พระศิวะ (शिव - Śiva - ผู้เป็นมงคลยิ่ง) หรือ มหาเทพ (महादेव - Mahādevaḥ - เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่) หรือ หระ (Hara - हर ) คนไทยมักจะเรียกพระองค์ว่า พระอิศวร ( ईश्वर - Īśvara) นับเป็นพระผู้เป็นเจ้าสูงสุดในไศวนิกาย ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู.
|
01. |
พระศิวะ |
शिव |
Lord Śiva |
ผู้เป็นมงคลยิ่ง |
|
|
02. |
พระอิศวร |
ईश्वर |
Īśvara |
|
|
03. |
สยัมภู |
शम्भु |
Shambhu |
ผู้เป็นมงคล |
|
04. |
ทักษิณามูรตี |
दक्षिणामूर्ति |
Dakṣiṇāmūrti |
|
|
05. |
พระมเหศวร |
महेश्वर |
Maheśvara |
|
|
06. |
พระรุทร หรือ รุทฺร |
रुद्र |
Rudra |
|
|
07. |
พระผู้มีสามเนตร - ตฺรยัมพกะ |
त्र्यंबक |
Tryaṃbaka |
หนึ่งสิบเอ็ดฉายาของพระรุทร (สามเนตร หมายถึง พระอาทิตย์ พระจันทร์ และพระอัคนี) |
|
08. |
พระไภรวะ |
भैरव |
Lord Bhairava |
แปลว่าน่าสะพึงกลัว หรือ กละ ไภรวะ (काला भैरव - Kala Bhairava) เป็นเทพในไศวนิกายและพระพุทธศาสนาในวัชรยานนิกาย. สำหรับลัทธิไศวนิกายแล้ว พระไภรวะคือการสำแดงที่ทรงพลังหรือเป็นอวตารของพระศิวะที่เกี่ยวข้องกับการทำลายล้าง. คนไทยจะรู้จักเทพองค์นี้ในนามของ พระพิราพ. |
|
09. |
พระพิราพ |
|
Lord Bairava (in Thai Version) |
ปรากฎในวรรณกรรมต่าง ๆ ของประเทศไทย ถือเป็นครูยักษ์ เป็นเทพอสูร นามเทพแห่งคุณงามความดี เป็นผู้ทรงศีลที่มั่นคงในการบำเพ็ญ มีนิสัยห่วงใยช่วยเหลือมนุษย์ และเป็นมหาเทพ (พระศิวะ) |
|
10. |
ปรเมศวร |
परमेश्वर |
Parameśvara |
มหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ ผู้สูงส่ง, ในไศวนิกายหมายถึง พระศิวะ, และในไวษณพนิกายหมายถึง พระวิษณุ |
|
11. |
หระ |
हर |
Hara |
ในภาษาสันสกฤต หมายถึง การขจัดไป (removing, taking away) หรือ ผู้ทำลาย (Destroyer) |
|
12. |
มเหศะ |
|
Maheśa |
|
|
13. |
พระพลนาถ |
भोलानाथ |
Bholenath or Bholānātha |
เทพเจ้าแห่งความไร้เดียงสาบริสุทธิ์ (Lord of innocence) |
|
14. |
ศังกร |
|
Shankara |
|
|
15. |
นีลกัณฐ์ |
नीलकण्ठ |
Nīlakaṇṭh |
(คอน้ำเงิน คล้ำ หรือดำ - blue throat - ด้วยพระศิวะกลืนพิษ "หะลาหละ" ที่เกิดจากการกวนน้ำอมฤต ดูใน กูรมาวตาร ซึ่งพระแม่ปารวตีได้กดพระศอของพระศิวะไว้ เพื่อมิให้พิษลงอุทรได้ พิษจึงทำให้พระศอของพระศิวะคล้ำนั่นเอง) หนึ่งในสิบเอ็ดฉายาของพระรุทร |
|
16. |
มหาเทพ |
महादेव |
Mahādev |
|
|
17. |
ภูเตศวร |
|
Bhuteśvara |
|
|
18. |
อาทิโยคี |
|
Adiyogi |
ปฐมโยคีมหาเทพศิวะ |
พระศิวะ นางปารวตี โคนนทิ ฯ, กลุ่มถ้ำเอลโลร่า, รัฐมหาราษฎระ ภารตะ, ถ่ายไว้เมื่อ 19 กรกฎาคม 2566.
19. |
สกูณะ |
सगुण |
saguṇa |
ผู้มีคุณสมบัติ เป็นตัวแทนของพระศิวะ, (กำลัง) เชิงคุณภาพ ตามที่ปรากฎในศิวะปุราณ. |
20. |
วามเทพ |
|
Vāmadeva |
พระศิวะ อมตะ |
21. |
มหากาล |
महाकाल |
Mahākāla |
ในพระพุทธศาสนา มหากาลเทพ หมายถึง ธรรมบาล (Dharmapāla) เทพผู้พิทักษ์พระธรรม, มหากาล หมายถึง เทพผู้ยิ่งใหญ่ที่อยู่เหนือกาลเวลาหรือความตาย |
22. |
พระปศุปติ |
पशुपति |
Paśupati |
ทรงเป็น "จ้าวแห่งสัตว์ทั้งปวง" เป็นชื่อรองของพระรุทรในยุคพระเวท |
23. |
พระอิศาน |
ईशान |
Īśāna |
ผู้ปกครอง เจ้านาย องค์เทพ, ทิกบาล (दिक्पाल - dikapāla) ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นอีกฉายาหนึ่งของพระรุทร |
24. |
วินีตาตมัน |
विनीतात्मन् |
Vinītātma หรือ Vinītātman |
หนึ่งในพันฉายาของพระศิวะ, การประนมมือด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน |
พระแม่ปารวตี
พระแม่ปารวตี, 24 พฤษภาคม 2567.
ประมวลและปรับปรุงภาพด้วย Adobe Firefly & Adobe Photoshop applications.
พระแม่ปารวตี (पार्वती - Pārvatī) หรือ พระแม่อุมา หรือ พระศรีอุมาเทวี หรือ พระแม่อุมาเทวี (उमा - Umā) - คำว่า "ปารวตี" มาจาก "ปรรวัต" (ภาษาสันสกฤต: पर्वत - Parvata) คือ บรรพต แปลว่า ภูเขา, พระนางเป็น บุตรีแห่งขุนเขา (Daughter of the Mountain) มหาเทวี (Mahādevī) เป็นเทวีในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (Devi goddess) เป็นเทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์ ความรัก การอุทิศตน ตลอดจนพลังอำนาจศักดิ์สิทธิ์. พระนางเป็นมเหสีขององค์ภควาน พระศิวะ. อ้างถึงศิวะปุราณะ-มาหาตมยะ ปกรณัมปุราณะแล้วนั้น พระแม่ปารวตีทรงเป็นบุตรีของท้าวหิมวัต เทพแห่งเทือกเขาหิมาลัย. มารดาของพระแม่ปารวตีคือนางเมนกา (Menakā) เป็นตัวแทนแห่งความรู้แจ้ง (พุทธิ - Buddhi). พระนางยังให้กำเนิดพระคเณศและพระขันธกุมาร
พระแม่กาลี
พระแม่กาลี, 24 พฤษภาคม 2567.
ประมวลและปรับปรุงภาพด้วย Adobe Firefly & Adobe Photoshop applications.
พระแม่กาลี (काली - Kālī) หรือ กาลิกา (कालिका - Kālikā) เป็นหนึ่งในปางต่าง ๆ ของพระแม่ปารวตี. ปางดั้งเดิมของพระแม่กาลี คือ เป็นผู้ทำลายล้างพลังชั่วร้าย และถือกันว่าพระนางเป็นศักติ (Śakti) องค์ที่มีพลังอำนาจมากที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในสี่กาวลมรรค ตามธรรมเนียมตันตระของไศวนิกาย ความเชื่อพื้นฐานคือพระนางเป็นผู้ทำลายความชั่วร้ายและปกป้องผู้บริสุทธิ์ ในยุคถัด ๆ มา มีการเคารพบูชาพระแม่กาลีในสถานะต่าง ๆ ทั้งในฐานะเทวีสูงสุด, พระมารดาแห่งเอกภพ, อาทิศักติ หรือ อาทิปรศักติ ธรรมเนียมศักตะและตันตระบางธรรมเนียมบูชาพระนางเป็นความจริงสูงสุด ("พรหม") นอกจากนี้ยังถือว่าพระนางเป็นเทวดาผู้พิทักษ์บุคคลผู้ที่เข้าสู่โมกษะ (การหลุดพ้น) รูปเคารพทั่วไปของพระแม่กาลีมักแสดงพระนางกำลังยืนหรือร่ายรำอยู่บนร่างกายของพระศิวะ คู่ครองของพระนาง ซึ่งนอนอย่างสงบเสงี่ยมอยู่เบื้องใต้ มีการบูชาพระนางในบรรดาศาสนิกชนของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูทั้งในภารตะ, เนปาล และหลายแห่งทั่วโลก.
ภาพพระแม่กาลีกำลังย่ำอยู่บนพระศิวะพระสวามีของพระแม่ที่กำลังนอนสงบอยู่, ที่มา: esty.com, วันที่เข้าถึง: 24 พฤษภาคม 2567.
พระแม่ทุรคา
ภาพพระแม่ทุรคา, 28 พฤษภาคม 2567.
ภาพพระแม่ทุรคา, 24 พฤษภาคม 2567.
ประมวลและปรับปรุงภาพด้วย Adobe Firefly & Adobe Photoshop applications.
พระแม่ทุรคา (दुर्गा - Durgā) เป็นเทวีองค์สำคัญในศาสนาฮินดู บูชาในฐานะปางหลักหนึ่งของมหาเทวี ถือว่าพระทุรคาเป็นเทวมารดาหรือเทวีแห่งการปกปักรักษา, พลังอำนาจ, ความเป็นมารดา, การทำลายล้าง และการสงคราม. พระแม่ทุรคาได้รับการยกย่องว่าเป็นเทวมารดาและมักแสดงในรูปของสตรีที่งดงามขี่เสือหรือสิงโต มีมือจำนวนมากและถืออาวุธครบมือ และมักมีภาพแสดงพระนางมีชัยเหนืออสูร มีการบูชาพระนางอย่างกว้างขวางในลัทธิศักติ และยังปรากฎในไศวนิกายและไวษณพนิกายอีกด้วย.
พระคเณศ
ภาพพระคเณศ หรือ พระพิฆเนศ, 25 พฤษภาคม 2567.
ประมวลและปรับปรุงภาพด้วย Adobe Firefly & Adobe Photoshop applications.
สิบหกรูปแบบของพระคเณศ (शोदाश गणपति - Shodasha Ganapati - Sixteen Forms of Ganapati), เป็นภาพพิมพ์บนไม้ พบที่เมืองทันจาวูร์ รัฐทมิฬ นาดู ภารตะ ราวคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นของขวัญที่ศรี กุลดิป สิงห์ มอบให้พิพิธภัณฑ์ปริ้นซ์ ออฟ เวลส์ หรือ (CSMVS Museum) เมืองมุมไบ รัฐมหาราษฎระ ภารตะ ถ่ายไว้เมื่อ 7 พฤศจิกายน 2567.
พระคเณศ หรือ พระพิฆเนศ (गणेश - Gaṇeśa) - ทรงมีพระเศียรเป็นช้าง เป็นที่เคารพโดยทั่วไปในฐานะเทพเจ้าผู้ขจัดอุปสรรค องค์อุปถัมภ์แห่งศิลปวิทยาการ วิทยาศาสตร์ และศาสตร์ทั้งปวง และทรงเป็นเทพเจ้าแห่งความฉลาดเฉลียวและปัญญา ซึ่งเทพปกรณัมฮินดูระบุว่าพระคเณศทรงเป็นบุตรขององค์ภควาน พระศิวะและพระแม่ปารวตี. พี่น้อง: พระขันธกุมาร (พระเชษฐา) และศาสฐา (พระอนุชา).
พระขันธกุมาร
พระขันธกุมาร, พระการติเกยะ หรือ พระสกันทกุมาร, 27 พฤษภาคม 2567.
พระขันธกุมาร (บ้างก็เรียก พระขันทกุมาร), พระมุรุกัน (Tamil: முருகன் - Murugan), พระการติเกยะ (कार्तिकेय - Kārtikeya) หรือ พระสกันทกุมาร (स्कंदकुमार - Skanda) เป็นบุตรของพระศิวะกับพระแม่ปารวตี เป็นพระเชษฐาของพระคเณศ เป็นเทพเจ้าแห่งการสงคราม เป็นเทพเจ้าแห่งชาวทมิฬทั้งปวง.
โคนนทิ หรือ อุสุภราช
โคนนทิ หรือ อุสุภราช เป็นโคศักดิ์สิทธิ์ผู้เป็นยามเฝ้าเขาไกรลาส, 28 พฤษภาคม 2567
โคนนทิ หรือ อุสุภราช (नन्दि - Nandi) คำว่า นนทิ ในภาษาสันสกฤตแปลว่า มีความสุข. เป็นชื่อโคเผือกที่เป็นพาหนะของพระศิวะ วัดวิหารพราหมณ์-ฮินดู ไศวนิกายเกือบทั้งหมด จะแสดงรูปสลักหินของโคนนทิ ซึ่งโดยทั่วไปจะหันหน้าไปทางวิหารหรือปรางค์พระประธาน. การที่มีโคนนทินั่งอยู่ ณ สถานที่แห่งใดนั้น ซึ่งหมายถึงว่า องค์ภควานพระศิวะกำลังประทับอยู่ในวัดหรือปรางค์ประธานเอง.
โคนนทิ ถือกำเนิดมาจากเมื่อครั้งกวนเกษียณสมุทร พระกัศยปะต้องการให้นางโคสุรภีเป็นพาหนะประจำพระองค์ แต่ติดว่านางโคสุรภีเป็นโคเพศเมีย หากจะเป็นโคพาหนะจึงควรเป็นโคเพศผู้มากกว่า พระกัศยปะจึงได้เนรมิตรโคเพศผู้ขึ้นมาให้สมสู่กับนางโคสุรภี ลูกโคที่เกิดมาเป็นโคสีขาวปลอดเพศผู้ลักษณะดีคือ โคอุสุภราช พระกัศยปะจึงได้ประทานชื่อให้ว่า นนทิ และได้ถวายให้เป็นพระพาหนะแด่พระศิวะ.
อีกตำนานหนึ่งของการกำเนิดโคอุสุภราช กล่าวว่า เดิมทีเป็นเทพบุตรองค์หนึ่งชื่อ นนทิ เป็นเทพที่ดูแลบรรดาสัตว์ 4 ขาต่าง ๆ ที่เชิงเขาไกรลาส และมักเนรมิตรตนให้เป็นโคเผือกสีขาวเพื่อเป็นพาหนะของพระศิวะเมื่อเสด็จไปยังที่ต่าง ๆ.