MENU
TH EN

คำทำวัตรเย็น

ขนฺติ พลํ ว ยตีนํ

ความอดทน เป็นกำลังของนักพรต

 
ประโยชน์ของการสวดมนต์ (1)
  1. ทำให้จิตสงบและเป็นสมาธิ
  2. ทำให้จิตเฉียบแหลมดีขึ้น เพราะมีสมาธิดี
  3. ได้อบรมจิตโดยการทบทวนความหมายของคำที่สวดแต่ละคำ
  4. เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจเรื่องของความเป็นจริงได้ลึกซึ้งมากขึ้น
  5. ความศรัทธามั่นคงดีขึ้น เพราะได้หมั่นทบทวนคำสอน
  6. ย่อมได้ปิติและฝึกความอดทน เพราะความเพียรชอบในข้อนี้
  7. ได้เจริญเมตตาภาวนาต่อสัตว์ทั้งปวง
  8. จิตมีความฉลาดในกุศลธรรมและกำจัดอกุศลธรรมออกไป
  9. เป็นการเตรียมพร้อมกายและจิตเพื่อการเจริญสมาธิต่อไป
10. ได้อุทิศชีวิตเพื่อการพัฒนาทางจิตยิ่งขึ้น
11. ได้คุ้นเคยกับภาษาบาลี ซึ่งเป็นภาษาที่รักษาพระพุทธวจนะมาแต่ดั้งเดิม
12. ถ้าบุคคลนั้นไม่มีเคราะห์ร้ายเพราะกรรมหนัก ก็จะปลอดภัยจากอันตรายได้

ที่มา:
(1) บทสวดมนต์แปล บาลี - ไทย - อังกฤษ, ปัญญาวุฑโฒ ภิกขุ (สุทธินันท์ จันทกุล), วัดไร่ขิง, สำนักพิมพ์ธรรมสภา, 30 เมษายน 2538
First revision: Apr.04, 2012
Last revision: Jun.12, 2012


 
(คำบูชาพระรัตนตรัย)
 
อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา, พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง,
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง;
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ. ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน.
(กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว;
ธัมมัง นะมัสสามิ. ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม.
(กราบ)
 
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, พระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว;
สังฆัง นะมามิ. ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์.
(กราบ) 

(ปุพพภาคนมการ) 
(หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส.)

 

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต. ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น;
อะระหะโต, ซึ่งเป็นผู้ไกลจากิเลส;
สัมมาสัมพุทธัสสะ. ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.
( 3 ครั้ง)
 
1. พุทธานุสสติ
(หันทะ มะยัง พุทธานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส.)
 
ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัลยาโณ
กิตติสัทโท อัพภุคคะโต,
ก็กิตติศัพท์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น,
ได้ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า :-
อิติปิ โส ภะคะวา, เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น;
อะระหัง, เป็นผู้ไกลจากกิเลส;
สัมมาสัมพุทโธ, เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง;
วิชชาจะระณะสัมปันโน, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ;
สุคะโต, เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี;
โลกะวิทู, เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง;
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ, เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า;
สัตถา เทวะมะนุสสานัง, เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย;
พุทโธ, เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม;
ภะคะวา ติ. เป็นผู้มีความเจริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้.
 
2. พุทธาภิคีติ
(หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติง กะโรมะ เส.)
 
พุทธวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต, พระพุทธเจ้าประกอบด้วยคุณ มีความประเสริฐแห่งอรหันตคุณ เป็นต้น;
สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต, มีพระองค์อันประกอบด้วยพระญาณ และพระกรุณาอันบริสุทธิ์;
โพเธสิ โย สุชะนะตัง กะมะลังวะ สูโร, พระองค์ใด ทรงกระทำชนที่ดีให้เบิกบาน ดุจอาทิตย์ทำบัวให้บาน;
วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง. ข้าพเจ้าไหว้พระชินสีห์1 ผู้ไม่มีกิเลส พระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า.
พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง, พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย;
ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง, ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึก องค์ที่หนึ่งด้วยเศียรเกล้า;
พุทธัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี) วะ พุทโธ เม
สามิกิสสะโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า,
พระพุทธเจ้าเป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า;
พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม, พระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า;
พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง, ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระพุทธเจ้า;
วันทันโตหัง (ตีหัง) จะริสสามิ พุทธัสเสวะ
สุโพธิตัง,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้า;
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง
วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี,
พระพุทธเจ้าเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า;
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน, ด้วยการกล่าวคำสัจจ์นี้
ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา;
พุทธัง เม วันทะมาเนนะ (มานายะ) ยัง ปุญญัง
ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระพุทธเจ้า ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้;
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา. อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น.

หมายเหตุ
1 ชินสีห์ คำเรียกชื่อพระพุทธเจ้า "ราชสีห์ผู้ชนะ"

 
YYYYYYYYYYYYYYYYYYY
 
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี;
พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง, กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า;
พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง, ขอพระพุทธเจ้า จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น;
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ. เพื่อการสำรวมระวัง ในพระพุทธเจ้า ในกาลต่อไป 1
 
หมายเหตุ:
1 บทขอให้งดโทษนี้ มิได้เป็นการขอล้างบาป, เป็นเพียงการเปิดเผยตัวเอง; และคำว่าโทษในที่นี้มิได้หมายถึงกรรม : หมายเพียงโทษเล็กน้อยซึ่งเป็น "ส่วนตัว" ระหว่างกันที่พึงอโหสิกันได้. การขอขมาชนิดนี้ สำเร็จผลได้ในเมื่อผู้ขอตั้งใจทำจริง ๆ, และเป็นเพียงศีลธรรม หรือสิ่งที่ควรประพฤติ.
 
3. ธัมมานุสสติ
(หันทะ มะยัง ธัมมานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส.)
 
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว;
สันทิฏฐิโก, เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโก, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล;
เอหิปัสสิโก, เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด;
โอปะนะยิโก, เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว;
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ. เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.
 
4. ธัมมาภิคีติ
(หันทะ มะยัง ธัมมาภิคีติง กะโรมะ เส.)
 
สวากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย, พระธรรม เป็นสิ่งที่ประเสริฐเพราะประกอบด้วยคุณ คือความที่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นต้น;
โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท, เป็นธรรมอันจำแนกเป็น มรรค ผล ปริยัติ และนิพพาน;
ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี, เป็นธรรมทรงไว้ซึ่งผู้ทรงธรรม จากการตกไปสู่โลกที่ชั่ว;
วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะเมตัง. ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมอันประเสริฐนั้น อันเป็นเครื่องขจัดเสียซึ่งความมืด.
ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง, พระธรรมใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย;
ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง, ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น
อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึก องค์ที่สองด้วยเศียรเกล้า:
ธัมมัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี) วะ ธัมโม เม สามิกิสสะโร, ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม, พระธรรมเป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า;
ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม, พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า;
ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง, ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระธรรม;
วันทันโตหัง (ตีหัง) จะริสสามิ ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง, ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความเป็นธรรมดีของพระธรรม,
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง, สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี,
พระธรรมเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า;
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน, ด้วยการกล่าวคำสัจจ์นี้
ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนา ของพระศาสดา;
ธัมมัง เม วันทะมาเนนะ (มานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ, ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระธรรม ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้;
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา. อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น.
 
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี;
ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง, กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระธรรม;
ธัมโม ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง, ขอพระธรรม จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น;
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม. เพื่อการสำรวมระวัง ในพระธรรม ในกาลต่อไป.
 
5. สังฆานุสสติ
(หันทะ มะยัง สังฆานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส.)
 
สุปะฏิปัน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว;
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว;
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด,
ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว;
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,  สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว;
ยะทิทัง, ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ :
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, คู่แห่งบุรุษ 4 คู่, นับเรียงตัวบุรุษ ได้ 8 บุรุษ;
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า;
อาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา;
ปาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ;
ทักขิเณยโย, เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน;
อัญชะลิกะระณีโย, เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี;
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสา ติ. เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.
 
6. สังฆาภิคีติ
(หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส.)
 
 สัมธัมมะโช สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต, พระสงฆ์ที่เกิดโดยพระสัทธรรม
ประกอบด้วยคุณมีความปฏิบัติดี เป็นต้น; 
โยฏฐัพพิโธ อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ,  เป็นหมู่แห่งพระอริยบุคคลอันประเสริฐ แปดจำพวก; 
สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต,  มีกายและจิต อันอาศัยธรรมมีศีลเป็นต้น อันบวร; 
วันทามะหัง ตะมะริยานะคะณัง สุสุทธัง.  ข้าพเจ้าไหว้หมู่แห่งพระอริยเจ้าเหล่านั้น อันบริสุทธิ์ด้วยดี. 
สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,  พระสงฆ์ หมู่ใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย; 
ตะติยานุสสะติฎฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,  ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น
อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึก องค์ที่สามด้วยเศียรเกล้า; 
สังฆัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี) วะ สังโฆ เม สามิกิสสะโร,  ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระสงฆ์,
พระสงฆ์เป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า; 
สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,  พระสงฆ์เป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า; 
สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,  ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระสงฆ์; 
วันทันโตหัง (ตีหัง) จะริสสามิ สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง,  ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความปฏิบัติดีของพระสงฆ์; 
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง,  สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, 
พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า; 
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,  ด้วยการกล่าวคำสัจจ์นี้
ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนา ของพระศาสดา; 
สังฆัง เม วันทะมาเนนะ (มานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,  ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระสงฆ์ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้; 
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.  อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น. 
 
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี;
สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง, กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระสงฆ์;
สังโฆ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง, ขอพระสงฆ์ จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น;
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ. เพื่อการสำรวมระวัง ในพระสงฆ์ ในกาลต่อไป.
info@huexonline.com