MENU
TH EN

02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ

ภาพบรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ พัฒนาเมื่อ 6 ตุลาคม 2567.
02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ
First revision: Oct.6, 2024
Last change: Oct.7, 2024
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง แปล และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา.
.
หน้าที่ 1
   ไทย - ภาพ (ถ้ามี)  สันสกฤต-โรมัน-อังกฤษ  ศาสนา/สำนักแนวคิด  รายละเอียด
  ฤๅษีไชยมิณิ หรือ ไชมิณิ  जैमिनि - Jaimini  มีมางสา - मीमांसा  - Mīmāṁsā  ท่านประพันธ์มีมางสา สูตร (मीमांसा सूत्र - Mīmāṁsā Sūtra - MS.) ราวพุทธศักราชที่ 243-343 (หรือก่อนคริสต์ศักราชที่ 300-200) ท่านเป็นหนึ่งในปราชญ์คนสำคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูโบราณ ท่านเป็นหนึ่งในศิษยานุศิษย์ของมหาฤๅษีวยาส ผู้ประพันธ์ มหาภารตยุทธ, ผู้เสนอและพัฒนาปรัชญาภูรวะ มีมางสา (ภูรวะ หรือ ปุรวะ Purva แปลว่า มีมาก่อน หรือทิศตะวันออก)
   อาทิ ศังกราจารย์
 
ที่มา: https://devdutt.com, วันที่เข้าถึง: 6 ต.ค.67
 Śaṁkara, आदिशङ्कर - Adi Shankara  อไทวตะ เวทานตะ  ท่านกำเนิดที่เมืองคาลาดี อาณาจักรเชระ ประมาณ พ.ศ.1343 หรือ ค.ศ.ที่ 8 อนิจกรรมที่เมืองเคดาร์นาท อาณาจักรกูรจะระ-ประทิหระ ประมาณ พ.ศ.1393 หรือ ค.ศ.750 เป็นปราชญ์และนักเทววิทยา ผลงานของท่านส่งผลกระทบอย่างมากต่อหลักคำสอนของอไทวตะ เวทานตะ ท่านได้ก่อตั้งสี่อาราม (Mathas) ซึ่งเชื่อกันว่าได้ช่วยพัฒนาฟื้นฟูประวัติศาสตร์ การขยายแนวคิดด้านอไทวตะ เวทานตะ. (ดูเพิ่มเติมใน ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย ข้อ 02 ข.บทนำ: ภควัทคีตา)
   พระมหาวีระ, พระมหาวรรธมานะ
 
   เชน  
   สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
 Lord Buddha  พุทธ  
   เกาฏิลยะ  कौटिल्य - Kauṭilya    บ้างก็เรียก จาณักยะ (चाणक्य - Cāṇakya) บ้างก็เรียก วิษณุคุปต์ (विष्णुगुप्त - Viṣṇugupta) ราว พ.ศ.174-261 (87 ปี) (หรือ ประมาณ 370-283 ปีก่อนคริสตกาล) ท่านกำเนิดทางใต้ของอินเดีย อสัญกรรมที่เมืองปาฏลีบุตร เป็นปราชญ์และเป็นพระอาจารย์ที่ปรึกษาของพระเจ้าจันทรคุปต์ แห่งจักรวรรดิเมารยะ ต่อมาได้เป็นที่ปรึกษาของพระเจ้าพินทุสาร โอรสของพระเจ้าจันทรคุปต์ในเวลาต่อมา และเป็นผู้สนับสนุนพระเจ้าอโศกมหาราชในการขึ้นครองราชย์ ผลงานที่สำคัญ อรรถศาสตร์ (अर्थशास्त्र - Arthaśāstra) และ จาณักยนีติ (Cāṇakyaniti).
   มหาฤๅษีกฤษณะ ไทวปายนะ วฺยาส  Vyās    
   คุรุ เคาฑปาทะ อาจารย      
   รามานูชะ หรือ ศรีรามานุชาจารย  Rāmānuja  หรือ Sri Ramanujacharya  วิศิษฎาทไวตะ - Viśiṣṭādvaita Vedanta  และเป็นผู้นำที่สำคัญของลัทธิศรีไวษณพ สัมประไดย (and the foremost Jeeyar of Sri Vaishnava Sampradaya) ท่านกำเนิดที่เมืองศรีเปรัมบูดูร์ (ปัจจุบันคือเมืองทมิฬ นาดู) อาณาจักรโชละ อินเดียใต้ 25 เมษายน พ.ศ.1560 หรือ ค.ศ.1017 อนิจกรรมที่เมืองศรีรันคัม อาณาจักรโชละ พ.ศ.1680 หรือ ค.ศ.1137 สิริ 120 ปี ท่านเป็นปราชญ์อินเดีย นักปฏิรูปสังคม และพัฒนาหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สุดของประเพณีด้านศรีไวษณพนิกายของศาสนาฮินดู รากฐานทางปรัชญาของท่านเป็นข้อคิดทางวิญญาณที่มีอิทธิพลต่อขบวนการภักติ (Bhakti Movement). (ดูเพิ่มเติมใน ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย ข้อ 03 ข.บทนำ: ภควัทคีตา)
   ศรี มาธวะคยาจารย์ หรือ มาธวะอาจารยะ  Mādhava หรือ Mādva Acharya  อไทวตะ เวทานตะ  มาธวะ แปลว่า ผู้นำมาซึ่งฤดูใบไม้ผลิ ท่านถือกำเนิดบนชายฝังตะวันตกของรัฐกรณาฎกะ พ.ศ.1781 หรือ ค.ศ. 1238 และอนิจกรรมใน พ.ศ.1860 บ้างก็ว่า พ.ศ.1821 (หรือ ค.ศ.1317 บ้างก็ว่า ค.ศ.1278) .
   ฤๅษีโคตมะ  Gautama  นยายะ - Nyāya  นยายะศาสตร์ (Nyāya-śāstra) นำไปสู่ความจริงแท้
   ปตัญชลิ  Pataṅjali    ผู้แต่งโยคสูตร ซึ่งรวบรวมสาระสำคัญในการปฏิบัติโยคะ
   กณาทะ บ้างก็เรียก กรณาทะ      
   กปิลมุณี หรือ ฤๅษีกปิละ  Kapila    
   ภาสกราจารย์ หรือ ภาสกระ หรือ ภัสการยาจารย์  Bhāskara หรือ Bhāskarāchārya    ชีวิตระหว่าง พ.ศ. 1657-1728 หรือ ค.ศ.1114-1185 ท่านเป็นนักคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ ผลงานด้านพีชคณิต หรือ ภาสกรที่ 2
   วิชญาณภิกษุ  Vijñānabhikṣu นีโอ-เวทานตะ  ปราชญ์ฮินดูจากรัฐพิหาร มีชีวิตอยู่ระหว่าง พุทธศตวรรษที่ 21-22 (10-11????)ท่านได้ให้คำแนะนำในสำนักต่าง ๆ ของปรัชญาฮินดู โดยเฉพาะได้อรรถาธิบายเกี่ยวสำนักแนวคิดด้านโยคะของปตัญชลิฤๅษี การรวมเป็นหนึ่งเดียวของปรัชญาเวทานตะ โยคะ และสางขยะ. ท่านได้รับการพิจารณาว่ามีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อการเคลื่อนไหวด้านปรัชญาเวทานตะใหม่ในยุคปัจจุบัน.
   มัทสุธาณะ สรสวตี  Madhusūdana Sarasvatī  ลัทธิอไทวตะ เวทานตะ  (ราว ค.ศ.1540-1640 หรือ ราว พ.ศ.2083-2183) ท่านกำเนิดและถึงแก่กรรมที่เบงกอล เป็นปราชญ์ในลัทธิอทไวตะ เวทานตะ.
ปรสธานภีทะ (Prasthānabheda -प्रस्थानभेदः) เป็นงานเขียนสำคัญของมหาคุรุมัทสุธาณะ สรสวตี กล่าวถึงประเด็นในการบูรณาการระบบสศานาและปรัชญาต่าง ๆ ภายในกรอบแนวคิดด้านพระเวท ดังนั้นจึงถือเป็นงานเก่ากาลด้านแนวคิดเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู.
   อุทยนะ หรือ อุทัยนะ หรือ อุทัยนาจารย์  Udayana หรือ Udayanācārya  นยายะ  ปราชญ์และนักตรรกวิทยาภารตะที่สำคัญ ท่านถือกำเนิดที่เมืองมถิลา (ปัจจุบันคือพิหาร ภารตะ) ในช่วง พ.ศ.1518-1593 (ค.ศ.975-1050) ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ปรัชญานยายะ ที่พยายามคิดค้นเทววิทยาที่มีเหตุผลเพื่อพิสูจน์การดำรงอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า โดยใช้ตรรกะและการตอบโต้ การกล่าวโจมตีถึงการดำรงอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า (นั้นดำรงอยู่จริงหรือไม่) โดยปราชญ์ด้านพระพุทธศาสนา เช่น พระภิกษุธรรมกีรติ (Dharmakīrti) และ พระภิกษุญาณศรี (Jñānaśrī) และรวมทั้งต่อต้านสำนักวัตถุนิยมของอินเดีย (จารวาก - Chārvaka).
   มัคส์ มึลเลอร์
 
ที่มา: sriramakrishna.in, วันที่เข้าถึง 27 พฤศจิกายน 2564.
 Max Müller (Friedrich Max Müller)    นักอักษรศาสตร์ และนักบูรพคดีศึกษา ชาวเยอรมัน (6 ธันวาคม พ.ศ.2366 - 28 ตุลาคม พ.ศ.2443) ซึ่งพระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) เรียกท่านว่า "โมกษะมูลาจารย์", ที่มา: ส.ธรรมยศ จากหนังสือ "REX SIMEN SIUM หรือ พระเจ้ากรุงสยาม" หน้าที่ 23 สำนักพิมพ์ศรีปัญญา, นนทบุรี, พิมพ์ครั้ง พ.ศ.2563  
   บาดรายณะ  Bādarāyaṇa  เวทานตะ  มหาคุรุชาวอินเดีย คาดว่ามีอายุอยู่ประมาณ 500-200 ปีก่อนคริสตกาล ผลงานของท่านคือ พรหมสูตรที่มีหลากหลาย ท่านเขียนงานพื้นฐานของเวทานตสูตร กล่าวได้ว่าท่านเป็นผู้ก่อตั้งระบบปรัชญาเวทานตะขึ้น.
   หริภทรา หรือ หริภัทรา หรือ อาจารย์ หริภัทรา ซุริ
Haribhadra, ที่มา: thestupa.com, วันที่เข้าถึง 6 ธันวาคม 2564.
 Haribhadra หรือ Aacharya Haribhadra Suri    ที่ทราบกันเป็นประเพณีว่าได้อนิจกรรมเมื่อก่อน พ.ศ.14 ปี หรือ ค.ศ.529 นั้น แต่ก็มีหลักฐานที่แน่ชัดกว่านั้นว่าท่านมีชีวิตอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 14 หรือคริสต์ศตวรรษที่ 9 มีผู้กล่าวไว้ไม่น้อยว่าท่านเปลี่ยนจากนับถือพราหมณ์มาเป็นเชน. ท่านยังคงมีชื่อเสียงในฐานะผู้เขียน "หนึ่งพันสี่ร้อยงานประพันธ์-Fourteen Hundred Prabandhas" (บทของผลงาน) และดูเหมือนว่าท่านจะเป็นหนึ่งในปราชญ์กลุ่มแรก ๆ ที่นำภาษาสันสกฤตมายังวรรณกรรมเชิงวิชาการของศาสนาเชน นิกายเศวตัมพร. ด้วยหกระบบนี้ บรรดาพราหมณ์ได้เข้าใจถึง สองมีมางสา สางขยะ และโยคะ นยายะ และไวศษิกะ. ในอีกมุมหนึ่งนั้น หริภทราได้แสดงอรรถาธิบายภายใต้นิกายปรัชญาเหล่านี้ไว้สั้นมากในแปดสิบเจ็ดโศลก แต่ค่อนข้างเป็นกลางในหลักการสำคัญของพุทธมากะ ผู้นับถือเชน และศิษยานุศิษย์ของปรัชญานยายะ ท่านเป็นนักพรตในศาสนาเชน นิกายเศวตัมพร (ยังมีข้อขัดแย้งเรื่องวันเกิด) ท่านมีชีวิตในช่วงก่อน พ.ศ.84-14 หรือ ค.ศ.459-529 ท่านประพันธ์หนังสือไว้หลายเล่มด้านโยคะ ศาสนาเปรียบเทียบ โดยได้สรุปวิเคราะห์ทฤษฎีของชาวฮินดู พุทธมามกะ และผู้นับถือเชนไว้.
.
.
หน้าที่ 2
   ไทย - ภาพ (ถ้ามี)  สันสกฤต-โรมัน-อังกฤษ  ศาสนา/สำนักแนวคิด  รายละเอียด
   กุมาริลละ หรือ กุมาริลละภณ  Kumārila Bhaṭṭa  มีมางสา  ประมาณ พ.ศ.1243 หรือ ค.ศ.700 เป็นปราชญ์สำนักปรัชญามีมางสา
   ศรีธระ หรือ ศรีธระ อาจารยะ  Śrīdhara หรือ Śrīdhara Ācāryya    ท่านมีชีวิตในช่วง พ.ศ.1413-1473 หรือ ค.ศ.870-930 ท่านถือกำเนิดแถบเบงกอลตะวันตก เป็นนักคณิตศาสตร์ บัณฑิตด้านภาษาสันสกฤต และนักปรัชญา
   วาจัสปติ หรือ วาจัสปติ มิศระ  Vācaspati หรือ Vācaspati Miśra  อไทวตะ เวทานตะ  ท่านถือกำเนิดที่เมืองมถิลา (ปัจจุบันคือพิหาร อินเดีย) พุทธศตวรรษที่ 14-15 หรือ คริสต์ศตวรรษที่ 9-10 และอนิจกรรมในพุทธศตวรรษที่ 14-15 หรือ คริสต์ศตวรรษที่ 9-10
   รกูนาทะ  Raghunātha  นยายะ  ท่านมีชีวิตอยู่ในช่วง พ.ศ.934-1004 หรือ ค.ศ.1477-1547 แถบเบงกอลตะวันตก เขาได้พัฒนาสำนักปรัชญาขึ้นใหม่ ในกลุ่มแนวคิดปรัชญานยายะ ชื่อว่า Navya Nyāya อันมีแนวคิดว่าสำนักปรัชญานี้เป็นตัวแทนของการพัฒนาขั้นสุดท้ายของตรรกะอย่างเป็นทางการของอินเดีย ไปสู่จุดสูงสุดของพลังการวิเคราะห์.
   โคตะมะ มหาฤๅษี  Gautama Maharishi  พระเวท  ท่านเป็นปราชญ์ฮินดู และมีการกล่าวอ้างถึงทั้งในศาสนาเชน และพุทธศาสนา ท่านได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในเจ็ดปราชญ์ฤๅษีที่ยิ่งใหญ่ {One of the Saptarishis -สัปตะฤๅษี (Seven Great Sages Rishi)}
   กัณวะ  Kaṇva พระเวท  ท่านเป็นฮินดูฤๅษี ประพันธ์บทสวดบางบทในฤคเวท ท่านมีเชื้อสายปราชญ์ฮินดูโบราณ บางครั้งท่านก็ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในเจ็ดปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ {One of the Saptarishis -สัปตะฤๅษี (Seven Great Sages Rishi)}.
   สายณะ หรือ สายณาอาจารยะ  Sāyaṇa หรือ Sāyaṇācārya  มีมางสา  ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.1930 (ค.ศ.1387) เป็นปราชญ์ในสำนักปรัชญาสันสกฤตมีมางสา ท่านได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับพระเวท มีงานด้านการแพทย์ จริยธรรม ดนตรี และไวยกรณ์.
   มหาฤๅษี ทยานันทะ สรัสวตี  Dayānanda Sarasvatī    12 ก.พ. พ.ศ.2367 - 30 ต.ค.2426 เป็นนักปรัชญาอินเดียแนวพระเวท เป็นผู้นำทางสังคม ผู้ก่อตั้งอารยสมาช ซึ่ง ฯพณฯ ดร.สวรปัลลี ราธากฤษณัน เรียกท่านว่า ผู้สร้างอินเดียยุคใหม่ เทียบเท่ากับศรี อรพินโธ.
   ออโรบินโด กอช (ศรี อรพินโธ โฆษะตระกูล)      15 สิงหาคม พ.ศ.2415 กัลกัตตา ภารตะ - 5 ธันวาคม พ.ศ.2493 ปูดูเชร์รี หรือ พอนดิเชอร์รี ภารตะ
   ราชา ราม โมฮัน รอย  Ram Mohan Roy    เกิดเมื่อ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2315, เบงกอล อินเดีย - ถึงแก่กรรมเมื่อ 27 กันยายน พ.ศ.2376, บริสตอล อังกฤษ) เป็นนักการศาสนา สังคม นักปฏิรูปการเมืองชาวอินเดีย เกิดในตระกูลพราหมณ์ที่มีชื่อเสียง ท่านท่องไปทั่วในขณะที่เยาว์วัย ได้เปิดเผยตัวตนต่อวัฒนธรรมต่าง ๆ และพัฒนามุมมองที่ต่างออกไปจากศาสนาฮินดู. ในปี พ.ศ.2346 ท่านได้เขียนแผ่นพับประณามการแบ่งแยกทางศาสนาและความเชื่อทางไสยศาสตร์ของอินเดีย และสนับสนุนศาสนาฮินดูแบบมีพระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว. ท่านจัดให้มีการแปลคัมภีร์พระเวทและอุปนิษัทสมัยใหม่ เพื่อเป็นพื้นฐานทางปรัชญาตามความเชื่อของท่าน ได้สนับสนุนเสรีภาพในการพูดและการนับถือศาสนา และประณามระบบวรรณะและพิธีสัตตี (suttee - หรือ Sati ในภาษาสันสกฤต - เมื่อสามีถึงแก่กรรม ภรรยาที่ยังมีชีวิตต้องโดนเผาตายตกตามสามีด้วย). ในปี พ.ศ.2369 ท่านได้ก่อตั้งวิทยาลัยเวทานตะ และในปี พ.ศ.2371 ได้ก่อตั้งพราหมณ์สมาจ (หรือสมาคมพราหมณ์). ที่มา: britannica.com, วันที่เข้าถึง 14 เมษายน 2565. 
         
         
         
         
         
         
         
         
         
         









 
info@huexonline.com