ปรากฎนามว่า มหาอำมาตย์ผู้เป็นใหญ่แห่งหนองขวาง เมืองเขลางค์ (ลำปาง) ซึ่งคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์กล่าวว่า เป็นลุงข้างแม่ของเจ้ายอดเชียงราย (มาตุโล คือ เป็นพี่เมียของท้าวบุญเรืองที่ถูกสำเร็จโทษไป)

       2.2  ประเด็นสำคัญในรัชกาลนี้
               2.2.1 การเริ่มขึ้นมามีอำนาจของกลุ่มข้าราชการภายใต้การนำของมหาอำมาตย์แห่งหนองขวาง เมืองลำปาง

                    ติลกราชาธิราช
                          |
                          |                                                                            มหาอำมาตย์ (พี่ชายพระชายา)
                         V                                                                            ลุงข้างแม่ของเจ้ายอดเชียงราย
                   เจ้าสีบุญเรือง <------------------------------->  พระชายา                                ^
                                                  l                                                                          l
                                                  l                                                                          l
                                                 V                                                                         V

                                   ท้าวเจ้ายอดเชียงราย <----------------------------------->  มหาเทวีสิริยศวดี 
                                                                                l
                                                                                l
                                                                               V
                                                                          เมืองแก้ว

               2.2.2 บทบาทของอัครราชเทวีสิริยศราช


 
 
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
ร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

การบรรยายเรื่อง

ล้านนามหาปกรณัม ความทรงจำแห่งอภินวบุรี-ศรีหริภุญชัย

ณ ห้อง 601 ชั้น 6 อาคารศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ
เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี แขวง/เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170
ครั้งที่ 8 อังคารที่ 22 มิถุนายน 2564 ช่วง 10:00-11:30 และ 13:00-14:30 น.
  

"รัชกาลมหาราชเมืองแก้วกับความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม"
 
                                    ติลกราชาธิราช
                                              |
                                              |                                                                            มหาอำมาตย์ (พี่ชายพระชายา)
                                             V                                                                            ลุงข้างแม่ของเจ้ายอดเชียงราย
                                       เจ้าสีบุญเรือง <------------------------------->  พระชายา                                ^
                                                                      l                                                                          l
                                                                      l                                                                          l
                                                                     V                                                                         V

                                                       ท้าวเจ้ายอดเชียงราย <----------------------------------->  มหาเทวีสิริยศวดี 
                                                                                                    l                              มหาเทวีศรีมาตุโล
                                                                                                    l
                                                                                                   V
                                                                                              เมืองแก้ว


1. ลำดับเหตุการณ์สำคัญรัชกาลมหาราชเมืองแก้ว
 ค.ศ.1489/ พ.ศ.2032  9 กันยายน: ตาวเย่าเจิ่งไล่ (ท้าวยอดเชียงราย พระราชนัดดาพระเจ้าติโลกราช) นัดดาของตาวหล่านนา ข้าหลวงปกครอง ทหารและพลเรือนของปาไป่ต้าเตี้ยนแห่งยูนนาน ผู้ซึ่งถึงแก่อนิจกรรมไปแล้ว ได้เข้ามาถวายสิ่งของพื้นเมืองและขอรับตำแหน่งสืบต่อจากปู่ ฝ่ายกลาโหมกราบบังคมทูลว่า
     'ปาไป่ห่างไกลจากยูนนาน เป็นเขตที่มีพิษไข้ป่าและโรคระบาดมาก ผิดกับสถานที่อื่น ๆ ไม่จำเป็นต้องตรวจสอบเครื่องหมายเอกสารอีกครั้งหนึ่ง ควรอนุมัติให้เขารับตำแหน่งสืบต่อไปได้เลย"
 ได้พระราชทานตามที่ขอ อีกทั้งยังพระราชทานหมวกยศ เข็มขัดยศ และเสื้อผ้ากับสิ่งของอื่น ๆ โดยสมควรแก่ยศถาบรรดาศักดิ์.
 11 กันยายน: กรมการกลาโหมยูนนานกราบทูล ขอให้มีสารตราไปว่ากล่าวข้าหลวงปกครองปาไป่ให้คืนดีกับมู่ปาง (แสนหวี-เทียนเว่ยสื่อ) เพื่อให้เกิดสัมพันธไมตรีและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เสนาบดีกลาโหมกราบทูลว่า "เห็นชอบกับข้อเสนอและให้แจ้งไปยังขุนนางผู้ป้องกันยูนนาน" องค์จักรพรรดิทรงเห็นชอบตามคำกราบทูล.
 ค.ศ.1493/ พ.ศ.2036  1 สิงหาคม: ตาวเย่าเจิ่งไล่ (ท้าวยอดเชียงราย) ข้าหลวงปกครองพื้นเมืองปาไป่ต้าเตี้ยน ส่งขุนนางระดับโถวมู่ (ขุนนางระดับกลาง) มาถวายเครื่องราชบรรณาการ มหาอำมาตย์นามว่า ปาเทพ ได้นำพระแก่นจันทน์กลับไปประดิษฐานที่วัดดอนชัย พะเยา.
 ค.ศ.1495/ พ.ศ.2038  ขุนนางถอดเจ้ายอดเชียงรายออกจากราชบัลลังก์ ด้วยข้อหาว่าทรงเอาใจและผ่อนปรนต่อข้อเรียกร้องของพวกจีนฮ่อ (กรมการเมืองยูนนาน) มากเกินไป ยิ่งกว่านั้น ยังทรงรักลูกเลี้ยงที่เป็นเชื้อสายฮ่อยิ่งกว่าเจ้าแก้ว พระราชโอรสแท้ ๆ อันเกิดแก่นางปงน้อย อัครราชเทวี ซ้ำยังส่งเสริมให้พระโอรสเลี้ยงเชื้อสายฮ่อไปเป็นเจ้าเมืองอีกแห่งหนึ่งด้วย.
 -- บุคคลที่มีบทบาทมากในการถอดเจ้ายอดเชียงรายจากบัลลังก์ คือ บุคคลที่ปรากฎนามว่า มหาอำมาตย์ผู้เป็นใหญ่แห่งหนองขวาง เมืองเขลางค์ (ลำปาง) ซึ่งคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์กล่าวว่า เป็นลุงข้างแม่ของเจ้ายอดเชียงราย (มาตุโล คือ เป็นพี่เมียของท้าวสีบุญเรืองที่ถูกสำเร็จโทษไป) ให้มหาเทวีสิริยศวดี เป็นผู้สำเร็จราชการ.
 ค.ศ.1496/ พ.ศ.2039  โปรดให้สร้างอารามขึ้นที่หมู่บ้านที่พระปัยยิกา (ทวด) ครั้งเป็นยุพราช และพระบิดาทรงอยู่มาก่อน ให้ชื่อว่าวัดบุพพาราม (น่าเสียดายที่ปัจจุบัน เป็นของใหม่แทบทั้งหมด) ทางตะวันออกของนครเชียงใหม่ 
 ค.ศ.1497: สร้างปราสาทองค์หนึ่งท่ามกลางมหาวิหารของวัดบุพพาราม เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป
 ค.ศ.1498: ฉลองพระไตรปิฎกฉบับลงทอง (ชำระพระไตรปิฎกที่วัดเจ็ดยอด) และหอพระมณเฑียรที่สร้างไว้ในวัดบุพพาราม.
 ---
ฉลองวัดกุมาราราม (พระอารามที่สร้างไว้สำหรับพระกุมาร) ซึ่งพระนางสิริยสวดี พระราชชนนีได้สร้างไว้ ณ บ้านเกิดของพระนางที่เมืองกุสาวดี (เมืองหญ้าคา)
 --- เจ้าหมื่นเชียงแสนคำล้านเอาวัดปราสาทถวายแก่ "สมเด็จบพิตร พระเป็นเจ้าทั้งสองพระองค์"
 --- เจ้าเมืองนคร (นครลำปาง) สีทัตถมหาสุรมนตรี กินเมืองนครได้ 6 เดือน ชวนคนมาแรกก่อตนพระมหาธาตุเจ้า (พระมหาธาตุเจ้าลำปางหลวง)
 ค.ศ.1497/ พ.ศ.2040  10 กันยายน: ตาวหล่านนาข้าหลวงปกครองปาไป่ต้าเตี้ยนขึ้นยูนนาน ส่งคนระดับโถวมู่มาถวายเครื่องราชบรรณาการ จักรพรรดิ พระราชทานแพรต่วนหลากสีและของอื่น ๆ ตอบแทนแก่ข้าหลวงปกครองด้วย อีกทั้งพระราชทานแพรสีและเสื้อผ้าแก่โถวมู่และคณะตามลำดับยศถาศักดิ์.
 --- ประสูติพระราชโอรสองค์โต.
 ค.ศ.1500/ พ.ศ.2043  "สมเด็จบพิตรมหาราชเจ้าตน เป็นอธิบดีในศรีพิงคราษฎร์เชียงใหม่" กับพระกรรโลงรักอัครราชมาตา" มีญาณยุตวิสุทธศรัทธาในพระศาสนามากนัก มักให้มั่นคงเป็นเค้าเป็นมูลในหริปุญชบุรี ... อวยไอศวรสมบัติพัสดุทั้งหลายหมายมีต้นว่า สัปตรัตนะนองเนือง นำมาบูชาพระมหาธาตุเจดีย์เจ้าอันเป็นเหง้าเกล้าพระสุธาทุกปีเดือนมิได้ขาด.[ มีการบูรณะพระบรมธาตุหริภูญไชยครั้งใหญ่ (พระเมืองแก้วกับพระมารดา)]
 1  สร้างพระธรรมมนเทียรอันอาเกียรณ์ด้วยคำมาส ด้วยสุพรรณบุษบาผกาวัลย์เป็นอัศจรรย์อติเรก.
 2  สมเด็จมหาราชเจ้าให้สร้างพระธรรมอันเป็นพุทธวาจาตราได้ 8 หมื่นสี่พันขันธ์ กับกันถันตรปกรณ์ สาตุถกถา ฏีกานุฏีกาคณนาทั้งมวลได้ 420 คัมภีร์
 3  ทรงสร้างพระพุทธรูปทองคำ
จุ่งให้สมเด็จมหาราชเจ้าทั้งสองพระองค์ทรงธนสารสองประการ คือ อัชฌัตติกพาหิรธน อันบริบวรณ์ดี.
     สมเด็จพระธรรมิกราชเจ้ากับพระอัครราชมาดาบพิตรก็อุทิศพระราชกุศลแลโกฐาส์ ...ให้แด่สมเด็จพระบิดา มหาอัยกะอัยกา.
 ค.ศ.1502/ พ.ศ.2045  "เจ้าหัว" (เจ้าเหนือหัว) แสนญาณกัลยากินเมืองพเยาอุทิศข้าคนสร้างวัด
 --- พระมหาราชเทวีเจ้า เจ้าหน่วยนางตนแม่ให้ฝังสีมาวัดพระ (ศรี) เกิด...[หัวหน่วย = หัวหน้าฝ่ายใน
 ค.ศ.1503/ พ.ศ.2046  เจ้าเมืองนครสีทัตถมหาสุรมนตรี หล่อพระเจ้าล้านทอง พระธาตุลำปางหลวง (ตามหลักฐานมหายานเมืองละโว้) (อ.ดร.วินัย ท่านรำคาญนักประวัติศาสตร์ศิลปะ เช่น เวลาอธิบายพุทธศิลป์ จระนำ กลีบบัว แข้งสิงห์ โน้นนี่นั่น ท่านไม่ต้องการทราบ ... ท่านต้องการทราบพัฒนาการของศิลปะว่าเป็นมาอย่างไร อย่างเป็นระบบ....มากกว่า...!!!)
 ค.ศ.1504/ พ.ศ.2047  ทำแบบปั้นหุ่นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่วัดบุปผาราม
ค.ศ.1505 หล่อพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ใช้ทองแดงหนักเรือนโกฏิ มีที่ต่อถึง 8 แห่ง
 ค.ศ.1505/ พ.ศ.2048  เจ้ายอดเชียงรายสิ้นพระชนม์อายุได้ 50 ปี ตอนถูกเนรเทศอายุ 40 ปี
 ค.ศ.1506/ พ.ศ.2049  เฒ่าเมืองคำข่ายฟ้าพาพวกมาสวามิภักดิ์ให้ไปกินเมืองแพร่ แล้วย้ายไปเมืองเซิง (เฒ่าเมือง = ที่ปรึกษาผู้ใหญ่มากประสบการณ์)
 ค.ศ.1507/ พ.ศ.2050  1. ไปตีเมืองสุโขทัยแต่ไม่สำเร็จ
 2. "สมเด็จบพิตรพระสวัสติสรีธรรมจักกวัตติ" มหาราชกับราชมาตามหาเทวี "พระเจ้าแม่ลูกทั้งสอง" ปลงอาชญาแก่มหามัตตะผู้ใหญ่ ปรากฎว่าเจ้าหมื่นหนังสือติกผยาให้หานาแลกที่เวฬุวันอารามอันงาม. (มัตตะ = อำมาตย์ผู้ใหญ่) (ติกผยา = อธิกะปัญญา = ผู้มีปัญญาเป็นเลิศ)
 ค.ศ.1508/ พ.ศ.2051  ขะลาโหชาวใต้มาตีแพร่ เจ้าเมืองน่านไปรับศึก พ่ายแพ้เสียขุนหมื่นจำนวนมาก (แพร่นี้มีปัญหา เป็นฝ่ายล้านนาบ้าง สุโขทัยบ้าง เพราะเป็นดินแดนกันชน) (ขะลาโห = กลาโหม) 
 ค.ศ.1509/ พ.ศ.2052  พระเมืองแก้วกับพระราชมารดาทรงใช้ทองเลียงชั่งน้ำหนักเท่าพระองค์ เพื่อหล่อพระพุทธรูปนั่ง ส่วนสูงเท่าพระมหากษัตริย์ทรงยืน. (ทองเลียง = ทองบริสุทธิ์
 ค.ศ.1510/ พ.ศ.2053  รบกับขะลาโหอีก เจ้าเมืองนครรบเอาชนะได้ (เมืองนคร = ลำปาง)
 ค.ศ.1511/ พ.ศ.2054  โปรดทำกำแพงล้อมพระธาตุเจดีย์หลวงสามชั้น ได้เงินเรี่ยไรหนัก 220,000 (บาท) เอาเงินนั้นไปซื้อทองได้ทอง 25,000 (บาท) เอามาตีเป็นแผ่นบุพระธาตุ (แผ่นจังโก) . เรี่ยไรเงินจากผู้ศรัทธาและทูตประเทศราช เอาเงินมาสร้างกำแพงพระมหาธาตุลำพูน ส่วนองค์พระมหาธาตุล้อมด้วยรั้วทองเหลือง. 
 ค.ศ.1512/ พ.ศ.2055  1. สร้างราชมณเฑียรที่บ้านศรีบุญยืนที่แม่น้ำทั้งสองเข้ามาหากันด้านทิศเหนือหริภุญชัย (แม่น้ำกวงและและแม่น้ำปิง
 2. จารึกหลักที่ 73 (วัดสุวรรณาราม): "พระมหาเทวีเจ้าตนย่า ให้หมื่นหมอสุเมธานำพระพุทธรูปเจ้าองค์หนึ่งมาฐาปนาไว้ในสุวรรณอาราม อารามนี้คือหากเป็นนาบุญ แต่พระมหาเทวีเจ้าตนย่ามาต่อเท่าเถิงพระเป็นเจ้า (ทั้ง) สองพระองค์บัดนี้แล. (ตนย่า = แสดงว่ามีหลาน เจ้ายอดเมืองแก้วมีลูกแล้ว)
 ค.ศ.1513/ พ.ศ.2056  --- ตาวหล่านนา (ตรงกับท้าวล้านนา) ข้าหลวงสำนักปกครองทหารและพลเรือนของปาไป่ต้าเตี้ยนแห่งยูนนาน ให้ข้าราชการตำแหน่งโถวมู่ชื่อ ปานกวนฮั่น (พัน...หาญ) มาถวายเครื่องราชบรรณาการมีช้าง ม้า เครื่องเงินเครื่องทอง และกูบช้าง ทรงให้จัดเลี้ยงรับรองและพระราชทาน ผ้าต่วนปักลายดอก แพรซา แพรโล่ (ลั้ว) และสิ่งของอื่น ๆ 
 --- ค.ศ.1513-14/ พ.ศ.2056-57 รบกับสุโขทัย ชะเลียง 
 ค.ศ.1514/ พ.ศ.2057  โปรดให้สร้างศาลามหาวินิจฉัยในเชียงใหม่ สร้างวิหารหลวงพระธาตุหริภุญชัย โปรดให้ขุดบูรณะฐานพระเจดีย์หลวง กลางเมืองเชียงแสน. (ศาลามหาวินิจฉัย = คล้ายพระที่นั่งอมรินทราภิเษก กรุงศรีอยุธยา เพราะใช้ตัดสินคดีความ)
 ค.ศ.1515/ พ.ศ.2058  - หมื่นมาลานครเอาพลไปรบกำแพงเพชร เอาไม่ได้ ตีสุโขทัยด้วย
 - กษัตริย์อยุธยา (สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2) ได้เมืองลำปางและยึดเอาพระพุทธสิขีไปจากวัดกู่ขาว. (พระพุทธสิขี = Palladium = วัตถุคู่บ้านคู่เมือง เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ)
 - ศักราช 877 กุญศก วัน ๓ ฯ ๑๕ ๑๑ ค่ำ เพลารุ่งแล้ว 8 ชั้น 3 ฤกษ์ 9 ฤกษ์ สมเด็จพระรามาธิบดี (ที่ 2 แห่งกรุงศรีฯ ) เสด็จไปเมืองนครลำภาง (ลำปาง) ได้เมือง.
 ค.ศ.1516/ พ.ศ.2059  1. สิริยสวดีเทวีทรงบริจาคบ้านของเจ้าเมืองหนองขวาง เพื่อให้เป็นสังฆาราม ส่วนพระราชาสร้างมหาสะพานที่ท่าสถานหลวง พระราชมารดาเทวีทรงยกฉัตรยอดเจดีย์ที่วัดที่หนองขวางและโปรดให้ยกพระวิหาร.
 2. โปรดให้ก่อกำแพงศิลาเมืองหริภุญชัย มีโวหริตมหาเสนาบดีเป็นหัวหน้าสร้างกำแพงในฤดูแล้ง. (เป็นกำแพงที่สูงมาก)
 ค.ศ.1517/ พ.ศ.2060  1. เดือน 6 ย่างเข้าปีฉลู ก่อกำแพงเมืองเชียงใหม่ด้วยอิฐ เชิญพระพุทธสาคร (รามัญวงศ์) มาอยู่วัดที่พระราชมาดาเทวีทรงสร้าง ณ ที่บ้านมหาอำมาตย์เจ้าเมืองหนองขวาง อันชื่อว่าสุธรรมาราม (กำแพงเมืองเชียงใหม่ และหริภุญชัยได้กล่าวไว้ในรุธิราชรำพัน แสดงถึงความสวยงามใหญ่โต) (อุปาทวาทศมาสโคลงดั้น (วรรณกรรมเพชรน้ำเอกแห่งกรุงศรีอยุธยา) และ รุธิราชรำพัน (นิราศหริภุญชัย) ต้องหาอ่านให้ได้)
 2. ทรงบริจาคมหาทานและฉลองวัดซึ่งเป็นที่เผาศพของมหาอำมาตย์หนองขวางในนครเขลางค์และทรงตั้งชื่อวัดนั้นว่า นันทาราม. 
 ค.ศ.1518/ พ.ศ.2061  โปรดให้ยกวิหารวัดเจดีย์หลวงและวัดป่าแดงมหาวิหาร (สังฆเพท ระหว่างวัดสวนดอกกับวัดป่าแดงนั้น เป็นเรื่องสำคัญมาก แต่ชินกาลมาลีปกรณ์ไม่ได้กล่าวถึงเลย)
 --- สรงมูรธาภิเศกพระราชาธิบดี (ชินกาลฯ)
 --- ได้พระยาช้างเผือก
 ค.ศ.1519/ พ.ศ.2062  --- นำราชทูตของประเทศราชสรงน้ำพระสีหฬปกิมา (พระพุทธสิหิงค์) และทรงสดับนิทานเรื่องมหาเวสสันดรและให้เขียนคัดไว้ (รุธิราช แปลว่า ราชาที่ป้องกันเมืองไว้ได้) (ประเทศราช หมายถึง เมืองนาย แสนหวี เชียงรุ้ง)
 --- เรี่ยไรเงินจากผู้ศรัทธาและทูตประเทศราช เอาเงินมาสร้างกำแพงพระมหาธาตุลำพูน ส่วนองค์พระมหาธาตุล้อมด้วยรั้วทองเหลือง
 --- อัญเชิญพระปฏิมาสัมริดหนักประมาณ 3 ล้าน (3,600 กิโลกรัม) ขั้นประดิษฐานบนพระแท่นวัดกุมกามทีปาราม. (พระอารามที่เกาะกุมกาม - ทีปา แปลว่า เกาะ)
 ค.ศ.1520/ พ.ศ.2063  --- ต้นปี โปรดให้ยกปราสาท 4 องค์ในพระราชวัง (โปรดให้สร้างมณเฑียร หรือ หอ)
 --- เมืองแก้ว กับพระราชมารดาให้จัดงานยกฉัตรพระมหาเจดีย์วัดทีฆาชีวิตสาราม
 --- ราชาภิเสกเจ้าแก้วซ้ำเป็นครั้งที่ 3 เมื่อพระชนม์ได้ 39 ปี 
 ค.ศ.1521/ พ.ศ.2064  ต้นปี (เมษายน) โปรดให้ขุดรากฐานพระเจดีย์หลวง (สันนิษฐานว่าฐานไม่ค่อยดี ตั้งแต่สร้างในสมัยพระเจ้าแสนเมืองมา) ก่อตั้งแต่ฐานพระเจดีย์ขึ้นไปใหม่ องค์พระเจดีย์กว้างด้านละ 8 วา 2 ศอก สูง 14 วา 2 ศอก
 --- เขียนคัดพระไตรปิฎกในวัดป่าแดงมหาวิหารใหม่อีกครั้ง
 ค.ศ.1522/ พ.ศ.2065  --- อัญเชิญพระพุทธรูปแก่นจันทน์แดงมาประดิษฐานที่วัดบุพพาราม 
พระยาอาทิตย์ (อาทิตยวงศ์ สมเด็จพระหน่อพุทธางกูร แห่งกรุงศรีฯ) กินเมืองใต้ส่งราชทูตมา โปรดให้ไปนมัสการพระแก่นจันทน์ที่วัดบุพพาราม
 --- จารึกวัดยางหนุ่ม: ศกราชได้ 884 ตัว เมื่อพระเป็นเจ้าเจ้าแม่ไณ (เจ้าแม่ฝ่ายใน หรือ ราชินีองค์ปัจจุบัน) ยินดีไว้นาเป็นข้าวพระเจ้า 60000 เบ้ (เบี้ย) ....พระมหาเทวีเจ้าตนย่า 400 เงิน นักบุญ 5600 เงิน
 --- พระราชกุมารีสิ้นพระชนม์ (ในชินกาลมาลีปกรณ์ระบุว่า พระเมืองแก้วทรงโทมนัสมาก)
 --- โปรดให้นำพระกัมโพชไปบูชาที่ปราสาทหอคำ
 --- โปรดให้ราชทูตอโยธยาไปนมัสการพระบรมสารีริกธาตุหริภุญชัย
 --- ให้เก็บหนังสือสัญญาพระราชไมตรีที่พระเจ้าอริมัทนปุระกับหนังสือพระราชไมตรีของหงสาวดีไว้ที่เชิงพระธาตุหริภุญชัย. (ด้วยเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ห้ามโกหกกัน ...บอกว่าเป็นไมตรีก็ต้องเป็นไมตรีนะ...!!)
 --- เจ้าราชบุตรชื่อ ชัยคงคา แห่งเชียงตุงมาถือน้ำพระพิพัท
 ค.ศ.1523/ พ.ศ.2066  สร้างวิหารหลวงวัดกู่คำ เวียงกุมกาม
 ส่งพระเทพมงคลเถระและบริวารไปถวายคัมภีร์พระไตรปิฎก จำนวน 60 คัมภีร์แก่พระเจ้าล้านช้าง
 ค.ศ.1525/ พ.ศ.2068  โปรดให้อัญเชิญพระแก่นจันทน์ไปประดิษฐานที่วัดโพธาราม (วัดเจ็ดยอด)
 ค.ศ.1526/ พ.ศ.2069  เดือน 3 ของ จ.ศ.887 เจ้าพรญาแก้วสิ้นพระชนม์เมื่อายุได้ 44 ปี กินเมือง 30 ปี พระราชโอรสองค์โตได้สืบราชสมบัติ.
  • โองการแช่งน้ำ อาจจะมีก่อนพระรามาธิบดีที่ 2 น่าจะเป็นภาษาเขมรมาก่อน โดยส่งผ่านมาจากชวา ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้องแช่งให้เป็นรูปธรรม เช่น จารึกคำแช่งลงบนหิน แล้วเอาน้ำราด ให้ผู้ถือคำมั่นสัญญาว่าจะจงรักภักดี ทหาร ข้าราชการ อำมาตย์ ดื่ม อาจจะเป็นน้ำที่ราดผ่านอาวุธด้วย จะได้ดูศักดิ์สิทธิ์.


ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับรัชกาลมหาราชเมืองแก้ว
1.  ภาพลักษณ์ของมหาราชเมืองแก้วในประวัติศาสตร์นิพนธ์ล้านนา.
     1.1  เป็นกษัตริย์เดียวที่ประกอบพิธีราชาภิเษก 3 ครั้ง
            ค.ศ.1518/พ.ศ.2061  สรงมูรธาภิเศกพระราชาธิบดี (ชินกาลฯ) ได้พระยาช้างเผือก
     1.2  การสร้างพระมณเฑียรสถานที่หริภุญชัยและที่เชียงใหม่
            ค.ศ.1512/พ.ศ.2055  สร้างราชมณเฑียรที่บ้านศรีบุญยืนที่แม่น้ำทั้งสองเข้ามาหากันด้านทิศเหนือหริภุญชัย.
            ค.ศ.1522/พ.ศ.2065  ให้เก็บหนังสือสัญญาพระราชไมตรี ที่พระเจ้าอริมัทนปุระกับหนังสือพระราชไมตรีของหงสาวดีไว้ที่เชิงพระธาตุหริภุญชัย.
                                         เจ้าราชบุตรชื่อ ชัยคงคา แห่งเชียงตุงมาถือน้ำพระพิพัท
     1.3  ศิลปวัฒนธรรมรุ่งเรือง
     1.4  "รุธิราช" ผู้คุ้มครองราชอาณาจักร การสร้างกำแพงเมืองลำปางและเชียงใหม่

2.  สถาบันกษัตริย์ล้านนา
     2.1  สิทธิธรรมในการเสด็จขึ้นครองราชย์
           ค.ศ.1495/พ.ศ.2038 ราชวงศ์ปกรณ์กล่าวว่าขุนนางถอดเจ้ายอดเชียงราย
           ค.ศ.1497/พ.ศ.2040 เมืองแก้วขอตราตั้งจากจีน
           ค.ศ.1514/พ.ศ.2057 โปรดให้สร้างศาลามหาวินิจฉัยในเชียงใหม่
           ค.ศ.1517/พ.ศ.2060 ก่อกำแพงเมืองเชียงใหม่ด้วยอิฐ
           ค.ศ.1516/พ.ศ.2059 โปรดให้ก่อกำแพงศิลาเมืองหริภุญชัย มีโวหริตมหาเสนาบดีเป็นหัวหน้าส้รางกำแพงในฤดูแล้ง
           ค.ศ.1520/พ.ศ.2063 ต้นปี โปรดให้ยกปราสาท 4 องค์ในพระราชวัง
           ค.ศ.1520/พ.ศ.2063 ราชาภิเสกเจ้าแก้วซ้ำเป็นครั้งที่ 3 เมื่อพระชนม์ได้ 39 ปี.
     2.2  บทบาทของพระราชมารดาและกลุ่มราชการ และระบบราชการ
     สมเด็จบพิตรพระสวัสติสรีธรรมจักกวัตติ มหาราชกับราชมาตามหาเทวี "พระเจ้าแม่ลูกทั้งสอง"
       รายชื่อบรรดาขุนทั้งหลาย : เจ้าหมื่นเชียงแสนคำล้าน / เจ้าเมืองนครสีทัตถมหาสุรมนตร / เจ้าหมื่นหนังสือติกผยา / "เจ้าหัว" แสนญาณกัลยากินเมืองพเยา / ปาเทพมหาอำมาตย์ / หมื่นมาลานคร / โวหริตมหาเสนาบดี / 
     2.3  ความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านและประเทศราช

3.  การสงคราม : ภาคสองของ "โยนรัฐ-อโยธยามหายุทธ์"
       ค.ศ.1506/พ.ศ.2049 เฒ่าเมืองคำข่ายฟ้าพาพวกมาสวามิภักดิ์ให้ไปกินเมืองแพร่แล้วย้ายไปเมืองเซิง
       ค.ศ.1507/พ.ศ.2050 ไปตีสุโขทัยแต่ไม่สำเร็จ
       ค.ศ.1508/พ.ศ.2051 ขะลาโหชาวใต้มาตีแพร่ เจ้าเมืองน่านไปรับศึก พ่ายแพ้เสียขุนหมื่นจำนวนมาก
       ค.ศ.1510/พ.ศ.2053 รบกับขะลาโหอีก เจ้าเมืองนครรบเอาชนะได้
       ค.ศ.1515/พ.ศ.2058 หมื่นมาลานครเอาพลไปรบกำแพงเพชร เอาไม่ได้ จึงไปตีสุโขทัยด้วย กษัตริย์อยุธยาได้เมืองลำปาง และยึดเอาพระพุทธสิขีไปจากวัดกู่ขาว.

4.  การพระศาสนา
       คณะสงฆ์ 3 คณะ : สวนดอก ยางควง ป่าแดง
       พระราชกรณียกิจด้านศาสนา: การคัดลอกพระไตรปิฎก การถวายพระไตรปิฎก 60 คัมภีร์แก่พระเจ้ากรุงล้านช้าง
       ค.ศ.1519/พ.ศ.2062 นำราชทูตของประเทศราชสรงน้ำพระสีหฬปกิมาและทรงสดับนิทานเรื่องมหาเวสสันดรและให้เขียนคัดไว้ เรี่ยไรเงินจากผู้ศรัทธาและทูตประเทศราช เอาเงินมาสร้างกำแพงพระมหาธาตุลำพูน ส่วนองค์พระมหาธาตุล้อมด้วยรั้วทองเหลือง อัญเชิญพระปฏิมาสัมริดหนักประมาณ 3 ล้าน (3,600 กิโลกรัม) ขึ้นประดิษฐานบนพระแท่นวัดกุมกามทีปาราม
       ค.ศ.1525/พ.ศ.2068 โปรดให้อัญเชิญพระแก่นจันทน์ไปประดิษฐานที่วัดโพธาราม

 
รายชื่อวัดและถาวรวัตถุที่สร้างและบูรณะ
 ค.ศ.1496/พ.ศ.2039   วัดบุพพาราม  ค.ศ.1497/พ.ศ.2040   สร้างปราสาทองค์หนึ่ง รามเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปท่ามกลางมหาวิหารวัดบุพพาราม
ค.ศ.1498/พ.ศ.2041  ฉลองพระไตรปิฎกฉบับลงทองและหอพระมณเฑียรที่สร้างไว้ในวัดบุพพาราม
 .... ฉลองวัดกุมารารามซึ่งพระนางสิริยสวดี พระราชชนนีได้สร้างไว้ ณ บ้านเกิดของพระนางที่เมืองกุสาวดี (เมืองหญ้าคา)
 ค.ศ.1511/พ.ศ.2054   ทำกำแพงล้อมพระธาตุเจดีย์หลวงสามชั้น ได้เงินเรี่ยไร หนัก 220,000 เอาเงินนั้นไปซื้อทองได้ทอง 25,000 เอามาตีเป็นแผ่นบุพระธาตุ
ค.ศ.1512/พ.ศ.2055  "พระมหาเทวีเจ้าตนย่าให้หมื่นหมอสุเมธานำพระพุทธรูปเจ้าองค์หนึ่งมาฐาปนาไว้ในสุวรรณอาราม อารามนี้คือหากเป็นนาบุญแต่พระมหาเทวีเจ้าตนย่ามาต่อเท่าเถิงพระเป็นเจ้า(ทั้ง)สองพระองค์บัดนี้แล" ค.ศ.1514/พ.ศ.2057  สร้างวิหารหลวงพระธาตุหริภุญชัย โปรดให้ขุดบูรณะฐานพระเจดีย์หลวง กลางเมืองเชียงแสน.
ค.ศ.1520/พ.ศ.2063  เมืองแก้ว กับพระราชมารดาให้จัดงานยกฉัตรพระมหาเจดีย์วัดทีฆาชีวิตสาราม ค.ศ.1523/พ.ศ.2066  สร้างพระวิหารหลวงวัดกู่คำ เวียงกุมกาม
 
 การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
 ค.ศ.1498/ พ.ศ.2041  ฉลองพระไตรปิฎกฉบับลงทอง
 ฉลองวัดกุมารารามซึ่งพระนางสิริยสวดี พระราชชนนีได้สร้างไว้ ณ บ้านเกิดของพระนางที่เมืองกุสาวดี (เมืองหญ้าคา)
 เจ้าหมื่นเชียงแสนคำล้านเอาวัดปราสาทถวายแก่ "สมเด็จบพิตรพระเป็นเจ้าทั้งสองพระองค์"
 ค.ศ.1500/ พ.ศ.2043  "สมเด็จบพิตรมหาราชเจ้าตนเป็นอธิบดีในศรีพิงคราษฎร์เชียงใหม่" กับพระกรรโลงรักอัครราชมาตา" มีญาณยุตวิสุทธศรัทธาในพระศาสนามากนัก มักให้มั่นคงเป็นเค้าเป็นมูลในหริปุยชบุรี ...อวยไอศวรสมบัติพัสดุทั้งหลายหมายมีต้นว่า สัปตรัตนะนองเนือง นำมาบูชาพระมหาธาตุเจดีย์เจ้าอันเป็นเหง้าเกล้าพระสุธาทุกปีมิได้ขาด.
 1.  สร้างพระธรรมมนเทียรอันอาเกียรณ์ด้วยคำมาส ด้วยสุพรรณบุษบา ผกาวัลย์เป็นอัศจรรย์อติเรก.
 2.  สมเด็จพระมหาราชเจ้าให้สร้างพระธรรมอันเป็นพุทะวาจาตราได้ 8 หมื่นสี่พันขันธ์ กับกันถันตรปกรณ์ สาตุถกถา ฏักานุฏีกาคณนาทั้งมวลได้ 420 คัมภีร์.
 3. ทรงสร้างพระพุทธรูปทองคำ จุ่งให้สมเด็จมหาราชเจ้าทั้งสองพระองค์ทรงธนสารสองประการ คือ อัชฌัตติกพาหิรธน อันบริบวรณ์ดี สมเด็จพระธรรมิกราชเจ้ากับพระอัครราชมาดาบพิตรก้อุทศพระราชกุศลและโกฐาส์ ...ให้แด่สมเด็จพระบิดา มหาอัยกะอัยกา.
 ค.ศ.1502/ พ.ศ.2045  "เจ้าหัว" แสนญาณกัลยากินเมืองพเยาอุทิศข้าคนสร้างวัด พระมหาราชเทวีเจ้า เจ้าหน่ายนางตนแม่ให้ฝังสีมาวัดพระ (ศรี) เกิด. 
 ค.ศ.1503/ พ.ศ.2046  เจ้าเมืองนครสีทัตถมหาสุรมนตรี หล่อพระเจ้าล้านทอง พระธาตุลำปางหลวง
 ค.ศ.1504/ พ.ศ.2047  ทำแบบปั้นหุ่นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่วัดบุปผาราม
 ค.ศ.1505/ พ.ศ.2048  หล่อพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ใช้ทองแดงหนักเรือนโกฏิ มีที่ต่อถึง 8 แห่ง
 ค.ศ.1521/ พ.ศ.2064  ต้นปี โปรดให้ขุดรากฐานพระเจดีย์หลวง ก่อตั้งแต่ฐานพระเจดีย์ขึ้นไปใหม่ องค์พระเจดีย์กว้างด้านละ 8 วา 2 ศอก สูง 14 วา 2 ศอก เขียนคัดพระไตรปิฎกในวัดป่าแดงมหาวิหารใหม่อีกครั้ง.
 ค.ศ.1522/ พ.ศ.2065  อัญเชิญพระพุทธรูปแก่นจันทน์แดงมาประดิษฐานที่วัดบุพพาราม พระยาอาทิตย์กินเมืองใต้ส่งราชทูตมา โปรดให้ไปนมัสการพระแก่นจันทน์ที่วัดบุพพาราม.
 โปรดให้นำพระกัมโพชไปบูชาที่ปราสาทหอคำ
 โปรดให้ราชทูตอโยธยาไปนมัสการพระบรมสารีริกธาตุหริภุญชัย
5.  ความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม
       5.1  พุทธศึกษา
       5.2  ด้านอักษรศาสตร์และวรรณกรรม
              รุธิราชรำพัน (นิราศหริภุญชัย) มหาราชเมืองแก้วทรงเริ่มแต่งเมื่อวันอังคารที่ 13 ตุลาคม ปีฉลู จ.ศ. 869/ค.ศ.1517 หรือ พ.ศ.2060.

 
info@huexonline.com