MENU
TH EN

ล้านนามหาปกรณัม ตอนที่ 1

Title Thumbnail & Hero Image: ภาพพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน ที่มา: Facebook ห้อง "อนุรักษ์พระเชียงแสน พระลำพูน" โดยผ่านห้อง "เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น", วันที่เข้าถึง 21 กรกฎาคม 2563.
ล้านนามหาปกรณ์ ตอนที่ 1
First revision: Oct.30, 2020
Last change: Jan.31, 2021

     ผมใช้ข้อมูลหลักจากการบรรรยายของ ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร ที่ได้บรรยายตามสื่อต่าง ๆ และที่จะท่านจะได้บรรยาย "ล้านนามหาปกรณัม" ให้กับผู้สนใจตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 มาแสดงในบล็อกนี้ โดยเสริมเนื้อหาที่ได้ค้นคว้าจากแหล่งต่าง ๆ มาประกอบโดยอ้างอิงด้วยความเคารพ

1. โคลงนิราศหริภุญชัย: มรดกความทรงจำแห่งนครเชียงใหม่และหริภุญชัย
จาก: https://drive.google.com/file/d/164A2li_B5WZlfd46eUuFQzz94z_VmmKN/view?usp=sharing
     เป็นการสนทนาที่เชียงใหม่ โดย อาจารย์ ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร มี อ.ณัฐพงษ์ ปัญจบุรี เป็นผู้ดำเนินรายการ
  • อาจารย์ทำโครงการสำรวจเชียงใหม่และประเพณี ด้วยอาจารย์วินัยท่านเป็นนักประวัติศาสตร์ ที่ผ่านมาเรามองข้ามอาณาจักรล้านนา มักจะสนใจสุโขทัย อยุธยา โดยแท้จริงแล้วอาณาจักรอาณาจักรล้านนานั้นกว้างใหญ่ไพศาล ครอบคลุมไปด้านทิศตะวันตกขยายไปชนถึงแม่น้ำสาละวิน กระเหรี่ยง ไทยใหญ่ส่งบรรณาการมาให้เชียงใหม่ ทางทิศเหนือ อาณาจักรล้านนาขยายไปถึงเชียงรุ้ง.
  • ที่ผ่านมาเรามักเรียนประวัติศาสตร์สายตรง สุโขทัย อยุธยา กรุงธนฯ รัตนโกสินทร์ ...สมควรแล้วที่ต้องศึกษาล้านนาอย่างจริงจัง จากหนังสือ Travel & Leisure เคยให้ความนิยมทางการท่องเที่ยวเชียงใหม่ เป็นอันดับที่ 3 หรือบางครั้งเป็นอันดับที่ 1 ของโลก.
  • ค.ศ.1864-6 ร.4 ได้ท่องเที่ยวมายังเมืองเชียงใหม่ ซึ่งขณะนั้นยังไม่เป็นประเทศราชของไทย ร.4 บันทึกไว้ถึงความสวยงามของเชียงใหม่
  • หริภุณไชย เป็นเมืองเก่าแก่คู่กันที่สำคัญกับเชียงใหม่ ศาสนสถานที่สำคัญของเชียงใหม่ คือพระธาตุดอยสุเทพ และวัดเจดีย์หลวง (สมัยพระเจ้าแสนเมืองมา) แต่เมื่อเทียบกับหริภุณไชยแล้วแตกต่างกันมาก ร่วมพันกว่าปี, พิงครัฐเป็นอาณาจักรมอญ เชียงรายเรียกโยนรัฐ พระยามังรายรวมสองอาณาจักร ท่านประทับเชียงใหม่ ด้วยเป็นศูนย์กลางทางอาณาจักร แต่ให้หริภุณไชยเป็นศูนย์กลางทางพุทธจักร.
  • ปัญหาคือเราเน้นเชียงใหม่มากกว่าหริภุณชัย (ลำพูน) ลำพูนมีความสำคัญมากจนถึงสมัยรัฐกาลที่ 5 กำแพงเมืองยิ่งใหญ่มาก ปัจจุบันก็ทรุดโทรมโรยราไป
  • ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับอาณาจักรล้านนาเท่าที่ควร มีงานเขียนของชาวฝรั่งเศส: เลอแฟต เดอ ฟอง ตาตีน กล่าวถึงชาวปาไป่แห่งล้านนา แสดงว่ามีเอกสารจีนเกี่ยวกับเชียงใหม่นั้นมี. จึงต้องศึกษาว่าทางเมืองจีนเข้าบันทึกเกี่ยวกับเชียงใหม่ไว้อย่างไร.
  • ท่านอาจารย์วินัยได้ติดต่อกับส่วนงานด้านประวัติศาสตร์ที่ยูนนาน แปลมาเป็นหนังสือแจก ตอนนี้หายากมาก และมีความสำคัญ.
  • โคลงเมิงเป้า: โคลงนิราศหริภุณชัย ไม่ได้บอกผู้แต่ง ปีแต่ง ซึ่งได้ซ่อนปริศนาไว้ น่าสนใจมาก. งานวรรณกรรมที่เก่ากว่าเช็คสเปียร์ ชั้นยอดดีกว่าลิลิตพระลอ.
    โคลงนี้ บันทึกเรื่องออกเดินทางจากตะวันออกของวัดพระสิงห์ แล้วลงไปใต้ ผ่านไปสามสิบกว่าวัด น่าสนใจมากกว่า แสดงตำแหน่งวัดที่มีอยู่ห้าร้อยกว่าปีแล้ว.
  • ท่านอาจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ได้ศึกษาโคลงนี้ นำมาบันทึกไว้น่าสนใจ อาจารย์วินัย นำมาชำระ นำมาตีความกันใหม่ มีการใช้ภาษาเก่า ล้านนาศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง เป็น Scholarship ด้านพระพุทธศาสนา ศึกษาบาฬีละเอียด มีการแผลงกันมา และบาฬีมีการแปลความหมายได้หลายอย่าง ส่งผลถึงจารึกที่อยู่ในอาณาจักรสุโขทัย.
  • มหาราชเมืองแก้ว น่าจะเป็นผู้แต่งโครงนิราศหริภุณชัยนี้ ซึ่งจะเป็นใครไปไม่ได้ ด้วยมาตรฐานด้าภาษาบาฬีท่านมีสูงมาก.
  • คัมภีร์บาฬีของเชียงใหม๋ มีอิทธิพลต่อการศึกษาภาษาบาฬีของพม่ามาก โดยเฉพาะชินกาลมาลีวงศ์ หรือ ชินกาลมาลีปกรณ์.
 
 

การบรรยายเรื่อง
ล้านนามหาปกรณัม
ความทรงจำแห่งอภินวบุรี - ศรีหริภุญชัย
ตั้งแต่วันพุธที่ 2 ธันวาคม 2563
ณ ห้อง 601 ชั้น 6 อาคารศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ
เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี แขวง/เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170
โดย อาจารย์ ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร

1.   วัตถุประสงค์
      1)  เพื่อเผยแพร่ผลงานโครงการวิจัย "นิราศหริภุญชัย" มรดกความทรงจำแห่งนครเชียงใหม่และหริภุญชัย: การศึกษายอดวรรณกรรมแห่งล้านนาในเชิงสหสาขาวิชาและประโยชน์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรมของเมืองหลัก-เมืองรอง" (ส่วนที่ 2) รูปแบบของการบรรยายพิเศษแบบต่อเนื่องจำนวน 12-15 ครั้ง ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่นักวิชาการ มัคคุเทศก์ และบุคคลทั่วไป.
      2)  เพื่อประชาสัมพันธ์หนังสือ "ล้านนามหาปกรณัม: มรดกความทรงจำแห่งอภินวบุรีศรีหริภุญชัย" ซึ่งเป็นผลงานที่เสนอความรู้ใหม่ในเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนา โดยเน้นนครเชียงใหม่และหริภุญชัย ทั้งนี้เพื่อเป็นฐานวิชาการในการใช้ทุนวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว.
      3)  เพื่อส่งเสริมบทบาทของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ในฐานะศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้และการให้บริการแก่สังคม รวมทั้งการผลิตสื่อดิจิทัลเพื่อการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้.

 
ภาพวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ เมื่อ 98 ปีก่อน ใน นิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับ มีนาคม ปี 1922 บทความเขียนโดย ดร. โจเซฟ ร็อค เล่าเรื่องการตามหาไม้กระเบา ที่สามารถใช้รักษาโรคเรื้อนได้ ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญ ด้านพันธ์ุพืช ของ กระทรวงเกษตร สหรัฐอเมริกา ท่านมาเยือนสยาม เที่ยววัดเชียงใหม่ ล่องเเม่ปิง เข้าไปพม่าเมื่อราวเก้าสิบปีก่อน ท่านได้แวะวัดพระสิงห์ที่เชียงใหม่ด้วย ที่น่าสนใจที่สุด คือ ท่านเล่าว่า เมื่อปี ุค.ศ.1922  (พ.ศ.2465) นั้น ท่านได้เข้าไปถ่ายภาพในวิหารลายคำ และภาพฝาผนังจิตรกรรมที่วาดโดยเจ็กเส่งนั้น ทุกด้านด้วย โดยแกะกระเบื้องมุงหลังคาบางส่วนให้มีแสงลอดเข้า หมายความว่า เรา มีฟิลม์ภาพฝาผนังที่สมบูรณ์แบบ ปรากฎอยู่ในหนังสือ เนชั่นแนลจีโอกราฟฟิค ฉบับเดือนมีนาคม ปี ค.ศ.1922, ที่มา: Facebook ห้อง"เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น", วันที่เข้าถึง 30 กรกฎาคม 2563.
 
กำหนดการและเนื้อหาการบรรยาย ครั้งที่ 1-19
 
 ครั้งที่ 1: ศุกร์ที่ 4 ธันวาคม 2563  ความสำคัญของอาณาจักรล้านนาใน "ประวัติศาสตร์ชาติไทย".
 1. การรับรู้ของคนไทยในปัจจุบัน และประวัติศาสตร์นิพนธ์ล้านนา.
 2. หลักฐานสำคัญในการรื้อร้างสร้างใหม่ประวัติศาสตร์ล้านนา.
 3. ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ล้านนา.
    3.1 หริภุญชัยและเชียงใหม่ในฐานเมืองหลัก-เมืองรอง.
    3.2 พัฒนาการทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม: การศึกษาในเชิงวิเคราะห์.
    3.3 จารึกศึกษา.
    3.4 ประเด็นศึกษาเฉพาะที่สำคัญ.
 4. คุณูปการของงานวิจัย.
 ครั้งที่ 2:  ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์
 1. ดินแดนล้านนาในบริบทของประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนบน.
    1.1 ความสำคัญของภูมิ-รัฐศาสตร์ ชาติพันธุ์ดั้งเดิม การตั้งถิ่นฐานบ้านเมือง.
    1.2 ถิ่นเดิมและการขยายตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 9-11.
      คำสำคัญ: หนานเจ้า อ้ายลาว (ลาว เหมาหนาว/มู่ลัม/หมู่ลาว อาหนาน/อ้ายหนาน สุย/อ้ายซุย) ไทกวางสี (ไทนุง ผู้ไต้/ผู้ไท ผู้น่ง ผู้ถู่/ขันหมาก เมิง กู ผู้ก้ำ/แอ่วสาว แอ่วเมิง ผู้เย้ย/ผู้ใหญ่) เผาไต/เผ่าไท กาว ซ่าว เลิง ฯ.
 2. กำเนิดเมืองหริภุญชัยและพิงครัฐ
.
     2.1 จินตนทัศน์ตำนาน.
     2.2 หลักฐานประวัติศาสตร์.
 ครั้งที่ 3:  หริภุญชัยและพิงครัฐ (คริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13).
 1. จามเทวีในความทรงจำของท้องถิ่นและความสำคัญในประวัติศาสตร์นิพนธ์ล้านนา.
 2. เรื่องราวขุนหลวงวิลังคะ (ตำนาน) VS การรุกรานของมหาราชโก๊ะล่อเฝิงแห่งหนานเจ้า (ประวัติศาสตร์).
 3. หริภุญชัยในฐานะศูนย์กลางแห่งอารยธรรมพุทธ.
      อาทิจจราช (อาทิตยราช) กับการสถาปนาพระบรมสารีริกธาตุ (พระเจดีย์หลวง) หริภุญชัย / ธรรมิกราชกับการหล่อพระอัฏฐารส / สรรพสิทธิราชกับการสร้างบูรณะพระเจดีย์หลวงหลังแผ่นดินไหว.
 ครั้งที่ 4:  โยนรัฐ พรญามังรายหลวงและการสถาปนาราชวงศ์ใหม่.
 1. ภูมิหลังก่อนการสถาปนาโยนรัฐและราชวงศ์มังราย.
    1.1 ตำนานลาวจง (ลวจังกราช).
    1.2 การเชื่อมโยงกับตำนานขุนเจื๋อง.
 2. การทำสงครามแผ่พระราชอำนาจในดินแดนล้านนา.
 3. เหตุการณ์สำคัญในรัชกาล.
    3.1 การรวมพิงครัฐและโยนรัฐ.
    3.2 การสร้างนครเชียงใหม่.
 ครั้งที่ 5:  ความสัมพันธ์และการสงครามกับราชวงศ์หยวน.
 1. บริบทของการสงคราม.
 2. พรญามังรายหลวงกับการแผ่พระราชอำนาจในพม่า.
 3. ผลกระทบของการสงครามกับราชวงศ์หยวน.
 ครั้งที่ 6:  ความรุ่งเรืองของโยนรัฐในรัชสมัยพรญามังรายหลวง.
 1. ด้านการพระศาสนา.
 2. ด้านนีติศาสตร์: มังรายราชศาสตร์.
 3. ด้านภูมิปัญญา: คำสอนพรญามังรายหลว์ (หลวง).
 ครั้งที่ 7:  ความแตกแยกของราชวงศ์มังรายในรัชกาลขุนคราม.
 1. ขุนครามกับการย้ายเมืองหลวงไปที่เชียงราย.
 2. ความสัมพันธ์กับราชวงศ์หยวน: เจาปู่จ่งลู่.
 3. ความแตกแยกระหว่างพระราชโอรสของขุนคราม.
 4. พิงครัฐแยกตัวเป็นอิสระ.
 ครั้งที่ 8:  รัชกาลพรญาแสนภูถึงสิ้นรัชกาลพระยาผายู.
 1. การสร้าง และย้ายเมืองหลวงไปเชียงแสน.
 2. เอกสารจีนกับการตรวจสอบปีรัชกาลพรญาคำฟูและพรญาผายู (หริปรยู).
 3. พรญาคำฟูย้ายเมืองหลวงกลับมาที่เชียงใหม่.
 ครั้งที่ 9:  ความรุ่งเรืองของล้านนาในรัชกาลท้าวสองแสนนา "พรญากือนา" หรือ "กิลนา".
 1. การเสด็จขึ้นครองราชย์ที่เชียงใหม่และพรหมราชาที่เชียงราย: จารึกสัตยาธิษฐานระหว่างพี่น้อง.
 2. ความสัมพันธ์กับจีนและสุโขทัย.
 3. การประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกา-รามัญวงศ์: จารึกวัดพระยืน และการสร้างวัดบุปผาราม (สวนดอกไม้).
 4. ความเจริญด้านนีติศาสตร์: การวางรากฐานกระบวนการพิจารณาความ.
 5. พรหมราชา: ภาพลักษณ์ของกษัตริย์ผู้มีบารมี.
 ครั้งที่ 10:  รัชกาลมหาราชแสนเมืองมา (ตาวป่านเหมี่ยน) และมหาราชท้าวสามฝั่งแก่น (ตาวเจ้าส้าน).
 1. รัชกาลแสนเมืองมา.
  • การแย่งชิงราชสมบัติตอนต้นรัชกาล: การรบชนะพรหมราชาและได้สัญลักษณ์แห่งความชอบธรรม การเชิญพระสิงห์มาเชียงใหม่เพื่อประดิษฐานที่พระเจดีย์หลวง.
  • ความสัมพันธ์กับราชวงศ์หมิง.
  • ความขัดแย้งกับรัฐไตมาวโหลง (ไทมาวโหลง).
  • การสร้างวัดพระเจดีย์หลวงอุทิศแด่มหาราชกือนา.
  • การแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระราชโอรสท้าวยี่กุมกามอุปราชเมืองเชียงรายกับท้าวเจ้าสามพระอนุชา.
 2. รัชกาลมหาราชท้าวสามฝั่งแก่น.
  •  ความขัดแย้งกับจีนราชวงศ์หมิง: สาเหตุ, การเสียเมืองเชียงแสน เมืองสาย และเชียงใหม่.
  • การสืบชะตาเมือง: บทสวดอุปาตะสันติของพระศีลวงศ์เถระ.
  • จีนรับรองความเป็นรัฐบรรณาการของปาไป่ต้าเตี้ยน (เชียงใหม่) และปาไป่เจ้อไน่ (เชียงราย).
  • ความขัดแย้งด้านการพระศาสนา: การเข้ามาของลัทธิลังกาวงศ์ใหม่ และการตั้งคณะสงฆ์สำนักวัดป่าแดงของพระธรรม/ญาณคัมภีร์ และพระเมธังกร.
  • ตาวเจาลูก/เจ้าลกเป็นกบฏถอดมหาราชท้าวสามฝั่งแก่นออกจากราชบัลลังก์.
 ครั้งที่ 11:  ความสำคัญของรัชกาลติลกมหาราช (พระเจ้าติโลกราช) ในประวัติศาสตร์ล้านนา.
 1. กษัตริยภาพ: ปัญหาสิทธิธรรมและการสร้างความชอบธรรม.
  • การเกื้อกูลกันระหว่างสถาบันกษัตริย์กับการสนับสนุนคณะสงฆ์ลังกาวงศ์ (สำนักวัดป่าแดง).
  • การเสด็จออกทรงผนวช.
  • การรับลายจุ้มลายเจียจากราชสำนักจีน.
 2. อภินวบุรี - ศรีอโยธยามหายุทธ์.
  • สาเหตุของสงคราม.
  • สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ยกกองทัพไปตีเมืองเชียงทองและเชียงใหม่.
  • การเข้ามาสวามิภักดิ์ของเจ้ายุธิษเฐียร.
  • ผลของการสงคราม.
 3. สงครามล้านช้าง - ไดเวียด: ความเกี่ยวพันของโยนรัฐและจีน.
  • สาเหตุของสงคราม.
  • บทบาทของท้าวขาก่านในการต่อต้านการรุกรานของทัพไดเวียด.
  • ผลของสงคราม.
 4. ระบบการปกครองและการดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง.
  • การลดความสำคัญของการส่งเจ้าไปปกครองหัวเมือง.
  • การควบคุมพวกขุน.
 5. การทำสงครามเพื่อความมั่นคงของราชอาณาจักร.
 6. การพระศาสนา.
  • การชำระสถาบันสงฆ์ให้บริสุทธิ์.
  • การชำระพระไตรปิฎก.
  • การประดิษฐานพระแก้วมรกต ณ วัดเจดีย์หลวง.
  • การบูรณะพระบรมสารีริกธาตุ หริภุญชัยและการสร้างวัดสำคัญ.
  • การหล่อพระพุทธรูปแบบลโวทัยปุระ.
 7. ภาพลักษณ์โดยรวม.
 ครั้งที่ 12:  รัชกาลมหาราชเมืองแก้ว: ความรุ่งเรืองครั้งสุดท้าย.
 1. การขึ้นครองราชย์ของยุวกษัตริย์และบทบาทของพระกันโลงแม่.
  • การขึ้นมามีบทบาทและอำนาจของเจ้าขุนในเค้าสนามหลวง.
 2. การสงครามเพื่อป้องกันราชอาณาจักร.
  • สงครามกับอโยธยาสมัยสมเด็จพระรามาธิบดี (อาทิตยวงศ์).
  • สงครามปราบปรามเงี้ยว (รัฐไทใหญ่).
 3. การพระศาสนา.
  • ความรุ่งเรืองของลัทธิลังกาวงศ์และสำนักวัดป่าแดง.
  • การสร้างวัดบุพพารามเป็นวัดประจำพระองค์.
  • การบูรณะพระเจดีย์หลวง (เชียงใหม่) พระเจดีย์หลวง (เชียงแสน) พระเจดีย์หลวง (หริภุญชัย).
  • การจำลองพระไตรปิฎกฉบับปิดทอง.
  • การหล่อพระพุทธรูปสำคัญ.
 4. ความรุ่งเรืองด้านอักษรศาสตร์.
  • ปาลีศึกษาและวรรณกรรมปาลี.
  • พระราชนิพนธ์โคลง: รุธิราชรำพัน (โคลงเมิ้งเปล้า/โคลงหริภุญชัย).
 ครั้งที่ 13:  การล่มสลายของอาณาจักรล้านนา.
 1. ลูกขุนขึ้นมาเป็นใหญ่สามารถบงการเลือกและถอดถอนกษัตริย์ได้จนไม่มีเชื้อวงศ์มังรายรับอัญเชิญเป็นกษัตริย์.
 2. ลูกขุนที่เป็นใหญ่แข่งขันอำนาจและระแวงกันทำให้เกิดสงครามกลางเมือง.
 3. พระนางจิรประภามหาสุทธ มหาเทวีในพรญาเกศเกล้าได้รับเชิญขึ้นเป็นกษัตริย์ แต่ลูกขุนได้ไปเชิญพระอุปโยราช โอรสของกษัตริย์ล้านช้างมาเสวยราชย์.
 4. พระอุปโยราชรับราชสมบัติอยู่เพียง 2 ปีก็กลับไปเมืองหลวงพระบาง ในระหว่างนั้นเกิดจลาจลในกลุ่มลูกขุนขันคำทั้งห้า และการรุกรานจากภายนอก อีกสามปีต่อมาเจ้าอุปโยราชได้ขอเวนเมืองเชียงใหม่แก่พระนางจิรประภาตามเดิม.
 5. การยกทัพขึ้นมาเชียงใหม่ของสมเด็จพระชัยราชาธิราช.
 6. ลูกขุนเชิญพรญาแม่กุเจ้าเมืองนายมาสืบราชสมบัติ แต่ก็เสียเมืองแก่พระเจ้าบุเรงนองถึงสองครั้ง.
 7. บุเรงนองอภิเษกให้วิสุทธเทวีกินเมืองเชียงใหม่.
 8. เหตุแห่งการเสียเมือง.
  • ปัจจัยภายใน.
  • ปัจจัยภายนอก.
 ครั้งที่ 14:  ระบบการเมืองการปกครอง.
  • สถาบันกษัตริย์ที่ยอมรับราชวงศ์เดียวเท่านั้น.
  • โครงสร้างระบบการปกครอง.
   พระเจ้าแผ่นดิน
"มหาราช"
 เจ้าอุปราช                                                                         เจ้าราชบุตร
 
   เจ้าขัน 5 ตน
เถ้าเมือง                                                                                    สิงเมือง

เค้าสนามหลวง
เจ้าเมือง                                                                                    เจ้านาย
เจ้าขุนขันคำทั้ง 5
 
   ข้าราชสำนัก     ตระลาการ     ข้าราชการทำหน้าที่เฉพาะทาง     ขุนทหาร
   
 ครั้งที่ 15:  เศรษฐกิจและการค้าของเชียงใหม่และหริภุญชัย.
  • ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ.
  • เครือข่ายการค้าภายในและภายนอก.
  • ส่วนไร ส่วยเชา ขุมหลวง.
 เศรษฐกิจเมือง.
  • กาดประเภทต่าง ๆ และสินค้า.
  • เงินตรา: เงินจีน เงินเจียง พดด้วง เงินแท่ง ทองแท่ง ตราชู.
 เศรษฐกิจชนบท.
  • เศรษฐกิจแบบยังชีพ.
  • ระบบแลกเปลี่ยนสินค้า.
  • เศรษฐกิจแบบกึ่งใช้เงินตรา.
 กฎหมายว่าด้วยการค้าขาย.
 ครั้งที่ 16:  สังคมและวิถีชีวิต.
 1. กลุ่มชาติพันธุ์ ชนชั้นและการเลื่อนชั้นทางสังคม.
 2. กฎหมายกับสังคม: รัฐกับการควบคุมประชากร.
 3. การศึกษา อาชีพ และนันทนาการ.
 4. คติความเชื่อกับการดำเนินชีวิต.
  • พุทธศาสนา.
  • คำสอนพระยามังรายหลวง.
  • ฮีต คอง ราชประเพณี ราชศาสตร์.
  • สถานภาพสตรี.
 ครั้งที่ 17:  พุทธศิลป์แผ่นดินพิงครัฐ: แรงบันดาลใจ รูปแบบ สุนทรียภาพ.
 1. สถาปัตยกรรมศิลป์.
 2. ประติมากรรม.
 3. ทัศนศิลป์.
 ครั้งที่ 18:  นาฏ-ดุริยศิลป์แห่งอภินวบุรี-ศรีหริภุญชัย.
 1. แรงบันดาลใจ.
  • ศิลปะเพื่อความบันเทิง.
  • ศิลปะประกอบพิธีกรรม.
 2. ดุริยสังคีตแห่งเวียงพิง.
  • เครื่องดนตรีล้านนา.
  • นักดนตรี.
  • เนื้อหา.
 3. เอกลักษณ์แห่งนาฏศิลป์เชียงใหม่และหริภุญชัย.
  • เนื้อหา.
  • รูปแบบ.
  • ลีลา.
  • สุนทรียภาพ.
 ครั้งที่ 19:  เชียงใหม่ในฐานะศูนย์กลางแห่งภูมิปัญญาล้านนา: อักษรินรัตน์-วิวัฒน์วรรณกรรม.
 1. ภูมิหลัง:
  • รากฐานภูมิปัญญาลาวยวนเดิม.
  • อิทธิพลของการรับนับถือพุทธศาสนา.
  • การผสานคติความเชื่อท้องถิ่นกับปรัชญาพุทธ.
 2. อักษรินรัตน์-วิวัฒน์วรรณกรรม.
  • การประดิษฐ์อักษร.
    • อักษรฝักขามจากอักษรสุโขทัย และอักษรธรรมจากอักษรมอญ.
  • อัจฉริยภาพด้านอักษรศาสตร์และวรรณกรรมของลาวยวน.
    • ฉันทลักษณ์ลาวยวน: ร่าย/โคลง/ค่าว/และการขับ.
 3. พุทธศึกษาและปาลีศึกษา.
  • แรงกระตุ้นที่มาจากสังฆเภท.
  • พระเถระนักปราชญ์กับวรรณกรรมบาลีที่สำคัญของล้านนา.
 4. วรรณกรรมทางโลกย์.
  • รุธิราชรำพัน (โคลงเมิ้งเปล้า หรือนิราศหริภุญชัย).
  • โคลงมังตรารบเชียงใหม่.
  • วรรณกรรมบำรุงปัญญา (วรรณกรรมคำสอน).
 5. ผลกระทบของวรรณกรรมล้านนาต่อวรรณกรรมไทย.
 ครั้งที่ 20:  พระพุทธรูปและพระอารามสำคัญแห่งอภินวบุรี-ศรีหริภุญชัย.
  1. พระพุทธรูปสัญจร: ตำนานและความหมาย.
  2. พระพุทธรูปสำคัญที่ควรรู้จัก.
 ครั้งที่ 21:  เชียงใหม่และลำพูนในสายตาของอาคันตุกะ.
  1. หยวนสื่อและหมิงสือลู่.
  2. Ralph Flyche
  3. Sir Robert Schomburgh
  4. Captain Thomas Lowdnes
  5. Daniel McGilvary
  6. Carl Block
  7. Sir. Emest Satow
  8. Arhibald Colquhoune
  9. Holt Hallet
  10. Francois Gamier
  11. Pierre Oode
  12. Lilian Curtis
 
 
  • ความสำคัญของนครเชียงใหม่ ทำให้เราต้องสนใจประวัติศาสตร์ของตัวเอง
มรดกวัฒนธรรม: ด้านศิลปกรรม พุทธศึกษา ภูมิปัญญา นิติศาสตร์ วรรณกรรม
  • ในทางนิติศาสตร์นั้น มีความเจริญกว่ารัฐอื่น ๆ
  • มีเอกสารได้จากเมืองเชียงรุ้ง หรือเช่อลี่ เป็นมังรายวินิจฉัย
  • เมื่อ 400 ปีที่แล้วเชียงใหม่มีประชากรราว 4-5 หมื่นคน
  • บริบทประวัติศาสตร์ มีสองเรื่อง หนึ่ง) เรื่องจริง สอง) เรื่องที่อยากให้เป็น ตามแนวทางของ ศ.ดร.เจตนา นาควัชระ.
  • พระยาเม็งราย ในเอกสารชั้นต้นไม่มี มีแต่ มังราย หรือกษัตริย์แห่งเมืองราย (มัง เป็นภาษามอญ) เพราะเราไปอ่านประวัติศาสตร์ลาวเฉียง ต่อมาเป็นพงศาวดารโยนก มีการพิมพ์ 8-9 ครั้ง เพราะมีเกร็ดประวัติศาสตร์ และงานฝรั่ง คนติดตามกันมาก
  • เหตุที่เปลี่ยนจาก มังราย เป็นเม็งราย เพราะมีข้อพิพากกับอังกฤษ (เพราะหากเรียกมัง...ก็จะเป็นมอญ อังกฤษก็จะอ้างเอาได้ ซึ่งก็ไม่เหตุผล เพราะหากอังกฤษจะเอา ก็เอาได้)
  • กรมหลวงวงศาธิราชสนิท (หมอยา) ร.5 ให้คุมกองทัพไปตีเชียงตุง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะหนทางไกล และเป็นหมอยา ไม่เข้มแข็งพอ
  • พงศาวดารโยนก ไม่ได้เป็นเอกสารชั้นต้น ซึ่งเขียนเรียบเรียงใหม่ ไม่ควรอ้างนำมาใช้
  • ยุคไทยนิยม: มีการเปลี่ยนหมดเลย เช่น ล้านนา บรรพบุรุษเป็นลาว แต่จริง ๆ เป็น ลาวจง หรือ ลวจักราช โยนรัฐ มีเมืองเชียงรายเป็นเมืองหลวง ส่วนพิงครัฐ มีเมืองหริภุญชัยเป็นเมืองหลวง ตอนหลังก็รวมลำพูนกับเชียงใหม่ไว้ด้วยกันเป็นพิงครัฐ (ใหม่) พิงครัฐ มาจากรัฐแห่งแม่น้ำปิง


 
  • การศึกษาเรื่องราวในอดีต ตำนาน ประวัติศาสตร์ เราต้องมีการประเมินก่อน เพราะมีความเอนเอียงอยู่บ้าง ต้องมีการสืบสวนหลักฐานชั้นต้น
  • เราต้องศึกษาภูมิหลังทางประวัติศาสตร์
  • เรื่องแรก: เราต้องศึกษา ความสำคัญของภูมิรัฐศาสตร์ ชาติพันธุ์ดั้งเดิม การตั้งถิ่นฐานบ้านเมือง
  • เดิมเรามักแบ่งการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ออกเป็นสองส่วน คือ หนึ่ง) ภาคพื้นสมุทร สอง) ภาคพื้นทวีป
  • อาจารย์วินัยเสนอให้ศึกษา --> ภาคพื้นสมุทร ภาคพื้นทวีป และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนบน
  • การเดินเรือสมุทร มีความสำคัญ ผู้คนบนภาคพื้นทวีปจะเป็นการตั้งหลักปักฐาน การทำเกษตรกรรม เส้นทางสัญจร (แม่น้ำ) จะไม่ได้เป็นเส้นการค้าเศรษฐกิจ เส้นทางระบบเศรษฐกิจจะเป็นเรือ
  • ทางตอนเหนือของพม่า เหนือไทย ตั้งแต่ศรีสัชนาลัยขึ้นไป ลาว ---> เป็นเข็มขัดที่พาดจากทางตะวันออกไปตะวันตก การค้าทางกองคาราวานจะมีส่วนสำคัญ ในการเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน. ปัจจุบันก็ยังมีกองคาราวาน จากบรรทุกด้วยฬ่อ ก็เป็นรถยนต์
  • เรื่องของอาณาจักรโยนรัฐ ที่จะเป็นล้านนาในสมัยหลัง จะไม่ผูกพันกับผู้คนทางใต้ แต่จะผูกพันกับยูนนาน ลาว กับพม่าตอนเหนือ และเวียดนามภาคเหนือ เหมือนเป็นโลกอีกโลกหนึ่ง.
  • เมื่อครั้
  • พญามังรายหลวง ได้โจมตีหริภุญชัยได้สำเร็จ มีข้อความในราชวงศ์ปกรณ์เชียงใหม่ "เมืองหริภุญชัย มีกษัตริย์ปกครองมา 25 พระองค์ หลังจากนั้นมาก็จะเป็นวงศ์ของพระยาลาว" หมายความว่า ... การรับรู้ของคนในอาณาจักรล้านนาเป็นลาว ลาวยวน
  • ในเอกสารกฎหมายมังรายวินิจฉัย ในบานแพนก เขียนว่า "ลาวจง" เป็นการ identified ตัวตนด้วยภาษาและการแต่งกาย
  • สัตตปัญญาตบุรี ....หมายถึงเมืองขึ้นทั้ง 57 ของล้านนา ช่วงหนึ่งล้านนามีอำนาจสูงมาก ๆ ....แต่จากการสืบค้น ก็มีถึง 60-63 หัวเมือง ซึ่งมากกว่าที่บันทึกไว้.
  • เรื่องของชาวโยนก นาคพันธุ์ เชียงแสน ...คำอธิบายถึงการดำรงอยู่ของชาวลาวโยนก หรือ ลาวยวน เรื่องราวในประวัติศาสตร์ เป็นประวัติศาสตร์สร้าง ไม่ใช่ประวัติศาสตร์ข้อเท็จจริง.
  • จีน: กลุ่มคนไทยในกวางซี เป็นกลุ่มใหญ่ จีนจะเรียกว่า "จ้วง" เอกสารของเวียดนามเรียกกลุ่มคนไทยพวกนี้ว่า "น่ง ไทน่ง หรือ ไทโท้ว" ...มีคำนำหน้าว่า "ผู้" เช่น ผู้ไต้/ผู้ไท ผู้น่ง ผู้ถู่ / ขันหมาก เมิง กู ผู้ก้ำ / แอ่วสาว แอ่วเมิง ผู้เย้ย/ผู้ใหญ่ เผ่าไต/เผ่าไท กาว ซ่าว เลิง ฯ.
  • ถิ่นเดิม และการขยายตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 9-11. ....Ailao (อ้ายลาว)
  • ชาวสยาม หรือ ฉาน เรียกตัวเองว่า ไท ไต ...หมู่บ้านทางตะวันออกเรียก ปก ...แว่นแคว้น
  • อาณาจักรล้านนา ...การเคลื่อนตัวของผู้คนทางใต้ของยูนนาน ....หากไปดูเทือกเขาไอ่หลาว ไอ่หล่าวซาน เทือกเขาอ้ายลาว ....มีข้อมูลจากราชวงศ์จีน ...มีการส่งทูตไปจีน อ้ายลาว หมายถึงการเรียกผู้นำ ไม่ใช่เรียกรัฐ
  • ตัวแปรที่กำหนดการเปลี่ยนแปลงในดินแดนอ้ายลาว คือ อาณาจักรน่านเจ้า ปี ค.ศ.832 ในรัชกาลของมหาราชโก๊ะล่อเฟิง ได้แผ่อำนาจลงมา เกี่ยวข้องกับเส้นทางสายไหม (พบสินค้าจากเสฉวนที่แถบอัฟกานิสถาน) ตีพม่าปัจจุบัน ตีอาณาจักรเพียว หรือ พยู (Pyu) ซึ่งเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่มาก ตีไปถึงภาคใต้ของพม่าถึงทางออกทะเล แต่ก็รักษาได้ไว้ไม่นาน. และยกมาโจมตีกลุ่มรัฐมอญ รัฐหนึ่งชื่อ นิ่วหวาง (แปลว่า เมืองมีสตรีเป็นเจ้าเมือง) ...น่าตรงกับพิงครัฐ หรือ หริภุญชัย เพราะเป็นรัฐมอญ เหมือนกัน.และโจมตีหมี่เจิน (ไม่ทราบว่าเมืองอะไร) แต่ก็โจมตีไม่สำเร็จ
  • ซึ่งช่วยให้ทราบว่า และช่วยกำหนดอายุ อาณาจักรหริภุญชัยมีอยู่จริง นั่นก็คือ สมัยพระนางจามเทวี เพราะมีทัพใหญ่ของหนานเจ้ายกมาตี.
  • น่าสนใจ เพราะไทยไม่มีข้อมูลแบบนี้บันทึกไว้เหมือนจีน แต่มีความทรงจำถ่ายทอดมาในคริสต์ศวรรษที่ 12-13 รู้ว่าามีมหาอาณาจักรเข้ามาตีเรา
  • เกิดประวัติสร้าง เรื่องราวขึ้นมาชื่อ ขุนหลวงวิรังคะ พวกลั้วะ ป้องกันจาก เจ้าของอาณาจักรยิ่งใหญ่ มาท้าทายอาณาจักรหริภุญชัยแต่ก็พ่ายแพ้ไป และเสียหายกลับไปมาก 
  • ไม่มีหลักฐานใด ๆ เพราะลั้วะ ยังเป็นกลุ่มคนยังชีพแบบพื้นฐาน
  • ค.ศ. 853 ราชวงศ์ถัง ปกครองเวียดนาม ขณะนั้นชื่อแคว้นเกียวจี้ ชาวเวียดนามไม่พอใจการกดขี่ของจีน (ญวนนั้น อยู่แสนไกลทุรกันดาร ในมุมมองของจีน ข้าราชการจีนที่มา ก็กดขี่ทำร้ายชาวญวนหนัก) เกียวจี้ (เวียดนาม) ก็ขอให้อาณาจักรหน่านเจ้าส่งกองทัพมาช่วย หนานเจ้าก็ส่งกองทัพมาช่วยรบ ตามเส้นทางยึดอาณาจักรอ้ายหลาว เมืองลอง (ปัจจุบันคือ ฮานอย) แล้วปกครองได้ไม่กี่ปี ชาวเวียดนามก็ทราบว่าพวกหน่านเจ้า หรือพวกไป๋ นั้นเลวร้ายกว่าขุนนางจีนอีก เวียดนามก็รวมหัวกันขับไล่กองทัพหนานเจ้า (หรือน่านเจ้า) ออกไป.
  • กลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว ก็มีบทบาทที่สุดในย่านนี้ มีการหลั่งไหลผู้คนเป็นระลอก ๆ มา มาที่เมืองละโวทัยปุระ (ละโว้) ก่อน เป็นชนชั้นปกครอง มาพัฒนาเป็นทวารวดี เป็นกึ่งไทกึ่งเขมร แล้วมาพัฒนาต่อมาเป็นอยุธยา
  • ความที่อิสานเป็นดินแดนกว้างใหญ่ โดดเดี่ยวไม่มีอะไรเป็นตัวกระตุ้น เหมือนดินแดนไทย ที่สำคัญคือบริเวณแม่น้ำกก ที่เมืองเชียงของ (ส่วนหนึ่งของเชียงราย) เป็นเมืองที่มีความสำคัญมาตลอด นับถือแถน (จีนเรียก เทียน) เป็นเทพสูงสุด นำแนวคิดจักรวาลวิทยามาจากจีน เช่น โอรสแห่งสวรรค์ จักรพรรดิเหลือง ตำนานจีนโบราณ นำมาเป็นโครงสร้างตำนานทางเหนือเช่น ขุนบรม แถนหลวง (เทียน) เป็นเทพสูงสุด ขุนบรมเป็นพระโอรสมาปกครองโลกนี้ เมียของขุนบรม (นางยมโดย) ก็มาช่วยสอนประชาชนทอผ้า
  • มายึดที่มั่นแถบหุบเขาที่มีแหล่งน้ำทุกที่ สร้างเมืองแถบริมแม่น้ำโขง เชียงของ เชียงราย
  • ตำนานลาวจก ตำนานบรรพบุรุษ ในราชวงศ์เชียงราย แบบขุนบรม เป็นโอปาปติกะ เกิดมาก็โตอายุ 16-17 ก็พร้อมเป็นกษัตริย์ มีการแต่งงานเชื่อมสัมพันธไมตรี
  • พ่อท่านลาวเม็ง ลูกสาวคำขร่าย (ขร่าย ภาษาโบราณ) เป็นมเหสี ลูกออกมาเป็น พญาเม็งรายหลวง (มีการสร้าง Myth ขึ้นมาอธิบายชื่อ) ในความเป็นจริงมีการสันนิษฐานได้หลายเรื่อง
  • ในตอนอาณาจักรหนานเจ้ายังรุ่งเรือง ตีเวียดนามทางเหนือแตก เลขานุการเจ้าเมืองจีนที่ปกครองต้องทำรายงานเสนอพระจักรพรรดิจีน รายงานนั้นยาวมากเรียกว่า หมานสู แปลว่า บันทึกว่าด้วยพวกป่าเถื่อนทางใต้ หมายถึงหนานเจ้า .... พวกนี้เรียกผู้นำว่า มัง (ภาษามอญโบราณ (พม่ารับไปใช้ด้วย) มังกรี แปลว่า Great Lord)
  • หรือ มัง แปลว่าท้าวหรือกษัตริย์ มาตั้งที่เมืองเชียงราย เรียกว่า มังราย (เชียงราย เติบโตมาจากเชียงแสน หรือแม่สาย) และมีความสำคัญต่อเมืองเชียงรุ้ง
  • ในราชวงศ์ปกรณ์เชียงใหม่ ... เล่าจากลาวจง กล่าวว่า พญามังรายเป็นกษัตริย์องค์ที่ 24 ของราชวงศ์นี้ เป็นวงศ์ลาว แต่ในตำนาน 15 ราชวงศ์ มังรายจะเป็นกษัตริย์ในลำดับที่ 25 ในบันทึกของพระรัตนเถระ ในชินกาลมณีปกรณ์ ไม่มีเรื่องของกษัตริย์องค์หนึ่ง นั่นคือ ขุนเจือง (ซึ่งมาถูกเติมเข้าไปในสมัยหลัง)
  • มีตำนานขุนเจือง ในราชวงศ์ปกรณ์เชียงใหม่ กับขุนเจืองทางประวัติศาสตร์ เป็นการถูกยืมมาจากเรื่องราวในกวางสี .... มีตำนานวีรบุรุษท่านหนึ่ง ผู้น่ง ได้ปลดปล่อยเวียดนาม เป็นไดโกเวียด (ภาคเหนือ) มีจราจลมีการแบ่งแยกเป็น 12 รัฐ โดยกลุ่มคนต่าง ๆ ... สัมพันธ์กับกลุ่มคนชาติพันธุ์ไท หรือเปล่า? เป็นสิบสองพันนา สิบสองเจ้า หรือ โจว...ความสำคัญของเลขสิบสองของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว (นักวิชาการฝรั่งเศส จารีสโป)
  • ที่บักกัน (จังหวัดบั๊กกั่น - Bắc Kạn, Bắc Cạn ในเวียดนาม อยู่ทางเหนือของเมืองฮานอย) มีกลุ่มไทกลุ่มหนึ่งต้องทำตัวอ่อนน้อมให้แก่กษัตริย์ไดโกเวียด พ.ศ.1040 เวียดนามต้องการกระชับอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง ในสมัยราชวงศ์ลี่ของเวียดนาม ขยายอำนาจมายังชนกลุ่มน้อย (กล่าวดูถูกว่า Barbarian เหยียดหยาม)

หนง จื้อเกา (Nóng Zhìgāo) สอดคล้องกับตำนานเมืองเหนือ "ราชวงศ์ปกรณ์เชียงใหม่" นั่นคือ ขุนเจือง
ภาพวาดเมื่อ ค.ศ.1917, ที่มา: th.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 27 ธันวาคม 2563.
โลดแล่นในประวัติศาสตร์ของเผ่าไท ชาวจ้วง ไทหนง ไทนอง หรือ ไทน่ง (ทางตอนเหนือของเวียดนามและทางใต้ของจีนแถบมณฑลกวางสี)
ช่วง ค.ศ.1041-1055. โดยมีพระมารดา (อาหนง) เป็นผู้สนับสนุน กระตุ้น ส่งเสริม จัดวางกลยุทธ์ต่อสู้เพื่อเอกราชของชนเผ่าไทย
 
  • คนที่บักกัน มีขุมทรัพย์บ่อแร่ทองคำ มักแข็งข้อกับเวียดนาม ผู้นำที่บักกันแข็งข้อ เวียดนามจับตัวไปและตายด้วย ลูกอายุ 17 ปีที่เป็นทายาทชื่อว่า หนงจื้อเกา (ไทน่ง) เป็นวีรบุรุษต่อต้านเวียดนาม ประสานกับจีน กวางโจว ให้ช่วยบักกันด้วย จีนมองว่า ผู้น่ง (เป็น Buffer Zone) ไม่อยากโจมตีเวียดนามทื่เป็นไม้เบื่อไม้เมา ต่อมา หนงจื้อเกา ก็ถูกจับและซื้อใจในปกครองไทน่ง หนงจื้อเกาไม่พอใจที่ถูกขุดรีด และได้ตั้งอาณาจักรใหม่ขึ้นมาชื่อต้าลี่ เวียดนามปราบอย่างรุนแรง (แม่ได้สามีใหม่สองคน ช่วยลูกเป็นกบฎ) มีแม่เป็นที่ปรึกษา 
  • หนงจื้อเกา สั่งให้เผาชุมชนตัวเอง นำผู้คน 5,000 โจมตีจีน และรวบรวมได้ 50,000 คน ต่อมาได้ยกกองทัพปิดล้อมเมืองกวางโจว เป็นเวลา 57 วัน หนงจื้อเกาใช้ยุทธศาสตร์ใหม่ ทางจีนส่วนกลางต้องยกทัพมาปราบ หนงจื้อเกาแพ้ จึงมาหนานเจ้า ๆ (เปลี่ยนชื่อมาเป็นต้าลี่แล้ว) ก็ระแวงว่าหนงจื้อเกามีบุญอาจจะมาคิดทรยศได้ จึงตัดศีรษะหนงจื้อเกา มาส่งถวายจักรพรรดิจีนราชสำนักซ่งแทน.
  • อีกข้อมูลหนึ่งที่เล่าสู่กันมาในสมัย ต้าลี่ให้ความช่วยเหลือ โดยให้หนงจื้อเกาและบริวารอพยพลี้ภัยมาแถบแม่สาย (ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน) เป็นอีกเวอร์ชั่น (ประวัติสร้าง)... กลายมาเป็นตำนานขุนเจือง ตีเมืองแกวบักกัน บักกัน เหมือนกัน ได้ชายาที่เมืองแกวแท่นวัว (แท็งฮว้า หรือ ทัญฮว้า -Thanh Hóa ชายฝั่งตอนกลางเหนือของเวียดนาม) สิ้นพระชนม์เมื่อรบกับ "แดนตากอบขอบฟ้าตายืน".
  • หากอ่านในหนังสือ 15 ราชวงศ์ดี ๆ แล้ว พบว่าพระยามังรายหลวงได้เสด็จจากเชียงแสนมาตั้งเมืองเชียงราย ท่านทำสงครามขยายอิทธิพลมีภาพเหมือนหนงจื้อเกา เรื่องเล่าพระยามังรายหลวงมีลักษณะตำนานเหมือนขุนเจือง (เป็นการเล่าครั้งที่สองด้วย) โดยมีกษัตริย์แกวมาสวามิภักดิ์.
  • รากฐานอำนาจของราชวงศ์มังราย คือการควบคุมแม่น้ำโขงทั้งหมด Look North ไม่ได้ Look South เพราะผลประโยชน์เกี่ยวกับหัวเมืองทางเหนือ สิบสองปันนา
  • เมื่อวางรากฐานแล้ว ก็เริ่มขยายอำนาจมาทางทิศใต้ มาทางเชียงใหม่ นี่คือรากฐานของโยนรัฐ ตำนานโยนกนาคพันธุ์. รากฐานมาจากเชียงแสน แม่สาย ตำนาน 15 ราชวงศ์ กล่าวถึงเมืองต่าง ๆ มีการกล่าวถึงเมืองเถิง เมืองมอบ (??? ในปัจจุบันไม่รู้จักแล้ว)
  • การขึ้นอำนาจของพระยามังราย ไม่ได้แตกต่างกับกุลไลข่านและเจงกิสข่านเลย (เป็นบุคคลร่วมสมัยกัน) รบเก่งขยายอำนาจ
  • มีเขตทางด้านใต้ของโยนรัฐ เป็นรัฐมอญ หรือ พิงครัฐ ต่อมาเมื่อรวมกันก็เป็น อภินวพิงคบุรี หรือ นวพิงครัฐ.
  • โยนรัฐ เกี่ยวกับเมืองเชียงแสน โยงไปยังตำนานโยนกนาคพันธุ์
  • อาณาจักรหนานเจ้า ครอบคลุมดินแดนยูนนานทั้งหมด หนานเจ้าเคยรบชนะจีน (ราชวงศ์ถัง) สองครั้ง.
  • ตอนที่หลงจือเกา ล้อมเมืองกวางตุ้ง นโยบายและกลยุทธ์ของจีนก็เปลี่ยนไป พศ.1073-1075 ราชวงศ์ซ่งของจีนก็ถมคนชาวฮั่นเข้าไปนับแสน ๆ หรือล้าน เพื่อให้มีคนจีนเยอะกลืนเผ่าพันธุ์ไป.
  • เดิมสอนแบบคลาสิกว่าพอหนานเจ้าแตกปั๊บก็ย้ายถิ่นฐานลงมาที่เชียงรายเชียงใหม่ซึ่งปัจจุบันสอนแบบนี้ไม่ได้ ด้วยเพราะหลักฐานทางประวัติศาสตร์บ่งชี้ว่าก่อนหนานเจ้าหรือต้าลี่จะแตกร่วมสองร้อยปี ก็มีกลุ่มชาติพันธุ์ลาวย่อม ๆ มาตั้งถิ่นฐานที่บริเวณล้านนาแล้ว ราว พศว.ที่ 7 กว่า ๆ มีข้อมูลจากพุกามเรียกคนแถบนี้ว่า ดิถีสยาม (ดิถีหมายถึงคนที่ไม่มีศาสนา-ถือวิญญาณนิยม)
  • พรญามังราย ประสูติเมื่อ พ.ศ.1239 ตรงกับ ค.ศ.1772 ??? (ข้อมูลตัวเลขต้องเช็คใหม่หมด...!!!!????) ตอนที่ท่านเกิดประมาณ 20 ปี หนานเจ้าแตกในเดือนมกราคม ค.ศ.1796 การที่หนานเจ้าแตกเป็นเรื่องที่ไม่มีใครคาดคิด เพราะทางตะวันออกของหนานเจ้าเป็นภูเขาสูงกั้นไว้ ไม่มีใครตีสำเร็จ แต่กุบไลข่านทำได้โดยการทุ่มกำลังทหาร เข้าบุกยึดตอนกลางคืน เปลี่ยนโฉมหน้าประวัติศาสตร์เอเชียทางใต้ของจีนใหม่ พ.ศ.1253 หรือ ค.ศ.1796 หนานเจ้าแตก ต่วนชิงจือ ถูกเชิญให้ไปพบกุบไลข่าน เพื่อให้ข้อมูลรัฐชายขอบ ภาคเหนือไทย พม่า และสิบสองปันนา ต่อมา พ.ศ.1262-1265 รัชศกจ้งทง...มีการกล่าวถึงรัฐที่ยังไม่ได้สวามิภักดิ์ ใกล้พม่า (เมี่ยนเตี้ยน) นั่นคือ (โยนรัฐ) ปาไป่สีฟู้ --พระชายาแปดร้อย มีพระชายาเหลือล้น
นับจากนี้ก็เข้าสู่ประวัติศาสตร์ล้านนา
  • จีนส่งทูตไปพม่า ให้ไปสวามิภักดิ์ หากมาไม่ได้ก็ส่งพระอนุชาหรือพระราชโอรสมา พม่าก็แปลกใจ เพราะตนมีอำนาจสูงใหญ่สุดในจักรวาลแล้ว ยังมีนักเลงตัวโตมาให้ไปสวามิภักดิ์ เกิดอะไรขึ้น ในการส่งทูตครั้งที่สองมีการถีบทูตจีนและคลิบหูด้วย
  • จีนจึงส่งทัพมาตีพม่า ในกองทัพพม่าก็มีใส้ศึก 3 คนเป็นไทยใหญ่ ให้ข้อมูลแก่มองโกล ในที่สุดมองโกลก็ตีพม่าได้
  • เดิมอาณาจักรล้านนามีอิทธิพลแถบลุ่มน้ำโขง พรญามังรายมุ่งไปทางเหนือ สิบสองปันนา
  • การที่พม่าถูกกุบไลข่านตีแตก สร้างความตกใจให้แก่ภูมิภาคนี้มาก เพราะพุกามห่างจากสิบสองป้นนาและเชียงรายไม่มากนัก
  • เกิดการชุมนุมกันของพรญามังราย พรญางำเมือง และพ่อขุนรามคำแหง สันนิษฐานว่าต้องร่วมมือกันรับศึกจากกุบไลข่าน
  • พรญามังราย มีฐานที่เชียงแสน เชียงราย รูปเมืองค่อนการสร้างข้างรีบ
  • ในปีที่พุกามแตก สามกษัตริย์มาพบกันที่ประตูชัย เมืองเชียงราย มีการทำข้อตกลงสัญญาเป็นพันธมิตรกัน เพื่อต่อต้านการขยายอำนาจของกุบไลข่าน
  • เกิดปัญหา ในตำนาน 15 ราชวงศ์ เรื่องการที่กษัตริย์สามองค์มาพบกัน 1) การสร้างนครเชียงใหม่ พ.ศ.1287, 2) มีเหตุอะไรกันแน่ พ.ศ.1296
  • ชินกาลมณีปกรณ์ หรือ ชินกาลมาลีนี พ.ศ.1517 พระรัตนปัญญาเถระเขียน ระบุไว้ตามตำนานเดิมเล่าไว้
  • พระร่วงเจ้าเมืองสุโขทัยแอบไปพบพระนางฮัวคำเมือง เป็นมเหสีของพรญางำเมือง โดยจับได้ มีปัญหาพรญามังรายต้องมาไกล่เกลี่ย ทำสนธิสัญญาเป็นไมตรีกันใหม่ ก็มีตำนานเหมือนกับเมืองตองอู พม่า กล่าวถึงอิทธิฤทธิ์ของพ่อขุนรามคำแหง ตามตำนาน 15 ราชวงศ์จึงดูอ่อนกว่าชินกาลมาลีปกรณ์.
  • ปกติการสร้างบ้านสร้างเมือง มักจะไม่ให้คนอื่นรู้ (เพราะมีความลับ เคล็ดวางขลังเมืองไว้) แต่การเชิญมาร่วมเป็นสักขีสร้างเมืองนั้น....มันเป็นอะไรกันแน่
  • ผู้บรรยายก็พักเรื่องเมืองเชียงใหม่ไว้ที่ พ.ศ.1287 [1:53:48]

กำเนิดเมืองหริภุญชัย และ เมืองพิงครัฐ
  • เมืองหริภุญชัย เป็นเมืองการค้ามั่งมี พระเจ้ามังรายหลวงจึงมายึดเอา...
  • เมืองหริภุญชัย สร้างเมื่อใด จากคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ ระบุพ.ศ. 1204 ในตำนานมูลศาสนาวัดสวนดอก ระบุ พ.ศ.1008 ซึ่งหลักฐานทางศิลปกรรม ก็เชื่อไม่ได้ เพราะระดับศิลปะไม่ยาวไกลไปถึงขนาดนั้น.
  • ปัญหาจารึกลานทองที่สุพรรณบุรี ผิดปกติ ทำไมเก่าก่อนอยุธยาถึง 100 ปี (จารึกลานทองก็ปลอมได้) เพราะยิ่งเก่าเท่าไหรก็น่าเชื่อถือ
  • พระนางจามเทวีน่าจะมีตัวตนจริง เพราะวัฒนธรรมมอญ กับวัฒนธรรมเขมรเหมือนกัน คือ หญิงเป็นใหญ่
  • หลักสมัยพระนางจามเทวีก็มีรายชื่อกษัตริย์ตามมาเป็นพรวน
  • ในชินกาลมณีปกรณ์ได้ระบุไว้ พ.ศ.1951 พระเจ้าอาทิตยราช ได้สร้างพระบรมสารีริกธาตุขึ้น แต่ก็ไม่ได้บอกว่าสร้างเมืองลำพูนเลย
  • ประเพณีการเล่าเรื่องพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ของทางล้านนา เน้นการผูกเรื่องราวที่มีพุทธทำนายเข้ามาเกี่ยวข้อง.
ตำนานพระธาตุหริภุญชัย
  • พระเจ้าอาทิตยราชทรงเข้าห้องบังคน แต่ถูกอีกาถ่ายมูลลงบนพระเศียร (ครั้งแรก) แลตกเข้าไปในพระโอษฐ์ (ครั้งที่สอง) เมื่อสืบสาวเรื่องราวดูจึงทรงทราบว่าที่บังคนหนักได้สร้างทับเหนือพระบรมสารีริกธาตุที่มีมาแต่เดิม พระองค์จึงโปรดให้สร้างพระบรมสารีริกธาตุอย่างวิจิตร ณ ที่แห่งนั้น.
  • ปีที่สร้างแจ้งไว้แตกต่างกัน จากหลายแหล่ง แต่จากการศึกษาค้นคว้า ก็สามารถระบุได้ว่า พระบรมสารีริกธาตุสร้างในสมัยพระเจ้าอาทิตยราช ราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 11 ตอนสร้างครั้งแรกเป็นทรงปราสาท (ชินกาลมาลีปกรณ์ระบุไว้) คล้าย ๆ ทรงมณฑป ปัจจุบันเป็นทรงเจดีย์
  • เป็นสังฆรธาตุแนวพุทธมหายาน พระบรมสารีริกธาตุหริภุญชัยเป็นอุทิศเจดีย์ที่มีชื่อเสียงกล่าวกันว่า พระภิกษุนิกายมหายานในทิเบตถือว่าพระธาตุหริภุญชัยเป็นปูชนียสถาน 1 ใน 17 แห่งที่ต้องไปจาริกแสวงบุญ. พระธาตุหริภุญชัยมีชื่อเสียงมากพบปรากฎทั่วไปในเอกสารทางพระพุทธศาสนาต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้
  • ในรัชกาลของพระเจ้าอาทิตยราช ราวคศว.11 มีกาัตริย์ต่อมาอีกสองพระองค์ มีกษัตริย์มหาวัน ทำให้นึกถึงพระเครื่องมหาวัน เป็นพระรอดเมืองลำพูน เป็นหนึ่งในพระเครื่องที่สำคัญห้าประเภท
  • พระรอด นารอด (นารธ...ฤๅษีนารธที่ชอบดีดพิณยุแย่ให้คนทะเลาะกัน)
  • พระอัฏารส วิหารป่าศรัทธารถ...มีพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์ใหญ่ ที่ได้ครอบพระอัฏารสไว้ เป็นพระสำคัญถูกครอบไว้ เหมือนพระพุทธรูปทองโบราณที่วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ฝั่งธนฯ
  • มีจารึก (โดยกษัตริย์รุ่นหลาน) กล่าวถึงกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ นั่นคือ พระเจ้าอาทิตยราช (ซึ่งเคยได้ทำสงครามกับละโว้ด้วย) ต่อมา 30 ปีให้หลังเกิดแผ่นดินไหว พระบรมสารีริกธาตุมีการพังทลาย จึงมีการซ่อมบำรุงใหม่ แต่เป็นสร้างเจดีย์ทรงแปดเหลี่มแบบพุกามแทน
  สรุป
  • พรญามังราย ที่อยู่ทางเหนือแถบเชียงแสน เข้ามายึดปกครองเมืองทางใต้
  • ต่อไปจะมีความละเอียดละออ ซับซ้อนมากขึ้นตามลำดับ

 
info@huexonline.com